?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
01 พฤศจิกายน 2567, 07:33:49 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
46  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 12 พฤศจิกายน 2564, 11:03:13
ล็อกเก็ตพรหมวิหาร รุ่นแรก จำนวน 39 เหรียญ
ครูธรรมใหญ่พรรณวิชัย บุญเจริญ
ฆราวาสสายธรรมอุตฺตโมบารมี
ผู้ฝึกตนทางด้านพรหมวิหาร 4 หรือ พรหมวิหารธรรม เป็นหลักธรรมประจำใจเพื่อให้ตนดำรงชีวิตได้อย่างประเสริฐและบริสุทธิ์เฉกเช่นพรหม เป็นแนวธรรมปฏิบัติของผู้ที่ปกครอง และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ประกอบด้วยหลักปฏิบัติ 4 ประการ ได้แก่
เมตตา คือ ความรักใคร่ ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตอันแผ่ไมตรีและคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า
กรุณา คือ ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจในอันจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของปวงสัตว์
มุทิตา คือ ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง ประกอบด้วยอาการแช่มชื่นเบิกบานอยู่เสมอ ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ดำรงในปกติสุข พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป
อุเบกขา คือ ความวางใจเป็นกลาง อันจะให้ดำรงอยู่ในธรรมตามที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตาชั่ง ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน
ด้านหลังบรรจุ
1.เหรียญพระนาคปรก
2.เหรียญหลวงปู่ทวด
3.เม็ดข้าวไพรดำ
4.จีวร อ.พรรณวิชัย สมัยท่านบวช
5.ผงงาช้าง 108 เชือก
6.ตะกรุดไตรสรณคมน์
อานุภาพ "ตะกรุดไตรสรณ์คมน์"
อาคมไตรสรณคมน์นั้น มีความสำคัญมาตั้งแต่โบราณ ในสมัยที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ได้มีพุทธานุภาพให้พระสาวกทำการบวชกุลบุตรได้ โดยการเปล่งวาจาระลึกถึง ไตรสรณคมน์ แล้วจึงจะถือว่าเป็นภิกษุโดยสมบูรณ์ กล่าวถึง “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” ซึ่งท่านยึดเอาพระไตรสรณคมน์นี้เป็นตัวกำหนดในการบริกรรมภาวนา และท่านได้ปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดช่วงชีวิตของท่าน ว่ากันว่า ในนิมิตรของหลวงปู่ฯ คืนหนึ่ง ท่านได้ฉันดาวที่สว่างมาก 3 ดวง เมื่อตื่นขึ้นมาก็ใคร่ครวญว่าแก้ว 3 ดวงก็คือ “พระไตรสรณคมน์” นั้นเอง ครั้งหนึ่งหลวงปู่ฯ เคยถาม สมเด็จพุฒาจารย์ (เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ว่า ผู้ที่ภาวนาและระลึกถึงไตรสรณคมน์  ซึ่งมีความหมายว่า “ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก” เป็นนิจศีล ก่อนตาย แล้วจะไปสวรรค์ได้หรือไม่ สมเด็จฯ ท่านตอบว่า ได้แน่นอน พร้อมกับยกพระบาลีว่า "เยเกจิ พุทธัง สรณังคตา เสนะ เตคมิสสันติ อบายภูมิ ปหาย มานุสัง เทหัง เทวกายัง ปริปูเรส สันติ" แปลว่า บุคคลบางจำพวกหรือบุคคลใดมาถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะที่พึ่งแล้ว บุคคลเหล่านั้นย่อมไม่ไปอบายภูมิทั้ง ๔ มีนรก เป็นต้น ทั้งนี้สมเด็จฯ ท่านยังกล่าวว่า “ไตรสรณคมน์” นั้นเป็นรากแก้วของพระศาสนา พระพุทธเจ้าเมื่อครั้งยังเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ เข้ามาบวชถือเป็นสมมุติสงฆ์ เมื่อแสวงหาสัจธรรมจนบรรลุมรรคผล ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ ซึ่งเรียกว่า “พระธรรม” และเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จึงเรียกว่า จึงเรียกว่า พุทโธ ซึ่งหมายถึงผู้รู้ จากนั้นเมื่อพระเทศน์โปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ได้รู้ธรรมตามที่สอน ก็กลายเป็น”พระอริยสงฆ์” สืบต่อๆ กันมา ทำให้ศาสนาครบสมบูรณ์ไม่สูญหายไปไหน" นอกจากนั้นพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ท่านยังกล่าวว่า "สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญ อันตรธานไปไหน ยังปรากฎแก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดมายึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่าหรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้ง ๓ ก็ปรากฎแก่เขาทุกเมื่อ จึงว่าเป็นที่พึ่งแก่บุคคลจริง เมื่อปฏิบัติตามสรณะทั้ง ๓ จริงแล้ว จะคลาดแคล้วจากภัยทั้งหลายอันก่อให้เกิด ความร้อนอกร้อนใจ ได้แน่นอนทีเดียว

บทนี้ใช้รดน้ำมนต์ เวลารดน้ำมนต์ ให้เสกคาถา บทนี้รดเรื่อย ๆ ไปจนครบ 7 บทจึงหยุด
ยอดคาถาพระไตร
สะ คะ คะ คะ นะ พุ
คาถาทั้ง 6 ตัวนี้ ถือว่าเป็นยอดคาถาพระไตรสรณคมน์ ใช้สำหรับป้องกันหรือแก้ไขสรรพอันตรายต่าง ๆ ได้ดังนี้ ถ้าหญิงแข็งผัว ชายแข็งเมีย เช่นมีฝีขี้แมลงวัน เกิดในที่ลับ เป็นปานดำ ปานแดง หรือเป็น ซวง ลักษณะเช่นนี้ เรียกว่าแข็งหรือเข็ดขวาง พอตั้งท้องได้สองสามเดือนก็แท้งออก ให้จัดเทียนเวียนหัว 1 เล่ม มาทำน้ำมนต์ให้อาบให้กิน เอาแผ่นทองมาลงยอดพระคาถานี้ทำกะตุดแขวนคอ
ถ้าเด็กเลี้ยงยาก สามวันดีสี่วันไข้ ให้ทำกะตุดแขวนไว้ จะเลี้ยงง่ายแล
ที่บ้าน ที่สวน ที่ไร่ ที่นา ที่บึง ที่หนอง เกิดเข็ดขวางเกี่ยวกับภูตผีปีศาจเบียดเบียน ให้ทำน้ำมนต์เสกแฮ่ เสกทราย หว่านรอบบริเวณ ประพรมน้ำมนต์ให้ทั่วถึง แล้วเขียนยอดคาถาพระไตร 6 ตัวลงในแผ่นทองแล้วเสกในตัวให้ครบ 108 จบ ขุดหลุมลงตรงกลาง เอาแผ่นทองวางลงในหลุม ความเดือนร้อนหายสิ้นแล
ถ้าเสาเรือนเป็นตาหมูสี กาบหยวก เจ้าของเรือน มักเจ็บไข้ได้ป่วย เวลากลางคืนมีเสียงดังเหมือนคนเอาไม้มาตี ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเรือนเข็ดขวาง ให้เอาแผ่นทองมา เขียนยอดคาถาพระไตรสรณคมน์ 6 ตัว แล้วไปตอกลงในเสานั้น ความเข็ดขวางจะเหือดหายไปแล

ถ้าคนเป็นบ้าเกี่ยวกับภูตผีปีศาจ ให้แต่งขัน 5 ขัน 8 ขันหมากเบ็ง 2 ขัน เทียนเล่มบาท 2 คู่ เล่มเบี้ย 2 คู่ ผ้าขาว 6 ศอก เทียนเวียนหัว 1 เล่ม สำหรับเทียนเวียนหัวนี้ เอาทำน้ำมนต์แล้วเสกบทน้ำมนต์ สุคะโต โคตะโม ให้ได้ 7 จบ เวลาหยดน้ำมนต์ให้เสก
อิติปิโส วิเสเสอิ 7 จบ แล้วเสก สัพเพ สัตตา สุขิตา โหนตุ อึดใจเดียวให้ได้ 7 จบ
ใช้น้ำมนต์กินและอาบแล้วเสกด้ายผูกคอ ผูกแขน ขา ด้วยบท จัตาโร นะวะ โมทันติ 7 จบ
ลงแผ่นทองด้วยยอดพระคาถา 6 ตัว เสกตัวเองครบ 108 จง ทำกะตุดแขวนคอ บ้าผีทุกชนิดหายสนิทแล
ถ้าจะรักษาคนเป็นปอบ เป็นไท้ เป็นแถน ให้แต่งเครื่องสักการะให้ครบ เหมือนรักษาคนเป็นบ้าทุกประการ เวลาจะทำน้ำมนต์ ให้เอาเทียนเวียนหัวจุด เสกบทสุมะโน โคตะโม 7 จบ อิติปิโส วิเสเสอิ 7 จบ ทำน้ำมนต์และรด เสกด้าย 5 เส้น ด้วยบท จัตตาโร นะวะโมทันติ 7 จบ แล้วเอาด้ายที่เสกผูกคอ แขน ขา ลงยอดคาถา 6 ตัวในแผ่นทอง ทำเป็นตะกรุดผูกคอผู้เป็นปอบ สำหรับตะกรุดให้เสก 108 จบ ด้วยยอดพระคาถา ปอบจะหายไปสิ้นแล
ธรรมพระไตรสรณคมน์ แบบของสำเร็จลุนนี้ผู้ที่เคยได้ใช่มาปรากฏว่าได้ผลดียิ่ง บ้านหนึ่งมีหมอธรรมครูนี้อยู่เพียงคนเดียวก็พอ ไม่ต้องหวาดกลัวภูตผีปีศาจใด ๆ มารบกวน

ในสมัยโบราณมีเคล็ดลับว้าว่า หากผู้ใดจะเรียนเวทย์มนต์คาถาหรืออาคมต่าง ๆ ต้องให้เรียนธรรมไว้รักษาตัวเองเสียก่อน จึงให้เรียนมนต์ต่าง ๆ ได้ ถ้าไม่เรียนธรรมไว้ป้องกันรักษา ผู้ที่ธาตุอ่อนอาจจะเป็นปอบก็ได้ เพราะมนต์แต่ละอย่างมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัวเอง ถ้าความศักดิ์สิทธิ์ของมนต์มาตกที่ตัวเราอาจถูกผี (ปอบ) ทำอันตรายก็ได้ ในกรณีนี้ขอให้ผู้ที่จะเริ่มเรียนมนต์ควรเอาใจใส่ระวังไว้ เรื่องปอบเป็นของแปลกแต่จริงถ้ามันยังอ่อนกินพี่น้องบ้านเมือง ครั้นแก่เต็มที่กินตัวเอง
47  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 11 พฤศจิกายน 2564, 21:54:36
ฆราวาส ครูธรรมใหญ่สุนทร สนธิหา

ล็อกเก็ตตบะ รุ่นแรก จำนวน 19 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 9 ดอก จำนวน 3 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 3 ดอก จำนวน 7 เหรียญ
-ฝังตะกรุด 1 ดอก จำนวน 9 เหรียญ
ด้านหลังบรรจุผงมวลสารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
-เหรียญหลวงปู่ทวด
-งาช้างกระเด็น
-แร่เหล็กอาถรรพ์ที่ใช้ตีพระขรรค์ศาตราวุธ
-เหล็กเปียกยอดพระธาตุพนม
-ดินไพรดำ

เหรียญตบะ รุ่นแรก จำนวน 108 เหรียญ
ผลิตจากโรงงานสหรัฐอเมริกา โดยใช้เนื้อแดงแท้บริสุทธิ์
ด้านหน้าเหรียญ : จะเป็นรูปญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี ผูสืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์แห่งบูรพาจารย์หลวงปู่สำเร็จลุน และครูธรรมใหญ่สุนทร สนธิหา ฆราวาสฝ่ายตบะ

ด้านหลังเหรียญ : อัญเชิญเอายันต์“มงกุฎพระพุทธเจ้า”
หรือที่รู้จักกันในชื่อ "คาถาอิติปิโสเรือนเตี้ย"
อันเป็นคาถาเสกหญ้าให้ม้ากิน ที่หลวงปู่เอี่ยมถวายแก่ ร.5 เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป
"มีตัวคาถาว่า "อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ อิเมนา พุทธะตังโสอิ อิโสตังพุทธะปิติอิ "
" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ

คำแปลคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า

อิ ติปิโส วิเสเส อิ
แม้เพราะเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึงวิเศษ

อิ เสเส พุทธะนาเม อิ
เพราะวิเศษ ควรนอบน้อมพระพุทธเจ้า

อิ เมนา พุทธะตังโส อิ
เพราะนอบน้อมพระพุทธเจ้า เราจะเข้าถึงพระองค์

อิ โสตัง พุทธะปิติ อิ
เพราะเราเข้าถึงพระองค์ ก็จะปิติในพระพุทธเจ้า

อุปเท่ห์ในการใช้พระคาถา
ภาวนาทุกวันมิตกนรก เสกน้ำล้างหน้าทุกวันกันโรคภัยไข้เจ็บคุณไสยทั้งมวล ถ้าจะให้มีตบะเดชะให้ภาวนาทุกวัน เกิดสง่าราศีเป็นที่เมตตาแก่คนทั้งหลาย ให้ภาวนาแล้วแผ่เมตตาให้คนทั้งปวง ใครคิดร้ายก็ต้องมีอันเป็นไป ถ้าปรารถนาสิ่งใด ให้ภาวนาคาถานี้ ๑๘ คาบ เป็นไปได้ดังใจนึก

ถ้าจะให้เป็นมหาจังงัง ให้ภาวนาคาถานี้ ๘ คาบเป็นมหาจังงังแล ถ้าจะให้เป็นมหาละลวยให้ภาวนา ๙ คาบ
ถ้าช้างม้าวัวควายสัตว์ที่ดุร้ายทั้งหลาย ให้เสกหญ้าเสกของให้มันกิน กลับใจอ่อนรักเราแล ถ้าภูตพรายมันเข้าอยู่คน เสกข้าวให้มันกินออกแล
ถ้าปรารถนาจะให้เสียงเพราะ ให้เสกสีผึ้งสีปากเสกหมากกินไป เทศนาสวดร้องเป็นที่พอใจคนทั้งหลาย ให้เสกแป้งผัดหน้า เสกมงกุฎรัดเกล้า เป็นสง่าราศีใครเห็นใครรักทุกคน
อนึ่งให้เอาใบลานหรือกระดาษว่าวมาลงคาถานี้ ทำเป็นมงคลเสกด้วยตัวเอง สารพัดกันศาสตราอาวุธทั้งหลาย เป็นวิเศษนัก

พระคาถาบทนี้ พระมหากษัตริย์แต่เก่าก่อนทรงใช้ประจำทุกพระองค์แล

อนึ่งพระคาถานี้ใช้สำหรับภาวนาสักการะซึ่งพระบรมธาตุ พระพุทธปฏิมา พระเจดีย์สิ้นทั้งปวง แต่โบราณมากำหนดเอาพระคาถานี้ใช้อัญเชิญพระบรมธาตุเสด็จโดยปาฏิหาริย์แล

เคล็ดในการสวดคาถา “มงกุฎพระพุทธเจ้า”
หลักในการว่าคาถาให้มีความศักดิ์สิทธิ์นั้น มีพื้นฐานจาก " จิต " เป็นสำคัญ หากจิตมีสมาธิสูง ตั้งมั่นคาถาก็ยิ่งทรงความศักดิ์สิทธิ์ ดังนั้นระหว่างที่ว่าคาถาให้ จับลมหายใจสบายพร้อม ๆ กับการภาวนาคาถาบทนี้ เป็นขั้นที่ 1 ระดับสูงกว่านี้
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ท่านใช้คาถาบทนี้โดยมีนิมิต กำกับคาถา โดยทรงพุทธนิมิต ไว้ดังนี้ โดยตั้งกำลังใจว่าเรา ขอกราบอาธารณาบารมีพระพุทธเจ้าเสด็จประทับเหนือเศียรเกล้าของข้าพเจ้าเพื่อ.......ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้าด้วยเทอญ

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " เมื่อว่าคาถาจบ คาบที่ 1 ก็กำหนดอาราธณาพุทธนิมิตอยู่เบื้องหน้าของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตนี้เอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิอิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 2 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์หนึ่ง อยู่เบื้องขวาของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตทั้งหมดเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 3 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านหลังของศีรษะเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้ อิติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 4 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านซ้าย และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 5 ก็กำหนด พุทธนิมิตอีกพระองค์อยู่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิงติปิโสวิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 6 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 7 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงใต้ของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธนาเมอิ อิเมนาพุทธตังโสอิ อิโสตัง พุทธปิติอิ " ว่าคาถาจบที่ 8 ก็กำหนดพุทธนิมิตอีกพระองค์ อยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของศีรษะของเรา และ ทรงพุทธนิมิตเอาไว้ทั้ง 8 พระองค์เรียงวนรอบศีรษะของเรา

" อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเสพุทธนาเมอิ อิเมนา พุทธตังโสอิ อิโสตังพุทธปิติอิ "ว่าคาถาจบที่ 9 กำหนดพุทธนิมิตพระพุทธเจ้าองค์ใหญ่เสด็จประทับกึ่งกลางศีรษะเป็นยอดมงกุฎเปล่งประกายพรึก ทุกๆพระองค์เป็น มงกุฎเพชรพระพุทธเจ้าทั้งเก้าพระองค์บนเศียรเกล้าของเรา
เมื่อทำได้แล้วจะเข้าใจได้ทันทีว่าคาถานี้ทำไมจึงมีชื่อว่า คาถามงกุฎพระพุทธเจ้า และ ให้ทรงมงกุฎพระพุทธเจ้านี้เอาไว้ตลอดเวลาเป็นการทรงอารมณ์ในพุทธานุสตกรรมฐาน
48  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 05 ตุลาคม 2564, 14:34:30
การปกครอง ในสายธรรมอุตฺตโมบารมี
 เป็นการปกครองแบบครอบครัว ครูธรรมจึงจะมีความสุขได้นั้น เริ่มต้นจะต้องขึ้นอยู่กับครอบครัวของเราเอง ว่าดีหรือไม่ดี หากคนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีของเรามีการรักใคร่ กลมเกลียวกันครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีนั้นก็จะมีความสุขแน่นอน

หลักการปกครองยึดหลัก 9 ขั้นตอนที่ทำให้ครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีของเรานั้นพบแต่ความสุข

1.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีของลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม หมายความว่า การประพฤติ ปฏิบัติ ตัวต้องทำให้เหมาะสมกับสิ่งที่ตนเองทำ หรืออยู่ในกรอบของความถูกต้อง รู้จักบทบาทและหน้าที่ของตน และไม่ควรตามใจลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมจนเหลิง หรือบีบบังคบลูกจนเกินไป บางครั้งลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมอาจจะต้องการอิสระบ้าง ไม่ควรห้ามในสิ่งที่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเรากำลังจะเรียนรู้

2.คนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีควรให้เกียรติกัน บุคคลในครอบครัวควรมีความเกรงใจกัน ให้เกียรติกัน และยอมรับในสิ่งที่คนในครอบครัวของเรานั้นออกความคิดเห็น

3.พร้อมรับความคิดเห็นของทุกคนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี ควรให้โอกาส คนในครอบครัวแสดงความคิดเห็น ไม่ควรนำความคิดเห็นตนเองเป็นใหญ่

4.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรให้ความเคารพต่อการตัดสินใจลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรม เช่น หากลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมสนใจในเรื่องใดควรจะใส่ใจในสิ่งที่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมสนใจด้วยเช่นกัน

5.ควรมีเวลาให้แก่คนในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมีเสมอ หมั่นมีเวลาทำกิจกรรมเพื่อสร้างความใส่ใจกันในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี

6.การสอนลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเรื่องความผิดพลาด อธิบายในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดให้แก่ลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมฟัง และหัดยอมรับผิด หัดยอมรับความจริงให้ได้

7.บรมครูพ่อแม่ครูบาอาจารย์ควรรักลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเท่ากัน ไม่ควรแบ่งแยกความรักระหว่างคนสองคน ควรจะรักลูกศิษย์ครูธรรมญาติธรรมเท่ากันทุกคน

8.หากมีการทะเลาะกันควรใช้เหตุผลแทนความรุนแรง เช่นหากเกิดการทะเลาะกันขึ้นควรจะหาเหตุผลมาคุยกับ อธิบายในสิ่งที่เกิดขึ้นว่าสิ่งไหนผิด และสิ่งไหนถูก

9.ควรมีทั้งสุข และทุกข์ในครอบครัวสายธรรมอุตฺตโมบารมี ครอบครัวที่มีความสุขจริง ควรจะมีทั้งทุกข์และสุข ไม่ควรจะมีความสุขแต่เพียงอย่างเดียว
49  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: บรมครูใหญ่ สายธรรมอุตตโมบารมี เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:54:14
ญาถานอุตฺตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็น หลวงอา
ปฐมาจารย์ใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี หรือสมัยนั้นเรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม

ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก
ชั้แนะในหลักการปฏิบัติในลูกศิษย์ยึดหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มั่นเจริญศิล 5 ให้เป็นนิสัย
50  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:50:39
ญาถานอุตฺตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็น หลวงอา
ปฐมาจารย์ใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี หรือสมัยนั้นเรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม

ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก
ชั้แนะในหลักการปฏิบัติในลูกศิษย์ยึดหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มั่นเจริญศิล 5 ให้เป็นนิสัย
51  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:39:47

ญาถานอุตฺตะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก
52  ห้องเวทย์วิทยาคมและสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ / ฆราวาสผู้เรืองวิทยาคม / Re: ฆราวาสผู้สืบทอดบรมครูปู่สมเด็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี สายธรรมเรียบลุ่มแม่น้ำโขง เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:24:00
ญาท่านอุตตะมะปฐมาจารย์ใหญ่ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน

พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง
53  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ศิษย์ปรมาจารย์ปู่สมเด็จลุน เมื่อ: 24 กันยายน 2564, 21:17:29
ญาถานอุตฺตมะ ผู้เป็นอาจารย์ของสำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็น หลวงอา
ปฐมาจารย์ใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี หรือสมัยนั้นเรียกว่า สายอุตฺตมะอุตฺตโม

ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก
ชั้แนะในหลักการปฏิบัติในลูกศิษย์ยึดหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มั่นเจริญศิล 5 ให้เป็นนิสัย

สำเร็จลุน หรือบรรดาศิษยานุศิษย์ผู้เคารพศรัทธานิยมเรียกนามว่า “หลวงปู่สำเร็จลุน” หรือ หลวงปู่ลุน ไม่มีหลักฐานว่าได้รับการศึกษาเบื้องต้นระดับใดมาก่อน ส่วนการบรรพชาอุปสมบท จากการบอกเล่าของพระครูพิศาลสังฆกิจ (โทน กนฺตสีโล) หรือ “หลวงปู่โทน” แห่งวัดบูรพา บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ในคราวจัดงานอายุครบ ๙๑ ปี หลวงปู่โทน (๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑) โดยสรุปว่า “หลวงปู่ลุน” อุปสมบทเป็นพระรุ่นราวคราวเดียวกันกับ “หลวงปู่สีดา” ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่โทน โดยมี “พระอาจารย์อุตมะ” แห่งวัดสิงหาญ บ้านสะพือ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล ซึ่งมีศักดิ์เป็นอาของหลวงปู่ลุน ได้นำหลานชายชื่อลุนมาอุปสมบทและให้ศึกษาเล่าเรียนอักษรสมัย ทั้งอักษรขอมและอักษรธรรม พระธรรมวินัยการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานควบคู่กันไป รวมทั้งหลวงปู่สีดาและลูกศิษย์อื่น ๆ ด้วย

พระอาจารย์อุตมะ ถือว่าเป็นพระปรมาจารย์ใหญ่รุ่นแรกในสมัยนั้น เชื่อถือกันว่าเป็นผู้เรืองฤทธิ์ มีตำรายา ตำราเวทมนต์ คาถาอาคม มีวัตรปฏิบัติที่น่าเคารพเลื่อมใสมาก ซึ่ง “หลวงปู่โทน” ก็ได้สืบทอดสรรพวิชาเหล่านี้มาส่วนหนึ่ง พระอาจารย์อุตมะสังเกตลูกศิษย์คนสำคัญทั้งสองว่ามีวัตรปฏิบัติแตกต่างกัน โดยที่หลวงปู่สีดามีความขยันขันแข็ง ช่วยกิจการงานวัดทุกอย่างมิได้ขาด ส่วนหลวงปู่ลุน หลังจากฉันอาหารแล้ว ก็ไม่ช่วยกิจการงานวัดอะไร เอาแต่นั่งสมาธิภาวนาอย่างเดียว พระอาจารย์อุตมะจึงบอกว่า “ถ้าชอบภาวนาอย่างเดียว เจ้าก็ออกไปอยู่ป่าเสีย” จะด้วยไม่พอใจคำพูดของ “หลวงอา” หรือมีจุดประสงค์อะไรก็ไม่มีใครทราบ หลวงปู่ลุนก็เลยออกไปอยู่ป่า หายตัวไปโดยไม่มีใครทราบว่าไปอยู่วัดใด หรือสำนักของใคร เป็นเวลากว่า ๒๐ ปี จึงได้หวนกลับมาที่วัดสิงหาญอีกครั้งหนึ่ง
54  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / รูปหลวงปู่สำเร็จลุน สายธรรมอุตฺตโมบารมี เมื่อ: 03 กันยายน 2564, 16:29:08
รูปหล่อรุ่นแรก ปี 2564
ปรมาจาย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน

ผู้จัดสร้างโดย สายธรรมอุตฺตโมบารมี

วัตถุประสงค์ เพื่อระดมทุนถวายญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์แห่งบูรพาจารย์สายปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน โดยมีรายการจัดสร้างดังนี้
 1.สร้างถนนคอนกรีตเข้าวัดป่าอุตตฺมะวชิราราม(วัดป่าห้วยน้ำลึก) ตำบลหนองสิม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
 2.สร้างบล็อกแบบทำกำแพง
 3.สร้างที่กรองน้ำดื่มขนาดใหญ่

จำนวนการจัดสร้าง
1.เนื้อทองคำ                 จำนวน   3   องค์
2.เนื้อเงิน                     จำนวน  39  องค์
3.เนื้อทองคำทองขาว       จำนวน  49  องค์
4.เนื้อนวะสัตโลหะ           จำนวน  59  องค์
5.เนื้อทองแดง               จำนวน  99  องค์
6.เนื้อทองทิพย์              จำนวน 299 องค์
7.เนื้อเหล็กเปียกรวมแร่     จำนวน 399 องค์

ใต้ฐานบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์
1.ผงเถ้าอังคารปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน
2.ดินไพรดำของสืบทอดสายธรรมอุตฺตโมบารมี
3.ผงไม้มณีโคตร
4.ผงรูป 77 จังหวัด
5.ผงเหล็กอาถรรพ์ 108 อย่าง
6.ผงว่าน 9,999 ชนิด
7.ผงเหล็กเปียกยอดพระธรตุพนม
8.ผงแร่หิน 108 ชนิด
9.ผงไม้มงคล 108 อย่าง

การก่อตั้งสายธรรมอุตฺตโมบารมี
   จากคำบอกเล่าของหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี การสืบทอดมีมาตั้งแต่สมัย ญาถานอุตฺตมะ อุปัชญาย์สำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็นหลวงอา อดีตเจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๓๙๐ – ๒๔๒๐ ญาถานอุตฺตมะได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านไหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ
   หลังจากนั้นเริ่มมีศิษย์เข้ามาขอเล่าเรียนพระเวทย์อาคม มีทั้งพระและฆราวาส โดยเรียกกันในกลุ่มว่า สายธรรมอุตฺตะอุตฺตโม บ้างท่านก็เลือกเรียนเฉพาะอย่าง เช่น บ้างท่านเลือกธรรมพุทโธ บ้างท่านเลือก ธรรมบรรลุ บ้างท่านเลือกธรรมอะระหัง เป็นต้น แต่ในกลุ่มจะรู้กันดีว่าออกจากสายธรรมอุตฺตะอุตฺตโม
   หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านเล่าว่า ตัวท่านเองได้มาเล่าเรียนในสายธรรมอุตฺตะอุตฺตโมสมัยที่ท่านนั้นยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จึงมีโอกาสได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนอาคมกับหลวงปู่สำเร็จลุน หลวงปู่สำเร็จลุนท่านจึงได้ส่งต่อให้กับสำเร็จตันที่ประสิทธิ์วิชาท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สำเร็จลุนเป็นผู้ชี้แนะสั่งสอน จนได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร หลังจากนั้นก็ตามพากันกราบลาปรมาจารย์แยกออกเดินทางเพื่อปฏิบัติตามป่าเขา
ต่อมาหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้รับการแจ้งข่าวเรื่องการมรณภาพของหลวงปู่สำเร็จลุน ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔ หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้ไปร่วมงานพิธี ช่วยสำเร็จตันและเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์จนเสร็จเรียบร้อย จึงได้กราบลาสำเร็จตันเพื่อเดินทางกับยังวัด  สำเร็จตันจึงได้มอบพระเกษา พระอิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ติดตัว หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จึงข้ามมาฝังไทยแล้วจำพรรษาที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม อ.เขมราฐ จ.อุบล
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมาอาศัยอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม ก็ได้มีเหล่าศิษย์ที่หลวงปู่เคยชี้แนะสั่งสอนพระเวทย์อาคมให้รู้ว่าท่านอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม จึงเดินทางมากราบท่านทุกปี ในแต่ละปีจะเป็นภาพที่มีผู้คนเดินทางมีทำพิธีไหว้ผีทัย ผีเชื่อ ทั้งจาก สปป.ลาว และจากไทย
เริ่มให้ใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมอบว่า ในอนาคตจะมีฆราวาสเข้ามาเล่าเรียนในสายหลวงปู่สำเร็จลุนมากมาย ท่านจึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกให้เหลือแต่คำว่า อุตฺตโม แปลว่า สูงสุด, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, เลิศ เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นผู้มีความเพียรในคำสอน เป็นผู้ยึดคำสอนครูเป็นหลัก ศิษย์ฆราวาสรุ่นต่อมาจึงใช้ชื่อ   สายธรรมอุตฺตโมบารมี สืบทอดต่อมา
จากต้นกำเนิดมาจนถึงปัจจุบันการสืบทอดสายธรรมนี้ก็มีอายุนับร้อยขึ้น สืบทอดกันเป็นรุ่น        ก่อนที่หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จะล้มป่วย ท่านได้มอบพระเกษา พระอิฐิให้กับปู่รินทอง หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอด รุ่นที่ 3  ต่อมาพระเกษา พระอิฐิปรมาจารย์      หลวงปู่สำเร็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทยท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงพระอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่านหรือฟัน บ้างท่านได้ พระเกษาและยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์ ได้กราบบูชาเป็นตัวแทนของปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน และให้ สืบทอดต่อไป

ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่หลวงพ่ออุตตมะ วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี ก่อนท่านมรณะ 15 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 เพราะท่านจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ปีนั้นจะตรงกับวัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำ
เดือนสาม(๓) ปีระกา ที่เริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ เพราะการประกอบพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายธรรมอุตตโมบารมีที่สืบทอดจากตำรา ให้ศิษย์ถือธรรมเนียมปฏิบัติ ในการไหว้ครูแต่ละปี ต้องให้ตรงกับ 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปี

โดยนับจากปี 2405 ถึงปี 2564 มีอายุสืบทอด 159 ปี
...หลวงปู่สว่าง โพธิญาณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1
...หลวงปู่ทา นาควัณโณ   ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
...ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม      ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3
55  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 03 กันยายน 2564, 16:27:32
รูปหล่อรุ่นแรก ปี 2564
ปรมาจาย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน

ผู้จัดสร้างโดย สายธรรมอุตฺตโมบารมี

วัตถุประสงค์ เพื่อระดมทุนถวายญาถานเบิ้ม อุตฺตโม บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์แห่งบูรพาจารย์สายปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน โดยมีรายการจัดสร้างดังนี้
 1.สร้างถนนคอนกรีตเข้าวัดป่าอุตฺตมะวชิราราม(วัดป่าห้วยน้ำลึก) ตำบลหนองสิม อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
 2.สร้างบล็อกแบบทำกำแพง
 3.สร้างที่กรองน้ำดื่มขนาดใหญ่

จำนวนการจัดสร้าง
1.เนื้อทองคำ                 จำนวน   3   องค์
2.เนื้อเงิน                     จำนวน  39  องค์
3.เนื้อทองคำทองขาว       จำนวน  49  องค์
4.เนื้อนวะสัตโลหะ           จำนวน  59  องค์
5.เนื้อทองแดง               จำนวน  99  องค์
6.เนื้อทองทิพย์              จำนวน 299 องค์
7.เนื้อเหล็กเปียกรวมแร่     จำนวน 399 องค์

ใต้ฐานบรรจุมวลสารศักดิ์สิทธิ์
1.ผงเถ้าอังคารปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน
2.ดินไพรดำของสืบทอดสายธรรมอุตฺตโมบารมี
3.ผงไม้มณีโคตร
4.ผงรูป 77 จังหวัด
5.ผงเหล็กอาถรรพ์ 108 อย่าง
6.ผงว่าน 9,999 ชนิด
7.ผงเหล็กเปียกยอดพระธรตุพนม
8.ผงแร่หิน 108 ชนิด
9.ผงไม้มงคล 108 อย่าง

การก่อตั้งสายธรรมอุตฺตโมบารมี
   จากคำบอกเล่าของหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี การสืบทอดมีมาตั้งแต่สมัย ญาถานอุตฺตมะ อุปัชญาย์สำเร็จลุน และมีศักดิ์เป็นหลวงอา อดีตเจ้าอาวาส วัดสิงหาญ ตำบลสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๓๙๐ – ๒๔๒๐ ญาถานอุตฺตมะได้ย้ายมาจาก ฝั่งขวาแม่น้ำโขงไม่ทราบได้ว่าบ้านไหน ได้บวชเป็นพระและได้เดินทางมาบ้านสะพือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษที่บ้านสะพือ
   หลังจากนั้นเริ่มมีศิษย์เข้ามาขอเล่าเรียนพระเวทย์อาคม มีทั้งพระและฆราวาส โดยเรียกกันในกลุ่มว่า สายธรรมอุตฺตะอุตฺตโม บ้างท่านก็เลือกเรียนเฉพาะอย่าง เช่น บ้างท่านเลือกธรรมพุทโธ บ้างท่านเลือก ธรรมบรรลุ บ้างท่านเลือกธรรมอะระหัง เป็นต้น แต่ในกลุ่มจะรู้กันดีว่าออกจากสายธรรมอุตฺตะอุตฺตโม
   หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านเล่าว่า ตัวท่านเองได้มาเล่าเรียนในสายธรรมอุตฺตะอุตฺตโมสมัยที่ท่านนั้นยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
จึงมีโอกาสได้เข้าไปฝากตัวเป็นศิษย์เล่าเรียนอาคมกับหลวงปู่สำเร็จลุน หลวงปู่สำเร็จลุนท่านจึงได้ส่งต่อให้กับสำเร็จตันที่ประสิทธิ์วิชาท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สำเร็จลุนเป็นผู้ชี้แนะสั่งสอน จนได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร หลังจากนั้นก็ตามพากันกราบลาปรมาจารย์แยกออกเดินทางเพื่อปฏิบัติตามป่าเขา
ต่อมาหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้รับการแจ้งข่าวเรื่องการมรณภาพของหลวงปู่สำเร็จลุน ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๖๓ ที่วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน) รวมอายุ ๘๔ ปี พรรษา ๖๔ หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านได้ไปร่วมงานพิธี ช่วยสำเร็จตันและเจ้าบุญอุ้ม ณ จำปาศักดิ์จนเสร็จเรียบร้อย จึงได้กราบลาสำเร็จตันเพื่อเดินทางกับยังวัด  สำเร็จตันจึงได้มอบพระเกษา พระอิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ติดตัว หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จึงข้ามมาฝังไทยแล้วจำพรรษาที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม อ.เขมราฐ จ.อุบล
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมาอาศัยอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม ก็ได้มีเหล่าศิษย์ที่หลวงปู่เคยชี้แนะสั่งสอนพระเวทย์อาคมให้รู้ว่าท่านอยู่ที่วัดบ้านนาหว้านาสนาม จึงเดินทางมากราบท่านทุกปี ในแต่ละปีจะเป็นภาพที่มีผู้คนเดินทางมีทำพิธีไหว้ผีทัย ผีเชื่อ ทั้งจาก สปป.ลาว และจากไทย
เริ่มให้ใช้ชื่อ สายธรรมอุตฺตโมบารมี
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ ท่านมอบว่า ในอนาคตจะมีฆราวาสเข้ามาเล่าเรียนในสายหลวงปู่สำเร็จลุนมากมาย ท่านจึงให้ตัดคำว่า อุตฺตมะ ออกให้เหลือแต่คำว่า อุตฺตโม แปลว่า สูงสุด, ดีที่สุด, ยอดเยี่ยม, เลิศ เป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน เป็นผู้มีความเพียรในคำสอน เป็นผู้ยึดคำสอนครูเป็นหลัก ศิษย์ฆราวาสรุ่นต่อมาจึงใช้ชื่อ   สายธรรมอุตฺตโมบารมี สืบทอดต่อมา
จากต้นกำเนิดมาจนถึงปัจจุบันการสืบทอดสายธรรมนี้ก็มีอายุนับร้อยขึ้น สืบทอดกันเป็นรุ่น        ก่อนที่หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จะล้มป่วย ท่านได้มอบพระเกษา พระอิฐิให้กับปู่รินทอง หัวหน้าโรงเลื่อยบ้านนาสนาม ปู่รินทองคือบิดาของญาถานเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอด รุ่นที่ 3  ต่อมาพระเกษา พระอิฐิปรมาจารย์      หลวงปู่สำเร็จลุน วัดเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงนครจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่ได้รับการส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นจนมาถึงสายธรรมอุตฺตโมบารมี โดยมีหลักฐานพยานบุคคล ไม่ว่าจะเป็นเชื่อสายตรง ชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดเวินไซ หรือศิษย์ที่ข้ามมาไทยท่านได้นำข้ามมายังประเทศไทย บ้างท่านได้แต่ผงพระอัฐิ บ้างท่านได้ เขี้ยวท่านหรือฟัน บ้างท่านได้ พระเกษาและยิ่งมีเกิดความบังเอิญ ท่านที่ได้ครอบครอง ได้แบ่งให้บรมครูสายธรรมอุตฺตโมบารมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นเสาหลักให้ศิษย์ ได้กราบบูชาเป็นตัวแทนของปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน และให้ สืบทอดต่อไป

ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่หลวงพ่ออุตตมะ วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี ก่อนท่านมรณะ 15 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 เพราะท่านจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ปีนั้นจะตรงกับวัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำ
เดือนสาม(๓) ปีระกา ที่เริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ เพราะการประกอบพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายธรรมอุตตโมบารมีที่สืบทอดจากตำรา ให้ศิษย์ถือธรรมเนียมปฏิบัติ ในการไหว้ครูแต่ละปี ต้องให้ตรงกับ 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปี

โดยนับจากปี 2405 ถึงปี 2564 มีอายุสืบทอด 159 ปี
...หลวงปู่สว่าง โพธิญาณ  ผู้สืบทอดรุ่นที่ 1
...หลวงปู่ทา นาควัณโณ   ผู้สืบทอดรุ่นที่ 2
...ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม      ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3

56  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระกรุดอนเจ้าปู่ตา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2564, 23:01:58
หาดูยากมากครับ
57  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: พระกรุดอนเจ้าปู่ตา อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2564, 22:34:56
พระว่านจำปาสักและพระเชียงรุ่ง
สร้างเพื่อแจกให้ทหารโบราณที่มีอายุ 200-300 ปี จากประวัติการสร้างเมืองอุบลราชธานี และสร้างบ้านเมืองเขมราฐ ปัจจุบันหายากมากพระว่านจำปาสักและพระเชียงรุ่ง เพราะพระส่วนใหญ่จะตกอยู่กับตระกูลเก่าที่อยู่ในอำเภอเขมราฐ จึงยากต่อการหา เพราะมีความเชื่อในด้านพุทธคุณอํานาจของพระว่านจําปาศักดิ์และพระเชียงรุ่ง ผลจากการที่นําว่าน ๑๐๘ ชนิดมาสร้างเป็นพระเครื่องทําให้เกิด อํานาจตามธรรมชาติที่ร่ำลือกันมากคือ
๑. คงกระพันเป็นเยี่ยม
๒. กันพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ท่านว่า เมื่อเกิดอาการถูกพิษแมลงสัตว์ กัดต่อยให้นําว่านแช่น้ําแล้ววางแปะบนบริเวณที่ถูกแมลงกัดต่อย ฤทธิ์ว่าน จะดูดซึมพิษนั้นออกมาจากร่างกาย (กาลเวลาผ่านมานับร้อยปีไม่ทราบว่า อํานาจธรรมชาติของว่านจะยังคงเหลืออยู่หรือไม่)
ว่านทั้ง ๑๐๘ ชนิด เป็นพระยาว่าน ๒๐๐-๓๐๐ปีที่ผ่านมา สภาพของพื้นที่นครจําปาศักดิ์เป็นป่าดิบดงดํา ว่านมากมายทั่วไปท่านพระครูขี้หอม เป็นเกจิอาจารย์เชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพร ทั้งศิษย์ของท่านหลายคนเป็นพรานป่าเชี่ยวชาญเรื่องว่านสมุนไพรเช่นกันดังนั้น การแสวงหาว่าน ๑๐๘ ชนิดจึง ไม่ยาก
เมื่อนักรบไทยมาปฏิบัติการครั้งสงครามอินโดจีน ในนครจำปาสัก จึงได้พบกับพระว่านจำปาศักดิ์จำนวนมาก ส่วนหนึ่งนำกลับมายังเมืองไทย นี่จึงเป็นเหตุที่พระว่านจำปาสัก ได้มาปรากฏที่จังหวัดอุบลราชธานี และแผ่ขยายไปทั่วประเทศไทย
สงครามอินโดจีน ไทยร่วมรบเกณฑ์ผู้คนจากอีสานเข้าร่วมในสงครามครั้งนี้มีทั้งภาคเหนือ อีสาน เข้าไปอยู่ในจําปาศักดิ์ได้รับประสบการณ์จากพระว่านจําปาศักดิ์ เมื่อสงครามสงบจึงได้นําพระว่านกลับมาบรรจุในเมืองไทยอีกจํานวนมาก

ประวัติความเป็นมา
ได้กล่าวกันถึงการสืบเชื้อสายจากเจ้านครเชียงรุ้ง แสนหวีฟ้า ของเจ้าปางคำ พระบิดา ของเจ้าพระตา เจ้าพระวอ โดยกล่าวถึง ปี พ.ศ.2228 เกิดวิกฤตทางการเมือง ในนครเชียงรุ้ง เนื่องจาก จีนฮ่อหัวขาว หรือฮ่อธงขาว ยกกำลัง เข้าปล้นเมืองเชียงรุ้ง เจ้านครเชียงรุ้ง ได้แก่ เจ้าอินทกุมาร เจ้านางจันทกุมารี เจ้าปางคำ อพยพไพร่พล จากเมืองเชียงรุ้ง มาขอพึ่งพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช แห่งเวียงจันทน์ ซึ่งเป็น พระประยูรญาติ ทางฝ่ายมารดา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี โปรดให้นำไพร่พลไปตั้งที่ เมืองหนองบัวลุ่มภู เมือง หนองบัวลุ่มภู จึงอยู่ในฐานะ พิเศษ คือไม่ต้อง ส่งส่วย บรรณาการ มีสิทธิสะสม ไพร่พล อย่างเสรีเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับ เวียงจันทน์ มีชื่อว่า "นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน" สันนิษฐานว่า น่าจะมีฐานะ เป็นเมืองลูกหลวง ต่อมา พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ให้ เจ้าอินทกุมาร เสกสมรส กับ พระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ได้โอรส คือ เจ้าคำ หรือเจ้าองค์นก ให้เจ้า นางจันทกุมารี เสกสมรสกับ พระอุปยุวราช ได้โอรส คือ เจ้ากิงกีศราช และ เจ้าอินทโสม ซึ่งต่อมา คือบรรพบุรุษของ เจ้านายหลวงพระบาง ส่วนเจ้าปางคำ ให้เสกสมรสกับ พระราชนัดดา ได้โอรส คือ เจ้าพระตา เจ้าพระวอ สันนิษฐานว่า ทั้งสองท่านเป็นเสนาบดี กรุงศรีสัตนาคนหุต ตั้งแต่สมัย พระไชยเชษฐาธิราชที่ 2 (ชัยวงค์เว้) พระอัยกาของ พระเจ้า สิริบุญสาร การดำรงฐานะเป็น เจ้านายเชื้อสายพระราชวงศ์ ของพระเจ้าวอ พระเจ้าตา เห็นได้จากหลักฐาน หลายประการ อาทิ การที่หนองบัว ลุ่มภู เป็นเมือง ใหญ่ มีไพร่พลมาก ดังปรากฎเมืองหน้าด่านทั้งสี่ คือ เมืองภูเขียว ภูเวียง เมืองผ้าขาว เมืองพันนา และ การที่ เมืองอุบล ดำรง ฐานะเป็น เจ้าประเทศราชเมื่อเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ของพระมหากษัตริย์ ไทย ต่างจากเมืองเขมร ป่าดงอื่นๆ และเมื่อกำเนิด พ.ร.บ. นามสกุล โปรด พระราชทานนามสกุล "ณ อุบล" อันหมายถึง เชื้อสายเจ้านาย อุบลราชธานี แต่โบราณ เมื่อเจ้านายอุบล ถึงแก่อสัญกรรม ก็มี ประเพณี การทำศพแบบนกหัสดีลิงค์ อันสืบมาจากนครเชียงรุ้ง ในเชียงใหม่ ก็ปรากฎการ ทำศพแบบนกหัสดีลิงค์เช่นเดียวกัน
การตั้งเมืองอุบลราชธานี
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บ้านเมือง ค่อนข้างสงบก็ทรงมี นโยบายที่จะ จัดตั้งเมือง ให้มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการรวบรวมไพร่พลให้เป็นปึกแผ่น เพื่อความสงบสุข สมเด็จฯ กรมพระยาดำรง ราชานุภาพได้ทรงกล่าวถึง เรื่องนี้ว่า "…รัชกาล ที่ 1 ถึงรัชการที่ 3 ให้เจ้าเมืองร้าง เที่ยวเกลี้ยกล่อมหา ผู้คนมาเป็นพลเมือง โดย ไม่ต้องใช้อำนาจ อาจทำได้ด้วยยินดีด้วยกัน ทุกฝ่ายก็สำเร็จ ประโยชน์ ถึงความมุ่งหมาย เจ้าเมืองไหนเกลี้ยกล่อมคนมาได้มาก ก็ได้ทรัพย์เศษส่วน และได้ผู้คนสำหรับอาศัยใช้สอยมากขึ้น ก็เต็มใจขวนขวาย ตั้งบ้านเมือง ฝ่ายราษฎรที่ไปเที่ยวหลบลี้ เดือดร้อนลำบากมากอยู่ เมื่อรู้ว่า บ้านเมืองเรียบร้อยอย่างเดิม ก็ยินดีที่จะกลับมา โดยมาก……" คงจะเป็น เพื่อสนองตอบ พระบรมราโชบาย ในการตั้งเมืองดังกล่าวมาแล้ว และเพื่อความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพของ ไพร่บ้านพลเมือง "….ในปี พ.ศ.2329 ( จุลศักราช 1148 ปีมะเมีย นพศก) พระประทุมจึงย้ายครอบครัวไพร่พลมาตั้งอยู่ ณ ตำบลแจระแม ตือตำบล ที่ตั้ง อยู่ทาง ทิศเหนือ เมืองอุบลปัจจุบัน….."
สถาปนาเมืองอุบลราชธานี
พ.ศ.2335 พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) ได้พาพรรคพวกไพร่พลตั้งอยู่ที่ ตำบลห้วยแจระแม (บริเวณบ้าน ท่าบ่อ ในปัจจุบัน) ด้วยความปกติสุขเป็นเวลานานหลายปี จนกระทั่ง พ.ศ.2334 (จุลศักราช 1153 ตรีศก) อ้ายเชียงแก้ว ซึ่งตั้งบ้านอยู่ที่ตำบลเขาโองแขวง เมืองโขง คิดการกบฎ พาพรรคพวก ไพร่พลเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ พระเจ้าองค์หลวง (ไชยกุมาร) เจ้าเมืองซึ่งกำลังป่วยอยู่ก็มี อาการป่วยทรุดหนัก และถึงแก่พิราลัย อ้ายเชียงแก้วจึงยึดเมือง นครจำปาศักดิ์ไว้ได้ ความทราบ ถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยานครราชสีมา (ทองอิน) เมื่อครั้งเป็น พระพรหม ยกกระบัตร ยกกองทัพเมืองนครราชสีมามาปราบกบฎอ้ายเชียงแก้ว อย่างไรก็ดีขณะที่กองทัพนครราชสีมายกมาไม่ถึงนั้น พระประทุมสุรราช (ท้าวคำผง) และท้าวฝ่ายหน้า ผู้น้อง ที่ตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) ได้ยกกำลังไปรบอ้ายเชียงแก้วก่อน ทั้งสองฝ่าย ได้สู้รบกันที่บริเวณ แก่งตะนะ (อยู่ในท้องที่ อำเภอโขงเจียม) กองกำลัง อ้ายเชียงแก้วแตกพ่ายไป อ้ายเชียงแก้วถูกจับได้ และถูกประหารชีวิต เมื่อกองทัพ เมืองนครราชสีมายกมาถึงเมืองจำปาศักดิ์ เหตุการณ์ก็สงบเรียบร้อยแล้ว จึงพากันยกกองทัพ ไปตีพวกข่า "ชาติกระเสงสวาง จะรายระแดร์" ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งตะวันออกแม่น้ำโขง จับพวกข่าเป็นเชลย ได้เป็นจำนวนมาก จากความ ดีความชอบในการปราบปรามกบฎอ้ายเชียงแก้วนี้เอง พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช จึงได้ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ท้าวฝ่ายหน้าเป็น พระวิไชยราชขัตติยวงศา ครองนครจำปาศักดิ์ และโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ พระประทุม สุรราช เป็นพระประทุม วรราชสุริยวงศ์ ครอง เมืองอุบลราชธานี พร้อมกับยกฐานะบ้านห้วยแจระแมขึ้นเป็นเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันจันทร์ แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 (พ.ศ.2335) ดังปรากฎ ในพระสุพรรณบัตรตั้ง เจ้าประเทศราชในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่า "….ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้า ผู้ผ่าน พิภพกรุงเทพ มหานครศรีอยุธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม ตั้งให้ พระประทุม เป็นพระประทุมวรราช สุริยวงศ์ ครองเมือง อุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทศราช เศกให้ ณ วัน 2 แรม 13 ค่ำ เดือน 8 จุลศักราช 1154 ปีจัตวาศก..."
ส่วนเมืองเขมราฐในปี พ.ศ.2357 คือปีเดียวกับที่โปรดเกล้าฯ ตั้งเมืองยโสธรนั่นเอง อุปฮาดก่ำ อุปฮาดเมือง อุบลราชธานี ไม่พอใจที่จะทำราชการกับ พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ (ท้าวทิดพรหม) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ 2 (พ.ศ.2338-2388) จึงอพยพ ครอบครัว ไพร่พล ไปตั้งอยู่ที่ บ้านโคกกงพะเนียง พร้อมกับขอพระบรมราชานุญาตตั้งขึ้นเป็นเมือง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านโคกกง พะเนียง เป็นเมือง "เขมราษฎร์ธานี" ขึ้นกรุงเทพฯ พร้องกันนั้นก็ โปรดเกล้าฯ ตั้งอุปฮาดก่ำ เป็นพระเทพวงศ์ศาเจ้าเมือง โดยกำหนดให้ ผูกส่วยน้ำรัก 2 เลกต่อเบี้ย ป่าน 2 ขอด่อ 10 บาท เมือง "เขมราฐษร์ ธานี" ปัจจุบันคืออำเภอ เขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

58  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 05 พฤษภาคม 2564, 15:08:16
ประวัติการสืบทอด
ครูธรรมใหญ่สายธรรมอุตตโมบารมี ปี 2564 ครั้งที่ 159

จากคำบอกเล่าจากปากท่าน และชาวบ้าน
หลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ วัดสนามชัย บ.นาหว้าน้อย อ.เขมราฐ จ.อุบลฯ เกิดปี 2472 ศิษย์ผู้เป็นพี่ของหลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร เจ้าอาวาสวัดบุ่งขี้เหล็ก อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
...หลวงปู่สว่างได้เล่าให้ลูกหลานฟังว่า สมัยนั้นท่านยังไม่ข้ามมาฝังไทย ยังธุดงปฏิบัติกรรมฐานตามป่าเขาในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
เล่าเรียนอาคมสายปู่สมเด็จลุน จึงมีโอกาสได้เจอกับศิษย์ผู้น้อง คือ หลวงปู่จันทร์หอม สุภาทโร ต่อมาท่านปรมาจารย์ใหญ่ท่านอาจารย์สมเด็จตันที่ประสิทธิ์วิชา
ท่านเป็นเคยอุปถากหลวงปู่สมเด็จลุน จึงได้แบ่งเกษา อิฐิ บ้างส่วนให้หลวงปู่สว่างติดตัว ต่อมาหลวงปู่ท่านได้เดินทางข้ามมาฝั่งประเทศไทยในปี พ.ศ.2513 มาอยู่ที่วัดสนามชัย หลังจากนั้นไม่นานเกิดปัญหาภายในประเทศลาวเมื่อ พ.ศ.2518 พี่น้องทางประเทศลาวจึงข้ามมาฝังไทยเป็นจำนวนมาก
ความเป็นมาพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายอุตฺตมะอุตฺตโม ในทุกปีจะมีการทำพิธีกรรมไหว้ผีไท้หรือผีเชื่อสาย พร้อมกับพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่ที่ต้องจัดขึ้นทุกปี หลวงปู่เล่าว่า หลวงปู่สำเร็จต้นบอกกับท่านว่า พิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่เท่าที่ท่านจำได้ว่า น่าจะเริ่มมีการจัดในสมัยที่หลวงพ่ออุตตมะ วัดสิงหาร จ.อุบลราชธานี ก่อนท่านมรณะ 15 ปี ก็จะอยู่ในช่วงปี พ.ศ.2405 เพราะท่านจำได้ว่าตรงกับวันสำคัญ คือ วันพระราชสมภพ เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 9 แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) ซึ่งเป็นองค์สุดท้ายแห่งนครเชียงใหม่ พ.ศ.2405 จะอยู่ในช่วงนี้ ปีนั้นจะตรงกับวัน อาทิตย์ ที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2405 ขึ้น ๓ ค่ำ
เดือนสาม(๓) ปีระกา ที่เริ่มมีการทำพิธีไหว้ครูธรรมใหญ่อย่างเป็นทางการ เพราะการประกอบพิธีกรรมไหว้ครูธรรมใหญ่สายธรรมอุตตโมบารมีที่สืบทอดจากตำรา ให้ศิษย์ถือธรรมเนียมปฏิบัติ ในการไหว้ครูแต่ละปี ต้องให้ตรงกับ 3 ค่ำ เดือนสาม ของทุกปี
จนมาถึงสมัยหลวงปู่สว่าง โพธิญาโณ จึงเริ่มมีการสืบทอด ตั้งผู้ดูแลคณะครูธรรมทั้งฝ่ายพระสงฆ์ และฝ่ายฆราวาส ให้สืบทอดตำรา พิธีกรรมโบราณให้คงอยู่ ไม่ให้สูญหาย
59  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 25 เมษายน 2564, 13:05:22
เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่นบารมีทาน 2564

เพื่อบุคคลที่เปราะบางทางสังคม ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา10 จังหวัดอุบลราชธานี
สั่งสมบุญด้วยกัน ทำบุญให้ตัวท่านเอง ทำบุญให้บิดามารดา ปู่ย่าตายาย เจ้ากรรมนายเวรก็ดี ขอให้ผลบุญไปถึงบุคคลเหล่านั้นด้วยเทอญ

กองบุญละ 199 บาท(จัดสร้าง จำนวน 5,000 เหรียญ)
รับเหรียญหลวงปู่ทวด เนื้อทองแดงรมดำโบราณ  1 องค์
กองบุญละ 2,999 บาท   (จัดสร้าง จำนวน 108 ชุด)
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อเงิน 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อนวะ 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองทิพย์ 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองแดง 1 เหรียญ
กองบุญละ 2,999 บาท   (จัดสร้าง จำนวน 499 ชุด)
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองคำขาวลงยา 3 สี 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อนวะ 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองทิพย์ 1 เหรียญ
รับเหรียญหลวงปู่ทวดเนื้อทองแดง 1 เหรียญ
และขอเชิญร่วมทำบุญมหากุศล สมทบทุนสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนเเก่เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส

เนื่องด้วยศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี เป็นสถานศึกษา จัดการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อมของคนพิการ  รวมทั้งสนับสนุนการเรียนการสอน การจัดสื่อเทคโนโลยี สิ่งอำนวยความสะดวก บริการและความช่วยเหลืออื่นใด  ตามที่กำหนดในประกาศกระทรวง
ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี   ได้ขยายเขตพื้นที่การให้บริการเป็น หน่วยบริการทางการศึกษา ทั้ง 25 อำเภอ
เนื่องจากเด็กพิการส่วนใหญ่ กระจายอยู่ตามอําเภอ ตําบล หมู่บ้านและชุมชนเป็นจํานวนมาก และยังขาดโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐในทุกด้าน โดยเฉพาะ ด้านการศึกษา และเด็กพิการส่วนใหญ่ อยู่ในพื้นที่ชนบท ห่างไกลจากตัวเมือง ยากลำบากในการเดินทางมารับบริการ และไม่สะดวก อีกทั้งผู้ปกครองไม่สามารถนำเด็กพิการมารับบริการที่ศูนย์ฯ ได้ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการมารับบริการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี จึงได้ขยายพื้นที่การให้บริการ เพื่อจัดตั้งหน่วยบริการทางการศึกษาของศูนย์การศึกษาพิเศษขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานีได้ดำเนินการแล้วอยู่นั้น สภาพอาคารเรียนเก่าทรุดโทรด และบางเเห่งยังไม่มีอาคารเรียน  ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี ยังขาดจตุปัจจัย ในการสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนเเก่เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส จึงขอเชิญทุกท่าน ร่วมทำบุญ เป็นเจ้าภาพในสร้างและปรับปรุงอาคารเรียนเเก่เด็กพิการและเด็กด้อยโอกาส ดังกล่าว

ขณะนี้ยังขาดปัจจัยในการดำเนินการอีกจำนวนมาก

วาระการประกอบพิธี
วาระที่ 1 พิธีบวงสรวงเบิกฤกษ์โลหะที่ใช่ในสร้างเหรียญหลวงปู่ทวด ณ พระธาตุพนม เมื่อวันที่ 9 ‎กันยายน ‎2563 โดยคณะครูธรรมสายธรรมอุตฺตโมบารมี

วาระที่ 2 พิธีปลุกเสกโลหะที่ใช่ในสร้างเหรียญหลวงปู่ทวดที่ตัวพระธาตุพนม โดยหลวงปู่ยักษ์ โคษะกะ วัดภูตากแดด อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร เมื่อวันที่ 11 ‎กันยายน ‎2563

วาระที่ 3 พิธีกรรมหลอมเหล็ก หรือพิธีกรรมขอขมาอาถรรพ์ในตัวเหล็ก
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2563
ฤกษ์เวลา วันเสาร์ 06.00 ถึง 08:29 น.ในวันอาทิตย์
ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีชวด จุลศักราช ๑๓๘๒
คริสตศักราช 2020 , มหาศักราช 1942 , รัตนโกสินทรศก 239
อธิกสุรทิน ปกติมาส อธิกวาร , โสรวาร(ส) กัตติกมาส โทศก
โดยคณะครูธรรมสายธรรมอุตฺตโมบารมี

วาระที่ 4 พิธีอัญเชิญเทพยดามาเป็นสักขีพยานล้างเหรียญหลวงปู่ทวดให้เกิดความบริสุทธิ์ เมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2564
ตรงกับวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
อาทิจวาร(อ) มาฆมาส โทศก จ.ศ. 1382 , ค.ศ. 2021 , ม.ศ. 1942 , ร.ศ. 239
สุริยคติ เป็น ปกติสุรทิน , จันทรคติ เป็น อธิกมาส ปกติวาร
ณ วิหารครูธรรมสายธรรมอุตฺตโมบารมี

วาระที่ 5 พิธีปลุกเสกเดี่ยว จำนวน 7 ศีล โดยหลวงปู่ทา นาควัณโณ วัดศรีสว่างนาราม อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี บูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน ศิษย์รุ่นสุดท้ายแห่งหลวงปู่ญาถ่านตู๋
วันอังคารที่ 29 ธันวาคม 2563 ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีชวด
วันพุธที่ 6 มกราคม 2564 แรม ๘ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีชวด
วันพุธที่ 13 มกราคม 2564แรม ๑๕ ค่ำ เดือนยี่(๒) ปีชวด
วันพฤหัสบดีที่ 21 มกราคม 2564ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม 2564ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564แรม ๘ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564แรม ๑๔ ค่ำ เดือนสาม(๓) ปีชวด

วาระที่ 6 พิธีปลุกเสกเดี่ยว จำนวน 7 ศีล โดยญาถานเบิ้ม อุตฺตโม วัดวังม่วง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี บูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 แห่งสายธรรมอุตฺตโมบารมี
วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2564ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2564แรม ๘ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันเสาร์ที่ 13 มีนาคม 2564แรม ๑๕ ค่ำ เดือนสี่(๔) ปีชวด
วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2564ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
วันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม 2564ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู
วันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564แรม ๘ ค่ำ เดือนห้า(๕) ปีฉลู

วาระที่ 7  พิธีจุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ครั้งที่ 1 ณ วัดวังม่วง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2564 โดยมีคณะสงฆ์จำนวน 108 รูป ร่วมสวดพุทธาภิเษกสัดเปลี่ยนตลอดทั้งคืน

วาระที่ 8 พิธีบวงสรวงเบิกฤกษ์จุดเทียนชัยพุทธาภิเษก ครั้งที่ 2
วันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2564
โดยประธานคณะสงฆ์
รูปที่ 1 ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม
บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี
ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 ศิษย์แห่งบูรพาจารย์หลวงปู่สำเร็จลุน
วัดวังม่วง อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี
รูปที่ 2 (หลวงปู่ยักษ์ โคษะกะ) วัดภูตากแดด อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร
รูปที่ 3 (พระอธิการวิเชียร อนุตฺโร) วัดคำมะโค้ง อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ
รูปที่ 4 (พระอาจารย์คณิน สุนฺทโร)(พระอาจารย์หนุ่ม) วัดดงบัง อ.ลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ
รูปที่ 5 (พระกิตติวงศ์ สุภโร)ผู้ศิษย์ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม

วาระที่ 9 พิธีกรรมตั้งสัจจะบารมีทาน กล่าวคำปวารณาสัจจะอธิษฐาน เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น บารมีทาน เพื่อบุคคลที่เปราะบางทางสังคม ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จังหวัดอุบลราชธานี  เพื่อระดมทุนซ่อมแซมอุปกรณ์การกายภาพอาคารที่ทรุดโทรม เพื่อให้เด็กที่มีความบกพร่องทางด้านต่างๆทั้ง 9 ประเภท ได้รับการบริการอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ณ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อ.ธาตุพนม จ.นครพนม

มวลสารศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้สร้างเหรียญหลวงปู่ทวด
มวลสารหลักมีดังนี้
การใช้เหล็ก 77 อย่าง นำมาผสม ดังนี้
1.เหล็กจากยอดพระเจดีย์มหาธาตุ
2.เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม
3.ตะปูตอกฝาโลงจาก 7 ป่าช้า
4.เหล็กที่เกิดการชำรุดจากอาวุธที่พังในการศึก
5.เหล็กแทงคอวัว
6.เหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด
7.เหล็กหล่อบ่อพระแสง
8.เหล็กที่ใช้สำหรับตรึงโลงศพ
9.หม้อผีตายหง
10.หอกสัมฤทธิ์
11.พระแสงหัก
12.เหล็กสลักประตู
13.เหล็กถ้ำต่างๆ
14.เหล็กกำแพง
15.เหล็กน้ำพี้
16.ธาตุเงิน
17.ธาตุทอง
18.ธาตุทองแดง
19.ผงถ่านไม้ไผ่
20.ผงตะไบพระต่างๆ
21.ยอดปราสาท
22.เหล็กประตูโบสถ์
23.เหล็กประตูวัด
24.เหล็กประตูบ้านคนตายท้องกลม
25.เหล็กประตูบ้านคนผูกคอตาย
26.เหล็กสะพาน
27.เหล็กทางสามแพร่ง
28.เหล็กฟ้าผ่า
29.เหล็กลำกล้องปืนที่ยิงคนตาย
30.ตะปูสังฆวานร
31.บาตรพระเก่า
32.เหล็กน้ำพี้
33.เหล็กน้ำลี้
33.ชนวนทองล้น หล่อพระประทาน
34.เหล็กช่อฟ้าอุโบสถ
35.ยอดปลีฉัตรทองพระธาตุ
36.เหล็กเปียก
37.เหล็กตะแกรงเผาศพ
38.เหล็กดึงคอศพ
39.เหล็กพลิกศพ
40.ตะปูเผาผีตายโหง
41.กำไรสำริด
42.โซ่ตรวนนักโทษอุกฉกรรณ์
43.ปรอทดำ
44.แร่เจ้าน้ำเงิน
45.แร่บริสุทธิ์(สังกะสี)
46.เศษสะเก็ดฟ้าผ่า หรือ(ที่เรียกว่าขวานฟ้าผ่า)
47.ลูกกระสุนปืนที่ยิงคนตาย
48.เหล็กกรงขัง
49.แร่เงินยวง
50.เหล็กแกนเจดีย์
51.เหล็กสมอเรือสำเภาโบราณ
52.กั่นพร้าหัก
53.โซ่ล่ามช้าง
54.ตราชั่งโบราณ
55.ขอบบาตร
56.ตะขอช้าง
57.กรีชทองแดง
58.ผานไถ
59.พญาร้อยคุ้ง
60.เหล็กปอฉ้อ
61.เหล็กฐานเทียนชัย
62.เหล็กไอ้ใบ้
63.เหล็กเที่ยงตรง
64.เหล็กแกะ
65.เหล็กไตรภพ
66.เหล็กลูกปืนใหญ่โบราณ
67.เหล็กหล่อบ่อพระขรรค์
68.เหล็กใบเลื่อย
69.ธาตุทองเหลือง
70.เหล็กเตารีดโบราณ
71.ขวานเหล็กโบราณ
72.กาน้ำชาเหล็กโบราณ
73.ทั่งเหล็กโบราณ
74. กล่องเหล็กโบราณ
75. กุญแจเหล็กโบราณ
76.เหล็กเกราะโบราณ
77.เคี่ยวเกี่ยวข้าวโบราณ
และที่สำคัญยังนำเอาเหรียญเนื้อต่างๆมีผสมดังนี้
1.เหรียญเนื้อนวะ จำนวน 108 เหรียญของคณาจารย์ทั่วประเทศไทย
2. เหรียญเนื้อทองเหลือง จำนวน 108 เหรียญของคณาจารย์ทั่วประเทศไทย
3. เหรียญเนื้อทองแดง จำนวน 108 เหรียญของคณาจารย์ทั่วประเทศไทย
60  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติ พระอาจารย์สมศักดิ์ อุตฺตโม(ญาถ่านเบิ้ม)วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 06 มีนาคม 2564, 14:18:39
มีดหมอมหาศาสตราคม รุ่นแรก ปี2564
 วัตถุประสงค์เพื่อใช้ในงานตัดหวาดลูกนิมิต ในงานฉลองอุโบสถ์ วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

จำนวนการจัดสร้าง มีดังนี้
1.เล่ม 12 นิ้ว มีฐานวาง จำนวน 1 เล่ม
2.เล่ม 9 นิ้ว มีฐานวาง จำนวน 8 เล่ม
3.เล่ม 5 นิ้ว มีฐานวาง จำนวน 20 เล่ม
4.เล่ม 5 นิ้ว ไม่มีฐานวาง จำนวน 150 เล่ม

โดยมีพิธีกรรมการสร้าง ตามแบบโบราณในสายวิชาบูรพาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน ที่สายธรรมอุตฺตโมบารมีได้รับการสืบทอด โดยผ่าน ญาถ่านเบิ้ม อุตฺตโม ผู้สืบทอด รุ่นที่ 3

.....คำว่า “มีดหมอ” คำว่า หมอ ในที่นี้อาจจะมาจากคำว่า “หมอผี” ซึ่งในบรรดาหมอไสยศาสตร์ ทั้งหมอผีจะมีมีดที่ใช้ในการประกอบพิธีทางไสยศาสตร์ แต่เดิมคงจะเรียกกันว่า “มีดหมอผี” แต่เกิดการตัดเอาคำว่าผี หรือคำอื่นเพื่อให้สะดวกแก่การเรียกขานจากคำว่า “มีดหมอผี” จึงกลายมาเป็น “มีดหมอ” หรืออีกในหนึ่งที่มีดหมอหมายถึงตัวแทนครู “มีดครูหมอ” แต่คำว่าครูเป็นอุปสรรคในการออกเสียง จึงถูกลดลงเหลือสองพยางค์ว่า “มีดหมอ”

.....มีดหมอมหาศาสตราคม รุ่นแรก สร้างไว้เป็นเครื่องศาสตราวุธทรงพุทธานุภาพ
ปกป้องคุ้มครองบรรดาลูกศิษย์ลูกหา กล่าวได้ว่าเป็นที่สุดแห่งศาสตร์พระเวทย์พิชัยสงคราม เป็นวิชาชั้นสูงแห่งเครื่องราชกกุธภัณฑ์

.....การสร้างมีดหมอมหาศาสตราคม รุ่นแรก ทั้งแบบที่ใช้เป็นอาวุธและแบบที่ใช้เฉพาะในพิธีกรรมนั้น จะมีขั้นตอนคล้ายๆกัน
จะต่างกันเพียงเรื่องที่จะใช้เป็นอาวุธด้วยหรือไม่เท่านั้น ถ้าจะใช้เป็นอาวุธด้วยก็ต้องพิถีพิถันในการตีใบมีดมากขึ้น

......ตำราการสร้างดาบมหาศาสตราคมต้องลงอักขระเลขยันต์เสกปลุกทุกส่วนของมีด คือ ใบมีด ด้ามมีด ปลอกมีด เมื่อจะทำการสร้างดาบมหาศาสตราคม
ขั้นแรกต้องจัดหาวัสดุโลหะธาตุต่างๆที่ใช้ทำใบมีดจะเป็นสิ่งที่ถือกันว่ามีอาถรรพ์อยู่ในตัว มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ใช้โลหะหลายชนิดประกอบกันแล้วตีเป็นใบมีด
โดยฤกษ์ยามคือสิ่งสำคัญ

......ฤกษ์ยามคือสิ่งสำคัญ โดยแบ่งออกเป็น 5 วาระ ดังนี้
วาระที่ 1 หลอมเหล็ก โดยประกอบพิธีกรรมขอขมาอาถรรพ์ในตัวเหล็ก
ฤกษ์วาระที่ 1 วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2563
ฤกษ์เวลา วันเสาร์ 06.00 ถึง 08:29 น.ในวันอาทิตย์
ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนสิบสอง(๑๒) ปีชวด จุลศักราช ๑๓๘๒
คริสตศักราช 2020 , มหาศักราช 1942 , รัตนโกสินทรศก 239
อธิกสุรทิน ปกติมาส อธิกวาร , โสรวาร(ส) กัตติกมาส โทศก

วาระที่ 2 ตียึดเหล็กให้ยาว
วาระที่ 3 บวงสรวงโลหะ
วาระที่ 4 ขึ้นรูปดาบ โดยประกอบพิธีกรรมขอขมาครู
วาระที่ 5 พุทธาภิเษกพระแสง

......ขั้นแรกต้องจัดหาวัสดุโลหะธาตุต่างๆที่ใช้ทำใบมีดจะเป็นสิ่งที่ถือกันว่ามีอาถรรพ์อยู่ในตัว มีความศักดิ์สิทธิ์อยู่ในตัว ใช้โลหะ 77 อย่างหลอมเข้ากันแล้วตีเป็นใบมีด
การใช้เหล็ก 77 อย่าง นำมาผสม ดังนี้
1.เหล็กจากยอดพระเจดีย์มหาธาตุ
2.เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม
3.ตะปูตอกฝาโลงจาก 7 ป่าช้า
4.เหล็กที่เกิดการชำรุดจากอาวุธที่พังในการศึก
5.เหล็กแทงคอวัว
6.เหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด
7.เหล็กหล่อบ่อพระแสง
8.เหล็กที่ใช้สำหรับตรึงโลงศพ
9.หม้อผีตายหง
10.หอกสัมฤทธิ์
11.พระแสงหัก
12.เหล็กสลักประตู
13.เหล็กถ้ำต่างๆ
14.เหล็กกำแพง
15.เหล็กน้ำพี้
16.ธาตุเงิน
17.ธาตุทอง
18.ธาตุทองแดง
19.ผงถ่านไม้ไผ่
20.ผงตะไบพระต่างๆ
21.ยอดปราสาท
22.เหล็กประตูโบสถ์
23.เหล็กประตูวัด
24.เหล็กประตูบ้านคนตายท้องกลม
25.เหล็กประตูบ้านคนผูกคอตาย
26.เหล็กสะพาน
27.เหล็กทางสามแพร่ง
28.เหล็กฟ้าผ่า
29.เหล็กลำกล้องปืนที่ยิงคนตาย
30.ตะปูสังฆวานร
31.บาตรพระเก่า
32.เหล็กน้ำพี้
33.เหล็กน้ำลี้
33.ชนวนทองล้น หล่อพระประทาน
34.เหล็กช่อฟ้าอุโบสถ
35.ยอดปลีฉัตรทองพระธาตุ
36.เหล็กเปียก
37.เหล็กตะแกรงเผาศพ
38.เหล็กดึงคอศพ
39.เหล็กพลิกศพ
40.ตะปูเผาผีตายโหง
41.กำไรสำริด
42.โซ่ตรวนนักโทษอุกฉกรรณ์
43.ปรอทดำ
44.แร่เจ้าน้ำเงิน
45.แร่บริสุทธิ์(สังกะสี)
46.เศษสะเก็ดฟ้าผ่า หรือ(ที่เรียกว่าขวานฟ้าผ่า)
47.ลูกกระสุนปืนที่ยิงคนตาย
48.เหล็กกรงขัง
49.แร่เงินยวง
50.เหล็กแกนเจดีย์
51.เหล็กสมอเรือสำเภาโบราณ
52.กั่นพร้าหัก
53.โซ่ล่ามช้าง
54.ตราชั่งโบราณ
55.ขอบบาตร
56.ตะขอช้าง
57.กรีชทองแดง
58.ผานไถ
59.พญาร้อยคุ้ง
60.เหล็กปอฉ้อ
61.เหล็กฐานเทียนชัย
62.เหล็กไอ้ใบ้
63.เหล็กเที่ยงตรง
64.เหล็กแกะ
65.เหล็กไตรภพ
66.เหล็กลูกปืนใหญ่โบราณ
67.เหล็กหล่อบ่อพระขรรค์
68.เหล็กใบเลื่อย
69.ธาตุทองเหลือง
70.เหล็กเตารีดโบราณ
71.ขวานเหล็กโบราณ
72.กาน้ำชาเหล็กโบราณ
73.ทั่งเหล็กโบราณ
74. กล่องเหล็กโบราณ
75. กุญแจเหล็กโบราณ
76.เหล็กเกราะโบราณ
77.เคี่ยวเกี่ยวข้าวโบราณ
และบรรจุมวลสารอาถรรพ์ 77 ชนิด

คัมภีร์มหาศาสตราคม หาเหล็กสําหรับทํามีดตามที่ระบุไว้ ในคัมภีร์มหาศาสตราคมมาจนครบถ้วนคือ
เอาเหล็กยอดพระเจดีย์มหาธาตุ ยอดประสาททวารามาประสม
เหล็กขนันผีพรายตายทั้งกลม เหล็กตรึงโลงตรึงปั้นลมสลักเพชร
หอกสําฤทธิ์กริชทองแดงพระแสงหัก เหล็กปฏักสลักประตูตาปูเห็ด
พร้อมเหล็กเบญจพรรณกัลเม็ด เหล็กบ้านพร้อมเสร็จทุกสิ่งแท้
เอาเหล็กไหลเหล็กหล่อบ่อพระแสง เหล็กกําแพงนําพี้ทั้งเหล็กแร่
ทองคําสําฤทธิ์นากอะแจ เงินที่แท้ธาตุเหล็กทองแดงคง
            ยังได้รวมด้วยเหล็กสารพัดบิ่น สารพัดหักอีกร้อยแปดชนิดมาร่วมด้วย เมื่อได้เหล็กมาพร้อมแล้ว จึงตั้งมณฑลพิธีล้อมด้วยราชวัฏฉัตรธงทั้ง๔ มุม ตรงกลางตั้งพิธีดาดด้วยผ้าขาว ลงยันต์เพดานทั้งหน้าหลัง แล้วหาเครื่องกระยาสังเวย สําหรับบูชาเทพยดาอารักษ์และครูบาอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาท อันประกอบด้วยมัจฉะมังษาหาร ๖ ประการ พร้อมเครื่องกระยาบวช ขนมแห้ง ขนมหวานอีกผลไม้ ๙ อย่าง เทียนเงินเทียนทองหนัก ๔ บาท ๑ คู่ เมื่อได้วันดีคือวันเสาร์ขึ้น ๑๕ คํา จึงบูชาครูบาอาจารย์และเทพยดาฟ้าดิน จึงเริ่มพิธีตีดาบขึ้นทันที
            เอาสูบทั่งตั้งไว้ในพิธี เอาถ่านที่ต้องย่างวางในนั้น ช่างเหล็กมีฝีมือลือทั้งกรุง ผ้าขาวนุ่งผ้าขาวห่มดูคมสัน วงสายสิญจ์เศกลงเลขยันต์ คนสําคัญคอยดูซึ่งฤกษ์ดี ครั้นได้พิชัยฤกษ์ราชฤทธิ์ พระอาทิตย์เที่ยงฤกษ์ราชสีห์ ขุนแผนสูบเหล็กให้แดงดี นายช่างตีรีดรูปให้เรียวปลาย ที่ตรงกลางกว้างงามสามนิ้วกึ่ง ยาวหนึ่งศอกกํามาหน้าลูกไก่ เผาชุบสามแดงแทงตะไบ บัดเดี๋ยวใจเกลี้ยงพลันเป็นมันยับแล้ว
ลงกั่นดาบข้างแบน ด้วยคาถาบารมีพระพุทธเจ้าคือ
อายันตุโภนโต อิธะทานะ สีละเนกขัมมะ ปัญญา สะหะวิริยะขันติ
สัจจาธิฎฐานะเมตตุเปกขา ยุทธายะโว คัณหะถะอาวุธานิ
ลงกั่นดาบด้านสัน ด้วยพระคาถาหัวใจพระยาสมาสดังนี้
นานามุสะระ หะระ บัพพะตะคะรุ กะลิงคะระ
สะระธนู คะทาสิโต มาระหัตถา มาระคะนา
เอาทองแดงที่ใช้สําหรับห่อหุ้มกั่นดาบมาลงถมด้วยพระคาถา นวหรคุณ ๑๐๘ คาบ
อะสังวิสุโลปุสะพุภะ
แล้วลงถมด้วยพระคาถาต่างอีก พระคาถาพุทธนิมิตร์ ลงถม ๙ คาบ
พุทธัสสะ อิธิพุทธัสสะ พุทธะนิมิตตัง ปฏิมานะพุทโธ
ธาตุพุทโธ นิมิตตะพุทโธ กายะพุทโธ สูญญะพุทโธ
เอคะตานัง กายะรูปะสูญยัง พุทธะนิมิตตัง อิทธิฤทธิ์พุทธะ
นิมิตตังลงถมอีก ๙ คาบด้วยคาถา
อะสิ สัตติ ธนูเจวะ สัพเพ เต อาวุทธานิ จะ
ภัคคะภัคคา วิจุณณานิ โลมังมาเมนะผุสสันติ
ตามด้วยคาถาพรหมสี่หน้าลงถมอีก ๙ คาบ ว่า
 สหัสสะสีเส ปิเจโปโส สีเสสีเส สะตังมุกขา มุกเข มุกเข
สะตังชิวหา ชีวะกัปโป มหิทธิโก นะสักโกติ จะวัณเณตุง
ตามด้วยคาถาลงถมอีก ๙ คาบ บารมี ๓๐ ทัศน์ ว่า
อิติปารมิตาติงสา อิติสัพพัญญูมาคะตา
อิติโพธิมนุปปัตโต อิติปิโสจะเตนะโม
ลงถมด้วยคาถามงกุฏพระพุทธเจ้า ๙  คาบ ว่า
อิติปิโส วิเสเสอิ อิเสเส พุทธะนาเมอิ
อิเมนาพุทธะตังโสอิอิโสตังพุทธะปิติอิ
และตามด้วยอรหันต์ ๘ ทิศ ๙ คาบ ว่า
                                    อิระชาคะตะระสา ติหังจะโตโรถินัง
                                    ปิสัมระโลปุสัตพุท โสมาณะกะริถาโธ
                                    ภะสัมสัมวิสะเทภะ คะพุทปันทูทัมวะคะ
                                    วาโธโนอะมะมะวา อะวิสุนุสานุติ
 แล้วตามด้วย คาถา ๙ คาบ
พุทธังกันตัง ธัมมังกันตัง สังฆังกันตัง
พุทธังสิทธิ ธัมมังสิทธิ สังฆังสิทธิ
 แล้วลงถมตามด้วยคาถา ๙ คาบ
                                    นะผุด ผัดผิด ปฏิเสวามิ
แล้วจึงลงประทับด้วยคาถานี้อีกครั้งหนึ่งว่า
สัตถาธะนุง อากัตถิตุง ทัตวา วิสัชเชตุง นาทาสิ
( บทนี้เมื่อลงให้ผ่อนลมหายใจออกลงจบเดียว )
กัณหะเนหะ หายใจเข้าพุทธังปัจจุขาด
ธัมมังปัจจุขาด สังฆังปัจจุขาด
( หายใจเข้าออก สลับกันไปทีละบท )
 สําหรับแผ่นทองแดงด้านหลังนั้นลงประทับด้วยพระคาถานี้
 อะระหัง สุคะโต ภะคะวา
ลงถม ๙ คาบแล้วตามด้วย
นะโมพุทธายะ อิติปาระมิตาติงสา โนวะปะตานุภาเวนะ
มาระเสนา อะติกกันตา มาระนิทรา ทัสสะปาระมิตา
ทะมาระนิทรา ปาระชังฆานิทรา ทัสสะปาระมิตา โลหะกันตา
นามะเตนะโม มาตาปิตุพุทธะคุณัง สัพพะสัตรูวิธังเสนตุ
อะเสสะโต เอวังทัสสะวัณโณ ปฏิฐิตัง จักรวาฬะ
สัพพะสัตตานุภาเวนะ มาราโมระอะติกกันตา
ทัสสะพรหมมานุภาเวนะ สัพพะสัตรูวินาสสันติ
เมื่อลงทองแดงห่อกั่นดาบแล้ว จึงเอาเกสร ๑๐๘ และยามุกใหญ่มาบดให้ละเอียด เพื่อบรรจุในด้าม (ยามุกใหญ่คือยาสารพะดอย่าง ) หินซึ่งใช้บดยานั้นลงด้วยพระคาถา มหาโสฬสมงคล ลงถม๙ คาบ ตามด้วยคาถาหัวใจพระธรรมเจ็ดคําภีร์๙ คาบ คาถาพรหมสี่หน้า ๙ คาบ คาถาพุทธนิมิต ๙ คาบคาถาพระเจ้า ๑๖ พระองค์ ๙ คาบคาถาอะระหันต์ ๘ ทิศ ๙ คาบคาถาบารมี ๓๐ ทัศน์ ๙ คาบ คาถาหัวใจสนธิ งะญะนะมะ ๙ คาบ คาถาพระกรณีย์ จะภะกะ๙ คาบ ขณะบดยาให้ภาวนาพระคาถานี้
งะญะนะมะ จะภะกะสะ นะมะพะทะ
อะระหังสุคะโตภะคะวา  อิกะวิติ
อิสวาสุ สุสวาอิ นะโมพุทธายะ
อะสังวิสุโลปุสะพุภะ ปะติลิยะติ
พุทธังสิทธิ ธัมมังสิทธิ สังฆังสิทธิ
จนกว่าจะบดยาเสร็จด้ามมีดให้ใช้ไม้ ชัยพฤกษ์ แกะเป็นรูปท้าวเวสสุวรรณ เขียนคาถาเป็นตัวเลข ลงที่องค์ท่าน
ลงเลข ๓ ตรีนิสิงเหที่ปากท้าวเวสสุวรรณ ว่าด้วยสูตรคือ
                                    มะอะอุตรีนิสิงเห
ลงเลข ๗ ที่ตาทั้งสองของท่านว่าสูตร
                                    สะธะวิปิปะสะอุสัตตะนาเค
ลงเลข ๕ ที่อกของท่านว่า
อาปามะจุปะปัญจะเพชรฉลูกัญเจวะ
ลงเลข ๔ ที่หัวไหล่ทั้งสองของท่านว่า
นะมะพะทะจัตตุเทวา
ลงเลข ๖ ที่ขาทั้งสองของท่านว่า
อิสวาสุฉอวัชชะราชา
ลงเลข ๕ ที่ด้านหลังท่านว่า
ทีมะสังอังขุปัญจะ อินทรานะเมวะจะ
ลงเลข ๑ ที่ตาตุ่มทั้งสองข้างว่า
มิเอกะยักขา
ลงเลข ๙ ที่ศรีษะท่านว่า
อะสังวิสุโลปุสะพุภะนวะเทวา
ลงเลข ๕ ที่แขนซ้ายว่า
                                    สหะชะตะตรีปัญจะพรหมาสะหะบดี
ลงเลข ๕ ที่แขนขวาว่า
                                    นะโมพุทธายะ ปัญจะพุทธานะมามิหัง
ลงเลข ๒ ที่ศอกทั้งสองข้างว่า
                                    พุทโธทะเวราชา
ลงเลข ๘ ที่สะโพกทั้งสองข้างว่า
เสพุเสวะเสตะอะเส อัฏฐะอะระหันตา
ใช้พระคาถาท้าวเวสสุวรรณลงด้ามมีดให้ทั่วว่า
เวสสุวรรโณมหาราชา สัพเพเทวาเสเจวะ
อาฬะวะกาทะโย ปิจะขัคคัง ตาละปัตตัง
ทิสวา สัพเพยักขา ปะลายันติ
เวสสุวรรโณมหาราชา จัตตุโลกะปาลายัสสะสิโน
อิติภูตา มหาภูตา สัพเพยักขาปะลายันติ
ลงกระบองท้าวเวสสุวรรณด้วย
            นะโมพุทธายะ
จบคัมภีร์มหาศาสตราคม
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!