คนเรามีใจทุกคน กิเลสทั้งหลายเกิดจากใจ
บาปทั้งหลายก็เกิดจากใจ
บุญทั้งหลายก็เกิดจากใจ
แต่เรายังไม่ทันเห็นใจ
จึงว่ายังห่างไกลพุทธศาสนามาก
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๒
?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand) |
25 เมษายน 2568, 17:04:08
![]() |
|||||
|
หน้าแรก | ช่วยเหลือ | ค้นหา | ปฏิทิน | เข้าสู่ระบบ | สมัครสมาชิก |
1
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:55:22
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
คนเรามีใจทุกคน กิเลสทั้งหลายเกิดจากใจ
บาปทั้งหลายก็เกิดจากใจ บุญทั้งหลายก็เกิดจากใจ แต่เรายังไม่ทันเห็นใจ จึงว่ายังห่างไกลพุทธศาสนามาก หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๒ |
2
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 24 เมษายน 2568, 05:06:38
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
ให้พิจารณากายนี่แหละ
อย่าให้จิตส่งออกนอกกาย จิตมันแน่วอยู่แต่เรื่องนั้น จิตจะได้ความสงบ จิตจะรวมเป็นสมาธิ อยู่ในขั้นของ สมถะ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๔ |
3
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 23 เมษายน 2568, 06:19:13
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก มากระทบกันเข้านี่แหละ ที่ทำให้เกิดทั้งคุณและโทษ ก็อยู่ที่ตรงนี้ อารมณ์ที่เกิดจากอายตนะทั้งสองนี้ จึงเหมือนมิตรและศัตรูไปพร้อมๆกัน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (ธาตุ-ขันธ์-อายตนะ สัมพันธ์ รหัส 4 หน้า 115) |
4
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 22 เมษายน 2568, 07:46:30
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
รักษาศีลต้องถือจิต
รักษาจิตก่อนจึงจะรักษาศีลถูกตัวศีลแท้ เมื่อศีลเข้าถึงจิต เข้าถึงใจแล้ว เราไม่ต้องรักษาศีล ศีลกลับมารักษาตัวเราเอง... ศีล คือ ความปกติของ กาย วาจา แลใจ ถ้าใจไม่ปกติเสียแล้ว กาย วาจา มันจะปกติไม่ได้ เพราะกาย วาจา มันอยู่ในบังคับของจิต หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี (สิ้นโลก เหลือธรรม รหัส 4 หน้า 238-239) |
5
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 20 เมษายน 2568, 06:26:09
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
ประกอบแต่กิจที่ควร ละสิ่งที่ไม่ควรเสีย
พยายามรักษาความดีของตนไว้ ก็มีแต่ทางจะดียิ่งๆขึ้นไป จะไม่เรียกว่า เพียรชอบอย่างไร หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑ |
6
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 19 เมษายน 2568, 05:36:38
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
ปฏิบัติดี
ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์ ปฏิบัติเป็นที่น่ากราบไหว้บูชา นั่นแหละจึงจะเป็นพระสงฆ์แท้ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๙๒ |
7
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 18 เมษายน 2568, 05:51:20
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
#ถาม สมัยก่อนพระพุทธเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทวินัยมีน้อย แต่มีพระปฏิบัติตามได้สำเร็จ มรรคผลนิพพานมาก สมัยนี้สิกขาบทวินัยมีมาก แต่มีพระได้สำเร็จมรรคผลมีน้อย นี้เป็นเพราะเหตุใด
#ตอบ ปัญหานี้มีมานานแล้วแต่ครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมายุอยู่ พระมหากัสสปะ เถระเคยทูลถามพระพุทธเจ้าแล้วเหมือนกัน พระที่เข้ามาบวชในธรรมวินัยนี้ เบื้องต้นมีน้อยและเมื่อบวชเข้ามาแล้ว ก็ต้องการทำความเพียรเพื่อพ้นจากทุกข์จริงๆ สิกขาบทวินัยจึงไม่ต้องบัญญัติมากมาย เมื่อพระบวชมามากเข้า บวช เพื่อเจตนาหลายๆอย่างต่างๆกัน ไม่ได้บวชเพื่อความพ้นทุกข์อย่างเดียว จึงประพฤติผิดแผกแตกต่างจากทํานอง คลองธรรมเป็นอลัชชี อันเป็นเหตุทำความเดือดร้อนให้แก่พระที่มาปฏิบัติดี พระพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติพระวินัย มากขึ้น โดยลำดับ เพื่อปราบอลัชชีเหล่านั้น สิกขาบทวินัยจึงมีมากและผู้สำเร็จมรรคผลนิพพานจึงมีน้อย ที่มา หนังสือ ปุจฉาวิสัชนา ในประเทศ โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี |
8
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 17 เมษายน 2568, 05:39:05
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
เมื่ออารมณ์ทางชั่ว
เข้ามาปักอยู่กับจิตกับใจ ทำจิตไม่ให้สงบได้ จำเป็นต้องใช้อารมณ์ทางดีต่อสู้ เอาชนะความชั่ว ด้วยความดีของเรา หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๙ |
9
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 16 เมษายน 2568, 06:37:42
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
บุญกุศล
พึงเข้าใจว่า เกิดที่ใจของทุกๆคน ปลื้มใจมาก มันก็มาก ไม่ใช่อยู่ที่วัตถุสิ่งของ หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๐ |
10
ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เมื่อ: 14 เมษายน 2568, 07:14:55
|
||
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit | ||
#ศาสนาสอนที่ตัวเรา
ฆราวาสพวกเราบางคน ตั้งแต่วันเกิดจนวันตาย ศีล ๕ สักตัวเดียวก็ไม่เคยรักษา พอเห็นความผิดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของพระภิกษุสามเณร ก็อย่าเพิ่งถือว่าเลวทั้งหมด การเหมาเอาว่า พระภิกษุเหมือน กันทั้งหมดก็ยังไม่ถูก พุทธศาสนาไม่ได้หมายเอาที่พระ หมายเอาการปฏิบัติต่างหาก พระนั้นอยู่ที่บุคคล แต่ศาสนาไม่ได้อยู่ที่บุคคล ศาสนาเป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ถ้าบุคคลปฏิบัติผิด ก็เป็นเรื่องบุคคลผิดไม่ใช่ศาสนาผิด ศาสนาก็ยังสอนตรงไปตรงมาอยู่ตามเดิม สอนให้ละชั่วทำดีอยู่ตามเดิม แต่คนไม่ปฏิบัติตาม เมื่อเราปฏิบัติตามคำสอนไม่ได้จะหาว่าศาสนาไม่ดีไม่ได้ นี่ให้พิจารณาอย่างนี้ ถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว ใครจะทำผิดทำเลวทรามอย่างไรเป็นเรื่องศาสนาเสื่อมหมด ยกให้ศาสนาไม่ดีทั้งนั้น บางทีแม้แต่คนเข้าวัดเข้าวามาฟังเทศน์ฟังธรรม รักษาศีล อบรมภาวนาทำกัมมัฏฐาน แสดงกิริยาโกรธกริ้วขึ้นสักทีหนึ่ง โอโฮ! กล่าวโทษศาสนานี้ไม่ดีเลย เข้าวัดเข้าวาจนแก่จนเฒ่าแล้วยังละโลภโมโทสันไม่ได้ พูดอย่างนี้มันก็ผิดไป อย่าพูดอย่างนั้น นั่นเป็นเรื่องของบุคคล ศาสนาสอนให้ละ แต่บุคคลไม่ละ ไม่ทราบจะทำอย่างไร ถ้าเข้าใจได้อย่างนี้ก็สบาย เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะทำอย่างไร ขอตอบว่า เมื่อเขาไม่ทำ เราทำ พากันคิดมานะขึ้นสักคน หรือทุกคนคิดมานะขึ้นมา ลองดูซิ เขาไม่ทำเราทำ กระทำเป็นตัวอย่างเขา ทีนี้มันไม่เป็นเช่นนั้นน่ะซี ส่วนมากพอเห็นเขาไม่ทำ เราก็เลยไม่ทำ เลยพลอยไม่ดีไปตามเขา เมื่อเราไม่ดีก็คอยกล่าวโทษคนอื่น ต่างคนต่างกล่าวโทษซึ่งกันและกันเป็นเรื่องเดือดร้อนวุ่นวาย โอวาทธรรมคำสอน หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย |