?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
01 พฤษภาคม 2567, 09:36:48 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 3 [4] 5
46  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / ท่านอาจารย์พลากรและท่านผู้รู้ทุกท่าน โปรดช่วยเมตตาทีครับ (เหรียญหลวงพ่อตู๋ วัดบ้านม่วงเ เมื่อ: 06 กันยายน 2555, 00:46:55
เรียน ท่านอาจารย์พลากร และท่านผู้รู้ทุกท่าน โปรดช่วยเมตตาทีครับ
เหรียญหลวงพ่อตู๋ วัดบ้านม่วงเหยียด เหรียญแท้มั้ย เป็นบล็อกอะไร
(บล็อกแรกหรือเสริม) เต็มที่เลยครับ  ขอขอบคุณครับผม
(ขอให้ท่านที่เข้าชม และตอบคำถามจงมีแต่ความมั่ง มี ศรี สุข
ตลอดปีและตลอดไปครับผม)
47  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม เมื่อ: 05 สิงหาคม 2555, 08:49:19
3.3 เนื้อทองแดง  สร้างประมาณ 71 องค์ (ตอกโค้ดและอุดกริ่งบางองค์ บางองค์ออกวรรณะเหลือง) แก้ไขสร้าง 879 องค์จ้า
48  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม เมื่อ: 05 สิงหาคม 2555, 08:45:46
ข้อมูลเพิ่มเติมจ้า

1. สมเด็จและปิดตาที่สร้างจากผงหลังล็อคเก็ต (สร้างราวปี 2551-2552) สร้างประมาณ 300 องค์
2. ปิดตามหาลาภ สร้างประมาณ 279 องค์
3. รูปหล่อ (ไม่มีนวะโลหะ)
    3.1 เนื้อเงิน       สร้างประมาณ 71 องค์ (ตอกโค้ดและอุดกริ่งบางองค์ นอกนั้นไม่ตอกไม่อุดกริ่ง)
    3.2 เนื้อสัมฤทธิ์   สร้างประมาณ 65 องค์ (ตอกโค้ดและอุดกริ่งบางองค์ นอกนั้นไม่ตอกไม่อุดกริ่ง)
    3.3 เนื้อทองแดง  สร้างประมาณ 71 องค์ (ตอกโค้ดและอุดกริ่งบางองค์ บางองค์ออกวรรณะเหลือง)
49  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม เมื่อ: 05 สิงหาคม 2555, 07:45:45
พอดีถ่ายรูปกล่องมาด้วย ก็เลยมีข้อมูลมานำเสนอเป็นพระปิดตา " มหาลาภ " พระครูสิริปริยัติธรรม หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ จุตุตโม (แกะผิด น่าจะเป็น "อุตตโม") วัดทุ่งเกษม จังหวัดอุบลราชธานี 22 พ.ย. 2553 (ที่ระลึกครอบรอบวันเกิดของพระเดชพระคุณหลวงพ่อด้วยและหาปัจจัยในการพัฒนาศาสนสถานภายในวัดด้วยจ้า) ด้านหลังปิดตาไม่บอกรายละเอียดอะไรหากออกจากกล่องคงไม่รู้อาจารย์และวัดแน่แท้ ปิดตามีสองเนื้อครับ สีดำและสีเทาครับ บางองค์มีเกร็ดแน่ผสมและลอยขึ้นมาด้านหน้าด้วย อยากบอกว่าทั้งล็อคเก็ต ปิดตา สมเด็จ ที่สร้างจากผงหลังล็อกเก็ต ตลอดทั้งรูปหล่อและปิดตาที่สร้างต่อมาพิธีและมวลสารดีมาก (คนที่ประกอบผงก็เป็นอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญศาสตร์ด้านนี้โดยตรง)     เพราะคนสร้างทำด้วยใจที่เคารพ ศรัทธา และมีจิตอาสาอยากช่วยวัดครับ และคุณยุทธชัย  ต้นเกษ ที่เป็นคนออกทุนเองทั้งหมดก็เป็นลูกหลานเมืองอุบล ที่มาเป็นใหญ่เป็นโตที่จังหวัดศรีสะเกษ แต่ท่านไม่เคยลืมพระคุณครูบาอาจารย์ของเมืองดอกบัวงามเลย (ชุดพระปิดตา ชุดหลวงพ่อมุม และพระชุดทองคำ ฯลฯ ของท่านสุดยอดมาก) รับประกันได้ไม่มีของเสริมนอกพิธีครับผม
50  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: เหรียญเหนียวเมืองอำนาจ หลวงพ่อโทน ชาคโร วัดชัยมงคลดู่ใน จังหวัดอำนาจเจริญ เมื่อ: 04 สิงหาคม 2555, 18:43:09
ล็อกเก็ต
51  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม เมื่อ: 04 สิงหาคม 2555, 18:16:56
รูปหล่อเต็มองค์ หล่อที่โรงหล่อศิษย์หลวงปู่เครื่อง อำเภออุทุมพรพิสัย ผู้สร้างก็กรรมการชุดเดิมครับ สร้างไม่มากมีเนื้อเงิน นวโลหะ สัมฤทธิ์และพระปิดตาครับผม โลหะได้จากภาชนะทองเหลืองเก่าที่ชำรุด ซึ่งคุณยุทธชัยเก็บรวบรวมไว้ วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศาสนสถานครับผม
52  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม เมื่อ: 04 สิงหาคม 2555, 18:11:12
หลวงพ่อมหาประดิษฐ์ วัดบ้านทุ่งเกษม วัตถุมงคลที่ผมลงให้ชมนี้ผู้คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข (หมออนามัย ) ได้แก่

1. คุณยุทธชัย ต้นเกษ  หัวหน้า สอ.บ้านนาก๊อก (อดีต) ปัจจุบันอยู่ รพ.สต.บ้านอาวอย ใน อ.ขุขันธ์
2. คุณพี่สมพร หัวหน้า สอ.บ้านทุ่งเกษม
3. คุณสุระเดช จนท.สอ.บ้านทุ่งเกษม
4. คุณพี่ป๋อง จนท.สอ.ใน อ.ขุขันธ์

โดยสร้างตอนนั้น คือ ล็อกเก็ต จำนวน 109 องค์ (ตะกรุดเงินแท้ 100 องค์ , ตะกรุดเงิน+ทองคำแท้ 9 องค์ ) ด้านหลังอุดผงมงคลวิเศษมากมายตามรายละเอียดในกล่อง นอกจากนี้ยังมีเงินบาทขวัญถุงอีก โดยใส่ในกล่องทุกกล่อง ผงและเกศาเหลือจากอุดหลังล็อกเก็ตก็นำผงมาสร้างพระสมเด็จและพระปิดตาได้จำนวนหนึ่ง บางองค์ฝังตะกรุดด้วย (แจก) ปรกเสกพร้อมกันนานมากจำนวนไม่ได้ว่าประมาณว่าคง 1 พรรษา วัตถุประสงค์เพื่อหาปัจจัยพัฒนาวัด ซึ่งขออนุญาตหลวงพ่ออย่างถูกต้อง เพราะคุณยุทธชัยและเพื่อนทั้ง 3 ท่าน เป็นศิษย์ก้นกุฏิของท่านทั้งนั้น วันไปรับพระผมก็ไปด้วย ซึ่งผมไม่เคยไปสักครั้ง เมื่อไปถึงรู้สึกว่าวัดร่มเย็นและเงียบดี พอมานมัสการหลวงพ่อยิ่งรู้ว่าท่านเป็นพระที่สุขุมพูดน้อย ท่านยกพระออกมาจากห้องโดยมีพวกผมช่วยพระยกออกมาหมดท่านเข้าไปในกุฏิปิดเงียบไม่ออกมาเลย หน้าที่แจกพระและเช็ครายชื่อจึงเป็นของกรรมการวัดกับคุณยุทธชัยและพวกผม ซึ่งวันนั้นก็มีคนไปประมาณ 20 คน จากนั้นก็ทยอยมาเรื่อย ๆ ล็อกเก็ต จำนวน 109 องค์ (ตะกรุดเงินแท้ 100 องค์ มอบให้ผู้สั่งจอง , ตะกรุดเงิน+ทองคำแท้ 9 องค์ มอบให้กรรมการคนละ 1 องค์ ผมได้มา 1 องค์ )
สำหรับล็อกเก็ตตะกรุดทองคำแท้ มอบให้กรรมการจำนวน 9 ท่าน ซึ่งได้มาคนละ 1 องค์
53  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ล็อคเก็ต-รูปถ่าย (ห้อยคอ) พระคณาจารย์ เมื่อ: 04 สิงหาคม 2555, 11:45:39
ล็อกเก็ตญาถ่านเลิศ วัดบ้านหนองหลัก ไม่ทราบปี  สวยมากจ้า
54  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติหลวงพ่อสาร์ สุขุโม วัดบ้านแต้ เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:32:34
ประวัติหลวงพ่อสาร์ สุขุโม วัดบ้านแต้
55  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติหลวงพ่ออ่อน โอติณโน วัดเพียมาตร เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:31:46
ประวัติหลวงพ่ออ่อน โอติณโน
วัดเพียมาตร อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ


ขอนำประวัติ หลวงพ่ออ่อน โอติณโณ หรือพระครูประสิทธิ์วิทยาคม ออกมาเผยแพร่เพื่อให้เหล่าศิษยานุศิษย์ตลอดทั้งท่านที่เคารพศรัทธาในตัวหลวงพ่อได้ทราบโดยทั่วกัน
หลวงพ่ออ่อน โอติณโณ มีนามเดิมว่า นายอ่อน หารไชย (หาระไชย)เกิดเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2454 บิดาชื่อ นายบุญมา หารไชย (เซี่ยงเมียง)มารดาชื่อ นางทองจันทร์ หารไชย เกิดที่บ้านเพียมาตร หมู่ที่ 3 ต.หนองแค อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ มีพี่น้อง จำนวน 6 คน ดังนี้

1. นางสงค์ หารไชย
2. นายอ่อน หารไชย (พระครูประสิทธิ์วิทยาคม)
3. นายสี หารไชย
4. นายบุญมี หารไชย
5. นางคัมภีร์ หารไชย
6. นายคำดี หารไชย

อุปสมบทเมื่ออายุ 21 ปี ณ.วัดเพียมาตร เจ้าอธการ อ่วม วัดบ้านผึ้ง เป็นพระอุปชฌาย์ พระอาจารย์ สีทาเป็นพระกรรมวาจารย์ พระอาจารย์ น้อย เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย 2 พรรษาและศึกษาเล่าเรียนหนังสือใหญ่ มูลกัจจายน์(คัมภีร์ทั้ง๕)กับพระอาจารย์อ่อมอยู่๒พรรษา แต่เรียนไม่จบ จึงได้ไปศึกษาต่อจากพระอาจารย์ชู วัดโคกหนองบัว อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด ใช้เวลาเรียนอยู่๑ปี จึงเรียนจบพระคัมภีร์ทั้ง๕ โดยท่องได้สูตรสนธิ สูตรนาม เป็นต้นทั้งหมดตลอดจนการสวดมนต์ต่างๆ ในภาคอิสาณจะหาพระอาจารย์รูปอื่นท่องจำบทสวดมนต์ได้เท่าหลวงพ่ออ่อน จะมีก็น้อยรูปนัก ครั้นเรียนจบคัมภีร์ทั้ง๕ จึงได้กลับมาจำพรรษาอยู่วัดเพียมาตร ขณะอยู่วัดเพียมาตร ได้เป็นอาจารย์สอนคัมภีร์ทั้ง๕อยู่เป็นเวลา ๒ ปี มีพระภิกษุและสามเณรไปศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ต่อมาได้พักการเรียนหนังสือใหม่(คัมภีร์ทั้ง๕) ได้อบรมและปริยัติวิปัสสนากัมมัฎฐานอยู่ภายในวัด ครั้นแล้วเห็นว่าการปฎิบัติไม่สะดวก จึงได้ออกธุดงค์ปฎิบัติกรรมฐานเพื่อฝึกจิตให้เป็นสมาธิ ใช้เวลาออกธุดงค์อยู่ ๖ ปีจึงได้กลับมาอยู่สังกัดวัดเดิม และปฎิบัติกรรมฐานติดต่อกันมาตลอด จนเมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้เข้าอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ณ.สำนักวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ ใช้เวลาอยู่ ๖ เดือน โดยมีพระอาจารย์พระอุดมวิชาญาณ(นามเดิมขณะนั้น)และพระอาจารย์จากประเทศพม่า ในขณะที่เข้าปฎิบัติอยู่นั้นิหลวงพ่อได้ตั้งใจแน่วแน่ปฎิบัติตามหลักการที่พระอาจารย์อบรมสั่งสอนจนได้สมาธิแน่วแน่ หลังกลับจากวัดมหาธาตุฯแล้วก็ได้ปฎิบัติต่อเนื่องมาตลอด เมื่อหลวงพ่ออ่อน ศึกษาวิธีอย่างสมบูรณ์ตามหลักการทั้งหลาย ประชาชนและพระภิกษุสามเณร จึงเกิดความเคารพเพิ่มขึ้นกว่าเดิมเป็นอย่างยิ่ง และท่านเป็นผู้เจริญด้วยคุณธรรมอันสูงส่ง โดยยึดมั่นในคุณพระพุทธ คุณพระธรรม คุณพระสงฆ์ ด้วยอำนาจพลังจิตของท่าน จึงมีข้าราชการ ประชาชนภายในจังหวัดและต่างจังหวัดไปขอร้องให้หลวงพ่อ ลงอักขระ แผ่นเงิน แผ่นทองคำ แผ่นทองเหลือง แผ่นตะกั่ว เพื่อนำไปป้องกันตัวและให้เกิดความเป็นสิริมงคล ผลปรากฎว่าผู้ที่ได้ของหลวงพ่อไปสักการะบูชา เพื่อยึดมั่นในคุณรัตนตรัยแล้ว ย่อมได้ผลตามความปรารถนา ตามปกติทุกวันจะมีประชาชนทั่วๆไป เข้านมัสการหลวงพ่อวันหนึ่งๆเป็นจำนวนมากมาย จนจะหาเวลาพักผ่อนมิได้ และกรรมการวัดต่างๆอาราธนานิมนต์ไปร่วมพิธีนั่งปรกพุทธาภิเษก-ปลุกเสกอยู่เสมอตั้งแต่ปี2500 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน ทั้งวัดภายในจังหวัดศรีสะเกษและวัดต่างๆหลายจังหวัด โดยเฉพาะปลายปี 2515 ได้รับนิมนต์เข้าพิธีพุทธาภิเษก ณ.วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร ปี2516 วันที่ 7 เมษายน 2516 (ตรงกับวันขึัน 5 ค่ำ เดือน 5)ซึ่งนิยมเรียกกันว่า เสาร์5 วัดมหาพุทธาราม ต.เมืองเหนือ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ โดยขออนุญาตทำพระเครื่องรูปหลวงพ่อฯและหลวงพ่อได้อนุญาตให้ทำได้ตามความประสงค์ สำหรับการทำพระเครื่องของวัดมหาพุทธารามครั้งนี้ ได้รวบรวมผงโบาณจากที่ต่างๆล้วนแล้วแต่ได้จากสถานที่สำคัญๆเพื่อรักษาผงโบราณโดยวิธีสร้างเป็นรูปหลวงพ่อขึ้นและให้ประชาชนนำไปสักการะบูชา เกิดความเป็นศิริมงคลและยึดมั่นในคุณพระรัตนตรัย เพื่อเป็นการจรรโลงพระศาสนา ในด้านวัตถุสืบไป (ข้อมูล หนังสือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูป พระเครื่อง ชุด หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช ประจำเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2516 สำนักพิมพ์เจริญสาส์น พิมพ์จำหน่าย) ขอขอบพระคุณสำหรับข้อมูลดีๆ หากมีความผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ.ที่นี้

ในปี พ.ศ. 2526 ท่านก็ได้มรณภาพลง ยังความโศกเศร้ามายังเหล่าศิษยานุศิษย์และบุคคลทุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่ง รวมสิริอายุได้ 54 ปี หลวงพ่ออ่อนท่านนี้เป็นพระสงฆ์ผู้ทรงคุณทางญาณสมาบัติสูง ของภาคอีสานตอนล่าง มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาคมและไสยเวทย์อย่างแตกฉาน ซ่อนตัวเงียบ ๆ แบบ ? คมในฝัก ? มาช้านานหลายสิบปี เป็นที่นับถือของชาวบ้านในพื้นที่ยิ่งนัก ชาวนิยมตัดไม่ไผ่เป็นแผ่นบาง ๆ มาให้ท่านลงอักขระปลุกเสก แล้วนำไปปักกลางทุ่งนาหรือในไร่ จะทำให้ฝูงนก และหนูไม่ลงกินข้าวในรวงและกัดกินต้นในนาเสียหาย แมลงต่าง ๆ ก็ไม่เข้าไปกัดกินพืชที่ไร่ และน้ำมนต์ของท่านศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ชาวบ้านนิยมมาขอไปรดให้ลูกหลานและรอบ ๆ บ้านเพื่อป้องกันสิ่งอัปมงคลและภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวง

หลวงพ่อท่านอนุญาตให้ลูกศิษย์สร้างวัตถุมงคลรุ่นแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 มีทั้งเหรียญรูปพัดยศ , รูปเหมือนเนื้อผง , พระสมเด็จ , ตะกรุด ผ้ายันต์และแหวน ฯลฯ ส่วนก่อนหน้านี้ก็มีการสร้างพระเนื้อผงคล้าย ๆ กับหลวงปู่ทวดออกมาจำนวนหนึ่งแต่ส่วนใหญ่ตกอยู่กับศิษย์ใกล้ชิด จึงไม่ค่อยพบเห็นง่าย ๆ สำหรับวัตถุมงคลที่สร้างในปี 2516 นอกจากท่านจะปลุกเสกเดี่ยวแล้ว ยังนำเข้าพิธีมหาพุทธาภิเษกของจังหวัดศรีสะเกษ ณ.วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) ในปีดังกล่าว มีเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าของจังหวัดศรีสะเกษและภาคอีสานอย่างหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์ ฯลฯ เข้าร่วมปลุกเสกด้วย และได้รับนิมนต์ไปในงานพุทธาภิเษกด้วยกันหลายครั้ง ทำให้ท่านอาจจะได้รับการถ่ายทอดแบบอย่างและแนวคิดในการสร้างวัตถุมงคลจากหลวงพ่อมุม ซึ่งจะเห็นได้จากเหรียญใบตำลึงปี 2517 รูปเหมือนเนื้อผง ตลอดจนพระสมเด็จที่มีการจารย์ทั้งด้านหน้า - หลังไว้เกือบจะทุกองค์ ซึ่งแสดงถึงความพิถีพิถันและตั้งใจให้เป็นวัตถุมงคลอันศักดิ์สิทธิ์เป็นที่สุด เหรียญของท่านทุกรุ่นจึงเป็นเหรียญดีที่มีประสบการณ์ และมีการเคลื่อนไหวด้านราคาก็เป็นแบบเคลื่อนใต้น้ำทางภาคอีสานมานานแล้ว ทุกวันนี้ก็หาชมยากทั้ง ๆ ที่ราคาก็ไม่แพงมาก ขึ้นอยู่กับสภาพและความพอใจของผู้ซื้อ / ผู้ขาย คือ หลักพันอ่อน ๆ ขึ้นไป ( นิตยสารเซียนพระ เล่มที่ 430 หน้า 45 )

ผมเคยไปนมัสการหลวงพ่อเส็ง วัดปราสาทเยอร์ใต้ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานแท้ ๆ และศิษย์ก้นกุฏิหลวงมุม บวชตั้งแต่เป็นสามเณรอยู่กับหลวงมุมมาตลอด เคยลาสิกขาครั้งหนึ่งตอนไปเข้ารับการเกณฑ์ทหาร 15 วัน แล้วกลับเข้าบวชใหม่ ท่านบอกว่า เคยไปมาและเรียนวิชากับหลวงพ่ออ่อน วัดบ้านเพียมาตรอยู่ระยะหนึ่ง ท่านบอกว่า ผู้เฒ่าโบราณวิชามากหลาย ขนาดทั้งจำทั้งจด ยังเอามาไม่หมด จึงเอาเฉพาะวิชาที่สำคัญ และเวลาพูดทั้งวัดบ้านเพียมาตร หลวงพ่อเส็งท่านก็จะพูดถึงป่าหนา ๆ ที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ นั้นก็คือ ดงภูดินที่อยู่แถวบ้านเพียมาตร นั่นเอง วันหลังว่างจะขอนำเหรียญหลวงพ่อเส็งรุ่นแรกมาให้ชม ( เหรียญนักกล้าม เนื้อทองแดงชุบนากมีจารย์ สร้างเพียง 100 เหรียญ ) ....บางข้อความมีการเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดความสมบูรณ์มากขึ้น...ขอขอบคุณทุกท่านครับ

56  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:30:08
ประวัติหลวงพ่อโต วัดมหาพุทธาราม

หลวงพ่อโต ประดิษฐานอยู่ในวิหารหลวงพ่อโตวัดมหาพุทธารามปัจจุบันนี้ ในตำนานเมืองศรีสะเกษเล่าว่า มีการค้นพบหลวงพ่อโตในสมัยสร้างเมืองใหม่ ที่ ?ดงไฮสามขา? หลวงพ่อโตที่พบมีสภาพเป็นตุ๊กตาหิน ขนาดเท่าแทน แต่พอไปวัดโดยการโอบด้วยแขนกลับขยายใหญ่ขึ้นจนโอบไม่หุ้ม ดังตำนานเล่าว่า ?ที่ตั้งวัดพระโต มีป่าเครือมะยางร่มครื้มหนาแน่น ในขณะที่ถางป่านั้นได้พบตุ๊กตาหินรูปหนึ่ง มีลักษณะคล้ายพระพุทธรูป เล่ากันว่า ตุ๊กตาหินองค์นี้มีอภินิหารเป็นพิเศษ คือเมื่อมองดูจะเห็นเป็นรูปเล็ก ๆ เท่าแขนคนธรรมดา แต่พอเข้าไปกอดเข้ากลับโอบไม่รอบ พวกราษฎรพากันฉงนยิ่งนัก จึงไปบอกอาจารย์ศรีธรรมาผู้เป็นใหญ่ เมื่อรู้ว่าเป็นจริงก็เลยทำพิธีสมโภชกันขนานใหญ่ และขนานนามตุ๊กตาหินองค์นี้ว่า ?พระโต? ซึ่งต่อมาได้นำอิฐหรือปูนสร้างเสริมให้ใหญ่จริงๆ ดังที่เห็นกันในปัจจุบัน (จากวัฒนธรรมพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดศรีสะเกษ ฯ หน้า ๑๕๖)
แต่ตำนานที่ค่อนข้างสอดคล้องกับประวัติศาสตร์เมืองศรีสะเกษ จนเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางเล่ากันว่า หลวงพ่อโตองค์จริงนั้น ถูกหุ้มอยู่ข้างใน เป็นพระพุทธรูปหินดำเกลี้ยง (บางแห่งว่าหินเขียว บางแห่งว่าหินแดง) ปางมารวิชัย (ปางสะดุ้งมาร) เดิมมีหน้าตักกว้างยาว ๒.๕๐ เมตร ต่อมากลัวว่าพวกมิจฉาชีพจะทำให้เสียหาย จึงมีผู้ศรัทธาหุ้มเสริมองค์จริงเข้าไปหลายครั้ง จนถึงปัจจุบันนี้ มีขนาดหน้าตัก ๓.๕๐ เมตร ความสูงตั้งแต่พระเกศาลงมา ๖.๘๕ เมตร เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๙ ได้มีการสร้างวิหารใหญ่ครอบซึ่งมีความกว้าง ๑๔.๐๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
ในขณะนี้ จึงพอที่จะสรุปได้ว่า มีการค้นพบหลวงพ่อโตเมื่อ พระยาวิเศษภักดี (ชม) ย้ายเมืองมาตั้งใหม่ในสถานที่ที่เป็นจังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน และได้สร้างวัดพระโตเป็นวัดคู่เมืองศรีสะเกษขึ้น ในปีพ.ศ. ๒๓๒๘ และนับถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ. ๒๕๕๐) วัดพระโตมีอายุ ๒๒๐ ปี ฯ

ประวัติวัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต)

วัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) ได้ชื่อว่าเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษ ก็เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ เป็นปีที่เจ้าเมืองศรีสะเกษคนที่ ๒ พระยาวิเศษภักดี (ชม) ได้ย้ายเมืองศรีสะเกษ จากที่ตั้งเดิมบ้านโนนสามขาสระกำแพงมาตั้งที่บริเวณที่เป็นศาลหลักเมืองในปัจจุบัน ในขณะที่สร้างเมืองนั้น มีคนไปพบหลวงพ่อโต ภายในใจกลางป่าแดง (ขณะนั้นบริเวณวัดพระโตเป็นป่าแดง) จึงได้อุปถัมภ์บำรุง โดยให้สร้างวัดขึ้นบริเวณที่พบหลวงพ่อโต ตั้งชื่อว่า ?วัดพระโต หรือวัดป่าแดง? ได้จัดหาพระสงฆ์ผู้ทรงคุณวุฒิมาปกครอง ก่อสร้างเสนาสนะที่จำเป็นต่าง ๆ และ เจ้าเมืองศรีสะเกษคนต่อ ๆ มาไม่ว่าเจ้าพระยาวิเศษภักดี (โท) หรือเจ้าพระยาวิเศษภักดี (บุญจันทร์) เป็นต้น ก็ได้อุปถัมภ์เอาใจใส่บำรุงวัดพระโตเสมือนเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองศรีสะเกษตลอดมา ตราบเท่าที่ศรีสะเกษได้กลายเป็นจังหวัด ตามกฎหมายแบ่งเขตการปกครอง ซึ่งเปลี่ยนชื่อตำแหน่งเจ้าเมืองใหม่เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกคนต่างก็ให้ความเคารพยำเกรง เมื่อมาดำรงตำแหน่งใหม่ก็ถือเป็นประเพณีที่ต้องมาทำพิธีบูชาสักการะหลวงพ่อโตในวิหารก่อนเสมอ
ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ คณะสงฆ์ศรีสะเกษซึ่งมีพระชินวงศาจารย์(มหาอิ่ม คณะธรรมยุติ) ซึ่งเป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษขณะนั้น ดำริจะเปลี่ยนชื่อวัดพระโตหรือวัดป่าแดงเป็น วัดมหาพุทธวิสุทธาราม แต่คณะกรรมการสงฆ์จังหวัด ได้พิจารณาเห็นควรเพียงชื่อว่า วัดมหาพุทธารามจึงได้ชื่อ ?วัดมหาพุทธาราม? มาแต่บัดนั้น(ทั้งนี้ตามบันทึกของมหาประยูร วัดมหาพุท- ธาราม)
ในขณะนั้น มีวัดเก่าแก่ที่มีอายุใกล้เคียงกัน รายล้อมวัดมหาพุทธารามอยู่ทุก ๆ ด้าน เหมือนเป็นปราการเฝ้าระวังของนครหลวง อยู่ ๕ วัด คือ
๑.วัดหลวงศรีสุมังค์ หรือวัดหลวงสุมังคลาราม พระอารามหลวงปัจจุบัน
๒.วัดท่าโรงช้าง ต่อมาได้ชื่อใหม่ว่า วัดท่าวิเศษกุญชร หรือวัดศรีมิ่งเมือง ปัจจุบัน
๓.วัดท่าเหนือ ร้างมานานแล้ว ปัจจุบันเห็นแต่เพียงต้นโพธิ์ใหญ่บริเวณหน้าศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษเขตของวัดอยู่บริเวณฝั่งห้วยสำราญใกล้ ๆเรือนจำจังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบัน
๔.วัดเลียบ ร้างมานานเหมือนกัน ทางรัฐบาลเคยเช่าตั้งเป็นโรงไฟฟ้าอยู่คราวหนึ่ง ต่อมาจึงเป็นวัดเลียบบูรพาราม
๕.วัดเจียงอีศรีมงคลวรารามพระอารามหลวง ซึ่งเป็นวัดใหญ่อีกวัดหนึ่งที่มีความสำคัญในทางการปกครองสงฆ์มาจนถึงปัจจุบันนี้
สรุป วัดมหาพุทธาราม เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งมาก่อนเมืองศรีสะเกษ โดยเดิมเรียกว่า ?วัดป่าแดง? ภายหลังได้ถือเอาพระพุทธรูปโบราณศักดิ์สิทธิ์ เป็นสำคัญ จึงได้เปลี่ยนเป็น ?วัดพระโต? ตามลักษณะของพระพุทธรูปแต่นั้นมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น ?วัดมหาพุทธาราม? และได้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างมาโดยลำดับ เคยเป็นวัดที่มีเจ้าคณะจังหวัดฝ่ายมหานิกายปฏิบัติศาสนกิจหลายรูป และปัจจุบันวัดมหาพุทธาราม ได้เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด และยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดศรีสะเกษด้วย ฯ
57  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติ หลวงพ่ออ้วน โสภโณ วัดบ้านโนนค้อ เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:29:17
ประวัติ หลวงพ่ออ้วน โสภโณ วัดบ้านโนนค้อ พระเกจิร่วมสมัยหลวงพ่อมุม

"พระครูโสภณคุณากร" หรือ "หลวงพ่ออ้วน โสภโณ" วัดบ้านโนนค้อ อ.กันทรารมย์ (ปัจจุบัน เป็นอำเภอโนนคูณ) จ.ศรีสะเกษ พระเกจิชื่อดังของเมืองศรีสะเกษ ยุคเดียวกับหลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ และ หลวงพ่ออ่อน วัดเพีย มาตร อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ ซึ่งท่านทั้งสามเป็นสหมิกธรรมกัน

ชาติภูมิ หลวงพ่ออ้วน เกิดในสกุล สืบวงศ์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม 2434 ตรงกับแรม 14 ค่ำ เดือน 5 ปีเถาะ ณ บ้านเลขที่ 16 หมู่ที่ 1 บ้านโนนสังข์ ต.โนนสังข์ อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โยมบิดา-มารดา ชื่อ คุณพ่อจูมและคุณแม่ทุม สืบวงศ์ ครอบครัวมีพี่น้อง 5 คน

เมื่ออายุ 16 ปี ท่านบรรพชาเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ 2450 ณ วัดโพนทราย ต.หนองบัว อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีเจ้าอธิการสุวัณณี กัลยาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์

อุปสมบทเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2453 ณ วัดโพนทราย อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ โดยมีเจ้าอธิการสุวัณณี กัลยาโณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระลุน ธัมมวโร เป็นพระกรรมวาจรย์ และพระโฮม วรธัมโม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

หลังจากอุปสมบทแล้วท่านแสวงหาความรู้ในด้านต่างๆ โดยเฉพาะด้านพระธรรมวินัย และท่านไปศึกษาตามสำนักใหญ่ๆ ที่มีชื่อเสียงและมีครูบาอาจารย์ที่เคร่งครัดในด้านพระธรรมวินัย

พ.ศ.2456 ย้ายไปเรียนหนังสือมูลกัจจายน์ คัมภีร์ทั้ง 5 (เป็นหลักสูตรของโบราณอีสาน) อยู่ที่วัดบ้านยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี กับท่านธรรมบาล ซึ่งท่านธรรมบาลเป็นอาจารย์ใหญ่ สายสำเร็จลุน

พ.ศ.2464 ท่านได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านแสงใหญ่ ต.หนองแวง อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อเรียนวาดลวดลายผ้าพระเวสสันดรกับพระอาจารย์โท เป็นเวลา 1 ปี เมื่อท่านฝึกการวาดได้อย่างสวยงามจนเป็นที่พอใจของพระอาจารย์โท ท่านจึงย้ายกลับวัดโนนสังข์

พ.ศ.2476 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาวัดบ้านหนองดินดำ ต.บก อ.กันทรารมย์ (ปัจจุบัน อ.โนนคูณ) คนเฒ่าคนแก่เคยเล่าขานกันมาว่าตั้งแต่ท่านได้ย้ายมาอยู่วัดนี้ ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์ คือ ใต้ที่นอนของท่านได้เกิดดินประสิวที่เอามาทำบั้งไฟเป็นจำนวนมาก ด้วยท่านชอบการทำบั้งไฟ

พ.ศ.2483 ท่านได้ย้ายมาจำพรรษาวัดโนนค้อ หรือชาวบ้านเรียกกันว่า วัดโนน ค้อใน ต.โนนค้อ อ.กันทรารมย์ (ปัจจุบัน อ.โนนคูณ) จ.ศรีสะเกษ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดโนนค้อรูปที่ 7

ลำดับงานปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ.2489 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำ แหน่งเจ้าคณะตำบลโนนค้อ พ.ศ. 2490 เป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2512 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรีในราชทินนามที่ พระครูโสภณคุณากร

ด้านวัตถุมงคลที่สร้างและมีชื่อเสียง คือ เหรียญรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ. 2510 จำนวนไม่เกิน 3,000 เหรียญ, เหรียญรุ่นสอง ฉลองพัดยศ สร้างปี พ.ศ.2512 ผ้ายันต์ตะกรุดโทน ชานหมากและรูปถ่ายของหลวงพ่ออ้วน เป็นต้น

สำหรับประสบการณ์ คณะศิษย์ที่มีวัตถุมงคลหลวงพ่ออ้วนไว้ในครอบครอง ต่างร่ำลือกันว่ามีพุทธคุณเมตตามหานิยม แคล้วคลาดปลอดภัย มหาอุด คงกระพันชาตรี และกันภูตผีปีศาจ

นอกจากนี้ หลวงพ่ออ้วน ยังเป็นพระอาจารย์ของพระเกจิดังในยุคหลังอีก หลายรูป อาทิ หลวงพ่อสังข์ วัดนากันตม อ.กันทราลักษ์ จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อบุญชู วัดโนนคูณ อ.โนนค้อ จ.ศรี สะเกษ, หลวงปู่บุญ วัดโคกสว่าง อ.สำ โรง จ.อุบลราชธานี, หลวงพ่อพรหมา วัดโนนค้อใน ต.โนนคูณ อ.โนนค้อ จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อสี วัดโนนค้อนอก ต.โนนคูณ อ.โนนค้อ จ.ศรีสะเกษ, หลวงปู่เพ็ง วัดหนองสนม (ปัจจุบันวัดโคกสะอาด) อ.โนนคูณ จ.ศรีสะเกษ, หลวงพ่อประสาร วัดโนนผึ้ง อ.กันทรา รมย์ จ.ศรีสะเกษ ฯลฯ

วันที่ 19 ธันวาคม 2514 หลวงพ่ออ้วน ได้ละสังขารลงด้วยอาการสงบ ณ กุฏิหลังเก่า วัดโนนค้อใน สิริอายุ 80 พรรษา 60

การจากไปของหลวงพ่ออ้วน สร้างความสลดใจแก่ศิษยานุศิษย์เป็นอย่างยิ่ง คณะศิษย์ได้จัดพิธีบำเพ็ญกุศลที่วัดโนนค้อใน และได้พระราชทานเพลิงศพ เมื่อปี พ.ศ.2516 ณ วัดโนนค้อใน (ปัจจุบันวัดทักษิณธรรมนิเวศน์)

จากนั้นศิษยานุศิษย์ ได้สร้างเจดีย์เพื่อบรรจอัฐิของท่าน เพื่อให้ศิษยานุศิษย์ได้กราบไหว้บูชา ราคาเปิดประมูล 100 บาท

(เช่าพระควรจะรู้ประวัติครูบาอาจารย์ ความรู้และศรัทธาจะได้เพิ่มพูน)
58  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติพระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม) เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:27:28
....พระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม) อดีตเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม และอดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ท่านได้รับสมณศักดิ์สูงสุด เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิเศษ ได้สร้างผลงานไว้ที่วัดหลวงสุมังคลารามเป็นอันมาก และทั้งเป็นพระสงฆ์รุ่นบุกเบิก สร้างและวางรากฐานความมั่นคงให้แก่คณะธรรมยุตจังหวัดศรีสะเกษ

ท่านเกิดเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2431 ตรงกับวันพุธ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีชวด ที่บ้านหนองโน ม.5 ต.น้ำคำ อ.เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ เป็นบุตรของ นายธรรมา(จารย์ครูธรรมา) สุมงคล และนางบุญมา ท่านเกิดในตระกูลชาวนา มีพี่น้อง 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 4 ต่อมามารดาเสียชีวิต บิดาได้ภรรยาใหม่ จึงมีพี่น้องร่วมบิดาแต่ต่างมารดาอีก 4 คน

การศึกษา...และการจาริกไปต่างถิ่น เมื่ออายุ 13 ปี ได้เรียนหนังสือไทยที่โรงเรียนวัดพระโต (วัดมหาพุทธาราม) ต่อมาเมื่ออายุ 15 ปี บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดพระโต มีพระครูเกษตรศีลาจารย์ (นาม) เจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ จำพรรษาอยู่วัดพระโต ได้เล่าเรียนหนังสือภาษาไทยต่อในโรงเรียนวัดพระโตนั้น จนสอบได้ชั้นมูล 3 (ประถม 3) ในปีต่อมา ด้วยความรู้ความสามารถเป็นที่พอใจของพระอุปัชฌาย์ จึงขอแต่งตั้งให้เป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนวัดพระโต ได้รับอนุมัติจากกระทรวงธรรมการ รับนิตยภัตเดือนละ 6 บาท เป็นครูสอนอยู่ 2 ปี ได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่วัดใหม่ บริเวณที่ตั้งโรงเรียนวัดพระโตปัจจุบัน ซึ่งเป็นที่ดินวัดมหาพุทธาราม (วัดพระโต) อยู่ฝั่งตะวันออกของถนนขุขันธ์ ตรงข้ามกับวัดมหาพุทธารามนั่นเอง (วัดใหม่เป็นวัดธรรมยุตแห่งแรกในจังหวัดศรีสะเกษ แต่ร้างไปในภายหลัง มีพระมหารัตน์ จากจังหวัดอุบลราชธานีเป็นเจ้าอาวาส) ได้เรียนพระปริยัติธรรมไปด้วย 2 ปี

พ.ศ.2448 ติดตามอาจารย์มหารัตน์ไปอยู่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลราชธานี เรียนวิชาฝึกหัดครูที่วัดนั้น 2 ปี จบหลักสูตรชั้นสูงของโรงเรียน

พ.ศ.2450 ติดตามอาจารย์พระมหารัตน์ไปจำพรรษาที่วัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี ช่วยสอนหนังสือภาษาไทยให้สามเณรและศิษย์วัดนั้น 1 ปี

พ.ศ.2451 อายุย่างเข้า 21 ปี ย้ายจากวัดสระแก้ว อำเภอพิบูลมังสาหาร เข้ามาอยู่วัดสุปัฏนาราม ได้รับการอุปสมบทที่วัดสุปัฏนาราม ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2451 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระศาสนดิลก เป็นพระอุปัชฌาย์ ระหว่างนี้ได้ศึกษาธรรม สอบไล่ได้นักธรรมตรี นักธรรมโท และสอบบาลีไวยากรณ์ สนามวัดได้

พ.ศ.2453 - 2454 ไปสอนหนังสือภาษาไทยแก่พระภิกษุสามเณรและศิษย์วัดต่าง ๆ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ.2455 พระอุปัชฌาย์ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านค้อหวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี บริหารวัด สอนภาษาไทยแก่ศิษย์ สร้างเสนาสนะที่สำคัญ คือ อุโบสถและศาลาการเปรียญ อย่างละ 1 หลัง.....อยู่ 2 ปี จึงย้ายจากวัดค้อหวางเข้าพรรษาที่วัดศรีทอง (วัดศรีอุบลฯ) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง โดยพระมหาเสน ชิตสโน เป็นเจ้าอาวาส ช่วยสอนและบูรณะปรับปรุงวัดอยู่ 2 ปี จึงย้ายจากวัดศรีทองไปวัดบรมนิวาส กรุงเทพฯ เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช เป็นเจ้าอาวาส ได้ศึกษาบาลี และช่วยภาระเจ้าอาวาสประการต่าง ๆ อยู่ 2 ปี....ย้ายไปจำพรรษาที่วัดพิชัยญาติการาม อำเภอคลองสาน จังหวัดธนบุรี เจ้าคุณพระเขมาพิมุขธรรม เป็นเจ้าอาวาส ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ 2 ปี

พ.ศ.2463 ลาเจ้าอาวาสวัดพิชัยญาติการาม กลับภูมิลำเนาเดิมที่ จังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ) ได้ไปจำพรรษาที่วัดโพนข่า ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มีพระทอง เป็นเจ้าอาวาสวัดโพนข่า....ในปีต่อมา พ.ศ.2464 พระทองลาสิกขา ได้รับบริหารงานในตำแหน่งเจ้าอาวาสต่อมาเป็นเวลา 5 ปี ....ในระหว่างนี้..มีผลงานด้านต่าง ๆ มากมาย เป็นต้นว่า...เปิดการศึกษาพระปริยัติธรรม และบาลีขึ้นที่วัด ปลูกสร้างศาลาการเปรียญ 1 หลัง ปลูกสร้างกุฏิไม้เนื้อแข็งทรงมลิลา 1 หลัง ก่อสร้างอุโบสถตามแบบกรมศิลปากร 1 หลัง และขุดสระน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้ง 1 แห่งในบริเวณวัด เป็นต้น

.....มูลเหตุการได้มาเป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงสุมังคลาราม คือ พ.ศ.2469 ขุนอำไพ พร้อมด้วยนายเปลี่ยน ศีลวาณิช และนายผึ้ง มหาผล ผู้นำหมู่พุทธบริษัท ได้นิมนต์ไปจำพรรษาอยู่วัดหลวงสุมังคลาราม มีพระครูเกษตรศีลาจารย์ (ทอง) เป็นเจ้าอาวาส ได้ช่วยภาระเจ้าอาวาสในด้านก่อสร้างพระอุโบสถ วัดหลวงสุมังคลาราม และยังคงไปดูแลควบคุมการก่อสร้างอุโบสถวัดโพนข่าพร้อมกันไปทั้งสองวัด โดยใช้วิธีการเหมือนกัน คือ จ้างช่างคนญวนเป็นหัวหน้า และระดมภิกษุ สามเณรในวัดเป็นคนงาน จนวัดโพนข่าเสร็จลง สามารถทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2473 ส่วนอุโบสถวัดหลวงสุมังคลาราม เสร็จลงเมื่อ พ.ศ.2485

พ.ศ.2476 สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ขอวัดหลวงสุมังคลารามจากเจ้าคณะจังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ) เพื่อตั้งเป็นวัดธรรมยุติ โดยนิมนต์ท่านพระครูเกษตรศีลาจารย์ เจ้าอาวาสรูปเดิม และเจ้าคณะแขวงขณะนั้น ย้ายไปอยู่วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม และแต่งตั้งให้ท่านพระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม) ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูสิริสารคุณ เป็นเจ้าอาวาสวัดหลวงฯ เมื่ออายุ 46 พรรษา 26

พ.ศ.2481 รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอน้ำอ้อม (อำเภอกันทรลักษ์) จังหวัดขุขันธ์ (ศรีสะเกษ) จากนี้ไปก็จำเริญตำแหน่งงานเรื่อยไปจนถึงปี พ.ศ.2514 เป็นเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ธรรมยุต

.....ด้านสมณศักดิ์...ท่านได้สมณศักดิ์ครั้งแรกเมื่ออายุ 49 พรรษา 29 พ.ศ.2479 รับสัญญาบัตร (พระครูชั้นตรี) ที่พระครูสิริสารคุณ แล้วเลื่อนไปตามลำดับชั้นโท เอก พิเศษ จนได้เป็นพระราชาคณะที่ พระญาณวิเศษ ในปี พ.ศ.2514

...ผลงานสำคัญของท่าน...คือได้ตั้งรากฐานคณะธรรมยุตขึ้นอย่างมั่นคงในจังหวัดศรีสะเกษ โดยได้ขยายวัดคณะธรรมยุตออกไป 17 วัด.....นอกจากนี้...ยังมีที่พักสงฆ์อยู่อีก 22 แห่ง วัดธรรมยุตในเขตปกครองจังหวัดศรีสะเกษเกิดขึ้นได้...ถือว่าด้วยบารมีของพระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม) เป็นมูลเหตุ

....พระญาณวิเศษ (ศรี ฐิตธมฺโม) มรณภาพ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2529 ตรงกับวันจันทร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล สิริรวมอายุ 89 ปี 2 เดือนเศษ...
59  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติหลวงปู่่มุม อินทปัญโญ เมื่อ: 28 กรกฎาคม 2555, 19:26:03
ประวัติหลวงปู่่มุม อินทปัญโญ

หลวงพ่อมุม อินฺทปญโญ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 พุทธศักราช 2429 ณ บ้านปราสาทเยอร์ อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ โยมบิดาชื่อ มาก บุญโญ โยมมารดาชื่อ อิ่ม บุญโญ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2441 ขณะท่านอายุได้ 12 ปี ได้บรรพยาเป็นสามเณรที่วัดปราสาทเยอร์เหนือโดยมีเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือในสมัยนั้น อาจารย์พิมพ์ เป็นผู้ชวชให้

อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2449 ขณะท่านอายุครบ 20 ปี โดยมีพระอาจารย์ปริม เจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือ เป็นพระปุปัฌชาย์ พระอาจารย์พรหมมา วัดสำโรงระวี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ทอง วัดไพรบึง เป็นพระอนุสาวนาจารย์

พ.ศ.2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือ

พ.ศ.2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าคณะตำบลชั้นตรี ราชทินนามที่ พระครูประสาธน์ขันธคุณ

พ.ศ.2501 เลื่อนชั้นพระสังฆาธิการเป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท ในนามเดิม




ภายหลังอุปสมบทท่านได้เพียรศึกษาพระปริยัติธรรม บาลีไวยากรณ์ พระธรรทบท มูลกัจจายนะสูตร กรรมฐาน และคาถาอาคมการลงอักขระเลขยันต์ต่าง ๆ จนเชี่ยวชาญ

อีกทั้งอักขระขอม คาถาอาคม ไสยเวทย์ จากพระอาจารย์เขมรและพระอาจารย์จากประเทศลาวจนมีความเชี่ยวชาญ ฝึกปฏิบัติสมถะกรรมฐานและวิปัสนากรรมฐานจนมีจิตและสมาธิอันกล้าแข็งแน่วแน่ตามลำดับ

ท่านจึงออกธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร ผ่านทางเมืองขุขันธ์เรื่อยไปจนถึงเมืองกบินทร์บุรี และมาจำพรรษาอยู่ที่วัดโคกมอญเป็นเวลานานถึง 3 พรรษา

ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดโคกมอญ ท่านได้พัฒนาและสร้างความเจริญให้กับวัดโคกมอญเป็นอันมาก จากสำนักสงฆ์เล็ก ๆ จนเป็นวัดที่เจริญขึ้น สร้างความเลื่อมใสศรัทธาในหมู่ประชาชนละแวกนั้น เมื่อออกพรรษาท่านจึงเดินธุดงค์ต่อเรื่อยมาจนกลับมาจำพรรษาที่วัดปราสาทเยอร์ใต้

จำพรรษาอยู่ ณ วัดปราสาทเยอร์ใต้ได้หลายปีท่านก็ออกธุดงค์อีก ใช้เวลานับแรมปี ธุดงค์เข้าหาหาวิเวกแสวงธรรมไปแทบจะทุกพื้นที่ ทั้งในประเทศไทย เขมร และประเทศลาว ค่ำไหนปักกลดจำวัดที่นั่น



ได้ร่ำเรียนศึกษาแลกเปลี่ยนวิชาจากอาจารย์เก่ง ๆ หลายท่าน จนได้รับคำแนะนำจากพระอาจารย์ต่าง ๆ ให้ไปพบกับ สมเด็จลุน เกจิอาจารย์ผู้เรืองวิชาและมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในประเทศลาวเพื่อฝากตัวเป็นศิษย์

หลวงพ่อมุมธุดงค์ต่อไปยังนครจำปาศักดิ์เพื่อไปพบกับสมเด็จลุน แต่ต้องคลาดกันเพราะด้วยขณะนั้นสมเด็จลุนได้เดินทางมายังจังหวัดอุบลราชธานี

หลวงพ่อมุมออกธุดงค์จากนครจำปาศักดิ์มุ่งหน้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีจนได้พบกับสมเด็จลุน ขอฝากตัวเป็นศิษย์ติดตามท่านกลับมายังนครจำปาศักดิ์เพื่อศึกษาวิชาอาคมและอักขระเลขยันต์จากท่าน

หลวงพ่อมุมพากเพียรศึกษาวิชาจากสมเด็จลุนเป็นเวลานานจนเชี่ยวชาญท่านจึงกราบลาสมเด็จลุน ธุดงค์กลับมายังเมืองขุขันธ์จนถึงวัดปราสาทเยอร์ ในกาลนี้สมเด็จลุนยังเมตตามอบสรรพตำราต่าง ๆ ให้กับหลวงพ่อมุมเพื่อศึกษาเพิ่มเติม (ปัจจุบันตำราใบลานต่าง ๆ ยังคงมีเก็บรักษาไว้ ณ วัดปราสาทเยอร์ใต้)

ภายหลังพระอาจารย์ปริม เจ้าอาวาสวัดปราสาทเยอร์เหนือได้มรณภาพลง ชาวบ้านจึงนิมนต์หลวงพ่อมุมมาเป็นเจ้าอาวาสที่วัดปราสาทเยอร์เหนือ ท่านได้พัฒนาวัดปราสาทเยอร์เหนือจนมีความเจริญขึ้น ทั้งในด้านถาวรวัตถุและกิจการทางพระพุทธศาสนา

หลวงพ่อมุม อินฺทปญโญ มรณะภาพลงเมื่อ วันที่ 9 เดือนกันยายน พุทธศักราช 2522 ณ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สิริอายุรวม 93 ปี 73 พรรษา อัฐิของท่านบรรจุไว้ในพระธาตุภายในวัดปราสาทเยอร์เหนือ ตำบลปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง จังหวัดศรีสะเกษ
60  พระเครื่องและวัตถุมงคล / ให้เช่า-รับเช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: เหรียญสภาพนี้ ชอบราคาเท่าไหร่ใส่เลยครับ (สวยทุกเหรียญ) เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2555, 20:39:15
ขอขอบคุณครับ ปิดแล้วจ้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!