?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
28 เมษายน 2567, 18:25:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: เชิญร่วมทายเหรียญคณาจารย์จังหวัดอุบล ครับ เมื่อ: 18 ตุลาคม 2555, 17:15:12
ขอบคุณมากครับสำหรับเหรียญหลวงปู่คำบุที่ส่งให้ สวยงามมากครับ
ส่วนเหรียญพระครูสุขุมธมาภรณ์ ช่วยดูให้ที่ครับต้องขอโทษด้วยที่รูปไม่สวย
2  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: เชิญร่วมทายเหรียญคณาจารย์จังหวัดอุบล ครับ เมื่อ: 17 ตุลาคม 2555, 11:15:38
เหรียญรุ่นแรก พระครูสุขุมธมาภรณ์ วัดเหล่าข้าว จ.อุบลฯ
พอดีผมมีอยู่เหรียญหนึ่งครับ พอจะมีประวัติท่านหรือเปล่าครับ
และตอนนี้รุ่นนี้มีของเก๊หรือเปล่า ส่วนของรางวัลเอาไว้ให้สมา
ชิกท่านอื่นก็ได้ครับ
 
3  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: สมาชิกท่านใดรู้จักประวัติหลวงปู่องค์นี้บ้างครับ เมื่อ: 17 ตุลาคม 2555, 10:52:13

  ประวัติของหลวงปู่เสถียร มานะทัดสี หรือหลวงปู่ใหญ่ นั้น เป็นชาว จ.อุบลราชธานี โดยกำเนิด เกิดที่บ้านหนองกุงใหญ่ ต.สำโรง อ.พิบูลมังสาหาร เป็นบุตรคนโตในบรรดาพี่น้อง 3 คน ของ นายทา ทัดสี และนางเพ็ง ทัดสี หลวงปู่ใหญ่ เกิดเมื่อปี 2479 แต่เป็นกำพร้ามาตั้งแต่เด็กจึงอาศัยกินข้าววัด นอนวัด และเรียนจบชั้น ป. 4 ที่บ้านหนองกุงใหญ่ บวชเณรที่วัดสระปทุมมาลัย และเรียนต่อที่วัดวรรณวารี อ.วารินชำราบ จ.อุบลฯ จบนักธรรมตรี จึงลาสิกขาบทมาช่วยญาติทำนา
 
ระหว่างที่ลาสิขาบทออกมานี้มีอยู่วันหนึ่งช่วงเวลาประมาณ 1-2 ทุ่ม ได้ปรากฎการณ์ที่เหนือธรรมชาติเกิดขึ้นที่หลังบ้านหลวงปู่โดยจู่ๆ มีผ้าขาวปลิวลงมาจากท้องฟ้าบริเวณป่าหลังบ้าน ท่านได้ไปดูพบมีกลิ่นหอมฟุ้งเหมือนดอกไม้ป่ากระจายทั่วบริเวณ จากนั้นมีชายนุ่งชุดขาวได้ออกมา หลวงปู่รู้สึกกลัวแต่ก้มกราบชายชุดขาว ๆ สั่งกับท่านว่าให้ตั้งอยู่ในศีลและปฏิบัติธรรม สวดมนต์ภาวนาเป็นประจำอย่าได้ขาด จากนั้นก็ลอยกลับขึ้นท้องฟ้าจนลับตาไป และหลังจากนั้นชายนุ่งขาวคนเดิมก็มักจะมาหาหลวงปู่อีกเกือบทุกคืน ซึ่งทราบต่อมาว่าชายชุดขาวก็ คือ ?ท้าวมหาพรมชินะปัญจะ? ซึ่งหลวงปู่เรียกว่า ?พ่อ? และท้าวมหาพรหมให้นึกถึงท่านในเวลาที่ต้องการซึ่งท่านจะมาช่วยเหลือทุกครั้งไป

ช่วงวัยหนุ่ม หลวงปู่ได้ไปสมัครเป็นทหารรับจ้างที่ประเทศลาว ได้รับการฝึกความอดทนทุกรูปแบบ ทั้งต่อสภาพดินฟ้าอากาศ การโดนรอบยิง ลอบวางระเบิด โดนจับติดคุกดอน คุกน้ำ ทรมานกลางแสงแดดจนแทบทนไม่ได้ แต่ก็ไม่ตาย เนื่องจากมักจะมีคนมาช่วยเหลือไว้ทุกที ภายหลังทราบว่าท้าวมหาพรหมต้องการให้ฝึกร่างกายและจิตใจ ก่อนที่จะเข้าสู่การปฏิบัติธรรมอันยิ่งใหญ่ เพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งระหว่างที่เป็นทหารรับจ้างอยู่นี้หลวงปู่ก็ยังคงฝึกสมาธิภาวนาในใจอยู่ตลอดเวลา กระทั่งลาออกจากทหารรับจ้างในหลายปีต่อมา และมาอาศัยอยู่กับญาติที่ อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี

ระหว่างนี้ท่านได้หมั่นทำบุญ นุ่งขาวห่มขาว ทุกวันพระปฏิบัติธรรมเข้าวัดฟังธรรมเป็นนิจ และมักจะเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับปู่ฤาษี และนิทานโบราณ พระคัมภีร์โบราณ พร้อมกับสั่งสอนลูกหลานให้หมั่นฝึกจิตและยึดมั่นในธรรมโดยการให้ภาวนาหายใจเข้า บริกรรม ?พุทธ? หลายใจออกบริกรรม ?โธ? และว่าต่อไปบ้านเมืองจะเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา เกิดความวุ่นวาย ผู้คนจะไม่ค่อยรู้จักบาป บุญ คุณโทษ ต่างๆ กระทั่งท่านอายุได้ 45 ปี เกิดความเบื่อหน่ายทางโลก จึงได้ออกบวชตามพระประสงค์ของท้าวมหาพรหมฯ โดยบวชที่วัดเกษตรรัตนสิงห์ ปฏิบัติธรรมเคร่งครัดไม่ฉันท์เนื้อสัตว์ เป็นเวลา 3 ปี กว่าจึงได้ออกธุดงค์ไปตามป่าตามเขาโดยมีเพียงกลดและบาตรติดตัว
 
ช่วงแรกจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านค้อแขม ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ ระหว่างนั้นได้พบพระน้องชายในอดีตชาติ จึงได้ร่วมกันปฏิบัติธรรมในสำนักสงฆ์โดยไม่ฉันท์เนื้อสัตว์ จำพรรษาเป็นเวลา 1 ปี จึงออกธุดงค์ต่อตามเสียงที่ได้ยินก้องในหูท่านเพียงผู้เดียว
หลวงปู่ใหญ่ออกธุดงค์ไปตามผาแต้ม ถ้ำมรกต ผาเย็น เขาหลวงไกรราช แดนอาถรรพ์ศักดิ์สิทธิ์ และเขตชัยบาดาล เขาสระบุรี เป็นต้น นอกจากนี้ยังไปภาคเหนือ ภาคตะวันออก ยกเว้นกลางกลางและภาคใต้ที่หลวงปู่บอกว่าไม่ใช่ดินแดนที่จะธุดงค์ โดยเมื่อไปที่ต่างๆ ก็จะทำสัญลักษณ์เป็นพระพุทธรูปไว้ให้ลูกหลานได้ขอพร กราบไว้บูชา จนกระทั่งครบกำหนดตามความตั้งใจจึงได้กลับมาที่บ้านหนองกุงใหญ่ จ.อุบลราชธานี ซึ่งอยู่ได้ระยะหนึ่งก็ต้องไปที่วัดดอนไร่ จ.อำนาจเจริญเพื่อบูรณะวัดดังกล่าว
อย่างไรก็ตามมีช่วงหนึ่งที่หลวงปู่ได้ไปที่บ้านโกลขี้หนู อ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ เพื่อพบกับ ?ตาสี? โยมผู้ใกล้ชิด โดยไปในช่วงพลบค่ำ ?ตาสี? เห็นพระธุดงค์อยู่หน้าบ้านก็ไม่ได้สนใจ ต่อมาหลวงปู่ได้เดินออกจากหน้าบ้าน เพราะไม่มีผู้สนใจ ไม่นานเมียตาสีชักตาตั้งอย่างไม่ทราบสาเหตุ ตาสีรีบวิ่งออกไปหาพระธุดงค์รูปเดิมแต่ไม่พบ ต้องวิ่งตามหาจนเจอหลวงปู่พบและบอกกับตาสีว่า ?บักสีมึงจำกูบ่ได้? ตาสีได้ยินถึงกับนั่งคุกเข่ากราบเท้าและกอดขาหลวงปู่ไว้ร้องไห้ แล้วบอกว่าหลวงปู่มาในแบบของพระจึงทำให้จำกันไม่ได้
จากนั้นจึงได้นิมนต์ให้เข้าไปในบ้านและหลวงปู่ได้ให้เมียของตาสีดื่มน้ำมนต์สักพักก็หายเป็นปกติ ระหว่างนี้หลวงปู่ได้ถามหาพระคัมภีร์ ตาสีจึงนำมาถวาย จากนั้นท่านจึงเดินทางกลับวัดดอนไร่ แล้วไปวัดสว่าง ต.คึมใหญ่ อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ เพื่อพบพระอาจารย์เสือ พอพบหน้าพระอาจารย์เสือไม่ได้พูดอะไรแต่ไปนำใบลาน 2 ผูกมาถวายหลวงปู่ พร้อมกับบอกว่าขอถวายคืนให้หลวงปู่ หลังจากที่รักษามานานและหมดหน้าที่รักษาใบลานนี้เสียที

พ.ศ. 2537 ท่านธุดงค์ไปที่ภูนกหงส์ ท่านได้ปักกรฎที่ ?ถ้ำโลกุตตะระ? แรกๆ ไม่มีแม้กระทั่งน้ำฉันท์ทำให้ท่านต้องกลับวัดดอนไร่ จากนั้นประมาณปี 2538 ท่านได้กลับมาที่ภูนกหงส์อีกครั้ง อันเนื่องจากปริศนาธรรมที่ท้าวมหาพรหมได้ตรัสว่า ?ปลูกข้าวบนพะลานหิน ให้เอาศีลรดต้นข้าว? ซึ่งหมายถึงหากปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ก็จะมีพุทธศาสนิกชนเลื่อมใสศรัทธาไม่แร้นแค้น และด้วยความยึดมั่นในคำสอนอย่างเคร่งครัด จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านต่างเคารพศรัทธาท่านมากเป็นลำดับ

มีอยู่ครั้งหนึ่งท่านฝันว่าได้รับนิมนต์ไปวัดพระเชตุพน ที่ประเทศศรีลังกา โดยเข้าไปในพระอุโบสถและพบว่าถูกตีตราธรรมจักรที่ฝ่าเท้าขวา ส่วนฝ่าเท้าซ้ายถูกตีรูปใบโพธิ์ พอตื่นมาจึงรู้ว่าฝันไป แต่ที่มากกว่านั้นคือ เมื่อดูที่เท้าปรากฏว่ามีตราสัญลักษณ์ทั้งสองอยู่บนฝ่าเท้าจริงๆ อย่างเหลือเชื่อ นอกจากนี้ ท่านยังเคยได้รับนิมนต์ในนิมิตให้ไปวัดพระเชตุพนอีกครั้งในเวลาต่อมา โดยภายในห้องประชุม

ขนาดใหญ่มีพระสงฆ์นั่งอย่างเป็นระเบียบอยู่เต็มห้อง ด้านหน้าห้องประชุมมีธรรมาสต์เพชรตั้งอยู่ ไม่นานมีเสียงบอกให้ท่านไปนั่งที่ธรรมาสต์ หลังนั่งบนธรรมาสต์พระสงฆ์ในที่นั้นได้สาธุพร้อมกันดังกึกก้อง ก่อนจะมีจานผลไม้ทิพย์ปรากฏเบื้องหน้าให้พระสงฆ์ทุกรูปฉันท์มังสวิรัติ พอฉันท์เสร็จก็หายวับไปกับตา จากนั้นหลังประชุมเสร็จท่านพบว่ามีชายชุดขาวนำม้าสีแดงมาถวายให้ท่านแต่ท่านไม่รับบอกว่ามีม้าสีหมอกแก่อยู่แล้ว แต่ชายชุดขาวไม่ยอมและให้ท่านขึ้นบนหลังม้า ๆ ตัวดังกล่าวได้เหาะขึ้นบนฟ้า ต่อมาทราบว่าม้าดังกล่าวชื่อ?ม้ามณีกาบ? และกลายเป็นม้าประจำตัวของหลวงปู่ในที่สุด
 

 
โดยทั่วไปแล้วหลวงปู่ใหญ่จะไม่ค่อยปลงผมจะปลงผมเพียงปีละ 2 ครั้งคือ วันวิสาขบูชา และวันลอยกระทง และท่านได้ปลงผมครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2542 จากนั้นก็ไม่ปลงอีก ขณะที่ความเป็นมาอีกส่วนหนึ่งของวิหารดอกบัวคู่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของเจดีย์ดอกบัวเงิน-ดอกบัวทอง ในช่วงที่หลวงปู่มียังไม่ละสังขารญาติโยมที่ศรัทธาร่วมกันทำการก่อสร้างขึ้น หลวงปู่ได้ทำพิธีบวงสรวงเทพยาดา ปรากฏว่าฟ้าเปิดแต่มีฝนตกลงมาเฉพาะบริเวณที่จะทำการก่อสร้างเป็นอัศจรรย์
อย่างไรก็ตามตลอดเวลาหลวงปู่ไม่รับกฐิน หรือทำซองผ้าป่าใด แต่เน้นให้พุทธศาสนิกชนที่เลื่อมใสอย่างแท้จริงได้เข้ามาทำการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเองโดยสมัครใจ ทำให้ภูนกหงส์มีสิ่งปลูกสร้างขึ้นมาพอสมควรในขณะนี้ และยังมีไฟฟ้าให้แสงสว่างกับพระสงฆ์ นอกจากนี้ในบริเวณสำนักสงฆ์แห่งนี้ยังมีหินที่คล้ายรูปหงส์ 2 ตัว อยู่บริเวณ

ด้านทิศตะวันตก หรือหน้าผาทางเข้าวัด เหมือนหงส์ 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน แต่มีคนไปทำลายทำให้ช่วงหัวนกทั้งสองหักลง ซึ่งชาวบ้านเล่าว่าผู้ที่ทำลายหินรูปนกดังกล่าว หลังทำลายก็กลับไม่ถึงบ้านเกิดการตายระหว่างทางกลับบ้านนั่นเอง ระยะหลังหลวงปู่ได้สั่งให้มีการบูรณะส่วนหัวและคอนกหงส์ที่หักไปขึ้นมาใหม่ ให้พุทธศาสนิกชนเคารพบูชาพร้อมกับให้สร้างศาลาครอบไว้เป็นอนุสรณ์ ซึ่งช่วงที่พุทธศาสนิกชนได้ขึ้นมาที่ภูนกหงส์กันมากคือช่วงปี 2544
ส่วนอดีตชาติของหลวงปู่ใหญ่นั้น ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นได้เปิดเผยว่า อดีตชาติท่านคือ หลวงปู่โพนเสม็ดแห่ง สปป.ลาว , หลวงปู่สมเด็จลุน, หลวงปู่เทพโลกอุดร และมาหลวงปู่เสถียรหรือหลวงปู่ใหญ่ และในอดีตชาติเคยเป็นผู้บูรณะพระธาตุพนมที่ จ.นครพนม ในสมัยที่เป็นหลวงปู่โพนเสม็ด หลวงปู่ใหญ่ยังพูดได้ 12 ภาษา แม้ไม่ได้ร่ำเรียนมาก็ตาม โดยเฉพาะรูปภาพและสถานที่ที่ท่านอยู่บำเพ็ญเพียรมักจะมีตัวอักษรจีนปรากฎอยู่เสมอ
 

ในปี 2543 ท่านได้เทศน์ว่า สิ่งปลูกสร้างที่เกิดขึ้นในภูนกหงส์แห่งนี้ ทุกอย่างล้วนเป็นการเสี่ยงทายผู้ใดจะได้ร่วมสร้าง โดยบอกว่าเบื้องบนกำลังคัดเลือกคนดีคนชั่ว เนื่องจากโลกถึงเวลาและจะมีแต่ความวุ่นวาย ภัยพิบัติธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นลำดับ สำหรับพระธาตุดอกบัวทอง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท และสังขารที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงปู่นั้น ท่านได้ให้สร้างขึ้นในช่วงปี 2544 โดยมีฐานสูงจากพื้น 50 เซนติเมตร กว้าง 30 เมตร มณฑป 30X30 เมตร มี 3 ฐานเป็นลำดับ ตลอดระยะเวลาการก่อสร้างท่านไม่สามารถไปไหนได้กระทั่งสร้างเสร็จสิ้นเป็นส่วนๆ จึงไปไหนมาไหนได้ ดังหนึ่งว่าเป็นคำสั่งของเบื้องบน อย่างไรก็ตามหลวงปู่ใหญ่เป็นผู้มีเมตตาดังโดยท่านได้พูดเสมอว่า ?เมตตาธรรมค้ำจุนโลก ให้มีเมตตาต่อกันรักกัน ช่วยเหลือจุนเจือซึ่งกันและกัน?
ประมาณปี 2544 ท่านจึงเริ่มอาพาธ ช่วงแรกอาพาธโดยไม่ทราบสาเหตุ มีอาการหนาวสั่นตลอดเวลา หมอไม่สามารถวินิจฉัยได้ รักษากว่า 1 เดือนจึงเริ่มดีขึ้น พอหายแล้วท่านบอกว่า ได้ไปรับแต่งตั้งให้เป็นยอดขุนพลอัจฉริยะเทพยุวกษัตริย์มา และระหว่างที่ขึ้นไปสมเด็จย่าได้ประทับอยู่บนชั้นดาวดึงและได้ประทานจีวรทองคำให้หลวงปู่ (ซึ่งท่านเคยสวมเพียงครั้งเดียว คนที่เห็นคือตาสี ปัจจุบันมีรูปปั้นหลวงปู่ห่มจีวรทองคำอยู่ในพระอุโบสถวัดภูนกหงส์) จนกระทั่งปี 2546 ท่านได้สั่งให้สร้างพระศรีอารยะเมตไตรถือดอกบัว นั่งบนสิงห์ หน้าตักกว้าง 1 นิ้ว ทำด้วยทอง เงิน นาค ทองคำขาว ตะกั่วนม ชิน ทองแดง ทองเหลือง และสำริด จำนวน 999 องค์ มีระยะเวลาทำ 1 เดือนกว่า เพื่อเก็บไว้ให้ลูกหลานที่มาร่วมสร้างทำนุบำรุงศาสนา


จากนั้นในราวเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน ท่านได้อาพาธหนัก ไม่ยอมฉันท์เนื้อสัตว์ ยกเว้นผลไม้เป็นเวลา 3 เดือน และได้สั่งให้สร้างพระเจดีย์ทองให้เสร็จในเดือนมกราคมปี 2547 พอถึงเดือนสิงหาคมปี 2546 ท่านเริ่มอาการดีขึ้น ต่อมาวันที่ 15 สิงหาคม 2546 อาการได้ทรุดหนักอีกครั้งต้องเข้า รพ.ประจำจังหวัดอุบลราชธานี พอถึงวันที่ 17 ส.ค. 2546 ท่านได้สั่งให้เขียนประวัติท่านไว้ และสั่งให้ทำพระเจดีย์ให้เสร็จใน 3 ปี จากนั้นจึงได้ละสังขารโดยสงบ ในวันอาทิตย์ที่ 17 ส.ค. 2546 แรม 5 ค่ำ เดือน 9 ปีมะแม รวมศิริอายุได้ 67 พรรษา
นายพงษ์ บุญเลิศ อายุ 67 ปี มัคทายกวัดภูนกหงส์ ชาวบ้านแก้งอะฮวน ซึ่งเป็นผู้หนึ่งซึ่งรับใช้วัดภูนกหงส์และหลวงปู่ใหญ่อยู่เสมอ กล่าวว่า ในช่วงที่หลวงปู่ใหญ่มาธุดงค์และตั้งวัดแห่งนี้ตั้งแต่เริ่มแรก ตนได้ช่วยเหลือท่านในการปรับปรุงถ้ำโลกุตตะระที่ใช้สำหรับนั่งวิปัสสนากัมมฐาน จนเป็นที่เหมาะต่อการเจริญภาวนา และได้เป็นส่วนหนึ่งร่วมกับญาติโยมในการสร้างและบูรณะวัดภูนกหงส์
ซึ่งในช่วงที่หลวงปู่ยังมีชีวิตอยู่ มีญาติโยมที่ศรัทธาส่วนใหญ่มาจากในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ขณะที่ชาวบ้านในระแวกนี้ต่างก็รู้กิตติศัพท์ของหลวงปู่ดี และมาร่วมทำบุญกันต่อเนื่อง ส่วนที่น่าอัศจรรย์ใจสำหรับชาวบ้านในแถบนี้ มีครั้งหนึ่งที่หลวงปู่รับกิจนิมนต์จากญาติโยมที่มานิมนต์พร้อมกันหลายเจ้าในเวลาเดียวกัน 5 เจ้า ครั้นจะปฏิเสธก็จะเสียน้ำใจญาติโยม ท่านจึงได้รับนิมนต์ทั้ง 5 เจ้า แต่พอถึงเวลาจริง ชาวบ้านที่ไปร่วมงานต่างพบว่าหลวงปู่ไปร่วมงานที่ได้รับนิมนต์ทุกที่พร้อมๆ กันในเวลาเดียวกัน จึงทำให้ชาวบ้านต่างอัศจรรย์ใจเป็นอย่างมาก ล่ำลือกันว่าท่านสามารถแยกร่างได้ ส่วนบารมีของท่านเชื่อว่ามาพร้อมกับการปฏิบัติธรรมที่เป็นไปอย่างเคร่งครัดและไม่ขาด จึงทำให้ญาติโยมศรัทธามาก
และต่อเมื่อท่านได้ละสังขารแล้ว ร่างกายก็แห้งไปโดยธรรมชาติไม่มีการเน่าเปื่อย แม้ไม่แช่เย็นหรือฉีดสารใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลวงปู่ได้กล่าวไว้ก่อนจะละสังขารว่า หลังจากมรณภาพแล้วห้ามไม่ให้ญาติโยมประชุมเพลิงศพของท่านโดยเด็ดขาด เพราะร่างกายท่านจะไม่เน่าเปื่อย โดยเป็นการรู้ล่วงหน้าก่อนที่ท่านจะละสังขารไป นายพงษ์ กล่าว
4  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: เชิญร่วมทายเหรียญคณาจารย์จังหวัดอุบล ครับ เมื่อ: 12 ตุลาคม 2555, 20:58:16
วิชิต จันที่ บริษัท ซูมิโตโมรับเบอร์ ไทยแลนด์
7/232 หมู่6 ซอย พรประภา ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง 21140
5  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: เชิญร่วมทายเหรียญคณาจารย์จังหวัดอุบล ครับ เมื่อ: 12 ตุลาคม 2555, 20:35:34
ไม่ทราบประวัติท่านเหมือนกันครับ ส่วนรางวัลคงไปรับไม่ได้เพราะตอนนี้
ทำงานอยู่ที่ชลบุรีครับ ขอเบอร์โทรศัพท์ติดต่อหลังไมค์ได้หรือเปล่าครับ
6  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: เชิญร่วมทายเหรียญคณาจารย์จังหวัดอุบล ครับ เมื่อ: 12 ตุลาคม 2555, 18:40:23
เหรียญพระครูโสภณวิริยกิจ วัดป่าก้าว อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี รุ่นพิทักษ์ภัย ปี 2535
 
7  ห้องพระ / หลวงปู่มั่น ทัตโต / Re: ตะกรุด ขอเชิญโชว์เเละเเชร์ข้อมูล ตะกรุด หลวงปู่มั่น ทัตโต ครับ เมื่อ: 18 กันยายน 2555, 15:27:11
 
8  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: ใครแขวนพระอะไรบ้างครับ เมื่อ: 14 กันยายน 2555, 13:26:14
สมาชิกใหม่ขอด้วยคนครับ แขวนแค่องค์เดียวพอ
9  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / พระครูพุทธิสารสุนทร(เคน) วัดเมืองเดช เมื่อ: 12 กันยายน 2555, 19:24:30
หลวงปู่ พระครูพุทธิสารสุนทร(เคน) วัดเมืองเดช อดีตเจ้าคณะอำเภอเดชอุดม
ท่านเป็นพระเกจิอีกรูปหนึ่งที่ชาวอำเภอเดชอุดม ให้ความเคารพนับถือ
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!