middle spirit
|
 |
« ตอบ #690 เมื่อ: 20 เมษายน 2568, 06:26:09 » |
|
ประกอบแต่กิจที่ควร ละสิ่งที่ไม่ควรเสีย พยายามรักษาความดีของตนไว้ ก็มีแต่ทางจะดียิ่งๆขึ้นไป จะไม่เรียกว่า เพียรชอบอย่างไร หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #691 เมื่อ: 22 เมษายน 2568, 07:46:30 » |
|
รักษาศีลต้องถือจิต รักษาจิตก่อนจึงจะรักษาศีลถูกตัวศีลแท้ เมื่อศีลเข้าถึงจิต เข้าถึงใจแล้ว เราไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมารักษาตัวเราเอง... ศีล คือ ความปกติของ กาย วาจา แลใจ ถ้าใจไม่ปกติเสียแล้ว กาย วาจา มันจะปกติไม่ได้ เพราะกาย วาจา มันอยู่ในบังคับของจิต หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (สิ้นโลก เหลือธรรม รหัส 4 หน้า 238-239)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #692 เมื่อ: 23 เมษายน 2568, 06:19:13 » |
|
อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก มากระทบกันเข้านี่แหละ ที่ทำให้เกิดทั้งคุณและโทษ ก็อยู่ที่ตรงนี้ อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งสองนี้ จึงเหมือนมิตรและศัตรูไปพร้อมๆกัน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ รหัส 4 หน้า 115)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #693 เมื่อ: 24 เมษายน 2568, 05:06:38 » |
|
ให้พิจารณากายนี่แหละ อย่าให้จิตส่งออกนอกกาย จิตมันแน่วอยู่แต่เรื่องนั้น จิตจะได้ความสงบ จิตจะรวมเป็นสมาธิ อยู่ในขั้นของ สมถะ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๔
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #694 เมื่อ: 25 เมษายน 2568, 05:55:22 » |
|
คนเรามีใจทุกคน กิเลสทั้งหลายเกิดจากใจ บาปทั้งหลายก็เกิดจากใจ บุญทั้งหลายก็เกิดจากใจ แต่เรายังไม่ทันเห็นใจ จึงว่ายังห่างไกลพุทธศาสนามาก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๒
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #695 เมื่อ: 26 เมษายน 2568, 05:21:33 » |
|
ขอให้พิจารณา ถึงเรื่องของตนเองนี่แหละ มันมีผิดตรงไหน ไม่ถูกตรงไหน เมื่อรู้ตัวแล้ว ก็แก้ไขไป ก็หมดเรื่อง หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๗
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #696 เมื่อ: 27 เมษายน 2568, 05:35:35 » |
|
ความประพฤติก็ไม่มีอะไร มีในตัวของเราทั้งหมด มีกาย วาจาใจ ๓ อย่างนี้แหละ ดีชั่วอยู่ตรงนี้ จะดีก็เพราะกาย วาจา ใจ นี้ จะชั่วจะเลวก็เพราะ กาย วาจา ใจ นี้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี กระจกเครื่องส่อง แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๘
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #697 เมื่อ: 28 เมษายน 2568, 05:15:59 » |
|
#จับตัวกลาง "หลายนัย ที่เราจะจับตัวกลาง อย่างว่า...เราคิดไปในอดีตนั้นเรียกว่า ไม่ใช่กลาง คิดไปในอนาคต ก็ไม่ใช่กลาง อย่าคิดไปในอดีต ในอนาคต อย่าส่งไปตามอดีต อนาคต ให้มันเฉยๆ เสีย นี่แหละ ค้นหาตัวกลางได้ เราไม่ยินดียินร้ายล่ะ ยินดี ก็ไม่เอา ยินร้าย ก็ไม่เอา วาง...กลางๆ ไม่ให้เกิดยินดียินร้าย หรือสมมุติว่า ยินดีอยู่ข้างขวา ยินร้ายอยู่ข้างซ้าย เราวาดภาพขึ้นมาที่ใจของเรานั่น... เราไม่เอาทั้งยินดียินร้าย เราเอาตัวกลางๆ อย่างนี้ค้นหาตัวกลางได้เหมือนกัน มีหลายวิธีที่จะค้นหา ทีนี้ มันต้องการอยู่ว่า... ยังไม่รู้ตัวกลาง คือมีลักษณะอย่างไร อย่างที่เคยอธิบายให้ฟังว่า...กลั้นลมหายใจ หายใจเข้า-หายใจออกไม่เอา ไม่ต้องหายใจออก หายใจเข้า เฉยๆ...กลั้นเสีย มันเป็นตัวกลางเหมือนกัน จับเอาตัวกลางนั้น... พอจับตัวกลางได้แล้ว คราวนี้... ที่เราว่า จะให้จิตเป็นสมาธิไม่ต้องพูด ไม่มีข้างหน้า ข้างหลัง ไม่มีอดีต อนาคต ไม่มีรัก ไม่มีชัง ไม่ชอบ ไม่เกลียด ไม่โกรธแล้ว มันเฉยๆ...เป็นกลาง มันก็เลย เป็น...สมาธิ ในตัว ทีนี้เมื่อเป็นสมาธิ... ตัวกลางๆ นั่นแหละ เราจะเห็นมันชัดขึ้นมา อะไรจะเกิด มันก็เกิดขึ้นตรงนั้น... เห็นที่เกิดของสิ่งต่างๆ ความรู้ที่เกิดจาก...สิ่งต่างๆ นั้นคือ...ตัวปัญญา" พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศืษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #698 เมื่อ: 29 เมษายน 2568, 05:13:44 » |
|
ประกอบแต่กิจที่ควร ละสิ่งที่ไม่ควรเสีย พยายามรักษาความดีของตนไว้ ก็มีแต่ทางจะดียิ่งๆขึ้นไป จะไม่เรียกว่า เพียรชอบอย่างไร หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #699 เมื่อ: 30 เมษายน 2568, 06:33:47 » |
|
ถ้าหากว่ามีสติควบคุมจิต คอยกลั่นกรองจิต กำจัดความชั่วให้ออกไปเสีย เหลือไว้แต่ ความดีในจิต จึงจะปรากฏแต่ความดี หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๙
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #700 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2568, 06:40:12 » |
|
จึงว่า ตัวของเรานั่นแหละ เป็นบทบาทที่ตั้งของธรรมทั้งหลาย พิจารณาอะไรก็พิจารณาไปเถิด ถ้าไม่พิจารณาในตัวของเราแล้ว ไม่ขัดเจนในตัวของเราแล้ว ไม่ปล่อยวางในตัวของเราแล้ว สิ่งอื่นๆไม่ต้องพูดหรอก มันต้องเกี่ยวข้องถึงเรื่องอื่นหมดทุกสิ่งทุกอย่าง จึงว่า ธรรมมีอยู่ในที่นี้ ครั้นเห็นที่นี้เป็นธรรมแล้ว ของอื่นก็เห็นเป็นธรรมหมด หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี การฝึกหัดจิต เทศน์ ณ.วัดหินหมากเป้ง วันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ.2523
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #701 เมื่อ: 01 พฤษภาคม 2568, 16:39:33 » |
|
“พระพุทธศาสนา จะว่าเป็นของกว้างก็กว้าง กล่าวคือท่านสอนเรื่องจิตที่ส่งส่ายไปตามอารมณ์หาที่สิ้นสุดมิได้. คือหาประมาณที่สิ้นสุดไม่ได้นั่นเอง. ถ้าจะว่าเป็นของแคบก็แคบนิดเดียว. คือเมื่อมีสติคุมจิตได้แล้ว หาต้นตอที่เกิดของกิเลสได้แล้ว กิเลสก็ดับ ณ ที่นั้นเอง.“ โอวาทธรรม หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #702 เมื่อ: 03 พฤษภาคม 2568, 06:14:38 » |
|
สัจจธรรม หมายถึง ธรรมของจริงแท้ มิใช่ของปลอมและหลอกลวงให้คนอื่นเข้าใจผิด ธรรม ในที่นี้หมายเอา ทั้งที่เป็นรูปวัตถุที่แลเห็นได้ด้วยตา และที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูป แต่เป็นอาการของจิต ธรรมทั้ง 2 อย่างนั้นมี ทั้งดีและชั่ว หยาบและละเอียด เป็นไปภายในกาย ในใจของตนและคนอื่น และก็เกิด-ดับ อยู่อย่างนั้นตลอดกาล อันทำให้บุคคลผู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง กระสับกระส่าย เดือดร้อน เป็นทุกข์มากและน้อย ด้วยอำนาจของความหลงของตนๆ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (บัญญัติ6 รหัส 5 หน้า 88)
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #703 เมื่อ: 04 พฤษภาคม 2568, 04:50:19 » |
|
#ทำดีได้ดี เราทำดีแล้วความดีของเราย่อมไม่หนีไปไหน เราเป็นตัวของเองอยู่ดีๆ นั่นแหละ คนอื่นให้ก็เป็นการส่งเสริมความดีอย่างหนึ่ง เขาไม่ให้ ความดีนั้นก็เป็นเราอยู่ดีๆ นั่นเอง ถ้าพิจารณาได้อย่างนี้ ก็จะเป็นความดีของเราขึ้นอีกขั้นหนึ่ง ถ้าไปคิดว่า เราทำดีแล้วเขาไม่ให้ความดีแก่เรา เลยโกรธ คิดน้อยใจ เกิดอิจฉาริษยาอาฆาตพยาบาทแก่เขา เลยสร้างกิเลสขึ้นมาใหญ่โต กิเลสสร้างกิเลสขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง แทนที่จะชำระ เลยสะสมให้พอกพูนขึ้นมา กิเลสคือความเศร้าหมองของใจ
เราเห็นง่าย ความเศร้าหมองที่เห็นง่ายๆ คือ ความโกรธ กลุ้มใจ ทำให้มืดมิดปิดไม่ให้เห็นความดีของตนและคนอื่น เขาจะดีสักเท่าไหร่ก็ไม่ยอมเห็น ไม่ยอมรู้ อันนั้นกิเลสปกปิดไว้ คือ ปิดใจของเรา หุ้มห่อใจของเรา ปัญญาของเรา ไม่ให้เห็นเรื่องความดีของคนอื่นและสิ่งอื่น จากพระธรรมเทศนาเรื่อง กิเลส โดยหลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วันที่ 17 กุมภาพันธุ์ 2520 ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
 |
« ตอบ #704 เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2568, 05:22:10 » |
|
ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าจะพูดภาษาไทยๆของเรา ก็เรียกว่า ธรรมทั้งหลายเกิดปรากฏขึ้นที่ใจ รู้เฉพาะใจตนเอง (ปัจจัตตัง) ฉะนั้น ใจจึงประเสริฐกว่าทุกสิ่งทุกอย่าง เพราะใจเป็นผู้ให้สำเร็จกิจทุกกรณี สติปัฏฐานภาวนา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี แสดง ณ.วัดหินหมากเป้ง วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ.2517
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|