?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
16 มิถุนายน 2567, 07:33:39 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
61  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:40:56
หลวงปู่ทวด



รอยเท้าหลวงปู่ทวด  วัดพะโคะ

62  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:40:27
พระโพธิสัตว์บารมีเต็มเท่านั้นถึงสามารถประทับรอยเท้าบนแผ่นหิน

หลวงปู่ดู่  วัดสะแก พระโพธิสัตว์ที่หลายคนเชื่อว่าท่านคือหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิด

เรื่องที่ ๑ พระโพธิสัตว์ - หน่อพุทธภูมิ - การแบ่งภาค
เนื้อหาทั้งหมดในกระทู้นี้เรียบเรียงจากหนังสือกายสิทธิ์เล่ม 1
สำนักสงฆ์พุทธพรหมปัญโญ (วัดถ้ำเมืองนะในปัจจุบัน) ตีพิมพ์เมื่อ 10 กว่าปีก่อน



ช่วงที่ ๑

เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๓ วันหนึ่ง ขณะที่ผู้เขียนกำลังนั่งคุยกับหลวงปู่ ท่านได้ถามผู้เขียนว่า "เคยได้ยินเรื่องการแบ่งภาคไหม" ผู้เขียนเรียนตอบท่านว่า "เคยครับ ในเรื่องรามเกียรติ์ พระรามแบ่งภาคมาจากพระนารายณ์ มีจริงหรือครับหลวงปู่" หลวงปู่ท่านนิ่งอยู่อึดใจหนึ่งแล้วตอบว่า "มีจริงเหมือนกัน อย่างหลวงปู่ทวดแบ่งภาคมาเกิดไงละ" เกี่ยวกับเรื่องนี้ เคยมีนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรียนถามหลวงปู่ ซึ่งหลวงปู่ตอบว่า "มี...แต่ทำได้ในพวกหน่อพุทธภูมิ" หลวงปู่ท่านเคยบอกผู้เขียนว่า "แก รู้ไหมว่า ในหลวงท่านเป็นใคร ท่านคือผู้ปรารถนาพุทธภูมิ กำลังใจของท่านพวกนี้จะต้องเป็นผู้นำหมู่คณะ ดูอย่างวัวยังมีจ่าฝูง นกก็ต้องมีหัวหน้าฝูง วัดก็ต้องมีเจ้าอาวาส อย่างหลวงพ่อใหญ่ (พระโบราณคณิสร อดีตเจ้าอาวาสวัดสะแก) แต่หน่อพุทธภูมิที่มีบารมีเต็มแล้ว สูงแล้ว เขามักจะไม่เป็นกษัตริย์ เพราะจะมีภาระหนักหน่วง ส่วนใหญ่เขามักเป็นคนธรรมดาแล้วบวชพระ แต่จะบำเพ็ญบารมีจนในที่สุดจะกระเทือนถึงพระราชวงศ์เอง พระเจ้าแผ่นดินองค์นี้ท่านมีบุญมาก และเป็นแบบอย่างให้ข้าราชการผู้ใหญ่ทำตาม"

ผู้เขียนจึงเรียนถามท่านต่อไปว่า "หลวงปู่ครับ หน่อพุทธภูมิที่บารมีเต็มแล้ว ท่านก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหม รอการตรัสรู้เลยที่ชั้นดุสิต หรืออย่างหลวงปู่ก็ไม่ต้องมาเกิดแล้วใช่ไหมครับ" หลวงปู่ตอบว่า "กำลัง ของพุทธภูมิมีหน้าที่ที่จะทำให้มหาชนมีความสุข ถ้ามีคนเรียกร้องหรือบ้านเมืองเกิดยุคเข็ญก็ต้องลงมาช่วย จะคิดเอาแต่สบายได้ยังไง นั่นไม่ใช่ความคิดของหน่อพุทธภูมิ อย่างนี้พระอรหันต์สำเร็จแล้ว ท่านก็ไม่ต้องยุ่งกับใคร ไม่ต้องทำอะไรแล้วซิ" หลวงปู่ท่านตอบคำถามของผู้เขียนเสร็จแล้ว ท่านปรารภถึงการจัดการเรื่องศพของท่านต่อไปว่า "ถ้าข้าตายแล้วอย่าเก็บศพไว้นาน เจ็ดวันเผาเลย ไม่เผาก็โยนทิ้ง เดี๋ยวจะกลายเป็นหากินกับศพ"

ผู้เขียนได้แย้งท่านว่า "กลัววัดจะร้าง" หลวงปู่ท่านตอบว่า "เรื่อง เผาไม่เผา ต้องแล้วแต่คำสั่ง ดูอย่างหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ท่านสั่งไม่ให้เผา เพราะกลัวพระเณรจะอดอยาก แต่สำหรับข้าให้เผา เวลาจะเผาให้เผายืน ข้าจะได้ไปไหนได้" ผู้เขียนจึงถามท่านว่า "หลวงปู่ไม่ไปนิพพานหรือ" ท่านตอบว่า "จะ ไปได้อย่างไร คนนี้ก็เรียก คนนั้นก็ร้อง ข้าไปแค่หัวตะพานก็พอ ดูอย่างหลวงปู่ทวดซิ มีคนเรียกร้องท่านมากมาย บารมีท่านเต็มท้องฟ้า อย่างข้าเอง คนไหนคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา คนไหนไม่คิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงเขา เพราะในวันหนึ่งๆ ข้าต้องอธิษฐานไปให้หมู่คณะทุกวันไม่เคยขาด วันละ ๓ ครั้ง เขาจะได้ไม่เป็นอันตรายทั้งเช้ามืด ตอนเย็น ตอนกลางคืน ก่อนนอน เพื่อเป็นการช่วยเหลือหมู่คณะ"

ผู้เขียนฟังจบ พร้อมกับสำนึกในเมตตาของหลวงปู่ที่มีต่อลูกศิษย์อย่างมาก หลวงปู่ท่านได้ย้ำด้วยความเมตตาต่อไปอีกว่า "คิด ถึงพระครั้งหนึ่ง บารมีพระมาถึงเราไปกลับ ๗ เที่ยว รวมแล้ว ๑๔ ครั้ง ได้กำไรดีไหมล่ะ นี่มีในพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าบอกกับพระอานนท์ ถ้าเราคิดถึงพระได้เหมือนกับคิดถึงแฟนเมื่อไหร่ แสดงว่าจะดีแล้ว"


หลวงปู่ดู่ท่านกล่าวว่า  พระโพธิสัตว์บารมีเต็ม ที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตอันใกล้ เทวดา ท่านจะขอให้ประทับรอยเท้าบนแผ่นหินไว้ เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของมนุษย์ เทวดา ทั้งหลาย เช่น หลวงปู่ทวด ท่านก็ประทับรอยเท้าไว้ที่วัดพะโคะ ครูบาศรีวิชัย ประทับรอยฝ่ามือ ฝ่าเท้าไว้ที่วัดพระพุทธบาทแก่งสร้อย ฯ
63  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:39:38
วัด พระพุทธบาทผาจ่อง
ตามแผนที่เลยครับ
จาก อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

เดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 211
ผ่านทางแยกเข้าวัดผาใหญ่ฯและน้ำตกธารทอง
ตรงมาเลื่อยๆจนถึง บ้านปากโสม ตรงไปประมาณ 300-500 เมตร
จะเจอป้ายทางเข้าวัด พระพุทธบาทผาจ่อง แยกทางเข้าวัดจะอยู่ทางซ้ายมือ อยู่ประมาณกลางหมู่บ้านพอดีครับ
ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยครับ ตรงไปเลื่อยๆ ประมาณ 5กิโมเมตร ถึง วัดเลยครับ









64  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:38:54
รอยพระพุทธบาทผาจ่อง ที่อ.สังคม  จ.หนองคาย






ตามประวัติและคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่า
หลวงปู่เพชรเป็นผู้สร้างวัดนี้ และเมื่อครั้งหลวงปู่จำพรรษาอยู่
พอวันพระทุกคืน ก็จะเห็นเหล่าเทวดา เจ้าที่ สัตว์น้อยใหญ่ มากราบใหว้ที่แท่นหินแห่งนี้
หลวงปู่ก็รู้ด้วยญาณว่านั่นต้องไม่ใช่ที่ธรรมดาเป็นแน่แท้
พอรุ่งเช้าหลวงปู่ก็เลยไปดู เห็นเป็นแท่นหิน มีใบใม้ปกคลุมเต็มไปหมด
หลวงปู่เลยเอาใบใม้ออก ก็เลยเห็นเป็นรอยพระพุทธบาท ดังในรูป

รอยที่ถ่ายมาให้ชม เป็นรอยดั้งเดิมแต่โบราณกาล ไม่มีการปรับปรุงเสริมแต่งแต่อย่างใด
เป็นรอยที่ ใหญ่ ชัด และสมบูรณ์มากครับ
65  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:38:20
รูปวาดหลวงปู่เพชร  ปทีโป  ที่วัดพระพุทธบาทผาจ่อง อ.สังคม จ.หนองคาย


66  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:37:47
หลวงปู่ศรีทัตพระอาจารย์ของหลวงปู่เพชร


         หลวงปู่ศรีทัตท่านเป็นพระป่ามีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนากรรมฐานและทรงวิทยาคมทางด้านคาถาอาคมไสยเวท ซึ่งท่านได้ศึกษาวิชาอาคมด้านต่าง ๆ มาจากสมเด็จลุน แห่งนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว สมเด็จลุนท่านเป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสานแถบลุ่มแม่น้ำโขงที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นลูกศิษย์ท่านทั้งสิ้น สมเด็จลุนท่านมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายเหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สมเด็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงด้วยเท้าเปล่าและบางครั้งท่านจะไปนั่งสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของท่านและในบรรดาลูกศิษย์ของสมเด็จลุน หลวงปู่ศรีทัตถือเป็นศิษย์เอกที่ได้รับการถ่ายทอดตำราวิทยาคมจากสมเด็จลุนจนหมดสิ้น


ลาสิกขาบทเพื่อไปเกณฑ์ทหาร

      เมื่อออกพรรษาที่วัดธาตุขาว  เมืองศรีสัตตนาคนหุต  เวียงจันทน์  ประเทศลาวแล้ว  จึงได้ไปกราบลาสิกขาบทต่อหลวงปู่ศรีทัตขณะนั้น  หลวงปู่ศรีทัตท่านปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดพระพุทธบาทโพนแน  ลาสิกขาบทแล้วรีบไปเกณฑ์ทหารที่บ้านเดิม  คือ  อำเภอคอนสาร  จังหวัดชัยภูมิ  เมื่อปีพ.ศ.  2446

เป็นฆราวาส

      ไม่ปรากฏหลักฐานว่าท่านได้รับเลือกเป็นทหารเกณฑ์หรือไม่  เมื่อเป็นฆราวาส  ผู้ครองเรือนก็เป็นคนขยันทำมาหาเลี้ยงบิดา  มารดา  คือ  นางปาน  นายด้วย  พุทธวงศ์  อย่างเต็มความสามารถ  ในการปฏิบัติอุปัฏฐากบิดา  มารดา  จนคนใกล้ชิดเรียกว่า  ?ลูกกตัญญู?  อาชีพหลักก็ทำนา  ประกอบกับบิดาเป็นหมอยาโบราณ(ยาสมุนไพร)  ไปรักษาคนป่วยกับบิดาเสมอ  จนกลายเป็นหมอยาทั้งบิดา  ลูก  งานอดิเรกพิเศษคือชอบเรียนลำ  กลอน  เป่าแคน  รับจ้างงานวันละ  2 ? 3 บาท ก็เอา  สมัยนั้น  เมื่อปี  พ.ศ.  2451  บิดามารดา  จึงย้ายบ้านจากอำเภอคอนสาร  จังหวัดชัยภูมิ  ไปอยู่กับญาติที่หมู่บ้านปากโสม  อำเภอสังคม  จังหวัดหนองคาย  ขณะนั้นพี่น้องหลานๆ ยังอยู่มากมาย  เช่นแม่ตู้ขาว  แม่ของอาจารย์สดและกำนันพรม  เพ็งสมภาร  เป็นต้น  ส่วนศิษย์ผู้ได้รับแสงสว่างแห่งชีวิตจากการเทศน์  แนะนำปฏิบัติธรรมตามนั้นมีมากจริงทั้งในประเทศไทย  ลาว  ฝรั่งเศส  เพราะท่านเป็นคนดี  มีญาณสูง  มุ่งปรารถนาพุทธภูมิ  แผ่เมตตาช่วยลูกศิษย์ผู้ดีมีศีลธรรมอย่างสม่ำเสมอ

ชีวิตคู่ระหว่างเป็นคฤหัสถ์


       อนึ่งชีวิตระหว่างเป็นคฤหัสถ์อีกช่วงหนึ่งของท่าน  ควรเขียนแทรกไว้  ณ  ที่นี้  คือชีวิตคู่ของท่าน  ครั้งหนึ่งระหว่างอยู่เขตอำเภอสังคม  จังหวัดหนองคาย  มีคนลาวเชื้อสายฝรั่งเศส  พวกปลูกสวนป่าสักที่  เกาะดอนปากน้ำตอนตรงข้ามฝั่งไทย  ของหมู่บ้านปากโสม  ข้ามเรือมาเชิญนายด้วง  พุทธวงศ์  บิดาท่านเพชรไปรักษาโรคตับ  ของลูกสาวซึ่งอาการเป็นตายเท่ากัน  ท่านเพชรตามบิดาไปด้วย  เห็นอาการคนป่วยแล้วนึกสมเพช สงสาร  หญิงสาวผู้ป่วยเป็นยิ่งนักกลัวว่าจะไปไม่รอดแน่ทั้งผอม  ข้าวก็ทานได้แต่น้อย  ก่อนจะลงมือรักษา  จึงถือปากว่าถ้ารักษาหายจะขอไปเป็นน้องสาวจะได้ไหม?  บิดามารดาของหญิงสาวที่ป่วยจึงบอกว่าได้  จะยกให้เลยขอให้แต่ให้รอดชีวิตเถอะ  ปรากฏว่ารักษาอยู่ไม่นานโรคตับของหญิงนั้นหายจริงภายใน  1  เดือน  ทางครอบครัวผู้หญิงเขาจึงยกให้เป็นภรรยาของท่านเพชร  พุทธวงศ์  เนื่องจากวาสนาต่อกัน อันจะเป็นคู่ชีวิตเพื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต


ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์

      แต่อนิจจาความรักไม่สมหวัง  อยู่ได้ 3 ? 4 เดือนต้องเลิกร้างกันไปโดยไม่มีพันธะผูกพัน  เป็นทั้งรักครั้งแรกและทั้งรักครั้งสุดท้ายที่มีต่อหญิงสาว   เนื่องจากคำอธิษฐานของท่านว่าชาตินี้จะลงมาเพื่อบวชเป็นพระถือเพศบรรชิตบำเพ็ญบุญบารมีเพื่อสะสมเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต  หลังจากนั้นมาท่านก็ครองตัวเป็นโสดมาโดยตลอด  มุ่งเลี้ยงดูแต่บิดามารดาทั้งสองมา   จนอายุย่างเข้าปีที่ 31 พ่อ แม่  จึงพาย้ายไปพักอยู่กับญาติพี่น้องที่คุ้มวัดธาตุขาว 

มองเห็นอนิจจังของชีวิต

       เมื่อความเปลี่ยนแปลง   หรือสภาพทั่ว ๆ ไป บ่งบอกถึงอาการภาวะว่าตกอยู่ใต้อนิจจาภาวะคือความไม่เที่ยงแท้แน่นอน  ของความเป็นอยู่ของชีวิตที่ผ่านมาโดยย้ายที่หาความอยู่ดีมั่งมีทรัพย์สิน  แต่ได้ประสบพบเข้าทั้งที่เป็น
นิฏฐารมณ์  อารมณ์ที่น่าปรารถนา  คือ การได้ลาภ ได้ยศ  ได้ความสุข  และได้รับการยกย่องสรรเสริญ
อนิฏฐารมณ์  อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา  คือ การเสื่อมลาภ เสื่อมยศ  ได้ความทุกข์  และได้รับการนินทาว่าร้าย
เมื่อประสบกับชีวิตอย่างนี้ก็เริ่มคิดถึงหลักธรรมที่หลวงปู่ศรีทัต  ซึ่งเป็นพระอาจารย์ท่านแรกที่สอนสั่งเรื่องชีวิต  คือความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่สาระแก่นสารดีงามโดยให้ยึดหลักปฏิบัติศีลธรรมทางพุทธศาสนา  เป็นสรณะที่พึ่งประกอบกับยกภาษิตพระร่วงประกอบว่า


            ที่มีภัยพึงหลีก                ปลีกคนไปโดยด่วน
            ได้ส่วนอย่ามักมาก       อย่ามีปากว่าคน
            รักตนกว่ารักทรัพย์         อย่าได้รับของเข็ญ
            เห็นงามตาอย่าปอง        ของฝากท่านอย่ารับ
            ที่ทับจงมีไฟ             ที่ไปจงมีเพื่อน
            ทางแถวเตือนไคลคลา    ครูบาสอนอย่าโกรธ
67  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 04 มิถุนายน 2555, 15:37:00
ประวัติหลวงปู่เพชร ปทีโป  วัดผาใหญ่วชิรวงศ์(วัดภูพระพาน) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย

จากหนังสืองานทำบุญ  100  วันบรรจุอัฐิ  หลวงปู่เพชร  ปทีโป


นามเดิมชื่อ เพชร  พุทธวงศ์  เกิดที่  สุขาภิบาลคอนสาร  อำเภอคอนสาร  จังหวัดชัยภูมิ  เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 19  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2425


                                              บิดาชื่อด้วง  พุทธวงศ์
                                 มารดาชื่อ  นางปาน  พุทธวงศ์ 
                                 มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คนคือ
                                 1.นางบุศ  พุทธวงศ์ (ถึงแก่กรรม)
                                 2.หลวงปู่เพชร  ปทีโป

ชีวิตวัยเยาว์

        ขณะที่ยังเยาว์อยู่เป้นคนขรึมไม่ค่อยพูด-เป็นคนจริงจัง สมถะอยู่กับพ่อ-แม่ จนเข้าวัยเรียนหนังสือประถมศึกษา  จากโรงเรียนบ้านเกิดจนจบประถม 2 บริบูรณ์  ในสมัยนั้นก็ถือว่าเป็นชั้นสูงแล้ว  พอดีขณะที่มีอายุ  14  ปี  ตรงกับปีวอก  พ.ศ. 2439  บิดา-มารดา  พาครอบครัวอพยพไปในงานนมัสการพระธาตุหลวงนครเวียงจันทน์  ตรงกับวันเพ็ญ  เดือน 12  โดยพักอาศัยบ้านญาติฝ่ายมารดาที่อุ้มวัดธาตุขาวเมือง                ศรีสัตตนาคนหุด  แขวงเวียงจันทน์ ไทย-ลาว  เป็นบ้านพี่เมืองน้อง  ข้ามแม่น้ำโขงไปมาหาสู่กันสะดวกสบาย  ไม่ว่าพระ-โยม  ก็ร่วมงานร่วมบุญมหาชาติกันเสมอ  ครอบครัวหลวงปู่เพชร ปทีโป  ก็เช่นเดียวกับประชาชนอื่นๆ  อนึ่งครอบครัวนี้มีสมาชิกน้อยคนเพียง พ่อ แม่ ลูกชาย และลูกสาว รวม 4 คนเท่านั้น  จึงง่ายต่อการปกครองเลี้ยงดู  เพราะเชื้อสายตระกูลวงศ์ของ พ่อ แม่  เป็นคนมีศีล  มีสัตย์  อุปัฏฐากพระสงฆ์องค์ศาสนา  อยู่ตามกรอบแห่งศีลธรรม  ยึดปฏิบัติตามหลักธรรมทางพุทธศาสนาอย่างดียิ่งโดยสอนลูก ๆ  อยู่เสมอว่า  ?ลูกเอ๋ยคนดีต้องมีศีลธรรม กาย วาจา  จิตใจ  งานเรียบร้อยคือความมีศีล?  จิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อสรรพสัตว์ทุกถ้วนหน้า คือ ?มีธรรม  ศีลธรรมนี้แหละจะนำพาชีวิตของพวกเราให้เจริญดี  มีฐานะ  มีอายุมั่นคงดำรงชีพโดยราบรื่น?  ด้วยเหตุนี้ครอบครัวนี้จึงได้ใกล้ชิดอุปัฏฐากพระสงฆ์  ครูอาจารย์ผู้สำคัญ ๆ หลายรูปทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา ของแม่น้ำโขง  เช่น ท่านสมเด็จลุน  หลวงปู่ศรีทัต เป็นต้น  ซึ่งเป็นครูบาอาจารย์  นักปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน  เดินแสวงหาโมกขธรรม  ถือธุดงควัตรแถบอีสานตอนบน  ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงสันภูเขาควายโดยมีบุญบารมีสูงยิ่ง  ผ่านไปแถวถิ่นต่างๆ มีผู้คนเคารพนับถือมอบตนเป็นสานุศิษย์  ตามไปฟังเทศน์ฟังธรรม  ทำสมาธิกัมมัฏฐานกับท่านแห่งละหลายพันคน


บวชเป็นสามเณรกับหลวงปู่ศรีทัต

        ครอบครัวนี้ก็ได้มอบลูกชายสุดที่รักคือ นายเพชร พุทธวงศ์  นี้ให้เป็นกัณฑ์เทศน์  หลวงปู่ศรีทัตใน ขณะนั้นท่านหลวงปู่ศรีทัตอยู่อาศัยปฏิบัติสมาธิภาวนาอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (พระบาทโคกซวก)  ตำบลพุทธบาท  อำเภอศรีเชียงใหม่  จังหวัดหนองคาย  โดยความเคารพนับถือ ศรัทธามากจึงเอาลูกชายติดเป็นกัณฑ์เทศน์แล้วแต่ท่านจะรับไว้ใช้อนุเคราะห์  ขณะนั้นปู่เพชร อายุได้  14 ? 15 ปีเท่านั้นเอง  เมื่อพ่อ  แม่  ยอมยกให้หลวงปู่ศรีทัตน์แล้ว  ท่านก็ถือเป็นศิษย์นำติดไปเดินธุดงค์ในสถานที่ต่างๆ เพื่อรับใช้ปฏิบัติอุปัฏฐากพระตามธรรมเนียมลูกศิษย์  พระวัดป่าก็ต้องอดทน  ทรมานตนอนุวัตรตามพระกัมมัฏฐานอยู่ลำบาก  กินน้อย  นอนน้อย  คอยปฏิบัตธรรม  กัมมัฏฐานทำความเพียรให้มากๆ  เพื่อให้เกิดความมุมานะบากบั่น  ขยัน  ไม่หลงตน  ไม่ประมาทในชีวิตจนคลายจากนิสัยที่หยาบ  มีอุปนิสัยโน้มไปยังส่วนที่ละเอียดทุกที  ทั้งทางกาย  วาจา  และส่วนลึกแห่งจิตใจ  ก็มั่นคงดี  ใจศีลธรรม  หลวงปู่ศรีทัต จึงอนุญาตให้บวชเป็นสามเณรได้  ตอนนั้นอายุย่างเข้าปีที่ 16 การบวชเป็นสามเณรนั้น  หลวงปู่ศรีทัต  รับเป็นอุปัชฌาย์เอง  พร้อมด้วยคณะสงฆ์ที่ติดตามปฏิบัติธรรม  ณ   วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม (โคกซวก)  ตำบลพระพุทธบาท  อำเภอศรีเชียงใหม่  จังหวัดหนองคาย  เมื่อปีพ.ศ.  2441 ตรงกับปีจอ  ร.ศ.  117 จ.ศ.  1260  รัชกาลที่ 5  ในขณะนั้นอายุ  16  ปี  นอกจากศึกษาเล่าเรียนศีลธรรม  ท่องสวดแบบต่อหนังสือกับพระอาจารย์(เรียนตามคำบอก)  ไม่มีหนังสือ  ตำรามีน้อยไม่สะดวกด้วยตำราเหมือนในปัจจุบันนี้  แล้วต้องได้ฝึกทำสมาธิจิต  นั่งกัมมัฏฐานเดินจงกรมวันละหลายชั่วโมง  ดำเนินตามปฏิปทาของพระธุดงค์  ว่างจากเรียนและปฏิบัติแล้ว  เวลากลางวันก็ชอบไปฝึกเรียนศิลปะการวาดรูป  ปั้นพระพุทธรูป  แกะสลักพระไม้จันทร์หอม  และแกะสลักหินเป็นพระพุทธรูป  จากหลวงปู่ศรีทัตเป็นประจำ  จนเกิดความชำนาญกลายเป็นอุปนิสัยติดตัวมาจนกระทั่งอายุถึง  70 ? 80 ปี ยังทำอยู่  ที่อยู่วัดบางแห่งเช่น  วัดพระพุทธบาทโนนฆ้อง  ถ้ำคอกม้า  แกะสลักพระพุทธได้มาก  ถึงกับทำพิธีบรรจุไว้ตามหน้าผา  หน้าถ้ำก็มีมาก  ส่วนที่เหลือจากมอบให้วัด  ลูกศิษย์บางคนนำไปสักการะบูชาเพื่อเป็นสิริมงคลก็มาก  ขณะบวชเป็นสามเณรอยู่ได้พักอยู่จำพรรษาตามวัดดังนี้คือ
 
          2  พรรษาแรกอยู่ที่วัดพระพุทธบาทเวินกลุ่ม(โคกซวก)  ปีพ.ศ.  2441 ? 2442
       พรรษาที่ 3 ไปจำพรรษาที่วัดพระพุทธบาทบัวบด (พระบาทหอนาง)  บ้านผือ  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  ปีพ.ศ.  2443
       ส่วนปีพ.ศ.  2444 ? 2445  ข้ามฟากไปเยี่ยมโยมที่ประเทศลาว  จึงอยู่เข้าพรรษาที่วัดธาตุขาว  เมืองศรีสัตตนาคนหุต  เวียงจันทน์  ประเทศลาว
68  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 08:14:07
คณะจากกาฬสินธุ์มากันประมาณ 10 คน คนที่ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์มาเล่าให้หลวงปู่ฟัง หลวงปู่พูดสั้นๆ บอก "ปฏิบัติไปพระรักษา" แค่นี้ครับ แล้วก็ไม่พูดอะไรอีก

     ผมถือโอกาส ถามเรื่อง พระรุ่นแรกเนื้อตะกั่วหลวงปู่ว่า หลวงปู่ได้ตะกั่วตอนธุดงค์เหรอครับ?

     หลวงปู่ : ได้ตอนธุดงค์อยู่ในไห ในถ้ำ

     ผมถาม : แล้วผมอ่านเค้าบอกว่าหลวงปู่คิดว่าเป็นทองคำเหรอครับ?

     หลวงปู่ : หลวงปู่อุทาน โฮ้ย!!! พระธุดงค์ พ่อแม่ครูบาอาจารย์ท่านสอนไม่ให้คิดเรื่องเงินเรื่องทองตอน
              ธุดงค์ หรือตอนอื่นๆ กัน เค้าสอนให้ละกิเลส ตัณหา

     ผม.... ยังไม่ทันพูดอะไรต่อ หลวงปู่ท่านก็พูดต่อเลย เหมือนรู้ใจเลยครับ

     หลวงปู่ : นั่งสมาธิแล้วมี ชีปะขาว มาบอกถวาย วัตถุมงคลเป็นของศักดิ์สิทธิในไหในถ้ำ ให้หลวงปู่นำไป
              สร้างพระ จะมีค่ากว่าทองคำ หลวงปู่เลยเอามาสร้างพระไง ถ้ามีก็เก็บไว้ดีๆ นะ เป็นของดี แล้วหลวงปู่ก็
                หัวเราะ หึ ๆ


พระกริ่งรุ่นแรก และรูปหล่อรุ่นแรก เนื้อตะกั่วโบราณครับ


69  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 08:12:14
มีอีกคณะมาจากกาฬสินธุ์ เห็นว่ารถประสบอุบัติเหตุไม่เป็นไรเลยมากราบขอบพระคุณหลวงปู่บุญพิน ในช่วงที่คอยผมก็เดินเที่ยวรอบวัด ซักพักหนึ่งนำขยะไปทิ้งในถังขยะ ซึ่งเป็นถังแบบยางรถยนต์มีฝาปิด ผมเปิดปุ๊บ ผึ้งอยู่ในถังบินหึ่ง ผมรีบปิดฝา แต่ก็มีเล็ดลอดออกมาเกือบยี่สิบ สามสิบตัว จะมาต่อยที่หัวผม ผมรีบเดินหนี แต่พอผึ้งจะมาถึงหัวผม ก็มีลมแรงๆ พัดวูบให้ผึ้งกระเด็นไป บินไม่ถึงตัวผม ผมรีบจ้ำๆ ออกมาได้ครับ เกือบโดนผึ้งต่อยนับสิบซะแล้ว

      ส่วนลูกชาย วัย สองขวบ สามเดือน ก็ซนวิ่งรอบ วัด พูดเสียงดังด้วย พอบ่ายสองครึ่งหลวงปู่เปิดประตูให้พวกผม และคณะจากกาฬสินธุ์เข้าไปกราบได้ หลวงปู่ก็ถาม เป็นภาษาอีสาน ว่า เด็กคนนี้เหรอที่เสียงดังๆ อ้าวเข้ามาซิ ลูกผมก็เดินเข้าไป ผมบอกให้สวัสดีหลวงปู่ ลูกชายสวัสดี หลวงปู่หัวเราะ เอิ้กๆ ชอบใจ เป่าหัวลูกชายผม แล้วแจกพระ พร้อมใส่คอใส่กำไลในมือลูกชายผมด้วย ขากลับยังให้ชานหมากอีก หลวงปู่ท่านเมตตาเด็กครับ


พระที่หลวงปู่บุญพินมอบให้พวกผม และลูกชาย

70  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: หลวงปู่บุญพิน กตปุญโญ วัดผาเทพนิมิต อ.นิคมน้ำอูน จ.สกลนคร เมื่อ: 01 มิถุนายน 2555, 08:10:36
ไปมาเหมือนกันครับเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2555 ที่ผ่านมาไปงานวันคล้ายวันเกิดหลวงปู่เคน แล้วนึกว่าท่านจะมาที่วัดหลวงปู่เคน เพราะมีนิมนต์มาที่วัดหลวงปู่เคน แต่ติดผ้าป่าสองคณะ เลยไม่ได้มา พวกผมเลยไปกราบท่านที่วัดไปถึงประมาณ 11.30 น. หลวงปู่บุญพินเข้าพักแล้วจะออกมาอีกทีก็บ่ายสองโมงครึ่ง พวกผมเลยถือโอกาสเดินเที่ยววัดคอยท่านครับ

ภาพพระใหญ่สวยงามครับใกล้แล้วเสร็จ...

71  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่คำสิงห์ สุภัทโธ วัดสิงหารินทาราม หนองคาย เทพเจ้าแห่งบึงโขงหลง เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 17:50:06
พระกริ่งนวโลหะ ๓ ใน ๑๐๐ องค์ครับ






72  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 17:46:32
เกศาหลวงปู่เพชร




ขอขอบพระคุณพี่Nopwanith เป็นอย่างสูงที่เมตตามอบเกศาหลวงปู่เพชรให้มาครับ
73  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 17:45:32
เหรียญรุ่นแรกหลวงปู่เพชรกะไหล่ทอง   



74  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 17:44:32
รูปหล่อโบราณหลวงปู่เพชรองค์นี้แขวนเดี่ยวอยู่ครับ



75  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ปทีโป / Re: หลวงปู่เพชร ปทีโป วัดภูพระพาน อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อ: 31 พฤษภาคม 2555, 17:43:21
รูปหล่อโบราณหลวงปู่เพชรอุดเหมือนชันนางโรงและตะกรุดครับ



หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 8
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!