?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
25 เมษายน 2568, 23:26:51 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
 11 
 เมื่อ: 11 เมษายน 2568, 06:59:44 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เมื่อเราเข้าใจหน้าที่อย่างยิ่งของเราคือว่าเรื่อง สติควบคุม
สิ่งที่กระทบมันมีอยู่่ตลอดเวลา เพราะกายกับจิตมันอยู่ด้วยกัน
เมื่อเรายังต้องอาศัยขันธ์อันนี้อยู่ จำเป็นจะต้องมีเรื่อง กระทบกระเทือนอยู่ตลอดเวลา

ธรรมปฏิบัติ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 12 
 เมื่อ: 10 เมษายน 2568, 06:00:37 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เรามาแก้ตัวของเราอย่างเดียว
เขาจะโกรธจะเกลียดเรา
หรือเขาจะชอบอกชอบใจเรา อันนั้นเป็นเรื่องของโลก
เราไม่ได้เอาอันนั้นมาเกี่ยวเกาะไว้กับจิตกับใจของเรา
มันก็สบายเลย

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๕

 13 
 เมื่อ: 09 เมษายน 2568, 06:02:08 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
***โลภ โกรธ หลง***
ใครโกรธ...ความโกรธมันก็วิ่งเข้ามาหา
ใครโลภ...ความโลภมันก็วิ่งเข้ามาหา
ใครหลง...ความหลงมันก็วิ่งเข้ามาหา
มันอยู่ทั่วไปหมด มันวิ่งเข้ามาหาตัวใจนั่นแหละ
จึงว่ามันรวมที่ใจ ถ้าไม่เห็นใจแล้วก็ไม่เห็นตัวกิเลส
เราพิจารณาชำระใจของเราให้ผ่องใส
จึงจะเห็นใจอันบริสุทธิ์

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

 14 
 เมื่อ: 08 เมษายน 2568, 06:02:23 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
กายนี้ได้ชื่อว่า เป็นที่ตั้งของความยึดถือ
ให้พิจารณาให้เป็นโทษเป็นภัย แล้วเบื่อหน่าย
ในความยึดมั่นเป็นขันธ์ จึงจะพ้นทุกข์ได้

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๐

 15 
 เมื่อ: 07 เมษายน 2568, 05:43:21 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
คำว่า จิตไม่นิ่ง ก็คือ มันไม่ผ่องใสนั่นเอง แล้วมันก็บอกอยู่ชัดๆ แล้ว ..
เนื้อความว่า กิเลส คือ ความเศร้าหมองของจิต จิตไม่นิ่งเพราะกิเลส มันก็เศร้าหมอง มันขุ่นมัว หลับตาดูจิตของเราเดี๋ยวนี้ก็ได้
ถ้าจิตของเรายังฟุ้งซ่านส่งโน่นส่งนี่อยู่ เรียกว่า มันกระเพื่อมอยู่ มันมีเศร้าหมอง จะไปชำระ จะไปเห็นเรื่องของจิตนั้นเป็นไปไม่ได้..
ครั้นจิตมันนิ่งแน่วลงไปแล้ว กิเลสอะไรก็ช่างจะปรากฏขึ้นมาในที่นั่นเลย ถึงแม้จิตจะแว๊บลงไปนิดเดียวก็ตาม มันเห็นเลย
หรือขณะที่จิตนิ่งอยู่ เมื่อจิตวูบวาบออกไปนิดเดียวก็ตาม คือมันจะส่งออกไปหาอารมณ์อะไรที่เกิดขึ้น ย่อมเห็นในขณะที่จิตอยู่ในอารมณ์เดียวนั้น อันนี้เรียกว่า ตามรู้จิต เห็นจิต..


หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี..

 16 
 เมื่อ: 06 เมษายน 2568, 07:03:03 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
อายตนะทั้ง 6
จะเป็นกิเลสและเป็นภัย ก็แต่ผู้ที่ไม่เข้าใจตามความเป็นจริง
แล้วเข้าไปยึดถือเอามาเป็นของตนเท่านั้น
ผู้ที่รู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว
อายตนะทั้งหลายก็จะเป็นอายตนะอยู่ตามเดิม
และทำหน้าที่อยู่ตามเคย
ใจจะไม่หลงเข้าไปยึดติดเอามาเป็นของตนเลย
ที่เรียกว่า สมาธิเกิดขึ้น
เพราะเอาความเห็นอันเป็นจริงในสัจจธรรมเป็นอารมณ์

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
(สามทัพธรรม รหัส 4 หน้า 6)***************************************

 17 
 เมื่อ: 05 เมษายน 2568, 05:34:14 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ลองฝึกหัด ตัดความคิดฟุ้งซ่านถึงอดีตและอนาคต
เครื่องมือที่ตัดก็ใช้ “สติ “
คืออย่าเผลอไผลปล่อยใจให้คิดถึง
เรื่องอดีตหรืออนาคต
คิดเมื่อใดให้เรียกใจกลับมาทันที
ให้กลับมาสนใจกับปัจจุบัน คือสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า
หรือที่พระเรียกว่า ของจริง นี่แหละ
แล้วท่านจะพบว่า ในแต่ละวันๆ ความทุกข์จะหายไปจากใจไม่น้อย

คติธรรม
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

 18 
 เมื่อ: 03 เมษายน 2568, 06:16:36 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เมื่อกาย วาจา ใจ ประพฤติอยู่
ในสุจริต ๓ ประการ คือ
ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง
ผล คือ ความสุขไม่เดือดร้อน
ก็เกิดมีขึ้นที่กาย วาจา ใจ นั่นเอง

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑

 19 
 เมื่อ: 02 เมษายน 2568, 06:11:17 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ธรรมดาจิตจำเป็นต้องมีความคิด ความนึกอยู่เสมอ
ท่านเห็นโทษในอารมณ์นั้นๆว่าเป็นเพื่อวัฏฏะ
ท่านจึงน้อมเอาจิตมาพิจารณาให้เป็นฌานเสีย
เพื่อเป็นเครื่องอยู่ในทิฏฐธรรมของท่าน

หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙๐
( ทิฐธรรม -[ทิด-ถะ-ทำ] น. ปัจจุบัน, ชาตินี้, ทันตาเห็น. พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร )


 20 
 เมื่อ: 01 เมษายน 2568, 06:21:13 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ต้องเห็นบาปในใจเราเสียก่อนคือ ความชั่ว
พอคิดชั่วเท่านั้นก็รู้ตัวแล้วรีบแก้ไข
อย่าให้คนอื่นทันเห็น อย่างนี้จึงได้ชื่อว่า
ทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๒

หน้า: 1 [2] 3 4 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!