?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:55:01 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2 3 ... 18
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: พระศาสนดิลก (เสน ชิตเสโน) เมื่อ: 03 กันยายน 2562, 22:12:34
 
2  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 13 สิงหาคม 2562, 19:38:05
พิธีฮดสรงหลวงปู่ครับ
3  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 11 สิงหาคม 2562, 16:17:09
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๕ ซม. สูง ๙๐ซม. ยุคทวารวดีมีอายุพัน ๆ กว่าปีล่วงมาแล้ว มีพระพุทธชัยสิทธิ์อยู่เบื้องขวา พระร่วงโรจนฤทธิ์อยู่เบื้องซ้ายปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน นับเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านชีทวน และตำบลใกล้เคียง

ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์มาก ประชาชนชาวบ้านชีทวนและตำบลใกล้เคียงเมืองอุบลฯ ตลอดทั้งจังหวัดใกล้และไกล รวมทั้งสาธุชนชาวกรุงเทพมหานครต่างก็เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ พระพุทธชัยสิทธิ์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ได้พากันนำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะมิได้ขาด เพื่อขอพรให้ปกป้องคุ้มครองรักษา และให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาชีวิตครอบครัว พร้อมด้วยบุตร-ธิดา และญาติพี่น้องของตน ทั้งที่อยู่ในต่างจังหวัดและต่างประเทศให้ประสบความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อพระพุทธวิเศษนั้น มีอยู่มากมายเป็นที่เลื่องลือขจรขจายไปทั่วภาคอีสาน และกรุงเทพมหานคร
4  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 11 สิงหาคม 2562, 16:14:13
วัดทุ่งศรีวิไล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 โดยมีใบเสมารายรอบบริเวณวัดหลายชั้น โดยการสันนิษฐานว่า วัดทุ่งศรีวิไล เป็นวัดที่มีการก่อตั้งมาแล้วถึงสองยุคสองสมัยแต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นปี พ.ศ. ใด

โดยยุคแรกสมัยแรกสันนิษฐานว่ามีการตั้งวัดตั้งแต่ตอนที่เจ้าชายอินทสะเกษ แห่งเมืองอินทสะเกษ (ศรีสะเกษ) ได้ออกบวชเพราะสำนึกผิดที่เป็นต้นเหตุให้นางเจียงไดบุตรสาวของอดีตเจ้าเมืองซีซ่วน (ชีทวนในปัจจุบัน) ต้องตาย (ตามประวัติศึกชิงนางเจียงได) แล้วได้มาอยู่ที่วัดทุ่งศรีวิไลแห่งนี้ ที่ซึ่งอดีตเคยเป็นอุทยานของนางเจียงได และได้สร้างเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่นางเจียงได และก่อตั้งเป็นวัดในยุคสมัยแรกจนถึงปีไหนไม่มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเคยมีเจ้าอาวาสมากี่รูปเป็นเพียงการกล่าวเล่าขานสืบต่อกันมา ด้วยความที่วัดทุ่งศรีวิไลอยู่ไกลจากหมู่บ้าน จึงเป็นการลำบากสำหรับญาติโยมสาธุชนที่จะเข้ามาทำบุญสักการะเนื่องจากในสมัยอดีตบริเวณนี้เคยเป็นป่าหนาทึบ มีเพียงผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาใช้เป็นที่พักอาศัยจนกลายเป็นวัดร้างในเวลาต่อมา

ยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากมีการค้นพบพระพุทธรูปหินศิลาแลง ศิลปะสมัยทวารวดี ยุคขอมเรืองอำนาจเป็นจำนวนมากมายรายรอบบริเวณวัดทุ่งศรีวิไลแห่งนี้ แห่งซากปรักหักพังของทั้งเจดีย์ และธรรมาสน์เทศน์ ที่ก่อด้วยหินทรายในสมัยโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซากปรักหักพังจากวัดที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยแรกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และเหตุนี้เอง จึงเริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในตอนแรกโดยการสร้างเป็นเรือนไม้เพื่อเก็บรวบรวมพระพุทธรูปที่ขุดได้แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เรือนไม้ก่อนเพื่อจะได้เป็นที่สักการะบูชาแก่ชาวบ้าน ต่อมาเรือนไม้ที่เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเกิดไฟไหม้ทั้งหลัง โดยคาดว่าน่าจะเกิดจากเทียนที่ชาวบ้านนำมาจุดบูชาไว้พระนั่นเอง และเหตุนี้เอง ก็ได้เกิด สิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเนื่องจากมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่าพระเจ้าวิเศษ และต่อมาได้เรียกเป็น หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ และได้สร้างวิหารมั่นคงถาวรไว้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ มีการก่อร่างตั้งเป็นวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเรียกชื่อว่า วัดทุ่งศรีวิไล เป็นแหล่งที่พระเกจิอาจารย์ดังทั้งหลายเคยมาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาด

วัดทุ่งศรีวิไล วัดนี้มีหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงแกะสลักปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านชีทวน นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถ และวิหารหลังเก่าไปจนถึงกำแพงรอบวัด ทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ รวมทั้งหอไตรและ ธรรมาสน์ซึ่งก่อด้วยอิฐในสมัยนั้น ก่อตั้งเป็นวัดมาแล้วกว่า 300-400 ปี แต่พึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรการได้รับวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ตามพระราชบัญญัติการขอตั้งวัดอย่างถูกต้อง และมีเจ้าอาวาสปกครองวัดทุ่งศรีวิไลมาแล้วหลายรูปด้วยกัน แต่เท่าที่มีการเล่าสืบต่อกันมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่มีการบันทึกทั้งหมด 4 รูป ดังนี้

พระอัญญาท่านด้าน ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดกี่ปี
พระอาจารย์ครูบากัน ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดกี่ปี
พระครูคัมภีรวุฒาจารย์ (หลวงปู่หนู คัมภีโร) ปกครองวัดทุ่งศรีวิไล ถึง ปี พ.ศ. 2525
พระครูสุนทรสุตกิจ (มณี ผ่องแผ้ว) ปกครองวัดทุ่งศรีวิไล ปี พ.ศ. 2525 ถึง ปัจจุบัน

มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่เศษ (ขยายเขตวัดเพิ่มเติม) เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดทุ่งศรีวิไลเป็นสำนักอบรมปฏิบัติธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีการปฏิบัติธรรมอบรมจิตภาวนาแก่ข้าราชการ หน่วยงานต่าง ๆ โรงเรียนทั่วในจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น
5  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ยศ เตวิชโช วัดบ้านหนองกุ้งใต้ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย เมื่อ: 21 ตุลาคม 2561, 21:22:09
พ่อแม่ยศ หรือ หลวงปู่ยศ เตวิชโช วัดบ้านหนองกุ้งใต้ อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย


ท่านเป็นศิษย์สายพระบาทโพนสันโดยแท้ เป็นศิษย์ของญาครูสีทัตถ์ สุวรรณมาโจ (พ่อแม่สีทัตถ์) พระอาจารย์ผู้สร้าง วัดพระบาทบัวบก วัดพระบาทโพนสันและวัดพระธาตุท่าอุเทน และพ่อแม่เพ้า พุทธวังโส (พ่อแม่พระบาทโพนสัน สปป.ลาว) ซึ่งพระอาจารย์ทั้งสองรูปเป็นเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางอาคมและปาฏิหาริย์เป็นที่เรื่องลือ สร้างความศรัทธาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่นลุ่มน้ำโขงแถบ สปป.ลาว หนองคาย อุดร นครพนม นี้มานานแสนนาน


กล่าวถึงพ่อแม่ยศ หรือ (หลวงปู่ยศ เตวิชโช) เป็นพระเกจิซุ่มเงียบในจังหวัดหนองคาย คนรู้จักท่านมีน้อยมาก แต่ในสายวิชาพระบาทโพนสันแล้ว ท่านเป็นผู้ที่โดดเด่นมากไม่เป็นสองรองใคร คนในพื้นที่บ้านหนองกุ้งหนองแก้ว อำเเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคายเรื่องเล่าอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านดังไปทั่วฝั่งโขงทีเดียว ถือได้ว่าท่านเป็นเกจิที่ทรงอภิญญาอีกท่านหนึ่งที่หลายคนยังไม่รู้จักและมองข้าม ท่านมรณะภาพเมื่อ ๒๑ ธค ๒๕๔๔ อายุได้ ๗๓ ปี


เหรียญของท่านสร้างไว้รุ่นเดียว ในปี พ.ศ 2541 ราคาเล่นหากันไม่มากนักพอเก็บได้ (แต่ในพื้นที่ มีกันทุกบ้าน ขอก็ไม่ได้ ขายก็ไม่ให้) ลูกผึ้งลูกเทียนแถบนั้นไปไหนมาไหนพกเหรียญเดียวไปทั่วโลก เหรียญของท่านมากด้วยประสบการณ์ ใครตาดีรีบฉวยโอกาสเก็บได้ มีเนื้อทองแดง ฝาบาตร และเนื้อเงิน


สามเหรียญนี่ กว่าจะหาได้ครบ ก็หลายปีครับ เอามาให้เพื่อนสมาชิกชมเป็นวิทยาทานครับ เผื่อเจอเก็บได้ราคาไม่แพง
6  พระเครื่องและวัตถุมงคล / ร้านพระเครื่อง VIP (ชมรมเพื่อนอนุรักษ์พระแท้) / Re: สมาชิกท่านใดต้องการเปิดร้านพระเครื่องแจ้งไว้ได้ที่กระทู้นี้ครับ เมื่อ: 21 ตุลาคม 2561, 21:12:19
แจ้งเปิดร้านครับ " นานาพระเครื่อง " ได้ไหมครับ

ส่งเอกสารมาทางเมล์ยังน้อครับ รบกวนแจ้งด้วยครับ
7  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: หลวงพ่อเพ็ง วัดบ้านนาดี อ.เดชอุดม (ปัจจุบันเป็นอำเภอนาเยีย) เมื่อ: 15 ตุลาคม 2558, 17:10:27
สุดยอดเเห่งความขลังของอำเภอเดชอุดม 



8  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านซาคำแดง / Re: เหรียญปั๊มพระซาคำแดงรุ่นแรก (เนื้อทองแดง) เมื่อ: 13 ธันวาคม 2557, 20:41:09
เอารูปพระอาจารย์แต้มด้วยสีน้ำมันมาให้ชมครับ
9  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: จิ๋วแต่แจ๋ว : เหรียญเม็ดแตงหลวงพ่อมุม และเหรียญเสมาเล็ก เมื่อ: 14 กันยายน 2557, 12:25:47
ได้ของดีมาอีกแล้วนะครับอาจารย์ สงสัยช่วงนี้ถืกเลข   
10  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: อริยสงฆ์เมืองอุบล ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก พระสังฆราช สปป.ลาว เมื่อ: 06 สิงหาคม 2557, 16:43:51
เหรียญรุ่นแรก ยาท่านใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก วัดองตื้อมหาวิหาร นครหลวงเวียงจันทน์




11  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / พระปิดตายาคูคำดี หรือหลวงปู่คำดี วัดทาดหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทร์ เมื่อ: 08 กรกฎาคม 2557, 22:52:20


หากจะกล่าวถึงพระเครื่องที่สำคัญที่สุดที่โบราณคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษ จะเป็นพระมหาเถรหรือพระคณาจารย์ได้จัดทำขึ้นมีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งกว่าเหนือกว่าพระเครื่องใดๆทั้งสิ้นนั่นก็คือพระ "ภควัม" ถ้าจะเรียกกันในปัจจุบันนี้เรียกว่า "พระปิดตา" หรือ "พระปิดทวารทั้งเก้า"การที่เรียกกันเช่นนี้ก็เนื่องจากรูปลักษณะของพระ "ภควัม" ได้จัดทำเป็นรูปองค์พระนั่งขัดสมาธิเพชร (คือวชิราศน์) มี 8 พาหา ใช้พาหาทั้ง 8 ปิดทวารต่างๆ เช่น ปิดตา 2 ตา ปิดหู 2 หู ปิดจมูก 2 รู ปิดปาก 1 ปิดทวารหนักทวารเบา 1 แต่บางเกจิอาจารย์ ทำขึ้นเพียง 2 พาหา ใช้ปิดตา ปิดปาก ปิดจมูกก็มี

สำหรับมูลเหตุของการสร้างพระเครื่อง "ภควัม" มีความหมายคือ จากการสอนให้สังวร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจเรียกกว่า อาตยนะหรืออินทรีย์ทั้ง 6 นั่งเอง เหตุใดเกจิอาจารย์บางท่าน หรือพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษทั้งหลาย จึงได้ดัดแปลงรูปลักษณะพระ "ภควัม" จากปิดทวารทั้ง 6 มาเป็น ปิดทวารทั้ง 9 เสีย เพราะพระอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านั้น คงพิจารณาเห็นชัดเจนแล้วว่าสำหรับการสำรวม หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ นั้นพระภิกษุเป็นผู้บำเพ็ญเพียรภาวนาทั้ง 6 อยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องสร้างพระ "ภควัม" ไว้เตือนตนเป็นอนุสติอีก ตามนัยแห่งคำสอนของพระบรมศาสดา ก็ทรงสอนไว้ว่าผู้ใดมีอินทรีย์สังวร อันไม่หวั่นไหว ผู้นั้นย่อมพ้นทุกข์ ในฐานะที่พระคณาจารย์นั้นมีศิษย์และญาติโยมมาก ตลอดจนศิษยานุศิษย์ที่เป็นฆราวาสวิสัยก็ไม่น้อย จะให้ผู้ครองเรือนมาบำเพ็ญอินทรีย์ทั้ง 6 เช่นบรรพชิตหาใช่วิสัยที่ควรกระทำไม่ ด้วยเหตุนี้แล จึงสร้างพระ "ภควัม" หรือ "พระปิดทวารทั้ง 9" ขึ้นโดยอาศัยแนว "ปิดตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ" เป็นแบบฉบับเผื่อให้เหมาะกับฆราวาสวิสัย หรือผู้ครองเรือน จึงทำให้เป็นปิดทวารทั้ง9 แปลกออกไปคือ ปิดตา 2 ตา ปิดหู 2 หู ปิดจมูก 2 รู ปิดปาก 1 ปาก ปิดทวารหนัก 1 และปิดทวารเบา 1 รวมเป็น 9 ทวารพอดี

คำว่า "ภควัม" หมายถึง "ภควา" คือพระผู้มีพระภาคเจ้านั่นเอง ดังนั้นการรำลึกถึงองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าและยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งนำไปบูชาหรือ ติดกับตนไว้บูชา เพราะตามพุทธวจนะที่ทรงสอนไว้ การสังวรอินทรีย์ย่อมเป็นมรรคาให้พ้นทุกข์ภัยทั้งมวล
ในสมัยโบราณเชื่อมั่นนับถือพระ "ภควัม" กันมาก แม้ในวรรณคดี ก็ยังมีการอ้างถึงพระ "ภควัม" อยู่เสมอเป็นการแสดงให้รู้ว่าพระเครื่อง "ภควัม"  อยู่ในความนิยมนับถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์สามารถขจัดภยันตรายให้แก่ผู้เคารพบูชาได้อย่างมหัศจรรย์ ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผนได้กล่าวถึงพระเครื่อง "ภควัม" ตอนขุนช้างตามวันทองเป็นความว่า

ถ้าขุนแผนต่อสู้อย่าสู้ได้
ให้บรรลัยแพ้ฤทธิ์ทุกทิศา
ให้สมหวังดังประสงค์ของลูกยา
ขุนช้างรับพรลามาหอกลาง
จัดแจงแต่งตัวนุ่งยก
เข็มขัดรัดอกแล้วโจงหาง
ผูกตัวเข้าเป็นพรวนล้วนเครื่องราง
พระปรอทขอดหว่างมงคลวง
ลูกไข่ดันทองแดงกำแพงเพชร
ไข่เป็ดเป็นหินขมิ้นผง
ตะกรุดโทนของท่านอาจารย์คง
แล้วอมพระ "ภควัม" ล้ำจังงัง
ลงยันราชะปะท้ายทอย
ยังหย่อมแหยมหยอกหยอยเหมือนหอยสังข์
จับถือของ้าวก้าวเก้กัง
ขึ้นนั่งคอช้างพลายกางพลันฯ

เสภาในเรื่องขุนช้างขุนแผนอีกบทหนึ่งที่ได้กล่าวถึงพระ "ภควัม" ไว้ตอนที่พญากรุงกาฬเมื่อได้รับพระราชโองการของพระเจ้าเชียงใหม่ให้ยกพลไปสู้กับขุนแผน มีคำกลอนเสภากล่าวไว้ว่า

ครานั้นกรุงกาฬชำนาญทัพ
จบจับเครื่องอานเข้าตบแต่ง
นุ่งยกอย่างลาวขาวทองแดง
ใส่เสื้อเกราะทองแล่งเป็นอย่างครุฑ
สายสังวาล "ภควัม" ประจำคล้อง
แหวนทองปัทมราชคาคตระกุด
ใส่เสื้อลงยันต์กันอาวุธ
เข็มขัดขุดขมองพรายเป็นลายดุน
เหน็บกริชตรงลงอาคมประจุขาด
แล้วซ้ำคาดราตคธหนามขนุน
ใส่หมวกถักไหมทองกรองกาชุน
สายสะพายดาบญี่ปุ่นฝักหุ้มทอง
เอาน้ำพระสรงองค์นารายณ์
มาพรมกายกรายกรากออกจากห้อง
ควาญเทียบช้างประทับเข้ารับรอง
ก็ย่างย่องขึ้นคอจับของกรายฯ


ที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าแม่ทัพนายกองในสมัยโบราณเชื่อมั่นเลื่อมใสความศักดิ์สิทธิของพระ "ภควัม" มาก นี่เป็นการแสดงให้เห็นว่าอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์ของพระ "ภควัม" มีความอภินิหารมหัศจรรย์สามารถป้องกันภยันตรายอารักขาให้เป็นจังงังแคล้วคลาดได้ อย่าลืมว่านักปราชญ์ผู้แต่งกลอนจะต้องรู้ทุกอย่างจากเรื่องจริงจึงแต่งขึ้นตามความจริง เพื่อขจัดอุปาทาน ข้าพเจ้าจะขอนำบทเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผนตอนหนึ่ง
มาอ้างให้ท่านฟังเพื่อพิสูจน์ให้เห็นคุณสมบัติอันวิเศษของพระเครื่อง "ภควัม" ว่ามีฤทธานุภาพสูงส่งปานใด ข้าพเจ้าจะขอเล่าตอนที่ขุนแผนทำพิธีปลุกพระเครื่อง ว่าวิธีปลุกเสกพระเครื่องในสมัยโบราณทำกันอย่างไร และจะได้ทราบว่าพระ "ภควัม" มีอานุภาพมากเพียงไร ดังเสภาต่อไปนี้

ให้ทหารปลูกศาลขึ้นฉับพลัน
ตงบายศรีสามชั้นทั้งซ้ายขวา
หัวหมูเป็ดไก่ทั้งเหล้ายา
เครื่องเซ่นจัดหามาเรียงราย
เอาผ้าขาวปูลาดดาดเพดาน
นมัสการจุดธูปเทียนถวาย
ในมณฑลนั้นให้อยู่แต่ผู้ชาย
วางสายสิญจน์รอบเป็นขอบคัน
ทั้งพ่อลูกเข้าไปนั่งกลางมณฑล
อ่านมนต์โองการอันกวดขัน
ชุมนุมเทวดามาพร้อมกัน
ทุกช่องชั้นอินทร์พรหมยมยักษ์
ทั้งพระเพลิงพระพายพาลี
พระภูมิเจ้าที่อันมีศักดิ์
อีกพระไพรเจ้าป่าพนารักษ์
พระนารายณ์ทรงจักรศิวาทิตย์
พระคเณศร์พินายทั้งซ้ายขวา
ขอเชิญลงมาให้ศักดิ์สิทธิ์
ทั้งคุณแก้วสามประการอันชาญชิต
คุณบิดามารดาสถาวร
คุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์
พระโองการบพิตรอดิศร
ขอเชิญช่วยมาอวยพร
ให้เรืองฤทธิ์ขจรทุกสิ่งอัน
แล้วร่ายคาถามหาเวทย์
ปลุกเครื่องวิเศษทุกสิ่งสรรพ์
ว่านยาผ้าประเจียดมงคลนั้น
ตะกรุดโทนน้ำมันอันเรืองฤทธิ์
เดชะพระเวทย์อันเชี่ยวชาญ
เครื่องอานกลิ้งไปดั่งใครบิด
แล้วตั้งกองอัคคีทั้งสี่ทิศ
เอาเครื่องวางกลางมิดในกองไฟ
เปลวลุกคึกคักไม่ขาดสาย
ชั้นแต่เส้นด้ายหาไหม้ไม่
จึงเอาพระ "ภควัม" ที่ทำไว้
ใส่ขันสำริดประสิทธิมนต์
ในขันนั้นใส่น้ำมันหอม
เสกพร้อมเป่าลงไปสามหน
พระนั่งขึ้นได้ในบัดดล
น้ำมันนั้นทาทนทั้งทุบตี
ล่องหนกำบังจังงังครบ
อุปเท่ห์เล่ห์จบเป็นถ้วนถี่
ปลุกเครื่องเสร็จพลันอัญชลี
อ่านมนต์เรียกภูตผีภูตพลาย

ท่านคงจะทราบแน่ชัดแล้วว่าพระเครื่อง "ภควัม" มีความสำคัญอย่างไร ขุนแผนเสกคาถาเป่าลงในขันสำริดสามครั้ง พระเครื่อง "ภควัม" ลุกขึ้นนั่งได้ แสดงให้เห็นว่าพุทธานุภาพของพระเครื่องชิดนี้มีคุณวิเศษมากเพียงไร ท่านพระคณาจารย์โบราณกล่าวไว้ว่า เมื่อจะเอา พระเครื่อง "ภควัม" ติดตัวไปด้วยหรือใส่ปากอมไปด้วยจะต้องปลุกเสกบริกรรมด้วยคาถา 10 บทดังนี้
จักขุนา สังวะโร สาธุ สาธุโสเตนะ สังวะโร
ฆาเนนะ สังวะโร สาธุ สาธุชิวหายะ สังวะโร
กาเยนะ สังวะโร สาธุ สาธุสัพพะถะ สังวะโร
มนัสสา สังวะโร สาธุ สาธุโสเตนะ สังวะโร
สัพพะถะ สังวุโตพิกขุ สัพพทุกขะ ปมุจจะติฯ


พระคาถานี้มีอยู่ในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ภิกษุทั้งหลายสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตรัสว่าเมื่อสามารถสำรวมและสังวรณ์ในอาตยนะทั้ง 6 นี้ มั่นคงไม่หวั่นไหวแล้วย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งมวล





หากจะกล่าวถึงพระ "ภควัม" หรือ พระปิดตา ในประเทศลาวที่บรรดานักสะสมทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างเสาะแสวงหามาใช้เพื่อคุ้มครองตัวเองและเพื่อเป็นศิริมงคลในชั่วโมงนี้ ต้องยกให้ พระปิดตายาคูคำดี หรือหลวงปู่คำดี วัดทาดหลวงใต้ นครหลวงเวียงจันทร์ ถือว่าเป็นพระปิดตาในฝันของนักสะสม  นับวันที่ยิ่งหายากขึ้นเรื่อยๆ ต่างคนต่างเก็บเงียบ หลังจากที่มีของเก๊ระบาดหนักทั้งลาวและไทย


พระปิดตาพิมปั้น ยาคูคำดี ประเทศลาว







พระปิดตาพิมปั้น ยาคูคำดี ประเทศลาว







พระครูคำดี หรือยาครูคำดี วัดทาดหลวงใต้ ท่านได้สร้างพระเนื้อโลหะไว้ด้วยกัน 2 พิมพ์คือ พิมพ์ปั้น และพิมพ์บล็อกประกบ
1.พระพิมพ์ปั้น เป็นการปั้นแบบอิสระ สร้างทีละองค์ไม่มีแบบพิมพ์ หมายความว่าไม่อาจกำหนดได้ว่าพระทุกองค์ต้องมีขนาดรูปทรงที่เท่ากันหรือเหมือนกัน 100% พระอาจจะมีความใกล้เคียงกันมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับฝีมือและความพยายามของช่างปั้น แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระพิมพ์ปั้นทุกองค์นั้นจะไม่เหมือนกันโดยเด็ดขาด ด้วยวิธีการที่ปั้นพิมพ์นั้นเป็นการปั้นหุ่นขึ้นมาทีละองค์แล้วเข้าดินเบ้า หล่อออกมาองค์เดียวเท่านั้น ถ้าหากท่านพบเห็นพระพิมพ์ปั้นสององค์ด้วยกันมีจุดตำหนิเหมือนกันทุกอย่าง ถึงจะต่างเนื้อกันก็ตาม จงจำไว้ว่านั้นคือพระเก๊ทั้งสอง พระปิดตายาคูคำดีใน 60-70 % เท่าที่พบเจอ แขนจะทะลุ และไม่ได้มีข้อกำหนดว่าต้องมีนิ้วครบทุกองค์หรือหูสองข้างเท่ากันแต่โดยภาพรวมแล้วพระพิมพ์ปั้นของยาคูคำดีเป็นพระที่ดูง่าย ว่าเป็นพระแท้หรือเก๊ เพราะมีส่วนที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว


ปิดตาล้อพิมพ์ปิดตาวัดพระบาทโพนสัน







2.พระพิมพ์บล็อคประกบ เป็นการสร้างหุ่นขึ้นมาสองครั้งคือ ผู้ปั้นจะต้องปั้นหุ่นแม่แบบก่อนซึ่งเรียกว่า (แม่พิมพ์) หลังจากนั้นนำเอาแม่พิมพ์มาถอดแบบก็จะได้บล็อก หรือเรียกว่าแม่พิมพ์นั่นเอง การสร้างบล็อกของยาครูคำดีนั้น เป็นการสร้างแบบบล็อคประกบคือ บล็อกด้านหน้า และด้านหลัง มาประกบเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นจึงมีการสร้างหุ่นครั้งที่สอง แต่ครั้งนี้ไม่ได้ปั้น สร้างโดยการเมขี้ผึ้งลงไปในบล็อกปล่อยให้แข็งตัวแล้วแกะออกฉะนั้นพระพิมพ์บล็อกจึงปรากฏให้เห็นรอยตะเข็บข้างซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย พระพิมพ์นี้มีขนาดและรูปร่างเท่ากันหมดทุกองค์ แต่จุดตำหนิ อาจจะไม่เหมือนกันทุกองค์เนื่องจากมีการแต่งขอบข้างด้วยการตะไบ

ของเก๊ที่นำเอาพระแท้ไปทำเลียนแบบนั้นเท่าที่ได้พบเจอ จะมีขนาดเล็กกว่าองค์จริงหน่อยนึงเพราะการถอดแบบแต่ละครั้งนั้นจะมีการหดตัวของโลหะ
อยู่ประมาณ 5%-10% ตามมาตรฐานสากลของวงการพระเครื่องโดยนักสร้างพระเก๊พิมพ์นี้เขาจะเรียกพิมพ์นี้ว่าพิมพ์นิยมนั่นแล



สำหรับประวัติของท่าน โลหะที่ใช้ในการหล่อ ใต้ฐานมีการอุดอะไรบ้าง ตำหนิต่างๆที่ควรรู้ จะกล่าวในลำดับต่อไป
โปรดติดตามครับ.
..
 wan-e042

ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลอ้างอิงจาก
พี่ชายใจดี ตู่ ฤทธิพร (Tou Lithiboulome) แห่งนครหลวงเวียงจันทร์
เรียบเรียงโดย http://www.fb.com/tar.kamanit

ปล.หากมีการ copy ข้อมูลโปรดให้เครดิตพี่ชายผม Tou Lithiboulome

12  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / 113 ปี งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลราชธานี 57 และเฉลิมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี เมื่อ: 04 กรกฎาคม 2557, 19:38:43

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=Y21Tv6iG43U" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=Y21Tv6iG43U</a>


113 ปี งานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาอุบลราชธานี 2557 และเฉลิมฉลอง 222 ปี อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 11-16 กรกฎาคม 2557








http://guideubon.com/news/view.php?t=108&s_id=40&d_id=40
13  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / อริยสงฆ์เมืองอุบล มหาผ่อง สะมาเลิก พระสังฆราชสปป.ลาว ศิษย์แห่งหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2557, 22:24:35










               พระมหาผ่อง สะมาเลิก เป็นพระเถระ 2 แผ่นดิน หรือ 2 ฝั่งโขง เพราะเกิดที่ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี ประเทศไทย เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ.2459 บรรพชาและอุสมบทที่วัดโพธิ์ศรี อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 ได้เข้ามาอยู่วัดชนะสงคราม บางลำพู โดยญาติพี่น้องได้สำทับว่า หากไม่ได้เป็นมหาเปรียญ อย่าได้กลับ จ.อุบลราชธานี ท่านจึงทุ่มเทเรียนปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอย่างเต็มที่ สามารถสอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค เข้ารับพระราชทานพัดเปรียญจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8 ) ใน พ.ศ. 2489

               จากนั้นได้ทำหน้าที่สอนพระปริยัติธรรมที่วัดชนะสงครามอีก 6 ปี รวมเวลาที่เป็นนักเรียนและครูที่วัดชนะสงคราม 16 ปี หลังจากนั้นได้เข้าร่วมขบวนปลดปล่อยประเทศลาวอย่างเต็มตัว และอยู่ฝั่ง สปป.ลาวนับแต่ พ.ศ.2495 เป็นต้นมา

               ก่อนที่จะเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์ลาว ท่านได้เคลื่อนไหวร่วมกับเสรีไทยช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา เพื่อต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่น ต่อมาได้เดินทางไปภาคอีสาน พบกับเจ้าเพชรราช มหาเสนาบดีลาว (วีรบุรุษของลาว ผู้จัดตั้งรัฐบาลลาวอิสระปลดแอกจากการปกครองของฝรั่งเศส) เมื่อ ค.ศ. 1946 หรือ พ.ศ. 2489 ในช่วงนั้นได้พบกับโฮจิมินห์ หรือประธานโฮ เมื่อเจ้าเพชรราชไปช่วยประธานโฮที่ถูกจับที่ จ.หนองคาย ท่านประธานโฮ ถามว่าท่านมหาผ่องเป็นใคร เจ้าเพชรราชว่าเป็นลูกชาย และเป็นที่ปรึกษาในฐานะพระครูหลวง ประธานโฮ บอกว่า ถ้าอย่างนั้นต้องเป็นลูกชายโฮด้วย ซึ่งหลวงปู่มหาผ่อง บอกว่าคือ เป็นบุตรบุญธรรมร่วมอุดมการณ์ ตอนนั้นพระมหาผ่องอายุ 35-36 ปี




 ลุงโฮหรือประธานโฮจิมินห์เคยอยู่ทางอีสานของไทยเป็นเวลา 8 ปี พูดภาษาไทยได้ เคยบวชพระที่วัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมีพระธรรมเจดีย์ (จูม) เป็นพระอุปัชฌาย์ แต่คนรู้จักในนามลุงจิ้น ก่อนจะไปทำสงครามปลดปล่อยเวียดนามจากฝรั่งเศส ต่อสู้กับการยึดครองของอเมริกาที่เวียดนามใต้ จนได้รับชัยชนะเวียดนามกลายเป็นประเทศเดียว ตั้งแต่ ค.ศ. 1975 ที่อนุสรณ์สถานหรือสุสานลุงโฮ กรุงฮานอย มีชื่อลูกบุญธรรมที่ชื่อ พระมหาผ่อง จารึกอยู่ด้วย

               พระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก เมื่ออายุได้ 10 ปี ได้เข้าเรียนหนังสือไทย อยู่ที่โรงเรียนประถมศึกษาประจำตำบลกุศกร อำเภอขุหลุ (ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น ตระการพืชผล) จบชั้นประถม (ซึ่งในสมัยนั้นมีเพียงชั้นประถม 3) เมื่ออายุ 14 ปีได้ ย้ายจากบ้านเดิมไปอยู่บ้านโพนทอง เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ประเทศลาว

               เมื่ออายุได้ 15 ปี 3 เดือน เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย จึงได้ลาสิกกลับไปอยู่บ้านโพนทอง เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก และเมื่ออายุครบ 20 ปี จึงได้กลับมาที่บ้านเกิดอีกครั้ง เพื่ออุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดโพธิ์ศรี (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น วัดโพธิ์สระประทุม) บ้านกุศกร ตำบลกุศกร อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2479 พระฤทธิ์ หรือพระครูโสภิตพิริยคุณ เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยมีพระอาจารย์ชู พระอาจารย์สวน พระอาจารย์พูน เป็นพระกรรมวาจาจารย์และอนุสาวนาจารย์ตามลำดับ (สำนวนล้านช้างคือพระอาจารย์สูตร) พร้อมด้วยพระสงฆ์อีก 41 รูป

               เมื่ออุปสมบท แล้วไปประจำอยู่วัดบุรีรัตน์ บ้านกุงน้อย อ.ตระการพืชผล เป็นเวลา 6 เดือน เมื่อถึงวันที่ 8 เมษายน ต้นปี พ.ศ. 2480 ได้ย้ายไปศึกษาอยู่ที่ ณ วัดชนะสงคราม กรุงเทพมหานคร ซึ่งวัดชนะสงคราม อยู่ใกล้กับวัดบวรนิเวศวิหาร ตอนเช้าออกบิณฑบาตร ได้เดินสวนกับพระมหาเจริญ (สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปรินายก) เป็นประจำ ต่อมาได้ศึกษาธรรมสำนักเดียวกันจนคุ้นเคย

               อยู่วัดชนะสงครามถึง พ.ศ.2495 เป็นเวลา 16 ปี เรียนจบนักธรรมชั้นเอก เปรียญธรรม 6 ประโยค ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นครูสอนอยู่ที่สำนักเรียนวัดชนะสงคราม 8 ปี จากนั้นได้ย้ายจากประเทศไทย ไปเป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนมัธยมสงฆ์ วัดหลวง ปากเซ เป็นระยะเวลา 3 ปี จนกระทั่งปี พ.ศ. 2498 จึงได้ย้ายไปเป็นครูสอนหนังสือ อยู่ที่โรงเรียนมัธยมสงฆ์วัดองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันท์ ปี พ.ศ.2500 จึงได้ย้ายลงไปเป็นเจ้าคณะเมืองโพนทอง เป็นระยะเวลา 13 ปีกับ 6 เดือน จึงได้รับเลื่อนตำแหน่งทางการปกครองเป็นเจ้าคณะแขวง จำปาสัก 6 ปีกับ 6 เดือน



         ปี พ.ศ.2519 ย้ายจากแขวงจำปาสักไปดำรงตำแหน่ง ที่ศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรองประธานสงฆ์ทั่วประเทศ รับผิดชอบในฐานะฝ่ายการเมือง และเป็นประธานคณะค้นคว้าปรัชญาทางพระพุทธศาสนา เป็นประธานคณะอนุกรรมการรับผิดชอบการบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุหลวงเวียงจันทน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 เป็นต้นมา เป็นหัวหน้าคณะอำนวยการโรงเรียนสร้างครูสงฆ์ ชั้นต้นและชั้นกลาง ประจำวัดองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์

               ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2489 ได้เข้าร่วมขบวนการต่อสู้กู้ชาติกับรัฐบาลเจ้าเพชรราชในประเทศไทย แต่ในปี พ.ศ. 2495-2498 ต้องกลับจากประเทศไทยเพื่อไปเคลื่อนไหวทางการ เมืองที่แขวงจำปาสัก ในฐานะเป็นครูสอนที่โรงเรียนมัธยมสงฆ์วัดหลวง ปากเซ

               ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2498 - 2500 ได้ขึ้นไปเคลื่อนไหวอยู่ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ในฐานะที่เป็นครูสอนและเป็นเลขาธิการองค์การปกครองสงฆ์ ปี พ.ศ. 2500 กลับจากนครหลวงเวียงจันทน์ ลงไปเคลื่อนไหวทางการเมืองอยู่ทางแขวงจำปาสักในฐานะเป็นเจ้าคณะเมือง เมืองโพนทอง และเป็นเจ้าคณะแขวงจำปาสัก ในปลายปี พ.ศ. 2518 ได้เข้าร่วมขบวนการยึดอำนาจอยู่ที่แขวงจำปาสัก

               หลังจากนั้น ทางศูนย์กลางฯ ได้เรียกขึ้นมานครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อเข้าร่วมการจัดตั้งชั่วคราวและทางการได้มอบ ภารกิจให้กลับลงไปจำปาสักเพื่อรวบรวมพระสงฆเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ตามแนวนโยบายของพรรคและรัฐที่ถูกต้องเป็นธรรมและสอดคล้องกับ ลักษณะที่แท้จริงของศีลธรรมทางพุทธศาสนา โดยการรวบรวมเต้าโฮมพระสงฆเถรานุเถระผู้ทรงคุณวุฒิ ในทั่ว 3 แขวงภาคใต้ ขณะที่รับผิดชอบศาสนกิจทางภาคใต้เขต เมืองโพนทอง แขวงจำปาสักนี้ ได้จัดตั้งเจ้าอธิการทุกวัดอย่างทั่วถึง และมีการประชุมใหญ่ประจำปี ปีละ 1 ครั้ง และได้ออกเผยแผ่อบรมทั้งภิกษุสามเณร และญาติโยมทั้งในเขตและนอกเขตรับผิดชอบของตนเอง อีกทั้งยังได้จัดตั้งและนำแนวทางของพรรคและรัฐ ร่วมกับองค์การเผยแผ่ไปทั่วประเทศอย่างมิขาดสาย

               ในสมัยก่อน แขวงเซโดน แขวงสีพันดอน แขวงจำปาสัก พระสงฆ์เข้ามาเรียนหนังสืออยู่ที่วัดหลวง ปากเซ ใช้เวลาเรียนเพียง 21 วัน พระอาจารย์ และคณะสามารถทำให้พระสงฆ์ทั้งหมดได้พบเห็นสาระสำคัญแห่งความเป็นธรรมของระบอบใหม่ จึงได้พากันตัดสินใจล้มล้างการจัดตั้งเก่าที่ไม่เป็นธรรม รวมทั้งลัทธินิกาย เช่น มหานิกายและธรรมยุตที่อยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้ถูกลบล้างอย่างราบคาบและตลอดกาล โดยการเข้าร่วมสามัคคีลงอุโบสถสวดปาติโมกข์ ในวันแรม 3 ค่ำเดือน 7 ปี พ.ศ. 2523

               หลังจากนั้น ได้กลับขึ้นมานครหลวงเวียงจันทน์ เข้าร่วมกองประชุมใหญ่พระสงฆ์ทั่วประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ ได้ประกาศยกเลิกล้มล้างการจัดตั้งเก่าทุกอย่างที่ไม่เป็นธรรม และได้เลือกตั้งใหม่ ที่ประชุมครั้งนั้น พระอาจารย์ใหญ่ได้รับเลือกตั้งจากกองประชุม สงฆ์ทั่วประเทศให้เป็นรองประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว

               ในปี พ.ศ. 2524 เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ผู้วางนโยบายระดับสูงที่แขวงคำม่วน แขวงสาละวันและแขวงสะหวันนะเขต ใช้เวลาถึง 5 เดือนเต็ม ปี พ.ศ. 2526 ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้า คณะอำนวยการโรงเรียนพระสงฆ์ทั่วประเทศ ต่อมาก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นหัวหน้าอำนวยการโรงเรียน สร้างครูสงฆ์ชั้นต้นและชั้นกลางที่วัดองค์ตื้อ นครหลวงเวียงจันทน์

               ปี พ.ศ. 2527 เป็นเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ ผู้วางนโยบายระดับสูงที่แขวงเชียงขวาง และได้ก่อสร้างโรงเรียนมัธยมสงฆ์ขึ้น 1 แห่ง ปี พ.ศ. 2528 เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ไปร่วม พิธีเปิดโรงเรียนอุดมสงฆ์ ณ แขวงจำปาสัก

               เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2530 ขึ้นไปที่แขวงหลวงพระบางให้คำแนะนำแก่คณะผู้เกี่ยวข้องในเรื่อง การศึกษาและก่อตั้งโรงเรียนมัธยมสงฆ์ขึ้น 1 แห่ง ปี พ.ศ. 2530 เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์จัดตั้ง องค์การ พุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว(อ.พ.ส.) ณ แขวงเวียงจันทน์ และได้ส่งมอบการศึกษาโรงเรียนมัธยมสงฆ์ให้แก่แขวงเวียงจันทน์

               ปี พ.ศ. 2531 ได้ เป็นผู้กำหนดนโยบายระดับสูง ณ แขวงบอลิคำไซ แขวงเวียงจันทน์ แขวงเชียงขวาง และแขวงหัวพัน และได้จัดตั้งโรงเรียนมัธยมสงฆ์ขึ้นที่แขวงบอลิคำไซ

               ปี พ.ศ.2533 ลงไปเก็บรวบรวมข้อมูลอยู่ที่แขวงบอลิคำไซ แขวงคำม่วน สะวันนะเขต เซกอง อัตตะปือ และแขวงจำปาสักใช้เวลา 3 เดือนเศษ จนสำเร็จการศึกษาค้นคว้า ปี พ.ศ.2539 จึงกลับไปเวียงจันเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่แขวงเชียงขวาง

               ปี 2519-2555 ได้ขยายโรงเรียนชั้นอุดม (มัธยม ปลาย) และสร้างครูออกสู่แขวงต่างๆ ทั่วประเทศ หลายแขวง นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการขยายการ ศึกษาชั้นประถมศึกษาให้ครบทุกตาแสง (ตำบล) ชั้นมัธยมมี 3 ระดับ คือ ม.1 ม.2 และ ม. 3

               พระอาจารย์ใหญ่ ดร.มหาผ่อง สะมาเลิก ได้รับการแต่งตั้งจากทางการ ให้เป็นคณะไปเยี่ยมสร้างสัมพันธไมตรีทางด้านศาสนา ที่ประเทศสหภาพโซเวียต ตามคำเชิญของรัฐบาลแห่งสหภาพโซเวียต ระหว่าง พ.ศ. 2522-2525 ถึง 4 ครั้ง

               ในปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ.2530 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะไปประชุมที่ประเทศมองโกเลีย

               ปี พ.ศ. 2535 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะ ไปประชุมพุทธศาสนาที่ประเทศประเทศศรีลังกา

               ปี พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าคณะไปร่วมการประชุมชาวพุทธโลกที่ประเทศประเทศ เมียนมาร์

               ปี พ.ศ. 2553 ตอนต้นปีในขณะที่ดำรง ตำแหน่งรักษาการประธานศูนย์กลางองค์การพุทธศาสนาสัมพันธ์ลาว ได้เดินทางไปร่วมสวดพระไตรปิฏกนานาชาติที่พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งลาวเป็นประเทศเจ้าภาพร่วมกับประเทศบังคลาเทศ

               ปี พ.ศ. 2554 ในเดือนมกราคม ได้เดินทางไปร่วมเฉลิมฉลองสมโภชเจดีย์ทั้ง 8 และเฉลิมฉลองงานบุญประจำปีของวัดลิ้วจู่ เพื่อระลึกถึงพระอาจารย์ฮุ้ยเหนิง อดีตสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 6 ของนิกายเซน ที่แขวงกวางดง ประเทศจีน ในระหว่างวันที่ 27- 30 พฤศจิกายน ก็ได้เดินทางไปร่วมประชุมนานาชาติ เพื่อฉลอง 2600 ปี แห่งการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อสำเร็จการประชุมได้เดินทางไปที่พุทธคยา เพื่อเป็นประธานการเปิดวัดลาวพุทธคยาแห่งที่ 2 และได้เข้าร่วมเปิดงานสวดพระไตรปิฎกนานาชาติ ครั้งที่ 2 ซึ่งลาวเป็นเจ้าภาพร่วมกับประเทศบังคลาเทศ เมื่อกลับจากประเทศอินเดีย จึงได้เดินทางไปร่วมประชุมนานาชาติ เกี่ยวกับวัฒนธรรมชาวพุทธที่กรุงพนมเป็ญและนครวัด ที่เสียมเรียบ เมื่อวันที่ 14-17 ธันวาคม ปีเดียวกัน

               ผลงานด้านการก่อสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ภายในวัดองค์ตื้อและนอกวัดองค์ตื้อ ภายในวัดองค์ตื้อ ซึ่งใช้งบประมาณจำนวนมาก และผลงานเหล่านั้นเป็นคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาและพุทธศาสนิกชนในลาวและทั่วไปเป็นอย่างเอนกอนันต์ ในขณะไปปฏิบัติศาสนกิจที่แขวงต่างๆ ก็บำเพ็ญเสียสละในการสร้างสาพัฒนาศาสนวัตถุ และศาสนสถานอย่างมากมายโดยเฉพาะภาคใต้ ที่เมืองโพนทอง ที่พระอาจารย์ใหญ่ไปประจำและปฏิบัติศาสนกิจที่นั่นเป็นเวลานาน ท่านได้สร้างกุฏิ สิม(อุโบสถ) ศาลา สิ้นงบประมาณเป็นเงินมหาศาล

               นอกจากพระอาจารย์ใหญ่จะเป็นพระสงฆ์ที่เป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้พบเห็น เมื่อมาเยี่ยมยามวัดองค์ตื้อแล้ว พระอาจารย์ใหญ่ยังทำงานหนักในด้านการก่อสร้างสาธาณูปการ อีกทั้งยังมีงานการรจนาประพันธ์หนังสือธรรมะและสารคดีประวัติ เช่น 1. หนังสือประวัติพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ 2. ประวัติหลวงปู่สมเด็จลุน 3. ประวัติพระอาจารย์ สุกาว ญาณวุฑโฒ (วิปัสสนาจารย์) 4. ประวัติ พระลูกแก้ว คูนมณีวงและหนังสืออานิสงส์เทศนา 5. ประวัติย่อพระอาจารย์ใหญ่มหาผ่อง สะมาเลิก 6. พุทธทำนายความฝัน 16 ข้อ ของพระเจ้าปเสนทิโกสล 7. หนังสือสวดมนต์และรวมบทเทศน์อานิสงส์เทศนา

การยกย่องและประกาศเกียรติคุณ

    1. ได้รับตำแหน่งสมณศักดิ์ชั้น ?อัคคสัทธัมม โชติกธชะ? จากรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์

    2. ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาพุทธศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2553

    3. ได้รับโล่เกียติคุณสันติภาพโลกจาก ประธานาธิบดีประเทศศรีลังกา ในปี พ.ศ. 2555

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
นิตยสารวันโฮม ปี 2557 และ เว็บไซต์ไกด์อุบลดอทคอม

14  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านซาคำแดง / Re: เหรียญปั๊มพระซาคำแดงรุ่นแรก (เนื้อทองแดง) เมื่อ: 11 มิถุนายน 2557, 10:52:10
 เงียบหายไปนาน กระทู้ไม่ขยับเลยครับ ท่านใดมีข้อมูลก็มาแชร์กันได้นะครับ
15  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: เหรียญหล่อโบราณพระครูขี้หอม(เจ้าราชครูหลวง) เมื่อ: 19 มีนาคม 2557, 19:34:51
พระอรหันต์โพนสะเม็ด (ยาคูขี้หอม)
หน้า: [1] 2 3 ... 18
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!