?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
06 ธันวาคม 2567, 11:31:54 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1] 2 3 ... 73
1  ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน / วีรชน 2 ฝั่งโขง / ตำนาน 4 เสืออีสาน นายจำลอง ดาวเรือง : ขุนพลเมืองมหาสารคาม เมื่อ: 09 เมษายน 2562, 15:49:31

ตำนานชีวิตสี่เสืออีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน (๗)

นายจำลอง ดาวเรือง : ขุนพลเมืองมหาสารคาม







ใกล้จะถึงตอนสุดท้ายแล้วสำหรับตำนานชีวิตสี่เสืออีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน นักสู้เพื่ออุดมการณ์จากที่ราบสูง ขอขอบคุณสำหรับทุกท่านที่เข้ามาทักทายฝากไว้ซึ่งร่องรอยแห่งความทรงจำและมิตรภาพในยามค่ำคืน  หรืออาจเป็นห้วงเวลาหนึ่งที่เร่งรุดในหน้าที่การงาน ขอมิตรภาพนั้นยังอยู่กับเราตลอดไป


สำหรับเรื่องราวที่ผมจะได้กล่าวในตอนนี้ เป็นการสืบค้นจากตำราและเอกสารทางวิชาการที่นักวิชาการรุ่นใหม่ได้รวบรวมไว้ และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวเหล่านี้จักได้มีการสืบค้นและรวบรวมไว้อย่างมีหลักการเพื่อนำไปสู่การศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษา  โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานควรได้ให้ความสำคัญกับเรื่องราวความเป็นมาเหล่านี้ มากกว่าการศึกษาจากเรื่องราวความเป็นจากส่วนกลาง



เช่นเดียวกันสำหรับในตอนนี้จะได้กล่าวถึงวิถีชีวิตของอดีตรัฐมนตรีอีสานนามว่าจำลอง ดาวเรือง นักสู้ฝีกล้าแห่งเมืองมหาสารคาม จากเด็กท้องไร่ท้องนาหาญกล้าสู่เวทีการเมืองระดับประเทศ ฝากชื่อเสียงไว้ให้กระเดื่องแผ่นดิน แต่วาระสุดท้ายของชีวิตก็มิแตกต่างกับเพื่อนอดีตรัฐมนตรีแห่งที่ราบสูงอีก 3 คน ชีวิตคนเรานั้นไม่แน่นอนแต่สิ่งที่เป็นความจริงแท้คือคุณงามความดีที่ฝากไว้แด่ชนรุ่นหลัง

นายจำลอง ดาวเรือง : ขุนพลเมืองมหาสารคาม



นายจำลอง ดาวเรือง เกิดเมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2453 เป็นบุตรคนที่ 4 ในจำนวนพี่น้องทั้งหมด 6 คน ของนายมา และนางสอน  ดาวเรือง ในครอบครัวชาวนาที่บ้านงัวบา ตำบลงัวบา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ในวัยเด็กมีชื่อเดิมว่าแขก ดาวเรือง เพราะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายแขก 



แม้ว่านายจำลอง ดาวเรือง จะเกิดในครอบครัวชาวนาแต่ด้วยขยันและอดทนจึงได้บากบั่นด้านการศึกษา ซึ่งหลังจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาที่  3  จากโรงเรียนประชาบาลวัดบ้านงัวบาแล้ว  ทางครอบครัวไม่มีทุนทรัพย์ในการศึกษาเล่าเรียน จึงมีผู้สนับสนุนให้ได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาคือนายเช็ค เยาวสุด ซึ่งดำรงตำแหน่งศึกษาธิการอำเภอวาปีปทุมในขณะนั้น ได้ให้การสนับสนุนเข้ามาเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม  ในปี 2464 โดยมีเพื่อนร่วมรุ่นเดียวกันคือนายบุญถิ่น อัตถากร ในขณะเดียวกันก็ได้เปลี่ยนชื่อจากแขก มาเป็นจำลอง นับตั้งแต่มาเรียนที่โรงเรียนสารคามพิทยาคม



หลังจากจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นายจำลอง ดาวเรืองได้เรียนต่อที่โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จังหวัดร้อยเอ็ด จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปี 2468  แต่ก็ไม่มีทุนในการเรียนต่อเช่นเดียวกัน จึงได้รับการสนับสนุนจากหลวงพิศิษฐ์ เกษมสวัสดิ์ (เจ๊ก หยงนี) เจ้าของบริษัทขนส่งที่จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นผู้อุปการะค่าใช้จ่ายให้มาเรียนต่อด้านช่างกลที่กรุงเทพฯ  จากนั้นจึงกลับเข้ามาทำงานที่บริษัทขนส่งจังหวัดร้อยเอ็ดอยู่ระยะหนึ่งก่อนที่จะลาออกเพื่อประกอบอาชีพส่วนตัว



จากร้อยเอ็ดสู่นายท้ายเรือกลางลำน้ำโขง



ชีวิตนี้ยังมีความหวัง หลังลาออกจากบริษัทขนส่งที่จังหวัดร้อยเอ็ดนายจำลอง ดาวเรือง ได้ประกอบอาชีพส่วนตัวได้ระยะหนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าทำสู่แผ่นดินลาว โดยได้ขายรถยนต์ส่วนตัวที่หามาด้วยน้ำพักน้ำแรงของตนเองเพื่อเป็นทุนในการเลี้ยงชีพต่อไป



ที่นครจำปาศักดิ์แผ่นดินลาวนายจำลอง ดาวเรือง ได้พักอาศัยอยู่กับเพื่อนตระเวนทำงานด้วยวิถีสุจริตชน ในช่วงหนึ่งเคยใช้ชีวิตเป็นนักมวยหาเลี้ยงชีพจนได้รู้จักกับเจ้าราชดนัยน้อยบุตรของเจ้าราชดนัยผู้ครองนครจำปาศักดิ์ จึงได้ชักชวนให้มาทำงานเป็นนายท้ายเรือตามลำน้ำโขงอยู่หลายปี จึงทำให้มีความเชี่ยวชาญด้านภาษาเวียตนามและภาษาฝรั่งเศสเป็นอย่างยิ่ง



ในขณะที่หน้าที่การงานกำลังไปได้สวยแต่ดูเหมือนว่าโชคชะตาจะไม่เข้าข้างเพราะว่าในปี 2476  นายจำลอง ดาวเรืองได้ถูกรัฐบาลอินโดจีนฝรั่งเศสที่ยึดครองประเทศลาวในขณะนั้นจับกุมและถูกคุมขังในข้อหาทางการเมือง หลังจากได้รับอิสรภาพจึงคืนสู่เมืองไทยเพื่อประกอบอาชีพพอย่างสามัญชนทั่วไป



คืนสู่แผ่นดินเกิดด้วยความหวังอันสดใส


หลังได้รับการปลอดปล่อยให้เป็นอิสรภาพนายจำลอง ดาวเรือง จึงคืนสู่บ้านเกิดโดยได้สมัครเป็นครูประชาบาลสอนที่อำเภอวาปีปทุม ก่อนที่สอบชุดวิชาครูระดับประกาศนียบัตรได้ดั่งใจหวัง จากนั้นจึงเข้ามาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง จนสำเร็จการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ในปี 2480  หลังจากคืนสู่บ้านเกิดเพื่อรับราชการตามแนวคิดของชาวอีสานในยุคนั้นมีความต้องการที่จะให้ลูกหลานประกอบอาชีพรับราชการ โดยตำแหน่งสุดท้ายในอาชีพราชการคือเสมียนศึกษาธิการก่อนที่จะจัดตั้งโรงเรียนเป็นของตนเองที่อำเภอวาปีปทุม


นายจำลอง ดาวเรืองโดยจัดตั้งโรงเรียนเอกชนแห่งแรกของจังหวัดมหาสารคาม  ชื่อโรงเรียนเรืองวิทยา ที่อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม โดยทำหน้าที่เป็นทั้งครูใหญ่และเจ้าของโรงเรียน เปิดทำการสอนในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 –  6 โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน ใช้สถานที่คือวัดศรีชุมพลเป็นห้องเรียนชั่วคราว มีนักเรียนรุ่นแรก 20 คน



ในปี 2481 โรงเรียนเรืองวิทยาได้รับการจัดตั้งเป็นเอกเทศ ทำให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นในแต่ละปี จึงได้เปิดสาขาที่จังหวัดมหาสารคามในปี 2489 โดยใช้สถานคือบริเวณวิทยาลัยเทคนิคมหาสารคามในปัจจุบัน มีนายดิลก บุญเสริม เป็นครูใหญ่ นอกจากจะเปิดทำการสอนสำหรับนักเรียนโดยทั่วไปแล้วยังเปิดอบรมครูประชาบาลในท้องถิ่นเพื่อเตรียมสอบชุดวิชาครูอีกทางหนึ่งด้วย แต่บทบาทสำคัญของนายจำลอง ดาวเรืองในยุคนั้นซึ่งเป็นที่รู้จักในหมู่ประชาชนทั่วไปในนามของนักโต้วาทีมีชื่อเสียงโด่งดังของจังหวัดมหาสารคาม อันเป็นฐานเสียงทางการเมืองในยุคต่อมา



จากลูกชาวนาถึงสภาอันทรงเกียรติ



นายจำลอง ดาวเรือง ลงสมัครเลือกตั้งผู้แทนราษฎรที่จังหวัดมหาสารคามครั้งแรกในการเลือกตั้งครั้งที่ 2  ของเมืองไทยในปี 2480 ซึ่งจากประกอบอาชีพครูปฏิบัติตนด้วยความขยัน ซื่อสัตย์ สุจริต อีกทั้งยังเป็นนักโต้วาทีที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของชาวมหาสารคาม อีกทั้งในยุคนั้นเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปที่สำเร็จการศึกษาระดับสูงได้เข้าสู่การเป็นนักการเมืองในระดับชาติ อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากนายกว้าง ทองทวี ศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม และหลวงอังคณานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคามในขณะนั้น จึงทำให้ได้รับความไว้วางใจจากชาวจังหวัดมหาสารคามในฐานะเป็นผู้แทนราษฎรที่มาจากตัวแทนของชาวไร่ชาวนา



แม้ว่าจะเป็นผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ แต่นายจำลอง ดาวเรือง ก็ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรสูง  มีการรวมกลุ่มกับผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานกันอย่างเหนียวแน่นในความเป็นท้องถิ่นนิยม โดยนายจำลอง ดาวเรืองมีแนวคิดในการกระจายอำนาจและบทบาทจากส่วนกลางไปยังชนบทมากขึ้น โดยลดอำนาจของรัฐบาลจากส่วนกลาง ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดของผู้แทนราษฎรอีสานในยุคนั้น เช่น นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และนายเตียง ศิริขันธ์ ซึ่งเคยมีความสัมพันธ์เป็นการส่วนตัวก่อนที่จะลงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ซึ่งได้มีการจัดตั้งเป็นพรรคสหชีพในเวลาต่อมา






ในระหว่างที่เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นนายจำลอง ดาวเรืองมีโอกาสเข้าศึกษาต่อด้านกฏหมายจนได้เนติบัณฑิตอีกทางหนึ่ง จึงทำให้มีความรู้ด้านกฎหมายเป็นอย่างดี และได้รับความไว้วางใจจากในการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรของจังหวัดมหาสารคามเรื่อยอีก 2 สมัย จากการเลือกตั้งในครั้งที่ 3 และการเลือกตั้งครั้ง 4 ตามลำดับ










ผู้นำเสรีไทยหน่วยมหาสารคาม


ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดเหตุการณ์ญี่ปุ่นบุกประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2484 จึงเกิดขบวนการเสรีไทยขึ้นในประเทศไทย ซึ่งในเวลาต่อมานายจำลอง ดาวเรือง ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการขยายหน่วยเสรีไทยสายอีสานที่จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับนายเตียง ศิริขันธ์



หน่วยเสรีไทยจังหวัดมหาสารคาม จัดตั้งขึ้นประมาณปี 2487 รับผิดชอบเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคามและจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากข้าราชการในจังหวัด คือ ขุนไมตรีประชารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัด นายกว้าง ทองทวี ศึกษาธิการจังหวัดมหาสารคาม และนายไสว ถีนานนท์ แขวงการทางจังหวัดมหาสารคาม








 

สภาพของถ้ำเสรีไทยบนเทือกเขาภูพาน จังหวัดสกลนคร ที่เคยใช้เป็นฐานที่มั่นและใช้เก็บอาวุธระหว่างปี 2485 - 2488

ในระยะเริ่มแรกในการจัดตั้งค่ายเสรีไทยนายจำลอง ดาวเรือง ดั้กชวนญาติพี่น้อง และเพื่อนสนิท เช่น นายเพ็ง ดาวเรือง นายดิลก บุญเสริม นายดิลก มะลิมาศ  นายมาบ ภูมาศ และคนอื่น ๆ อีกประมาณ 15 คน เป็นกำลังสำคัญ และเดินทางไปรับการฝึกอาวุธประจำหน่วยเสรีไทยจังหวัดมหาสารคาม


ในเวลาต่อมาได้มีการก่อสร้างค่ายเสรีไทยหน่วยมหาสารคามที่บ้านนาคู อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์  โดยลักษณะค่ายบ้านนาคูลักษณะพื้นที่เป็นแนวยาวตามเทือกเขา มีการก่อสร้างบ้านพักมุงหลังคาด้วยหญ้าแฝก



ในการก่อสร้างค่ายเสรีไทยที่บ้านนาคูใช้เวลาในการก่อสร้าง 20 วัน โดยการเกณฑ์แรงงานราษฎรจากอำเภอกุฉินารายณ์ สหัสขันธ์ กมลาไสย อำเภอเมืองกาฬสินธุ์  มาร่วมก่อสร้าง มีการนำเกวียนบรรทุกหินเป็นแผ่น ๆ เพื่อใช้เพื่อเป็นรันเวย์และพื้นที่สนามบินจนสามารถใช้เป็นสนามบินที่เครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตรลำเลียงอาวุธยุทธภัณฑ์ต่าง ๆ มาลงที่สนามบินแห่งนี้ นอกจากนั้นยังเป็นจุดรับเสรีไทยไปรับการฝึกอาวุธที่ประเทศอินเดีย มีนายจารุบุตร เรืองสุวรรณ นายเสรี นวลมณี นายแปลง และนายสุรศักดิ์





ภาพถ่ายของเสรีไทยสายอีสานบนภูพาน

ค่ายเสรีไทยบ้านนาคู รอยต่อกาฬสินธุ์ – สกลนคร


ค่ายเสรีไทยบ้านนาคูถือได้ว่าเป็นรอยต่อของสามจังหวัดคือ สกลนคร กาฬสินธุ์ และนครพนม ซึ่งสามารถใช้ม้าเป็นพาหนะในการเดินทางและเดินทางเท้าเป็นหลัก โดยมีสมาชิกเสรีไทยที่ได้รับการคัดเลือกไปเข้ารับการฝึก คือ นายจำลอง ดาวเรืองเป็นผู้ประสานงาน นายดิลก บุญเสริม นายมาบ ภูมาศ จากโรงเรียนฝึกหัดครูมหาสารคาม นายดิลก มะลิมาศ ครูใหญ่โรงเรียนเรืองวิทยา และคณะครูจากอำเภอสหัสขันธ์ จำนวน 15 คน ไปฝึกอาวุธที่ค่ายบ้านโนนหอม จังหวัดสกลนคร ก่อนที่จะนำมาขยายผลที่ค่ายนาคู โดยมีครูฝึกประจำค่ายนาคูจะมีนายสุกัณฑ์ จุลถวิล, นายพรมเทพ ศรีจันซ้าย, นายหยุ่น บุญนาค, นายฝ่าย สิริพรทุม, นายเพ็ง ดาวเรือง โดยมีนายจำลอง ดาวเรือง เป็นผู้ประสานงานกับนายเตียง ศิริขันธ์ หน่วยสกลนคร



สำหรับหลักสูตรการฝึกอบรมจะมีลักษณะเช่นเดียวกันกับการฝึกอบรมที่หน่วยเสรีไทยจังหวัดสกลนคร โดยมีนายจำลอง ดาวเรือง บรรยายถึงวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งขบวนการเสรีไทย จากนั้นจะแบ่งสมาชิกออกเป็น 10 หมู่ ๆ ละประมาณ 15 คน มีนายทหารอังกฤษมาเป็นผู้ฝึกให้กับเสรีไทย การฝึกระเบียบแถว การออกกำลังกายโดยมีครูพลศึกษาจากโรงเรียนประจำจังหวัดเป็นผู้ฝึกซ้อม



ครูพลศึกษาที่มาเป็นผู้ฝึกสอนในยุคนั้นมีนายรอด จันโทภาส นายบุญชู ภักดีบุตร จากโรงเรียนสารคามพิทยาคม นายสุวรรณ เวชสิทธิ์ นายเลื่อน เจริญชัย จากโรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์ และนายชัย เจริญชัย จากโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย



ทหารพลเรือน (ท.พ.ร.) สมาชิกเสรีไทยหน่วยมหาสารคาม 



สมาชิกในการฝึกอบรมที่ค่ายนาคูส่วนมากจะเป็นครูประชาบาลในท้องถิ่น เมื่อครบกำหนดจะกลับไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ โดยจะเรียกสมาชิกเหล่านี้ว่า  “ทหารพลเรือน” (ท.พ.ร.) ส่วนหนึ่งจะเป็นสมาชิกขบวนการเสรีไทยหน่วยมหาสารคาม โดยก่อนการเดินทางจะรวมพลตอนเช้าที่โรงเรียนผดุงนารี จากนั้นจะเดินทางด้วยเท้าผ่านอำเภอกันทรวิชัย ห้วยผึ้ง กุฉินารายณ์ ถึงค่ายบ้านนาคู มีสมาชิกข้ารับการฝึกอบรมครั้งละประมาณ 300 – 400 คน มีระยะการฝึกอบรม 3 วัน







 

สนามบินชาดนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์ เคยใช้เป็นสนามบินของเสรีไทยในอดีต โดยมีเครื่องบิน Dokota ของฝ่ายสัมพันธมิตรเคยขนอาวุธมาลง 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตามยังมีคณะจากจังหวัดมหาสารคามที่จบการศึกษาจากโรงเรียนเรืองวิทยา มีภูมิลำเนาในเขตอำเภอวาปีปทุมเพื่อมาฝึกอาวุธอย่างเข้มที่ค่ายบ้านโพนก้างปลา หน่วยสกลนคร ประกอบด้วย นายเพ็ง ดาวเรือง, นายจันทร์ ประภาสพงศ์, นายดำรง แสนนา, นายบุญเพ็ง ดงภูบาล, นายบุญมา ปาริระนัง, นายสุทธิ์ แสงสุรีย์, นายรณลา น้อยอาสา, นายหยุ่น บุญนาค, นายฝ่าย ศิริพรทุม ใช้เวลาในการฝึก 1 เดือน จากนั้นจึงย้ายไปประจำที่ค่ายบ้านนาคู เพื่อเป็นกำลังสนับสนุนการฝึกอาวุธให้กับสมาชิกหน่วยมหาสารคาม และภายหลังสมาชิกกลุ่มเสรีไทยกลุ่มดังกล่าวที่ได้รับการเป็นครูสอนในโรงเรียนเรืองวิทยาของนายจำลอง ดาวเรือง คือ นายเพ็ง ดาวเรือง, นายฝ่าย ศิริพรทุม, นายบุญเพ็ง ดงภูบาล, และนายหยุ่น บุญนาค


อย่างไรก็ตามในระยะก่อนที่จะสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีทหารญี่ปุ่นมาที่ค่ายบ้านนาคู โดยมีการจับตัวสารวัตรกำนันเป็นตัวประกัน แต่ไม่มีหลักฐานการดำเนินการจึงปล่อยตัวประกันไป



หลังประเทศญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามโลกเมื่อวันที่ 15 สิหาคม 2488 นายจำลอง ดาวเรือง ได้นำพลพรรคเสรีไทยค่ายนาคูเดินทางไปปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นที่มุกดาหาร และถือได้ว่าเป็นการยุติบทบาทและการเคลื่อนไหวขบวนการเสรีไทยทั้งในส่วนกลางและเสรีไทยสายอีสาน



การจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรสันนิบาตเอเชียอาคเนย์



นอกจากบทบาทของเสรีไทยสายอีสานแล้ว นายจำลอง ดาวเรือง ยังบทบาทในการกอบกู้เอกราชรวมกับประเทศเพื่อนบ้านอินโดจีน โดยมีส่วนร่วมกับนายเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ และนายถวิล อุดล ในช่วงปี 2487 หลังจากที่ฝรั่งเศสเข้ายึดครองเวียงจันทน์ ทำให้กลุ่มแกนนำเสรีไทยสายอีสานสนับสนุนขบวนการกู้ชาติลาว ร่วมกับร่วมกับขบวนญวนอิสระ จัดตั้งเป็นกลุ่มพันธมิตรสันนิบาตเอเชียอาคเนย์ เพื่อต่อต้านการรุกรานของประเทศมหาอำนาจ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเทพฯ 



ต่อมาภายหลังการรัฐประหารในปี 2490 หน่วยงานลาวอิสระ และเวียตมินต์จึงได้ออกจากเมืองไทยตามคำร้องของฝรั่งเศส จึงทำให้กลุ่มพันธมิตรสันนิบาตเอเซียอาคเนย์ได้ยุติบทบาทในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของเมืองไทยในเวลาต่อมา



จุดจบชีวิตที่ชะตาฟ้าลิขิต



หลังการยึดอำนาจของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ทำให้มีการจับกุมและคุกคามแกนนำนักการเมืองสายเสรีไทยรวมทั้งเสรีไทยสายอีสานคนสำคัญ คือ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล รวมทั้งนายจำลอง ดาวเรือง อดีตรัฐมนตรีฝีปากกล้าแห่งเมืองมหาสารคาม



ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่าจุดจบชีวิตของนายจำลอง ดาวเรือง พร้อมกับเพื่อนร่วมชะตากรรมคือนายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล และ ดร.ทองเปลว ชลภูมิ เพื่อนร่วมอุดมการณ์ ซึ่งสืบเนื่องจากเหตุการณ์ “กบฏวังหลวง” โดยนายปรีดี พนมยงค์ ได้นำกำลังเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลของจอมพล ป.พิบูลสงคราม แต่ว่ากระทำไม่สำเร็จ จึงมีผลทำให้มีการจับกุมนักการเมืองสายเสรีไทยสายอีสานในเวลาต่อมา ก่อนที่จะเกิดเหตุการณ์การยิงทิ้ง 4 รัฐมนตรี เวลา 03.00 น. ของคืนวันที่ 4 มีนาคม 2492



จึงทำให้วิถีชีวิตทางการเมืองของนายจำลอง ดาวเรืองพร้อมกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อีก 3 คน ผู้มีเกียรติและศักดิ์เป็นถึงรัฐมนตรี แต่พรหมลิขิตชีวิตขีดเส้นชะตามาให้เท่านี้

.



มิแตกต่างกับวัฐจักรการเมืองในปัจจุบัน แม้ว่าจะอยู่ในยุคสมัยที่แตกต่างกันแต่คำว่า “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” ยังคงใช้ได้เสมอในทุกยุคทุกสมัย และการเมืองยังเดินหน้าต่อไปรอวันรวมใจเป็นหนึ่งเดียว


รอวันฟ้าสีทองผ่องอำไพ



เช่นเดียวกับการเมืองในยุคประชาธิปไตยเบ่งบานย่อมได้รับการตรวจสอบโดยถูกต้องทางกฎหมาย  กลุ่มการเมือง กลุ่มบุคคลในระดับต่าง ๆ ทั้งด้วยเจตนาแอบแฝงและเจตนาด้วยความบริสุทธิ์ใจ 


ในฐานะที่เป็นคนไทยย่อมอยากจะเห็นชาติบ้านเมืองอยู่รอดปลอดภัย ภายใต้ความสามัคคีปรองดองของคนไทยทุกฝ่าย เพื่อความเป็นหนึ่งเดียวของชาติบ้านเมือง  อดีตส่องความเป็นมาในปัจจุบัน ปัจจุบันก็คือบทเรียนจากความเป็นแห่งอดีตเช่นเดียวกัน


เรื่องและภาพจาก


ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.  การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชนการพิมพ์, 2546.

ปรีชา ธรรมวินทร และ สมชาย พรหมโคตร.  จากยอดโดมถึงภูพาน :                       

               บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับสามัญชนบนเส้นทางประชาธิปไตย.   

            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2543.

ประจวบ อัมพะเศวต.  พลิกแผ่นดินประวัติการเมืองไทย มิถุนายน 2475

            14 ตุลาคม 2516.  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  2543.

อรรถ นันทจักร. คนการเมือง : การเมืองภาคประชาชนจากพรรคคอมมิวนิสต์

          แห่งประเทศไทยถึงเสรีไทยสายอีสาน ประวัติศาสตร์แก่งสำนึกบนเทือก

         เขาภูพาน. จากเว็บไซต์  http://phupan.multiply.com/reviews/item/10

.



แนะนำอ่านเพิ่มเติม.

ธีรวัฒน์ ประนัดสุดจ่า.   แนวความคิดทางการเมืองของจำลอง ดาวเรือง.         

         วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์

         มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2542.



ในตอนต่อไปอ่านตำนานนักสู้อีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน บทสุดท้าย

ว่าด้วย “ครูครอง จันดาวงศ์  : สายเลือดนักสู้จากสว่างแดนดิน”       
 

2  ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน / วีรชน 2 ฝั่งโขง / ตำนาน 4 เสืออีสาน นายถวิล อุดล : ขุนพลเมืองร้อยเอ็ด เมื่อ: 09 เมษายน 2562, 15:42:10
ตำนานชีวิตสี่เสืออีสาน : อุดมการณ์ฝากไว้ในแผ่นดิน (๖)

นายถวิล อุดล : ขุนพลเมืองร้อยเอ็ด



ในตอนที่แล้วได้กล่าวถึงตำนานชีวิตของเสืออีสานนามทองอินทร์ ภูริพัฒน์ ได้กล่าวถึงฉากสุดท้ายของชีวิตขุนพลฝีปากกล้าเมืองอุบลราชธานี ซึ่งจบลงด้วยน้ำมือของผู้มีอำนาจในยุคนั้นมิแตกต่างกับเพื่อนร่วมอุดมการณ์อดีตรัฐมนตรีอีสานในยุคนั้น


ในตอนนี้จะได้กล่าวถึงประวัติชีวิตของอดีตผู้แทนราษฎรจากภาคอีสานอีกท่านหนึ่งผู้ลิขิตชีวิตเส้นทางสายการเมืองจากเมืองร้อยเอ็ดถิ่นทุ่งกุลาร้องไห้สู่กรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมร ในนามนักการเมืองฝีปากกล้ามีผลงานการอภิปรายจนทำให้มีการยุบสภาครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย จารึกนามไว้บนถนนนักสู้ผู้แทนราษฎรอีสานนามถวิล อุดล ดังจะได้กล่าวในลำดับต่อไปนี้ครับ



ตำนานขุนพลเมืองร้อยเอ็ด


นายถวิล อุดล เป็นชาวจังหวัดร้อยเอ็ดโดยกำเนิด เป็นบุตรของนายฟัก และนางนิ่ม อุดล ซึ่งมีอาชีพค้าขายในจังหวัดร้อยเอ็ด ด้วยทั้งสองสามีภรรยาเป็นผู้ที่มีน้ำใจโอบอ้อมอารีเสมอมาจึงเป็นรู้จักในหมู่คนทั่วไปในจังหวัดร้อยเอ็ด จึงนับเป็นฐานเสียงด้านการเมืองเมื่อนายถวิล อุดลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดในเวลาต่อมา



อุดล  : ตระกูลทนายความ



ด้านการศึกษานายถวิล อุดล เข้ารับการศึกษาระดับประถมศึกษาที่บ้านเกิด จากนั้นจึงเข้าศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จนสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จึงเข้ามาศึกษาต่อในกรุงเทพฯ ที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนกฎหมายจนสอบไล่ได้เนติบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2473



กล่าวได้ว่าสำหรับตระกูล “อุดล” นั้นส่วนหนึ่งจะประกอบอาชีพทนายความ เช่น นายทองอินทร์ อุดล ซึ่งเป็นญาติของนายถวิล อุดลนั้นเคยดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาจังหวัดขุขันธ์มาก่อน เช่นเดียวกับนายถวิล อุดล เมื่อสอบได้เนติบัณฑิตจึงกลับมาประกอบอาชีพทนายความที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะสอบเข้ารับราชการในสังกัดกรมราชทัณฑ์ และโอนไปดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการเทศบาลที่จังหวัดอุบลราชธานี



ด้วยความมั่นใจในประสบการณ์ด้านกฎหมายและด้านการปกครองในท้องถิ่น และความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อประชาชนในท้องถิ่น จึงทำให้นายถวิล อุดล ตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้งผู้แทนราษฎรในการเลือกตั้งครั้งที่ 2 ของเมืองไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2480 และในการเลือกตั้งในครั้งนั้นจึงทำให้นายถวิล อุดล ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ดดังที่ใจหวัง



สู่สภาผู้แทนราษฎรด้วยอุดมการณ์ที่มุ่งมั่น



หลังเข้ารับตำแหน่งผู้แทนราษฎรจังหวัดร้อยเอ็ด นายถวิล อุดล นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในสภาผู้แทนราษฎรอีกบุคคลหนึ่ง ซึ่งในยุคนั้นมีพระยาพหลพลพยุหเสนาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีรายละเอียดงบประมาณแผ่นดินที่นายถวิล อุดล เสนอให้รัฐบาลชี้แจงรายรับ – รายจ่ายอย่างละเอียดในงบประมาณที่รัฐบาลเสนอมา แต่รัฐบาลตอบว่าทำไม่ได้  และเมื่อลงคะแนนเสียงรัฐบาลแพ้โหวตด้วยเสียง 45/31 จึงทำให้พระยาพหลพลพยุหเสนาต้องลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่ง แต่คณะผู้สำเร็จราชการไม่รับใบลา จึงได้ใช้กติกาประชาธิปไตยยุบสภาเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2481 ทำให้อายุในการเลือกตั้งในครั้งที่ 2 นั้นมีอายุเพียงประมาณ  9 เดือนเศษ



หลังการยุบสภาครั้งแรกของเมืองไทยจึงมีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 3 ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2481 ซึ่งในการเลือกตั้งในครั้งนั้นนายถวิล อุดล ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นผู้แทนในเขต 1 จังหวัดร้อยเอ็ด และได้รับการเลือกเป็นผู้แทนราษฏรจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นสมัยที่ 2 โดยมีนายพันตรีหลวงพิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี



หัวหน้าคณะทูตพิเศษเมืองจีน



บทบาทสำคัญของนายถวิล อุดล เมื่อครั้งดำรงเป็นผู้แทนราษฎรในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการร่วมขบวนเสรีไทยสายอีสาน โดยได้รับมอบหมายจากนายปรีดี พนมยงค์ ผู้สำเร็จราชการ ในการดำเนินนโยบายใต้ดินต่อต้านญี่ปุ่นให้เป็น “หัวหน้าคณะทูตพิเศษ”  เดินทางไปพบกับจอมพลเจียงไคเช็คที่ประเทศจีน เพื่อขอความสนับสนุนในการจัดตั้งไทยชั่วคราวหรือองค์การอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกันขึ้นในดินแดนของสัมพันธมิตร โดยมีนายเตียง ศิริขันธ์เป็นหัวหน้าเสรีไทยสายอีสานในการบุกเบิกจัดตั้งค่ายฝึกพลพรรคเสรีไทยอีสานที่จังหวัดสกลนคร

.



จุดจบชีวิตของนักสู้แห่งอุดมการณ์



นายถวิล อุดล นับได้ว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทในสภาในฐานะนักการเมืองหัวก้าวหน้าและมุ่งมั่นในอุดมการณ์เป็นหนึ่งในขบวนการเสรีไทยสายอีสานภายใต้การประสานงานของนายเตียง ศิริขันธ์ เจ้าของฉายา “ขุนพลภูพาน” แห่งสกลนครเป็นแม่ทัพใหญ่  



และในความเป็นจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นคือชะตากรรมของขบวนการเสรีไทยสายอีสานภายหลังการรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ถือเป็นการโค่นล้มคณะราษฎรสายพลเรือน อันมีนายปรีดี พนมยงค์ เป็นแกนนำ



เช่นเดียวกันกับนายปรีดี พนมยงค์ได้ขอลี้ภัยทางการเมืองที่ประเทศจีน ก่อนที่จะกลับคืนสู่ประเทศไทยในฐานะผู้นำการเคลื่อนไหวเพื่อทำการต่อต้านรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ในนาม “ขบวนการ 26 กุมภาพันธ์” จนเรียกขานการเคลื่อนไหวในครั้งนั้นว่า “กบฎวังหลวง”  ในเวลาต่อมา



หลังเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้มีการจับกุมและกวาดล้างกลุ่มเสรีไทยสายนายปรีดี พนมยงค์ รวมทั้งกลุ่มเสรีไทยสายอีสาน ได้แก่ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายจำลอง ดาวเรือง และนายถวิล อดุล



สำหรับนายถวิล อุดล นั้นถูกจับกุมเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2492 ในขณะที่ไปประกันตัวนายลิขิต ชัยสิทธิเวชที่สันติบาล แล้วถูกนำไปฝากขังไว้ที่สถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ก่อนที่ถูกเคลื่อนย้ายไปขังที่สถานีตำรวจนครบาลในคืนวันที่ 3 มีนาคม 2492  จนเกิดเหตุการณ์สังหาร 4 อดีตรัฐมนตรีในช่วงรอยต่อของวันที่ 4 มีนาคม 2492 ในเวลาต่อมา



จากเหตุการณ์ดังกล่าวถือได้ว่าเป็นโศกนาฏกรรมที่อื้อฉาวและสะเทือนใจของชาวไทยในขณะนั้น เป็นบทสรุปของชีวิตที่มิแตกต่างไปจากชีวิตของ 3 อดีตรัฐมนตรีอีสาน แม้ว่าจะมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่หาญกล้าเพื่อรับใช้ปวงชน แต่วิถีชีวิตจักมืดดับเพราะทนต่อแรงต้านพายุทางการเมืองที่โหมกระหน่ำ



จากวันนั้นจนถึงวันนี้เป็นเวลา 61 ปี ความหวังแห่งวิถีทางการเมืองในปัจจุบันจักโชติช่วงชัชวาลหรือมืดดับ หรือจมดิ่งลงสู่ใต้มหาสมุทร หลายท่านคงประจักษ์แล้วในสถานการณ์ปัจจุบัน



เรื่องและภาพจาก

ดารารัตน์ เมตตาริกานนท์.  การเมืองสองฝั่งโขง. กรุงเทพฯ : มติชนการพิมพ์, 2546.ปรีชา ธรรมวินทร และ สมชาย พรหมโคตร.  จากยอดโดมถึงภูพาน :                      

               บันทึกประวัติศาสตร์ฉบับสามัญชนบนเส้นทางประชาธิปไตย.  

            คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏสกลนคร, 2543.

ประจวบ อัมพะเศวต.  พลิกแผ่นดินประวัติการเมืองไทย มิถุนายน 2475 –

            14 ตุลาคม 2516.  กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ,  2543.

3  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: ใช่ สมเด็จเปียกของญาท่านสวน หรือเปล่าครับ เมื่อ: 10 ตุลาคม 2559, 09:48:25
ไม่ใช่เเน่นอนครับ
4  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านฤทธิ์ โสภิโต / Re: มาช่วยกันจัดบล็อกเหรียญรุ่นแรก หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ครับ เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2558, 16:31:14
สรุปบล็อคตอนนี้นะครับ
1.1 บล็อคแรกตาตะขอ ค สั้น ย ขีด(ย/ค) และตอกโค๊ตกงจักร บล็อคนี้จะหายากที่สุดครับ
1.2 บล็อคแรกตาตะขอ ค สั้น ย ขีด ( ย/ค) และไม่มีโค๊ตครับ
2    บล็อคแรกตาตะขอ ค สั้น  ย ไม่มีขีด
3.1    บล็อคตาปลาดุกไม่มีกลากครับ ตาไม่ตะขอ ค เต็ม
3.2   บล็อคตาปลาดุกมีกลากครับ ตาไม่ตะขอ ค เต็ม
5  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / ญาท่านมหาผ่อง พระสังฆราชแห่งสปป.ลาว เล่าปฏิหาริย์หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน เมื่อ: 21 มีนาคม 2558, 16:25:44
ญาท่านมหาผ่อง พระสังฆราชแห่งสปป.ลาว เล่าปฏิหาริย์หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน
https://www.youtube.com/watch?v=vI1lmULVkMc
6  ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน / ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่น / ย้ายแล้ว: หลวงปู่สำเร็จลุน กับ ?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธร เมื่อ: 21 มีนาคม 2558, 15:25:19
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน .

http://www.ubonpra.com/board/index.php?topic=2905.0
7  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / หลวงปู่สำเร็จลุน กับ ?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรม เมื่อ: 07 มีนาคม 2558, 10:44:58
ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ มองผ่านการฟื้นฟูคัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม



          
             คัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่ (ยุคก่อนอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาปกครองลาว) มีความหมายและความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการเป็น ?วัฒนธรรมทางภาษา? หรือ ?วัฒนธรรมการเขียน? ของชุมชนพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งมีมานานกว่าสองพันปี ทำหน้าที่มีบทบาทความสำคัญในฐานะเป็นตัวบททางศาสนา ให้การอบรมบ่มสอนศีลธรรม ให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ยึดถือ นอกจากนั้นคัมภีร์ใบลานยังมีความหมายและความสำคัญ สำหรับการบอกเล่าตำนานประวัติความเป็นมาของอาณาจักร ที่บันทึกความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว (อาทิเช่น ?พื้นขุนบรมราชาธิราช? หรือตำนานขุนบรม) หรือพูดได้โดยง่ายว่ามีความสำคัญต่อสังคมและวิถีชีวิตคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่ทั้งทางโลก-ทางธรรม รวมถึงยังอยู่ในสถานะที่มีคุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์

 
   

?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรมในสังคมลาว

 

                แต่เมื่อในยุคสมัยต่อมาที่ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองลาวในฐานะเจ้าอาณานิคมแล้ว คัมภีร์ใบลานนั้นได้รับผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสนำความรู้วิทยาการสมัยใหม่และวัฒนธรรมเข้ามาในสังคมลาว และได้รับมุมมองจากฝรั่งเศสว่า วิทยาการความรู้จากคัมภีร์ใบลานดั้งเดิมของลาวนั้นเป็นสิ่ง ?ล้าสมัย? ควรที่จะได้รับการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและเจริญก้าวหน้าขึ้น จึงทำให้คัมภีร์ใบลานถูกลดคุณค่า ความหมาย และความสำคัญลงไปจากเดิมในสังคมท้องถิ่นลาว พร้อมกันนั้นยังได้รับการปรับเปลี่ยนสถานะจาก ?คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์? ที่ปกติเก็บรักษาอยู่ในวัด ได้กลายเป็น ?หลักฐานวัตถุ หรือ เอกสารในการศึกษาค้นคว้า? (Museum Object) ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์และเก็บไว้ในหอสมุดเพื่อคอยบริการ

 

                โดยในช่วงยุคสมัยอาณานิคมที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองลาวแล้ว นอกจากการที่ฝรั่งเศสใช้กำลังทหารเข้ายึดครองประเทศลาว ฝรั่งเศสยังได้มีความพยายามยึดครอง ?หัวใจของคนลาว? หรือการเป็น ?เจ้าอาณานิคมทางปัญญา? ของลาวอีกด้วย  กล่าวคือ  ฝรั่งเศสมีความต้องการที่จะยึด ?ความรู้? หรือ ?ภูมิปัญญา? ของลาว ในการนำไปศึกษา ทำความรู้ความเข้าใจในความคิดภูมิปัญญาของสังคมวัฒนธรรมลาวที่ได้รับการบันทึกอยู่ในคัมภีร์ใบลาน เพื่อที่จะสามารถปกครองอย่างมีความรู้เท่าทันหรืออยู่เหนือปัญญาของคนลาวได้ ดังนั้นการสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจและการสนับสนุน หรือสามารถอธิบายในอีกแง่หนึ่งได้ว่า การสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานของฝรั่งเศสนั้น เป็น ?การเมืองเรื่องวัฒนธรรม? (Politics of Culture) ที่ได้รับการนำไปใช้เพื่อการเพิ่มอำนาจและความชอบธรรมให้แก้เจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสเอง

 

                นอกจากการสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานแล้ว ฝรั่งเศสยังให้ความสำคัญแก่คัมภีร์ใบลาน ในฐานะเป็น ?ส่วย? กล่าวคือ ในทศวรรษที่ 1910-1920 หลังจากที่ฝรั่งเศสทำการสำรวจคัมภีร์ใบลานในลาวระยะหนึ่ง จึงพบว่าทุกวัดที่ได้ทำการสำรวจนั้น มีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ทำให้ในช่วงทศวรรษที่ 1930  ฝรั่งเศสจึงออกคำสั่งให้ทุกหมู่บ้านและทุกวัดทั่วประเทศลาวต้อง ?เสียส่วย? หรือ ส่งส่วย มาเป็นคัมภีร์ใบลาน วัดหรือหมู่บ้านละ 1 เรื่อง โดยบังคับให้ประชาชนส่งส่วยแบบมิอาจขัดขืนได้ จากนั้นฝรั่งเศสได้ขนคัมภีร์ใบลานไปเก็บไว้ที่ประเทศตนเองและเวียดนาม อันส่งไปไว้ที่ ?สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ (?cole fran?aise d'Extr?me-Orient)หอสมุด ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ด้วยวิธีการขนคัมภีร์ไปตามทางรถไฟแล้วขนลงเรือกำปั่นส่งไปยังประเทศตน ซึ่งในระหว่างการขน คัมภีร์ใบลานจำนวนหนึ่งได้จมลงน้ำสูญหายไป

 

                 ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ฝรั่งเศสยังมีความต้องการเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานต่อไปอีก โดยเฉพาะในแขวงจำปาศักดิ์ที่ฝรั่งเศสมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครอง และสามารถบังคับประชาชน เกณฑ์แรงงาน เก็บภาษีเก็บส่วยให้ได้มากเท่าที่มากได้ ซึ่งการกระทำของฝรั่งเศสในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดตำนานความเชื่อในเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวลาวแขวงจำปาศักดิ์ที่มีต่อหลวงปู่ ?สมเด็จลุน? หรือ ?สำเร็จลุน? เจ้าอาวาสวัดบ้านคอน เมืองจำปาศักดิ์ ผู้เป็นพระมหาเถระทรงอิทธิฤทธิ์ในคาถาอาคม




             เมื่อฝรั่งเศสจะเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานที่แขวงจำปาศักดิ์อีก สมเด็จลุนนั้นไม่ยอม พร้อมยังบอกกล่าวกับชาวบ้านกับพระสงฆ์สามเณรทั่วแขวงจำปาศักดิ์อีกว่า ไม่ต้องเสียส่วยคัมภีร์ใบลานให้ฝรั่งเศสอีก แต่อย่างไรก็ตามข้าราชการฝรั่งเศสก็ยังบังคับจะเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานไปให้ได้ ที่สุดแล้วสมเด็จลุนก็ทนไม่ไหวจึงได้กระทำการต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ด้วยการสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์โดยใช้คาถาอาคมที่ท่านได้ศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีหลายเหตุการณ์มากที่สมเด็จลุนสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ข้าราชการฝรั่งเศสได้เห็นทำให้ข้าราชการฝรั่งเศสไม่กล้าเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานจากชาวบ้านอีก ตัวอย่างเช่น

             ?ข้าราชการฝรั่งเศสนิมนต์สมเด็จลุนไปประเทศกัมพูชา ด้วยการนิมนต์ลงเรือกำปั่นไป พอลงไปท่าเรือ ท่านกล่าวต่อข้าราชการฝรั่งเศสว่า ท่านไม่เคยลงเรือกำปั่นกลัวกำปั่นจมน้ำ ข้าราชการฝรั่งเศสจึงกล่าวต่อท่านว่า กำปั่นลำใหญ่ บรรทุกสินค้าได้หลายตัน คนอยู่ได้เป็นร้อย ไม่จมน้ำง่ายๆ พอกล่าวเสร็จ สมเด็จลุนก็ก้าวเหยียบไม้กระดานพาดขอบเรือลงไปหาเรือกำปั่น แต่เดินได้ก้าวเดียว ขอบเรือกำปั่นข้างที่ไม้กระดานพาดอยู่ได้เอียงจนเกือบจมน้ำ สมเด็จลุนจึงถอยก้าวกลับคืน ส่วนข้าราชการฝรั่งเศสที่ทั้งอยู่ในเรือกำปั่นและอยู่ที่ท่าเรือพากันงุนงงตกใจ เพราะไม่เคยเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน?

 

            ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากสมเด็จลุนไม่กระทำการต่อต้านหรือขัดขืน คัมภีร์ใบลานอีกจำนวนมากอาจจะถูกขนถ่ายออกจากประเทศลาวไปสู่ประเทศฝรั่งเศสในที่สุด

 

             สำหรับฝรั่งเศสแล้ว เบื้องหลังแห่งการสำรวจรวบรวม รวมทั้งการเก็บส่วยคัมภีร์ใบลาน นอกจากเพื่อความต้องการศึกษาเพื่อความรู้และความเข้าใจต่อสังคมวัฒนธรรมของลาว เพื่อทำให้ง่ายต่อการปกครองของฝรั่งเศสเองแล้ว ฝรั่งเศสนั้นยังมีนโยบายที่ต้องการครอบงำทางปัญญาและจิตใจของผู้คนประชาชนชาวลาวที่ทำให้มีความสะดวกต่อฝรั่งเศสมากขึ้นไปอีก คือ  ?การส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? และ ?สร้างสำนึกในความเป็นลาว?

 

          ?การส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? ให้แก่คนลาวของฝรั่งเศสนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่สองประการ ประการแรกเพื่อต้องการทำให้ลาวมีศักยภาพมากพอในการจะรวมเข้าในสหพันธ์อินโดจีน ประการที่สองเพื่อการต่อต้านลัทธิ ?ไทยเป็นใหญ่? ของรัฐบาลไทย  โดยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ที่มีจุดประสงค์จะรวมประเทศลาวและไทยให้เป็นปึกแผ่น ภายใต้การรวมคนเชื้อชาติ ?ไท?

 

            การที่ลัทธิ ?ไทยเป็นใหญ่? นี้ได้แผ่ขยายเข้ามายังอินโดจีนและลาว ถือว่าเป็นการท้าทายสถานะและอำนาจของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จึงทำให้ฝรั่งเศสจำเป็นต้องนิยามความหมาย ?ความเป็นลาว? เพื่อสร้าง ?อัตลักษณ์ลาว? ให้แตกต่างจาก ?ไทย? หรือใช้ต่อสู้กับอิทธิพลของไทย โดยการฟื้นฟูพุทธศาสนาและการศึกษาพุทธศาสนาในประเทศลาว รวมไปถึงการนำความรู้ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของลาวที่บรรจุอยู่ใน ?คัมภีร์ใบลาน? มาปริวรรตและจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ อันเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ?สร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาว? ของฝรั่งเศส

 

           ฝรั่งเศสได้เริ่มฟื้นฟูพุทธศาสนาและการศึกษาทางพุทธศาสนาในประเทศลาวขึ้นในปีค.ศ.1929 ฝรั่งเศสมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาพุทธศาสนาของลาวออกจากแบกฉบับของสยาม ด้วยการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม พระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ และได้ส่งพระสงฆ์ลาวไปศึกษาที่สถาบันพุทธศาสนาที่ฝรั่งเศสเป็นผู้สนับสนุนขึ้น ณ ประเทศกัมพูชา ต่อมาในปีค.ศ.1931 ฝรั่งเศสได้ทำการสนับสนุนจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพุทธศาสนาขึ้นที่เวียงจันทร์ อีกทั้งยังสร้างโรงเรียนบาลี โรงเรียนช่างศิลป์ และหอสมุดแห่งประเทศลาวขึ้น แล้วทำการรวบรวมคัมภีร์ใบลานมาไว้ที่หอสมุด พร้อมกันนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ?พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี? ขึ้น โดยมี ?เจ้ามหาอุปราชเพชรราช? เป็นนายก และมี ?มหาสิลา วีระวงส์? เป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลทั้ง โรงเรียนบาลี โรงเรียนช่างศิลป์ และหอสมุด

 

ภาพแรก :  ?เจ้ามหาอุปราชเพชรราช? ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของประเทศลาวประจำอยู่ที่นครเวียงจันทน์ที่ข้าราชการฝรั่งเศส มีความเกรงใจและให้ความเคารพนับถือ

 


ภาพที่สอง : ?มหาสิลา วีระวงศ์? นักปราชญ์คนสำคัญของชาวลาว ผู้ริเริ่มการค้นคว้าประวัติศาสตร์ลาวโดยคนลาว

 

 

            ?พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี? ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มปัญญาชนลาวที่สนับสนุนส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของลาวเป็นพื้นฐาน และยังส่งเสริมพระพุทธศาสนามาโดยตลอดก่อนที่ฝรั่งเศสจะให้การสนับสนุนเสียอีก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงภาษาลาวสมัยใหม่ เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา และเพื่อเผยเแพร่วรรณคดี-วรรณกรรม รวมทั้งวัฒนธรรมเดิมของลาวที่ได้รับการบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลานให้ประชาชนลาวทั่วไปได้อ่าน ได้ฟัง เพื่อรับรู้และช่วยกันรักษามรดกอันล้ำค่านี้เอาไว้ ให้ตกทอดถึงอนุชนหมู่คนรุ่นหลังต่อไป

 

              ด้วยความที่จุดประสงค์ของฝรั่งเศสที่มีความต้องการ ?ส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? ให้ออกจากแบบฉบับอิทธิพลของไทยนั้น สบเข้ากับวัตถุประสงค์ของกลุ่มปัญญาชนลาวพอดี จึงทำให้มีการเปิดประชุมปรึกษาหารือเพื่อปรับปรุง ภาษาลาวขึ้น รวมทั้งสร้างคู่มือการสอนภาษาลาว ไวยากรณ์ลาว และสร้างคู่มือการสอนภาษาบาลีด้วย โดยในขณะเดียวกันนั้น ได้มีการปริวรรตคัมภีร์ใบลานเป็นภาษาลาวสมัยใหม่ และนำไปตีพิมพ์ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์สมัยใหม่

 

               ในช่วงเวลาการส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาวโดยฝรั่งเศส สื่อสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก และขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมที่บรรจุในคัมภีร์ใบลานที่ได้นำมาปริวรรต ตีพิมพ์ เผยแพร่ออกมามากขึ้น โดยในช่วงแรกเริ่ม (ทศวรรษที่ค.ศ.1930) คัมภีร์ใบลานที่นำมาปริวรรตจะมีเป็นนิทานชาดกต่างๆเพียงเท่านั้น เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีเนื้อหาต่อต้านฝรั่งเศส กลับกันฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุน เพราะการใช้ความรู้และเนื้อหาในคัมภีร์นิทานชาดกต่างๆนี้ จะทำให้ประชาชนลาวมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อเจ้านาย หรือมีความยินดีรับใช้ฝรั่งเศสเสมือนว่าตนไม่ถูกบังคับ

 

                แต่ต่อจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 การปริวรรตคัมภีร์ใบลานออกมาเผยแพร่ลัฃะตีพิมพ์นั้น มีความหลากหลายในด้านเนื้อหายิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นิทานชาดก ประเพณี พิธีกรรม คำสอน ตำนาน ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ?พื้นขุนบรมราชาธิราช? (ขุนบรม) ?ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง? (ขุนเจือง) ?ตำนานอุรังคธาตุ? เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนลาวได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของชาติตน ซึ่งก่อให้เกิดสำนึกความภาคภูมิใจและความรู้สึกชาตินิยมขึ้นในหมู่คนลาว

 

หนังสือเรื่อง ?ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง? ที่ได้รับการปริวรรตจากคัมภีร์ใบลานลาว โดย มหาสิลา วีระวงศ์ และได้รับการถอดความเป็นภาษาไทยในรูปแบบร้อยแก้ว โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (www.sujitwongthes.com)


              การที่ฝรั่งเศสสนับสนุนการสร้างอัตลักษณ์ลาว ด้วยการนำคัมภีร์ใบลานมาปริวรรต ตีพิมพ์ และเผยแพร่ออกมา ให้ประชาชนลาวได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ หรือ พงศาวดารของชาติ ได้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดความรักชาติอย่างแรงกล้า ที่ให้ชาวลาวนั้นลุกฮือขึ้นต่อต้านการตกอยู่ภายใต้อาณานิคม ซึ่งสุดท้ายได้กลายเป็นดาบสองคมที่ย้อนกลับมาทำร้ายฝรั่งเศสเอง หรืออาจเรียกได้ว่าการที่คนลาวสามารถผนึกน้ำใจและมีสำนึกในชาติเป็นหนึ่งเดียวได้นั้น เพราะว่ามี ?คัมภีร์ใบลาน? เป็นส่วนสำคัญ


             โดยในช่วงท้ายของการเสวนาบรรยาย ดร.บัวไข ได้ทำการสรุปทิ้งท้ายไว้อย่างกระชับว่า ?เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ลาวแล้วจะไม่พูดถึงคัมภีร์ใบลานไม่ได้ เพราะคัมภีร์ใบลานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในหน้าประวัติศาสตร์ประเทศลาว ทั้งในแง่การเป็นสิ่งที่เก็บรักษาภูมิปัญญาความคิดของคนลาว และการเป็นสิ่งที่ใช้ต่อต้านหรือต่อสู้กับอำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคม?


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

?เจ้าเพชรราช ประมุขคณะลาวอิสระ? (http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2010/10/15/entry-1)

 

?เจ้าเพ็ดชะราช อุปราชเลือดนักสู้? (http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=880)

 

มหาสิลา วีระวงส์ ?ชีวิตผู่ข้า (อัตชีวประวัติของข้าพเจ้า) จาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548

                    




8  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: หลวงพ่อเพ็ง วัดบ้านนาดี อ.เดชอุดม (ปัจจุบันเป็นอำเภอนาเยีย) เมื่อ: 12 ธันวาคม 2557, 16:58:31
รุ่นนี้ทันครับ
9  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร / Re: หลวงปู่เครื่อง ธมฺมจาโร วัดเทพสิงหาร บูราจารย์ศิษย์แห่งสำเร็จลุน เมื่อ: 01 ธันวาคม 2557, 10:19:42
เหรียญหลวงปู่เครื่อง ธัมมจาโร รุ่นทูลเกล้า ปี2520
ถ้าโค๊ต  ต.8  มีไม่ครบมีแต่   .8  ถือว่าปลอมไหม
เป็นการตอกโค๊ตไม่เต็มเฉยๆครับ
10  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / Re: ภาพบูชา ญาถ่านตุ๋ ธัมมสาโร เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2557, 16:07:08
เป็นบุญตาที่ได้เห็นครับ
11  พระเครื่องและวัตถุมงคล / อิศานปุระ / Re: เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่กัมมฏฐานแพง เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2557, 16:05:23
มีแต่ของสวยๆ ที่สุดครับผม
ขอบคุณครับ
12  ห้องพระ / พระครูวิบูลธรรมธาดา(หลวงพ่อกาว ธมฺมทินฺโน) / Re: ทำเนียบเหรียญพระครูวิบูลธรรมธาดา เมื่อ: 19 กันยายน 2557, 21:54:05
ญาถ่านกาวศิษย์แห่งหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง เถราจารย์ผู้ทรงคุณ แห่งเมืองดอกบัว อดีตเจ้าคณะอำเภอเดชอุดม ถึงเวลาเชิดชูเกียรติคุณ ของท่านให้ลูกหลานเมืองอุบลจะได้ไม่ลืมเลือนพระดีศรีอุบลอีกองค์หนึ่งครับ สาธุ
13  ห้องเวทย์วิทยาคมและสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ / ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม / Re: ปู่หมอธรรมเฮือง เมื่อ: 16 กันยายน 2557, 09:32:53
รอติดตามอยู่นะครับ ยอดเยี่ยมมากครับท่าน คนศรีเกษ
14  ห้องพระ / หลวงพ่อใหญ่วัดพิชบ้านแก้ง / Re: ขอโชว์มั้งครับ ของหลวงพ่อใหญ่ เมื่อ: 25 สิงหาคม 2557, 14:36:46
พระกริ่งฟ้าผ่า




แบ่งให้บูชาได้บ่ครับ
15  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / เหรียญพระเหลาเทพนิมิตรรุ่นแรกปี2500 ความเหมือนที่เเตกต่าง เมื่อ: 19 สิงหาคม 2557, 15:56:52
เหรียญพระเหลาเทพนิมิตรรุ่นรแกปี2500 ความเหมือนที่เเตกต่าง ดูด้วยตาพิจารณาโดยใช้สติ ครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 73
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!