สุดยอดทางคงกระพันชาตรี แคล้วคลาดและเป็นมหาอุด

<< < (11/11)

Amuletism:
สมาชิกใหม่ เข้ามาเจอโดยบังเอิญ
ไว้จะขอเข้ามาแจมครับ  017

vs12:
ฝ้ายเจ็ดสี หลวงตาพวง สุขินทริโยฝ้ายเจ็ดสีวัตถุมงคลของหลวงตาเป็นที่ศรัทธาและรู้จักของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป มิใช่เพียงแต่ชาวยโสธรเท่านั้น ชื่อเสียงของฝ้ายเจ็ดสีขจรกระจายไปทั่วทุกสารทิศ มีญาติโยมหลั่งไหลมามิได้ขาด ความเป็นมาของฝ้าย 7 สี ชาวบ้านใน ต.สิงห์ อ.เมือง จ.ยโสธร ประกอบด้วยหมู่บ้านสิงห์ หมู่บ้านหนองขอน หมู่บ้านหนองเยอ หมู่บ้านนาสีนวล มีผีปอบ (หมายถึงบุคคลที่มีวิชาคาถาอาคม แต่ไม่ปฏิบัติตนอยู่ในศีลในธรรม แล้วเกิดร้อนวิชา) มารังควาน ชาวบ้านไม่มีที่พึ่ง จึงพากันมาหาหลวงตาพวง โดยชาวบ้านไปซื้อด้ายสายสิญจน์ จากตัวเมืองยโสธรเพื่อให้หลวงตาแผ่เมตตาให้ แล้วนำไปผูกข้อมือบ้าง ผูกคอบ้าง ผูกตามบ้านเรือนบ้าง ชาวบ้านชุดแรกๆ ที่ได้ไป ร่ำลือกันว่าสามารถป้องกันผีปอบได้ ต่อมาเมื่อข่าวแพร่สะพัดออกไปก็มีญาติโยมมาขอเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
ไม่นานนักชาวบ้านในตำบลสิงห์ เกือบทุกบ้านได้สายสิญจน์จากหลวงตาไป ผลที่สุดคนที่ถูกหาว่าเป็นปอบก็เสียชีวิต หลังจากนั้นมาก็ไม่มีผีปอบมารบกวนชาวบ้านอีกเลย เมื่อข่าวสะพัดออกไปอีก ชาวบ้านหมู่บ้านและตำบลอื่นๆ ก็เริ่มหลั่งไหลมาขอฝ้ายเจ็ดสีกันมิได้ขาด บางคนก็ขอให้ผูกข้อมือให้ ซึ่งการผูกข้อมือแต่ละคนต้องเสียเวลามาก ถ้าหากมีญาติมาพร้อมกันมากๆ ก็ยิ่งเสียเวลานาน เพราะหากคนหนึ่งได้รับการผูกข้อมือจากหลวงตาแล้ว คนอื่นๆ ก็อยากได้บ้าง ด้วยเหตุนี้ลูกศิษย์ของท่านจึงเห็นว่าการผูกด้ายสายสิญจน์เสียเวลานาน จึงได้นำเชือกไนลอนที่มีเจ็ดสีมาถวาย เพราะไนลอนเจ็ดสีนั้นสามารถทำเป็นวงๆ สำเร็จรูปไว้ก่อน เมื่อญาติโยมมาขอก็แจกได้เลยโดยไม่เสียเวลา
สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้ฝ้ายเจ็ดสีเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปก็ เพราะเหตุว่ามีชาวบ้านคนหนึ่งป่วยหนัก เป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย ใกล้จะเสียชีวิตเต็มที ญาติได้มาขอฝ้ายเจ็ดสีจากหลวงตาไปผูกข้อมือเพื่อเป็นสิริมงคล แต่หลังจากนั้นอีก 3-4 วันคนป่วยคนนั้นก็เสียชีวิต ญาติจึงได้นำศพไปบำเพ็ญกุศล และนำไปเผา ปรากฏว่าศพไม่ไหม้ แม้ว่าจะใช้เวลาเผานานพอสมควรโดยใช้ถ่านถึงสองกระสอบแล้ว ศพก็เพียงแต่ดำเป็นตอตะโก ญาติของผู้ตายไม่ทราบจะทำอย่างไร นึกได้ว่าก่อนเผา ลืมถอดฝ้ายเจ็ดสีจากข้อมือศพ จึงได้มานิมนต์ หลวงตาพวงไปเผา หลวงตาก็รับนิมนต์ไปเผาให้ และให้นำถ่านมาอีกหนึ่งกระสอบ หลวงตาบอกว่า ?ถ้าเผาไม่ไหม้เมื่อถ่านหมดกระสอบนี้แล้ว ก็ให้นำศพไปลอยแม่น้ำชีให้ปลากิน? แต่ทว่าในที่สุดศพก็ไหม้เป็นที่เรียบร้อย  ญาติของผู้ตายเลยนำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ ว่าฝ้ายเจ็ดสีของหลวงตาพวงยิงไม่เข้า เผาไม่ไหม้ เมื่อข่าวแพร่กระจายออกไปก็มีญาติโยมมาขอฝ้ายเจ็ดสีมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งไม่มีปัจจัยเพียงพอในการซื้อฝ้ายเจ็ดสีมาแจก   ในที่สุดบรรดาลูกศิษย์จึงต้องขออนุญาตหลวงตานำฝ้ายเจ็ดสีไปจำหน่ายเพราะต้อง การทุนมาทำต่อไปให้เกิดการหมุนเวียน จวบจนปัจจุบันฝ้ายเจ็ดสีที่ได้แจกจ่ายไปมีเป็นจำนวนมากเทียบได้กับจำนวน บรรทุกของรถสิบล้อ 2-3 คัน นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมากที่ผู้ได้รับฝ้ายเจ็ดสีประสบด้วยตนเองจนร่ำลือต่อๆ กันไปแต่มิได้บันทึกไว้ ณ ที่นี้

vs12:
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นประมาณ เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2540  นายเดนนิส  แมสเจอร์แมน และนายอีวาน เดลเลี่ยน นักข่าวสารคดี บริษัทคาสตาร์โปรดักชั่น ประเทศเบลเยี่ยม  ซึ่งเดินทางมาถ่ายทำสารคดีงานประเพณีบุญบั้งไฟ ที่ จ.ยโสธร  ได้ตระเวนไปในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัด  ในระหว่างการถ่ายทำงานบุญบั้งไฟ ที่บ้านไผ่ อ.ทรายมูล จ.ยโสธร ระหว่างนั้นเองบั้งไฟเกิดแตก  ซึ้งทั้ง 2 คนอยู่ใกล้เหตุการณ์มากที่สุด แต่ไม่ได้ รับอันตรายแต่อย่างใด ต่อมา ระหว่างไปบันทึกภาพการจุดบั้งไฟของช่างมือหนึ่ง จ. ยโสธร ที่สวนพญาแถน อ.เมืองยโสธร ก็ได้เกิดเหตุบั้งไฟระเบิด แต่ทั้งคู่ก็ไม่ได้รับบาดเจ็บ เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ นายเดนนิส  แมสเจอร์แมน และนายอีวาน เดลเลี่ยน  เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ต่อมานึกขึ้นได้ว่ามีฝ้าย 7 สี ผูกข้อมือ ซึ่งนายบรรจบ สุวรรณราช ช่างบั้งไฟมอบให้  เมื่อสอบถามเรื่องฝ้าย 7 สีจึงรู้ว่าเป็นของหลวงตาพวง สุขินทริโย เจ้าอาวาสวัดศรีธรรมาราม เจ้าคณะจังหวัดยโสธร (ธ) จึงเดินทางไปกราบและท่านได้เมตตารดน้ำมนต์ พร้อมมอบฝ้าย 7 สี ให้อีกคนละ 1 เส้น

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว