middle spirit
|
 |
« ตอบ #780 เมื่อ: 16 กรกฎาคม 2568, 05:26:34 » |
|
บุญ ไม่ใช่อยู่ที่ในพรรษา นอกพรรษา อยู่ที่ศรัทธา เจตนาบริสุทธิ์ จิตใจผุดผ่องเต็มที่แล้ว นั่นเป็น ตัวบุญ อยู่ตรงนั้นต่างหาก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๐
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #781 เมื่อ: 17 กรกฎาคม 2568, 05:02:30 » |
|
#ธรรมอาศัยโลก ธรรมต้องอาศัยอยู่กับโลก ไม่มีโลก ธรรมก็อยู่ไม่ได้ ผู้เห็นธรรม รู้ธรรมก็คือ ผู้มารู้มาเห็นโลกตามความเป็นจริง แล้วเบื่อหน่ายคลายจากโลกเอง ถ้ารู้เท่า รู้เรื่อง มันเป็นธรรมทั้งหมด ผู้ปฏิบัติจะเห็นความดีความชั่วของตนตรงนั้นแหละ เมื่อไม่มีโลกแล้ว ธรรมก็ไม่ทราบว่าจะเอาไปตั้งไว้ตรงไหน จะเกิดขึ้นมาได้อย่างไร โลกอันใดธรรมก็อันนั้น จะเป็นโลกหรือเป็นธรรม อยู่ที่ "ฝึกอบรม" ต่างหาก การพิจารณากาย - เวทนา - จิต - ธรรม ให้เห็นเป็นสักแต่ว่านั้น ไม่ใช่ของง่าย เพราะมันเป็นการลบสมมติบัญญัติของเดิมทั้งหมด ที่เห็นเป็นสักแต่ว่านั้น มันเป็นบัญญัติสมมติใหม่ซึ่งเกิดจากสติปัฏฐาน ถ้าผู้ปฏิบัติพิจารณาได้อย่างนี้ มันก็จะละการถือตน ถือตัว ถือเขา ถือเรา ให้หมดสิ้นไปจากใจได้ นี้เป็นเบื้องต้นของสติปัฏฐาน คำสอนของพุทธศาสนาทั้งหมด มาลงอยู่ที่ "สติ" อันเดียว ตั้งแต่เบื้องต้นก็สอนสติ ที่สุดก็สอนสติ อย่าให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของกิเลส ให้จิตอยู่แต่ในอำนาจของสติ สติเป็นตัวระมัดระวัง อันนั้นแหละเป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยแท้ มีสติสมบูรณ์บริบูรณ์ เรียกว่า ถึงศาสนา สติที่สมบูรณ์จะไม่ต้องควบคุมและรักษา แต่มันจะมีสติพอดีกับอารมณ์ที่จะมาปรากฏขึ้นที่จิต แล้วรู้เท่าทันกัน อันเนื่องมาจากที่เราได้อบรมไว้ดีแล้ว ไม่มีการส่งส่ายออกนอกไปจากอารมณ์ที่ปรากฏขึ้นที่จิตนั้น รู้แล้ววางเฉย บางทีก็ทำให้เกิดความสลดสังเวชในเรื่องนั้นๆ เรื่องสติมันต้องเป็นอย่างนั้น คือ มันกลัวอารมณ์ต่างๆ เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้นจะต้องเห็นเป็นโทษ โดยมากมักเห็นเป็นทุกข์ เมื่ออบรมฝึกฝนอยู่อย่างนั้นนานๆ เข้า สติจึงจะพอดี ไม่แข็งจนเกินไป แล้วก็ไม่หย่อนยานจนส่งออกไปข้างนอก สติ สมาธิ ปัญญา สมดุลกันโดยอัตโนมัติเมื่อไรแล้ว ปัญญาวิปัสสนาจึงจะเกิดขึ้น คือไม่ว่าจะเห็นหรือรู้อะไรโดยทางอายตนะทั้งหกแล้ว พระไตรลักษณ์จะเกิดขึ้นครบพร้อมทั้งสาม..." หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #782 เมื่อ: 18 กรกฎาคม 2568, 05:24:23 » |
|
ลองฝึกหัด ตัดความคิดฟุ้งซ่านถึงอดีตและอนาคต เครื่องมือที่ตัดก็ใช้ “สติ “ คืออย่าเผลอไผลปล่อยใจให้คิดถึง เรื่องอดีตหรืออนาคต คิดเมื่อใดให้เรียกใจกลับมาทันที ให้กลับมาสนใจกับปัจจุบัน คือสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า หรือที่พระเรียกว่า ของจริง นี่แหละ แล้วท่านจะพบว่า ในแต่ละวันๆ ความทุกข์จะหายไปจากใจไม่น้อย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #783 เมื่อ: 19 กรกฎาคม 2568, 05:39:39 » |
|
การระงับอารมณ์เฉยๆ - การระงัยอารมณ์ต้องมีเหตุผล ------------------------------------------------------ ผู้ถาม: ตามที่เข้าใจเวลาที่ทีอารมณ์เกิดขึ้น จะต้องพยายามระงับ แต่ว่าท่านอาจารย์ว่า “ เราจะต้องพิจารณาอารมณ์ที่เกิดขึ้น “ หมายคว่ามว่า อารมณ์ที่เราจะระงับคืออารมณ์ที่เราควรจะพิจารณาหรือว่าอย่างไร? หลวงปู่เทสก์ : 1.การพยายามละอารมณ์คือละด้วยวิธีสละทิ้งเลย ก็จัดเป็นการละได้ เหมือนกัน แต่ละไม่เด็ดขาด 2.พิจารษอารมณ์ที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอุบายต่างๆ เห็นชัดแล้วจึงละ นี่เป็นการละได้เด็ดขาด ทั้งสองอย่างนี้ใช้ได้เหมือนกัน อย่างที่ 1 ใช้เวลาสั้น อย่างที่ 2 ใช้เวลายาวนาน หลวงปู่เทสก์ : แต่ความละนั้นจะต้องมีเหตุมีผล มิใช่การละเฉยๆ การเฉยๆไม่มีเหตุผล ภายหลังมีอารมณ์มากระทบมักจะสู้ไม่ได้ ปุจฉาวิสัชนาในต่างประเทศ ณ.ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 20 – 31 มีนาคม พ.ศ.2520
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #784 เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2568, 05:50:33 » |
|
เราอยากทำความดีอย่าไปโกหกตน สิ่งใดไม่ดี ก็จงละเสีย สิ่งใดดี ก็จงรักษาเอาไว้ ให้มันเจริญงอกงามขึ้น จึงจะเป็นมนุษย์อันวิเศษสูงสุด สมกับที่เราอยากเป็นคน ให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไป หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #785 เมื่อ: 21 กรกฎาคม 2568, 06:23:22 » |
|
“แก่น” คือ การอบรมภาวนารักษาจิตใจของเราไม่ให้หวั่นไหววุ่นวาย จิตใจของเราไม่มีกิเลสบาปกรรม จิตใจตั้งมั่นเป็นสมาธิ แน่วแน่อยู่ในฌานสมาธิ เป็นจิตใจผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์ เรียกว่า แก่นศาสนานั้น มารวมอยู่ที่แก่น ศาสนานั้นถ้าเข้าถึงแก่นแล้ว คนนั้นจะเป็นผู้หนักแน่นและมั่นคง ไม่หวั่นไหวต่อทุกข์ทั้งหลาย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แนวปฏิบัติพระพุทธศาสนา แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง ๒๕๑๓
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #786 เมื่อ: 22 กรกฎาคม 2568, 05:08:30 » |
|
สมถะ คือ การทำความสงบ วิปัสสนา คือ การรู้แจ้ง วิปัสสนา นั้นมีอาวุธอยู่ ๓ ประการ สำหรับประหัตประหารข้าศึก คือ กองกิเลส เรารู้ เราดู เราเห็น เราได้ยินได้ฟังสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายหมด ที่มันส่งส่ายออกไปตามอารมณ์ เรียกว่า อารมณ์ของจิต ต้องใช้อาวุธ คือ “อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ๓ อย่าง” นี่แหละ เป็นเครื่องฟาดฟันประหัตประหารสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นก็จะหายไป หรือระงับไป หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง จาก.หนองคาย วิปัสสนา (๒) แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง ๓ สิงหาคม ๒๕๒๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #787 เมื่อ: 23 กรกฎาคม 2568, 07:15:56 » |
|
ใจ ที่เป็นกลางๆแล้ว จะมีอะไรกระทบกระเทือนอีก ขอให้รักษา ความเป็นกลาง ไว้ให้มั่นคงเถอะ ไฟนรก ย่อมดับลง ณ ที่นั่นแหละ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #788 เมื่อ: 24 กรกฎาคม 2568, 08:17:47 » |
|
เมื่อเรามาฝึกหัดปฏิบัติธรรม จนเห็นเรื่องโทษของตนเองแล้ว ค่อยชำระสะสางให้มันหมดไปๆ ก็จะเป็นคุณแก่ตนในอนาคตข้างหน้า ได้ชื่อว่าไม่เสียชาติที่เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์ แล้วยังมาพบพระพุทธศาสนา และยังมาพบครูบาอาจารย์ ที่สอนให้เราละกิเลสอีกด้วย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #789 เมื่อ: 25 กรกฎาคม 2568, 07:08:56 » |
|
หัดเป็นคนสร้างบุญกุศล อย่าให้เป็นคนจน คุณงามความดีมีปรากฏขึ้นในใจของตนแล้ว ได้ชื่อว่าเป็นมหาเศรษฐีบุญกุศล อยู่ในโลกนี้ก็เป็นผู้ไม่จน ละโลกนี้ไปแล้ว ก็เป็นผู้ไม่จน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|