ตำนาน 4 เสืออีสาน นายถวิล อุดล : ขุนพลเมืองร้อยเอ็ด ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
09 ธันวาคม 2567, 16:17:06 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ตำนาน 4 เสืออีสาน นายถวิล อุดล : ขุนพลเมืองร้อยเอ็ด  (อ่าน 6984 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 09 เมษายน 2562, 15:42:10 »

ตำนานชีวิตสี่เสืออีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน (๖)

นายถวิล อุดล : ขุนพลเมืองร้อยเอ็ด



ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงตำนานชีวิตของเสืออีสานนามทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ได้กล่าวถึงฉากสุดท้ายของชีวิตขุนพลฝีปากกล้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งจบลงด้วยน้ำมือของผู้มีอำนาจในยุคนั้นมิแตกต่างกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อดีตรัฐมนตรีอีสานในยุคนั้น


ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงประวัติชีวิตของอดีตผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานอีกท่านหนึ่งผู้ลิขิตชีวิตเส้นทางสายการเมืองจากเมืองร้อยเอ็ดถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้สู่กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร ในนามนักการเมืองฝีปากกล้ามีผลงานการอภิปรายจนทำให้มีการยุบสภาครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย จารึกนามไว้บนถนนนักสู้ผู้แทนราษฎรอีสานนามถวิล อุดล ดังจะได้กล่าวในลำดับต่อไปนี้ครับ



ตำนานขุนพลเมืองร้อยเอ็ด


นายถวิล อุดล เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ดโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายฟัก และนางนิ่ม อุดล ซึ่งมีอาชีพค้าขายในจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยทั้งสองสามีภรรยาเป็นผู้ที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารีเสมอมาจึงเป็นรู้จักในหมู่คนทั่วไปในจังหวัดร้อยเอ็ด จึงนับเป็นฐานเสียงด้านการเมืองเมื่อนายถวิล อุดลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา



อุดล  : ตระกูลทนายความ



ด้านการศึกษานายถวิล อุดล เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่บ้านเกิด จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จึงเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายจนสอบไล่ได้เนติบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2473



กล่าวได้ว่าสำหรับตระกูล “อุดล” นั้นส่วนหนึ่งจะประกอบอาชีพทนายความ เช่น นายทองอินทร์ อุดล ซึ่งเป็นญาติของนายถวิล อุดลนั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาจังหวัดขุขันธ์มาก่อน เช่นเดียวกับนายถวิล อุดล เมื่อสอบได้เนติบัณฑิตจึงกลับมาประกอบอาชีพทนายความที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะสอบเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ และโอนไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการเทศบาลที่จังหวัดอุบลราชธานี



ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์ด้านกฎหมายและด้านการปกครองในท้องถิ่น และความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้นายถวิล อุดล ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ของเมืองไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 และในการเลือกตั้งในครั้งนั้นจึงทำให้นายถวิล อุดล ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดดังที่ใจหวัง



สู่สภาผู้แทนราษฎรด้วยอุดมการณ์ที่มุ่งมั่น



หลังเข้ารับตำแหน่งผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด นายถวิล อุดล นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งในยุคนั้นมีพระยาพหลพลพยุหเสนาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีรายละเอียดงบประมาณแผ่นดินที่นายถวิล อุดล เสนอให้รัฐบาลชี้แจงรายรับ – รายจ่ายอย่างละเอียดในงบประมาณที่รัฐบาลเสนอมา แต่รัฐบาลตอบว่าทำไม่ได้  และเมื่อลงคะแนนเสียงรัฐบาลแพ้โหวตด้วยเสียง 45/31 จึงทำให้พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่คณะผู้สำเร็จราชการไม่รับใบลา จึงได้ใช้กติกาประชาธิปไตยยุบสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 ทำให้อายุในการเลือกตั้งในครั้งที่ 2 นั้นมีอายุเพียงประมาณ  9 เดือนเศษ



หลังการยุบสภาครั้งแรกของเมืองไทยจึงมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 ซึ่งในการเลือกตั้งในครั้งนั้นนายถวิล อุดล ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในเขต 1 จังหวัดร้อยเอ็ด และได้รับการเลือกเป็นผู้แทนราษฏรจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นสมัยที่ 2 โดยมีนายพันตรีหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



หัวหน้าคณะทูตพิเศษเมืองจีน



บทบาทสำคัญของนายถวิล อุดล เมื่อครั้งดำรงเป็นผู้แทนราษฎรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการร่วมขบวนเสรีไทยสายอีสาน โดยได้รับมอบหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ในการดำเนินนโยบายใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นให้เป็น “หัวหน้าคณะทูตพิเศษ”  เดินทางไปพบกับจอมพลเจียงไคเช็คที่ประเทศจีน เพื่อขอความสนับสนุนในการจัดตั้งไทยชั่วคราวหรือองค์การอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันขึ้นในดินแดนของสัมพันธมิตร โดยมีนายเตียง ศิริขันธ์เป็นหัวหน้าเสรีไทยสายอีสานในการบุกเบิกจัดตั้งค่ายฝึกพลพรรคเสรีไทยอีสานที่จังหวัดสกลนคร

.



จุดจบชีวิตของนักสู้แห่งอุดมการณ์



นายถวิล อุดล นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในสภาในฐานะนักการเมืองหัวก้าวหน้าและมุ่งมั่นในอุดมการณ์เป็นหนึ่งในขบวนการเสรีไทยสายอีสานภายใต้การประสานงานของนายเตียง ศิริขันธ์ เจ้าของฉายา “ขุนพลภูพาน” แห่งสกลนครเป็นแม่ทัพใหญ่  



และในความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือชะตากรรมของขบวนการเสรีไทยสายอีสานภายหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ถือเป็นการโค่นล้มคณะราษฎรสายพลเรือน อันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำ



เช่นเดียวกันกับนายปรีดี พนมยงค์ได้ขอลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศจีน ก่อนที่จะกลับคืนสู่ประเทศไทยในฐานะผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อทำการต่อต้านรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในนาม “ขบวนการ 26 กุมภาพันธ์” จนเรียกขานการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นว่า “กบฎวังหลวง”  ในเวลาต่อมา



หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีการจับกุมและกวาดล้างกลุ่มเสรีไทยสายนายปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งกลุ่มเสรีไทยสายอีสาน ได้แก่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายถวิล อดุล



สำหรับนายถวิล อุดล นั้นถูกจับกุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492 ในขณะที่ไปประกันตัวนายลิขิต ชัยสิทธิเวชที่สันติบาล แล้วถูกนำไปฝากขังไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ก่อนที่ถูกเคลื่อนย้ายไปขังที่สถานีตำรวจนครบาลในคืนวันที่ 3 มีนาคม 2492  จนเกิดเหตุการณ์สังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีในช่วงรอยต่อของวันที่ 4 มีนาคม 2492 ในเวลาต่อมา



จากเหตุการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่อื้อฉาวและสะเทือนใจของชาวไทยในขณะนั้น เป็นบทสรุปของชีวิตที่มิแตกต่างไปจากชีวิตของ 3 อดีตรัฐมนตรีอีสาน แม้ว่าจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่หาญกล้าเพื่อรับใช้ปวงชน แต่วิถีชีวิตจักมืดดับเพราะทนต่อแรงต้านพายุทางการเมืองที่โหมกระหน่ำ



จากวันนั้นจนถึงวันนี้เป็นเวลา 61 ปี ความหวังแห่งวิถีทางการเมืองในปัจจุบันจักโชติช่วงชัชวาลหรือมืดดับ หรือจมดิ่งลงสู่ใต้มหาสมุทร หลายท่านคงประจักษ์แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน



เรื่องและภาพจาก

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.  การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชนการพิมพ์, 2546.ปรีชา ธรรมวินทร และ สมชาย พรหมโคตร.  จากยอดโดมถึงภูพาน :                      

               บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับสามัญชนบนเส้นทางประชาธิปไตย.  

            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2543.

ประจวบ อัมพะเศวต.  พลิกแผ่นดินประวัติการเมืองไทย มิถุนายน 2475 –

            14 ตุลาคม 2516.  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  2543.


บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!