พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
16 เมษายน 2567, 17:48:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย ชีทวน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 24625 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 16 ธันวาคม 2553, 10:48:21 »

พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร วัดทุ่งศรีวิไลย อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี บูราพาจารย์พระเกจิจังหวัดอุบลราชธานี เทพเจ้าแห่งอำเภอเขื่องใน บ้านชีทวน พระอริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ พระเกจิอีกของของจังหวัดอุบลที่เราๆท่านๆกราบไหว้ได้อย่างสนิทใจ หลวงปู่หนู คัมภีโร พระครูคัมภีรวุฒาจารย์ หลวงปู่หนู (หลวงปู่หนู นามสกุลเดิม ดั่งดอนบม) เกิดที่บ้านผือ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น บวชเป็นสามเณรที่วัดตาลเรียง ตั้งแต่ตอนอายุ 16 ปี เพื่อเรียนมูลกัจจายนะ ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น จนกระทั่งอายุได้ 20 ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดตาลเรือง จำพรรษาอยู่ที่วัดตาลเรียง 1 พรรษา หลังจากนั้นพรรษาที่ 2 ก็ได้ออกเดินทางเพื่อศึกษาเล่าเรียนมูลกัจจายนะและได้เดินธุดงค์มาเรื่อย ๆ จากจังหวัดขอนแก่น พร้อมกับพระคำผอง เดินทางมาด้วยกัน 2 รูป ผ่านมาทางจังหวัดกาฬสินธิ์ ร้อยเอ็ด และยโสธร จนกระทั่งเดินทางมาถึงบ้านชีทวน ตำบลชีทวน อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี และไปปักกรดอยู่ที่บ้านหนองแคนที่เรียกกันว่าดอนธาตุ แล้วจึงเข้ามาศึกษาเล่าเรียนมูลกัจจายนะที่วัดทุ่งศรีวิไล โดยมีพระอาจารย์ครูกัน เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไล อยู่ในตอนนั้น หลวงปู่หนู หลังจากเรียนมูลกัจจายนะสำเร็จแล้วก็ไม่ได้เดินทางไปที่ไหนอีก อยู่จำพรรษาที่วัดทุ่งศรีวิไลนับจากนั้นเป็นต้นมา และสอนหนังสือกัจจายนะให้กับลูกศิษย์ลูกหาอีกมากมายหลายพรรษา จนกระทั่งพระอาจารย์ครูกันลาสิกขา หลวงปู่หนู จึงได้เป็นเจ้าอาวาสรูปต่อมา ต่อจากพระอาจารย์ครูกัน และทำหน้าที่สอนหนังสือตัวขอม ตัวธรรม และมูลกัจจายนะให้กับพระสงฆ์สามเณรที่มาขอเรียนศึกษากับท่าน หลวงปู่หนู นับว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ที่ได้รับความเคารพเป็นอย่างมาก และมีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งในตำบลชีทวน ต่างอำเภอ และต่างจังหวัดอีกมากมายเป็นพระเกจิอาจารย์ที่เก่งด้านมูลกัจจายนะมาก ด้านงานคณะสงฆ์ การปกครอง ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีวิไล ต่อจากพระอาจารย์ครูกัน เป็นครูสอนนักธรรมปริยัติ ได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตรในราชทินนาม ที่ พระครูคัมภีรวุฒาจารย์ (หนู คัมภีโร) และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ และเจ้าคณะตำบลชีทวน ปกครองคณะสงฆ์ชีทวนจนกระทั่งมรณภาพ ในปี พ.ศ. 2525 รวมอายุ 97 พรรษา 77 (ตามใบสุทธิ) วัดทุ่งศรีวิไลยยังมีความสำคัญคือเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธวิเศษ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านชีทวน อายุนับพันปี หลวงปู่หนูท่านเป็นศิษย์ของพระอุปัชฌาย์วงศ์ วัดศรีนวลสว่างอารมณ์ บ้านชีทวน


* Pic_291546_2.jpg (57.36 KB, 350x483 - ดู 8061 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 สิงหาคม 2555, 13:47:58 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 มกราคม 2554, 13:28:21 »

วัตถุมงคลของหลวงปู่หนูมีคุณค่าทุกรุ่นครับ เพราะมากประสบการณ์ และนับวันจะหายาก

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
Arnuparp999
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 12
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 8

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 2 : Exp 38%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2557, 16:52:56 »

ใช่เหรียญหลวงปู่หนูไหมครับ


* image.jpg (165.47 KB, 960x1280 - ดู 5904 ครั้ง.)

thxby15732PN3
บันทึกการเข้า
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
มีสติ ดูตัวเอง สอนตัวเอง ไม่ต้องสอนคนอื่น
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 639

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 20 : Exp 50%
HP: 0.1%



chanatip99@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #3 เมื่อ: 02 กุมภาพันธ์ 2557, 18:24:04 »

ใช่ครับ  หันด้านหลังมาดู๊     wan-e005

บันทึกการเข้า

วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2562, 16:14:13 »

วัดทุ่งศรีวิไล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ตั้งเป็นวัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 โดยมีใบเสมารายรอบบริเวณวัดหลายชั้น โดยการสันนิษฐานว่า วัดทุ่งศรีวิไล เป็นวัดที่มีการก่อตั้งมาแล้วถึงสองยุคสองสมัยแต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าเป็นปี พ.ศ. ใด

โดยยุคแรกสมัยแรกสันนิษฐานว่ามีการตั้งวัดตั้งแต่ตอนที่เจ้าชายอินทสะเกษ แห่งเมืองอินทสะเกษ (ศรีสะเกษ) ได้ออกบวชเพราะสำนึกผิดที่เป็นต้นเหตุให้นางเจียงไดบุตรสาวของอดีตเจ้าเมืองซีซ่วน (ชีทวนในปัจจุบัน) ต้องตาย (ตามประวัติศึกชิงนางเจียงได) แล้วได้มาอยู่ที่วัดทุ่งศรีวิไลแห่งนี้ ที่ซึ่งอดีตเคยเป็นอุทยานของนางเจียงได และได้สร้างเจดีย์เพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่นางเจียงได และก่อตั้งเป็นวัดในยุคสมัยแรกจนถึงปีไหนไม่มีปรากฏเป็นลายลักษณ์อักษรว่าเคยมีเจ้าอาวาสมากี่รูปเป็นเพียงการกล่าวเล่าขานสืบต่อกันมา ด้วยความที่วัดทุ่งศรีวิไลอยู่ไกลจากหมู่บ้าน จึงเป็นการลำบากสำหรับญาติโยมสาธุชนที่จะเข้ามาทำบุญสักการะเนื่องจากในสมัยอดีตบริเวณนี้เคยเป็นป่าหนาทึบ มีเพียงผู้คนที่เดินทางผ่านไปมาใช้เป็นที่พักอาศัยจนกลายเป็นวัดร้างในเวลาต่อมา

ยุคสมัยปัจจุบัน เนื่องจากมีการค้นพบพระพุทธรูปหินศิลาแลง ศิลปะสมัยทวารวดี ยุคขอมเรืองอำนาจเป็นจำนวนมากมายรายรอบบริเวณวัดทุ่งศรีวิไลแห่งนี้ แห่งซากปรักหักพังของทั้งเจดีย์ และธรรมาสน์เทศน์ ที่ก่อด้วยหินทรายในสมัยโบราณ ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นซากปรักหักพังจากวัดที่มีการก่อตั้งมาตั้งแต่สมัยแรกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และเหตุนี้เอง จึงเริ่มมีการบูรณะปฏิสังขรณ์ ในตอนแรกโดยการสร้างเป็นเรือนไม้เพื่อเก็บรวบรวมพระพุทธรูปที่ขุดได้แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เรือนไม้ก่อนเพื่อจะได้เป็นที่สักการะบูชาแก่ชาวบ้าน ต่อมาเรือนไม้ที่เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปเกิดไฟไหม้ทั้งหลัง โดยคาดว่าน่าจะเกิดจากเทียนที่ชาวบ้านนำมาจุดบูชาไว้พระนั่นเอง และเหตุนี้เอง ก็ได้เกิด สิ่งมหัศจรรย์ที่ทำให้ชาวบ้านเกิดความเคารพศรัทธาเลื่อมใสเนื่องจากมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งไม่มีแม้แต่รอยขีดข่วน ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่าพระเจ้าวิเศษ และต่อมาได้เรียกเป็น หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ และได้สร้างวิหารมั่นคงถาวรไว้เพื่อเป็นที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ มีการก่อร่างตั้งเป็นวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันเรียกชื่อว่า วัดทุ่งศรีวิไล เป็นแหล่งที่พระเกจิอาจารย์ดังทั้งหลายเคยมาปฏิบัติธรรมอย่างต่อเนื่องไม่เคยขาด

วัดทุ่งศรีวิไล วัดนี้มีหลวงพ่อพระพุทธวิเศษ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงแกะสลักปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง 55 เซนติเมตร สูง 90 เซนติเมตร ศิลปะทวารวดี เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองที่เคารพสักการะ ของชาวบ้านชีทวน นอกจากนี้บริเวณวัดยังมีใบเสมาหลายชั้นล้อมรอบอุโบสถ และวิหารหลังเก่าไปจนถึงกำแพงรอบวัด ทุกทิศตลอดทั้งสระน้ำใหญ่ รวมทั้งหอไตรและ ธรรมาสน์ซึ่งก่อด้วยอิฐในสมัยนั้น ก่อตั้งเป็นวัดมาแล้วกว่า 300-400 ปี แต่พึ่งได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาตั้งเป็นวัดอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์แห่งราชอาณาจักรไทย โดยมีการจารึกเป็นลายลักษณ์อักษรการได้รับวิสุงคามสีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2430 ตามพระราชบัญญัติการขอตั้งวัดอย่างถูกต้อง และมีเจ้าอาวาสปกครองวัดทุ่งศรีวิไลมาแล้วหลายรูปด้วยกัน แต่เท่าที่มีการเล่าสืบต่อกันมาจากอดีตถึงปัจจุบัน ที่มีการบันทึกทั้งหมด 4 รูป ดังนี้

พระอัญญาท่านด้าน ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดกี่ปี
พระอาจารย์ครูบากัน ไม่ปรากฏว่าเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัดกี่ปี
พระครูคัมภีรวุฒาจารย์ (หลวงปู่หนู คัมภีโร) ปกครองวัดทุ่งศรีวิไล ถึง ปี พ.ศ. 2525
พระครูสุนทรสุตกิจ (มณี ผ่องแผ้ว) ปกครองวัดทุ่งศรีวิไล ปี พ.ศ. 2525 ถึง ปัจจุบัน

มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่เศษ (ขยายเขตวัดเพิ่มเติม) เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม วัดทุ่งศรีวิไลเป็นสำนักอบรมปฏิบัติธรรมที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบันมีการปฏิบัติธรรมอบรมจิตภาวนาแก่ข้าราชการ หน่วยงานต่าง ๆ โรงเรียนทั่วในจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในจังหวัดอุบลฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น


* พระอุปัชฌาย์หนู คัมภีโร.jpg (43.98 KB, 552x800 - ดู 2516 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 สิงหาคม 2562, 16:17:09 »

หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ เป็นพระพุทธรูปหินศิลาแลงปางนาคปรก ขนาดหน้าตักกว้าง ๕๕ ซม. สูง ๙๐ซม. ยุคทวารวดีมีอายุพัน ๆ กว่าปีล่วงมาแล้ว มีพระพุทธชัยสิทธิ์อยู่เบื้องขวา พระร่วงโรจนฤทธิ์อยู่เบื้องซ้ายปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดทุ่งศรีวิไล บ้านชีทวน นับเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของชาวบ้านชีทวน และตำบลใกล้เคียง

ถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์มาก ประชาชนชาวบ้านชีทวนและตำบลใกล้เคียงเมืองอุบลฯ ตลอดทั้งจังหวัดใกล้และไกล รวมทั้งสาธุชนชาวกรุงเทพมหานครต่างก็เลื่อมใสศรัทธาในองค์หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ พระพุทธชัยสิทธิ์ พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ ได้พากันนำดอกไม้ธูปเทียนมาสักการะมิได้ขาด เพื่อขอพรให้ปกป้องคุ้มครองรักษา และให้ประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปรารถนาชีวิตครอบครัว พร้อมด้วยบุตร-ธิดา และญาติพี่น้องของตน ทั้งที่อยู่ในต่างจังหวัดและต่างประเทศให้ประสบความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของหลวงพ่อพระพุทธวิเศษนั้น มีอยู่มากมายเป็นที่เลื่องลือขจรขจายไปทั่วภาคอีสาน และกรุงเทพมหานคร


* หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ.jpg (119.79 KB, 425x640 - ดู 2414 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
tar
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 352
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 284

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 13 : Exp 63%
HP: 0.1%




ดูรายละเอียด เว็บไซต์
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2562, 19:38:05 »

พิธีฮดสรงหลวงปู่ครับ


*  ซีทวน.jpg (71.48 KB, 960x674 - ดู 2360 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า

รับเช่าพระลาวยอดนิยม http://www.fb.com/tar.kamanit
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!