ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
02 ธันวาคม 2566, 13:42:20 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 ... 9 10 [11]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี  (อ่าน 62091 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
maxna
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 4
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 197

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 11 : Exp 34%
HP: 1.1%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #150 เมื่อ: 24 สิงหาคม 2566, 21:16:16 »

จุดเริ่มต้นการรับอิทธิพลอถรรพเวท
อิทธิพลของอถรรพเวทในศาสนาพุทธจนมาถึงการสืบทอดอถรรพเวทสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม) เวทย์มนตร์คาถาได้เกิดมาแล้วก่อนศาสนาพุทธซึ่งเราได้พบในคัมภีร์อถรรพเวท อันเป็นต้นกำเนิดของเวทมนตร์ทั้งหลาย หรือเกิดก่อนหน้านั้นซึ่งเป็นความเชื่อของชนดั้งเดิม ของอินเดียในพุทธศาสนาพระพุทธเจ้าห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์ยึดมั่นอยู่ในสิ่งนี้เพราะถือว่าเป็นเดรัจฉานวิชา และไม่ได้เป็นหนทางนำไปสู่นิพพาน มีการห้ามในพระวินัยบัญญัติไม่ให้พระสาวกอวดอุตริมนุษยธรรมหลอกลวงแสดงอิทธิฤทธิ์แข่งขัน    กับลัทธิอื่น แต่ถึงกระนั้นก็มีเหตุการณ์หลายครั้งที่นำไปสู่สิ่งที่เชื่อกันว่าเกี่ยวข้องกับเวทย์มนตร์ เช่น ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์มีพระภิกษุถูกงูกัด ถึงแก่มรณภาพ พระพุทธเจ้าให้พระภิกษุมีเมตตาในงูเพื่อเป็นการป้องกันตนเองโดยการสวด ขันธปริตต์หรืออหิราชปริตต์ ให้พระภิกษุสวดมนตร์ให้เทวดา ภูตผีศาจที่มารบกวนให้รักใคร่ด้วยการสวด กรณียเมตตปริตต์ ทรงสวดให้พระมหาสาวกฟังบ้างเมื่อเกิดอาพาธ และให้    พระสาวกสวดถวายให้ทรงสดับบ้าง เช่น โพชฌงคปริตต์ เหตุการณ์เหล่านี้เอง ที่ทำให้เราเชื่อว่าเป็นต้นกำเนิดของเวทย์มนตร์ในพุทธศาสนา
ในบรรดาเวทมนตร์ทั้งหลายที่ถือกันว่าเป็นมนต์ขลังและศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา สามารถขจัดปัดเป่าภยันตรายต่าง ๆ ที่เกิดจากธรรมชาติ จากภูตผี จากมนุษย์ จากสัตว์ร้าย ความชั่วร้ายทั้งหลาย และสิ่งที่ไม่เป็นมงคลทั้งหลาย และให้ความสุข ความพ้นทุกข์ ความมีชัย ก็คือ พระปริตต์ มีสัตตปริตต์ (เจ็ดตำนาน) และทวาทสปริตต์ (สิบสองตำนาน) เชื่อกันว่าพระปริตต์มาจากคำว่า รักษ์มนตร์ในอถรรพเวท มีการใช้คำใหม่ในพุทธศาสนา พระปริตต์ที่เก่าที่สุดซึ่งแต่งในพุทธศตวรรษที่ 5 มี 6 ปริตต์ ขันธปริตต์ (รัตนสูตร) สุวัตถิปริตต์ โมรปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ องคุลิมาลปริตต์
ในพุทธศตวรรษที่ 10 ท่านพุทธโฆษาจารย์ได้อ้างถึงพระปริตต์ว่ามี 5 คือ รัตน ปริตต์ ขันธปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ โมรปริตต์ ในปฐมสมันตปาสาทิกา มี 6 รตนปริตต์ เมตตปริตต์ ขันธปริตต์ ธชัคคปริตต์ อาฏานาฏิยปริตต์ และโมรปริตต์ การใช้พระปริตต์เกิดขึ้นเมื่อเกิดทุพภิกขภัยและโรคระบาด     ในลังกา ในสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 ผู้ปกครองเมืองลังกา (พ.ศ. 911 -953) ทรงให้หล่อพระพุทธรูปปาง     อุ้มบาตร และให้นำน้ำมาใส่ ให้พระภิกษุสวดรตนสูตร แล้วพรมน้ำพระพุทธมนต์ไปตามถนน เกิดฝนห่าใหญ่ตกลงทำให้ความวิบัติจากโรคภัย และทุพภิขภัยหายไป
ทั้งหมดที่กล่าวอ้างมานี้ เป็นจุดเริ่มต้นของอถรรพเวทในศาสนาพุทธจนมาถึงการสืบทอดอถรรพเวทสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)

การเข้ามาของศาสนา
คาดว่าศาสนาพุทธเข้าสู่ประเทศลาวเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 13 โดยผ่านมาทางมอญและได้แพร่หลายไปจนทั่วประเทศในราวพุทธศตวรรษที่ 19 กษัตริย์ลาวทรงให้การสนับสนุนพุทธศาสนา ในอดีตพระสงฆ์ในลาวมีบทบาทด้านการให้การศึกษาแก่ประชาชน  สมัยอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ในช่วงปลาย                 พุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22 พื้นที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางในเขตอำเภอบ้านผือยังพบศิลาจารึกอักษรไทยน้อย พ.ศ.2134 ที่วัดธาตุอุปสมาราม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ ซึ่งระบุชื่อขุนนางว่า          “ศรีพุมเวียงจันทน์” ด้วย  ทำให้สันนิษฐานว่าบริเวณที่ราบลุ่มน้ำโมงตอนกลางเป็นที่ตั้งของชุมชนโบราณ   เมืองพาน และถือเป็นชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ ที่น่าจะเกิดพัฒนาการความเป็นบ้านเป็นเมืองขึ้นในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 22จากการที่ได้ย้ายศูนย์กลาง
การปกครองและเคลื่อนย้ายผู้คนครั้งใหญ่ในอาณาจักรล้านช้างชุมชนโบราณเมืองพานน่าจะเป็นชุมชนโบราณที่ไม่มีกำแพงเมืองหรือคูน้ำคันดินล้อมรอบ ศูนย์กลางของเมืองสันนิษฐานว่าน่าจะอยู่บริเวณบ้านเมืองพานและบ้านกาลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
หลังจากช่วงสมัยทวารวดีและเขมรผ่านไป ในราวพุทธศตวรรษ ที่ 22– 23 วัฒนธรรมล้านช้าง ได้แพร่เข้ามาที่ภูพระบาท พบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปเช่น  พระพุทธรูปที่ถ้ำพระเสี่ยง ส่วนด้านสถาปัตยกรรมพบหลักฐานที่วัดลูกเขย
สันนิษฐานว่า เชื้อสายดั่งเดิมของพระครูลืมบอง เป็นคนเชื้อสายมอญ ได้อพยพมาพำนักอยู่      ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยและศึกษาวิปัสสนาธุระ  เป็นประจำ อีกทั้งมีความเชี่ยวชาญในเวทมนต์ คาถาอาคมรวมถึง ไสยศาสตร์จนเป็นที่เคารพแก่เจ้าเมือง      โพพันลำ ถึงขนาดเจ้าเมืองอาราธนาท่านไปดูแลเมืองพานแทน ด้วยความเก่งกล้าและความสามารถของท่านรูปนี้ จึงได้สมญานามว่า (ญาคูเสือ) จากชาวบ้านเมืองโพพันลำ มอญเป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีนและอินเดียเรียกว่า      "ดินแดนสุวรรณภูมิ"  
พระครูลืมบอง จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่าท่านได้รับการศึกษาจากคัมภีร์วิเศษที่มีการสอนกันอย่างแพร่หลายในอาณาจักรมอญ เป็นคัมภีร์อถรรพเวทที่ได้รับการสืบทอดเป็นพระเวทย์ วิชาอาคมธรรมะธาตุ   การปฏิบัติกรรมฐาน ท่านเดินจาริกไปที่ต่างๆ จนสำเร็จวิชาในที่สุด คัมภีร์อถรรพเวทเป็นการเผยแพร่มาจากประเทศอินเดียในสมัยนั้น มีพระภิกษุชาวอินเดีย โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราช ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง
ต่อมาชาวพวนได้อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยหลายครั้งด้วยกัน คือ สมัยกรุงธนบุรีตอนปลาย    สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว                     สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ไทยยกทัพไปปราบฮ่อ เมื่ออพยพมาอยู่ในประเทศไทย จึงเลือกสถานที่สร้างบ้านเรือนอยู่ตามแม่น้ำลำคลอง เชื่อกันว่า อพยพเข้ามาในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2322 เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงโปรดเกล้าให้ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ยกทัพไปตีเมืองเวียงจันทน์และหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งมีชื่อเรียกรวมกันว่า หัวพันทั้งห้าทั้งหก ประกอบด้วย เมืองคำม่วน เมืองคำเกิด เมืองเวียงไชย เมืองไพศาลลี เมืองซำเหนือ และเมืองเชียงขวาง ได้กวาดต้อนเอาลาวเวียง       (ลาวเวียงจันทน์) ลาวพวนและไทดำ (ปัจจุบันนิยมเรียกว่าไทยทรงดำ หรือ ลาวโซ่ง) มาไว้ที่เมืองร้าง (เพราะถูกพม่ากวาดต้อนราษฎรไปตั้งแต่สมัยกรุงศรัอยุธยาเสียแก่พม่า เมื่อ พ.ศ. 2310) เช่นเมืองสระบุรี ลพบุรี นครนายก และฉะเชิงเทรา ระยะที่สอง ในราวปี พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เมืองแถงและเมืองพวนแข็งข้อต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์จึงได้ยกทัพไปปราบ และกวาดต้อนครอบครัวไทดำและลาวพวนส่งมากรุงเทพฯ ลาวทรงดำถูกส่งไปอยู่ที่เพชรบุรี ลาวพวนถูกส่งมาที่เมืองลพบุรี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา ราชบุรีและจันทบุรี ด้วย
ในสมัยพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช เมื่อทรงหลบราชภัยจากพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนอง ที่ยกทัพเข้าตีเมืองเวียงจันทน์ หลวงพระบางได้ ก็ใช้เส้นทางจากเวียงจันทน์เข้าศรีเชียงใหม่ โพธิ์ตาก บ้านผือ และไปหลบซ่อนส้อมสุมกำลังพลที่สุวรรณคูหา ขอให้ดูลักษณะศิลปกรรม ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธรูป เสมา การจำหลัก        เจดีย์ต่างๆ และยังปรากฏจารึกที่เป็นหลักฐานยืนยันได้อย่างดีว่า พระองค์ทรงประกาศกัลปนาที่บริเวณ      วัดถ้ำถวายแด่พระศาสนา การหลบลี้หนีพระราชภัยของ พระวอ พระตา ที่หลบหนีพระเจ้าสิริบุญสารแห่งเวียงจันทน์ ก็อาศัยเส้นทางจากศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ มาบ้านผือ และเข้าไปตั้งชุมชนอยู่ที่หนองบัวลำภู         หรือนครเขื่อนขัณฑ์กาบแก้วบัวบาน เมื่อพระตาเสียชีวิตในการรบ พระวอจึงหนีไปอยู่ที่ดอนมดแดง อุบลราชธานี และถูกฆ่าที่ดอนมดแดง เป็นเหตุให้เจ้ากรุงธนบุรีโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ยกทัพไปตีเวียงจันทน์ และได้เวียงจันทน์ไว้ในอำนาจแต่นั้นมา




* 368508929_993233768651181_1721093629490731228_n.jpg (371.04 KB, 881x757 - ดู 92 ครั้ง.)

* ภาพเส้นทางการสืบทอด.jpg (282.41 KB, 879x759 - ดู 65 ครั้ง.)

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 สิงหาคม 2566, 11:40:18 โดย maxna » บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!