ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:05:50



หัวข้อ: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:05:50
                                                                 สารบัญ
                                                                                                                                                                            
                อัตตโนประวัติ/หลวงปู่เล่าว่า                                                     หน้า     1
                ท่านพระอาจารย์เทสก์กับวัดเจริญสมณกิจ                                               2
                กิจวัตรและจริยวัตรของพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์
                เทสโกวาท
                อนุสรณ์หลวงปู่เทสก์
                วัดหินหมากเป้ง
                วัดสาขาวัดหินหมากเป้ง
                ที่ระลึก
                        - พระนาคปรกนาสีดา
                        - พัดยศปี ๒๙ รุ่นแรก
                        - เข็มกลัดพัดยศลงยา ปี ๓๔ รุ่น ๒                                                 3
                        - ล็อกเก็ต และ รูปถ่าย
                        - ของที่ระลึก
                        - พระบูชา
                    
                                                                                                                                                        


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:07:21
                 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/95802.jpg)                                                        
                                            
                                                 อัตตโนประวัติ/หลวงปู่เล่าว่า

                    เดิมชื่อ   เทสก์ สกุล  เรี่ยวแรง เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน ๒๔๔๕ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น. ปีขาล   ณ บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่  อำเภอบ้านผือ  จังหวัดอุดรธานี  บิดาชื่อ  อุส่าห์  มารดาชื่อ  ครั่ง  อาชีพทำนา  ทั้งสองเป็นกำพร้าพ่อด้วยกันซึ่งได้อพยพมาคนละถิ่น  คือบิดาอพยพมา จากอำเภอด่านซ้าย  จังหวัดเลย  มารดาอพยพมาจากเมืองฝาง  ( บัดนี้เป็นตำบล  ) ขึ้นอำเภอลับแล  จังหวัดอุตรดิตถ์  แล้วได้มาแต่งงานกัน  ณ   ที่บ้านนาสีดา ตั้งหลักฐานทำมาหากินจนกระทั่งบัดนี้   มีบุตรธิดา ร่วมกัน ๑๐ คน คือ
                   นายคำดี เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรม )
                   นางอาน ปราบพล ( ถึงแก่กรรม )
                   ด.ช. แกน เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรมแต่เยาว์ )
                   ด.ญ. ใคร เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรมแต่เยาว์ )
                   นางแนน เชียงทอง ( ถึงแก่กรรม )
                   นายเปลี่ยน เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรม )
                   นางนวล กล้าแข็ง ( ถึงแก่กรรม )
                   พระเกต ขันติโก ( เรี่ยวแรง ) ( มรณภาพ )
                    พระราชนิโรธรังสี ( เทสก์ เทสรังสี )
                   นางธูป ดีมั่น ( ถึงแก่กรรม )

                   เมื่ออายุได้ ๙ ขวบได้เข้าวัดไปเรียนหนังสือไทย แลหนังสือพื้นเมือง ( หนังสือธรรมแลขอม ) กับเพื่อนๆ พระเณรเป็น อันมาก  ที่วัดบ้านนาสีดานี่เอง  โดยพี่ชายคนหัวปีซึ่งยังบวชเป็นพระอยู่เป็นสอนและสอนตามแบบเรียน  ประถม  ก  กา   มูลบท บรรพกิจเราเรียนอยู่สามปีแต่ไม่เก่ง เพราะเราชอบเล่นมากกว่าเรียน   สมัยนั้นโรงเรียนประชาบาลยังขยายไปไม่ทั่วถึง พี่ชายเรา คนนี้แกบวช    แล้วชอบเที่ยวหาประสบการณ์ต่างๆ และจำแม่นเสียด้วย   เมื่อแกไปได้หนังสือไทยมาจึงนำมาสอนพวกเรามี พระเณรแลเด็กมาเรียนด้วยเป็นอันมาก    จนบางคนมาเห็นเข้าถามว่าเป็นโรงเรียนหรือ   พวกเรามิใช่เรียนแต่เฉพาะหนังสือไทยเท่านั้น สวดมนต์ หนังสือธรรม ขอม  พวกเราก็เรียนควบคู่กันไปด้วย เราเรียนอยู่สามปี  จึงได้ออกจากวัดไปเพราะพี่ชายเราลาสิกขา   เพื่อนๆ  นักเรียนของเราโดย มากก็ออกจากวัดไปด้วย เพราะไม่มีใครสอนหนังสือต่อ

                   ถึงแม้เราจะออกจากวัดไปแล้วก็ตาม  ชีวิตของเราคลุกคลีอยู่กับพระเณรในวัดโดยส่วนมาก  เนื่องจากเมื่อพี่ชายของเราสึกออกไปแล้ว   พระที่เป็นสมภารอยู่ที่วัดไม่มี   มีพระอาคันตุกะมาอยู่เป็นครั้งคราว   เราเองต้องเป็นสื่อกลางระหว่างพระกับชาวบ้าน รับใช้เป็นประจำเช้าไปประเคนสำรับ  เย็นตักน้ำกรองน้ำ   เก็บดอกไม้ถวายท่านบูชาพระ พระมามากน้อย อาหารพอไม่พอ เราต้องวิ่งบอกชาวบ้าน เราปฏิบัติอยู่อย่างนี้มาเป็นอาจิณวัตรตลอด ๖ ปี บิดามารดาของเราก็สนับสนุนเราอย่างเต็มที่ ที่เราปฏิบัติพระท่านยิ่งเพิ่มความรักใคร่ให้แก่เรามากขึ้น เมื่อถึงเวลาเห็นเราช้าอยู่  ท่านจะต้องเตือนเสมอ มิใช่แต่บิดามารดาของเราเท่านั้นที่เห็นเราปฏิบัติพระได้เป็นอย่างดี แม้ชาวบ้านก็ดูเหมือนรักแลเอ็นดูเราเป็นพิเศษ จะเห็นได้ใจเมื่อมีกิจอะไรเกี่ยวกับพระกับวัดแล้ว จะต้องตามเรียกหาเราเสมอ  ตอนนี้เรารู้สึกสนใจเรื่องบาปบุญขึ้นมาก  สงสัยแลขัดข้องอะไรมักไถ่ถามบิดาเสมอ  บิดาก็มักจะสนใจเรามากขึ้น ตอนกลางคืนเวลาว่าง  ท่านมักจะสอนให้รู้คติโลกคติธรรมเสมอ เรายังจำคำสอนของท่านไม่ลืม  ท่านสอนว่า  เกิดเป็น ลูกคนชายอย่าได้ตายร่วมเร่ว ( เร่ว คือป่าช้า )  หมายความว่า เกิดเป็นลูกผู้ชายต้องพยายามขวนขวายหาความรู้  วิชานอกบ้านเดิมของตน ถึงแม้จะตายก็อย่าได้มาตายบ้านเกิด  คติของท่านนี้ถูกใจเรานัก   เพราะเรามีนิสัยชอบอย่างนั้นอยู่แล้ว    เมื่อเราถามท่านว่า  ผู้บวชกับผู้ไม่บวชทำบุญ  ใครจะได้บุญมากกว่ากัน  ท่านตอบว่า ผู้บวชทำบุญเท่านิ้วโป้มือ ได้บุญเท่าสองกำปั้น   แล้วท่านกำมือชูให้ดูผู้ไม่บวชทำบุญเท่าสองกำปั้น  ได้บุญเท่าหัวโป้มือ    เราได้ฟังเท่านั้นก็เต็มใจ  ทั้งๆ ที่ยังไม่ทราบคำอธิบายของท่าน  เพราะนิสัยของเราชอบสมณเพศอยู่แล้ว  เรายังจำได้อยู่  เมื่อเราเข้าไปอยู่วัดใหม่ๆ  ไปที่วัดแห่งหนึ่งกับพี่ชาย เห็นสามเณรรูปหนึ่ง  ผู้มีมารยาทดีเข้าแล้ว มันนึกให้เลื่อมใสเจือด้วยความรักมากในสามเณรรูปนั้นเป็นพิเศษ ไม่ว่าแกจะเดินเหินไปมาทำธุรกิจใดๆ อยู่ก็ตาม   สายตาของเราจะต้องจับจ้องส่ายไปตามแกทุกขณะยิ่งเพ่งก็ยิ่งน่ารักเลื่อมใสขึ้นเป็นลำดับเวลากลับมาแล้วภาพอันนั้นก็ยังติดตาเราอยู่เลย  ในใจนึกอยู่อย่างเดียวว่า เมื่อไหร่หนอเราจึงจะได้บวชๆ  อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา

                                                                  พบพระอาจารย์สิงห์
                    เมื่อ   พ.ศ. ๒๔๕๙   พระอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม     กับ  พระอาจารย์คำ      ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ  ได้เดินรุกขมูลไปถึงบ้านนาสีดาเป็นองค์แรก  ทั้ง ๆ ที่พระในวัดนั้นก็มีอยู่  แต่ท่านไปขอพักอยู่ด้วย คล้าย ๆ กับว่าท่านมุ่งจะไปโปรดเราพร้อมด้วยบิดาเราก็ได้  เมื่อท่านทั้งสองไปถึง  เรากับบิดาของเราก็ได้ปฏิบัติท่านด้วยความเคารพและเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง   เพราะเห็นปฏิปทาของท่านผิดแผกจากพระกัมมัฏฐานคณะอื่น ( เมื่อก่อนบิดาของเราเคยปฏิบัติอาจารย์สีทัด ) โดยเฉพาะท่านสอนเราในข้อวัตรต่าง ๆ เช่น  สอนให้รู้จักของที่ควรประเคนและไม่ควรประเคน  ท่าน สอนภาวนา  บริกรรมพุทโธ เป็นอารมณ์  จิตของเรารวมได้เป็นสมาธิ   จนไม่อยากพูดกับคนเลย   เราได้รับรสชาติแห่งความสงบในกัมมัฏฐานภาวนาเริ่มแรกจากโน่นมาไม่ลืมเลย     เมื่อไปเรียนหนังสือเป็นสามเณรอยู่กับหมู่มาก ๆ     เวลากลางคืนอากาศเย็น  สงบดี   เราทำกัมมัฏฐานของเราอยู่คนเดียวหามีใครรู้ไม่
                    ท่านมาพักอยู่ด้วยเราราว ๒ เดือนเศษ  ทีแรกท่านตั้งใจจะอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น  แต่เนื่องด้วยท่านมีเชื้อไข้ป่าอยู่แล้ว พอมาถึงที่นั้นเข้า ไข้ป่าของท่านยิ่งกำเริบขึ้น พอจวนเข้าพรรษาท่านจึงได้ออกไปจำพรรษา ณ ที่วัดร้างบ้านนาบง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ เราก็ได้ตามท่านไปด้วยในพรรษานั้น ท่านเป็นไข้ตลอดพรรษา ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในเวลาว่างท่านยังได้เมตตาสอนหนังสือและอบรมเราบ้างเป็นครั้งคราว จวนออกพรรษาท่านจะมีความรู้สึกภายในของท่านขึ้นอย่างไรก็ไม่ทราบ  ท่านบอกว่า  ออกพรรษาแล้วจะต้องกลับบ้านเดิม  แล้วท่านถามเราว่า เธอจะไปด้วยไหม      ทางไกลและลำบากมากนะ    เราตอบท่านทันทีว่า    ผมไปด้วยนะครับ      ยังอีกไม่กี่วันจะออกพรรษา    เราขออนุญาตท่านกลับบ้านไปลาบิดามารดา   ท่านทั้งสองมีความดีใจมากที่เราจะไปด้วยอาจารย์ รีบเตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้เราเพื่อขอขมาบิดามารดา  ( ธรรมเนียมอันนี้ท่านสอนเราดีนัก  เราหนีจากบ้านไปครั้งก่อน ท่านก็ให้เราทำเช่นนี้เหมือนกัน ) คืนวันนั้นเราขอขมาบิดามารดา แล้วไปขอขมาญาติผู้เฒ่าผู้แก่จนถึงทั่วหมด   เมื่อเราไปหาใครทุกคนพากันร้องไห้เหมือนกับเราจะลาไปตายนั่นแหละ   เราเองก็ใจอ่อนอดน้ำตาร่วงไม่ได้   รุ่งเช้ามารดาและป้าได้ตามมาส่งถึงอาจารย์   พากันนอนค้างคืนหนึ่ง    วันนั้นเป็นวันปวารณาออกพรรษา รุ่งขึ้นฉันจังหันแล้วท่านอาจารย์พาเราออกเดินทางเลย    ตอนนี้ป้าและชาวบ้านที่นั่นพากันมารุมร้องไห้อีก

                    (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/2-69.jpg)

                    พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ
 
                    (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0a8861c8.gif)

                    พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ต่อมาเป็น พระญาณวิศิษย์ฏ์สมิทธิวีราจารย์ (วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

                    (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/2-7.jpg)

                    หลวงพ่อสีทัต

                                       ออกจากบ้านครั้งที่สอง ตามพระอาจารย์สิงห์ไป

                   อาจเป็นประวัติการณ์ของเด็กคนแรกในจำพวกเด็กวัยเดียวกันในแถบนี้ ที่จากบ้านไปสู่ถิ่นทางไกล ทั้งไร้ญาติขาดมิตรอันเป็นที่อบอุ่นอีกด้วย   แล้วก็ดูจะเป็นเด็กคนแรกอีกด้วยที่ออกเดินรุกขมูลติดตามพระกัมมัฏฐานไปอย่างไม่มีความห่วงใยอาลัยทั้งสิ้น       ออกเดินทางจากท่าบ่อลุยน้ำลุยโคลนบุกป่าฝ่าต้นข้าวตามทุ่งนาไปโดยลำดับ เวลาท่านจับไข้ก็ขึ้นนอนบนขนำนาหรือตามร่มไม้ที่ไม่มีน้ำชื้นแฉะ รุ่งเช้าท่านยังอุตส่าห์ออกไปบิณฑบาตมาเลี้ยงเราเลย   เดินทางสามคืนจึงถึงอุดรแล้วพักอยู่วัดมัชฌิมาวาสสิบคืน   จึงได้ออกเดินทางต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร การเดินทางครั้งนี้เราสองคนกับอาจารย์ใช้เวลาเดือนเศษ จึงถึงบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ อันเป็นบ้านโยมแม่ของท่าน ท่านพักอบรมโยมแม่ของท่าน ณ ที่นั้นราวสามเดือน

                                                 บรรพชาเป็นสามเณรแล้วเรียนต่อ

                    ณ ที่นั้น  ท่านให้เราไปบรรพชาที่พระอุปัชฌาย์ลุย  บ้านเค็งใหญ่  เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี   ตอนนี้เราอ่านหนังสือคล่องขึ้นบ้าง เราได้อ่านหนังสือ  ไตรโลกวิตถาร ตอนโลกเสื่อมจนเกิดสัตถันตรกัปป์   ทำให้สลดใจมาก น้ำตาไหลพรากอยู่เป็นเวลาหลายวัน   เวลาฉันอาหารก็ไม่ค่อยจะรู้สึกรสชาติ   ใจมันให้มัวมีแต่คิดถึงความเสื่อมวิบัติของมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย คล้ายๆ จะมีภาพให้เห็นปรากฏในวันสองวันข้างหน้าอย่างนั้นแหละ  แล้วท่านก็พาเราเข้าไปพักอยู่ วัดสุทัศนาราม     ในเมืองอุบลซึ่งเคยเป็นที่พักอยู่เดิมของท่าน      แล้วเราก็ได้เข้าเรียนหนังสือไทยต่อที่  โรงเรียนวัดศรีทอง     ออกพรรษาแล้วท่านปล่อยให้เราอยู่  ณ  ที่นั้นเอง    ส่วนตัวท่านได้ออกเที่ยวรุกขมูลกลับมาทางจังหวัดสกลนครอีก     เพราะในขณะนั้นคณะของท่านอาจารย์มั่นยังเที่ยวอยู่แถวนั้น  คืนก่อนที่จะไปท่านได้ประชุมพระเณร   บอกถึงการที่ท่านจะจากไป  ขณะนั้นเรารู้สึกอาวรณ์ท่านมากถึงกับสะอื้นในที่ประชุมหมู่มาก ๆ นั้นเอง   เรารู้ตัวละอายเพื่อนรีบหนีออกมาข้างนอก   แล้วมาตั้งสติใหม่    มาระลึกได้ถึงเรื่องพระอานนท์ร้องไห้เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร  จิตจึงค่อยคลายความโศกลงบ้าง   แล้วจึงได้เข้าไปในที่ประชุมใหม่ ท่านได้ให้โอวาทด้วยประการต่าง ๆ เรารู้ตัวดีว่าเราอายุมากแล้วเรียนจะไม่ทันเขา ขณะที่เรียนหนังสือไทยอยู่นั้น  เราได้แบ่งเวลาท่องสวดมนต์  ท่องหลักสูตรนักธรรม  เรียนนักธรรมตรีไปด้วย แต่ก็ไม่ได้สอบ   เพราะเจ้าคณะมณฑลท่านมีกำหนดว่า  ผู้อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี  ไม่ให้สอบนักธรรมตรี   ปีที่ ๓   จึงได้สอบนักธรรมตรี      และก็สอบได้ในปีนั้น     แล้วเราท่องบาลีต่อพร้อมกันนี้ก็ท่องปาฏิโมกข์ไปด้วย      เพราะเราชอบปาฏิโมกข์มาก  เราเรียนหนังสือไทยจบแค่ประถมบริบูรณ์ ( เพราะโรงเรียนรัฐบาลมีแค่ประถม ๓ เท่านั้น )  เมื่อเราออกจากโรงเรียนภาษาไทยแล้ว เราก็ตั้งหน้าเรียนบาลี  แต่ในปีการศึกษานั้นบังเอิญพระมหาปิ่น  ปัญญาพโล น้องชายของท่านอาจารย์สิงห์    กลับมาจากกรุงเทพฯ    มาเปิดสอนนักธรรมโทเป็นปฐมฤกษ์ในมณฑลหัวเมืองภาคอีสาน  เราจึงได้สมัครเข้าเรียนด้วย  แต่ทั้งบาลีและนักธรรมโทเราเรียนไม่จบ   เพราะในศกนั้นอาจารย์สิงห์ท่านได้กลับไปจำพรรษา  ณ  ที่วัดสุทัศนารามอีก    ออกพรรษาแล้วท่านได้พาเราพร้อมด้วยมหาปิ่นออกเที่ยวรุกขมูลก่อนสอบไ


                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-80.jpg)

                   วัดสุทัศนาราม

                                               สามเณรได้เป็นเศรษฐีของรัฐบาล

                    นั่นคือ  สามเณรเทสก์    กล่าวคือสมัยนั้นรัฐบาลคิดจะสร้างให้มีเศรษฐีขึ้นในเมืองไทยปีละหนึ่งคน    จึงได้ออกล็อตเตอรี่ปีละครั้ง  ตั้งรางวัลที่หนึ่งให้เจ็ดแสนบาท  พอแก่ฐานะของเศรษฐีเมืองไทยพอดี   เพื่อจะได้ไม่อับอายขายหน้าแก่นานาประเทศเขาบ้าง บังเอิญคืนวันหนึ่งสามเณรเทสก์แกนอนไม่หลับ เพราะแกไปถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งเข้า     แล้วแกก็ลงมือจัดแจงหาที่สร้างอาคารหลังใหญ่โตมโหฬารเป็นบ้านตึกสามชั้น   ตกแต่งด้วยเครื่องเฟอร์นิเจอร์อย่างดีทันสมัย ณ ท่ามกลางย่านการค้า   ให้ลูกน้องขนสรรพสินค้ามาใส่เต็มไปหมด   ตัวแกมีความสุขกายสบายจิต  ไม่คิดอะไรอีกแล้ว  นอนเก้าอี้ยาวทำตาปริบๆ มองดูบรรดาสาวๆ สวยๆ  ที่พากันเร่เข้ามาหาซื้อสินค้าต่าง ๆ ตามชอบใจ  คนไหนชำเลืองตามาดูแกแล้วยิ้ม ๆ  แกก็จะยิ้มตอบอย่างมีความสุข ในชีวิตของแกแต่เกิดมาได้  ๑๘ - ๑๙  ปีนี้แล้วไม่มีความสุขครั้งไหนจะยิ่งใหญ่ไปกว่าความสุขครั้งนี้เลย     แกได้ตำแหน่งเศรษฐีตามความประสงค์ของรัฐบาลแล้วในพริบตาเดียว ทั้ง ๆ ที่อะไร ๆ ของแกก็ยังไม่มีเสียด้วย แต่อนิจจาเอ๋ยความเป็นเศรษฐีของแกมาพลันเสื่อมสูญไปจากจิตใจของแกอย่างน่า เสียดาย เพราะแกมาสำนึกรู้สึกตนเอาตอนดึกอันเป็นเวลาพักผ่อนหลับนอนเสียแล้วว่า   เอ๊ะ   นี่อะไรกันล็อตเตอรี่ก็ยังไม่ทันจะออก   แล้วยังไม่ทันจะซื้อเสียอีกด้วย  ทำจึงมาเป็นเศรษฐีกันเสียแล้วนี่   เรานี่ชักจะบ้าเสียแล้วกระมัง   คืนวันนั้นแกเกิดความละอายแก่ใจตนเองอย่างพูดไม่ถูกเสียเลย   นี่หากมีท่านผู้รู้มารู้เรื่องของเราเข้าจะว่าอย่างไรกันนี่   แล้วแกก็นอนหลับพักผ่อนไปจนสว่าง  พอตื่นเช้ามาแกยังมีความรู้สึกละอายแก่ใจตนเองอยู่เลย  โดยที่เรื่องนั้นแกก็มิได้เล่าให้ใครฟัง
                   เศรษฐีอย่างนี้ใครๆ   ก็สามารถจะเป็นได้  มิใช่แต่สามเณรเทสก์คนเดียว  แต่ที่ข้าพเจ้าเรียกแกว่าเป็นเศรษฐีนั้น   เพียงแต่แกมโนภาพสมบัติอันเหลือหลายอย่างเดียว  แต่รู้จักพอ  ยังดีกว่าผู้ที่มีทั้งมโนภาพสมบัติและวัตถุสมบัติ  แต่ไม่มีความพอแล้วเป็นทุกข์เดือดร้อน  มันจะมีประโยชน์อันใดแก่เขาผู้นั้นเล่า ความมีหรือจนอยู่ที่มีความสุขนั้นต่างหาก หาใช่เพราะมีของมากเหลือหลายไม่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า  ความพอใจของตนที่มีอยู่แล้วนั้นแลเป็นทรัพย์อันมีค่ามาก  เราเลื่อมใสในธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว  จึงได้มาบวชแล้วปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์  เห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ลงไปที่ถุงทรัพย์ให้พระอานนท์ดูว่า  นั่นอานนท์  ของมีพิษมิใช่จะเป็นพิษแต่แก่สมณะผู้เข้าไปเกี่ยวข้องเท่านั้นก็หาไม่  ถึงแม้คฤหัสถ์ก็ทำให้เกิดพิษได้เหมือนกันถ้านำมาใช้ไม่ถูกต้องตามหน้าที่ของ มัน แต่ก็เป็นการจำเป็นที่จะต้องมี  เพราะภาวะความเป็นอยู่ผิดแผกแตกต่างจากสมณะ ยิ่งกว่านั้น หากผู้มีทรัพย์แล้วแต่ใช้ทรัพย์นั้นไม่เป็น ก็ไม่ผิดอะไรกับบุคคลผู้ถือดุ้นฟืนที่มีไฟติดข้างหนึ่ง ไฟจะต้องลามมาไหม้มือจนได้          เราบรรพชาได้  ๕ พรรษา  จึงได้อุปสมบทเป็นพระ  นับว่าได้เปรียบเขามากในด้านอยู่วัดนาน  แก่วัด รู้จักเรื่องของวัดได้ดีกว่าพระที่บวชรุ่นเดียวกันแล้ว เราได้เปรียบด้านสวดมนต์และได้พระปาฏิโมกข์เป็นต้น

                                              อุปสมบท ณ วัดสุทัศนาราม
                     เมื่ออายุของเราย่างเข้า  ๒๒  ปี เราได้ อุปสมบทที่พัทธสีมา ณ วัดสุทัศน์  นั่นเอง โดย พระ มหารัฐ รัฏฐปาโล   เป็นพระอุปัชฌาย์  พระมหาปิ่น ปัญญาพโล    เป็นกรรมวาจาจารย์   เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖   ตรงกับ    ค่ำ  เวลา ๑๑.๔๘ น.   ปีนี้ท่านอาจารย์สิงห์  ขันตยาคโม  พระอาจารย์ของเราได้พาคณะรวม ๖ องค์  คือ  พระ ๔ องค์ สามเณร ๒ องค์  มาจำพรรษาที่วัดสุทัศน์ นับว่าเป็นปฐมฤกษ์ที่พระกัมมัฏฐานจำพรรษาในเมืองอุบลครั้งแรก     เหตุที่ท่านจะกลับมาจำพรรษาที่อุบลก็เนื่องได้ข่าวว่า    พระมหาปิ่น  (น้องชายท่าน)  กลับจากกรุงเทพฯมาอยู่  ณ  ที่นั่นท่านตั้งใจจะมาเอาน้องชายของท่านออกเที่ยวรุกขมูลด้วย   เมื่อก่อนที่ท่านมหาปิ่นจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯท่านปฏิญาณกับท่าน อาจารย์มั่นไว้ว่า   ผมไปเรียนหนังสือเสียก่อน แล้วจะออกไปปฏิบัติตามหลัง  ท่านอาจารย์สิงห์พอได้ทราบข่าวว่าน้องชายมาแล้วก็ดีใจจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดสุทัศนาราม   ออกพรรษาหมดเขตกฐินแล้ว  ท่านอาจารย์สิงห์ได้พาพวกเราเป็นคณะใหญ่ออกเดินธุดงค์  การออกเดินธุดงค์ครั้งนี้ผู้ที่ออกใหม่นอกจากพระมหาปิ่นกับเราแล้ว   ยังมีพระคำพวย  พระทอน   และสามเณรอีก  ๒ รูป   รวมทั้งหมดแล้ว ๑๒ รูปด้วยกัน  ( พระ มหาปิ่นปัญญาพโล ป.ธ.๕  นับว่าเป็นพระมหาองค์แรกในเมืองไทยที่ออกธุดงค์ในยุคนั้น     ในหมู่พระเปรียญโดยมากเขาถือกันว่าการออกธุดงค์เป็นเรื่องขายขี้หน้า    การออกธุดงค์ของเราครั้งนี้ถ้าไม่ได้ท่านอาจารย์สิงห์เป็นผู้นำแล้ว  เราคงไม่ได้ออกธุดงค์ เมื่อเราหนีมาแล้วท่านพระอุปัชฌาย์ท่านต้องสวดปาฏิโมกข์เอง)


                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-77.jpg)

                      พระมหารัฐ รัฏฐปาโล

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/c7aec403.jpg)

                      พระมหาปิ่น ปัญญาพโล

                                                  เราพึ่งรู้จักรสชาติของความอาลัยครั้งแรก

                      เราได้ไปอยู่วัดสุทัศน์ อุบล เป็นเวลา ๖ ปีเต็ม โดยที่ปราศจากญาติมิตรและคนสนิทมาก่อน  เมื่ออยู่ต่อมาได้มีคนเอาลูกหลานมาฝากให้เป็นศิษย์อยู่ด้วย รวม ๔ คนด้วยกัน คือ เป็นสามเณร ๒ เป็นเด็ก ๒ เขาเหล่านั้นได้อยู่ด้วยเรามาแต่เมื่อครั้งเรายังเป็นเณรอยู่ จนกระทั่งเราได้อุปสมบทเป็นพระทั้งเราและเขาถือกันอย่างพ่อกับลูก   พอตอนเราจะจากเขาไปเขาพากันร้องไห้อาลัยเรา   เราก็แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เหมือนกัน   แต่เราเป็นอาจารย์เราจะร้องไห้ก็ละอายเขา จึงกัดฟันอดกลั้นไม่แสดงความอาลัยออกมา แต่ถึงกระนั้นมันก็ทำให้เสียงเครือไปเหมือนกัน   ตอนนี้ไม่สู้กระไรนัก   พอออกเดินทางไปแล้วนั่นซี มันทำให้เราซึมเซ่อไปเป็นเวลานานทีเดียว จะเดิน ยืน นั่ง นอน แม้แต่พูดและฉันอยู่ก็ตาม ใจมันละห้อยอาลัยคิดถึงเขาว่าเขาจะอยู่อย่างไร กินอะไร อดอิ่มอย่างไร แล้วใครจะมาสั่งสอนเขา หรือจะมีใครมากดขี่ข่มเหงเบียดเบียนเขาอย่างไร ความกลุ้มใจอย่างนี้ยังไม่เคยมีมาเลยในชีวิตของเราครั้งนี้เป็นครั้งแรก
                      เรา จึงได้ทบทวนคิดค้นไปมาว่า   เขาเหล่านั้นก็มิใช่ลูกหลานว่านเครือของเรา   เป็นแต่เขามาอยู่อาศัยเราเท่านั้น   อนึ่งเราก็ได้อบรมเขาและคุ้มครองเขาเป็นอย่างดีที่สุดแล้ว   เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ทำไมจึงอาลัยอาวรณ์ถึงเขาหนักหนา มาตอนนี้มันให้ระลึกถึงผู้ที่มีบุตรมีภรรยาว่า โอ้โฮ หากเป็นบุตรที่เกิดโดยสายเลือดของเราแล้ว ความอาลัยมันจะหนักขนาดไหน เราเห็นโทษในความอาลัยในครั้งนี้ มันซาบซึ้งเข้าไปตรึงหัวใจของเราไม่มีวันหายเลย มนุษย์เรานี้ไม่มีผิดอะไรกับลูกลิง   ซึ่งปราศจากแม่แล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียวไม่ได้   มันทำให้เรากลัวความอาลัยจนแทบพูดไม่ถูกเอาเสียเลย ความอาลัยเป็นทุกข์ทั้งที่มีอยู่และพลัดพรากจากกันไป ทำอย่างไรคนเราจึงจะทำให้เป็นอิสระในตัวของตนเองได้เล่า

                                                ออกจากอุบลเป็นคณะเที่ยวรุกขมูล

                      คณะของเราพระ ๘ สามเณร ๔ รวมเป็น ๑๒ รูป  โดยพระอาจารย์สิงห์เป็นหัวหน้า   ได้เดินทางออกจากเมืองอุบลในระหว่างเดือน ๑๒ ได้พักแรมมาโดยลำดับ จนถึงบ้านหัวตะพาน หยุดพักที่นั่นนานพอควร แล้วย้ายไปพักที่บ้านหัวงัว เตรียมเครื่องบริขารพร้อมแล้ว จึงได้ออกเดินรุกขมูลต่อไป
                     การออกเดินรุกขมูลครั้งนี้   ถึงแม้จะไม่ได้วิเวกเท่าที่ควร   เพราะเดินด้วยกันเป็นคณะใหญ่ แต่ก็ได้รับรสชาติของการออกเที่ยวรุกขมูลพอน่าดูเหมือนกัน กล่าวคือ  คืนวันหนึ่งพอจัดที่พักแขวนกลดกางกลดตกมุ้งไหว้พระสวดมนต์เรียบร้อยแล้ว  ฝนตกเทลงมาพร้อมด้วยลมพายุอย่างแรงนอนไม่ได้  นั่งอยู่น้ำยังท่วมก้นเลย  พากันหอบเครื่องบริขารหนี้เข้าไปอาศัยวัดบ้านเขา  แถมยังหลงทางเข้าบ้านไม่ถูก เดินวกไปเวียนมาใกล้ๆ ริมบ้านนั้นตั้งหลายชั่วโมง  พอดีถึงวัด
                     ณ ที่นั้นมีโยมเข้าไปนอนอยู่ก่อน  คือโยมที่เขาเดินทางมาด้วย ๖ คน  เขามีธุระการค้าของเขา แต่เขาเห็นก้อนเมฆในตอนเย็น  เขาบอกว่าพวกผมไม่นอนละ  จะเข้าไปพักในบ้านพอพวกเราไปถึงเข้า เขาจึงช่วยจัดหาที่นอนตามมีตามได้หมอนเสื่ออะไรก็ไม่มีทั้งนั้น แล้วจึงรีบกลับไปรับอาจารย์กับพวกเพื่อนอีก ๗ - ๘ รูป พอถึงเก็บบริขารเรียบร้อยแล้วก็นอนเฉยๆ ไปอย่างนั้น  เพราะกุฏิก็เปียกไปหมดทั่วทั้งห้อง   เสื่อหมอนก็ไม่มีเพราะเป็นวัดร้าง  แต่เมื่อความเหนื่อยเพลียมาถึงเข้าแล้วก็นอนหลับได้ชั่วครู่หนึ่งทั้ง ๆ ที่นอนเปียก ๆ อยู่นั่นเอง แถมรุ่งเช้าบิณฑบาตก็ไม่ได้อาหาร   ได้กล้วยน้ำว่ากับข้าวสุก  ฉันข้าวกับกล้วยคนละใบ  แล้วก็ออกเดินทางต่อ  ท่านอาจารย์พาพวกเราบุกป่าฝ่าดงมาทางร้อยเอ็ด   กาฬสินธุ์   ผ่านดงลิงมาออกอำเภอสหัสขันธ์   เข้าเขตกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่ได้เข้าในเมือง  เว้นไปพักอยู่บ้านเชียงพิณตะวันตกของอุดร  เพื่อรอการมาจากกรุงเทพฯ ของเจ้าคณะมณฑล การที่ท่านให้พวกเรามารออยู่ที่อุดรครั้งนี้ ท่านมีจุดประสงค์อยากให้พระมหาปิ่นมาประจำอยู่ที่อุดร เพราะที่อุดรยังไม่มีคณะธรรมยุต แต่ที่ไหนได้ เมื่อเจ้าคณะมณฑลมาจากกรุงเทพฯ ครั้งนี้ พระยาราชนุกูล ( ทีหลังเป็นพระยามุขมนตรี) ได้นิมนต์พระมหาจูมพันธุโล ( ภายหลังเป็นพระธรรมเจดีย์ ) มาพร้อมเพื่อจะให้มาอยู่ที่วัดโพธิสมภรณ์ที่อุดร ฉะนั้นเมื่อเจ้าคณะมณฑลมาถึงแล้วพวกเราจึงไปกราบนมัสการท่าน ท่านจึงได้เปลี่ยนโปรแกรมใหม่ จะเอาพระมหาปิ่นไปไว้สกลนคร แล้วจะให้เราอยู่ด้วยพระมหาจูม   เพราะทางนี้ก็ไม่มีใครและเธอก็คนทางเดียวกัน อนึ่งเธอก็ได้เรียนมาบ้างแล้วจงอยู่บริหารหมู่คน ช่วยดูแลกิจการคณะสงฆ์ด้วยกัน เราได้ถือโอกาสกราบเรียนท่านว่า กระผมขอออกปฏิบัติเพื่อฉลองพระเดชพระคุณ เพราะผู้ปฏิบัติมีน้อยหายาก   ส่วนพระปริยัติและผู้บริหารมีมากพอจะหาได้ไม่ยากนัก   ท่านก็อนุญาตแล้วแนะให้เราอยู่ช่วยพระมหาปิ่น

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/64602-1.jpg)

                      พระมหาจูม ( จูม พันธุโล/ พระธรรมเจดีย์)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/2-71.jpg)

              
                      หลวงปู่เสาร์
  
                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/3f6d6f5b.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/23f13496.jpg)

                       ท่านพระอาจารย์มั่น    

                          


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:07:45
                                              พรรษา ๒ จำพรรษาบ้านหนองลาด ( พ.ศ. ๒๔๖๗ )

                      ก่อนเข้าพรรษาเราได้พระกลมชาวจังหวัดเลยเป็นกัลยาณมิตรดีมาก   ขึ้นไปทำความเพียรที่ถ้ำพวง บนภูเหล็กสองครั้ง  ครั้งที่หนึ่งสี่คืน  ครั้งที่สองหกคืน   โดยมีผู้ใหญ่บ้านอ่อนสี   ( ภายหลังเป็นกำนันขุนประจักษ์ แล้วบวชพระ มรณภาพในเพศสมณะนั้นเอง ) ได้ส่งคนให้ขึ้นไปจัดอาหารถวายเป็นประจำ   เราได้จารึกพระคุณของแกไว้ในใจไม่รู้หายเลยจนกระทั่งบัดนี้         ผู้ใหญ่บ้านคนนี้ท่านอาจารย์มั่นทักว่าเป็นคนฉลาดแคล่วคล่องทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นด้านคำพูดปฏิภาณโต้ตอบและการงานตลอดถึงการสังคม ทันกับเหตุการณ์แลสมัยทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับฝ่ายพระแล้วยกให้แกเลย ไม่ว่าจะต้องการอะไร ไม่ถึงกับพูดตรง ๆ ดอก พอปรารภเท่านั้นแกจัดการให้เรียบร้อยเลย พวกเราได้สัปปายะครบทั้งสี่แล้วก็เริ่มประกอบความเพียรอย่างสุดเหวี่ยง ยิ่งทำความเพียรก็ยิ่งระลึกถึงคุณของผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านเป็นกำลัง   อาหารพริกแห้งผงกับข้าวเหนียววันละหนึ่งก้อนเท่าผลมะตูม  เราอยู่ได้พอทำความเพียรไม่ตาย  เมื่อเราลดอาหารแต่มาเพิ่มความเพียร  กายเราเบา สติเราดี สมาธิเราก็ไม่ยาก เราปรารภความเพียรมาก สติของเราก็ดีขึ้นแลมั่นคงดี  เราหัดสติอยู่  ณ  ที่นั้นเอาให้สม่ำเสมอตลอดทั้งกลางวันกลางคืน  มิให้เผลอส่งออกไปตามอารมณ์ภายนอกได้  ให้ตั้งมั่นอยู่ที่กายที่ใจแห่งเดียว แม้ก่อนนอนหลับตั้งไว้อย่างไรตื่นขึ้นมาก็ให้อยู่อย่างนั้น จะมีเผลออยู่บ้างก็ตอนฉันอาหาร เมื่อปรารภความเพียรมากเท่าไร การระลึกถึงคุณของชาวบ้านก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นเงาตามมา เรารู้ตัวดีว่าเราเป็นพระ ชีวิตของเราฝากไว้กับชาวบ้าน ฉะนั้นเราจะปรารภความเพียรเพื่อใช้หนี้บุญคุณของชาวบ้าน  แล้วเราก็แน่ใจตนเองว่า  เรามาทำความเพียรครั้งนี้ เราได้ทำหน้าที่ของลูกหนี้อย่างสมบูรณ์ที่สุดแล้ว  จวนเข้าพรรษาจึงได้ไปจำพรรษาร่วมกับท่านอาจารย์สิงห์  ที่บ้านป่าหนองลาด   ในพรรษานี้เราเป็นพระใหม่ไม่ต้องรับภาระอะไรนอกจากจะประกอบอาจริยวัตร  แล้วก็ปรารภความเพียรเท่านั้น ท่านอาจารย์เองก็อนุญาตให้พวกเราเป็นพิเศษ เราได้ประกอบความเพียรตามแนวนโยบายที่เราได้กระทำมาแต่บนภูเขาตลอดพรรษา  แล้วยังได้ประกอบแบบโยคะเพื่อทดลองเพิ่มเติมอีกด้วย  กล่าวคือฉันอาหารผ่อน  ตั้งแต่ ๗๐ คำข้าวเหนียวลงมาจนถึง ๓ คำ แล้วเขยิบขึ้นไปถึง ๓๐ คำแล้วก็ผ่อนลงมาถึง ๕ คำ ไปๆ  มาๆ อย่างนี้เป็นระยะๆ  ๓ - ๔ วัน  ทำอย่างนี้อยู่ตลอดพรรษา แต่ระยะที่ยาวนานกว่าเขาหน่อยคือ ๑๕ คำ แล้วก็ฉันแต่อาหารมังสวิรัติด้วย  ร่างกายของเราผอมอยู่แล้วก็ยิ่งซูบซีดลงไปอีก  จนเป็นที่แปลกตาของชาวบ้าน ใครๆ เห็นก็ถามว่าเป็นอะไรไปหรือ แต่เราก็มีกำลังใจประกอบข้อวัตรและทำความเพียรได้เป็นปกติ พอออกพรรษาเราจึงเริ่มฉันอาหารเนื้อปลา   แต่แหม! มันคาวนี่กระไร  มนุษย์คนเรานี้กินเนื้อเขา  เอามาเป็นเนื้อของเรา  เหมือนกับไปฉกขโมยของสกปรกเขามากินอย่างนั้นแหละ   เทพยาดาทั้งหลายจึงเข้าใกล้มนุษย์ไม่ได้   มันเหม็นสาบ แต่มนุษย์ทั้งหลายก็ยังกอดชมซากศพกันอยู่ได้
                       ออกพรรษาแล้ว เราสองรูปกับท่านอาจารย์สิงห์ได้ขึ้นไปอีกคราวนี้อยู่ ๙ คืน ท่านอาจารย์สิงห์อาพาธได้ให้ไปตามพรรคพวกขึ้นมา  เมื่อเห็นว่าที่นั้นมันไม่สะดวกแก่การพยาบาลกัน จึงได้อพยพกันลงมาพักรักษาตัวอยู่ ณ ป่าหนองบัว ( บัดนี้เป็นบ้านแล้ว ) พอดีท่านอาจารย์มั่นสั่งให้เราเดินทางไปพบท่านที่อำเภอท่าบ่อ  เราจึงได้ลาท่านอาจารย์สิงห์ไปตามคำสั่งของท่าน พอดีมาพบท่านอาจารย์มั่นกับพระอาจารย์เสาร์ซึ่งได้รับนิมนต์จากวัดโพธิสมรณ์ อุดรฯ ขณะนั้นคุณยายน้อย ( มารดาพระยาราชนุกูล ) มาในงานผูกพัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์  คุณยายน้อยได้พบและฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่นครั้งนี้เป็นครั้งแรก  เกิดความเลื่อมใสตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  เราได้อยู่ร่วมท่านอาจารย์มั่นเป็นเวลาหลายวันแล้วเดินทางกลับท่าบ่อพร้อมท่าน
      
                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/9814.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/9521.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/ee95ecd5.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/2-71.jpg)

              
                     หลวงปู่เสาร์

                                     พรรษา ๓ จำพรรษาบ้านนาช้างน้ำ ( พ.ศ. ๒๔๖๘ )
 
                    พรรษานี้เราได้จำพรรษาที่บ้านนาช้างน้ำ ซึ่งไม่ไกลจากท่าบ่อที่เราท่านอาจารย์มั่นอยู่  กับพระอาจารย์อุ่นได้หมั่นมาฟังท่านเทศน์เสมอ      พรรษานี้เราก็ไม่มีภาระอะไรนอกจากจะปรารภความเพียรเฉพาะส่วนตัวเท่านั้น ภาระอื่น ๆ มีการรับแขก เป็นต้น  เราได้มอบท่านอาจารย์อุ่นทั้งหมด  เพราะท่านเคยเป็นอาจารย์เขามาแล้ว ท่านเคยบวชมหานิกายมาได้ ๙ พรรษา เพิ่งมาญัตติฝ่ายคณะธรรมยุตนี่เอง
                    ในพรรษานี้มีสิ่งที่น่าสลดใจสังเวชอยู่เรื่องหนึ่ง คือ พระอาจารย์ทา  ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่แล้วก็ดูเหมือนจะเป็นลูกศิษย์คนแรกของท่านอาจารย์มั่นเสียด้วย      ถ้าจำไม่ผิดพรรษาราว ๑๖ - ๑๗ พรรษานี่แหละ   เดิมท่านไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ   แต่ไม่สำเร็จ     พอท่านได้ทราบกิตติศัพท์ของท่านอาจารย์มั่น   ซึ่งเจ้าคุณพระอุบาลีฯ ( จันทร์ สิริจันโท )   สรรเสริญจึงได้ออกติดตามท่านมา  ในพรรษานั้นท่านได้ไปจำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง  จังหวัดเลย กับอาจารย์ขันธ์  ท่านเกิดสัญญาวิปลาสหนีมาหาท่านอาจารย์มั่นกลางพรรษา  บอกว่า  ท่านเองต้องอาบัติถึงที่สุดแล้วร้อนไปหมดทั้งตัว  เห็นผ้าเหลืองเป็นฟืนเป็นไฟไปหมด เมื่อซักไซ้ไล่เลียงไปในสิ่งที่ว่าผิดนั้นก็ไม่มีมูลความจริงสักอย่าง เป็นแต่ตัวเองสงสัยสิ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ  แล้วก็เดือดร้อนเองเท่านั้น  สิ่งหนึ่งซึ่งท่านเดือดร้อนมากก็คือ เมื่อท่านไปทำความเพียรอยู่ที่บ้านโพนสว่าง สมาธิมีกำลัง ทำให้สว่างไสวมาก  จะคิดค้นพิจารณาธรรมหมวดใดก็ดูเหมือนหมดจดไปหมดแล้วลงสู่ที่ใจแห่งเดียว   แล้วตัดสินใจตนเองว่า   เราถึงที่สุดแห่งพรหมจรรย์แล้ว   จนปฏิญาณตนในท่ามกลางสงฆ์เอาเสียเลย  ต่อมาอาการนั้นเสื่อมไปเลยสงสัยตนว่า  เราอวดอุตริมนุสสธรรม  เป็นอาบัติถึงที่สุดแล้ว ถึงแม้จะมีผู้อธิบายให้ฟังว่า  เราพูดด้วยความสำคัญผิด  พระวินัยมิได้ปรับโทษดอก  ท่านก็ไม่เชื่อ  ความจริงความวิปฏิสารเดือดร้อนอันนี้ท่านมีหลายปีแล้ว  แต่ก็พออดทนอยู่มาได้ พอมาถึงพรรษานี้จึงเหลือทน มีแต่จะสึกอย่างเดียว  ท่านอาจารย์มั่นก็แก้ไม่ไหวจึงทิ้งไป  ให้อยู่ด้วยท่านอาจารย์เสาร์ ปีต่อมาท่านอาจารย์เสาร์ก็เอาไม่อยู่  ผลที่สุดสึกจนได้ สึกแล้วก็หายเข้ากลีบเมฆกลีบฟ้าไปไหนก็ไม่รู้ไม่มีใครทราบจนบัดนี้
                     เราได้เห็นเข้าแล้วทำให้ใจหดหู่เกิดสลดสังเวชในใจว่า แม้ท่านเป็นผู้ใหญ่ปฏิบัติมานานถึงขนาดนี้ ยังเกิดวิปลาสไปได้ ตัวของเราเล่าจะทำอย่างไร จึงจะพ้นจากความวิปลาสนี้ไปได้ คิดแล้วก็นึกหวาดเกรงตนเอง   แล้วได้นำเอาความวิตกนั้นไปกราบเรียนท่านอาจารย์มั่น  ท่านบอกว่า   นั่นซี ต้องระวังตนเองและอย่าห่างไกลท่านผู้รู้ เมื่อมีอะไรเกิดขึ้นรีบไปปรึกษาหารือกับท่าน ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นพร้อมด้วยคณะได้ออกเดินทางลงไปทางสกลนคร

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-66.jpg)

                       เจ้าคุณพระอุบาลีฯ ( จันทร์ สิริจันโท )
                                        
                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-81.jpg)

                                                    กลับไปสงเคราะห์โยมแม่ อา พี่ชาย

                      ตัวเราคิดถึงโยมแม่ จึงได้กลับไปบ้านเพื่อสงเคราะห์ก็สมประสงค์ คือ ได้แนะนำ ให้ท่านนุ่งขาว รักษาศีล ๘ ครั้งนี้โยมป้า อาวผ์ ูช้ ายแลพี่ชายก็เกิดศรัทธา ได้พากันนุ่งขาว รักษาศีล ๘ ด้วย โดยเฉพาะพี่ชายซึ่งได้มีครอบครัวแล้ว มีบุตรคนหนึ่งอายุไม่กี่เดือนก็ได้ออกบวชด้วย เพื่อให้ท่านเหล่านั้นได้สมาคมกับหมู่เพื่อนและอบรมกับครูบาอาจารย์หลายองค์ด้วย จึงให้ออกจากบ้านเดินทางตามครูบาอาจารย์ไป ส่วนเรากับพี่ชายและอาวผ์ ู้ชายได้ตามไปทีหลัง ได้ตามไปทันกันที่บ้านปลาโหล อำ เภอพรรณานิคม  ซึ่งท่านอาจารย์สิงห์จำ พรรษาอยู่ ณ ที่นั้น  แล้วท่านได้พาพวกเราไปตั้งสำ นักที่บ้านอากาศอำนวย อยู่ไม่นานท่านอาจารย์มั่นได้ตามไปถึง แล้วท่านให้เราตามท่านไปตั้งสำนักที่บ้านสามผงการอยู่    ใ่กล้ผู้ใหญ่ดีมาก มีสติระวังตัวอยู่ตลอดเวลา วันหนึ่งสามเณรผู้ที่ปฏิบัติท่านไม่อยู่ เราจึงได้ไปนอนที่ระเบียงกุฎิของท่านอาจารย์แทนสามเณร ปกติท่านอาจารย์มักตื่นนอนทำ ความเพียรเวลาตี ๓ ทุกคืน เวลาท่านตื่นหยิบไม้ขีดไฟก๊อกแก๊ก เราต้องลุกก่อนท่านทุกทีเพื่อเข้าไปถวายการปฏิบัติท่าน เราไปนอนอยู่หลายคืนจนท่านแปลกใจถามเราว่า ท่านเทสก์ไม่นอนหรือ เราตอบท่านว่า นอนอยู่ครับ ในที่นั้นโรคของเราไม่ถูกกับอากาศ ฉันได้แต่ไม่มีกำลังปวดเมื่อยระบมไปหมดทั้งตัวตลอดเวลา แต่ความเพียรของเราไม่ท้อถอย ฉันแล้วเข้าป่าหาที่วิเวกทำ ความสงบอยู่คนเดียวตลอด กลางวันกลางคืนเดินจงกรม แล้วขึ้นฟังเทศน์ตั้งแต่ ๒ ทุ่ม จนถึง ๔ ทุ่ม ถ้าวันไหนมีพระมากท่านก็เทศน์จนถึง ๖ทุ่ม หรือตี ๒ จึงเลิก ท่านอุตส่าห์เทศน์อบรมอยู่อย่างนี้เป็นนิจ บรรดาลูกศิษย์ก็มีกำ ลังใจกล้าหาญทำ ความเพียรอยู่เช่นเดียวกัน หลังจากท่านอาจารย์มั่นไปแล้ว ท่านอาจารย์เสาร์ไปอยู่แทน ๓ พรรษาได้ข่าวว่าพระไปมรณภาพที่นั่นหลายองค์ พระอาจารย์ภูมี ก็ไปตายคืน ณ ที่นั้นเหมือนกัน
 
                                    พรรษา ๔ จำพรรษาที่ป่าช้าทิศเหนือของอำเภออากาศอำนวย ( พ.ศ. ๒๔๖๙ )
 
                      จวนเข้าพรรษา  เราได้ย้อนกลับมาจำพรรษาที่ป่าช้าทิศเหนือของอำเภออากาศอำนวย  ท่านอาจารย์สิงห์จำพรรษาทางทิศใต้ของอำเภออากาศอำนวย  ในพรรษานี้ผู้ที่จำพรรษาด้วยกันมี พี่ชาย อาผู้ชาย โยมแม่ โยมป้า และแม่ชีบ้านโพนสว่างอีกคนหนึ่ง  พระคงมีแต่เราคนเดียวกับสามเณรชื่น บ้านท่าบ่อ  พอจวนเข้าพรรษาโยมอามาเสียคนหนึ่ง คงยังเหลือเพียง ๖ คนด้วยกัน ในพรรษานี้ชาวบ้านเกิดฝีดาษผู้คนแตกหนีไปอยู่ตามป่าตามทุ่งนาเกือบหมด แม้พระตามวัดในบ้านก็ตามโยมไปด้วยแทบจะไม่มีคนตักบาตรให้ฉัน เพราะคนในเมืองอากาศนี้เขาไม่เคยเป็นฝีดาษกัน  บ้านมีพันกว่าหลังคาเรือน คนเป็นฝีดาษ ๕ คนเท่านั้น  ใครเกิดเป็นฝีดาษแล้วจะต้องปกปิดไม่ให้ใครรู้กว่าคนอื่นจะรู้มันลุกลามไปมากแล้ว และเมื่อเกิดฝีดาษแล้วจะต้องเอาไปไว้ในป่า ปลูกกระต๊อบให้อยู่คนเดียว เพียงเอาอาหารไปส่งให้กิน ดีหนักหนาที่ท่านอาจารย์สิงห์ท่านรู้จักยาสมุนไพรอยู่บ้าง ท่านจึงบอกไม่ให้เอาไปทิ้งไว้ในป่า ท่านหายามารักษากัน จึงมีตายเพียงไม่กี่คนเท่านั้น พอทางการรู้เข้าจึงมาฉีดวัคซีนป้องกันให้
                     เดชะบุญเขายังนับถือพระกัมมัฏฐานอยู่  ถึงแม้ไม่มีคนนอนเฝ้าบ้านเลยสักคนเดียว  ขนาดนั้นแล้วตอนตี ๔ - ๕  ยังอุตส่าห์ด้อม ๆ  มาหุงข้าวไว้สำหรับตักบาตร  พวกเราไปบิณฑบาตเขาจะออกมาตักบาตร  แล้วรีบกลับเข้าป่าไป   ขอขอบบุญขอบคุณชาวเมืองอากาศไว้ ณ ที่นี้  เป็นพิเศษ  บุญกุศลครั้งนี้เป็นของสูงเหนือชีวิตจิตใจ  เป็นที่พึ่งของมนุษย์ผู้ได้รับทุกข์ทั้งที่มีชีวิตอยู่และละโลกนี้ไปแล้วได้อย่างแท้จริง  คนเราเมื่อได้รับทุกข์หากไม่พึ่งบุญแล้วจะไปพึ่งอะไรเล่า
                     คนเมืองอากาศกลัวฝีดาษยิ่งกว่ากลัวเสือ   คนบ้านใกล้เรือนเคียงกันทั้งเป็นญาติกันด้วยก็ไม่พูดกัน   เราถามเขาว่า  เมื่อไรจะพูดด้วยกัน  เขาบอกว่า  โน่นละ  ออกพรรษาแล้วเดือนสามจึงจะพูดกัน
                    ในพรรษานี้เราได้ไปฟังเทศน์ท่านอาจารย์สิงห์บ่อย ๆ     การไปจะต้องเดินผ่านเมืองอากาศนี้ไปไกลเป็นระยะทางเกือบ  ๓  กิโล  ( ในบ้านไม่มีคน  แม้แต่สุนัขตัวเดียวก็ไม่เห็น )  ถูกท่านอาจารย์สิงห์เทศน์กระเทือนใจเราอย่างหนัก จะเป็นเพราะท่านแกล้งเพื่อให้กระเทือนใจเรา หรือท่านไม่รู้นิสัยของเราตามความเป็นจริงก็เหลือที่จะเดาถูก  ท่านว่า  นิสัยของเราเป็นคนกระด้าง  หัวดื้อไม่ค่อยจะลงคน  ขณะที่ท่านเทศน์อยู่นั้น เราได้กำหนดจิตตรวจดูภายในใจของเรา  เราเองก็เคารพนับถือท่านอย่างสุดซึ้งคอยรับโอวาทของท่านอยู่เสมอ ทำไมท่านจึงว่าอย่างนั้น  แต่ที่ท่านว่าไม่ค่อยจะลงคนนั้นเป็นความจริง  เราเป็นคนเช่นนั้นแต่ไหนแต่ไรมา สิ่งใดถ้าไม่สมเหตุสมผลแล้วไม่ค่อยเชื่อง่าย ๆ  เหมือนกัน แม้ความเห็นของตนเองหากไม่เทียบดูโน่นดูนี่แล้ว  ถ้าไม่มีหลักฐานยืนยันแล้ว  หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมเชื่อเอาเสียดื้อ ๆ  อย่างนั้นแหละ ( เรื่องนี้จะได้นำมาเล่าให้ท่านผู้อ่านฟังข้างหน้า )  ในขณะที่นั่งฟังเทศน์ท่านอยู่นั้นพร้อมทั้งตรวจใจของตนไป  มันยิ่งทำให้เกิดมานะกล้าขึ้นเหมือนกับเอาน้ำมันมารดดับไฟอย่างนั้นแหละ  ขากลับมาเดินตัวปลิว  จิตมันกำหนดเอาเรื่องนั้นมาเป็นอารมณ์ไม่หาย คืนวันนั้นเรายิ่งปรารภความเพียรเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณด้วยคิดว่า
                     เราได้ปรารภความเพียรมาถึงขนาดนี้แล้ว  กิเลสซึ่งมีอยู่ในใจของเราแท้ ๆ  ทำไมเราจึงรู้ไม่ได้ แต่คนอื่นกลับมาล่วงรู้ของเราได้น่าขายขี้หน้า  ท่านก็เป็นคนเกิดจากบิดามารดา  เติบโตมาด้วยน้ำนมข้าวป้อนเหมือน ๆ  กับเรา  ท่านยังสามารถรู้เรื่องกิเลสของเราได้  เราจะยอมตายกับการทำความเพียรของเรานี้แหละ       เมื่อปรารภความเพียรอยู่นั้นก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น  เป็นแต่พิจารณาไปว่า ท่านเห็นอย่างนั้น ท่านก็เทศน์ไปอย่างนั้นตามสิทธิของท่าน เมื่อของเราไม่เป็นอย่างท่านว่าเราก็ปรารภชำระตนเอง ใครจะไปรู้ยิ่งไปกว่าเราแล้วไม่มี  ใจก็สงบเย็นไปเฉย ๆ  เมื่อทำความเพียรมากเข้าธาตุก็ไม่ค่อยปกติ จึงได้เอนกายลงพักผ่อน  แต่นอนไม่ค่อยจะหลับ   พอเคลิ้มก็ได้เรื่อง  ที่ชาวบ้านเรียกว่า  ผีอำ  เรื่องผีอำไม่ต้องอธิบาย ใคร ๆ ก็รู้กันดีอยู่แล้วว่ามันมีอาการอย่างไร     แต่ข้อสำคัญมันเป็นผีอำจริงหรือไม่     คืนวันนั้นเราได้ทดสอบหาข้อเท็จจริงหลายอย่าง   เบื้องต้นมันเป็นตัวคล้าย ๆ   กับตัวอะไรใหญ่โตดำทะมึนเข้ามานั่งทับอกเรา   แล้วหายใจไม่ออก พยายามดิ้นกว่าจะรู้สึกตัวหายใจได้แทบใจขาดทีเดียว  เขาว่าผีสัตว์ที่เราฆ่ามันอยู่ที่หัวโป้มือ  เอามือทับหน้าอกมันจึงอำเอา ทีนี้เอามือออกจากหน้าอกแล้วมาวางเหยียดแนบลำตัว มันก็ตามมาอำอีก  เอ นี่อะไรกัน  เป็นเพราะเรานอนหงายกระมัง ลองนอนตะแคงดูมันก็ยังมาอำอีก เวลามันอำทำเอาจนหายใจจะขาดให้ได้ จึงได้มากำหนดดูว่าอาการของคนจะตายมันเป็นอย่างไร ครั้งแรกเรามีสติตามรู้ตัวจิตอยู่ว่าเวลาใจจะขาดนั้นเป็นอย่างไร สติตามรู้จิตจนวาระสุดท้าย  ยังเหลือสติตามรู้จิตอยู่  นิดเดียวในความรู้สึกนั้นว่า   ถ้าเราปล่อยสติที่ยังตามรู้จิตนิดเดียวนี่แหละเมื่อไร  นั้นแหละคือความตาย  บัดนี้เราจะปล่อยให้มันตายหรือไม่ปล่อยดี   เวลานี้จิตของเราก็บริสุทธิ์ดีอยู่แล้ว  หากจะปล่อยให้มันตายก็ไม่เสียที มันยังมีความรู้สึกนิด ๆ  หนึ่งว่า  ถ้าเราไม่ปล่อยให้มันตาย มีชีวิตอยู่ ก็ยังสามารถทำประโยชน์ให้แก่คนอื่นได้อีกต่อไป   ถ้าตายเสียเวลานี้ก็จะได้แต่ประโยชน์ส่วนตัวเท่านั้น   แล้วคนที่อยู่ภายหลังก็จะไม่รู้ต้นสายปลายเหตุแห่งความตายนี้อีกด้วย   ถ้าอย่างนั้นก็อย่าให้มันตายเลย  แล้วพยายามกระดุกกระดิกมือเท้าให้มันเคลื่อนไหวจนรู้สึกตัวขึ้นมา  ตอนที่สองไม่เห็นตัวดอก แต่มันเป็นก้อนดำทะมึน ๆ เข้ามา ทีนี้เราทราบแน่แล้วว่าไม่ใช่ผี มันเป็นเรื่องของลมตีขึ้นข้างบนต่างหาก เราพยายามเคลื่อนไหวมือเท้าแล้วก็หายไป  ตอนที่สามไม่ถึงขนาดนั้น  เป็นแต่ซึม ๆ เคลิ้ม ๆ   แล้วเราพยายามลุกขึ้นเสีย ผู้อ่านทั้งหลายพึงสังเกตตัวเมื่อรู้สึกตัวขึ้นมา  จะมีอาการมึนศรีษะและซึมเซ่อ  ถ้าไม่พยายามรับประทานยาแก้ลมแล้วนอนไปอีกก็จะเป็นเช่นนั้นอีก   เฉพาะตัวข้าพเจ้าแล้วแก้ได้เฉพาะดมพิมเสนอย่างเดียว
                                
                                


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:08:06
                                              ตำรานอนหลับหรือไม่หลับ

                      ในระยะเดียวกันนี้   ได้พยายามจับอาการของคนนอนหลับว่าเป็นอย่างไร  โดยมากเราไม่รู้ตัวขณะที่มันจะหลับจริง ๆ  ตื่นแล้วจึงรู้ว่าตนนอนหลับ  คนเราก่อนหลับจะมีอาการเมื่อยอ่อนเพลียและง่วงซึมเซ่อทั้งกายและใจ ความนึกคิดสั้นเข้า   ที่สุดปล่อยวางสติอารมณ์ทั้งหมดแล้วหลับผล็อยไปเรียกว่าหลับ    เมื่อมาตั้งสติคอยจับอาการ ขณะที่มันปล่อยวางขั้นสุดท้ายนั้น สติจะยังเหลือน้อยมากแทบจะจับไม่ได้เลยทีเดียว อารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีเหลือเลย  จะยังเหลือสติตามเพ่งดูจิตซึ่งปรากฏในขณะนั้นนิดเดียว คล้าย ๆ กับว่าจิตจะตกภวังค์ ตอนนี้ถ้าหากเราไม่ต้องการจะให้มันหลับ พยายามค้นหาอารมณ์อันใดอันหนึ่งให้มันเอามายึดแล้วคิดค้นและปรุงแต่งต่อไป  จิตใจก็จะแช่มชื่นเบิกบานหายจากความง่วง  ไม่หลับแล้วจะมีคุณค่าเท่ากับเรานอนหลับตั้ง ๔ - ๕ ชั่วโมง   ถ้าเราประสงค์จะให้มันหลับเราก็ปล่อยสติที่ว่ายังเหลืออยู่นิดเดียวนั้นเสียแล้วจะหลับไปอย่างสบาย  แต่ดีไม่เสียเวลา  จะหลับน้อยหลับมากไม่เกิน  ๕ - ๑๐  นาที  หรือถ้าเราตั้งสติกำหนดได้ดังอธิบายมานี้จริง ๆ แล้ว  รับรองว่าไม่เกิน ๕ นาที
                      อนึ่ง  ถ้าเราไม่ต้องการให้มันหลับละ   แต่จะพักกายพักจิตใจเฉย ๆ   ก็ให้หาที่พักอันสงัดพอสมควร  จะเป็นที่ลับตาหรือท่างกลางผู้คนก็ตาม  แล้วเอนกายนอนทอดเหยียดให้สบาย อย่าให้เกร็งส่วนใด ๆ  ทั้งหมดของร่างกาย   แล้วให้กำหนดจิตให้อยู่ในอารมณ์เดียวในความปล่อยวาง   ให้มันว่างอยู่เฉยๆ เฉพาะมันสักพักหนึ่ง แล้วเราลุกขึ้นมา อาการทั้งหมดก็จะเหมือนกับว่าเราได้นอนหลับไปแล้วตั้ง ๔ - ๕ ชั่วโมงก็เหมือนกัน
                      ความจริงคำที่ว่า 'นอนหลับ' นั้นใจมิได้หลับ  แต่กายพักผ่อนไม่ต้องเคลื่อนไหวทั้งหมดต่างหาก แม้ท่านที่เข้านิโรธสมาบัติก็มิใช่อาการของคนนอนหลับ เป็นอาการของท่านคุมสติให้จิตแน่วอยู่ในอารมณ์อันเดียว แล้วละอารมณ์นั้นๆ   ละเอียดลงไปโดยลำดับพร้อมทั้งสติและจิตด้วย   จนขาดจากความรู้สึกนึกคิดอะไรทั้งหมด   ด้วยอำนาจการอบรมของท่าน   ขณะนั้นสติไม่มีงานทำ   สติจึงหมดไป   แม้ลมในร่างกายจะเดินอยู่ แต่ก็เป็นของละเอียดที่สุดจนจะเรียกว่ามีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่ คือมี แต่ไม่ปรากฏเดินทางจมูก ถ้าจะอุปมาก็เหมือนกับลมภายนอก ลมมีอยู่ไม่ถึงกับพัดเอาใบไม้หรือสิ่งใด ๆ ให้หวั่นไหวปรากฏ  ลักษณะเช่นนั้นใครจะพูดว่าลมไม่มีไม่ได้ ถ้าลมไม่มีคืออากาศไม่มีนั่นเอง   มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่อยู่อาศัยในโลกนี้ก็ต้องตาย  ท่านเรียกว่า  เข้านิโรธสมาบัติ ตอนนี้ประสาทในอายตนะทั้ง ๖  ไม่ยอมรับสัมผัสอะไรทั้งนั้น  แต่มิใช่นอนหลับ การนอนหลับถ้ามีอะไรมากระทบอาจรู้สึกขึ้นมาได้ทันที ส่วนท่านผู้ที่เข้านิโรธสมาบัตินั้น เข้าด้วยอาการอบรมฝึกฝนจิตของท่านให้ชำนาญแล้วจึงเข้า   เมื่อเข้าแล้วจึงมีปาฏิหาริย์มาก   ถึงแม้ใครๆ  จะมาทำร้ายท่านในขณะนั้น   ขนาดเอาไฟมาเผาก็ไม่ไหม้ ส่วนนิพพานธาตุแตกขันธ์ดับได้   หากท่านจะออกจากนิโรธสมาบัติด้วยอำนาจแรงอธิษฐานของท่าน   เมื่อถึงกำหนดแล้วลมหายใจจะค่อยๆ  หยาบขึ้นโดยลำดับ   ต่อจากนั้นไปทุกสิ่งทุกอย่าในตัวของท่านก็จะปกติเช่นเดิม นิโรธสมาบัติมิใช่พระนิพพาน   เป็นฌานเพราะขาดปัญญาสัมมาทิฏฐิที่จะวินิจฉัยเหตุปัจจัยของกิเลสนั้น ๆ  คือกามาพจรและรูปาพจร  อันเป็นภูมิของวิปัสสนาญาณ ญาณทัสสนะ มัคควิถี  ฌานทั้งหมดเป็นแต่เครื่องสนับสนุนแลขัดเกลามรรคให้มีกำลังเท่านั้น          ฉะนั้น   พระพุทธองค์ก่อนจะปรินิพพานจึงเข้าฌานผ่านไปโดยลำดับ   แล้วกลับเข้าจตุตถฌานอันเป็นพื้นฐานของวิปัสสนาแล้วนิพพานในระหว่างกามาพจร   กับรูปาพจรที่เป็นฐานของโลกุตตรธรรม
                       หากจะมีคำถามว่า เอ ตานี่ ทำไมแกจึงพูดถึงนิโรธ นิพพาน ฌานสมาบัติ แกได้ แกถึงแล้วหรือเปล่า แกก็จะตอบว่า มิได้ จะหาว่าข้าพเจ้าพูดอวดอุตริมนุสสธรรมอย่างนั้นหรือ ความจริงท่านผู้เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธก็ดี ถึงมรรคผลนิพพานก็ดี หรือเข้าถึงฌานสมาบัติก็ดี  ท่านมิได้สำคัญว่าเราเข้าอยู่  เราถึงแล้วหรือถึงอยู่ เป็นแต่ท่านชำนาญในอุบายที่จะให้เข้าถึงเท่านั้น ขณะที่เข้าถึงจริง ๆ  ถ้ายังมีความสำคัญอยู่อย่างนั้นก็จะไม่เข้าถึงแล้วคนทั่วไปเรียนรู้แลฉลาดในธรรมวินัยทั้งหลายก็จะพากันถึงมรรคผลนิพพาน   ฌานสมาบัติกันไปทั้งหมดทั้งบ้านทั้งเมืองละซี ขณะนั้นไม่ใช่วิสัยของใครที่จะไปแต่งตั้งสมมุติบัญญัติขึ้นมา  เมื่อพ้นจากภาวะเช่นนั้นแล้ว ท่านจึงมาอนุสรณ์ตรวจตราลำดับเหตุผล แล้วบัญญัติเรื่องทั้งหลายเหล่านั้นขึ้น ผู้อธิบายทั้งหลายไม่จำเป็นต้องถึงขั้นนั้น ๆ แล้วจึงจะอธิบายได้ เมื่อมีบัญญัติไว้แล้ว  เข้าใจเนื้อความแล้ว ก็อธิบายตามความเข้าใจของตน ๆ ผิดบ้างถูกบ้าง  ถ้ามิฉะนั้นแล้วคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ไหนจะจีรังถาวรมาได้จนบัดนี้  ผู้ฟังก็เถอะน่า ฟังเรื่องเดียว หัวข้ออันเดียวกันแต่เข้าใจไปคนละแง่กันก็เยอะ   ถ้าแม้ผู้ที่เข้าถึงขั้นนั้นอย่างเดียวกันด้วยอุบายเดียวกัน   แต่ก็ยังใช้แยบคายคนละอย่างกันธรรมที่เห็นด้วยตนเองจึงจะเป็นอัศจรรย์และทำได้ด้วยยาก   ทำไมจึงมาปรักปรำใส่โทษข้าพเจ้าแต่ผู้เดียว ไม่ยุติธรรมเลย
                       ขออภัยด้วยที่ข้าพเจ้าได้นำท่านผู้อ่านแหวกแนวพาไปเที่ยวโลกเมืองผี     บัดนี้ขอนำเข้าสู่  เรื่องอัตตโน-ประวัติต่อไป
                       ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์สิงห์ได้พาคณะเราไปกราบนมัสการทานอาจารย์มั่นที่บ้านสามผง       ดังเคยปฏิบัติกันมาเป็นอาจิณ ในระหว่างทางเราได้เล่าเรื่องทั้งหมดนั้นถวายท่านอาจารย์สิงห์ ทานก็ไม่ว่ากระไร ได้แต่นิ่ง ๆ เมื่อพวกเราไปถึงท่านอาจารย์มั่นแล้ว ท่านได้นำเรื่องนั้นกราบเรียนท่านอาจารย์มั่นอีกที ขณะนั้นเรายังนั่งอยู่ห่างท่านไปหน่อย ไม่ทราบว่าท่านพูดอย่างไรในเรื่องของเรา  เราก็ไม่ได้ยิน  เข้าใจว่าเป็นเรื่องไร้สาระ   มิใช่มัคควิถีท่านจึงไม่ปรารภต่อเหมือนกับเรื่องอื่น ๆ
                       การรวมกันกราบนมัสการพระอาจารย์ผู้ใหญ่ในครั้งนี้  ถึงแม้พระเณรทั้งหมดรวมกันจะหย่อนร้อย  ก็นับว่ามากเอาการอยู่ในสมัยนั้น    แล้วท่านอาจารย์มั่นได้ให้เราพร้อมด้วยพระอีกองค์หนึ่งกับสามเณรหนึ่งองค์ตามท่านออกเดินทางไปบ้านข่าโนนแดง  ซึ่งอาจารย์อุ่น อาจารย์กู่  และอาจารย์ฝั้น จำพรรษาอยู่ ณ ที่นั้น ได้พักอยู่ ณ ที่นั้นสามวัน   ได้เล่าเรื่องที่เราหัดนอนหลับและไม่หลับให้เพื่อนฟัง    ทุกองค์พากันเงียบไม่พูดว่าอย่างไร   โดยเฉพาะท่านอาจารย์อุ่น  ซึ่งเป็นผู้ปรารภเรื่องนี้ก่อนตั้งแต่เรายังทำไม่ได้  ขณะที่ท่านอาจารย์มั่นอยู่ที่วัดป่าสามผงท่านเทศน์ทุกวัน   ถ้าใครอ่อนแอท้อแท้เจ็บป่วยท่านก็เทศน์ว่า  นั่นมิใช่กลัวตาย  แต่อยากตายหลายหน (คือหมายความว่า ถ้าทำความเพียรกล้าแข็งเข้า ใจบริสุทธิ์แล้วความกลัวตายก็จะลดน้อยลง ) พอท่านออกจากวัดไปไม่มีใครเทศน์ให้ฟัง จิตใจของลูกศิษย์ก็อ่อนลงจึงอยู่ไม่ได้ ที่วัดนี้อากาศร้ายนัก ไข้มาลาเรียก็ชุม ใครใจอ่อนแอจะต้องโดนเป็นไข้ทุกๆ คน  หมู่คณะที่อยู่บ้านสามผงได้ตามมาทั้งหมดวัดเลย  บอกว่า แย่ อยู่ไม่ไหว อากาศวัดบ้านสามผงมันร้ายกาจมาก ทำให้ซึมมึนเมาง่วงนอนตลอดทั้งวัน เมื่อหมู่คณะไปรวมพร้อมกันแล้ว ท่านอาจารย์มั่นได้ปรารภถึงการเที่ยววิเวกของหมู่คณะเพื่อเผยแพรศีลธรรมต่อไปว่า ในสามสี่จังหวัดแถบนี้คือ สกลนคร อุดร หนองคาย เลย   พวกเราก็ได้เที่ยวมามากแล้ว  ต่อไปนี้พวกเราจะไปจังหวัดไหนดี  ส่วนมากเห็นว่าลงไปทางอุบล แต่ตัวท่านเองไม่ค่อยพอใจเพราะหาป่าเขาและถ้ำยาก        แต่ว่ามติส่วนมากเห็นเช่นนั้นท่านก็อนุโลมตามเมื่อตกลงกันแล้วก็เตรียมออกเดินทางเป็นกลุ่ม ๆ หมู่ ๆ ส่วนเราจำเป็นต้องตามส่งโยมแม่กลับบ้านจึงไม่ได้ติดตามท่านด้วย  การที่คณะท่านอาจารย์มั่นไปครั้งนี้  ถูกมรสุมอย่างขนาดหนักมีทั้งผลดีและผลเสีย  ดี  ก็คือ  ได้ขยายจำนวนวัดมากขึ้น   ซึ่งแต่ก่อนพระกัมมัฏฐานวัดป่าไม่มีเลย    ที่จังหวัดอุบลพึ่งมามีและตั้งรกรากลงได้ครั้งนี้เอง แล้วก็ขยายออกไปเรื่อยๆ ทุกวันนี้มีวัดพระธรรมยุตแทบทุกอำเภอแล้ว ที่ เสีย ก็คือ  เสื่อมคุณภาพในทางปฏิบัติก็ครั้งนี้?เป็นประวัติการณ์จนท่านอาจารย์มั่นผละหนีจากคณะขึ้นไปเชียงใหม่เสียเลย

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/9a680777.jpg)

                       พระอาจารย์กู่ ธมมทินโน

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/b016613e.jpg)

                        บ้านสามผง  





                              พรรษา ๕ จำพรรษาอยู่ที่บ้านนาช้างน้ำอีก (พ.ศ. ๒๔๗๐)

                     พรรษานี้ เราได้วกกลับมาจำพรรษาที่บ้านนาช้างน้ำอีกเป็นครั้งที่สอง  พี่ชายของเราได้จำพรรษาที่บ้านนาสีดากับโยมพ่อ ออกพรรษาแล้วเราได้พาพี่ชายของเราไปทำความเพียรที่ถ้ำพระนาหักผอก ตอนหลังนี้พี่ชายของเราได้กลับลงไปหาพระอาจารย์เสาร์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่นครพนม ออกพรรษาแล้วได้อุปสมบทเป็นพระ ณ วัดศรีเทพนั่นเอง

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/cd628e55.jpg)

                     ท่านเจ้าคุณ ลป.จันทร์ เขมิโย

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/3e9e50cd.jpg)

                     วัดศรีเทพประดิษฐาราม   



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:08:25
                                     พรรษา ๖ จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำพระนาผักหอก ( พ.ศ. ๒๔๗๑  )

                     เราได้พาเอาโยมพ่อไปอยู่ถ้ำด้วย ตั้งแต่ท่านบวชเป็นชีปะขาวมาได้ ๑๑ ปีแล้ว เรายังไม่เคยได้ให้ท่านอยู่จำพรรษาด้วย และก็ไม่เคยมาจำพรรษาใกล้บ้านอย่างปีนี้เลย ปีนี้นับว่าเป็นโอกาสอันดีที่เราจะได้อุปการะท่านในด้านทางธรรม   และท่านก็ได้ทำภาวนากรรมฐานอย่างสุดความสามารถของท่านได้ผลอย่างยิ่งจนท่านอุทานออกมาว่า  ตั้งแต่เกิดมาในชีวิตพึ่งได้ซาบซึ้งในรสชาติของพระธรรมในครั้งนี้เอง  ท่านนั่งภาวนากัมมัฏฐานได้นานเป็นเวลาถึง ๓ - ๔  ชั่วโมงทีเดียว เราดีใจมากที่ได้สังเคราะห์ท่านสมเจตนารมณ์ของเรา  แต่เมื่อถึงกาลเวลาเข้าแล้ว  คนเรามันมักมีอันเป็นไป  กล่าวคือ  ท่านมาเกิดอาพาธ ลูกหลานเขามองเห็นความลำบากเมื่อเจ็บมากในเวลาค่ำคืน เพราะอยู่สองคนพ่อลูกด้วยกันเท่านั้น ไม่ทราบว่าจะวิ่งไปพึ่งใคร  เขาจึงได้พากันมารับเอาลงไปรักษาที่บ้าน  แต่ท่านก็ไม่ยอมกลับไปอยู่ที่วัดเดิม ให้เขาเอาไปไว้ที่ห้างนาของท่านกลางทุ่ง  เราได้ตามไปให้สติบ่อย ๆ
                    ในปีนั้น มีสิ่งที่น่ามหัศจรรย์อยู่อย่างหนึ่งสำหรับโยมพ่อของเรา   กล่าวคือ    ข้าวกล้าในนาของชาวบ้านทั้งหมดแถบนั้นไม่ดีเลยทั้ง ๆ  ที่ฟ้าฝนก็พอปานกลาง   ต้นข้าวแดงไปหมด  มีข้าวที่เขียวงามผิดหูผิดตาของคนทั้งหลายเฉพาะทุ่งนาที่ท่านอยู่เท่านั้น  จนชาวบ้านพูดกันว่า  คุณพ่อปะขาวคงจะไม่รอดปีนี้  แล้วก็เป็นความจริงอย่างที่เขาพูด  วันนั้นเราได้ไปให้สติและอุบายต่าง ๆ จนเป็นที่พอใจของท่าน  ท่านก็ยังแข็งแรงดี  จวนค่ำเราจึงกลับที่อยู่ถ้ำพระนาผักหอก    กลางคืนวันนั้นเองท่านได้ถึงแก่กรรมด้วยอาการมีสติสงบอารมณ์อยู่ตลอดหมดลมหายใจ รุ่งเช้าเขาได้ไปตามเรามา แล้วก็ทำการฌาปนกิจศพของท่านให้เสร็จเรียบร้อยในวันนั้นเอง ถึงแก่กรรมเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๑  อายุได้ ๗๗ ปี  บวชชีปะขาวอยู่ ๑๑ ปี
                     ก่อนโยมพ่อของเราจะไปอยู่ด้วย เราอยู่คนเดียว หลังจากโยมพ่อของเราถึงแก่กรรมแล้วเราก็อยู่คนเดียวอีกนับว่าหาได้ยากที่จะได้วิเวกอย่างนี้  เราได้กำหนดในใจของเราไว้ว่า ชีวิตและเลือดเนื้อตลอดถึงข้อวัตรที่เราจะทำอยู่ทั้งหมด  เราขอมอบบูชาพระรัตนตรัยเหมือนกับบุคคลเด็ดดอกไม้บูชาพระ  ฉะนั้น แล้วเราก็รีบเร่งปรารภความเพียรอย่างแรงกล้า  ตั้งสติกำหนดจิตมิให้คิดนึกส่งออกไปภายนอก ให้อยู่ในความสงบเฉพาะภายในอย่างเดียว ตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่ง ก่อนจะนอนตั้งสติไว้อย่างไรตื่นมาก็ให้ได้อย่างนั้น    แม้บางครั้งนอนหลับอยู่ก็รู้สึกว่าตัวเองนอนหลับแต่ลุกขึ้นไม่ได้  พยายามให้กายเคลื่อนไหวแล้วจึงจะรู้สึกตัวตื่นขึ้นมาโดยความเข้าใจในตนเองว่า  จิตที่ไม่คิดนึกส่งส่ายออกไปภายนอก  สงบนิ่งอยู่ ณ ที่เดียว นั่นแลคือความหมดจดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ปัญญาก็เอามาใช้ชำระใจที่ส่งส่ายแล้วเข้ามาหาความสงบนั่นเอง ฉะนั้นจึงไม่พยายามที่จะใช้ปัญญาพิจารณาธาตุ ขันธ์ อายตนะ เป็นต้น  หาได้รู้ไม่ว่า กายกับจิตมันยังเกี่ยวเนื่องกันอยู่ เมื่อวัตถุหรืออารมณ์อันใดมากระทบส่วนใดส่วนหนึ่งเข้าแล้ว มันจะต้องกระเทือนถึงกัน ทำให้ใจที่สงบอยู่แล้วนั้นหวั่นไหวไปตามกิเลสได้            เราทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าทะลุเลือดออกแล้วก็เป็นไข้ตลอดพรรษา     แต่เราก็หาได้ท้อถอยในการปรารภความเพียรไม่  เราเคยได้อ่านเรื่องของพระเถระบางองค์ในสมัยก่อนเดินจงกรมจนเท้าแตก   เราไม่ค่อยจะเชื่อ คำว่า แตก คงหมายเอาไปกระทบของแข็งอะไรเข้าแล้วก็แตก ก็เดินจงกรมสำรวมในทางเรียบ ๆ จะไปกระทบอะไร  ความจริงศัพท์บาลีคำว่า  แตกหรือทะลุ   ใช้ศัพท์เดียวกันนั่นเอง และที่ว่าพระอาพาธ (ไข้)  เกิดจาก กรรม ฤดู น้ำดีกำเริบ  การกระทบสิ่งภายนอก แลเกิดจากทำความเพียร ก็เพิ่งมาเข้าใจเอานี่เองว่า  ความเพียรที่มีจิตกำลังกล้า ไม่มีปัญญา  แต่นี่เราอยู่คนเดียวไม่มีกัลยาณมิตร  กล้าแต่ความเพียรจิตไม่กล้าปัญญาไม่ค่อยดี จึงทำให้เป็นไข้
                      ออกพรรษาแล้ว   เราจึงได้ย้อนกลับไปหาพี่ชายของเราและพระอาจารย์เสาร์ที่นครพนม   เพราะเราห่างจากหมู่เพื่อนและครูบาอาจารย์มาสองปีแล้ว  ตั้งแต่ท่านอาจารย์เสาร์และท่านอาจารย์มั่น  พร้อมทั้งหมู่คณะจากท่าบ่อไปในแถบนี้ยังเหลือพระคณะนี้เฉพาะเราองค์เดียว
  
                                                เรื่องของหลวงตามั่น
  
                      ขณะนั้นหลวงตามั่นบ้านค้อ ได้มาจำพรรษาบ้านนาสีดา อันเป็นบ้านเกิดของเรา แกเที่ยวคุยและอาละวาดพระที่มีความรู้น้อยกว่าว่า   แกเป็นผู้เก่งทางศาสนา   สามารถโต้ตอบกับใครต่อใครให้ปราชัยไปได้   แม้พระกัมมัฏฐานทั้งหลายเห็นหน้าแกแล้วก็หลบหน้า  ดูซิ พระกัมมัฏฐานทั้งหลายอยู่ไม่ได้หนีไปหมดเพราะกลัวเรา ยังเหลือแต่คุณเทสก์องค์เดียว นี่อยู่ไม่กี่วันก็จะไปแล้ว    เขาได้ยินแล้วเบื่อไม่อยากพูด   ถึงพูดแกก็ว่าถูกแต่แกคนเดียว โต้กันไปเป็นเรื่องเป็นราว
                      พอดีพรรษานั้นเกิดอธิกรณ์กับพระบ้านกลางใหญ่   เขาแอบไปนิมนต์เราให้ลงมาจากถ้ำพระเพื่อมาชำระอธิกรณ์  พอเราลงมาแกกลับให้ล้มเลิกอธิกรณ์นั้นเสีย  แกชวนทำอย่างนี้อยู่ร่ำไปจนเป็นเหตุให้พระแถวนั้นเอือมระอาไปหมด  นี่จะเป็นเพราะบ้ายอดังคนปักษ์ใต้พูดก็ได้  เพราะเขาขี้เกียจพูด  พูดไปก็ไร้สาระประโยชน์
                      พอดีวันนั้นเป็นวันปวารณา  เขาทำบุญตามประเพณี   เขาไปนิมนต์แกมาร่วมเทศน์ด้วย   และเขาได้ไปนิมนต์เราลงมาร่วมด้วยเหมือนกัน   แต่เขาไม่ได้บอกให้แกรู้   พอดีเราเดินผ่านบ้านมาไม่เห็นมีคน   เขาไปรอคอยเราอยู่ที่วัดหมดแล้ว   ซึ่งผิดปกติจากทุกวัน   ก็แต่ไหนแต่ไรมาพอรู้ว่าเราจะเดินผ่านบ้านเขาจะมารอดูเราเต็มไปหมดสองข้างทาง  บางคนร้องเรียกจ้าละหวั่น  จนเราไม่อยากจะเดินผ่านบ้านกลางใหญ่
                      พอแกเทศน์จบ เราเรียกประชุมสงฆ์ทั้งหมดแล้วปรารภเรื่องที่แกพูดว่า ไหว้พระเอาอะระหังขึ้นก่อนนั้นผิด เราไม่ได้เป็นพระอรหันต์ ไหว้อรหันต์ไม่ได้ ให้แกอ้างเหตุผลประกอบ  แกบอกว่า ต้องว่า นะโมขึ้นก่อนซิแล้วว่า นะโม อรหโต สัมมาสัมพุทธัสสะ   เราชี้ให้แกเห็นว่า  มันก็ไหว้อรหโตเหมือนกัน หลวงตาเป็นพระอรหันต์หรือ  จึงไหว้อรหโต           ถึงตอนนี้  แกชักจะโกรธอย่างแรงทีเดียวว่า ถ้าไม่ได้เป็นพระอรหันต์แล้วไม่บวชอยู่อย่างนี้ดอก สึกออกไปนอนกับเมียดีกว่า  และพูดหยาบคาย?หลายอย่าง  ล้วนแต่คำไม่น่าฟังทั้งนั้น  จึงย้อนถามต่อไปว่า  ที่เราเป็นพระอรหันต์มีอะไรเป็นเครื่องวัด แกตอบว่า ดูดินเป็นเครื่องวัด เราบอกว่า ดินใคร ๆ ก็ดูได้ แม้แต่วัวควายมันก็กินหญ้าก้มดูดินอยู่ตลอดวันยังค่ำ มันเป็นอรหันต์หมดด้วยกันละซิ หลวงตานี่อวดอุตริมนุสสธรรมแล้ว  พอเราพูดเท่านี้แกตกใจหยุดชะงักพูดอะไรไม่ได้เลย  เราได้พูดหลายเรื่อง  เป็นต้นว่า แกพูดท้าทายหมู่เพื่อนและพระกัมมัฏฐานต่าง ๆ นานา เป็นจริงไหมขอให้พูดออกมา แกไม่พูดเลยเด็ดขาด
                       เวลานั้นจวนค่ำแล้ว พระเขาจะปวารณา แกเข้าไปในอุโบสถจะปวารณากะเขาบ้าง แต่พระไม่ให้ปวารณาด้วย แกเลยกลับบ้านนาสีดาคนเดียว   วันนั้นคนทั้งบ้านแทบจะไม่มีคนอยู่เฝ้าบ้านเลย  มารวมกันที่  ณ  ที่วัดนั้นหมด กำนันตัวเอกซึ่งไม่เคยเข้าวัดเลยแต่ไหนแต่ไรมา  ก็เข้าวัดตั้งแต่วันนั้นมาจนกระทั่งวันตาย พอดีเย็นวันนั้นเราไม่ได้กลับถ้ำพระ   แต่นอนวัดบ้านนาสีดา   หลวงตามั่นได้กระหืดกระหอบมาหาเราแล้วพูดแทบไม่เป็นศัพท์เป็นแสงด้วยความน้อยใจ  แล้วจะหนีไปในคืนนั้น  ได้บอกว่าอับอายขายหน้าเขา อยู่ไม่ได้ เราได้ร้องขอให้อยู่ต่อไป รุ่งเช้าจึงไป ผมพูดตามเหตุผล ผมไม่มีความอิจฉาริษยาอะไรดอก คืนนั้นแกนอนไม่หลับหมดคืน เช้ามืดแกก็ไปโน่นไปหาเจ้าคณะอำเภอเขาโน่น  แกไปขอลาสึก  คืนเดียวเสียงกระฉ่อนดังไปหมด  เจ้าคณะอำเภอเขาก็รู้เรื่องนี้ด้วย บอกว่าไม่ต้องลาก็ได้ สึกเลยแกมาบ้านค้อ ลาพระเป็นครูสอนนักธรรม  พระเขาก็รู้อีกเหมือนกัน เขาบอกว่าไม่ต้องลาก็ได้  สึกเลย
                       ผลสุดท้าย สึกแล้วเข้าห้องนอนเงียบอยู่บ้านภรรยาเก่าเป็นตั้งหลายวัน จึงค่อยมาให้คนเห็นหน้า
                       เรื่องไร้สาระนำมาประกอบอัตตโนประวัติเพื่อให้สมบูรณ์ฉบับไม่นำมาหรือก็จะขาดเรื่องไม่สมบูรณ์ไป

                                                        เรื่องของหลวงเตี่ยทองอินทร์

                       นำเรื่องไร้สาระมาเล่าสู่กันฟังแล้ว  ทีนี้จะนำเอาเรื่องที่มีสาระมาเล่าสู่กันฟัง  หลวงเตี่ยทองอินทร์เดิมแกเป็นคนโคราช  บ้านโคกจอหอ   แกมาค้าขายอยู่ท่าบ่อ  เป็นพ่อค้าใหญ่มีชื่อเสียงคนหนึ่งในแถบนี้   แกเป็นคนมีศรัทธาทั้งผัวทั้งเมีย คนท่าบ่อรู้การรักษาศีลก็เพราะแก แกถวายสวนทำเป็นวัดชื่อ วัดอัมพวัน เอาชื่อของสองผัวเมียใส่ด้วย เพราะผัวชื่ออินทร์ เมียชื่ออ่ำ แล้วแกก็บวชทั้งสองผัวเมียอยู่มาได้ ๔ - ๕ พรรษา  แกเป็นโรคฟกบวมไปไหนไม่ได้ นอนอยู่กับที่ ถึงปีมาลูก ๆ เขาจะต้องทำบังสุกุลเป็นให้แก เราเลยถูกนิมนต์ไปทำบุญด้วย ทั้งที่เราไม่เคยเห็นหน้ามาแต่ก่อนเลย   เราได้ ๕ พรรษา   แกได้ ๗ พรรษาแก่กว่าเรา ๒ พรรษา  แกบอกว่า  เวลานี้ผมเหมือนคนตายแล้วครับ  เราบอกว่า คนตายแล้วมันดีซิ  แกบอกว่า ผมไม่ห่วงอะไรทั้งหมด จิตจดจ่อแต่มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ เท่านั้นแหละ เราบอกว่า  ถ้ายังปรารถนาอยู่ก็เรียกว่ายังไม่ตาย คนตายแล้วไม่ปรารถนาอะไรเลย   ตอนนี้แกชักอึ้งแล้ว   แกซักว่า  ไม่ให้ปรารถนาจะให้ผมทำอย่างไร   เราบอกว่า ให้ภาวนาพุทโธ ๆ เป็นอารมณ์เดียว
                      ตอนนี้เรามองดูข้างล่างมีพระมาอยู่เต็มไปหมด   เราจึงรีบทำพิธีเสร็จแล้วก็ลงไป  ให้พระวัดอื่นมาทำพิธีต่อ (ตามปกติแล้ว เมื่อแกดี ๆ  อยู่ขยันไหว้พระสวดมนต์มาก ๗ วันจึงจะรอบของเก่า  เวลาพระอาจารย์ผู้ใหญ่มา เช่น อาจารย์มั่น อาจารย์เสาร์ เป็นต้น แกเข้าไปหาแล้วออกมาบอกลูกและเมียว่า ทำบุญทำทานตักบาตรเท่านั้นก็พอแล้ว ไม่ต้องอะไรหนักหนา แต่ลูกสาวปฏิบัติได้ดีมาก)
                      พอรุ่งเช้าขึ้นมีคนมาบอกว่า นิมนต์ไปหาหลวงเตี่ยด้วย แกมีเรื่องที่จะเล่าให้ฟัง เราบอกว่า ฉันเช้าแล้วจะไปให้รอประเดี๋ยว  พอเราไปถึงแกรีบเล่าเรื่องมหัศจรรย์ให้ฟังว่า  อาจารย์คืนนี้ผมแปลก  ไก่ซึ่งแต่ก่อนมันขันเสียงว่า เอ้กอี๊เอ้ก - เอ้ก แต่เมื่อคืนนี้ไม่ยักเป็นอย่างนั้น มันบอกว่า จิตเจ้าเป็นเอก ๆ ดังนี้(เมื่อจิตเป็นเอกคตารมณ์แล้ว เสียงมันจะปรากฏเป็นอย่างนั้น)
                      อาจารย์ - ตุ๊กแก  เมื่อก่อนมันร้องว่า  ตุ๊กแก ๆ คืนนี้มันบอกว่า  ตัวเจ้าแก่แล้ว ๆ   (เป็นธรรมเทศนาเสียงอะไรซึ่งมีอาการคล้ายกันเป็นเครื่องสอนและจะสอนทันที)    เราได้บอกแกว่า   ถูกแล้วให้ตั้งใจภาวนาเข้า ทำใจให้แน่วแน่ ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน อย่าให้เผลอได้ ไหน ๆ เราก็ตั้งต่อความตายแล้ว
                      วันหลังมีคนมาบอกว่า ขอให้อาจารย์รีบไปเร็ว หลวงเตี่ยจะสึกแล้ว  เราตกใจ  เรื่องอะไรทำไมจึงจะสึกเสียแล้ว ภาวนาพึ่งเป็น เราบอกว่า  เดี๋ยวก่อนอย่าพึ่งสึก ฉันข้าวเสร็จแล้วจะไป พอเราไปกุฏิแกมีลูกกรงกั้นสองชั้น  เราเปิดชั้นนอกเข้าไป  แล้วให้เด็กเฝ้าแกอยู่นั้น  เปิดอีกชั้นหนึ่ง  แกได้ยินเสียงของเราเท่านั้นแหละ ความสงสัยหายหมดเหมือนปลิดทิ้ง  แล้วเล่าให้ฟังว่า  ผมได้เล่าเรื่องต่าง ๆ  ที่ผมภาวนาเป็นให้ลูกสาวฟังดังผมได้เล่าถวายอาจารย์นั้น  พอเล่าไปเกิดวิตกขึ้นมาว่าตายจริง กูนี่ เป็นปาราชิก ข้อที่ว่าอวดอุตริมนุสสธรรมให้คนฟังแล้ว  เกิดความร้อนใจแล้วจะสึกให้ได้  พอดีได้ยินเสียงอาจารย์มา  ความเดือดร้อนอันนั้นเลยหายวาบไป  ผมไม่สึกแล้วคราวนี้  เราได้บอกว่า ไม่เป็นการอุตริมนุสสธรรมดอก เราไม่ได้หวังลาภหวังยศและความสรรเสริญ  เราพูดเพื่อศึกษาธรรมกันต่างหาก ไม่เป็นอาบัติ            หลังจากนั้น    เราเป็นห่วงคิดถึงครูบาอาจารย์เพราะเราหนีจากอาจารย์มาได้  ๒  ปี     จึงได้ลาท่านไปนครพนมเพื่อเยี่ยมพระอาจารย์เสาร์

                                                  อยู่ด้วยท่านอาจารย์เสาร์

                   ท่านอาจารย์เสาร์ตามปกติท่านไม่ค่อยเทศนา    ถึงจะเทศน์ก็เป็นธรรมสากัจฉา ปีนี้เราไปอยู่ด้วยก็เป็นกำลังของท่านองค์หนึ่ง  คือเดิมมีท่านอาจารย์ทุมอยู่แล้ว  เราไปอยู่ด้วยอีกรูปหนึ่ง  จึงเป็นสองรูปด้วยกัน และเราก็ได้ช่วยท่านอบรมญาติโยมอีกแรงหนึ่ง   ปีนี้เราได้ขออาราธนาให้ท่านถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึก   ทีแรกท่านก็ไม่อยากถ่าย    พอเราอ้อนวอนอ้างถึงเหตุผลความจำเป็นเพื่อให้บรรดาศิษยานุศิษย์และลูกหลานยุคต่อไปได้มีโอกาสกราบไหว้เคารพบูชาท่านถึงได้ยอม นับเป็นประวัติการณ์   เพราะแต่ก่อนมาท่านไม่ถ่ายรูปเลย    แต่กระนั้นเรายังเกรงท่านจะเปลี่ยนใจ ต้องรีบให้ข้ามไปตามช่างภาพมาจากฝั่งลาวมาถ่ายให้ เราดีใจมาก ถ่ายภาพท่านได้แล้วได้แจกท่านเจ้าคุณธรรมเจดีย์   และท่านพระครูสีลสัมปัน  ( ภายหลังได้เลื่อนเป็นเจ้าคุณธรรมสารมุนี )   รูปท่านอาจารย์เสาร์ที่เราจัดการถ่ายครั้งนี้ดูเหมือนจะเป็นรูปของท่านครั้งเดียวที่มีโอกาสถ่ายไว้ได้       แม้ท่านอาจารย์มั่นก็เช่นเดียวกัน  การถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกเป็นเรื่องที่ท่านปฏิเสธเสมอ  เราอาราธนาอ้อนวอนบ่อย ๆ ท่านก็ว่า  ซื้อขนมให้หมากินดีกว่า  แต่เมื่อเราอ้อนวอนชี้แจงเหตุผลหนักเข้า สุดท้ายท่านก็ใจอ่อน ทำให้เป็นบุญของคนรุ่นหลัง ๆ ได้มีโอกาสมีรูปของท่านไว้กราบไหว้สักการะ  ออกพรรษาแล้วท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เที่ยวไปฟากโขงฝั่งโน้น  ไปพักอยู่ถ้ำส้มป่อย  ซึ่งถ้ำนี้เมื่อท่านออกวิเวกครั้งแรก ท่านได้มาอยู่กับท่านอาจารย์มั่น เป็นถ้ำใหญ่ มีหลายซอกหลายถ้ำติดกัน มีตู้พระไตรปิฎกอยู่ในนั้นด้วยแต่ไม่มีหนังสือ  เราได้ตามท่านไป แต่ท่านไม่ได้อยู่เสียแล้วท่านเข้าไปในถ้ำเสือ  ซึ่งเดินไปอีกไกลจึงจะถึง  ทางเข้าไปเป็นเขาวงกต  มีภูเขาสลับซับซ้อนกันเป็นคู่ ๆ ถ้ำที่ท่านอยู่มีเสือมาออกลูกทางใต้ถ้ำ  เขาจึงเรียกถ้ำเสือ  ทางบนขึ้นไปสูงราวเส้นหนึ่งเป็นถ้ำยาวไปทะลุออกฟากโน้น ชาวบ้านเขาบอกว่าจุดไต้ไปหมด ๕ เล่ม  จึงทะลุออกฟากโน้น  ท่านอยู่ปากถ้ำนี้ มีพระเณร ๒ - ๓ รูป  ไปด้วย  มีตาแก่คนหนึ่งตามไปปฏิบัติท่าน ตาแก่คนนี้แกสุมไฟนอนอยู่ปากถ้ำ    กลางคืนวันหนึ่งได้ยินเสียงดังฮือ ๆ  แกลุกขึ้นมาก็ไม่เห็นมีอะไร แกสงสัยรุ่งเช้าเดินไปดูตรงที่ได้ยินเสียงนั้น   ปรากฏว่าเห็นรอยเสือมายืนอยู่ตรงนั้น    เข้าใจว่ามันจะเข้าไปในถ้ำ พอเห็นคนนอนอยู่มันเลยกลับ
                      ถ้ำนี้ราบเกลี้ยงสองข้างเป็นเหมือนหิ้งตู้รถไฟ     มีน้ำย้อยอยู่ข้างใน    พระไปตักเอาน้ำที่นั้นมาฉัน  ไม่ต้องกรอง   สะอาด  ไม่มีตัวสัตว์   พระพาเราไปจุดเทียนไขหมดราวครึ่งเล่มสบายมากไม่มีอึดอัดใจ  ห่างไกลจากหมู่บ้านราวหนึ่งกิโลเมตร   เราอยู่ด้วยท่านสองคืนแล้วเดินทางกลับ   เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเราได้ข่าวว่าพวกคอมมิวนิสต์ขนครัวไปซุกอยู่ในนั้น  อเมริการู้เข้าเอาลูกระเบิดไปทิ้งใส่ถ้ำ   ลูกระเบิดถล่มปากถ้ำเป็นเหตุให้พวกคอมมิวนิสต์ตายอยู่ ณ ที่นั้นเป็นอันมาก  ไม่มีใครไปรื้อออกน่าสลดสังเวชชีวิตของคนเรานี้  หาค่าไม่ได้เสียเลย
 
                                              พรรษา ๗ จำพรรษาบ้านนาทราย  ( พ.ศ. ๒๔๗๒ )

                      จวนเข้าพรรษาท่านอาจารย์เสาร์ได้ให้เราไปจำพรรษาที่บ้านนาทราย   พระอาจารย์ภูมีไปจำที่บ้านนาขี้ริ้นเพื่อฉลองศรัทธาญาติโยม    พรรษานี้สุขภาพของเราไม่ดีเลย     แต่เราก็ไม่ท้อถอยในการทำความเพียรภาวนากัมมัฏฐาน  จนถึงขนาดพลีชีพเพื่อบูชาพระรัตนตรัยเอาเลย  มันให้คำนึงถึงอนาคตภัยทั้งส่วนตัวและพุทธศาสนาว่า   บรรพชาเพศของเราจะอยู่ตลอดไปได้หรือไม่หนอ    บางทีบ้านเมืองเกิดจลาจลประเทศชาติถูกข้าศึกรุกราน เราอาจถูกเกณฑ์ไปเป็นทหาร    หรือมิฉะนั้นชาติบ้านเมืองตกไปเป็นขี้ข้าของชาติอื่น    เราจะบวชอยู่ได้อย่างไร ถึงแม้จะอยู่ไปก็ไม่สะดวกแก่การปฏิบัติธรรมวินัย    เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะทำอย่างไร    อนึ่งเวลานี้ครูบาอาจารย์ของเราก็ยังมีหลายท่านหลายรูปอยู่    เมื่อท่านเหล่านั้นแก่เฒ่าชราล่วงโรยไปหมดแล้วใครหนอจะเป็นผู้นำหมู่นำคณะในทางปฏิบัติศีลธรรมเล่า  แสงแห่งพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าก็มีแต่จะหรี่ลงทุกที    เมื่อคิดไป ๆ ก็ทำให้ใจเศร้าสลดสังเวชทั้งตัวเองแลพุทธศาสนาคล้าย ๆ  กับว่ากาลนั้นจะมาถึงเข้าในวันสองวันข้างหน้า   ทำให้ใจว้าเหว่ยิ่งขึ้นทุกที  พอมาถึงจุดนี้เราหวนระลึกย้อนกลับเข้ามาหาตัวว่า  ขณะนี้สถานการณ์บ้านเมืองยังปกติดีอยู่    ครูบาอาจารย์ผู้นำก็ยังมีอยู่พร้อม   และเราก็ได้อบรมมาพอสมควรแล้ว  เมื่อมีโอกาสเช่นนี้    เราจะต้องรีบเร่งทำความเพียรภาวนา   จนให้เข้าใจในธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าจนพึ่งตนเองได้  หากจะมีอุปสรรคอะไรเกิดขึ้นข้างหน้า  ไม่ว่าจะเป็นส่วนตัวหรือพระพุทธศาสนา  เราก็จะได้ไม่เสียที       พอได้อุบายอันนี้ขึ้นมามันทำให้ใจกล้าปรารภความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยว     ทั้ง ๆ ที่ในพรรษาเรานั่งไม่ได้ ต้องใช้อิริยาบถเดินเป็นส่วนใหญ่  ออกพรรษาแล้วได้ทราบข่าวว่าคณะท่านอาจารย์สิงห์และพระมหาปิ่นกลับจากอุบลไปถึงขอนแก่นแล้ว  เราจึงได้ไปลาท่านอาจารย์เสาร์แล้วออกเดินทางไปเพื่อนมัสการท่านทั้งสอง  พอดีในปีนั้นทางราชการได้ประกาศไม่ให้ประชาชนนับถือภูตผีปีศาจ ให้พากันปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย  ทางจังหวัดจึงได้ระดมคณะของท่านอาจารย์สิงห์ให้ช่วยปราบผี เมื่อเราไปถึงก็เลยเข้าขบวนกับท่านบ้าง

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/a2.jpg)

                                        พรรษา ๘ จำพรรษาที่บ้านพระครือกับพระมหาปิ่น ( พ.ศ. ๒๔๗๓ )

                      เราได้พาชาวบ้านย้ายวัดจากริมห้วยบ้านพระครือ  ไปตั้งตอนกลางทุ่งริมหนองบ้านแอวมอง   ภายหลังท่านอาจารย์มหาปิ่นจึงได้มาร่วมจำพรรษาด้วย   ในพรรษานี้พระผู้ใหญ่มี   พระอาจารย์ภูมี อาจารย์กงมา แลเรา โดยพระอาจารย์มหาปิ่นเป็นหัวหน้าตลอดพรรษาเราได้รับภาระแบ่งเบาเทศนาและรับแขก ช่วยท่านเป็นประจำทุก ๆ วันพระ พระเณรและญาติโยมก็พากันตั้งใจปรารภความเพียรโดยเต็มความสามารถของตน ๆ นับว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจมาก บางคนภาวนาเห็นนั้นเห็นนี่ต่าง ๆ นานา  จนลืมบ้านลืมลูกเมียด้วยการเพลินใจในการภาวนา  ออกพรรษาแล้วเราพร้อมด้วยอาจารย์ภูมีและคณะได้ลาท่านอาจารย์มหาปิ่นออกไปเที่ยววิเวกทางบ้านโจด   หนองบัวบาน อำเภอกันทรวิชัย ( โคกพระ )  จังหวัดมหาสารคาม  เขาได้นิมนต์ให้ไปพักที่หนองแวง ข้างโรงเรียนนั่นเอง ได้เทศนาอบรมประชาชนอยู่ ณ ที่นั้นพอสมควร  แล้วญาติโยมทางบ้านโจด หนองบัวบานไปตามกลับมาภายหลัง ณ ที่นั้นได้กลายเป็นวัดถาวรไปแล้ว การกลับมาบ้านโจด หนองบัวบานครั้งหลังนี้ ได้ไปพักที่ป่าดง ข้างหนองตอกแป้น คราวนี้มีผู้คนมาอบรมกัมมัฏฐานมากแลเป็นแม่ชีและชีปะขาวก็มาก  ผู้ที่เข้ามาอบรมได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ใจอย่างยิ่ง  ลูกหลานผิดด่าว่าร้ายกันอยู่ในบ้านโน้น  ภาวนาอยู่ที่วัดก็รู้ได้  คนที่ภาวนาเป็นก็เป็นอย่างน่าอัศจรรย์ คนที่ภาวนาไม่เป็นเพียงแต่บวชกับเพื่อนไปก็มี วันหนึ่งพระภาวนาได้นิมิตแม่ชีสาวมาขอจับเท้าพระ เราได้เรียกแม่ชีมาเทศน์   ให้เห็นโทษในกามทั้งหลายว่า  เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ แล้วชี้ลงที่รูปเป็นเหตุให้ติดหลายอย่าง  จนเป็นเหตุให้แม่ชีคนนั้นรู้ตัว  แกได้พูดว่า  รู้ได้อย่างไร
         จวนเข้าพรรษา  ท่านอาจารย์สิงห์ได้สั่งให้เราไปจำพรรษาที่อำเภอพล   ให้อาจารย์ภูมีอยู่แทนต่อไป

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-68.jpg)

                                                             พระอาจารย์ภูมี ฐิตธัมโม

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-67.jpg)

                                                             พระอาจารย์กงมา


  



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:08:45
                                          พรรษา ๙ จำพรรษาที่อำเภอพล ( พ.ศ. ๒๔๗๔)

                         พรรษานี้ท่านเกตพี่ชายของเราก็ได้ไปอยู่ด้วย  เรื่องการอบรมญาติโยมก็เป็นไปตามปกติ ด้านความเพียรส่วนตัวและพระเณรที่อยู่ด้วยก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ    มีพิเศษอยู่ก็ที่โยมผู้หญิงคนหนึ่งแกเป็นหมอผี    มีลูกน้องสิบกว่าคน   แกเที่ยวรักษาคนป่วยเป็นอาชีพ   เราได้แนะนำให้แกทิ้งผีเสีย  แล้วมาตั้งมั่นในพระรัตนตรัย ถือผีเป็นมิจฉาทิฏฐิไม่เป็นบุญ   ถือเอาคุณรัตนตรัยไว้เป็นสรณะ  จึงเป็นบุญเป็นกุศล   และได้ชื่อว่าเป็นอุบาสกอุบาสิกา   เป็นสัมมาทิฏฐิในพุทธศาสนาด้วย   แกบอกว่า  ของแกก็ดี เวลาผีเข้าทรงแล้วนำไปเอาทรัพย์ในดินแลกระโดดเข้าไปในกอไผ่หนามไม่เกี่ยวเลย  เราบอกแกว่า อันนั้นก็ดีดอกสำหรับผู้เชื่อ  แต่ผีไม่เคยสอนให้ผู้ถือละบาปบำเพ็ญบุญ และรักษาศีลเลย มีแต่จะบอกให้เซ่นด้วยหัวหมูและเป็ดไก่เท่านั้น  มันสอนให้เซ่นแล้วมันก็ไม่กิน แต่คนเป็นผู้ฆ่าสัตว์แล้วเซ่นผี  เมื่อผีไม่กิน  คนก็เอามากินเสียเองผีไม่ต้องรับบาป   คนเป็นผู้รับบาปแล้วผีจะมาช่วยอะไรเราได้ พระพุทธเจ้านิพพานแล้วมิได้ไปเกิดเป็นผี นิพพานแล้วทิ้งคำสอนไว้สอนคนให้ละความชั่ว  บำเพ็ญแต่ความดี ทั้งเพื่อประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น  แล้วพระสงฆ์นำคำสอนนั้นมาสอนพวกเรา   ตามแนวที่พระพุทธเจ้าสอนไว้  เราจึงได้รู้จักบาปบุญคุณโทษมาจนตราบเท่าทุกวันนี้มิใช่คำสอนของผี
                        แกตัดสินใจตกลงทิ้งผีมาปฏิญาณตนถึงพระรัตนตรัย   ในคืนวันนั้นแกนำเอาคำสอนของเราไปปฏิบัติตามได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์   คือก่อนนอนไหว้พระสวดมนต์แล้วนั่งกัมมัฏฐานปรากฏว่าแกเห็นเด็กสองคน  ผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้ชายคนหนึ่ง มาโหนชิงช้าอยู่ที่ราวมือจับกระเดื่องตำข้าวที่ตีนบันไดบ้านแกนั้นเอง ไม่พูดไม่ทำอะไรทั้งนั้น การเห็นครั้งนี้คล้ายกับว่าเห็นด้วยตาเปล่า  แต่ขณะนั้นแกยังหลับตาอยู่   แกเลยมั่นใจว่าเออนี้ ผีมันเข้ามาหาเราไม่ได้แล้วนี่  คุณพระรัตนตรัยนี้ดีจริง  สามีของแกก็เป็นหมอวิชาเหมือนกัน ถือเคร่งขนาดไม่ไหว้พระ ก่อนจะเข้าวัดต้องยกเท้าขึ้นไหว้ก่อน ( ขอโทษ )   เมื่อถือได้เคร่งตามครูสอนจริง ๆ เหนียวทดลองได้เลย   ฟันแทงตีไม่เข้าไม่แตกจริง  คืนวันนั้นแกนอนไม่หลับ  พอเคลิ้ม ๆ  ทำให้สะดุ้งตื่นตกใจเหมือนกับมีอะไรมาทำให้กลัว  ฉะนั้นรุ่งเช้ามาจึงถามภรรยาว่า   เธอไปหาอาจารย์ได้ของดีอะไร   เมื่อคืนนี้ฉันนอนไม่หลับทั้งคืน  ภรรยาบอกว่าอาจารย์ให้ของดีฉันมา   ฉันจะพาไปหาอาจารย์ ในที่สุดได้พากันทิ้งผี  มาปฏิญาณตนขอถึงพระรัตนตรัยทั้งสองตายาย   นี่เป็นเหตุการณ์ในพรรษานั้น


                    (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9580.jpg)

                                     พรรษา ๑๐ จำพรรษาที่โคราช ( พ.ศ. ๒๔๗๕ )

                    จังหวัดนครราชสีมา พระกัมมัฏฐานคณะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่นไม่เคยไปกล้ำกรายเลยแต่ไหนแต่ไรมา  เพราะเคยได้ยินมาว่า  คนในจังหวัดนี้ใจอำมหิตเหี้ยมโหดมาก กลัวจะไม่ปลอดภัย สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมัยดำรงสมณศักดิ์เป็น   พระธรรมปาโมกข์   ได้นิมนต์ท่านอาจารย์สิงห์  พระมหาปิ่นลงไปแล้ว  พ.ต.ต. หลวงชาญนิคม    ผู้กองเมืองสองเกิดศรัทธาเลื่อมใสได้ถวายที่สร้างวัดป่าข้างหัวรถไฟโคราช   ท่านอาจารย์สิงห์จึงได้เรียกลูกศิษย์ที่อยู่ทางขอนแก่นลงไป  เราพร้อมด้วยคณะได้ออกเดินทางไปพักที่สวนของหลวงชาญ ฯ   พาหมู่จัดเสนาสนะชั่วคราวขึ้น   ซึ่งเวลานั้นท่านอาจารย์สิงห์ไปกรุงเทพฯ   ยังไม่กลับ   พอท่านกลับถึงแล้ว   เราได้ไปช่วยพระอาจารย์มหาปิ่น  สร้างเสนาสนะในป่าช้าท ี่ ๒ แล้วได้อยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น ( วัดศรัทธาราม )  พรรษานั้นมีพระผู้ใหญ่ด้วยกันหลายองค์  คือเรา  อาจารย์ฝั้น  อาจารย์ภูมี   อาจารย์หลุย   อาจารย์กงมา   โดยมีท่านอาจารย์มหาปิ่นเป็นหัวหน้า พรรษานี้เราและอาจารย์ฝั้นได้รับภาระช่วยท่านอาจารย์มหาปิ่นรับแขกและเทศนาอบรมญาติโยมตลอดพรรษา ปีเดียวเกิดมีวัดป่าพระกัมมัฏฐานขึ้นสองวัดเป็นปฐมฤกษ์ของเมืองโคราช     และเป็นปีประวัติศาสตร์ของประเทศไทย โดยการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตย
                     ออกพรรษาแล้ว    เราพร้อมด้วยคณะออกเที่ยววิเวกไปทางอำเภอกระโทก   กิ่งแฉะ     แล้วย้อนกลับมาที่อำเภอกระโทกอีก   ได้พานายอำเภอขุนอำนาจ ฯ   สร้างที่พักสงฆ์ขึ้น  ณ  ดอนตีคลี   แต่ยังไม่เรียบร้อยดี มีเหตุจำเป็นต้องกลับมาจำพรรษาที่  อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย   ในพรรษานั้นได้ทราบว่าท่านอาจารย์สิงห์ให้อาจารย์ลีไปอยู่พรรษาแทนที่อำเภอกระโทก
                    
                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/42624410.jpg)

                      อจ.ฝั้น อาจาโร

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-82.jpg)

                      หลวงปู่หลุย

                                                ความปริวิตกที่ไม่เป็นธรรม

                     ในขณะที่เราได้พาหมู่เพื่อนจัดเสนาสนะอยู่ที่วัดป่าสาลวันนั้น     อากาศมันร้อนเป็นบ้าเลย     เราไม่ชอบอากาศร้อน  แต่กัดฟันอดทนต่อสู้ทำความเพียรไม่ท้อถอย สติที่เราอบรมดีแล้วสงบอยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืนนั้น บางครั้งก็รวมเข้าภวังค์แล้วก็หายไปเลยเป็นเวลานานนับชั่วโมงก็มี       แล้วไม่ทำให้เกิดปัญญาอะไรเลย
                     เราพยายามแก้ด้วยตนเองแลให้ผู้อื่นแก้เป็นเวลานานก็ไม่เป็นผลสำเร็จ มาคราวนี้เราแก้ได้แล้วด้วยตนเองนั่นคือ  คอยจับจิตที่มันจะรวมเข้าเป็นภวังค์ ซึ่งมีอาการเผลอๆ สติ  แล้วน้อมส่งไปยินดีในความสงบสุขจนเผลอสติ   แล้วก็รวมเข้าภวังค์   เมื่อเราจับตรงที่มันกำลังเผลอๆ   น้อมไปหาความสงบสุขอันละเอียดนั้นแล้ว รีบตั้งสติให้แข็งแกร่งปรารภอารมณ์ที่หยาบ ๆ เพ่งพิจารณานอก ๆ อย่าให้เข้าไปหาความสงบสุขได้ก็จะหายทันที  พูดง่าย ๆ ว่า  อย่าให้จิตรวมได้  ให้เพ่งพิจารณาอยู่เฉพาะกายนี้แห่งเดียว  อาการอย่างนี้เราเป็นมาตั้งแต่ออกป่าครั้งแรก พึ่งมาแก้ตนเองได้ ถ้าจะคิดรวมเวลาประมาณ ถึง ๑๐ กว่าปี  เราหัดได้ถึงขนาดนั้นแล้วเมื่อมีอารมณ์มากระทบเข้าจิตของเราก็ยังหวั่นไหวได้   ผู้ปฏิบัติบางคนแม้แต่ความสงบสุขของจิตก็ยังไม่ทราบเสียเลย เมื่อมีอารมณ์กระทบเข้าแล้วจะเป็นอย่างไรกัน         เกิดความสงสัยในธรรมวินัยขึ้นมาว่า  ความบริสุทธิ์มรรคผลนิพพาน อันสุดยอดในพุทธศาสนานี้เห็นจะไม่มีเสียแล้วกระมัง  คงยังเหลือแต่ฌานสมาบัติอันเป็นโลกีย์เท่านั้นเอง   แต่เราก็ปรารภความเพียรไม่ท้อถอยทั้งๆ ที่อากาศร้อนแทบเป็นบ้าตาย
                     วันหนึ่งจิตรวมอย่างน่าประหลาดใจ  คือรวมใหญ่เข้าสว่างอยู่คนเดียว  แล้วมีความรู้ชัดเจนจนสว่างจ้าอยู่  ณ  ที่เดียว  จะพิจารณาอะไรๆ  หรือมองดูในแง่ไหนในธรรมทั้งปวง   ก็หมดความลังเลสงสัยในธรรมวินัยนี้ทั้งหมด คล้าย ๆ กับว่าเรานี้ถึงที่สุดแห่งธรรมทั้งปวงแล้ว  แต่เราก็มิได้สนใจในเรื่องนั้น มีแต่ตั้งใจไว้ว่า [/color] ไฉนหนอเราจะชำระใจของเราให้บริสุทธิ์หมดจด  เราทำได้ขนาดนี้แล้วจะมีอะไรแลดำเนินอย่างไรต่อไปอีก เมื่อมีโอกาสจึงเข้าไปศึกษากับท่านอาจารย์สิงห์  ท่านแนะให้เราพิจารณาอสุภะเข้าให้มาก  เพ่งให้จนเป็นของเน่าเปื่อย แล้วสลายเป็นธาตุสี่ในที่สุด เราได้สอดขึ้นโดยความสงสัยว่า ก็เมื่อจิตมันวางรูปยังเหลือแต่นาม   แล้วจะกลับมายึดเอารูปอีก   มันจะไม่เป็นของหยาบไปหรือ  แหม   ตอนนี้ท่านทำเสียงดังมาก  หาว่าเราอวดมรรคอวดผลเอาเสียเลย   ความจริงนับตั้งแต่ออกปฏิบัติมา  เราไม่มีความชำนาญในการพิจารณาอสุภะจริง ๆ   อะไร ๆ  ก็กำหนดเอาที่จิตเลยโดยเข้าใจเอาเองว่ากิเลสเกิดที่จิต  เมื่อจิตไม่ส่งส่ายวุ่นวายสงบดีแล้ว สิ่งอื่นใด ๆ มันก็บริสุทธิ์ไปหมด เมื่อเราสอดแทรกขึ้นด้วยความสงสัยเท่านั้น  เป็นเหตุให้ท่านขึ้นเสียงดังตามอุดมคตินิสัยของท่านอย่างนั้นแล้วจะทำอย่างไร เราก็นิ่งนึกขยิ่มอยู่ในใจแต่ผู้เดียว  โดยคิดว่า  มติของท่านทำไมไม่ตรงตามความคิดเห็นของเราเสียนี่กระไร เรื่องนี้อย่างไรเสีย นอกจากท่านอาจารย์มั่นแล้วเราคงไม่มีที่พึ่งแน่
                       สักพักใหญ่เสียงของท่านเบาลงแล้วหันมาถามเราว่า ยังไง
                       เราก็ยังยืนกรานว่า ยังไม่เห็นด้วย ที่ว่ากระผมมาอวดมรรคอวดผลนั้น ขออย่าได้สงสัยเลยครับ กระผมเคารพนับถือครูบาอาจารย์ด้วยความบริสุทธิ์ใจจริง ๆ   ที่มาเปิดเผยความเห็นและความจริงใจในครั้งนี้ก็เพราะหมดหนทางจริง ๆ ว่า   อาการของจิตอย่างนี้พึ่งได้ประสบเป็นครั้งแรก  ก็ไม่ทราบว่าถูกหรือผิด  แล้วจะแก้ไขหรือดำเนินการอย่างไรต่อไปอีก   กระผมไม่ถือโกรธครูบาอาจารย์   หากท่านยังมีอุบายอะไรอีกที่จะแก้ไขความข้องใจของกระผมได้  กรุณาโปรดได้เมตตาให้เต็มที่เลยครับ   แล้วท่านปลอบใจว่า  ค่อยทำค่อยไปนั่นแหละมันหากจะเป็นไป     แหมวันนั้นใจเลยหมดที่พึ่งเอาเสียจริง ๆ   ไม่มีความเยื่อใยอาลัยในหมู่คณะเสียเลย    ตามปกติท่านอาจารย์ไม่อยากให้หมู่คณะแตกแยกกัน  อยากให้ช่วยกันเผยแพร่พระศาสนาในจังหวัดนี้ แต่เราอยากปลีกตัวหาวิเวกมานานแล้ว    ตั้งแต่ได้พบเพื่อนเมื่ออยู่ขอนแก่นโน้น    เพราะรู้ตัวดีว่าความเพียรและอุบายของเรายังอ่อนพยายามจะปลีกตัวอยู่เรื่อยมา   โดยมิให้ครูบาอาจารย์และหมู่เพื่อนสงสัยว่าเราไม่ชอบหมู่    แต่ก็ไม่สำเร็จสักที คราวนี้ออกพรรษาแล้วจึงได้มีโอกาส


                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-60.jpg)

                         หลวงปู่อ่อนสี สุเมโธ
                                
                    
                          พรรษา 11 จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ หนองคาย ( พ.ศ. 2476 )

                         ในพรรษานี้ เราเตรียมพร้อมที่จะไปตามท่านอาจารย์มั่นที่จังหวัดเชียงใหม่  ตลอดพรรษาเราปรารภความเพียรและอุบายแนวเดิมที่ใช้อยู่วัดป่าสาลวัน โคราช   แล้วก็ยึดเหนี่ยวเอาท่านอาจารย์มั่นมาเป็นเครื่องเร่งเร้าทำความเพียร แต่จิตก็ไม่ละเอียดเหมือนเดิม เมื่อออกพรรษาจึงปรารภกับท่านอ่อนสี ( พระครูสีลขันธ์สังวร ) ว่า ผมจะไปตามท่านอาจารย์มั่น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านจะไปด้วยผมไหม ถ้าจะไปด้วยผมขอกติกาไว้ก่อนว่า
          (1)  การไปอย่าได้บ่นถึงความทุกข์ลำบากต่างๆ  เป็นต้นว่า  การเดินทาง  อาหาร  ที่อยู่อาศัย  แม้ที่สุดถ้าอาพาธ เราสงเคราะห์กันจนสุดความสามารถแล้วตายเป็นตายกัน
          (2)  เมื่อคิดถึงบ้าน หรือหมู่คณะ มีบิดามารดา เป็นต้น จะไม่ยอมนำส่ง
          (3)  ต้องเป็นผู้ยอมสละตายในที่ทุกสถาน ไม่ว่าจะเพราะกรณีใด
         ถ้าท่านตัดสินตกลงปลงใจจะทำตามกติกาทั้ง  3  ข้อนี้ได้จึงไป  ถ้ายังไม่สามารถทำตามได้ก็อย่างไปเลยท่านจะเสียใจภายหลัง  และก็จะเป็นเรื่องทำให้ผมเป็นทุกข์อีกด้วย           ท่านบอกว่า    ผมชอบใจผมขอไปด้วย   ยังมีโยมอีกคนหนึ่งบวชเป็นชีปะขาวขอร่วมเดินทางไปกับเรา
                         พวกเราได้ลงเรือยนต์จากนครเวียงจันทน์  ทวนกระแสน้ำขึ้นไป นครหลวงพระบาง  พักแรมคืนตามบ้านบ้าง กลางหาดทรายบ้าง    สามคืนสี่วันจึงถึงนครหลวงพระบาง    ตามระยะทางสองข้างริมแม่น้ำโขง   เราชมวิวธรรมชาติ อากาศเยือกเย็นทำให้ใจเราวิเวกวังเวงมีความสุขมาก  ประกอบกับคนโดยสารน้อย เขาพากันนอนหลับหมด ยังคงเหลือแต่กัปตันกับลูกเรือไม่กี่คน  ภาพทิวทัศน์อันปราศจากหมู่บ้าน  มีแต่ป่าดงพงไพรและชะโงกหินที่ยื่นออกมาคลุมแม่น้ำ ทั้งบางทีมีสัตว์  เช่น ลิง ค่าง  กระโดดโลดโผนไล่เย้าหยอกกันสนุกตามประสาสัตว์  พอเรือเข้าไปใกล้ต่างก็จับกลุ่มชุมนุมกันมองดูพวกเรา   ภาพอันนั้นทุกวันนี้เราเข้าใจว่าหาดูได้ยาก  เราอนุสรณ์ถึงภาพอันนั้นแล้วทุกวันนี้ก็ยังวิเวกใจอยู่เลย   พวกเราถึงนครหลวงพระบางแล้ว   ได้ขอเข้าพักที่วัดใหม่ใกล้กับพระราชวังพระเจ้ามหาชีวิต ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระบาง   อันเป็นมิ่งขวัญของชาวนครหลวงพระบาง   พอดีเป็นวันที่อัครมเหสีท่านทรงฉลองแท่นพระบางอีกด้วย นับว่าเป็นโชคดีของพวกเราที่จะได้ชมประเพณีการทำบุญของชาวหลวงพระบาง   แต่เราจะไม่ขอกล่าวในที่นี้   หลังจากฉลองแท่นพระบางเสร็จแล้ว   เราขอลาท่านสมภารไปพักวัดหนองสระแก้ว  ซึ่งอยู่บนภูเขาคนละฟากฝั่งแม่น้ำโขงตรงกันข้ามกับนครหลวงพระบาง  เพื่อรอเรือที่จะขึ้นไป  อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย   พวกเรารออยู่ 4 คืนจึงได้ลงเรือขึ้นไปอำเภอเชียงแสน ระยะทางก็สี่คืนเท่ากันกับลงมานครเวียงจันทน์ พวกเราพักอยู่ที่อำเภอเชียงแสน 4 - 5 คืน จึงได้เดินทางไปเชียงราย ลำปาง แล้วได้อยู่ที่สวนของแขกพระบาทตากผ้า ปากทางจะเข้าเขา  เวลานั้นปะขาวที่ไปด้วยป่วยไม่มีไข้แต่เมื่อยอ่อยเพลีย  น้ำปัสสาวะข้นแดงคล้ายน้ำล้างเนื้อ  พวกเราไกลหมอ ใช้ยาพระพุทธเจ้ารักษากันเอง กล่าวคือให้เธอฉันน้ำมูตรของตนเอง ทั้ง ๆ ที่มีสีแดงร่า ๆ นั้น พอถ่ายออกมาอุ่น ๆ ก็ดื่มเข้าไปเลย แหมวิเศษจริง ๆ ดื่มอยู่ไม่ถึง 10 วันหายเป็นปกติเลย หลังจากนั้นพวกเราออกเดินทางด้วยเท้าเปล่าได้ระยะทางราว  35  กิโลเมตร ต่อจากนั้นขึ้นรถบ้างเดินบ้างถึงลำพูน เชียงใหม่ เมื่อเข้าไปที่วัดเจดีย์หลวง สืบถามดูเรื่องราวของท่านอาจารย์มั่นก็ไม่ค่อยได้ความ มิหนำซ้ำพระบางองค์ยังพูดเป็นอาการดูถูกเหยียดหยามท่านเสียด้วยซ้ำไป

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-88.jpg)

                          วัดในหลวงพระบาง

                                                    ชีวิตผจญภัยในสมณเพศ

                         เราขออภัยท่านผู้อ่านสักเล็กน้อย   ในการที่จะเล่าเรื่องชีวิตผจญภัยในสมณเพศนี้  ดูจะหาสาระอันใดมิได้ และเมื่อกล่าวไปก็เป็นที่อับอายขายขี้หน้าตนเอง หากจะไม่กล่าวหรือ ชีวประวัติก็จะไม่สมบูรณ์
                         อตีเต กาเล ขณะเมื่อเราพักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่นั้น  รู้สึกว่าสุขภาพของเราสมบูรณ์ดี ซึ่งไม่เคยดีมาแต่กาลก่อนเลย เห็นจะเพราะเราชอบอากาศเย็นก็ได้ เราได้ไปถ่ายภาพเป็นอนุสรณ์ หลังจากนั้นมาสองวันเราได้ไปรับภาพที่ร้านด้วยตนเอง ขณะที่เราเอาภาพมาดูอยู่นั้นเอง  มีผู้หญิงคนหนึ่งไม่ทราบว่าเป็นคนชนิดไหนเดินมาข้างหลังแล้วพูดว่า คุณพี่ขา ดิฉันขอสักแผ่นบ้าง พร้อมทั้งแสดงกิริยาส่อไปในทางยั่วยุ  เราได้ยินเสียงดังนั้นก็ตกใจ  เพราะเราเพิ่งมาไม่รู้จักกับใครทั้งนั้น พอมองไปดูอาการ ดังนั้นเราจึงทำปฏิกิริยาที่ตรงกันข้าม แล้วเขาก็หันกลับหลบหน้าหนีไป
                        หลังจากได้ฟังคำพูดและเห็นอากัปกิริยาของเขานั้นแล้ว   เหมือนกับได้รับฟังธรรมเทศนากัณฑ์ใหญ่  เราจึงมาจินตนาการถึงเรื่องของมาตุคามอย่างกว้างขวาง ซึ่งกิริยาในทำนองนี้ของมาตุคามเราได้พบเห็นมามากต่อมากแล้ว  แต่หากเราไม่สนใจ  เพราะเรามุ่งมั่นอยู่แต่ในธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้า เห็นมาตุคามเป็นภัยของพรหมจรรย์อย่างเดียว   เมื่อมาประสบเหตุการณ์ครั้งนี้เข้า   จึงเป็นเหตุให้เราทบทวนย้อนหลังกลับไปถึงเหตุการณ์ในอดีตเป็นตอน ๆ ไป  คือ   มีผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเราก็นับถือเขาว่าเป็นผู้มีจิตศรัทธาแลเขาก็มีอายุมากพอสมควร เราได้หัดให้เขาอบรมภาวนาตามวิธีของเราดังได้เคยอบรมคนอื่น ๆ มาแล้ว ทีหลังเขาบอกว่า ถ้ามาอยู่ใกล้ๆ เรา จิตค่อยหายกลุ้มหน่อย บางทีหมู่มาอยู่ด้วยเรามาก ๆ เขาก็มานั่งอยู่ด้วยเป็นเวลานาน ๆ ตอนนี้เรารู้เล่ห์ของเขาแล้ว เราได้สอนให้เขาแก้จิตด้วยวิธีภาวนา แต่ก็ไม่ได้ผล เราใช้วิธีพูดขู่และกล่าวคำหนัก ๆ เพื่อให้เขาโกรธก็ไม่ได้ผลอีก วันหนึ่งเป็นเวลาจวนจะค่ำโพล้เพล้ เขาได้ผลุนผลันขึ้นไปบนกุฏิของเรา เราจะห้ามอย่างไร ๆ ก็ไม่เชื่อ   ขึ้นไปแล้วนั่งซึมไม่พูดอะไร   เราได้เรียกให้ญาติของเขามากระชากแขนลงไป   เขาโกรธใหญ่ ตอนเช้าเรากำลังเดินจงกรมอยู่  เขาได้เดินตรงขึ้นมาหาเราแล้วยืนอยู่ในที่ไม่ไกลนัก  แล้วตะโกนใส่เราบอกว่า สอนกัมมัฏฐานทำไมแบบนี้ สอนให้คนเป็นบ้า อาจารย์ไหน ๆ ก็ไม่พ้นจากกามกิเลส ว่าแล้วก็หันหลังกลับไป เราเห็นแล้วไม่สบายใจเลย ญาติของเขาได้เอาไปที่โรงพยาบาล หมอตรวจดูแล้วก็บอกว่าไม่มีอะไร  ต่อจากนั้นก็ได้ไปอยู่ในสำนักชีอีกแห่งหนึ่ง  ซึ่งเขาเคยสนิทคุ้นเคยมาแต่เมื่อก่อน สามเดือนล่วงไปแล้วเขาจึงได้กลับมาหาเราอีก ตอนนี้เขารู้สำนึกรู้สึกความผิดของเขาเอง ได้มาสารภาพรับผิดโดยคิดว่า เรามีมหานิยม ได้ทำให้เขาหลงรักเรา แล้วเขาก็ได้ขอขมาโทษเราไปแล้ว เป็นอันจบเรื่องที่หนึ่ง
                        เรื่องที่สอง   หลังจากนั้นอีกนาน   เราได้อบรมสั่งสอนพุทธศาสนิกชนไปตามชนบทในที่ต่าง ๆ  โดยความเมตตาปรารถนาดีด้วยความจริงใจ ไม่เห็นแก่ความลำบากตรากตรำ ตอนกลางคืนบางทีเราอบรมสั่งสอนเขาสองยามสามยามเราก็ทนได้  โดยเฉพาะสงสารผู้หญิงที่ยังสาว ๆ ไม่มีพันธะอะไร อยากให้เขาเห็นทุกข์ในภาวะเพศของตน แล้วรักษาศีลพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์     เมื่อตายแล้วเกิดใหม่จะได้พ้นจากภาวะเดิม    หรือเกิดเป็นผู้ชายแล้วจะได้บวชเป็นพระเณรต่อไป   ความนึกคิดอันโง่ ๆ  ของเรานี้ได้มีต่อสตรีเพศทั่วไป   มิใช่เฉพาะคนนั้นคนนี้ ความเมตตานั้นได้กลายเป็นมหานิยมไปโดยเราหาได้รู้ตัวไม่    กล่าวคือมีผู้คนนิยมนับถือเรามาก    จนมีผู้หญิงผู้ชายทั้งหนุ่มแก่แลเป็นสาวมาบวชอยู่ป่ากับเราด้วยเป็นอันมาก       ซึ่งบางคนภาวนาก็ได้ผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ประจักษ์แก่ตนเองและหมู่คณะด้วย แต่ผู้ที่ภาวนาไม่เป็นนั่นซิมาทำเหตุกลับมาสร้างกิเลสให้หนักขึ้น วันหนึ่งเรามีธุระต้องจากที่นั้นไป มีแม่ชีคนหนึ่งมาขอติดตามไปด้วย  เราได้ห้ามแล้วก็ออกเดินทางไป หลังจากนั้นแม่ชีคนนั้นงงเซ่อไปเลย ไม่พูดอะไรทั้งหมด  ใครจะถามอย่างไร ๆ ก็ไม่พูด มีแต่ยิ้ม ๆ อย่างเดียว   เราไปเสียหลายวัน พอกลับมาเห็นอาการอย่างนั้น เราได้พยายามพูดคำหนัก ๆ ให้แกโกรธ เพื่อให้ลืมอารมณ์เดิม แกก็ยิ้มอยู่อย่างนั้น เราใช้วิธีทางศาสนาช่วยก็ไม่ได้ผล เราจึงใช้ให้คนนำไปส่งญาติ ๆ ของเขา ตอนนี้เราไม่สนใจอะไรมาก คิดได้แต่ว่า  เหตุทั้งหลายนี้เกิดจากความใคร่ในกามเท่านั้น          หลังจากนั้นเราได้อบรมศีลธรรมแก่พุทธศาสนิกชนด้วยความเมตตาปรารถนาดีเป็นทุนมาโดยลำดับ เรื่องภัยอันตรายแก่พรหมจรรย์ของเราเล็ก ๆ น้อย ๆ โดยทำนองนี้เราได้ผ่านมามาก แต่เราไม่สนใจและไม่คิดว่าจะเป็นไปได้ ทั้งในใจก็ละอายต่อเหตุการณ์เช่นนี้มากเสียด้วย จึงไม่ขอกล่าว
                        จะไปกล่าวถึงเหตุการณ์อันน่าหวาดเสียวที่สุดในชีวิตพรหมจรรย์   คือเมื่อครั้งเราเข้ามาในเพศบรรพชิตใหม่ ๆ ปกติกลางคืนเวลาว่าง บางทีเราก็พาเด็กไปเยี่ยมบรรดาโยมซึ่งเคยอุปัฏฐากค้ำจุนเรามา มาวันหนึ่ง พอเราขึ้นไปบนบ้านของโยมผู้หนึ่ง แกออกมาปิดประตูเลย เราตกใจ เวลานั้นแกอยู่กับลูกเล็ก ๆ คนหนึ่ง แล้วเราก็เริ่มคุยสนทนากันในเรื่องที่ต่าง ๆ  ตามประสาของคนนับถือกัน แต่ไหนแต่ไรมาไปทีไรแกมักถามเสมอว่า  เราอยากสึกไหม  เราคนใจซื่อแล้วก็ขี้อาย จะบอกทุกครั้งว่า ไม่ แล้วก็พูดเรื่องธัมมะธัมโมเรื่อยไป มาคราวนี้ก็เช่นกันแกถามอย่างเดิมแล้วแกยังคุยถึงเรื่องอดีตของแกว่า   เมื่อก่อนแต่งงานมีพระมารักมาชอบแกแต่ไม่ได้แต่งงานกัน สามีคนปัจจุบันแต่งงานกันเพราะญาติทั้งสองฝ่ายเห็นชอบด้วยกัน แล้วจัดการให้ แล้วก็อยู่กันไปอย่างนั้นแหละ ไม่ทราบว่าจะแตกร้าวกันเมื่อไร เราก็นั่งฟังเฉย ๆ โดยถือว่าคนคุ้นเคยกัน พูดกันโดยความสุจริตใจ
                        แต่แปลกที่กิริยาของแกมีกระเถิบเข้ามาใกล้ทุกที แสงไต้หรี่จวนจะดับไม่ดับแหล่  บอกให้เขี่ย แกก็ยิ้มๆ เฉย ๆ ( สมัยจุดไต้ ) เราชักใจไม่ดีแลร้อนด้วยความใคร่ขึ้นมาบ้าง แลความกลัวบาปพร้อมทั้งกลัวคนจะรู้เข้าก็มาก ในขณะนั้นถึงแม้จะให้เราพูดเวลานี้ก็พูดอะไรไม่ถูกเลย มันตื้อไปหมด ถึงตัวแกเองเท่าที่สังเกตดูก็เป็นอันมาก ๆ ทีเดียว ดูสีหน้าแล้วเกือบจะไม่มีสติเอาเสียเลย แกทนไม่ไหวต้องลุกออกไปข้างนอกดื่มน้ำ เอาน้ำลูบหน้า แล้วจึงกลับเข้ามาใหม่ตั้งหลายหน แต่กลับเข้ามาทีไรนั่งใกล้ชิดเราเข้าทุกที เราใจไม่ดี มันงงมึนไปหมด ทำให้เราหงุดหงิดรำคาญจึงลากลับวัด   ที่ไหนได้มองดูเด็กที่ไปด้วยนั่งพิงฝาหลับแล้ว  แกขอร้องให้เรานอนพักที่บ้านด้วย เช้าจึงกลับ  เรายิ่งงงใหญ่พร้อมด้วยความกระดากใจเอามาก ๆ ทีเดียว  เราบอกให้ปลุกเด็ก  ครั้งที่สองจึงยอม  เด็กตื่นแล้ว เราสองคนกับเด็กเดินลงบันไดบ้านด้วยความมึนงงและละอายแก่ใจตนเองมาก กลัวหมู่เพื่อนแลครูบาอาจารย์จะรู้เข้าด้วย  ถึงวัดราวเที่ยงคืนแล้วปรารภถึงเรื่องนั้นว่า  อะไรหนอ ๆ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น นอนไม่หลับจนสว่าง เป็นอันว่าเราตลอดปลอดภัยพ้นอันตรายมาได้อย่างปาฏิหาริย์
                         เรื่องทั้งหลายแหล่ในอดีตที่เราเล่ามาทั้งหมดนั้นเกิดจากผู้หญิงสาวที่เราไม่เคยรู้จักหน้าตาเขามาก่อนเลย ซึ่งเดินเข้ามาขอรูปภาพของเราในวันนั้นเท่ากับเทศนาให้เราฟังแท้ ๆ อ๋อเล่ห์เหลี่ยมของหญิงทั้งหลายผู้ยังหลงมัวเมาอยู่ในกามโลกีย์ในโลกนี้เป็นอย่างนี้แลหนอ เราจึงขอขอบพระคุณเขาไว้เป็นอย่างมาก ณ โอกาสนี้ด้วย เรื่องแรกที่เรายกมาเล่านั้นเกิดขึ้นเหมือนเราได้ฟังเทศน์เขา จึงไม่มีแปลกอะไร สองเรื่องหลังต่อไปนั้นจะเป็นเพราะเราไม่สนใจในเรื่องโลกีย์วิสัย หรืออีกทีเขาก็เรียกกันว่าโง่ก็ได้ แต่เรายอมเป็นคนโง่ในเรื่องพรรค์นั้นแล้ว จึงยอมสละชีวิตออกบวช แล้วก็บวชอย่างชนิดที่ยอมถวายชีวิตเพื่อบูชาพระพุทธศาสนาเอาจริง ๆ ด้วย อนึ่ง หากเราไม่โง่เช่นนั้นก็ดี หรือบุญกุศลของเราไม่ช่วยค้ำจุนไว้ก็ดี และเราไม่ยอมสละชีวิตเพื่อบูชาพระศาสนาก็ดี ป่านนี้ตัวของเราคงจะเป็นมูลเหยี่ยวมูลกาไปแล้วแต่นานก็ได้

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-83.jpg)

                         เชียงใหม่ อายุ ๓๒ พรรษา
                  
                        


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:09:04
                           เมื่อเราได้อนุสรณ์ถึงเหตุการณ์ที่ได้ผ่านพ้นอันตรายมาอย่างน่าหวาดเสียวแล้ว   ทำให้เราเกิดความปลื้มปีติอิ่มใจจนทำให้ร่างกายสั่นสะท้านอยู่หลายวัน แม้หลังจากนั้นแล้วเมื่อเราปรารภถึงเรื่องนั้นขึ้นมาทีไร ก็เกิดปีติขึ้นมาเช่นเคยตลอดเวลาเกือบยี่สิบปีทีเดียว  เราละอายแก่ใจมาก ไม่อยากจะพูดเลยว่ามาตุคามเป็นภัยอันตรายมากแก่พรหมจรรย์  เพราะมารดาของเราก็เป็นผู้หญิง  และพุทธศาสนาที่เราซุกหัวพึ่งร่มเงาอยู่ในขณะนี้   โดยมากก็อาศัยผู้หญิงค้ำจุนไว้แท้ ๆ ถึงสมัยพุทธกาลนางวิสาขาก็มีนามกระเดื่องเลื่องลือว่าเป็นมหาอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาคนหนึ่ง แต่ถึงกระนั้นเมื่อพระพุทธองค์จะเตือนพระสาวกให้ระวังสังวรในพรหมจรรย์แล้ว  ก็เตือนให้ระวังสังวรในเพศตรงข้ามโดยส่วนมาก  เช่น  ในปัจฉิมโอวาทคราตรัสตอบคำถามของพระอานนท์ที่เกี่ยวถึงการปฏิบัติต่อสตรีเพศหลังจากพระองค์ปรินิพพานแล้ว  "การที่ไม่ได้เห็นไม่ได้ยินนั้นแลดี   หากจะมีการได้เห็นได้ยิน ก็อย่าทำความสนิทแลพูดคุยด้วย หากจำเป็นจะต้องพูดคุยด้วยแล้ว ก็จงสำรวมใจไว้ให้ดี"   ดังนี้เป็นต้น ส่วนสตรีเพศเล่าผู้อบรมใจของตนให้บริสุทธิ์หลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้       ก็มาปรารภบุรุษเพศที่ตรงกันข้ามอันเป็นอิฏฐารมณ์จนให้เห็นโทษแล้วเบื่อหน่ายเหมือนกัน   ดังเรื่องนางอุบลวรรณาเถรีภิกษุณีกล่าวตอนหนึ่งใจความว่า "เราเห็นโทษในกามทั้งหลาย  เมื่อกามเข้าไปกลุ้มรุมอยู่ในหัวใจของคนใดแล้วย่อมทำให้บอดให้มืด  แม้บิดาก็สามารถสังวาสกับบุตรสาวของตนได้"
                          เป็นอันสรุปได้ว่า ภัยอันตรายที่ร้ายกาจของพรหมจรรย์ตัวสำคัญตัวหนึ่งคือ กามโลกีย์ แต่มิได้หมายเอาเพศตรงข้ามแต่อย่างเดียว     เพราะมนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในกามภูมินี้ย่อมเกิดจากบิดามารดาสองคนจึงเกิด  ฉะนั้นใคร ๆ จะทำอย่างไร ๆ ก็ต้องหนีไม่พ้นเพศตรงข้ามอยู่ดี ๆ นี่เอง แต่ผู้จะไปให้พ้นจากกามทั้งหลาย ต้องยกเอากามมาเป็นเหตุมาเป็นเครื่องปรารภทั้งนั้น โดยเฉพาะก็คือเพศตรงข้าม อันเป็นวัตถุที่ตั้งเครื่องหมายของกามราคะ เพราะความใคร่ความกำหนัดเป็นนามธรรมซึ่งมีอยู่แล้วในจิตของทุก ๆ คน เมื่อมันเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเพ่งลงไปในรูปธรรม ให้เป็นเครื่องหมายแล้วก็ยึดเอาเป็นอารมณ์ อนึ่งรูปธรรมที่จิตไปเพ่งเล็งอยู่นั้น ก็มีพร้อมที่จะสนองความใคร่ความกำหนัดทุกประการ เป็นต้นว่า รูป เพศ สี สัณฐาน กิริยา มารยาท และวาจา
                          ฉะนั้น เพศที่ตรงกันข้ามก็ดี หรือวัตถุกามทั้งหลายก็ดี จึงได้ชื่อว่าเป็นของมีอุปการะแก่ผู้ซึ่งเห็นโทษในกามทั้งหลายแล้วจะทำตนให้พ้นจากกามโลกนี้ได้เป็นอย่างดี   ถ้าหาไม่แล้วพระธรรมวินัย พุทธบัญญัติ หรือการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานทั้งหลาย ตลอดถึงอุบายและปัญญาทั้งปวง ก็จะไร้ค่าหาประโยชน์มิได้
                          มนุษย์สัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในกามภพนี้ ทุกคนจำจะต้องต่อสู้กับภัยอันตรายพรรค์นี้ด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าผู้อยู่ในสมณะเพศหรือฆารวาส  อย่างน้อยถึงจะไม่มีอาวุธทันสมัย  ก็ต้องใช้อาวุธที่บิดามารดาปั้นให้  (คือกำปั้น) ต่อสู้ ผู้ใดไม่ลุกขึ้นทำการต่อสู้ผู้นั้นได้ชื่อว่าเป็นผู้ไร้สาระในชีวิตที่เกิดมา แต่ยุทธวิธีของสมณะกับของฆารวาสมีผิดแผกกันอยู่ที่ตรง สมณะต่อสู้เพื่อชิงชัย ฆารวาสต่อสู้เพื่อปราชัย ผู้ไม่ต่อสู้เสียเลย คือผู้ที่เน่าทั้งเป็น ๆ เรื่องทั้งหมดนี้ก็เพื่อเป็นประโยชน์แก่ท่านผู้บวช   เพื่อรักษาซึ่งพรหมจรรย์   อันจะสืบศาสนาของพระพุทธเจ้าต่อไป  อันมาตุคามเป็นภัยแก่พรหมจรรย์อย่างมหันต์  แต่ก็มีคุณอนันต์แก่พระศาสนาเท่ากัน  เพราะมาตุคามเป็นเรือนร่างที่เกิดของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย  และยังเป็นที่ปรารภให้เกิดธรรมของท่านเหล่านั้นด้วย   ในทัศนะของเราแล้ว ภิกษุผู้ล่วงละเมิดในพระวินัยที่น่าเกลียดที่สุด  คือสิกขาบทที่เกี่ยวด้วยรูปิยะ เรื่องความรัก ๆ ใคร่ ๆ ที่เรียกว่ากามโลกีย์นี้ นับประสาอะไรแต่สมณะผู้ละกามทั้งหลายแล้วออกบวช แม้แต่ฆารวาสผู้หมกมุ่นข้องใจอยู่ในกามคุณ 5 แท้ ๆ หากผู้ใดไปปรารภหรือแสดงปฏิกิริยาออกมาในที่ประชุมชนผู้ดีแล้วเขาถือกันว่าเป็นคนเลว
         เราได้นำท่านผู้อ่านเข้าบุกป่าฝ่าภัยอันตรายที่ร้ายแรงมาจนอ่อนเพลียแล้ว      บัดนี้ขอวกเข้ารายการติดตามท่านอาจารย์มั่นต่อไป

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/12-20.jpg)

                          วัดเจดีย์หลวง3

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/13-6.jpg)

                          วัดเจดีย์หลวง

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-84.jpg)

                          ท่านพ่อลี

                                                 ตามท่านอาจารย์มั่นเข้าเขตพม่า ( พ.ศ. 2476 )

                          พวกเราพากันอยู่วัดเจดีย์หลวง 2 - 3 คืน  แล้วก็ลาสมภารท่านออกเดินทางเพื่อตามหาท่านอาจารย์มั่นต่อไป   เมื่อสืบถามดูตามสำนักต่าง ๆ  ที่ท่านเคยพักอาศัยไม่ได้เรื่องแล้วเพื่อสิ้นความสงสัย   พวกเราจึงตัดสินใจเดินทางออกนอกประเทศ    เข้าเขตพม่าไปทางเมืองหาง - เมืองต๋วนหมอกใหม่รางเครือ  ขึ้นไปถึงผาฮังฮุ้ง (รังรุ้ง) ติดเขตเมืองปั่นแม่น้ำสาละวิน แต่ก็ผิดหวัง ไม่ปรากฏวี่แววว่าท่านจะไปทางนั้น พวกเราทนหนาวไม่ไหว พักอยู่ด้วยชาวเขาเผ่าปะหล่อง 2 คืน แล้วก็กลับลงมาหนาวอะไรถึงขนาดเดือนมีนา - เมษาแท้ ๆ   นอนกองไฟตลอดกลางวันกลางคืนเลย หากเป็นฤดูหนาวหรือปีที่หนาวจัดแล้วจะขนาดไหนกัน   เหตุที่ท่านอาจารย์มั่นจะหนีเข้าป่า เนื่องด้วยเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท) นับถือท่านอาจารย์มั่นมาก เมื่อท่านเห็นว่าจะมีชีวิตอยู่ไม่รอดแล้ว   พร้อมทั้งขณะนั้นพระผู้ใหญ่ผู้ซึ่งสมควรจะครองวัดเจดีย์หลวงไม่มี   ท่านจึงมอบภาระวัดเจดีย์หลวงให้ท่านอาจารย์มั่นต่อไป     ท่านอาจารย์มั่นท่านชอบสงบไม่ต้องการความยุ่ง    ท่านได้อยู่จำพรรษาเพื่อสนองเจตนาของเจ้าคุณอุบาลี ฯ เพียงพรรษาเดียว   ออกพรรษาแล้วก็ลาเข้าป่าหายไป  พอดีกับท่านเจ้าคุณอุบาลี ฯ ท่านก็มรณภาพในพรรษานั้น ต่อจากนั้นสองพรรษาไม่มีใครทราบข่าวคราวว่าท่านไปอยู่ไหน เราทั้งสองกับท่านอ่อนสีจึงได้ค้นหาตามไปพบท่าน
                          การเดินรุกขมูลคราวนี้   เป็นการแสวงหาท่านอาจารย์มั่นไปในตัว  อยู่ในเขตเมืองไทยของเราถึงแม้จะกันดารด้วยนานัปการก็เป็นธรรมดาของผู้เดิน รุกขมูล   พอออกนอกเขตเมืองไทยเราไปแล้วแสนจะรำคาญและกันดารหลายอย่าง  เช่น   คำพูดและขนบธรรมเนียมประเพณี  ซึ่งบางอย่างทั้งๆ  ที่ถือพุทธด้วยกัน    แต่การถือผิดแผกจากที่เราเคยถือมาจนบางอย่างไม่ตรงกับธรรมวินัยพุทธบัญญัติ เลยก็มี         มันลำบากใจแก่เราผู้เป็นอาคันตุกะอย่างยิ่ง  ยิ่งเที่ยวไปตามหมู่บ้านชาวเขาต่าง ๆ  แล้วแสนจะกันดาร  หนทางยิ่งแล้วใหญ่ บางแห่งต้องเดินตามลำธารหุบเขา  มิฉะนั้นก็เดินเลียบหน้าผาที่สูงชัน  ตอนขากลับลงมาลื่นก้อนหินหกล้มหัวเข่าแตกเหวอะหวะ  ต้องอุตส่าห์เดินกะเผลก ๆ จึงถึงบ้านโป่งป่าแขม  อันเป็นเขตแดนไทยพม่าติดต่อกัน แล้วมานอนรักษาตัวอยู่ที่ถ้ำปล่อง 10 คืน
                         เมื่อเราเข้าไปในพม่ามีสิ่งที่น่าชมคือเขาเป็นชอบสงบ  ใจบุญ ไม่มีขี้ขโมย ขี้โกง  แม้เป็ดไก่สุกรเขาก็ไม่เลี้ยง เพราะเขาไม่ฆ่าสัตว์ รับประทานผักปรุงด้วยพริกเกลือและถั่วงาเป็นพื้น นานทีปีครั้งจะมีปลากรอบจากเขมรขึ้นไปให้ชิม ได้ข่าวว่าหลังสงครามญี่ปุ่น จอมพล ป. บังคับให้เลี้ยงสัตว์เดือดร้อนกันมาก  เราชอบใจน้ำใจศรัทธาเขามาก และความสงบเรียบเขาก็ดี ขนาดวัดติดเขตรั้วบ้านเขา กลางคืนก็ไม่มีเสียงอึกทึกเลยเหมือนกับไม่มีบ้านอย่างนั้นแหละ
                         แผลที่หัวเข่าเราหายพอเดินได้แล้ว  เราสองคนเดินตัดข้ามเขาม่อนอางขาง  ( ขาง หมายความว่า หวง เขาผีหวงหรือดุ ) วันนั้นพวกเราเดินไม่ถึงหมู่บ้านชาวเขา  เพราะภูเขาลูกนี้สูงมากเที่ยงวันถึงยอดเขา ขาลงมาชันมากถึงตีนเขามืดพอดี   เดินมากลางทางได้ยินเสียงเสือร้องอยู่ไม่ไกลนักจากพวกเรา  เรากลัวเสือแทบตายแต่ก็ไม่บอกให้เพื่อนของเรารู้ว่าเป็นเสียงเสือ   เพราะท่านเป็นคนบ้านทุ่ง ไม่รู้จักเสียงเสือ หากเราบอกให้ท่านทราบ เดี๋ยวท่านจะกลัวไปด้วยอีกคน พ้นจากเสือร้องไปแล้วสักครู่หลงทางเลยพากันแวะนอนในป่านั้นเอง คืนนั้นเรากลัวเสือจนนอนไม่หลับตลอดคืน น้ำค้างก็แรง หนาวก็หนาว เพื่อนเรานอนกรนโครก ๆ ตลอดคืน เรากลัวเสือได้ยินจะตาย ท่านนอนสบายไปเลย เช้ามืดพากันเก็บเครื่องบริขารแล้วก็หอบทั้งเปียก ๆ นั่นเองออกเดินทางต่อไป ขณะเดินทางเราได้บอกท่านว่า   ที่ร้องเมื่อคืนนี้ทำเสียงดังเหมือนกับสุนัขเจ็บจะตายนั่นแหละ   คือเสียงเสือโคร่ง เมื่อมันได้กินอาหารอิ่มแล้ว มันก็สนุกร้องอย่างนั้นเอง พวกเราเดินทางราว 2 โมงเช้าจึงถึงหมู่บ้าน เตรียมตัวออกบิณฑบาต ฉันจังหันแล้วก็ออกเดินทางต่อไปอีก  มาพักอยู่ที่ถ้ำตับเต่าชั่วระยะหนึ่ง เพื่อพักเอากำลัง หายเหนื่อยแล้วจึงออกเดินทางไปทางอำเภอพร้าว

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-59.jpg)

                           เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)

                                                ลางร้ายของผู้เดินทาง

                         สิ่งที่ไม่น่าเชื่อแต่มันได้เป็นไปแล้ว  กล่าวคือ  วันนั้นพวกเราฉันจังหันแล้วออกเดินทางจากถ้ำตับเต่า  มีอีเก้งวิ่งผ่านหน้าพวกเราออกจากข้างบ้านสองหลังคาเรือน     ซึ่งเขาปลูกอยู่กลางทุ่งหญ้าแฝกริมประตูวัดนั้นเอง แล้วเขาวิ่งช้า ๆ อย่างขี้เกียจอย่างนั้นแหละ  พวกเราก็ไม่สนใจถือเสียว่าเรามาหาบ้านเมืองของเขา พอเดินผ่านหมู่บ้านแล้วตัดข้ามทุ่งนา ซึ่งจะไปเข้าปากทาง อีเก้งสองผัวเมียปนฝูงควายอยู่  เห็นพวกเราก็วิ่งออกหน้าอีกแล้วพวกเราก็ไม่สนใจเช่นเคย พอพ้นจากนั้นไปไม่กี่เส้น ทั้ง ๆ ที่พวกเราก็เดินเข้าทางเดินเท้า แล้วทำไมพากันแวะออกจากทางเดิมแล้วเข้าทางเก่า ๆ เข้าไปในหุบเขาได้
                         พวกเราเดินตามลำธารไปไม่มีทางขึ้นตลิ่งเลย อยู่ราว 10 ชั่วโมง  เพราะสองข้างเป็นภูเขาสูงชัน ตลอดเวลาเดินทางแดดไม่ส่องเลย   พวกเราไม่ได้พักแม้แต่ฉันน้ำ  พอเหนื่อยเพลียชวนเพื่อนกลับทางเก่าเพื่อนก็ไม่ยอม  ในใจเรานึกว่ายอดห้วยมันต้องเกิดจากน้ำไหลจากโคกมารวมกัน  เหมือนห้วยทางภาคอีสาน ที่ไหนได้ พอเดินไปถึงยอดห้วยมันเป็นหน้าผาเสียฉิบไปเจาะรอยกวางและหมูป่านอนปลัก   เราหมดหนทางเดินต่อ   พอย้อนหลังกลับเท่านั้นแหละ   เจ้ากรรมเราเหยียบก้อนหินพลาดหกล้มหินบาดพื้นเท้าแผลลึก   พอดีจวนจะมืดอยู่แล้ว หยิบเอาผ้าอังสะมาพันแผล   แล้วตัดสินใจพากันปีนป่ายขึ้นตลิ่งชัน ๆ กอปรด้วยหินลูกรัง   แม่เอ๋ย เหยียบลงตรงไหนคอยแต่จะกลิ้ง
                         พอถึงยอดเขาราวหนึ่งทุ่ม ได้เห็นทางคนเดินวกไปวนมาตามยอดเขาพอราง ๆ  เราดีใจว่ามีทางคงใกล้ถึงหมู่บ้านแล้ว  ทันใดนั้นกวางมันเห็นแสงเทียนโคมผ้าพวกเรา มันตื่นตกใจร้องปี๊บปี๊บพร้อมทั้งกระทืบเท้า เราก็ตกใจแทบหัวใจหยุดเต้น พอตั้งสติได้เอ๊ะนี่เสียงกวางแน่ แล้วมองไปที่เสียงเห็นหน้าอกมันขาว ๆ จึงเชื่อแน่ชัดลงไปอีกว่ากวาง ทีหลังมันร้องปี๊บอีกแล้วมันก็กระโดดลงเขาหายไป เมื่อพิจารณาดูทับนอนของเขาที่อยู่ตามทางที่ผ่าน ๆ ไปแล้วเห็นว่ายังไกลบ้านคนนัก   อนึ่งก็เป็นเวลาดึกพอพักนอนแล้วจึงได้พากันจัดหาที่นอนตามชอบใจในป่าหญ้าที่รก ๆ นั้นเอง  แต่ตลอดคืนนอนไม่หลับ กลดมุ้งกางไม่ได้ ลมแรง ทางพื้นดินนอกจากปลวกจะมารบ กวนแล้ว เจ้ามดก็พากันแห่มารุมกินเลือดที่แผลและเหงื่อตามตัว ที่ตาต้องเอาผ้าพันไว้ มิฉะนั้นแล้วมันจะมารุมกินน้ำตาเรา  พอสว่างมาลุกขึ้นมองดูข้างหลังทางเข้ามาเห็นทุ่งนาเท่าบิ้งนานิดเดียว เรากำหนดทิศได้ว่าถ้าตรงไปทางนี้คงเจอะทางที่เราหลงนั้นแน่         จึงเดินลัดป่าลัดโคกตามกำหนดหมายไว้      แหมเท้าเจ็บ เราเดินฝ่าก้อนกรวดหินลูกรังกลางโคกแทบจะไปไม่รอดอยู่แล้ว  แต่กัดฟัน  จำเป็นจำใจต้องเดินเพราะไม่มีหมู่บ้านอยู่ใกล้ เดินไปพักใหญ่ ๆ ก็ไปตกทางที่คาดไว้จริง ๆ เดินไปกว่าจะถึงหมู่บ้านก็ราว 3 โมงเช้า  เราค่อยโล่งใจหน่อยแล้วได้พากันปลงเครื่องบริขารไว้ริมท่าน้ำข้างๆ บ้านเขานั้นเอง  สักครู่มีคนเดินออกมาหา   เราได้เล่าพฤติการณ์ทั้งปวงให้เขาทราบ  เราคิดจะขอข้าวเขาฉันโดยตรง ๆ  ก็กลัวจะเป็นโทษ  จึงพูดเป็นอุบายว่า  พวกเรายังไม่ได้ฉันข้าวเลย แล้วก็เจ็บเท้าจะไปบิณฑบาตก็ไม่ได้ เราอยู่ ณ ที่นี้จะได้ฉันข้าวไหม เขาบอกว่า ได้ฉันเจ้า แล้วเขากลับเข้าไปในบ้าน   พวกเราเชื่อว่าเขาคงจะนำข้าวมาให้ฉันแล้วก็พากันลงอาบน้ำ   พอลงอาบน้ำแล้วขึ้นมาเท่านั้นแหละ  แม่โอ๊ย  แผลที่เท้าเจ็บเดินไม่ได้เลย เมื่อคืนนี้ตลอดคืนมันก็ไม่เจ็บ เช้านี้เดินมาก็พอทนไหว นี่ทำไมจึงเจ็บเอาจนลุกไม่ได้   ท่านอ่อนสีเพื่อนคู่ทุกข์ก็เป็นลมหน้ามืดลุกไม่ขึ้น    คอยเขาจะเอาข้าวมาให้ฉันก็หายเงียบ ความหิวความเพลียก็ประดังเข้ามา ดีที่มียาแก้ลมติดถุงย่ามไปด้วย ช่วยกันพยาบาลท่านอ่อนสี กว่าจะลุกขึ้นได้ก็สายร่วม 10 โมงเช้าแล้ว เราจึงให้ท่านไปถามเขาดู เห็นแต่เด็กสองคนเฝ้าบ้านอยู่ ถามได้ความว่าผู้ใหญ่เข้าป่าไปหากินหมดแล้ว   หมู่บ้านนี้มีสองหลังคาเรือน  อาชีพเขาไปหาตัดยอดตองอ่อนมารีดขายมวนบุหรี่กิน  พอท่านอ่อนสีมารายงานแล้ว  เราให้ท่านไปตามเอาเด็กสองคนนั้นมาแล้วถามแลกข้าวด้วยไม้ขีดไฟ  เพราะสมบัติอะไรเราไม่มี ยังเหลือแต่ไม้ขีดไฟคนละสองกล่อง แลกข้าวได้ข้าวเหนียวสองกระติบ น้ำพริกถั่วเน่าสองจาน กับผักต้มชะอมสองมัด  พวกเราพากันฉันอย่างเอร็ดอร่อยนี่กระไร  พอฉันเสร็จแล้วเท้าเรายิ่งเจ็บใหญ่ เจ็บเอาจนเนื้อแข็งเต้นเลย  เราพากันทนทรมารอยู่ที่นั้นจนตะวันบ่ายสามโมงเศษ ๆ  จึงได้พากันเดินเขยก ๆ ไปอีกราว 3 กม. จึงถึงอีกหมู่บ้านหนึ่ง   แล้วพยาบาลแผลและพักเอาแรงอยู่ ณ ที่นั้น 11 คืน  จึงได้เดินข้ามเขาบ้านกะเหรี่ยงมาตกเขตอำเภอพร้าว ณ ที่บ้านมโนรา (ลูกสั้น)
                        เย็นวันนั้นพวกเราได้ทราบข่าวดี มีคนมาบอกว่าท่านอาจารย์มั่นอยู่ที่ป่าเมี่ยง แม่ปั๋ง ท่านอาจารย์สานอยู่ที่ปากทางเข้าไปถ้ำคอกคำ พวกเราดีใจคิดว่าสมความปรารถนาแล้วครั้งนี้ ฉันเช้าแล้วเตรียมตัวออกเดินทาง ค่ำถึงถ้ำคอกคำที่อาจารย์สานอยู่พอดี พักอยู่ด้วยท่านคืนหนึ่ง สนทนาธรรมสากัจฉาและเรื่องราวต่าง ๆ พอควรแล้ว เช้าฉันแล้วท่านแนะทางให้พวกเราสองคนจึงได้ลาท่านไป
                        พวกเราไปถึงที่อยู่ของท่านอาจารย์มั่นราวบ่าย  4 โมง  ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่  พอท่านมองมาเห็นเราท่านจำได้แม่น  เรียกชื่อเราเลย  แล้วท่านก็พักเดินจงกรม  เดินเข้าไปนั่งที่อาศรมของท่าน   พวกเราปลงเครื่องบริขารไว้ข้างนอก ท่านไม่ยอมท่านให้เอาไปไว้ที่เฉลียงอาศรมของท่าน   แล้วพวกเราเข้าไปกราบนมัสการท่าน ท่านได้ถามสารทุกข์สุกดิบพอเป็นเครื่องระลึกเล็กน้อย   แล้วเราจึงได้กราบเรียนท่านว่า   "ที่ต้องตามหาท่านอาจารย์ในครั้งนี้     ด้วยจุดประสงค์อยากจะมาขอความกรุณาให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยแก้อุบายภาวนาให้   เพราะกระผมได้คิดและได้ศึกษาจากหมู่คณะมามากแล้ว    เห็นว่านอกจากท่านอาจารย์แล้ว คงไม่มีใครแก้อุบายนี้ของกระผมได้แน่ "              แล้วก็ได้เล่าความเป็นมาของเราถวายให้ท่านทราบทุกประการ    เริ่มต้นแต่ได้ปฏิบัติมาจนกระทั่งถึงเรื่องที่ได้นำเข้าเรียนท่านอาจารย์สิงห์ที่โคราช ท่านจึงเล่าถึงการที่ท่านได้อบรมสานุศิษย์มาแล้วเป็นทำนองว่าให้เราทบทวนดูหมู่เพื่อนที่ท่านอบรมว่า
            "ถ้าองค์ไหนดำเนินตามรอยของผมจนชำนิชำนาญมั่นคงองค์นั้นย่อมเจริญก้าวหน้า อย่างน้อยก็คงตัวอยู่ได้ตลอดรอดฝั่ง ถ้าองค์ไหนไม่ดำเนินตามรอยของผม องค์นั้นย่อมอยู่ไม่ทนทานต้องเสื่อมหรือสึกไป ผมเองหากมีภาระมาก ๆ ยุ่งกับหมู่คณะ  การประกอบความเพียรไม่สม่ำเสมอ  เพ่งพิจารณาในกายคตาไม่ละเอียด จิตใจก็ไม่ค่อยจะปลอดโปร่ง   การพิจารณาอย่าให้จิตหนีออกนอกกาย   อันนี้จะชัดเจนแจ่มแจ้งหรือไม่ก็อย่าได้ท้อถอย เพ่งพิจารณาอยู่ ณ ที่นี่ละ จะพิจารณาให้เป็นอสุภหรือให้เป็นธาตุก็ได้ หรือจะพิจารณาให้เห็นเป็นขันธ์หรือให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ได้ทั้งนั้น แต่ให้พิจารณาเพ่งลงเฉพาะในเรื่องนั้นจริง ๆ ตลอดอิริยาบถทั้งสี่ แล้วก็มิใช่ว่าเห็นแล้วก็จะหยุดเสียเมื่อไร  จะเห็นชัดหรือไม่ชัดก็พิจารณาอยู่อย่างนั้นแหละ  เมื่อพิจารณาอันใดชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยใจตนเองแล้ว สิ่งอื่นนอกนี้จะมาปรากฏชัดในที่เดียวกันดอก "  ท่านบอกว่าอย่าให้จิตมันรวมเข้าไปภวังค์ได้


                          


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:09:30
                        พรรษา ๑๒ จำพรรษาที่ป่าเมี่ยง แม่ปั๋งเราตั้งต้นเรียนกัมมัฏฐานใหม่ ( พ.ศ. ๒๔๗๗ )

                         พอท่านพูดจบ   เรานึกตั้งปณิธานไว้ในใจว่า  เอาละคราวนี้เราจะเรียนกัมมัฏฐานใหม่  ผิดถูกเราจะทำตามท่านสอน    ขอให้ท่านเป็นผู้ดูแลและชี้ขาดแต่ผู้เดียว   นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา   เราตั้งสติกำหนดพิจารณาอยู่แต่เฉพาะกาย  โดยให้เป็นอสุภเป็นธาตุสี่  เป็นก้อนทุกข์อยู่ตลอดทั้งกลางวันและกลางคืน   เราใช้เวลาปรารภความเพียรอยู่ด้วยความไม่ประมาท สิ้นเวลา ๖ เดือน  (พรรษานี้เราจำพรรษาอยู่ที่นี้) โดยไม่มีความเบื่อหน่าย ใจของเราจึงได้รับความสงบและเกิดอุบายเฉพาะตนขึ้นมาว่า
                        ทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้เป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุสี่เท่านั้น    แต่คนเราไปสมมติแล้วหลงสมมติตนเองต่างหาก มันจึงต้องยุ่งและเดือดร้อนด้วยประการทั้งปวง
                        เราได้อุบายครั้งนี้ทำให้จิตหนักแน่นมั่นคง ผิดปกติกว่าเมื่อก่อน ๆ มาก  แล้วก็เชื่อมั่นในตัวเองว่าเราเดินถูกทางแล้ว  
 แต่ยังไม่ได้กราบเรียนท่านอาจารย์  เพราะความเชื่อในอุบายของตนเองว่าเราจะกราบเรียนท่านเมื่อไรก็คงได้
                        ปีนั้นอากาศเย็นจัดมากจนได้สุมไฟนอน ไม้บาดที่มือ เลือดไม่มีเลย ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นลงมาที่บ้านทุ่งหมากข้าว เราสองคนกับพระอ่อนสี (พระครูสีลขันธ์) ยังคงอยู่ที่เดิมแต่เปลี่ยนที่กัน คือเราลงมาอยู่ที่ท่านอาจารย์มั่นกับพระอ่อนสีจำพรรษา  พระอ่อนสีขึ้นไปอยู่บนเขาที่เราอยู่จำพรรษา  กลางคืนเสือมานั่งเฝ้าพระอ่อนสีที่นอนข้างกองไฟ  พอไฟดับมันหนาวลุกขึ้นจะใส่ไฟ  เสือร้องโฮกแล้วก็กระโดดเข้าป่าไป ท่านเป็นชาวทุ่งไม่รู้จักเสียงเสือ  เราก็ไม่บอกให้ทราบเลย  กลัวท่านจะกลัว  ต่อมาท่านอาจารย์มั่นมีหนังสือให้พวกเราลงไปหา เราไปช่วยทำธุระท่านอยู่ ๑๐ คืน  เอ๊ะ  อุบายที่เราเคยพิจารณาอยู่ชัดเจนแจ่มแจ้ง  ชักจะไม่ค่อยชัดเจนเสียแล้ว นี่เห็นคนเป็นคนไปตามสมมติเสียอีกแล้ว พอเสร็จธุระเรากับอาจารย์แหวนขอลาท่านออกเที่ยววิเวกอีก ส่วนท่านอ่อนสีให้อยู่อุปัฏฐากท่านอาจารย์มั่น เราพากันออกเดินทางราวสามร้อยเส้นก็แวะเข้าป่าพักรุกขมูลแห่งหนึ่ง คืนวันนั้นได้ยินเสียงเสือร้องบนยอดเขาทำให้ใจเราวิเวกมาก  ระลึกเอาพุทธคุณมาเป็นอารมณ์ ต่อนั้นก็ทำให้เกิดความรู้มหัศจรรย์แปลก ๆ อยู่หลายอย่าง ๆ ไม่คิดและไม่เคยเป็นมาแต่เมื่อก่อนเลย [/b] พวกเราพัก ณ ที่นั้นสองคืนแล้วออกเดินทางต่อไปพบท่านอาจารย์สานที่อำเภอพร้าว  แต่เราอยู่กับท่านไม่ได้นาน  เพราะคิดถึงวิเวก  จึงได้ลาท่านขึ้นไปบนภูเขามูเซอ ไปทำความเพียรอยู่ ๙ คืน  โดยคิดว่าเราจะไปอยู่กับหมู่คนที่พูดไม่รู้ภาษากัน แล้วจะได้ประกอบความเพียรให้เต็มที่ ส่วนอาหารเราทราบดีแล้วว่าเขาใจบุญพอจะได้ฉันแน่

                                                            เกิดวิปลาส
 
                      เราได้ปรารภความเพียรอย่างสุดความสามารถจนเกิดวิปลาสขึ้นว่า พระพุทธเจ้าพระสงฆ์ไม่มี มีแต่พระธรรม  เพราะพระพุทธเจ้าก็คือ พระสิทธัตถะกุมาร มารู้พระธรรมจึงได้เป็นพระพุทธเจ้า แม้ตัวพระพุทธเจ้าเองก็เป็นรูปธรรมนามธรรม   พระสงฆ์ก็เช่นเดียวกัน  ที่ได้มาเป็นพระสงฆ์ทั้งที่เป็นอริยและปุถุชนก็มาดำรงอยู่ในพระธรรมนี้ทั้งนั้น             แต่เราได้ย้อนมาตรวจดูความสมมติบัญญัติแล้ว  เอ  นี่มันไม่ตรงกันนี่  ความเห็นของเราสองแง่นี้ได้โต้กันอยู่หลายวันไม่ตกลง ดีที่เราไม่ยอมทิ้งสมมติบัญญัติ  ถ้าหาไม่แล้ว ดูเหมือนจะสนุกใหญ่เหมือนกัน พอดีท่านอาจารย์สานให้คนมานิมนต์ให้ลงไปรับไทยทาน  ใจหนึ่งมันก็ยังไม่อยากไป   แต่มาคิดถึงบริขารผ้าสบงว่าเราใช้มาร่วมสามปีแล้ว  เกรงจะใช้ได้ไม่คุ้มพรรษา ไหน ๆ เราไปแสวงหาบริขารให้สมบูรณ์แล้วจึงกลับขึ้นมาใหม่  จึงรับนิมนต์ท่าน  เมื่อลงมาก็ได้สมประสงค์ทุกอย่าง  แลความเห็นวิปลาสนั้นก็หายไปเอง

                                          พรรษา ๑๓ จำพรรษาที่บ้านมูเซอ ( บ้านปู่พญา ) ( พ.ศ. ๒๔๗๘ )

                      เมื่อตัดเย็บสบงย้อมเสร็จแล้วเราจึงได้ขึ้นไปใหม่  แต่ไปคราวนี้มิได้ไปที่เดิม ขึ้นไปทางบ้านปู่พญา เมื่อเราไปถึงเขาพากันใจดีจัดเสนาสนะให้เราอยู่อย่างพร้อมใจกัน โอ้โฮ เบื้องต้นเราผิดหวังไปถนัดทีเดียว เรานึกว่าพูดไม่รู้ภาษากันคงไม่มีใครมายุ่งเกี่ยว ที่ไหนได้ขึ้นไปครั้งแรกพักบ้านร้าง เขาไม่เคยเห็นพระธุดงค์ ทั้งเด็กเล็กหนุ่มแก่พากันมายืนมองดูเรา จากไกลจนใกล้เข้าชิดขนาดจะเหยียบเท้าเราเลย มึงไปกูมา จากเที่ยงถึงราวบ่ายสี่โมงเย็น  จากยืนลงนั่ง  จากนั่งลงนอน  ความสกปรกเหม็นสาบ  ไม่ทราบว่าอะไรต่ออะไร  ทำเอาเราเป็นลมมืดหน้าแทบตาย เขาทำทางให้เดินจงกรม  พอเราออกเดินเท่านั้นแหละแม่เอ๊ยพากันกรูตามเป็นหางยาวเหยียดสุดทาง   เราทนไม่ไหวกลับมานั่งลง  เขายังพากันเดินเป็นกลุ่มสนุกอยู่เลย   ทีหลังทำความเข้าใจกันกับหัวหน้าเขา (ปู่พญาเท่ากับกำนัน) ว่า ไม่ควรเดินตามท่านหากต้องการบุญเมื่อเห็นท่านเดินอยู่เราต้องพากันปึ๊  (ประนมมือ) ก็ได้บุญดอก     คราวนี้เมื่อเห็นเราออกเดินจงกรมทีไร    พากันมาปึ๊เป็นแถวๆ    ผู้ที่ยังไม่มาก็ไปเรียกกันมาเป็นกลุ่ม ๆ   คิดดูแล้วก็น่าสงสารคนบ้านป่าไกลความเจริญแต่ซื่อสัตย์สุจริต    ไม่มีใครไปอบรมเขาเป็นสิบ ๆ ปี หากไม่มีคดีอุกฉกรรจ์แล้ว    เจ้านายก็ไม่ขึ้นไปให้เขาเห็นหน้าเลย     เขาบริหารกันเอง  เชื่อถือหัวหน้ากันเคร่งครัด   ใครไม่ดี เช่น  เป็นคนหัวแข็งหาเรื่องทะเลาะวิวาทเพื่อนบ่อย ๆ หัวหน้าตักเตือนไม่เชื่อฟัง  หัวหน้าต้องขับหนีจากหมู่บ้าน   เมื่อแกไม่ไปเขาก็ต้องหนีจากแกไป    ส่วนการขโมยรับรองไม่มีเด็ดขาด    เมื่อเราเดินทางไปตามภูเขา   เห็นบ้านหนึ่งหลังหรือสองหลัง   เราทายได้เลยว่าแค่นี้อยู่กับเขาไม่ได้เลย   ชาวเขาแถบนี้เขาอดข้าวทำไร่ไม่ได้ผลมาแต่ปีกลาย   หมู่บ้านที่เราไปอาศัยอยู่นี้มี ๑๒ หลังคาเรือน   มีข้าวกินเพียง ๓ เรือนเท่านั้น   เขามีศรัทธาดีมาก เวลาเราออกบิณฑบาตมีคนตักบาตรเพียงสามคนเท่านั้น   แต่เขาใส่มากเราก็พอฉันอิ่ม   ทีหลังหัวหน้าเขามาเล่าให้เราฟังว่า   ทุกคนมีศรัทธาอยากใส่บาตรอยู่   แต่เขาละอายไม่มีข้าว   เขาพากันรับประทานมันป่าต้มแทนข้าว   เราเกิดความสงสารเขา  พอดีเราก็ชอบมันนึ่งอยู่แล้ว  จึงบอกเขาว่า ฉันชอบมันนึ่งจึงได้ขึ้นมาอยู่ด้วยพวกเธอ   ถ้าหาไม่แล้วฉันไม่ได้มาดอก    พอเขารู้เรื่องนั้นแล้ว    วันหลังเขาพากันขุดมันป่ามานึ่งตักบาตรเราเต็มบาตรทุกวัน ๆ แล้วก็พากันชอบใจหัวเราะ   ยิ้มแย้มแจ่มใสอย่างน่าเอ็นดู   เขากลัวเราจะไม่ฉันให้เขาตามมาดูถึงที่เลย   เราได้แล้วก็ตั้งใจฉันให้เขาเห็น   แม้ปีนั้นปลูกข้าวแล้วฝนไม่ดี   ทำให้ข้าวที่ปลูกไว้เหี่ยวแห้งเหลืองซีดไปหมด   ยังเหลือสิบวันจะเข้าพรรษา  เขาพากันจัดเสนาสนะให้เราอยู่เสร็จเรียบร้อย  ฝนตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์   เขาพากันดีใจอย่างล้นพ้นว่าเป็นเพราะบุญของเขาที่ทำวัดให้เราอยู่   ข้าวได้เขียวขจีงามทันหูทันตา   ปีนั้นเขาทำไร่ได้ข้าวมากจนเหลือบริโภค   บางคนจนได้ขายก็มี แท้จริงแต่ไหนแต่ไรมาไม่เคยมีพระไปอยู่จำพรรษากับมูเซอ เราอาจเป็นพระองค์แรกในเมืองไทยก็ได้ที่ได้ไปจำพรรษาอยู่ด้วยมูเซอ
            เมื่อเขาจัดเสนาสนะให้เราเรียบร้อยแล้ว เราได้ระลึกถึงพุทธประวัติว่า พระสิทธัตถะบำเพ็ญเพียรได้ตรัสรู้เมื่อพระชนมายุได้  ๓๕ พรรษา    ปีนี้อายุของเราก็เท่ากับพระชนมายุของพระองค์ในกระโน้น (คือเราอุปสมบทเมื่ออายุย่าง ๒๒ ปี)  ฉะนั้นปีนี้เราจะบำเพ็ญภาวนาเพื่อบูชาการตรัสรู้ของพระองค์ แม้ชีวิตของเราจะแตกดับเพราะการภาวนา เราก็จะยอมทุก ๆ วิถีทาง ชีวิตนี้ของเราขอให้เป็นเหมือนดอกบัวบูชาพระฉะนั้นเถิด        แล้วเราก็ทำความเพียรตามที่เราได้ตั้งปณิธานไว้ตลอดพรรษา แต่แล้วการภาวนาของเราก็ไม่เจริญก้าวหน้า เป็นแต่ทรงอยู่  เพื่อให้สาสมแก่เจตนาของเรา จึงได้ทรมานตนด้วยการอดอาหารอยู่ ๕ วัน  ชาวมูเซอเขาไม่เคยเห็น  กลัวเราจะตาย   พากันมาขอร้องให้เราฉันตามปกติ เราได้ปฏิเสธเขาไป แล้วทำตามปณิธานของเราอยู่จนครบ ๕ วัน เขาได้ผลัดเปลี่ยนกันแอบมามองดูเรา  ถ้าเราปิดประตูทำความเพียรอยู่ในห้อง เขาจะมาเรียกให้เราขานตอบเมื่อเห็นเราขานตอบแล้ว  เขาก็กลับไป แท้จริงการอดอาหารมิใช่ทางให้ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าของเราได้ทรงบำเพ็ญมาแล้ว  บอกว่าเป็นอัตตกิลมถานุโยค  แม้ครูบาอาจารย์ของเราทุก ๆ ท่านก็บอกเราเช่นนั้นเหมือนกัน  ตัวเราเองก็เคยได้กระทำมาแล้ว  มันเป็นเพียงเครื่องทรมานกายเท่านั้น  หาได้เกิดปัญญาฉลาดค้นคว้าในธรรมให้ฉลาดเฉียบแหลมอะไรไม่   แต่นี่เราทำเพื่อทดสอบกำลังใจของตนเองดูว่า  ความอาลัยในชีวิตกับความเชื่อมั่นในคุณธรรมที่เราเห็นแล้ว   อะไรจะมีน้ำหนักกว่ากัน เมื่อเราได้ความจริงด้วยใจตนเองแล้ว  เราก็กลับฉันอาหารตามเคย  แต่เราไม่ฉันข้าว ฉันแต่หัวมัน หัวเผือกนึ่ง ฉันอยู่ ๔ - ๕ วัน  แล้วจึงฉันข้าว  ชาวมูเซอเห็นเรากลับฉันอาหารแล้วเขาพากันดีใจ ในพรรษานี้เราได้นิมิตในภาวนาอันแสดงถึงความมั่นคงในด้านอุบายภาวนาเป็นที่พอใจของเรามาก             มูเซอคุยโม้อวดเราว่า ตุ๊เจ้า  (ท่าน)   มาอยู่ด้วยดีมาก   ข้าวไร่อุดมได้มากเหลือกิน   บางคนจนได้ขายวัว  ควาย (เขาเลี้ยงไว้ไม่ได้ใช้งาน) ที่ไม่เคยได้ขายก็ได้ขาย (ปกติเขาเลี้ยงหมูขายเป็นรายได้ประจำครอบครัว) พริกแห้งเป็นรายได้ประเภทหนึ่ง นอกนี้แล้วไม่มีรายได้อะไรเลย เงินทองเราก็เก็บไว้ได้เหลือใช้ ตุ๊เจ้ามาสอนไม่ให้เราเล่น ไพ่ ถั่ว เบี้ย  เราก็ไม่เล่น เมื่อก่อนมีพวกกะเราะ (ชาวเมือง)  เขามาหลอกให้เราเล่น บัดนี้เราฟังคำตุ๊เจ้าสอน เราไม่เล่นแล้ว  ออกพรรษาแล้วหัวหน้าเขาคนเดียวได้นำผ้าขาวหนึ่งพับมาทอดผ้าป่าเรา  แล้วเราได้ลาชาวมูเซอเพื่อกลับลงไปเยี่ยมนมัสการท่านอาจารย์มั่น ที่บ้านทุ่งมะข้าว ตำบลแม่ปั๋ง เขาพากันอาลัยเรามาก พากันร้องไห้ขอให้เรากลับมาอีก   เราไม่แน่ใจได้บอกกับเขาไปว่าให้ไปหาอาจารย์ดูก่อน   บางทีอาจได้กลับมาอีก เมื่อเราไปถึงท่านอาจารย์มั่นแล้ว ได้เล่าพฤติการณ์ต่าง ๆ ถวายท่านทุกประการ  ท่านชอบใจชวนเรากลับไปอีก การกลับไปครั้งนี้เป็นสามองค์ด้วยกัน คือ ท่านอาจารย์ เรา ท่านอ่อนสี เมื่อจะขึ้นไปจริง ท่านอ่อนสีไม่สบายให้รออยู่ข้างล่างก่อน



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:09:53
                               พรรษา ๑๔ จำพรรษาที่เดิมสามองค์ด้วยกัน ( พ.ศ. ๒๔๗๙ )

                           การกลับไปครั้งนี้ทำให้เราลำบากใจ เพราะเขาทำความสนิทสนมกับเรามากกว่าท่านอาจารย์ อนึ่ง ท่านอาจารย์ท่านไม่ค่อยถูกกับอากาศเย็น เมื่อไปถูกกับอากาศเย็นเข้าอาพาธของท่านก็กำเริบแทบจะอยู่ไม่ไหว แต่ด้วยใจนักต่อสู้ท่านก็เอาชนะจนอยู่ได้ตลอดพรรษา   คราวนี้เราทำความเพียรดีมากเพราะนอกจากใช้อุบายของตนเองแล้ว ก็ได้อาจารย์ช่วยให้อุบายเราศึกษากับท่านอยู่ตลอดเวลา พอจวนเข้าพรรษาท่านอาจารย์ให้เราลงมาเอาท่านอ่อนสีไปอยู่ด้วย พอเราจากท่านไป ๕ คืน ท่านอยู่องค์เดียวได้วิเวกปรารภความเพียรอย่างเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ  ท่านกลับได้อุบายดีโด่งเลย  อาพาธของท่านก็หายไปพร้อม ๆ กัน   พรรษานี้เราทั้งสามต่างก็ตั้งใจปรารภความเพียรจนเต็มความสามารถของตน ๆ แม้เหตุการณ์บางอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภายนอกหรือเนื่องด้วยอุบายในทางธรรม   ใครมีอะไรเกิดขึ้นเกือบจะเรียกได้ว่ารู้ด้วยกันทั้งนั้น   พรรษานี้ท่านอาจารย์ได้พยากรณ์อายุของท่านอย่างถูกต้อง   บางครั้งท่านก็พยากรณ์ลูกศิษย์ของท่านรูปนั้นบ้าง  รูปนี้บ้างต่าง ๆ นานา  ตามนิมิตและความรู้อันเกิดเองเป็นเองในภาวนาของท่าน  แต่แล้วท่านก็บอกว่า อย่าได้หลงเชื่อทั้งหมด อาจผิดได้ สำหรับเรานั้นตั้งตัวเป็นกลางเฉยๆ   เพราะเรื่องเหลานั้นเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ไม่เหมือนกัน เรื่องนั้นมิใช่จุดประสงค์ของผู้กระทำความเพียรภาวนาอย่างแท้จริง จุดประสงค์ที่แท้จริงคือ การกำจัดกิเลสให้หมดสิ้นไปโดยไม่มีเหลือต่างหาก    ในพรรษานี้ท่านอาจารย์ได้อบรมด้วยเล่ห์เหลี่ยมแลอุบายต่าง ๆ  อย่างไม่เคยเห็นท่านทำมาแต่ก่อนเลย   เราก็ได้ทำตามแลทำทันถูกต้องตามอุบายนั้น ๆ ของท่านทุกประการ   จนท่านออกอุทานเปรย ๆ ว่าท่านเทสก์นี้ใจร้อน แล้วท่านแสดงนิสัยตามความจริงของท่านออกมาตรง ๆ เลย นับว่าเป็นโชคดีของเราที่ได้อาจารย์ผู้อบรมเช่นนั้นให้แก่เรา   เราเข้าใจว่าท่านอบรมลูกศิษย์ผู้เช่นอย่างเราคงจะหาโอกาสได้น้อย  เพราะบุคคล  สถานที่  และโอกาส  เวลาไม่อำนวยเช่นนั้น   ถึงแม้ท่านจะอำนวยพรให้เราอยู่ในฐานะธรรมทายาท  เราก็ไม่เคยจะลืมตัวและยอมรับเลย   เราถือเสียว่าความจริงมันก็อยู่แค่ความจริงนั่นแหละ  หาพ้นความจริงไปได้ไม

                                              เรื่องแทรกของคนป่าเข้าบ้าน

                            ในพรรษานี้มีคนป่าซึ่งเรียกกันว่า 'ผีตองเหลือง' แต่พวกเขาเองไม่ชอบคำคำนั้น  เขาบอกว่าอย่าได้เรียกเขาว่า 'ผีตองเหลือง'  เพราะพวกเขากลัวผีเหมือนกัน ให้เรียกพวกเขาว่าคนป่า ชาวมูเซอเขาบอกว่าเขามาอยู่ที่นี่ได้ ๕๐ กว่าปีมาแล้ว  เขาไม่เคยเห็นพวกเหล่านี้เข้ามาหาเลย   คนเผ่านี้เป็นคนไทยเดิม เท่าที่เคยสนทนากับชาวเมืองยอง เมืองรวง ซึ่งอยู่เหนือเชียงตุงขึ้นไปสำเนียงคำพูดภาษาเหมือน ๆ กัน ที่อพยพลงมาทำมาหากินอยู่เชียงใหม่ด้วยการจักสาน ทำขันโตกขันพาน เรียกว่าขันเขิน (คือฝีมือของคนเผ่าเขินนั้นเอง) เรื่องของคนป่าเผ่านี้แต่เดิมเขาบอกว่ามีราว ๖๐ คน  มาภายหลังเกิดไข้ทรพิษตาย  เดี๋ยวนี้มีหญิงชายรวมกันราว ๓๐ คน พอจะสรุปเรื่องของเขาดังนี้

            ความเป็นอยู่    ไม่มีหลักแหล่ง  ตัดไม้เล็ก ๆ สักแต่ว่าเป็นเสาปัก   แล้วเอากิ่งไม้ใบไม้อะไรปกคลุมพอนอนบังน้ำฝนน้ำค้างเล็ก ๆ น้อยๆ   บางทีก็นอนตามถ้ำเพิงหินหรือใต้ต้นไม้โคนต้นไม้  สักแต่พอบัง ๆ ผ้านุ่มห่มไม่มี  ที่ไปขอมาได้ไว้ปกปิดกายในเวลาเข้าไปในหมู่บ้าน  อยู่เป็นกลุ่ม ๆ กัน กลัวผี กลัวเสือเหมือนกัน ที่อยู่เขาในขณะที่เขาอาศัยอยู่ไม่ค่อยมีคนไปเห็น    หากบังเอิญมีคนไปเห็นเข้าผู้หญิงจะต้องวิ่งหนี    ถ้าวิ่งไม่ทันก็ล้มตัวนอนกลิ้งไป   ถ้ามีผู้ชายจะต้องวิ่งออกมาต่อสู้ด้วยอาวุธหอก (เข้าใจว่าเนื่องจากผู้หญิงไม่มีผ้าหุ้มตัวนั่นเอง)  เขาถือกันว่าผู้หญิงเห็นผู้อื่นนอกจากหมู่ของเขาแล้วเป็นเคราะห์ร้าย  เสือกินตาย   อยู่ที่ไหนถ้าอาหารอุดมสมบูรณ์ก็อยู่ได้นาน  อาหารหมดก็อพยพกันไปอยู่ที่อื่น เขาจึงเรียกชื่อนิมิตว่า ผีตองเหลือง คือพอใบไม้เครื่องมุงเหี่ยวแห้งเหลืองก็หนีไป

            อาหารการกิน   อยู่ได้ด้วยเนื้อสัตว์และหัวมันป่า  รวงผึ้ง  น้ำผึ้ง  สัตว์บางชนิดเขาไม่รับประทาน  เช่น งู เป็นต้น  แล้วก็กินสุก  จี่เผาแล้วจึงกิน  กินแต่กับ ไม่มีข้าวและข้าวสาลีเป็นหลักอย่างพวกคนธรรมดา ถ้าเป็นผึ้งก็จะเอามาคลุกกับไม้ผุหรือดินเพื่อให้มีเนื้อมาก ๆ แล้วจึงจะกิน   ไฟใช้เหล็กตีกับหิน (ที่เรียกเหล็กไฟพราน) หรือมิฉะนั้นก็ใช้ไม้สีกัน  เอาไม้ขีดกล่องให้ก็กลัวเพราะเวลาขีดมันฟู่

            วิธีล่าสัตว์   ล่าด้วยหอกป้ายน้ำยาพิษ (ยางน่อง)   เมื่อเห็นรอยสัตว์ก็จะค่อย ๆ ย่องตามไป   พอเห็นสัตว์นอนกลางวันเข้าใกล้แล้วค่อยพุ่งหอกใส่เลย  ถ้าเห็นสัตว์กำลังหากินอยู่ก็จะค่อย ๆ หาที่กำบัง  แอบเข้าไปให้ใกล้เท่าที่จะใกล้ได้  แล้วพุ่งหอกขึ้นบนอากาศให้ตกใส่เอง  เขาบอกว่าระยะไกลราว ๒๐ - ๓๐ เมตรก็ได้กิน หากหอกเข้าลึกถึง ๑ นิ้วฟุตแล้ว  เนื้อสัตว์เป็นพิษกินไม่ได้ เข้าตื้นกว่านั้นกินได้  เขาเคยเอามาให้เรา เนื้อย่างเหม็นเขียวควันไฟมาก     เขาเอามาวางไว้คาคบต้นไม้ไกลขนาด ๑๐ เมตร    เหม็นเขียวตลอดคืนแทบนอนไม่หลับ    ท่านอาจารย์บอกให้มูเซอเอาไปต้มดู  แหมเป็นดินเกือบครึ่งหนึ่ง  ฉันไม่ได้เลย

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-86.jpg)

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-85.jpg)

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/3600.jpg)

                          หลวงปู่ขาว

            ขนบธรรมเนียมประเพณี   อยู่ป่าเป็นพื้น โดยไม่ยอมออกมาให้คนเห็น โดยมากหากจะออกมาก็จะมาขอผ้าขอข้าวแลเกลือแลเหล็กไปทำเหล็กไฟ    คนเผ่านี้บรรพบุรุษเดิมเขาเข้าใจว่าคงจะหนีเจ้าหนีนายเข้าป่ามานานแล้ว ดังจะเห็นได้จากประเพณีเขาที่ว่า ห้ามเดินผ่านที่เตียนโล่ง และที่ซึ่งเขาปลูกฝัง ไม่ว่าอะไรทั้งหมด แม้แต่ของปลูกในไร่ หรือไร่ที่ได้ปลูกพืชลงแล้ว  พวกเขาเหล่านั้นจะไม่เดินเข้าไปกล้ำกรายเลย ไร่จะกว้างทางแสนจะกันดารเขาก็จะต้องเว้น ทั้ง ๆ ที่ไม่มีใครห้ามเขา  นี่แสดงถึงคนเก่าเฒ่าแก่เขาจะหลอกลวงไม่ให้ออกไปในที่โล่ง กลัวคนจะเห็นเอานั้นเอง และที่ว่าผู้หญิงเห็นคนเข้าแล้วจะต้องถูกเสือกินก็เหมือนกัน  การเข้ามาขอกินข้าวหรือข้าวสาลี หัวเผือกมันต่าง ๆ เขากินจนหมดไม่มีเหลือ เราได้บอกให้เขาเอาไปปันผู้หญิงกินบ้าง เขากลับตอบว่าไม่ได้      เขาได้กินแล้วมันจะติดรสเคยตัว      เมื่อเขาเข้ามาอยู่ในสังคมคนมูเซอ      ดูท่าทีของเขาเหล่านั้นแสดงอาการกลัวคนแปลกหน้าโดยเฉพาะคือกลัวเจ้านายนั้นเอง เดินไปช้าๆ  มีการสำรวมระมัดระวังตัวอยู่ตลอดเวลาอย่างน่าสงสาร เวลาเข้าป่าจะคล่องตัวเรามองตามแทบไม่ทัน เห็นแต่ใบไม้ปลิวกับเสียงควบคาบ ๆ เท่านั้นเอง

            การสมรส    หญิงชายต่างมีอิสระในตัวของตนเองเช่นคนธรรมดาสามัญของคนทั่วไป ต่อเมื่อชายมีโชคลาภร่ำรวยได้เนื้อได้อาหารมา  หญิงใดชอบรักก็จะไปนอนเป็นคู่เคียงด้วย  ส่วนจะแบ่งกันอย่างไรเราลืมถามเขา การเลี้ยงลูกจะเป็นภาระของผู้หญิงแต่ฝ่ายเดียว   เขาเคยเข้ามาหาเรา   เราได้สัมภาษณ์เขาหลายเรื่องจึงรู้เรื่องของเขาดี   เราเห็นเขาแล้วคิดสงสาร  เพราะเขาเป็นคนเผ่าไทยเดียวกับเรา  พูดรู้เรื่องกันทุก ๆ คำ รูปร่างหน้าตาก็เหมือนกันกับพวกเราทั้งสิ้นทุกอย่าง ในใจเราคิดอยากสงเคราะห์เขาให้มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง   อย่างน้อยก็ให้เหมือนกับเผ่ามูเซอหรือเผ่าอื่น ๆ  ที่อยู่บนเขา    หากเขาจะรับสงเคราะห์แล้วเราจะตั้งใจจะรายงานเป็นทางการไปหาเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อจะได้สงเคราะห์เขาต่อไปด้วยเครื่องมือและเครื่องใช้ตลอดจนพืชพันธุ์ต่าง ๆ ทีหลังเขามาหาเรา เราได้ทาบทามเขาดูว่า การที่ได้บริโภคข้าวก็ดี บริโภคข้าวโพดและเผือกมัน ตลอดถึงพริกเกลือก็ดี รู้สึกอย่างไร อร่อยไหม เขาตอบว่า อร่อยดี เราบอกว่า ถ้าอย่างนั้นให้พากันมาอยู่เป็นกลุ่มอย่างมูเซอเหล่านั้น แล้วทำไร่ปลูกข้าวและเผือกมันกินเสียจะดีไหม พอเราพูดได้เท่านั้น เขารีบพูดสวนค้านขึ้นมาทันทีว่า  พวกข้าน้อย(ผม) เป็นคนป่า ทำไม่ได้  ถ้าทำเข้า แผ่นดินจะปลิ้น  (เป็นคำพูดของคนรุ่นเก่าที่พูดคัดค้านอย่างรุนแรง)   คือหมายความว่าสิ่งนั้นมันเป็นไปไม่ได้   ถ้าทำได้ก็ต้องทำให้แผ่นดินพลิกกลับเอาข้างล่างขึ้นมาเป็นข้างบน) พอเราได้ยินเขาพูดดังนั้น โครงการของเราก็เลยยุติลงเพียงแค่นั้น
                       เป็นที่น่าเสียดายผู้ที่ได้มนุษย์สมบัติอันล้ำค่า         แต่หาได้ทำให้เกิดประโยชน์เท่าที่ควรไม่ เพราะเกิดในถิ่นอันไม่สมควร     แต่บุคคลที่น่าสงสารมากกว่านั้น      คือผู้ที่เกิดมาแล้วได้รับความสมบูรณ์พูนสุขพร้อมด้วยประการทั้งปวง  ตลอดถึงการศึกษาแล้วประมาทจมอยู่ในความสุขนั้น ๆ อันหาสาระมิได้  นอนให้กาลเวลาเขมือบอายุชีวิตให้สิ้นไปโดยไร้ประโยชน์ก็ยังมีเป็นอันมาก
                       ในพรรษานี้  นอกจากท่านอาจารย์จะพยากรณ์สิ่งต่าง ๆ แล้ว  ยังปรารภว่า  ท่านยังมีภาระที่จะต้องรับหมู่คณะต่อไปอีก   แล้วก็ปรารภที่จะตั้งสำนักทางเชียงใหม่เสนอให้เราพิจารณาอีกด้วย   เราดีใจที่ท่านคิดจะรับเป็นภาระหมู่อีก แล้วเราจึงปรารภถึงคนทางภาคอีสานว่า  เหมาะสมควรแก่การปฏิบัติธรรมมากกว่าทุก ๆ ภาค  โดยเฉพาะภาคเหนือแล้วได้ผลน้อย  เราได้ชี้ให้ท่านเห็นว่า  ดูแต่ท่านอาจารย์มาอยู่ทางนี้ได้ ๗ - ๘ ปีแล้ว   มีใครบ้างที่ออกปฏิบัติตาม  หมู่ที่ต่าง ๆ ท่านอาจารย์มานี้ล้วนแต่ลูกศิษย์เก่าคนภาคอีสานทั้งนั้น  บัดนี้คนทางภาคอีสานไม่ว่าพระและฆารวาส   มีเจ้าคุณธรรมเจดีย์  เป็นต้น  ต่างก็พากันบ่นถึงท่านอาจารย์   กระผมมานี้ทุกคนร้องขอให้กระผมอาราธนาให้ท่านอาจารย์กลับทั้งนั้น   ส่วนการจะกลับทางไหนเขายอมยินดีรับภาระทั้งหมด  ขอให้กระผมบอกข่าวเขาก็แล้วกัน      แล้วท่านก็ปรารภถึงภูเขาทางอำเภอนาแกว่าน่าอยู่น่าสบายมาก    ท่านชอบภูเขาเช่นนี้ พวกเราพากันไปอยู่ทางโน้นเถอะ  แต่ว่าท่านต้องเป็นนายประตูให้ผมนะ หากใครมาหาถ้าท่านเห็นไม่สมควรขออย่าได้ปล่อยให้เข้ามาหาผม   หลังจากออกพรรษาแล้วท่านได้กลับลงมาทางอำเภอพร้าวอีก (ตามที่เพื่อน ๆ เล่าให้ฟังว่า   ท่านได้มาปรารภกับหมู่คณะในทำนองนั้นอีกเหมือนกัน)        ส่วนเรากับท่านอ่อนสีได้ขออนุญาตท่านอาจารย์อยู่ประกอบความเพียรในบริเวณนั้นต่อไปเพื่อให้สาสมแก่ใจอีก       ต่อมาไม่กี่วันท่านได้พาอาจารย์สาน อาจารย์แหวน อาจารย์ขาว กลับคืนมาหาเราอีก แล้วท่านก็ปรารภในการที่จะจัดตั้งสำนักรับหมู่คณะอีก เราได้ยืนกรานตามคำเดิม  หากตั้งทางภาคนี้ผมไม่เห็นด้วย  แต่ถึงอย่างไร  ถ้าท่านอาจารย์ตั้งอยู่ทางภาคนี้จริงแล้ว  หลังจากท่านอาจารย์ตั้งสำนักแล้วสามปีผมจึงจะไปช่วยเหลือ     คณะของท่านอาจารย์ได้พักอยู่ด้วยสองคืนแล้วก็แยกย้ายกันไป  ท่านอาจารย์สาน  อาจารย์แหวน  และอาจารย์ขาว   กลับลงมาอำเภอพร้าว ท่านอาจารย์มั่นกับท่านมนูเลยลงไปทางอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แล้วจำพรรษาทางโน้นเลย   ส่วนเรากับท่านอ่อนสียังพากันประกอบความเพียรอยู่ ณ ที่นั้นต่อไป  เมื่อท่านแยกย้ายกันไปหมดแล้ว  เรากับท่านอ่อนสีได้แยกกันอยู่คนละแห่ง คือท่านอ่อนสีอยู่ที่เดิม  เราได้แยกไปอยู่ภูเขาอีกลูกหนึ่ง

                        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/5722.jpg)

                        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/5724.jpg)

                        หลวงปู่แหวน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:10:09
                                              จิตมีกิเลสใต้สำนึกหรืออนุสัยกิเลส

                           เรื่องที่จะนำมาเล่าต่อไปนี้   เมื่อพูดแล้วก็ขายขี้หน้าตัวเองแต่กิเลสมันยังขายขี้หน้าตัวมันเองเสียยิ่งกว่าเราเสียอีก  นั่นคืออะไร  กล่าวคือ  เมื่อเราแยกจากท่านอ่อนสีไปอยู่องค์เดียวแล้ว คือวันหนึ่งเสือร้องเรากลัวเสียงเสือจนตัวสั่นสะท้านนอนไม่ได้ภาวนาไม่ลงเลย      ผู้คนก็ช่วยไล่ขนาดยิงปืนขู่เอาดุ้นฟืนติดไฟแดงโร่อยู่นั้นแหละขว้างใส่แล้วมันก็หนีไปครู่หนึ่งแล้วกลับมาอีก บางทีตื่นเช้ามาเขาออกไปทำงาน เห็นนั่งตงโมงดักหน้าอยู่แล้วก็มี เขาเห็นแล้วก็พากันวิ่งหนี แต่มันก็ไม่เห็นทำอะไรใคร เรานั่งภาวนาอย่างไร ๆ ก็ไม่รวมลงได้  แต่เราก็หาได้รู้ตัวไม่ว่ามันกลัวเสือเหงื่อเปียกโชกหมดทั้งตัว  เอ๊ะ นี่อะไรนะ หนาวทำไม่จึงมีเหงื่อ ลองเอาผ้าห่มออกดูก็ยังสั่นเทาอยู่  เมื่อภาวนาไม่ลงแล้วมันเหนื่อยมาก นึกว่าเอนหลังลงนอนพักเอาแรงสักหน่อยก่อนแล้วจึงจะลุกขึ้นมาภาวนาใหม่   ขณะนั้นเองพอดีได้ยินเสียงเสือร้องขึ้น   เลยสั่นสะบั้นกันใหญ่เหมือนกับเป็นไข้จับสั่น    จึงได้รู้ว่านี่มันกลัวเสียงเสืออย่างไรเล่า   เราได้ลุกขึ้นตั้งสติกำหนดจิตให้อยู่นิ่งในอารมณ์เดียวยอมสละชีวิตว่า     เรายอมสละความตายแล้วมิใช่หรือ  จึงได้มาอยู่ ณ ที่นี้  เสือกับคนก็ก้อนธาตุ ๔ เหมือนกันมิใช่หรือ ตายแล้วก็มีสภาพเช่นเดียวกัน แล้วใครกินใคร  ใครเป็นผู้ตายและใครเป็นผู้ไม่ตาย     เมื่อยอมสละพิจารณาด้วยความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวอยู่นั้น เสียงเสือก็ไม่ได้ยิน  ภายหลังเมื่อได้ยินเสียงมันใจก็เฉยๆ   เห็นเป็นลมกระทบวัตถุอันหนึ่งแล้วมันเกิดเสียงออกมาเท่านั้น  นิสัยของเราขี้ตกใจเป็นโรคประสาทมาตั้งแต่เด็กแล้ว  เมื่อมีเสียงเสือสัญญาเดิมมาปรากฏ จึงทำให้เรากลัวโดยไม่รู้ตัว  กิเลสานุสัยที่นอนจมอยู่ในห้วงลึกของดวงใจจึงยากที่จะละได้  ถ้าหากไม่ยอมสละความยึดถืออุปาทานในสังขารอันไร้สาระ   แลกเอาอมตรสที่ปรากฏอยู่เฉพาะกับใจแล้วก็จะเอาชนะกิเลสไม่ได้เลย แม้พระสารีบุตรอัครสาวก ผู้ถึงพระอรหันต์แล้วก็ละได้ แต่วาสนานิสัยยังละไม่ได้เลย ไม่เหมือนกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

                           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/59072.jpg)

                           หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ

                           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/5910.jpg)

                           ในช่วงระยะที่เรากำลังทำความเพียรด้วยความกล้าหาญอยู่นั้น      ได้เกิดมีภาพนิมิตอันน่าเกลียดขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องที่น่าเอามาประจานขายขี้หน้ากิเลสให้กับท่านผู้อ่านได้รู้บ้าง บางทีอาจเป็นประโยชน์แก่ผู้เห็นโทษของกิเลสจำพวกนี้แล้วจะได้ระวังสังวรต่อไป ภาพนั้นปรากฏเป็นหญิงวัยกลางคนซึ่งเมื่อปรากฏขึ้นเราก็จำได้ชัดเจน    เพราะเมื่อราว  ๕ - ๖ ปีล่วงมาแล้วเราได้เห็นเขาแล้วเขาก็ได้อุปัฏฐากเราด้วยเจตนาศรัทธาอันจริงใจ เรานึกว่าเขาเป็นคนดีมีศีลธรรม สุภาพเรียบร้อยน่าคบ สมเป็นอุบาสิกาในพระพุทธศาสนาโดยแท้ ส่วนรูปร่างเราก็เห็นว่าเป็นธรรมดาอย่างสามัญชนหญิงทั่วไป จากนั้นแล้วเราก็ไม่นึกคิดอะไรอีก นอกจากจะระลึกถึงอุปการคุณของเขาตามวิสัยของพระผู้มีชีวิตเนื่องด้วยคนอื่น    ขณะที่ปรากฏภาพของเขามานั่งแอบสนิทเคียงข้างขวาอยู่นั้น ภายในใจของเราในขณะนั้น  มันให้รู้สึกว่าเป็นกันเองนี่กระไร  ทั้งตัวเราและตัวเขาดูเหมือนว่าเคยได้อยู่กินร่วมกันมานานเป็นสิบๆ ปี  แต่หาได้มีความใคร่กำหนัดอะไรไม่   เราตกใจออกจากภาวนาแล้วตรวจดูจิตของตนก็ไม่มีสัญญาอารมณ์ในเรื่องนั้น    แล้วก็ลืมไม่เคยนึกถึงเลยตั้ง  ๕ - ๖  ปีมาแล้ว  ทำไมถึงมาเป็นเช่นนี้ได้   เมื่อมาพิจารณาไปๆ  ก็มารู้เรื่องของกามกิเลสนุสัยที่มันจมดิ่งอยู่ในก้นทะเลลึกจนเหลือวิสัยของผู้ประมาทแล้วจะตามจับตัวมันได้
                   ผู้มีปัญญา  แต่ขาดศรัทธาความเพียรแลความอดทนกล้าหาญ ก็ไม่สามารถจะค้นคว้าจับเอาตัวของมันออกมาประจันหน้าได้
                       ผู้มีศรัทธา มีความเพียรกล้าหาญแต่ขาดปัญญา ก็ไม่สามารถจะประหารมันได้เหมือนกัน
                       ผู้มีศรัทธา มีความเพียรด้วย และมีความอดทนกล้าหาญประกอบด้วยปัญญา  ประกอบความเพียรรักษาความดีนั้น ๆ ไว้ติดต่อกันอย่าให้ขาด นั่นแลจึงสามารถขจัดกิเลสานุสัยให้หมดสิ้นไปได้
            แล้วเรายังพิจารณาต่อไปอีกว่านักภาวนาผู้ได้ฌานทั้งหลาย กามกิเลสมันลวงให้ตกหลุมลึกด้วยเหตุนี้เอง กล่าวคือเมื่อปรากฏภาพนิมิตดังกล่าว    ก็เลยถือเอาเป็นจริงเป็นจังว่าเคยเป็นบุพเพเสน่หาสันนิวาสแต่ชาติก่อน แล้วก็เกิดความเอ็นดูสงสารกำหนัดรักใคร่เป็นไปตามสายของมัน จนกระทั่งเสาะแสวงหาภาพนั้นแล้วก็เล่าความจริงในสิ่งที่ไม่น่าเล่าสู่กันฟัง ไฟฟ้าสายคู่ไฟมันเดินอยู่แล้ว แม้โลหะของแข็งเมื่อเข้าใกล้กันแล้วไหนจะทนอยู่ได้ จำจะต้องดึงดูดสัมพันธ์ให้เข้าหากันจนได้       เรื่องในทำนองนี้นักภาวนาโดยเฉพาะพระ       บางทีถึงขนาดเป็นคณาจารย์ก็เคยตกหลุมทะเลลึกมากต่อมากแล้ว เมื่อเห็นภาพปรากฏเช่นนั้นแทนที่จะกลัวเห็นเป็นภัยอันน่ากลัว แล้วจับเอาอาวุธลุกขึ้นต่อสู้เพื่อชิงชัย   กลับไปสวามิภักดิ์ข้าศึกอย่างน่าเสียดาย พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า   มนุษย์และสัตว์ทั้งหลายที่เกิดมาในโลกนี้ล้วนแต่ได้เกิดเป็นพ่อเป็นแม่เป็นพี่เป็นน้องหรือเป็นผัวเป็นเมีย แลเป็นญาติซึ่งกันและกันทั้งนั้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง      บางทีเนื้อไก่และสุกรที่เราบริโภคนี้อาจเป็นเนื้อบิดามารดาของเราก็ได้    เพราะคนเรายังมีกิเลสอยู่ยอมตายแล้วเกิดตายแล้วเกิดอีกนับชาติไม่ถ้วน  นับประสาอะไรเมื่อมาเห็นภาพปรากฏยั่วยุเพียงครั้งเดียวแล้วตามมันไป            ไหนๆ  ก็ได้ประจานขายขี้หน้าข้าศึกมารร้ายมาแล้ว   จึงขอนำเอามาเล่าอีกสักเรื่อง  คือ  มีหญิงสาวสวยคนหนึ่ง ซึ่งเขาและญาติพ่อแม่ก็เคารพนับถือเรามาก และเราก็ได้สงเคราะห์ด้วยการอบรมศีลธรรม  โดยเฉพาะก็อยากให้เขาเห็นโทษในภาวะเป็นหญิง แล้วรักษาพรหมจรรย์ให้ตลอดชีวิตสมตามเจตนาของเรา แต่เหตุการณ์หาได้เป็นอย่างนั้นไม่  เขากลับยอมทำความชั่วเสียตัว  เมื่อมารู้สึกแล้วเสียใจร้องไห้  เราบังเอิญไปรู้เรื่องนั้นเข้า แล้วเกิดความเบื่อหน่ายอย่างยิ่งในความใจเบาของหญิง  จากนั้นมาตัวเขาเองทั้งเคารพและละอายเรามาก  เราได้แต่คิดว่าอะไรหนอ ๆ ทำไมจึงได้เป็นไปถึงเพียงนั้น   มองดูตัวเขาแล้วดูเหมือนเป็นรูปคนแต่ร่าง   ส่วนใจเป็นสัตว์ดิรัจฉานไปเลย ยิ่งคิดคำนึงถึงเรื่องนั้นขึ้นมาแล้ว มันทำให้เบื่อหน่ายผู้หญิงคนนั้น ขนาดคลื่นไส้แทบอาเจียนออกมาเลย  อาการเช่นนั้นเป็นอยู่นานปี  คำนึงเรื่องนั้นขึ้นมาเมื่อไรก็ให้เกิดอย่างนั้น   เบื่อหน่ายแบบนี้ซึ่งเราไม่เคยเป็นมาแต่ก่อน  แล้วก็มิใช่เป็นทางมรรคปฏิบัติแน่  แต่มันได้เกิดเป็นมาแล้ว   ภายหลังเรามาคิดถึงโทษของตัวกามว่ามันร้ายกาจถึงเพียงนี้       เมื่อมันเกิดขึ้นในสันดานของใครเว้นพระอรหันต์และสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว ไม่ว่าผู้นั้นจะมีศีลธรรมหรือเป็นอันธพาล แม้แต่ท่านผู้ได้ฌานสมาบัติแล้วก็ตาม มันจะต้องใช้อำนาจขม้ำเอาเป็นเหยื่อของมันถ่ายเดียว  โดยปราศจากเมตตาปรานีเอาเสียเลย เหมือนเสือตะครุบลูกสุนัขอันไม่มีทางต่อสู้กินอย่างใจเย็น   แล้วทำให้เอ็นดูผู้หญิงคนนั้นว่า  แท้จริงตัวเขาเองก็ยังตั้งใจหวังดีต่อความดีอยู่   แต่ตัวกามกิเลสนั้นสิมันร้ายกาจมาก   ใช้อำนาจขม้ำไม่เลือกหน้าใคร   จึงน่าตำหนิตัวกามอย่างยิ่งแลไม่น่าให้อภัยในที่ใด ๆ ทั้งนั้น  แล้วเกิดสงสารผู้หญิงคนนั้นเป็นกำลัง             ผู้ที่ยังตกอยู่ในห้วงของกามโอฆะแล้วจะต้องมาเกิดในกามภพอันนี้     กามภพหรือกามภูมินี้เป็นที่บำเพ็ญบารมีของผู้ต้องการความเจริญก้าวหน้าด้านจิตใจก็ได้    เป็นสนามต่อสู้ของผู้ต้องการชิงชัยก็ได้ หรืออาจเป็นหลุมฝังศพของพวกอันธพาลก็ได้         กามภพหรือกามภูมิอันนี้มีทรัพยากรธรรมชาติทั้งภายนอกและภายในครบเสร็จสรรพ        เป็นแหล่งของผู้มีปัญญาสามารถหามาใช้เป็นประโยชน์ได้ตามต้องการ    ต้นไม้ในป่าไม่มีแล้วจะไปหารากยามาจากไหน    หมอไม่มีรากยาก็หาประโยชน์ไม่ได้    รากยามีหมอก็มีแต่คนไข้ไม่ยอมรักษาหรือรับประทานยาโรคก็ไม่หาย  ผู้เห็นคุณในกามภพแล้วเพลิดเพลินอยู่ในกามทั้งหลาย  เรียกว่า  กามคุณ ผู้ได้รับพิษสงของกามทั้งหลายเห็นเป็นภัยอย่างร้ายแรง  เรียกว่า  กามโทษ  ผู้สละกามได้ทั้งหมดเรียกว่า  เนกขัมมะ             ทีหลังเราได้กลับมาอยู่ที่เดิม    เปลี่ยนให้ท่านอ่อนสีไปอยู่ที่เราอยู่   คราวนี้เราได้ผจญภัยกับเสืออย่างจังเลย  คือคืนวันหนึ่งเสือได้มาตะครุบกินความริมกุฏิเรานั้นเอง เราได้เคาะไม้ช่วยไล่ทั้งตะโกนแรง ๆ ด้วย แต่เสือก็ไม่ยอมปล่อย  ลากไปกินจนได้  คราวนี้เราไม่กลัว แต่ไม่กล้าออกมาช่วยควายได้  เพราะกลัวมันจะขม้ำเราเข้าไปอีกคน
                         เราสองคนอยู่บำเพ็ญเพียร  ณ  ที่นั้นพอสมควรแล้ว      ก็ย้ายไปตามหมู่บ้านมูเซอซึ่งอยู่ตามแถวนั้นโดยลำดับ   เมื่อปลูกศรัทธาปสาทะเขาพอควรแก่เวลาแล้วจึงได้กลับลงมาทางอำเภอพร้าว   แล้วเที่ยวไปทางอำเภอเชียงดาว วกกลับมาทางอำเภอแม่แตง
                              
                              พรรษา ๑๕ จำพรรษาที่บ้านโป่ง อำเภอแม่แตง (พ.ศ. ๒๔๘๐)

                          บ้านโป่งเป็นสำนักที่ท่านอาจารย์มั่นเคยไปจำพรรษาแล้ว   เจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์  (จันทร์ สิริจันโท) ก็เคยไปพักบ้านนี้   ญาติโยมนับว่าฉลาด   เข้าใจธัมมะธัมโมได้พอสมควร   ปีนี้เราจำพรรษาด้วยกัน  ๕  รูป  คือ อาจารย์บุญธรรม ๑  พระเขื่อง ๑  พระเมืองเลย ๑ (จำชื่อไม่ได้)   พระอาจารย์ชอบ ๑  และเรา เราเป็นหัวหน้าได้เลือกสรรอุบายต่าง ๆ  มาเทศน์อบรมหมู่เพื่อนเพื่อให้ได้หลักธรรมปฏิบัติแน่นแฟ้นมั่นคง  เป็นที่พึ่งแก่ตนเองได้ต่อไป   ในหมู่นั้นท่านอาจารย์ชอบเป็นผู้เคร่งในธุดงค์กว่าเพื่อน   เป็นการหาได้ยากกัลยาณมิตรเช่นในพรรษานี้ เราเทศน์อบรมเกือบแทบทุกคืน       ขณะที่เราเทศน์อบรมอยู่นั้นหมู่เพื่อนก็ตั้งนมสิการทำความสงบรับฟังด้วยดี หลังจากเราอบรมแล้วได้เปิดโอกาสให้เพื่อนซักถามความข้องใจและออกความเห็นต่าง ๆ  ในหมู่นั้น   นอกจากท่านอาจารย์ชอบแล้ว  ก็มีพระเขื่องเป็นผู้เก่งในด้านปรจิตตวิชา  ใครจะมีอารมณ์อะไรข้องอยู่ภายในจิต  หรือไปทำความผิดอันใดก็ตามพระธรรมวินัยแล้ว   ทั้งสองท่านนี้จะต้องตามไปรู้เห็นทั้งนั้น    ในหมู่นั้นผู้ที่น่าสงสารกว่าเพื่อนคือ  ท่านอาจารย์บุญธรรม  (เป็นชาวสุรินทร์)   มีพรรษามากแต่ยังภาวนาไม่เป็น   ทั้งสองท่านนี้จะตามไปรู้เรื่องอะไรต่ออะไรของท่านหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แล้วก็มิใช่เป็นเรื่องที่น่าจะเป็นไปเสียด้วย  พอเพื่อนทักเข้าก็ยอมรับสารภาพโดยดี  จนยอมลงกราบพระผู้อ่อนพรรษากว่าเสียด้วย  ท่านทั้งน้อยใจและอับอายหมู่เพื่อนมาก   แล้วก็ไม่เคยพบท่านอาจารย์มั่นเลย  แต่เคยเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์สิงห์  อยากฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่นมาก โดยท่านสำคัญตัวว่าท่านมีความรู้พอ  หากได้ฟังเทศน์ท่านอาจารย์มั่นแล้วจะรู้เห็นธรรมโดยพลัน  เราเคยเตือนท่านเสมอว่า  ให้ระวังเมื่อเห็นและฟังเทศน์ของท่านแล้วจะเกิดความประมาทท่าน
                         ออกพรรษาแล้วท่านอาจารย์มั่นได้ย้อนกลับมาหาพวกเราอีก     ท่านอาจารย์บุญธรรมได้ฟังธรรมเทศนาของท่านอาจารย์มั่นเท่านั้นแหละ    กลับตาลปัตรตรงกันข้ามเลย    คือไม่พอใจในอุบายของท่านอย่างน่าเสียดาย ภายหลังท่านน้อยใจอย่างไรก็ไม่ทราบ     ได้หนีจากหมู่ไปเที่ยววิเวกรูปเดียว        แต่โชคไม่อำนวยไปเป็นไข้ป่ามาลาเรียขึ้นสมอง  ท่านอาจารย์เหรียญไปเจอเข้าจึงได้หอบกันมา เลยมามรณภาพที่โรงพยาบาลเชียงใหม่ โดยญาติและลูกศิษย์ไม่มีใครได้ไปปฏิบัติรับใช้   ส่วนเราและพระเขื่องเมื่ออยู่อบรมกับท่านอาจารย์มั่นพอสมควรแก่เวลาแล้ว  ได้ขอลาท่านออกไปวิเวกตามลำแม่น้ำแตงขึ้นไป  ได้ไปพักวิเวกอยู่ใกล้ป่าเมี่ยงเขาแห่งหนึ่ง พอไปถึงเราได้ให้พระเขื่องอยู่เฝ้าเครื่องบริขารที่วัดร้างเชิงเขา  ส่วนเราได้ขึ้นไปหาที่พักบนเขา   มีผู้หญิงคนหนึ่งเดินมาเที่ยวเย้าหยอกกับผู้ชายหนุ่ม ๆ ที่อยู่ในนั้น พระเขื่องเห็นเข้าเกิดความกำหนัดอย่างร้ายแรง เรากลับลงมาจากที่พักเห็นอาการอย่างนั้นเราได้พยายามอบรมและให้อุบายต่าง ๆ นานา   อันจะเป็นทางระงับอารมณ์นั้นแต่ก็ไม่ได้ผล  เรื่องนี้เราเข้าใจดีแล้วตั้งแต่เมื่อเธอจะมาอยู่ด้วยเราทีแรก  เธอเล่านิมิตก่อนแต่เธอจะมาหาเรา  ขณะที่เธออยู่อำเภอแม่สรวยกับท่านอาจารย์มั่นว่า   เธอได้ทราบข่าวเราแล้วทำให้เกิดศรัทธามากอยากจะมาหาเราเธอได้นิมิตว่า ปรากฏเป็นถนนจากที่อยู่ของเธอตรงแน่วพุ่งมาหาเรา  เธอได้เดินตามถนนมาถึงที่อยู่ของเราโดยราบรื่น หัวถนนจดเชิงบันกุฏิเราพอดี แล้วเธอเกาะบันไดขึ้นไปหาเราสูงมาก พอถึงได้กราบเราแล้ว เราได้มอบผ้าให้เธอหนึ่งไตร แต่เธอไม่ยอมรับ  พอดีเหตุการณ์ได้มาตรงกับนิมิตของเธอพอดี เราเองก็หมดเยื่อใยในตัวเธอลงเพียงเท่านั้น   ตอนเช้าเมื่อฉันเช้าอยู่เธอแสดงความโกรธให้เราด้วยเหตุเล็กน้อย   พอตอนเย็นจึงเข้าไปหาเราแล้วได้แสดงโทษต่อเราและบอกว่าเย็นวานนี้มีผู้หญิงมาพูดเย้าหยอกกับผู้ชายหนุ่มให้เห็นแล้วจึงเกิดความกำหนัดจากนั้นภาวนาไม่ลงตลอดคืนเลย แล้วขอลาแยกทางเราเที่ยวไปตามลำพัง หลังจากนั้นมาราวสามเดือนได้เจอเธออีก เราได้ชักชวนให้เธอเริ่มต้นทำภาวนากันใหม่อีก   หากตั้งใจทำกันจริงจังก็คงไม่เหลือวิสัยนา  ขอเริ่มทำกันใหม่อีกทีเถอะ  แต่เธอก็ไม่ยอม  ภายหลังทราบว่าเธอได้ลาสิกขาออกจากสมณเพศไปแล้วอย่างน่าเสียดาย  เธอเป็นคนใจเด็ด  ทำอะไรทำจริง  มีทิฐิจัด แม้แต่ท่านอาจารย์มั่นเทศน์ก็ไม่ยอมลงด้วย  เคยเป็นนักเลงโตมาแล้ว  พอบวชก็หนีจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมายปลายทาง  บ้านเดิมเธออยู่บ้านน้ำก่ำ  อำเภอธาตุพนม
                        อภิญญา ๖ เช่น  ปรจิตตวิชา  รู้จักวาระจิตของผู้อื่นนี้ เป็นต้น  เป็นของอสาธารณ์  หาได้เกิดมีแก่ผู้ปฏิบัติทั่วไปไม่   บางท่านปฏิบัติเอาจนจิตละเอียดบริสุทธิ์สักเท่าไร ๆ  อภิญญาไม่เกิดเลยสักอย่างก็มี  บางท่านปฏิบัติพอจิตรวมเป็นขณิกะ  อุปจาระนิดหน่อยก็เกิดแล้ว   สำหรับพระเขื่องคนที่ว่านี้ เธออบรมจิตให้สงบได้ดีมาก จะทำให้จิตสงบตลอดวันยังค่ำคืนยังรุ่งก็ทำได้ เธอเดินไปตามธรราดามันปรากฏในใจของเธอเหมือนกับเดินอยู่บนอากาศ  หรือมิฉะนั้นก็เหมือนกับอยู่ใต้บาดาลโน่น  เพราะจิตของเธอไม่ถอนออกจากสมาธิ แต่ไม่มีปัญญาพิจารณาพระไตรลักษณ์ เรียกว่า โลกิยอภิญญา เกิดจากโลกิยฌาน  นับประสาอะไรแต่พระเขื่อง   พระเทวทัตขนาดเหาะเข้าช่องพระแกลไปปรึกษากิจการกับเจ้าชายอชาตศัตรูได้ก็ยังเสื่อม

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-87.jpg)
        
                       หลวงปู่ชอบ

              พรรษา ๑๖ จำพรรษาที่บ้านหนองดู่ อำเภอปากบ่อง (อำเภอป่าซางในปัจจุบัน) จังหวัดลำพูน (พ.ศ. ๒๔๘๑)

                       บ้านหนองดู่เป็นบ้านชาวมอญ  พระที่วัดดู่เหมือนจะเคร่งครัดในวินัยพอควร  แต่สมภารตามที่ชาวบ้านว่าท่านขลังพอดูเหมือนกัน ชาวบ้านจะไปในงานใด ท่านเสกน้ำมันงาให้เขากิน ให้ทาแล้วแทงไม่เข้า ตีไม่แตก คนแถบนั้นเมื่อเห็นชาวหนองดู่ไปในงานไหนแล้วต่างก็จะพากันจ้องจับตาดูกันเป็นแถว     ส่วนชาวบ้านได้อาจารย์ดีแล้วก็กำเริบไม่กลัวใครทั้งนั้น   เคยมีบ้านแถบนั้นเขารวมหัวกันมีอาวุธครบมือยกขบวนมาล้อมบ้าน   จะแก้แค้นเอาให้ตายหมดทั้งบ้าน    ผู้ชายรู้ตัวพากันวิ่งเข้าไปในป่าหัวซุกหัวซุนต่างเอาตัวรอด    สมภารอาจารย์ดีองค์นี้แหละอายุได้  ๘๐  ปีแล้ว   ถูกพระกัมมัฏฐานเที่ยวธุดงค์มาขอพักอาศัยได้อบรมเอาเกิดความรู้แจ้งเห็นจริงในพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างน่าอัศจรรย์เลยเกิดความเลื่อมใสยอมสละมานะทิฐิขอเป็นลูกศิษย์ท่าน   ภายหลังพร้อมกันทั้งวัดโดยการสนับสนุนของชาวบ้านด้วย  ได้เปลี่ยนแปลงเป็นคณะธรรมยุต    สมเด็จพระมหาวีรวงศ์  (พิมพ์)      เมื่อครั้งเป็นพระญาณดิลกไปรักษาการที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่ได้ขอร้องให้เราไปเป็นสมภารวัดหนองดู่เป็นองค์แรก   มีพระปลัดทองสุกเป็นรองสมภาร    ในพรรษานี้พระมหาขันธ์หัดเทศน์เป็นปฐมฤกษ์  เป็นครูสอนปริยัติธรรมด้วย  ในพรรษานี้เราได้อบรมประชาชนให้เกิดศรัทธาปสาทะเข้ามารักษาศีลอุโบสถมากเป็นประวัติการณ์  บางบ้านปิดประตูบ้านแล้วพากันมานอนรักษาศีลอุโบสถที่วัดหมดครอบครัวเลยก็มี  ประเพณีคนมอญเด็กสาว ๆ จะไม่มีการรักษาศีลอุโบสถเลย ซึ่งตรงกันข้ามกับชายหนุ่ม  ชายหนุ่มสึกจากพระแล้วจะเข้าวัดรักษาอุโบสถไม่ขาดเลย  น่าชมเชยเขา  คนบ้านนี้ถึงแม้อาชีพเขาจะไม่ค่อยคล่องแต่เขาก็ศรัทธาดีมาก     นอกจากนี้เรายังได้สอนให้เขามั่นอยู่ในพระไตรสรณาคมน์    ละมิจฉาทิฐิถือผีเสีย   ได้มีผู้เห็นดีเห็นชอบด้วยพากันยอมแล้วเราจำเป็นจะต้องเดินทางกลับภาคอีสานเสีย    จึงเป็นอันยุติไว้เพียงเท่านั้นสละผีมอญมาขอรับเอาพระไตรสรณาคมน์เป็นสรณะแทนเป็นจำนวนมาก  แต่ออกพรรษา
                          ความเป็นเศรษฐีมีจนคนอนาถา     ก็มิได้เป็นอุปสรรคแก่การจับจ่ายอริยทรัพย์ของผู้มีศรัทธาปัญญา   ฉะนั้นอริยทรัพย์จึงเป็นของมีคุณค่าเหนือกว่าทรัพย์ทั้งปวง

                      


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:10:28

                           พรรษา ๑๗ - ๒๕ จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสี ท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (พ.ศ. ๒๔๘๒ - ๙๐)

                       ก่อนจะกลับเราได้ไปกราบนมัสการลาท่านอาจารย์มั่น    ซึ่งได้จำพรรษาอยู่ ณ ที่วัดเจดีย์หลวง   จังหวัดเชียงใหม่      ตามคำขอร้องของสมเด็จพระมหาวีรวงศ์เช่นเดียวกัน     แล้วเราได้อาราธนาให้ท่านกลับภาคอีสานอีกวาระหนึ่ง   คือก่อนเข้าพรรษาเราได้อาราธนาท่านครั้งหนึ่งแล้ว   ท่านก็ปรารภว่า    เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ก็มีหนังสือมานิมนต์เหมือนกัน  แท้จริงเราได้เคยทาบทามท่านเห็นมีทีท่าท่านจะกลับ เราจึงได้มีหนังสือแนะให้เจ้าคุณพระธรรมเจดีย์มีหนังสือมานิมนต์ท่าน   เมื่อเราย้ำว่า  แล้วท่านอาจารย์จะกลับไหม  ท่านบอกว่า   ดูกาลก่อน  แล้วกราบเรียนท่านว่า  ผมขอลากลับละ เพราะมาหาวิเวกทางนี้ก็เป็นเวลานานพอสมควร จะดีชั่วขนาดไหนก็พอจะพิสูจน์ตัวเองได้แล้ว
                       แล้วเราก็ได้มีจดหมายเรียนท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์อีกฉบับหนึ่ง   การเดินทางกลับครั้งนี้เขาให้เด็กคนหนึ่งมาเป็นเพื่อน  ส่วนท่านอ่อนสียังอยู่ติดตามท่านอาจารย์มั่นต่อไป   เมื่อกลับมาถึงท่าบ่อ  จังหวัดหนองคายแล้ว  เราตั้งใจจะอบรมหมู่เพื่อนให้เคร่งในด้านปฏิบัติ  แต่ก็ทำมาได้ราว ๓ - ๔ ปี ได้ผลราว ๒๐ - ๓๐% ควบคู่กันไป  พร้อมกันนี้เราได้นำหมู่ไหว้พระสวดมนต์ประจำ  หลังจากไหว้พระสวดมนต์แล้ว ได้ซ้อมสวดมนต์ทั้งมคธสังโยคและร้อยแก้วทั้งปาฏิโมกข์ก็สวดต่อท้ายสวดมนต์ประจำ เราผลิตนักสวดได้มากทีเดียว เราเห็นคุณประโยชน์ประจักษ์แล้วจึงได้ทำเช่นนั้นเรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้              อนึ่งขณะเราได้กลับมาอยู่วัดอรัญญวาสีได้  ๒  พรรษา  คือระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๕    เราได้พาลูกหลานญาติโยมไปสร้างสำนักขึ้นที่ตะวันตก  บ้านกลางใหญ่ ยังเป็นสำนักถาวรมีพระเณรอยู่จำพรรษาตลอดมาทุกปีมิได้ขาดจนกระทั่งทุกวันนี้   ปัจจุบันมีชื่อว่า วัดนิโรธรังสี  ในระยะนี้ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์กำลังสนใจในกัมมัฏฐานและในตัวของท่านอาจารย์มั่นมาก  แท้จริงเจ้าคุณธรรมเจดีย์เมื่อเป็นสามเณรก่อนจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ  ก็เคยเป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์เสาร์   ท่านอาจารย์มั่นมาก่อนแล้ว  แต่ไม่ได้สนใจในธรรมปฏิบัติ หลังจากนั้นมาก็เห็นจะเป็นครั้งผูกพัทธสีมาวัดโพธิสมภรณ์นั้นกระมังที่ท่านได้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับท่านอาจารย์ทั้งสอง  มาตอนนี้ท่านสนใจมากถึงกับถามปฏิปทาและนิสัยใจคอของท่านอาจารย์ทั้งสองกับเราเสมอ บางครั้งยังให้เราแสดงธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาจากท่านทั้งสองให้ฟังอีกด้วย    เมื่อเรานำเอาธรรมของท่านอาจารย์มาแสดงรู้สึกว่าท่านตั้งใจฟังโดยความเคารพสงบนิ่งอย่างน่านับถือมาก   ภายหลังท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ได้ให้อาจารย์อุ่น ธัมมธโร   ไปนิมนต์ท่านอาจารย์มั่นที่เชียงใหม่  แต่ก็ไม่เป็นผล  ไปเล่าเรื่องฉันเจ (มังสวิรัติ)  ให้ท่านฟังจนเป็นเหตุให้หมู่คณะทะเลาะแตกแยกกัน   ท่านอาจารย์มั่นบอกว่า  พระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ทะเลาะกันเพราะเรื่องกินเรื่องขี้ดอก  อะไรพวกเราจะมาทะเลาะกันเพราะเรื่องพรรค์นี้   เมื่อเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ฯ ลงไปกรุงเทพ ฯ ด้วยกิจคณะสงฆ์  พอเสร็จแล้วท่านจึงเลยไปเชียงใหม่แล้วนิมนต์ด้วยตนเอง  ท่านอาจารย์มั่นบอกว่า  เออ! อย่างนี้ซิ  นิมนต์ด้วยหนังสือใหญ่ (คือนิมนต์ด้วยตนเอง)
                        เรามีโอกาสได้จำพรรษาที่วัดอรัญญวาสีท่าบ่อ  เป็นเวลานานครั้งแรกถึง ๙ ปี   เป็นประวัติการณ์ในชีวิตของการบวชมา  เมื่อก่อนเราไม่สนใจในการก่อสร้างเพราะถือว่าเป็นเรื่องยุ่ง   และไม่ใช่กิจของสมณะ  ผู้บวชจำต้องประพฤติเฉพาะสมณกิจเท่านั้น   เมื่อเราได้มาอยู่ ณ ที่วัดนี้แล้ว    มองดูเสนาสนะที่อยู่อาศัยล้วนแล้วแต่เป็นมรดกของครูบาอาจารย์ได้ทำไว้ให้เราอยู่ทั้งนั้น         แล้วมาคิดค้นถึงพระวินัยบางข้อ        ท่านอนุญาตให้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะได้แล้วเกิดความละอายแก่ใจว่า เรามานอนกินของเก่าเฝ้าสมบัติเดิมของครูบาอาจารย์แท้ๆ ต่อจากนั้นจึงได้เริ่มพาญาติโยมทำการก่อสร้างมาจนกระทั่งบัดนี้   แต่ถึงกระนั้นก็ตามไม่ว่า ณ  ที่ใดๆ เราไม่เคยทำการเรี่ยไรมาก่อสร้างเลย ละอายแก่ใจมาก  มีก็ทำ  ไม่มีก็ไม่ทำ  แล้วก็ไม่ยอมติดในงาน ถึงงานไม่เสร็จ เมื่อทุนไม่มีเราทิ้งได้โดยไม่มีเยื่อใยเลย   เรามาอยู่ ณ ที่นี่ได้พาญาติโยมทำการก่อสร้างกุฏิใหม่สองหลัง  และศาลาการเปรียญหนึ่งหลัง แล้วก็หลังเล็กๆ อีกหลายหลัง  จำเดิมแต่เราออกเที่ยวรุกขมูลมาไม่เคยจำพรรษาที่เก่าถึง  ๓  ปีสักทีเพิ่งมาอยู่นานที่ท่าบ่อนี่เอง    จะเป็นเพราะเราอยู่นานหรืออย่างไรก็ไม่ทราบ ภายหลังโรคเส้นประสาทของเรากำเริบ        แต่เราก็กัดฟันอดทนอยู่มาเพื่อหวังประโยชน์แก่หมู่คณะซึ่งต้องการอยากจะศึกษาในธรรมปฏิบัติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ ท่านเกต (พี่ชาย) ได้มาอยู่จำพรรษาด้วย แล้วท่านได้มามรณภาพเสียในกลางพรรษานั้นเองด้วยโรคไส้ติ่ง  แต่อุปสมบทมาท่านมีพรรษาได้ ๑๔ พรรษา อายุ ๔๘ ปี ท่านเกต (พี่ชายคนติดกัน)  นับแต่บวชมาไม่เคยจำพรรษาด้วยกันสักที  ปีนี้ได้มาอยู่ด้วยกัน ดูเหมือนจะเทพนิมิตสังหรณ์อะไรไม่ทราบ  พอมาอยู่ด้วยเราก็ไม่ได้เทศนาสั่งสอนญาติโยมอะไร  ให้อยู่ภาวนาทำความเพียรสบาย ๆ ในพรรษานี้ เราเป็นโรคประสาทอย่างร้ายแรง    ขนาดเทศนาอบรมญาติโยมอยู่บนธรรมาสน์   ไม่รู้ตัวเลยว่าเราพูดอะไรต่ออะไร แต่ก็พูดได้  เมื่อพูดจบแล้วถามญาติโยมผู้ฟังว่า  เราพูดอะไร ได้ความไหม  เขาก็ตอบว่า ได้ความดีอย่างเดิมไม่ผิดแปลกอะไร
                         วันหนึ่งเราได้นิมิตฝันว่า  เรากับท่านเกต (พี่ชาย)  ได้เดินรุกขมูลไปในป่าด้วยกัน  ไปถึงลำธารแห่งหนึ่งได้พากันเดินตามลำธารนั้นไป  น้ำไม่ลึกเพียงสะเอว แต่เดินไปก็ไม่ปรากฏผ้าเปียก เราเห็นน้ำใสจืดสนิทดีอยากวักมาบ้วนปากดู  จึงเอามือวักใส่ปากอมแล้วก็พ่นทิ้ง  โอ้โฮ  ที่ไหนได้ฟันในปากของเราหลุดออกมากับน้ำ ตื่นขึ้นมานึกว่าเป็นจริง พอคลำดูในปากจึงรู้ว่าเป็นความฝัน เราไม่ค่อยเชื่อความฝันว่ามันเป็นจริงเป็นจัง ฝันเพราะเรารักษาจิตไม่ได้มันกวัดแกว่งหลับไป   มันจึงฝันไปตามอารมณ์ของมัน  ถ้าเรารักษาสติให้ดีแล้วจะไม่มีฝันเลย  ถึงแม้ฝันก็รู้ตัวว่าเราฝันอยู่ แต่ลุกไม่ได้เพราะกายยังไม่เคลื่อนไหวเมื่อกายเคลื่อนไหวแล้วจึงลุกขึ้นได้ จิตไม่มีหลับ ที่ฝันคือจิตมันไม่หลับ  มันส่งส่ายนั่นเอง
                          เมื่อเราไม่เชื่อในความฝัน  คราวนี้นิมิตมาปรากฏให้เห็นด้วยตาใน (คือใจ) ก่อนถึงเดือนสิบเพ็ญซึ่งเขานิยมทำบุญกันตามประเพณี  เรียกว่าบุญข้าวสลากภัต  เราได้ป่วยล่วงหน้ามาก่อน ๔ - ๕ วันแล้ว  ดังกล่าวมาข้างต้น   คราวนี้เป็นหนักมากลุกไม่ได้    ลุกขึ้นก็อาเจียน    นอนหลับตาอยู่พอลืมตามองเห็นท้องฟ้า    มีเมฆเคลื่อนผ่านพระอาทิตย์ ก็เจ็บนัยน์ตาทำให้อาเจียน วันนั้นพอดีเป็นวันพระเราลงเทศน์ไม่ได้ เขาจึงนิมนต์ให้ท่านเกตลงเทศน์   ท่านเทศน์อยู่ชั่วโมงครึ่งจึงจบ  ญาติโยมได้ยินแล้วพากันแปลกใจมาก ไม่นึกว่าท่านจะเทศน์ได้ถึงขนาดนั้น     พอดีรุ่งเช้าขึ้นเราก็หายจากโรคประสาท    แล้ววันนั้นเขานิมนต์เราไปประชุมในราว  ๑๑  โมงเช้ามีคนไปบอกว่าท่านเกตปวดท้องเราจึงกลับมา  เมื่อมาแล้วก็มองดูอยู่เฉยๆ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร เพราะไม่มียา อนึ่งโรคนี้ท่านเคยเป็นมาสิบกว่าปีแล้ว  บางทีฉันยาตามมีตามได้ก็หาย  บางทีไม่มียาฉันมันก็หายเอง  มีครั้งหนึ่งไปป่วยอยู่บ้านนาสีดา (บ้านเดิม) ๕ วัน ๕ คืน นอนไม่ได้ฉันไม่ได้  เวลาจะหายเอานิ้วมือล้วงเข้าที่ทวารหนัก  มีอะไรไม่ทราบออกมาเป็นก้อนเล็ก ๆ  สามสี่ก้อนจากนั้นก็หายเลย
                         ในสมัยนั้นการแพทย์แผนปัจจุบันยังเจริญไม่ทั่วถึง ปวดท้องก็หายาแก้ปวดท้องมากิน  ไม่ทราบว่าไส้ติ่งเป็นอย่างไร ถ้าปวดท้องเพราอาหารเป็นพิษหรือของแสลงหรือท้องมีลมก็หายไป ถ้าเป็นไส้ติ่งอย่างนี้ก็ไม่หาย คนตายเพราะไส้ติ่งนี้นับไม่ถ้วน    ท่านเกตปวดท้องครั้งนี้เป็นเรื่องไส้ติ่งโดยแท้และไม่มียา  เจ็บเอาเหลือจะทนดิ้นคลั่กๆ แต่ไม่เคยได้ยินเสียงร้อง  ในที่สุดพูดหลุดปากออกมาประโยคหนึ่งว่า  อดทนไม่ไหวแน่  คิดว่าเดินจงกรมมันจะสบายบ้าง   ให้พยุงขึ้นเดินจงกรม  เดินไปได้ประมาณ ๔ - ๕ ก้าวเลยอ่อนพับลง   พระเณรที่เอาไปเดินเห็นอาการดังนั้นจึงเอามานอนลงที่เดิม   เวลานั้นเราอ่อนเพลียมากเพราะดูกันเป็นเวลานานแล้ว   จึงขออนุญาตจากเพื่อนไปพักผ่อน   พอดีมีเณรไปเรียกว่า   ท่านเกตอ่อนเพลียมากสลบลงเราจึงรีบมาดู  เห็นนอนนิ่งเฉยๆ ไม่พูดอะไร  เราเตือนสติอยู่ใกล้ๆ บอกว่าได้ยินไหม  พูดว่าได้ยิน  จนเวลาราว ๒ ทุ่มจึงมรณภาพไป
                          ท่านเกตเป็นคนอดทนอย่างยิ่ง  ทั้งที่ยามปกติและยามโรคกำเริบ  โรคมิใช่อย่างเดียว โรคไส้ติ่ง โรคนิ่ว และโรคมาลาเรีย   โดยเฉพาะโรคไส้ติ่งนี้   เวลามันอักเสบเป็นตั้งหลาย ๆ วันจึงจะหายแต่ไม่เคยทำความเดือดร้อนให้ใครเลย  เวลาเป็นมาก็นอนนิ่งอยู่คนเดียว  อาหารฉันได้ก็ฉัน  ฉันไม่ได้นอนนิ่งอยู่อย่างนั้น  ปกติท่านก็ฉันน้อยอยู่แล้ว  ฉันง่ายด้วย  ฉันข้าวกับเกลือก็อยู่ได้ตั้งเป็น ๑๐ วันกว่า ๆ  ได้รับความยกย่องจากครูบาอาจารย์ทุกองค์ว่ามีความอดทนดีมาก  เราทำฌาปณกิจศพท่านแล้วออกพรรษาเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๐  โยมมารดาก็มาเสียไปอีกคนหนึ่ง   ในปีนั้นเขาเป็นโรคแผลเปื่อยกันทั้งบ้านทั้งเมือง  โยมเราก็เป็นที่แข้งกับเขาบ้าง  เขาเป็นพากันรักษาหายหมด โยมเราเป็นรักษาไม่หาย ยาอะไรดีๆ เขารักษาหายเราก็ไปเอามารักษา ก็ไม่หาย เปื่อยจนกระทั่งเนื้อหนังหลุดออกยังเหลือแต่กระดูกแต่ไม่รู้สึกเจ็บ
                           เราอยู่จำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย   โยมแม่ของเราป่วยอยู่ที่บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ โรคที่ไม่เชื่อความฝันว่าจะเป็นจริงก็พลอยหายไปโดยฉับพลัน   ในเมื่อฝันว่าฟันหลุดออกจากปาก   พอรุ่งเช้ามาเราพยากรณ์ได้เลยว่าวันนี้เราจะต้องออกเดินทางแน่นอน กลับจากบิณฑบาตเห็นคนมารอท่าอยู่แล้ว บอกว่าโยมมารดาป่วยหนัก ใครจะหาว่าความฝันเป็นเรื่องเหลวไหลไม่เชื่อก็ตามใจ แต่เราเชื่อร้อยเปอร์เซ็นต์เลย ถ้าฝันว่าฟันหลุดออกจากปาก ไม่บิดาก็มารดาหรือพี่น้องคนใดคนหนึ่งจะต้องเจ็บหนักหรือถึงแก่ความตายแน่ ถ้ามิฉะนั้นก็คนใกล้ชิดสนิทคุ้นเคยกับเรา
                           เราได้พยาบาลโยมมารดาด้วยธรรมโอสถและยาภายนอกจนสุดกำลัง  แต่สังขารมันแก่หง่อมเต็มที  ได้ ๘๒ ปีแล้ว เอายาอะไรมาใส่รักษามันก็ไม่ทุเลา  กินไม่ได้ มีแต่ทรุดลงๆ จนทนไม่ไหวร่วงโรยไปเหมือนใบไม้แก่ฉะนั้น  แต่ด้านจิตใจ เราได้พยาบาลรักษาให้อยู่ในความสงบอย่างยิ่ง จนวาระสุดท้ายเกือบจะไม่มีลมแล้ว เราจึงหยุดให้สติ
                           เราได้ทำหน้าที่อุตมบุตรอย่างยิ่ง  ในขณะที่ปกติอยู่ท่านถือเราเสมออาจารย์คนหนึ่ง   ขัดข้องต้องการสิ่งใดปรึกษาหารือเรา    เมื่อเราออกความเห็นให้ก็ยอมรับทั้งนั้น   ยามป่วยไข้เราได้ให้สติ    บางทีถึงกับไม่ต้องรับประทานยาเลย  ก็หายด้วยความเชื่อมั่นศรัทธาในคำสอนของเรา  ตอนจะถึงแก่กรรมก็เหมือนกัน อาจเป็นเพราะความเชื่อมั่นในคำสอนของเราก็ได้ทำให้ไม่เจ็บแผลที่ขา

                           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/7537-1.jpg)

                           วัดอรัญญวาสี

                           พรรษา ๒๖ - ๒๗ จำพรรษาที่เขาน้อย ท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๒)

                           ภูเขาลูกนี้ก่อนที่เราจะไปอยู่ เราได้ภาพนิมิตแล้วตั้งแต่อยู่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ แต่เราก็ไม่ยักเชื่อว่ามันจะมีเช่นนั้น อนึ่งภูเขาลูกนี้มันไม่น่าจะวิเวกเลย เพราะเป็นภูเขาเล็กๆ อยู่กลางทุ่งมีหมู่บ้านอยู่รอบเชิงเขา แต่เป็นที่แปลกใจมาก ๆ  ไม่ว่าใครจะเป็นพระเป็นเณรหรือแม้แต่คฤหัสถ์ชาวบ้าน  เมื่อมาอบรมภาวนา ณ ที่นั้นแล้วจะได้รับผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ทุกๆ  คนไปไม่มากก็น้อยตามกำลังของตนๆ  ที่น่าแปลกที่สุดก็คือ   มีตาแก่คนหนึ่งอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว อาศัยเขาอยู่ แกเป็นนักดื่มเมาเป๋ตลอดวัน เขาจ้างให้แกไปอุปัฏฐากพระประจำ ให้เดือนละ ๕๐ บาท แกไม่ยอม พอเราไปอยู่แกเกิดศรัทธาเลื่อมใสไม่ต้องจ้าง  แกมาภาวนากัมมัฏฐานเกิดภาพนิมิตให้เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจละสุราเข้ามารักษาอุโบสถได้   ชาวบ้านใครๆ ก็นิยมนับถือแก  เข้าบ้านใคร ร้านไหน  เขาให้อาหารแกกินฟรี ๆ ไม่ต้องซื้อ แกยิ่งเห็นอานิสงส์มากขึ้นและปฏิบัติพระตลอดมา ที่แปลกยิ่งกว่านั้นคือ คนใบ้ที่ท่าแฉลบนั้นเองนี่ก็อาศัยอยู่กับเขาเหมือนกัน เราได้สอนภาษาใบ้ให้เขารักษาอุโบสถและภาวนาจนเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจของเขา แล้วเขาได้สอนคนอื่นด้วยภาษาใบ้ให้เห็นโทษของการดื่มสุรา  เขาภาวนาอยู่ที่บ้านยังสว่างเห็นตัวของเราที่อยู่วัดเลย    เวลานี้คนคนนี้ได้ข่าวว่ายังมีชีวิตอยู่   แล้วก็ได้สร้างวัดเฉพาะส่วนตัวอยู่   ได้นิมนต์พระไปอยู่และปฏิบัติด้วยตนเองด้วย            ส่วนตัวของเราเองก็รู้สึกแปลกมาก   คือค้นธรรมที่ไม่เคยคิดและรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้  ลำดับอุบายและแนวปฏิบัติได้ละเอียดถี่ถ้วน  จนวางแนวปฏิบัติได้อย่างเชื่อตนเอง   จึงได้เขียนหนังสือส่องทางสมถะวิปัสสนาเป็นเล่มแรก        เราอยู่บำเพ็ญเพียร  ณ  ที่นั้นสองพรรษาตามที่เราได้กำหนดเอาไว้พอดี พรรษาสองออกพรรษาแล้วได้ข่าวการอาพาธของท่านอาจารย์มั่น  เราจึงจากเขาน้อยไปด้วยการระลึกถึงคุณของเขาลูกนี้อย่างยิ่ง    เราได้ไปเยี่ยมอาการไข้ของท่านอาจารย์มั่นจนท่านมรณภาพ   แล้วทำฌาปนกิจศพของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราไม่ได้กลับไปอีกทั้งๆ ที่มีผู้ปวารณาจะให้อุปการะแก่เราอย่างดียิ่งถ้ากลับไปอีก เป็นแต่ได้ส่งพระไปรอท่าด้วยความไม่แน่นอนของเรา
  


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:10:49
                                 พรรษา ๒๖ - ๒๗ จำพรรษาที่เขาน้อย ท่าแฉลบ จังหวัดจันทบุรี (พ.ศ. ๒๔๙๑ - ๒๔๙๒)

                         ภูเขาลูกนี้ก่อนที่เราจะไปอยู่ เราได้ภาพนิมิตแล้วตั้งแต่อยู่วัดอรัญญวาสี อำเภอท่าบ่อ แต่เราก็ไม่ยักเชื่อว่ามันจะมีเช่นนั้น อนึ่งภูเขาลูกนี้มันไม่น่าจะวิเวกเลย เพราะเป็นภูเขาเล็กๆ อยู่กลางทุ่งมีหมู่บ้านอยู่รอบเชิงเขา แต่เป็นที่แปลกใจมาก ๆ  ไม่ว่าใครจะเป็นพระเป็นเณรหรือแม้แต่คฤหัสถ์ชาวบ้าน  เมื่อมาอบรมภาวนา ณ ที่นั้นแล้วจะได้รับผลเป็นที่น่าอัศจรรย์ทุกๆ  คนไปไม่มากก็น้อยตามกำลังของตนๆ  ที่น่าแปลกที่สุดก็คือ   มีตาแก่คนหนึ่งอายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว อาศัยเขาอยู่ แกเป็นนักดื่มเมาเป๋ตลอดวัน เขาจ้างให้แกไปอุปัฏฐากพระประจำ ให้เดือนละ ๕๐ บาท แกไม่ยอม พอเราไปอยู่แกเกิดศรัทธาเลื่อมใสไม่ต้องจ้าง  แกมาภาวนากัมมัฏฐานเกิดภาพนิมิตให้เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจละสุราเข้ามารักษาอุโบสถได้   ชาวบ้านใครๆ ก็นิยมนับถือแก  เข้าบ้านใคร ร้านไหน  เขาให้อาหารแกกินฟรี ๆ ไม่ต้องซื้อ แกยิ่งเห็นอานิสงส์มากขึ้นและปฏิบัติพระตลอดมา ที่แปลกยิ่งกว่านั้นคือ คนใบ้ที่ท่าแฉลบนั้นเองนี่ก็อาศัยอยู่กับเขาเหมือนกัน เราได้สอนภาษาใบ้ให้เขารักษาอุโบสถและภาวนาจนเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจของเขา แล้วเขาได้สอนคนอื่นด้วยภาษาใบ้ให้เห็นโทษของการดื่มสุรา  เขาภาวนาอยู่ที่บ้านยังสว่างเห็นตัวของเราที่อยู่วัดเลย    เวลานี้คนคนนี้ได้ข่าวว่ายังมีชีวิตอยู่   แล้วก็ได้สร้างวัดเฉพาะส่วนตัวอยู่   ได้นิมนต์พระไปอยู่และปฏิบัติด้วยตนเองด้วย            ส่วนตัวของเราเองก็รู้สึกแปลกมาก   คือค้นธรรมที่ไม่เคยคิดและรู้ธรรมที่ยังไม่เคยรู้  ลำดับอุบายและแนวปฏิบัติได้ละเอียดถี่ถ้วน  จนวางแนวปฏิบัติได้อย่างเชื่อตนเอง   จึงได้เขียนหนังสือส่องทางสมถะวิปัสสนาเป็นเล่มแรก        เราอยู่บำเพ็ญเพียร  ณ  ที่นั้นสองพรรษาตามที่เราได้กำหนดเอาไว้พอดี พรรษาสองออกพรรษาแล้วได้ข่าวการอาพาธของท่านอาจารย์มั่น  เราจึงจากเขาน้อยไปด้วยการระลึกถึงคุณของเขาลูกนี้อย่างยิ่ง    เราได้ไปเยี่ยมอาการไข้ของท่านอาจารย์มั่นจนท่านมรณภาพ   แล้วทำฌาปนกิจศพของท่านเสร็จเรียบร้อยแล้ว เราไม่ได้กลับไปอีกทั้งๆ ที่มีผู้ปวารณาจะให้อุปการะแก่เราอย่างดียิ่งถ้ากลับไปอีก เป็นแต่ได้ส่งพระไปรอท่าด้วยความไม่แน่นอนของเรา

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/8673.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/8671.jpg)

                     รูปงานฌาปนกิจศพท่านพระอาจารย์มั่น                                      
                              
                                                                ความวิตกของผู้คิดมาก

                          หลังจากฌาปนกิจศพของท่านอาจารย์มั่นแล้ว   เรามารำพึงถึงหมู่คณะว่า    เมื่อก่อนเรามีหมู่คณะยังไม่มาก  และยังไม่เป็นที่รู้จักของผู้คนกว้างขวาง  อนึ่งพระผู้ใหญ่ที่เป็นร่มเงา  เช่น เจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจันโท)   ก็ยังมีเป็นที่พึ่งอาศัยอยู่   หากมีเรื่องเกี่ยวข้องทางคณะสงฆ์ท่านก็รับเอาเป็นภาระเสีย    เมื่อท่านมรณภาพไปแล้ว  เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโส)  ก็รับภาระแทน   เมื่อท่านนั้นมรณภาพไปแล้ว   ท่านพระอาจารย์มั่น  ภูริทัตตเถระ   ก็เป็นที่รู้จักและเคารพนับถือของพระผู้ใหญ่เป็นอันมาก    เวลานี้ท่านอาจารย์มั่นก็มามรณภาพไปเสียแล้ว       คงยังเหลือแต่พวกเราในคณะของพวกเรานี้ก็ไม่กี่องค์ที่พระผู้ใหญ่รู้จัก และจะรับเอาภาระของหมู่คณะอย่างจริงจัง   ต่อไปนี้พระคณะลูกศิษย์ของพระอาจารย์มั่นก็นับวันแต่จะเป็นที่รู้จักของคนเป็นอันมาก  (แต่เรามันโง่ไปหารู้ไม่ว่าท่านที่ยังมีชีวิตเหลืออยู่ ณ บัดนี้ต่อไปท่านก็จะเป็นพระผู้ใหญ่ และมีความสามารถด้วยกันทั้งนั้น   ความวิตกนี้มันอาจจะเลอะเลือนไปก็ได้)      อย่าเลยถ้ากระนั้นเราจะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ หากมีโอกาสจะได้สังสรรค์กับพระผู้ใหญ่  เพื่อฟังมติและอุบายของท่านเหล่านั้นว่า   ท่านจะมีความคิดเห็นอย่างไรบ้างในหมู่คณะของพวกเรา     เราได้ออกเดินมาพักที่วัดบ้านจิก  อุดรฯ    เมื่อเราได้มาพักรวมกันกับอาจารย์อ่อน ญาณสิริ   พักวัดทิพยรัตน์ที่อุดรฯ   ท่านอาจารย์อ่อนเข้าใจว่า  เราหนีหมู่คณะเอาตัวรอด เราชี้แจงข้อเท็จจริงให้ท่านฟังทุกประการ  ท่านจึงเข้าใจความหมายของเรา  อนึ่งในพรรษานี้ได้ทราบว่าท่านอ่อนเองก็ได้ไปจำพรรษาที่ถ้ำเขาย้อย   จังหวัดเพชรบุรีเหมือนกัน   ไม่ทราบว่าท่านจะเข้าใจในคำพูดของเราอย่างไรก็ไม่ทราบ เมื่อเราเข้าไปกรุงเทพฯ  แล้วก็ได้มีโอกาสเข้าไปกราบนมัสการพระเถระหลายรูป แล้วก็ได้รู้และเข้าใจในทัศนะของท่านแต่ละรูปที่มีต่อคณะของพวกเราพอสมควร อันเป็นเหตุให้เรามั่นใจในตัวของตนเองและหมู่คณะเป็นอย่างดี     แต่เรายังต้องการอยากจะชมปฏิปทาและแนวปฏิบัติของสำนักที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ    เช่น   ที่ราชบุรีและเพชรบุรี เป็นต้น เราจึงได้ออกเดินทางไปขอพักเพื่อศึกษาในสำนักนั้นๆ จนกระทั่งถึงจังหวัดสงขลา ขณะนั้นพระขุนศิริเตโชดม (อำพัน) ซึ่งเคยเป็นอดีตนายอำเภอ แล้วก็เคยอยู่ด้วยเรามาแล้ว  เธอไปเผยแพร่พระธรรมปฏิบัติทางภูเก็ต พังงา   ภายหลังมีพระมหาปิ่น ชลิโต (พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์)  เป็นชาวนครปฐมซึ่งไม่ใช่คณะของเราไปช่วยประโคมเข้าอีกหนึ่งแรง ทำให้ผู้คนตื่นเต้นแลเอิกเกริกจนเลยขอบเขต เป็นเหตุให้เกิดความแตกร้าวเป็นกลุ่ม  เป็นก๊ก  พระมหาปิ่นคุมสถานการณ์ไว้ไม่อยู่และหมู่ก็ไม่มี   เมื่อเธอได้ทราบข่าวว่าเรามาอยู่ที่สงขลา เธอจึงได้ไปขอร้องให้คณะของเราไปช่วยแก้ไขสถานการณ์

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/c7aec403.jpg)

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-79.jpg)
 
                         พระมหาปิ่น ชลิโต (พระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์)
                                                
                                           เข้าไปเกาะภูเก็ตครั้งแรกและผจญภัยอย่างร้ายแรง

                         เกาะภูเก็ตสมัยนั้น         ในมโนภาพของคนโดยมากเข้าใจว่าเป็นดินแดนอยู่โดดเดี่ยวและสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรเป็นอันมาก   มีเศรษฐีเต็มไปหมดทั้งเกาะ   อนึ่งคนในเกาะนี้นอกจากนักธุรกิจแล้วอาจไม่ค่อยได้เห็นโลกภายนอกนัก  ความจริงแล้วมีส่วนถูกต้องราว ๓๐ % เพราะการคมนาคมก็ยังไม่สะดวก โดยมากข้ามไปเกาะภูเก็ตโดยทางเรือ  เรายังจำได้เราข้ามไปเกาะภูเก็ตครั้งแรกไปเครื่องบิน ขึ้นจากสงขลาไปลงภูเก็ต  เที่ยวบินที่เราไปมีพวกเราพระสองรูปกับฆารวาสหนึ่งคนเท่านั้น เมื่อส่งเราแล้วขากลับจากภูเก็ตมาลงสงขลามีคนโดยสารคนเดียวแท้ๆ   อนึ่งกรรมกรคนอีสานก็ยังมีไม่กี่คน     คนแถบนั้นพากันกลัวคนอีสานเหมือนกับกลัวยักษ์กลัวเสืออย่างนั้นแหละ  เพราะเขาได้ข่าวเล่าลือกันต่อๆ มาว่าคนอีสานใจดำอำมหิตโหดร้าย  จับเด็กๆ ฆ่ากินเป็นอาหาร หลังจากเราเข้าไปแล้วได้หนึ่งปี     กรรมกรอีสานพากันแห่เข้าไปเป็นหมู่     แล้วก็เดินตามหลังกันตามถนนยาวเหยียดเลย  คนในเมืองพากันมองดูตาตั้งเทียว ส่วนคนที่อยู่ริมเมืองตลอดบ้านนอกเห็นเข้าแล้วพากันวิ่งเข้าบ้าน ถ้าอยู่ป่าก็วิ่งหัวซุกหัวซุนเข้าป่าเลย  นี่เราก็ไม่ได้เห็นด้วยตาตนเองดอก แต่คนเขามาเล่าสู่ฟัง ด้านความมีความจนคนไทยเราทุกภาคก็เห็นจะไม่เกินกันถึง  ๕% กระมัง   คนเรามีมากใช้มากมีน้อยใช้น้อยที่น่าสงสารคนภูเก็ตมากที่สุดก็คือ   คนจนอยากจะทำตนให้เทียมคนมีคนรวยนี่ซี  มันแย่หน่อย
                        เราเข้าไปอยู่เกาะภูเก็ตครั้งแรก นอกจากจะไม่มีความตื่นเต้นอะไรแล้ว  ยังไปผจญกับภัยแม่ต่อแม่แตนอีกด้วย  นั่นคือยังเหลืออีกราว ๑๐ กว่าวันจะเข้าพรรษา  ได้มีผู้คนพร้อมด้วยพระคณะหนึ่งเขารวมหัวกันกีดกันไม่ยอมให้พวกเราอยู่  หาวิธีกีดกันด้วยประการต่างๆ ถึงกับเอาไฟไปเผาเสนาสนะบ้าง  ใส่ยาเบื่อบ้าง เอาก้อนอิฐปาบ้าง  ห้ามมิให้คนตักบาตรให้กินบ้าง บางทีพวกเราออกบิณฑบาตเดินตรงใส่จะชนเอาบ้าง  เราเป็นอาคันตุกะมาอยู่ในถิ่นเขา   ต้องของ้องอนเขาได้เข้าไปหาหัวหน้าเขา  ร้องขออยู่จำพรรษาในถิ่นนี้สักพรรษาบ้าง เพราะจวนจะเข้าพรรษาแล้ว   ท่านไม่ยอมแลหาว่าเราเป็นพระจรจัดไปโน่นอีกด้วย  เราได้ชี้แจงและอ้างเหตุผลอย่างไร ๆ ให้ท่านฟังก็ยืนกรานไม่ให้อยู่ท่าเดียว สุดท้ายท่านบอกว่าผู้ใหญ่ท่านไม่ให้อยู่ (หมายถึงผู้ใหญ่ทางกรุงเทพฯ) เราก็เลยบอกท่านตรงๆ เลยว่า  เมื่อผู้ใหญ่ท่านมี  ผู้ใหญ่ผมก็มีเหมือนกัน   ภายหลังได้ทราบว่าท้าทายอย่างหนักเลย บอกว่า   ถ้าพระคณะธรรมยุตอยู่จำพรรษาที่ภูเก็ต - พังงาได้  จะยอมนุ่งกางเกงเอาเสียเลย  ฟังดูแล้วน่ากลัวจัง
 
                                         พรรษา ๒๘ จำพรรษาที่โคกกลอย จังหวัดพังงา (พ.ศ. ๒๔๙๓)

                       ผลที่สุดพวกญาติโยมที่เคารพนับถือพวกเราก็จัดเสนาสนะให้พวกเราอยู่จำพรรษาจนได้  ในปีนี้พระเณรได้ติดตามเราไปด้วยราว ๑๕ รูป  รวมทั้งอยู่ก่อนแล้วเป็น ๑๘ รูป  แล้วก็แยกกันอยู่สามแห่งด้วยกันคือ  ที่ตะกั่วทุ่ง ๑ แห่ง ท้ายเหมือง ๑ แห่ง  และที่โคกกลอยที่เราอยู่ที่นี่อีก ๑ แห่ง ในพรรษานี้นอกจากคลื่นบนผิวน้ำจะกระทบอยู่ตลอดเวลาแล้ว  ยังมีคลื่นใต้น้ำมากระทบกระหน่ำอีกด้วย   นั่นคือคณะธรรมยุตด้วยกันนี่เองเอะอะเอาว่าพวกเราไม่มีธรรมวินัยเป็นเครื่องดำเนินปฏิบัติ    ผิดนอกแบบแผนตำราไม่ทำอุโบสถสังฆกรรมในโบสถ์   ใครอยากเป็นพระอรหันต์ไปหาอาจารย์เทสก์โน่น   (อาจจะเป็นการประชดลูกศิษย์ที่หนีมาหาเราก็ได้    เพราะพระทางปักษ์ใต้ออกพรรษาแล้วหาผู้อยู่เฝ้าวัดยาก)   หากจะเป็นความเห็นเช่นนั้นจริงถ้าเป็นพระนวกะบวชใหม่ไร้การศึกษาก็ไม่เห็นแปลกอะไรแต่ถ้าเป็นพระที่มีพรรษาและมีการศึกษาพอควรแล้วน่าเห็นใจ   เพราะท่านมีแต่ภาคศึกษาไม่ได้ปฏิบัติ  ส่วนเราได้ปฏิบัติตามมาเป็นอาจิณตั้งแต่อุปสมบทพรรษาแรก
                      เรื่องที่เขาไม่ยอมให้พวกเราอยู่จำพรรษายังไม่ยุติ   ทราบว่าเรื่องได้ขึ้นไปถึงกรรมการศาสนาในทำนองฟ้องว่า  พวกเราเป็นพระจรจัดมาทำให้บ้านเมืองวุ่นวายแตกร้าวสามัคคี แล้วมีคำสั่งมาให้บันทึกหนังสือสุทธิพวกเราเพื่อจะสอบสวนข้อเท็จจริง     แต่ศึกษาธิการจังหวัดไม่กล้ามาด้วยตนเอง     ได้ใช้ให้ศึกษาธิการอำเภอมาขอบันทึก     เมื่อเราถามหาหนังสือคำสั่งไม่มี     เราจึงไม่ให้บันทึกแล้วได้ชี้แจงระเบียบบริหารการคณะสงฆ์ให้เขาทราบโดยถ้วนถี่   เมื่อเขากลับไปแล้วไม่ทราบว่าเขาทำอย่างไรกันเราก็ไม่ทราบ   ทราบภายหลังว่าเจ้าคณะภาคมีหนังสือมาเทศนาให้เจ้าคณะจังหวัดและผู้ว่าการจังหวัดฟังกัณฑ์เบ้อเร่อ  เรื่องที่เล่ามานี้เป็นเพียงเอกเทศของประสบการณ์ปีแรกที่เข้าไปอยู่ในเขตจังหวัดพังงา ถ้าจะเล่าทั้งหมดก็กลัวผู้อ่านจะเบื่อเรื่องขี้หมูขี้ราแห้ง คนเราเกิดมาในโลกนี้  ไม่ว่าใครจะทำอะไร  ไม่ว่าดีหรือชั่ว  จะเป็นไปเพื่อความเสื่อมหรือเจริญก็ตาม จำต้องมีอุปสรรคด้วยกันทั้งนั้น   ที่จะสำเร็จตามเป้าหมายได้   อยู่ที่ความรอบคอบอดทน หาเหตุผลมาแก้ไข  ถ้าหาไม่แล้วก็จะไม่บรรลุได้เลย  แล้วก็เป็นกำลังใจในอันที่จะทำสิ่งนั้นๆ ให้บรรลุผลรวดเร็วเข้าอีกด้วย โดยเฉพาะพระคณะธรรมยุตไม่ว่าจะเป็นอยู่ ณ ที่ไหน ทำอะไรล้วนแต่มีอุปสรรคทั้งนั้น แล้วก็สำเร็จตามเป้าหมายโดยมาก  เราเลยอยากจะนำเอานิทานเรื่องสุนัขจิ้งจอก  กับลูกแกะมาสาธกไว้ ณ ที่นี้ด้วยว่า   เฮ้ย มึงทำไมมาท่องน้ำของกูให้ขุ่นเล่า  ลูกแกะ นาย ข้าไม่ได้ทำน้ำของนายให้ขุ่นดอก ข้าเดินอยู่ใต้น้ำต่างหาก สุนัขจิ้งจอก เถอะน่า ถึงเอ็งไม่ได้ทำน้ำของข้าให้ขุ่น พ่อของเอ็งก็ทำผิดไว้กับข้ามาแล้วหนักหนา  ว่าแล้วก็ตะครุบเอาแกะไปกินเป็นอาหาร   เอวัง
                       ออกพรรษาแล้วเราเริ่มสร้างกุฏิสมภารหนึ่งหลัง เป็นเรือนไม้แต่ยังไม่ทันเรียบร้อยดี

            
                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9.jpg)

                                        พรรษา ๒๙ - ๔๑ จำพรรษาที่ภูเก็ต (พ.ศ. ๒๔๙๔ - ๒๕๐๖)[/b]

                       พอดีวันตรุษจีนในแล้งนั้น   คุณนายหลุยวุ้น  ภรรยาหลวงอนุภาษภูเก็ตการ  นายเหมืองเจ้าฟ้ามานิมนต์ให้เข้าไปภูเก็ต  เราพร้อมด้วยพระมหาปิ่น  และพระเณรอีกรวม ๔ รูปด้วยกัน พวกเราได้รอจังหวะและแสวงหาที่ตั้งสำนักอยู่จนกว่าจะสำเร็จ  เราได้ย้อนมาโคกกลอยที่เราจำพรรษาอีก ให้พระมหาปิ่นดูแลการก่อสร้างจนเสร็จ เราจึงไปจำพรรษา  ปีนี้พวกเราอยู่จำพรรษารวมกันมีพระ ๔ รูป สามเณร ๑ รูป ได้ที่เชิงเขาโต๊ะแซะ   ข้างศาลากลางจังหวัดเป็นที่จำพรรษา  เบื้องต้นการก่อสร้างทำเป็นเรือนจากห้องเล็กๆ พอหมดกลดหมดมุ้ง   เว้นแต่กุฏิสมภารค่อยใหญ่หน่อย เราได้ทำลงที่ป่าหญ้าคาอันหนาทึบ อยู่บนเชิงเขาโต๊ะแซะข้างหลังศาลยุติธรรมภูเก็ต ซึ่งคุณนายแขไปตกลงขอซื้อกับเจ้าของคือนายบวร   พ่อค้าแร่ ๔ ไร่   เป็นราคา ๑,๐๐๐ บาท   เดิมที่นี้เป็นสวนมะพร้าวของเศรษฐีเก่าแต่ร้างไปนานแล้ว นายบวรรับซื้อไว้ทำเหมืองแร่ต่อ ผลที่สุดแร่ก็ไม่มีจึงขายให้คุณนายแข แต่คุณนายแขได้ซื้อไว้น้อยไป  เราจึงได้ซื้อเพิ่มเติมอีก ๔ ไร่เป็นเงิน ๔,๐๐๐ บาท ที่นี้เดิมเป็นป่าหญ้าคาหนาทึบ  มีสัตว์ร้ายต่างๆ เช่น เสือโคร่ง เสือดำ กวาง เก้ง หมูป่า และลิง เราทำกุฏิเล็ก ๆ และบริเวณก็แคบพอปัดกวาดรอบได้ แล้วก็ทำทางพอเดินไปหากัน กลางคืนเราเปิดกุฏิออกมาจะเดินไปหากัน เสือกระโดดเข้าป่าโครม บางทีพากันนั่งฉันน้ำร้อนตอนเย็น ๆ เสียงร้องตะกุย ๆ ออกมาจากป่าแทบจะเห็นตัวเลย กลางวันแสก ๆ ยังตะครุบเอาสุนัขเอาแมวไปกินก็มี ดีว่าเสือเหล่านี้ไม่อาละวาด  เสือก็อยู่ตามเรื่องของเสือ คนก็อยู่ตามเรื่องของคน  เสียงเสือโคร่งร้องคนเมืองภูเก็ตนี้ยังไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไป เราเคยเที่ยวป่ามามากแล้ว เสือมันร้องจะทำเสียงเช่นไรเรารู้เรื่องของมันหมด พวกเราได้อยู่เกาะภูเก็ตตลอดเวลา ๑๕ ปี    ไม่เคยได้กลับจำพรรษาในเขตพังงาอีกเลย      แต่พังงาตลอดถึงกระบี่ในสามจังหวัดนี้  อยู่ในคุ้มครองของเราทั้งหมด  เปรียบเหมือนกับวัดเดียวกัน  มีกติกาข้อวัตรแนวปฏิบัติระเบียบอันเดียวกันทั้งหมด  พระเณรรูปไหนไม่ว่าอยู่ ณ สำนักใดก็ตาม  หากขัดข้องต้องประสงค์สิ่งใดในสิ่งที่จำเป็น   ใครมีอะไรก็เฉลี่ยแบ่งปันสงเคราะห์กันตามมีตามได้  มีงานในสำนักไหนก็พร้อมใจพร้อมแรงกันทำด้วยความสามัคคี  หากจะมีปัจจัยลาภเกิดขึ้นก็พร้อมกันมอบถวายไว้เพื่อบำรุงในสำนักนั้นๆ ต่อไป   ปัจจัยเขาถวายเฉพาะส่วนตัวก็พากันเก็บไว้เป็นกองกลาง   เราเป็นอุปัชฌาย์เขาถวายส่วนตัวเรามอบถวายไว้เป็นกองกลางยังถูกเขาต่อว่าเลย       แต่พวกเราก็มิได้มีความเดือดร้อนเพราะไม่มีเงินในกระเป๋าเลย  ญาติโยมเขาเอาใจใส่ดูแลปฏิบัติพวกเราอย่างดีเลิศ ขาดเกินอะไรแม้แต่ค่ารถไฟไปมาเขาก็พากันจัดการให้เรียบร้อยทั้งนั้น   เรื่องเหล่านี้ไม่มีที่ไหนอีกแล้ว  นับแต่เราบวชมาที่จะได้รับความสะดวกเหมือนครั้งนี้  พวกเราจึงขอขอบพระคุณชาวภูเก็ต - พังงาที่ได้อุปัฏฐากพวกเราไว้ ณ ที่นี้ด้วย
                       ในช่วงระยะที่เราเข้ามาอยู่เกาะภูเก็ตนี้   เราพยายามสร้างแต่ความดีทั้งเพื่อตนแลส่วนรวม   ได้ติดต่อกับเจ้าคณะท้องถิ่นทุกๆ รูป  และท่านเหล่านั้นก็ให้ความเอื้อเฟื้อแก่พวกเราเป็นอย่างดียิ่ง มีธุรกิจการงานอะไรเกิดขึ้นก็เคยได้ร่วมกันปรึกษาหารือกันบ่อยๆ และเข้าใจกันดี  เข้าพรรษาเราได้พากันปรึกษาหารือกันบ่อยๆ และเข้าใจกันดี  เข้าพรรษาเราได้พาคณะของเราไปถวายเครื่องสักการะแก่พระเถระทั่วทุกๆ รูป ทุกๆ ปีไม่เคยขาด  ไม่เหมือนที่พังงา   แม้ที่พังงาก็มีบางคนส่งข่าวมาบอกเราว่า    เขาไม่พากันรังเกียจคณะของเราดอก   เขาเกลียดเฉพาะพระมหาปิ่นรูปเดียวเท่านั้น เห็นจะเป็นเพราะพระมหาปิ่นเธอพูดโฮกฮากโปงปางโผงผางลืมตัว เมื่อมีคนยอเข้าก็ได้ใจ คนแบบนั้นถือไม่ได้ดอก  เข้าตำราภาษาอีสานว่า  ใครถือคนชนิดนั้นจะไม่มีช้อนซดน้ำแกง           ส่วนด้านญาติโยม พวกเราที่อุตส่าห์พยายามอบรมสั่งสอนให้รู้จักขนบธรรมเนียมในทางพุทธศาสนา แล้วก็ทำเป็นตัวอย่างให้ดูตลอดถึงสอนให้รักษาอุโบสถ ไม่ใช่แต่ในพรรษา นอกพรรษาก็ให้รักษาด้วย สนับสนุนพระที่ท่านสอนเป็นทุนไว้ก่อนแล้วให้มั่นคงยิ่งๆ ขึ้น    ซ้ำพวกเรายังได้ฝึกอบรมภาวนาทำสมาธิทุกๆ คืน   จนทำให้เขาเหล่านั้นได้ผลเป็นที่ประจักษ์แก่ตนเองตามกำลังศรัทธาของตน ๆ อีกด้วย
                       อนึ่งหมู่เพื่อนทางอีสานที่เป็นคณะเดียวกัน     ก็ได้พากันทยอยติดตามเราลงไปมากขึ้นเป็นลำดับ     ส่วนกุลบุตรในท้องถิ่นก็เกิดมีศรัทธาพากันมาอุปสมบทเรื่อยๆ     คณะธรรมยุตทางปักษ์ใต้ผู้มีใจสมัครรักใคร่ในทางปฏิบัติก็พากันมาอบรมด้วยเป็นอันมาก แล้วก็ได้ขยายสำนักออกไปถึงจังหวัดกระบี่ รวมทั้งสามจังหวัดนี้มีสำนักที่พวกเราไปอยู่จำพรรษา ๑๑ สำนักด้วยกัน ปีหนึ่งๆ ในพรรษามีพระเณรรวมทั้งหมดเฉลี่ยแล้วร้อยกว่ารูป มากกว่าพระเณรในเขตอำเภอเมืองภูเก็ตเมื่อปีเราไปอยู่ครั้งแรกอีกเท่าตัว  เมื่อมีพรรคพวกมากขึ้น   เราได้จัดให้มีการศึกษานักธรรมเปิดสอนประจำในสำนักของใครของมัน ถึงเวลาสอบแล้วจึงมารวมกันสอบ ปีแรกเราได้ให้ไปสอบที่สำนักวัดมหาธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช  ปีต่อมาเราได้ขออนุญาตเปิดสอบขึ้นที่วัดเจริญสมณกิจภูเก็ตเอง มีนักเรียนทั้งสามชั้นเข้าสอบรวมไม่น้อยกว่า  ๖๐  รูปทุกๆ ปี    แล้วก็สอบได้คะแนนดีเสียด้วย     จนมหามกุฏราชวิทยาลัยยกฐานะให้เป็นชั้นโท  เราเห็นคุณค่าในกิจการพระพุทธศาสนาที่มีทั้งปริยัติและปฏิบัติควบคู่กันไป  จึงได้ดำเนินตามแนวนั้นสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้
                       พวกเราได้ต่อสู้กับอุปสรรคนานาประการเป็นเวลานานถึง ๑๕ ปี เพื่อบำเพ็ญศาสนกิจอันเป็นประโยชน์แก่ตนและประโยชน์ส่วนรวม   เพื่อฉลองความต้องการของญาติโยมชาวภูเก็ต - พังงา  อันมีพระคุณแก่พวกเราเป็นอันมาก    อย่างน้อยเขาเหล่านั้นก็ได้ดูโฉมหน้าตาอันแท้จริงของพระคณะธรรมยุตและคณะศิษย์ของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ  นัยว่าพระคณะธรรมยุตเคยมาเพื่อจะตั้งรกรากลงที่ภูเก็ตนี้ตั้งหลายครั้งแล้วแต่ไม่เป็นผล  อนึ่งไม่ต้องพูดถึงเรื่องชื่อนามของท่านอาจารย์มั่นละ   แม้แต่ลูกศิษย์ของท่านก็ไม่เคยกล้ำกรายเข้ามาในภูเก็ตนี้เลย คณะของพวกเราเข้ามาตั้งสำนักจนก่อสร้างให้เป็นวัดถาวรลงได้นี้  นับว่าเป็นประวัติการณ์ของคณะธรรมยุตและของเกาะภูเก็ตทีเดียว  แล้วเราก็ภูมิใจว่า  เราได้ทำการใช้หนี้สินชาวภูเก็ต - พังงา ผู้ไม่เรียกร้องเอาหนี้คืนแล้ว

                       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0c702283.jpg)

                        พระอุโบสถวัดเจริญสมณกิจ ปี 13



          




หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:12:03
                                       ความวิตกกังวลของเรากลายมาเป็นความจริงขึ้น

                        ความวิตกของเราเรื่องบริหารหมู่คณะดังกล่าวมาแล้วในบท  ๒๖.๑   กลายมาเป็นความจริงขึ้น   กล่าวคือ ก่อนจะไปปักษ์ใต้เราได้ติดต่อพระผู้ใหญ่ทางกรุงเทพฯ ให้ท่านได้รู้จักไว้  แล้วเราก็ได้ลงไปทางปักษ์ใต้ทำความรู้จักกับเจ้าคณะทุกๆ องค์ จนได้เข้าไปอยู่เกาะภูเก็ต แท้จริงเกาะภูเก็ตนี้เป็นที่เลื่องลือโด่งดังมาแต่ก่อนนัก ใครไปอยู่แล้วจะต้องร่ำรวยมาก เราไปอยู่ยังมีคนโจษจันกันว่าเรานั้นร่ำรวยอย่างมหาศาล ความจริงหาได้เป็นเช่นนั้นไม่  เราอยู่เกาะภูเก็ต ๑๕ ปี ไม่มีอะไรเลย ปัจจัยลาภได้มาทุกสตางค์แลทุกๆ องค์ก็เก็บไว้กองกลางและก่อสร้างหมด  เสนาสนะก็มีไม่กี่หลัง  เรามาอยู่ทางอีสานไม่ถึง ๑๐ ปี  เสนาสนะนับหลังไม่ถ้วน  อุโบสถก็เรียบร้อย  ศาลาการเปรียญสองชั้นก็เสร็จ           ทั้งนี้เรามิได้เหยียดหยามดูถูกชาวภูเก็ต พังงา   เพื่อแก้ความกังขาที่ว่าเรารวยนั้นต่างหาก  คนชาวภูเก็ต พังงา  ปฏิบัติพวกเราดีเลิศดังกล่าวแล้ว  ไม่มีที่ไหนจะปฏิบัติดีเท่าเลย ส่วนวัดเขาไม่นิยมสร้าง มันก็ดีเหมือนกันเพราะสร้างหรูหรามากไม่ดีเป็นกังวล ไปไหนมาไหนเป็นห่วง
                       เราหนีจากเกาะภูเก็ตไม่มีอะไรเป็นห่วง   น่าสงสารแต่ชาวบ้านที่ได้เคยปฏิบัติพวกเราเท่านั้น   เราหนีมาแล้วได้มอบเงินแสนกว่าบาทให้พระครูสถิตบุญญารักษ์ (บุญ) เธอได้ทำการก่อสร้างอุโบสถ อยู่ ๔ - ๕ ปี จึงสำเร็จเป็นประวัติการณ์อีกเหมือนกัน  พระที่ภูเก็ต พังงา  ที่จะมาสร้างอุโบสถบนไหล่เขาที่ต้องพังลงมาให้ราบ  แล้วจึงทำเป็นอุโบสถได้เช่นนี้  และสร้างเพียง ๔ - ๕ ปีสำเร็จไม่มี            อนึ่ง คณะของเราเข้ามาอยู่เกาะภูเก็ตนี้  เป็นเหตุให้พระผู้ใหญ่ในกรุงเทพฯ  ตลอดจนสาธุชนทั่วไปสนใจในคณะของเรามากขึ้น  แต่ส่วนตัวเราแล้วไม่มีอะไร เฉยๆ อุปสรรคต่างๆ ดังกล่าวมาแล้วก็เป็นธรรมดา เราเคยผ่านมาแล้วนับไม่ถ้วน
                        ในขณะนั้น   วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ในกรุงเทพมหานครกำลังตั้งกัมมัฏฐานแบบพม่า     ยุบหนอพองหนอ   โฆษณาออกแบบแพร่กันมาก  แต่มิได้ออกป่า อยู่ตามบ้านตามวัด มีคนได้ขั้นได้ชั้นกันก็มาก บางคนถึงกับตัวแข็งทื่อไม่รู้สึกเลยก็มี   ในขณะเดียวกันนั้น  วัดราชประดิษฐ์  วัดบวรนิเวศวิหารและวัดอื่นๆ  ก็ตั้งคณะของลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ปฏิบัติมานานกว่า ๕๐ ปีแล้ว แต่ไม่เคยออกโฆษณาเลย เมื่อเสียงโฆษณาจากฝ่ายหนึ่ง  อีกฝ่ายหนึ่งไม่โฆษณา  ก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องดังไปตามกัน แต่ดังไม่มีเสียง  จะได้ดังต่อไปนี้คือ
                        เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๙๔      เจ้าคณะภาค (ธรรมยุต)    ได้อาราธนาให้พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม     ไปอบรมกัมมัฏฐานแก่พุทธบริษัทชาวเมืองเพชรบุรี  เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๙๕  ขอสมณศักดิ์พระครูญาณวิศิษฏ์ให้พระอาจารย์สิงห์  พร้อมกันนี้ก็ได้ขอให้เราอีกองค์ แต่เรานั้นได้ตกไปเพราะเรายังไม่มีสำนักเป็นที่อยู่ถูกต้องพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
                         เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ แต่งตั้งให้เราเป็นพระอุปัชฌาย์ พร้อมกันนี้ก็ได้แต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอภูเก็ต - พังงา - กระบี่ (ธรรมยุต)
                        เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๘  ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูนิโรธรังสี
                        เมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ให้รักษาการแทนในตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด (ธรรมยุต) ในจังหวัดภูเก็ต - พังงา - กระบี่  อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย  พร้อมกันนี้ก็ให้เป็น ผู้อำนวยการศึกษาธรรมในสามจังหวัดนั้นด้วย
                        เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะสามัญ ฝ่ายวิปัสสนา ที่พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์  พร้อมกับพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม  พระญาณวิศิษฏ์สมิทธิวีราจารย์  และพระอาจารย์ลี ธัมมธโร พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
                        เมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๗  ตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดในสามจังหวัดนั้น
                        เมื่อวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๘   ได้ขอลาออกจากเจ้าคณะทั้งสองตำแหน่งเป็นกิตติมศักดิ์สมณศักดิ์
                        อาจนับได้ว่าเป็นประวัติการณ์      พระฝ่ายวิปัสสนาได้รับสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ     รองจากเจ้าคุณวิปัสสนาโกศลเถระ  วัดภาษีเจริญ  แต่ก่อนมีแต่ชื่อ  ตัวจริงไม่มี  ดังเราจะเห็นได้จากชื่อพระราชาคณะผู้ใหญ่  มีสมัญญาห้อยท้ายว่า  ฝ่ายอรัญญวาสี  เป็นต้น
                        ต่อจากนั้นมาคณะคณาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐานที่เป็นลูกศิษย์สายของพระอาจารย์มั่น   ก็มีผู้ได้รับสมณศักดิ์เรื่อยๆ มาหลายรูป  เรื่องสมณศักดิ์ของพระคณะกัมมัฏฐานนี้เราไม่อยากให้มี เพราะมันไม่สมดุลกันโดยเฉพาะคณะลูกศิษย์ของท่านอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ  เราเคยได้มีหนังสือส่วนตัวคัดค้านพระผู้ใหญ่แล้วและต่อหน้าท่านเราก็เคยคัดค้านโดยอ้างสิ่งที่ควรแลไม่ควร  อุปมาเหมือนเอาเครื่องเพชรไปแขวนไว้ที่คอของลิง   มันจะมีความรู้สึกอะไร  แต่นี้ก็เป็นความเห็นส่วนตัวของเราอีก  แต่มันไม่แน่เหมือนกัน ลิงบางตัวเมื่อถูกแต่งด้วยเครื่องเพชรเข้ามันอาจเข้าใจว่าตัวเป็นมนุษย์ไปก็ได้  แต่ผลที่สุดท่านก็ขอร้องเพื่อประโยชน์แก่การบริหารคณะสงฆ์ส่วนรวมจนได้             เราเกิดมาในโลกอันกว้างใหญ่ไพศาลนี้   ย่อมมีสิทธิเสรีอยู่ได้โดยชอบ   แต่ทุกๆ คนจะมีอยู่ในเพศภูมิและฐานะมีจนใดๆ  ก็ตาม   โลกธรรมย่อมครอบงำถึงด้วยกันทั้งนั้น  เว้นแต่เราจะรับเอาโลกธรรมนั้นมาไว้เป็นเจ้าแห่งหัวใจของเราหรือไม่เท่านั้นเอง  เราใช้โลกธรรมให้เป็นประโยชน์ก็ดีเหมือนกัน   เมื่อก่อนหมู่เพื่อนและใครๆ เห็นเราแล้วดูเหมือนเราเป็นหลวงตาคนป่าคนหนึ่งอย่างนั้นแหละ  แต่เราก็ชอบเป็นหลวงตาคนป่านั้นด้วย    แต่พอเราได้มีตำแหน่งและได้รับสมณศักดิ์แล้ว   มาเดี๋ยวนี้ใครๆ เห็นเข้าแล้วเรียกออกชื่อทักทายเชื้อเชิญในที่ทุกสถาน  แม้เราต้องการจะติดต่องานอะไรก็คล่องตัว  ฉะนั้น สมณศักดิ์จึงเพิ่มภาระและเป็นเกียรติแก่เรามากขึ้น     เราจึงไม่เห็นสมควรแก่พระผู้ต้องการความสงบอยู่ป่าเลย
                        เราเข้ามาอยู่เกาะภูเก็ต ๒ - ๓ ปีแรกก็ดีดอก  สุขภาพก็พอเป็นไป  แต่ปีต่อๆ  มาโรคขอบเราไม่ค่อยถูกกับอากาศเสียเลย  มันเป็นธรรมดาโรคนักเที่ยวของเรา  อยู่ไหน  สุขภาพจะดีปกติไม่เกิน ๓ ปี   ต่อนั้นไปแล้วจะเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปเลย แล้วในใจของเราก็มิได้ตั้งใจจะอยู่ ณ ที่ภูเก็ตนี้ตลอดไป เราเคยได้บอกเรื่องนี้กับหมู่เพื่อนและญาติโยมไว้แต่ปีมาอยู่ทีแรกแล้ว แต่เราก็อยู่มาได้นานถึง ๑๕ ปี   เพราะการขอร้องของพระผู้ใหญ่และญาติโยมแท้ๆ
                        มาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗  เราได้ขออำลาชาวภูเก็ต - พังงา - กระบี่    ด้วยความสงสารในน้ำตาอันนองหน้าของเขาเหล่านั้น  พร้อมด้วยสำนักต่างๆ   ที่พวกเราได้ทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ   โดยได้ใช้พัสดุและทรัพย์ของชาวปักษ์ใต้ก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุทั้งปวง      มอบให้เป็นมรดกแก่ชาวปักษ์ใต้ทั้งหมด พร้อมด้วยตำแหน่งอันมีเกียรติของเราด้วย พวกเราจึงขอให้ชาวปักษ์ใต้ที่ได้อุปถัมภ์ค้ำจุนพวกเราทุกๆ คน  จงประสบแต่ความสุขความเจริญภิญโญยิ่งด้วยยศ  ลาภ  อายุ  วรรณะ  สุขะ   สมบูรณ์ทุก ๆ คนเถิด
                        อนึ่ง  วัดและสำนักต่างๆ  ขอจงจิรังถาวรเจริญรุ่งเรืองเพื่อปรโยชน์แก่คนส่วนรวมเถิด

                        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/31022.jpg)

                        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/ab528992.jpg)

                        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-70.jpg)

                       พรรษาที่ ๔๒ จำพรรษาที่ถ้ำขาม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร (พ.ศ. ๒๕๐๗)

                          เมื่อเราออกจากเกาะภูเก็ตเปลื้องปลดภาระอันนั้นแล้ว   เราก็ตั้งใจแสวงหาที่วิเวก  ความสงบตามวิสัยเดิมของตน  เมื่อเที่ยวไปเยี่ยมท่านอาจารย์ฝั้น อาจาโร  ที่อำเภอพรรณานิคม ไปเห็นวัดถ้ำขามของท่านเข้า เรารู้สึกชอบใจ  เราจึงขอจำพรรษา ณ ที่นั้นหนึ่งพรรษา  ที่นี่ถึงแม้บริเวณวัดจะไม่กว้างขวางเท่าไรนักแลเขาก็ไม่สู้จะสูงแต่อากาศดีมาก ท่านเป็นคนขยัน  ออกพรรษาแล้วพาญาติโยมทำทางขึ้นเขาทุกปีจนเกือบถึงยอดเขา  พวกญาติโยมก็ชอบใจเสียด้วย  ถ้าอาจารย์ฝั้นเรียกทำงานแล้วการงานส่วนตัวจะมากสักเท่าไรก็ทอดทิ้ง  ผู้ที่ขึ้นไปถึง  แม้จะได้รับความเหน็ดเหนื่อยหายใจไม่ทั่วท้องก็ตาม พอขึ้นไปถึงวัดท่านแล้วพักอยู่ ๕ - ๖ นาที อากาศที่นี่เรียกเอากำลังมาเพิ่มให้คุ้มค่าเหนื่อยที่เสียไป   ตามสำนวนของผู้ติดถิ่นที่ว่าไม่ต้องหาสถานที่และอากาศที่ไหนๆ มันอยู่ที่ตัวของเรา เราทำตัวของเราให้วิเวกแล้ว มันก็วิเวกเท่านั้นเอง นั้นไม่จริง  สัปปายะทั้งสี่เป็นกำลังของการปฏิบัติธรรมได้อย่างแท้จริง         ถ้าเราไม่ทำตัวของเราให้เหมือนกับหมูบ้านแล้วการเปลี่ยนสถานที่ย่อมหมายถึงการเปลี่ยนบรรยากาศและอารมณ์ด้วย      หมูป่ากับหมูบ้านย่อมมีสภาพผิดแผกกันมาก  แม้แต่อาหารและอากัปกิริยาย่อมส่อให้เห็นตรงกันข้ามเลย
                          ในพรรษานี้ เราได้บำเพ็ญความเพียรอย่างเต็มที่ เพราะญาติโยมและหมู่เพื่อนที่อยู่จำพรรษาด้วยก็ล้วนแต่เป็นลูกศิษย์ของท่านอาจารย์ฝั้น  ที่ท่านได้อบรมมาดีแล้วทั้งนั้น  เราไม่ต้องเป็นภาระที่จะต้องอบรมเขาอีก  เมื่อเราได้มีโอกาสประกอบความเพียรติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ        ความรู้และอุบายต่างๆ  ที่เป็นของเฉพาะตัวย่อมเกิดมีขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์  เราไม่ต้องนั่งหลับตาภาวนาละ   แม้จะนั่งอยู่ ณ สถานที่ใด เวลาไหน  มันเป็นภาวนาไปในตัวตลอดกาล  จะพิจารณาตนและคนอื่น   ตลอดถึงทิวทัศน์มันให้เกิดอุบายเป็นธรรมไปทั้งนั้น  อดีตารมณ์ไม่ว่าจะเป็นส่วนอิฏฐารมณ์  และอนิฏฐารมณ์ก็ตาม สัญญาเก่ามันนำหยิบยกขึ้นมาให้ดูล้วนแล้วแต่เป็นไปเพื่อธรรมสังเวชทั้งสิ้น
                          ออกพรรษาแล้วพระอาจารย์ขาวพาคณะลูกศิษย์ของท่านขึ้นไปเยี่ยมอยู่พักหนึ่ง     ท่านก็ชอบใจเหมือนกัน ท่านยังได้ขอร้องให้เราไปอยู่ถ้ำกลองเพลแทนด้วย แล้วท่านจะมาอยู่ที่นี้ แต่เราปลดเปลื้องภาระแล้ว ไม่ต้องการความยุ่ง หลังจากนั้นมาไม่นานเขาได้นิมนต์ให้เรามาทำบุญงานศพที่อุดรฯ แล้วเราเลยไปเยี่ยมถ้ำกลองเพลครั้งแรก  แต่เราไม่ค่อยชอบอากาศ (คือที่เดิมอยู่หลังถ้ำ) พอเสร็จงานพิธีแล้วเราจึงได้ออกเดินทางจากอุดรฯ  มาพักที่วัดป่าพระสถิตย์ อำเภอศรีเชียงใหม่ กับพระอาจารย์บัวพา ปัญญาภาโส   จากนั้นจึงได้ลงเรือไปพักวิเวกอยู่ที่หินหมากเป้งกับพระคำพัน

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/ansPic_26074_1.jpg)

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/Copyof98952-1.jpg)

                          หลวงปู่บัวพา วัดป่าพระสถิตย์

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-85.jpg)
   
                          หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกองเพล

                          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/42624410.jpg)

                          หลวงปู่ฝั้น  อาจาโร





หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:12:25
                             พรรษา ๔๓ - ๕๐ จำพรรษาที่หินหมากเป้ง (พ.ศ. ๒๕๐๘ - ๒๕๑๕)

                        หินหมากเป้ง    เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในหมู่ชนแถบนี้ในความที่หนาวจัดดังคำพังเพยที่ว่า 'ไม่มีผ้าฟา (ผ้าห่ม) อย่าไปนอนหินหมากเป้ง' ในแถบนี้หินหมากเป้งหนาวกว่าเขาทั้งหมดในฤดูหนาว และมีผีดุ ทั้งเป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี ผี เป็นต้น  เมื่อก่อนราว ๔๐ ปีมาแล้ว คนมาทางเรือพอมาถึงบริเวณนี้แล้วจะพากันเงียบกริบไม่มีเสียงเลย  แม้แต่จะเงยหน้าขึ้นดูตลิ่งก็ไม่อยากดู  ในนามเป็นที่วิเวกเพราะความกลัวของคนนั่นเอง  จึงไม่ค่อยมีใครกล้าเข้ามา พระกัมมัฏฐานมักจะมาอยู่วิเวก เพื่อทดสอบความเป็นผู้ยอมเสียสละ พระกัมมัฏฐานรูปไหนมาอยู่ได้ก็เป็นที่เชื่อใจตนเองได้แล้วว่าเป็นผู้กล้าพึงตนเองได้และหมู่เพื่อนก็ยอมรับว่าเป็นผู้กล้าหาญยอมสละได้จริง และเป็นที่รู้จักกันดีของกองปราบทั้งหลาย คือเมื่อผู้คนหนาแน่นเข้าสัตว์ร้ายต่างๆ ก็ค่อยหายไป  ภายหลังกลับมาเป็นด่านขนของหนีภาษีและขโมยวัวความข้ามฟาก  เมื่อวัวควายหายหรือได้ข่าวว่าจะมีคนขนของหนีภาษีแล้ว  เจ้าหน้าที่หรือเจ้าของทรัพย์จะต้องมาพักซุ่มคอยจับเอาตรงนี้   แลที่สุดบ้านโคกซวกพระบาท   ห้วยหัดซึ่งอยู่ติดกันนี้พลอยเหม็นโฉ่ไปด้วย  อนึ่งเมื่อผู้เฒ่าคนเก่านักประวัติศาสตร์สังสรรค์กันแล้ว  มักจะพูดกันถึงเรื่องหินหมากเป้งข้างหน้าว่า   กษัตริย์ทั้งสามพระนครจะพากันสร้างหินหมากเป้งให้เจริญ    เพราะหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ฝั่งแม่น้ำโขงนี้   (ความจริงมันติดเป็นพืดอันเดียวกันไป   เมื่อดูมาแต่ไกลคล้ายกับเป็นสามก้อน)  ก้อนเหนือ (คือเหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง  ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้ เป็นของเวียงจันทน์   เราฟังแล้วน่าขบขันมาก   ใครจะมาสร้างเพื่อประโยชน์อะไร  ป่าทึบรกจะตาย  เป็นที่อยู่ของสัตว์ร้ายทั้งนั้น   ถึงแม้กาลเวลาจะผ่านพ้นไปแล้ว ๔๐ กว่าปีก็ตาม   เมื่อปลายปี พ.ศ. ๒๕๐๗  เราเข้ามาสู่สถานที่นี้เป็นครั้งแรก    เรายังได้ดูและฟังเสียงอีเก้งและนกกระทาขันอยู่เลย ลิงทโมนตัวเบิ้มยังอุตส่าห์ด้อมๆ ไต่กิ่งไม้มาให้เราชมเป็นขวัญตาในวาระสุดท้ายของมันอีกด้วย ทั้งอากาศและทิวทัศน์เช่นนี้ดูจะหาดูได้ยากเหมือนกัน  เรามาเห็นเข้าแล้วนึกชอบใจ แล้วเราตั้งใจจะอยู่จำพรรษากับพระคำพันต่อไป  ในใจเราคิดว่าจะหยุดการก่อสร้างและรับภาระใด ๆ  ทั้งหมดละ แต่คนอื่นอาจเห็นไปว่าความคิดเช่นนี้อาจเป็นของเลอะเลือนไปก็ได้  แต่ในใจจริงของเราแล้วเห็นว่าการก่อสร้างและการบริหารหมู่คณะตลอดถึงการรับแขก   เราได้ทำมามากแล้ว  ควรจะหยุดเสียที   แล้วรีบเร่งประกอบความเพียรเตรียมตายเสียดีกว่า   เพราะอายุเราก็มากถึงขนาดนี้แล้วไม่ทราบว่ามันจะตายวันไหน  จึงได้ปรารภกับพระคำพันว่า  ผมจะมาขอพักผ่อนอยู่กับคุณ  เรื่องการก่อสร้างและอื่น ๆ ใด ขอให้เป็นภาระของคุณทั้งหมด หากต้องการจะศึกษาอบรมในด้านปฏิบัติแล้ว    ผมยินดีแนะนำให้    เธอก็รับและยินดีด้วยเธอยังบอกว่า    ผมไม่มีความสามารถในการหาทุนมาก่อสร้าง หากมีทุนผมจะรับภาระได้ แล้วเราก็ได้บอกเธอว่า บางทีอาจมีก็ไม่แน่ แต่ผมก็ไม่หาแล้ว  มีผู้ให้ก็เอา  ไม่มีผู้ให้ก็แล้วไป
                        ออกพรรษาแล้วได้มีนางติ๋ม (ร้านขายเครื่องอะไหล่รถยนต์) นครเวียงจันทน์   พ่อลี แม่เป่า (พา) บ้านโคกซวก  กับ  นายประสพ คุณนิติสาร  และญาติ (อุดรธานี)  ได้มีศรัทธาพากันมาสร้างกุฏิไม้ถวายคนละหลัง  คิดเป็นมูลค่าหลังละประมาณ ๕,๐๐๐ บาท  (กุฏิในวัดทั้งหมดทำเป็นแบบเรือนทรงไทยทั้งนั้น)  นางนวยได้สร้างกุฏิอุทิศให้นางบัวแถว มาลัยกรอง  หนึ่งหลังเป็นมูลค่า ๑๐,๐๐๐ บาท
                        เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๐๙  ญาติโยมทางกรุงเทพฯ  ได้ลงเรือมาเยี่ยม  เมื่อมาเห็นสถานที่และสภาพความเป็นอยู่ของวัดแล้ว  พากันชอบใจเกิดศรัทธาหาเงินมาบูรณะและก่อสร้างศาลาการเปรียญเป็นเรือนไม้ทรงไทย    รูปสองชั้น   ข้างล่างมุมเป็นระเบียงรอบสามด้าน   พื้นลาดซีเมนต์เสมอกัน  ข้างบนยาว ๑๗ เมตร  กว้าง ๑๑ เมตร  ข้างล่างยาว ๑๙.๕๐ เมตร  กว้าง ๑๖ เมตร เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐ คิดเป็นมูลค่าประมาณแปดหมื่นบาทเศษ (๘๔,๗๖๓ บาท)   แรงงานโดยส่วนมากพระเณรพากันทำเอง   พระคำพันป่วยเจ็บตาได้หนีไปรักษาแล้วไม่กลับมาอีก
                        อนึ่ง ในศกเดียวกันนี้ทุนของญาติโยมทางกรุงเทพฯ อีกนั่นแหละ สร้างกุฏิถวายอีกสองหลัง  และนายศักดิ์ชัยพร้อมด้วยญาติที่ตลาดพังโคน  อำเภอพังโคน  จังหวัดสกลนคร   หนึ่งหลังเป็นมูลค่าหลังละประมาณ  ๗,๐๐๐ บาท  พร้อมกันนี้ได้ทำส้วมอีก ๔ ห้อง  โดยทุนของวัด
                        เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๑  ได้สร้างถังเก็บน้ำฝนคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังศาลาการเปรียญยาว ๑๑ เมตร  กว้าง ๓ เมตร สูง ๑.๘๐ เมตร สิ้นเงินไป ๑๕,๐๐๐ บาท
                        เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒    ได้สร้างกุฏิสองชั้นที่ริมฝั่งแม่โขง    โดยทุนของ คุณนายทรัพย์ ศรีมุกติ (กรุงเทพฯ) ๑๕,๐๐๐ บาท นอนนั้นเป็นทุนของวัด  เสร็จเรียบร้อยแล้ว สิ้นเงินประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท แล้วก่ออิฐกั้นห้องใต้ดินอีก หมดราว ๒,๐๐๐ บาทโดยทุนของวัด
                        อนึ่ง  เถ้าแก่กิมก่าย (นายธเนตร เอียสกุล) (หนองคาย)  ได้มีศรัทธาสร้างกุฏิไม้ถวายอีกหนึ่งหลัง  สิ้นเงินไปประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท   ปีนี้ได้มุงหลังคาวิหารพระใหญ่โดยทุนของแม่เหลี่ยน ศรีสุนทร (สกลนคร)   และนายกิมเซ็ง (นครเวียงจันทน์) เป็นเงินราว ๓,๐๐๐ บาท พร้อมกันนี้ก็ได้ปลูกศาลาบ้านชีอีกหนึ่งหลังโดยทุนของวัด สิ้นไปประมาณ ๒๐,๐๐๐ บาท
                        เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๓     นายวิสิทธิ์  วงษ์สุวรรณ   โรงสีวงษ์ทอง     ได้มีศรัทธาสร้างกุฏิไม้ถวายหลังหนึ่งเป็นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท  ปีนี้ได้เกิดพายุลมพัดแรง    อันเป็นเหตุให้ต้นไม้หักทับระเบียงศาลาการเปรียญด้านตะวันตก ทำความเสียหายหมดไป ๒๐,๐๐๐ บาท  โดยทางการกรุณาช่วยเหลือออกให้
                        ในปีเดียวกันนี้ได้สร้างถังเก็บน้ำฝนเทคอนกรีตเสริมเหล็ก กว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร สูง ๒ เมตร ที่บ้านชี ๑ ถัง  ที่กุฏิเถ้าแก่กิมก่าย ๑ ถัง  โดยยาว ๕ เมตร  กว้าง ๔ เมตร  สูง ๑.๒๐ เมตร   ทั้งสองถังสิ้นเงิน ๒๐,๐๐๐ บาท  โดยทุนของวัดเอง  พร้อมกันนี้ได้ก่ออิฐกั้นลานหน้าศาลาการเปรียญสิ้นเงินไป ๕,๓๓๖ บาท  ปีนี้ออกพรรษาแล้วได้มีนักศึกษา  พระสังฆาธิการ ๓๐ รูปจากนครราชสีมา  พักอบรมกัมมัฏฐานอยู่ที่นี่ ๕ วัน
                        เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ ทางวัดได้สร้างกุฏิไม้อีกหนึ่งหลัง โดยทุนของวัดสิ้นไปราว ๒๐,๐๐๐ บาท และได้ทำห้องส้วมบ้านชีอีก ๔ ห้อง ไว้รับแขกอีกสองห้อง  บ้านพักแขกอีก ๑ หลัง  โดยทุนของวัดทั้งหมด  ทำถังเก็บน้ำฝนหน้าอุโบสถ   เทคอนกรีตเสริมเหล็กยาว ๑๐.๔๐ เมตร กว้าง ๕ เมตร สูง ๒ เมตร   สิ้นเงินไปประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาทเศษ  โดยทุนของวัด
                        ราววันที่ ๕ กรกฎาคม  ก่อนเข้าพรรษาเราได้เกิดอาพาธทีแรกเป็นไข้หวัดประสมกับหลอดลมอักเสบ  ซึ่งเป็นอยู่ก่อนแล้ว  ได้ให้แพทย์ประจำไร่ยาสูบบ้านหม้อมารักษา  แต่อาการก็ไม่ทุเลาลง  แพทย์หญิงทวินศรี  สมรไกรสรกิจ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย  กับคุณถวัล เศรษฐการจังหวัดได้เอารถมารับไปรักษาที่โรงพยาบาลหนองคาย   หมอได้ให้การรักษาอยู่ ๕ วัน   แต่อาการก็ไม่ดีขึ้น   เมื่อฉายเอกซเรย์ดูก็ได้ทราบว่าน้ำท่วมปอด     และที่ปอดมีพยาธิสภาพเล็กน้อย   คุณตุ๊  โฆวินทะ     จึงได้โทรเลขติดต่อศาสตราจารย์นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ
                        นายแพทย์อุดม โปษะกฤษณะ  เมื่อได้ทราบดังนั้นจึงให้นิมนต์ไปกรุงเทพฯ และคุณหมอได้รอรับอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชแล้ว  อนึ่ง  เนื่องจากหมอที่หนองคายนี้ที่เชี่ยวชาญโรคด้านนี้ไม่มี  เครื่องมือก็ไม่พร้อม ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องไปกรุงเทพฯ  เถ้าแก่กิมก่ายพร้อมด้วยนายแพทย์สมศักดิ์  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย  ได้นำเอาเราขึ้นเครื่องบินส่งที่โรงพยาบาลศิริราช เราเป็นคนไข้ของคุณหมออุดม โปษะกฤษณะ โดยมีคุณหมอธีระ ลิ่มศิลา  เป็นหมอดูแลประจำ   หมอทุกคนได้ให้การรักษาเราเป็นอย่างดีเลิศ หมอได้ดูดเอาน้ำออกจากช่องปอดเป็นจำนวนมาก ในอาทิตย์แรกอาการของโรคดีขึ้นเป็นลำดับ แต่ในอาทิตย์ที่สองเริ่มแพ้ยา กลับมีอาการอย่างอื่นเกิดแทรกแซงขึ้นอีก   และจะเป็นเพราะเดิมปกติเราก็ไม่ค่อยถูกกับเรือนตึกอยู่แล้ว  หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ   เมื่อไปนอนอยู่โรงพยาบาลนาน  ตอนหลังอาการจึงได้ทรุดลงๆ จนลมอ่อน พูดเสียงแผ่วเกือบจะไม่ได้ยิน  หมอได้มาดูดเอาน้ำออกจากช่องปอดอีกเป็นจำนวนมาก อาการของร่างกายค่อยเบาขึ้นมานิดหน่อย แต่ความอ่อนเพลียยังไม่ดีขึ้น เราจึงได้ขอลาหมอออกจากโรงพยาบาล แต่หมอก็ได้ขอร้องให้เราอยู่ต่อไปอีก  เราไม่สามารถจะอยู่ต่อไปได้ จึงลาออกจากโรงพยาบาลเมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔
                       ตอนนี้   เราเห็นโทษเบื่อหน่ายในร่างกายมากเพราะกายก้อนนี้แท้ ๆ  จึงได้ทำให้เราเกิดโรคเป็นทุกข์แก่ตนเองแลผู้อื่นอีกด้วย  อาหารที่เราฉันอยู่นี้วันละนิดเดียวมันจะมีประโยชน์อันใด  คิดแล้วตัดสินใจว่าวันนี้อย่าฉันเลย ได้บอกกับคุณกัณฑรัตน์ ทรัพย์ยิ่ง ผู้ถวายอาหารประจำว่า  วันนี้อย่าเอาอาหารมาเลยเราไม่ฉันละ คุณกัณฑรัตน์ร้องไห้ไปตามแพทย์หญิงชะวดี รัตพงศ์ แล้วแพทย์หญิงชะวดีได้ไปเชิญคุณหมอโรจน์ สุวรรณสุทธิ มาเพราะคุณหมออุดมไปราชการต่างจังหวัด  เราได้เล่าอาการของโรคที่เป็นอยู่  และความที่เราไม่ค่อยถูกกับบ้านตึกให้หมอฟัง   คุณหมอโรจน์จึงได้อนุญาตแลจัดรถส่งเราไปที่บ้านพักคุณกัณฑรัตน์ ๓ คืน   ก่อนออกจากโรงพยาบาลคุณหมอบัญญัติ  ปริชญานนท์    ได้มาตรวจอาการและให้คำแนะนำในการรักษา   คุณหมอโรจน์และคุณหมอชะวดีได้ตามไปรักษาและถวายยาทุกวัน อาการค่อยดีขึ้น  เราพิจารณาตัวเอง แล้วเห็นว่ายังไม่ตายก่อน แต่ในสายตาคนทั่วไปแล้วอาจเห็นตรงกันข้ามก็ได้ หมอดูบางคนยังทายว่าเราไม่เกิน ๕ วัน ต้องตายแน่ เมื่อศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ไปเยี่ยม  เราขอความเห็นจากคุณหมออวยว่า  อาตมา จะกลับวัด หมอเห็นว่าอย่างไร คุณหมออวยตอบว่า กลับได้เร็วเท่าไรยิ่งเป็นการดี เราแปลกใจและดีใจที่จะได้กลับวัด เพราะเราคิดว่าถึงตายก็ขอได้ไปตายที่วัดเราดีกว่า  และสมแก่สมณสารูปโดยแท้
                       วันนั้นเถ้าแก่กิมก่ายได้เหมาเครื่องบินพิเศษส่งเรา   มีพระและญาติโยมตามมาส่งเราเต็มเครื่องบิน  ถึงสนามบินหนองคายเกือบเที่ยง  พอดีแม่น้ำโขงกำลังนองเจิ่งล้นฝั่ง  จึงต้องขอยืมเรือ น.ป.ข. จากบ้านกองนาง นำส่งถึงวัดหินหมากเป้ง  ถึงวัดราว ๕ โมงเย็น  หมอชะวดีก็ได้ตามมารักษาโดยตลอดจนถึงวัด  และอยู่เฝ้าดูอาการไข้ถวายยาประจำราว ๕ - ๖ วัน  เห็นว่าเรามีอาการดีขึ้นและปลอดภัยแล้ว  หมอจึงเดินทางกลับกรุงเทพฯ
                        เราป่วยครั้งนี้เริ่มตั้งแต่เข้าโรงพยาบาลหนองคาย   จนกระทั่งถึงโรงพยาบาลศิริราช    พระสงฆ์สามเณรตลอดถึงประชาชนทั้งที่เราเคยรู้จักและไม่เคยรู้จักต่างพากันสนใจให้ความเมตตาแก่เรามาก   ดังจะเห็นได้เมื่อเราไปอยู่ที่โรงพยาบาลหนองคาย  ได้มีทั้งพระเณร  ตลอดถึงฆารวาสไปเยี่ยมเราแน่นขนัดทุกวัน   โดยเฉพาะที่โรงพยาบาลศิริราช   พากันไปมากเป็นพิเศษจนหมอห้ามเยี่ยม    บางคนมาเยี่ยมไม่เห็นเราเพียงแต่ขอกราบอยู่ข้างนอกก็มี จึงเป็นที่แปลกใจมากทีเดียวว่าไม่ค่อยรู้จักกับคนกรุงเทพฯ เท่าไรนัก เวลาเราป่วยทำไมจึงมีคนมาเยี่ยมเรามากมายเล่า  บางคนพอเห็นเราเข้าแล้ว  ทั้งๆ ที่เขาผู้นั้นยังไม่เคยเห็นหน้าเรามาแต่ก่อน  ยังไม่ทันจะกราบก็ร้องไห้น้ำตาพรูออกมาก็มี
                        ฉะนั้น เราจึงขอจารึกน้ำใจเมตตาปรานีของท่านทั้งหลายเหล่านั้น อันมีแก่เราไว้ในความทรงจำตลอดสิ้นกาลนาน    ผู้ที่น่าสงสารและขอขอบคุณมากที่สุดก็คือผู้ที่มาเยี่ยมและผู้ที่มาช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลเราที่วัดหินหมากเป้ง เมื่อกลับไปแล้วยังย้อนกลับมาอีกก็มี ในขณะนั้นการกลับไปกลับมาเป็นการลำบากมาก  ต้องใช้เรือหางยาวเป็นพาหนะ  เพราะเป็นเวลากำลังน้ำท่วมและถนนก็ขาด  บางทีต้องนั่งเรือตั้ง ๓ - ๔ ชั่วโมงก็มี จึงเป็นที่น่าเห็นใจมากที่สุด  เมื่อเรามาถึงวัดแล้วอาการโรคทั่วไปค่อยดีขึ้นเป็นลำดับ   ผู้ที่เคารพนับถือต่างก็พากันมาเยี่ยม     พรรษานี้เรายอมขาดพรรษาเพราะกลับวัดไม่ทัน
                        การที่เราอาพาธครั้งนี้       เป็นผลดีแก่การภาวนาของเรามาก       พอเราไปถึงโรงพยาบาลหนองคาย อาการโรคของเราไม่ดีขึ้นเลยมีแต่จะทรุดลง เราจึงได้เตรียมตายทันที ยอมสละทุกๆ วิถีทางแล้วบอกกับตัวเราเองว่า  ร่างกายและโรคภัยของเจ้า  เจ้าจงมอบให้เป็นธุระของหมอเสีย  เจ้าจงเตรียมตายสำรวมจิต  ตั้งสติให้แข็งแกร่งแล้วพิจารณาชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์หมดจดก็แล้วกัน หลังจากนั้นมาจิตสงบสบาย  ปราศจากความรำคาญใดๆ ทั้งหมด  หมอมาถามอาการโรค   เราก็ได้บอกแต่ว่าสบายๆ  เถ้าแก่กิมก่ายมารับเอาเราขึ้นเครื่องบินไปกรุงเทพฯ  เราก็ยอมแม้ไปถึงโรงพยาบาลศิริราช หมอมาถามอาการเราบอกว่า อาการไข้ของเราสบายอยู่เช่นเคย  แต่คนภายนอกดูแล้วเห็นจะตรงกันข้าม  เมื่ออยู่โรงพยาบาลนานวันเป็นเหตุให้เกิดความรำคาญขึ้นมา  เวลาวันคืนดูเหมือนเป็นของยาวนานเอาเสียเหลือเกิน เราจึงได้ย้อนระลึกถึงความยอมสละตายของเราแต่เบื้องต้นว่า   เราได้ยอมสละตายแล้วมิใช่หรือทำไมจึงต้องไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องพรรค์นี้   เรื่องเหล่านั้นเขาก็ย่อมเป็นไปตามกาลเวลาหน้าที่ของเขาต่างหาก  ความตายหาได้เกี่ยวข้องกับเรื่องเหล่านั้นไม่   ต่างก็หน้าที่ของตนๆ จนถึงที่สุดด้วยกันทั้งนั้น  ตอนนี้ความรู้สึกของเราที่ยอมสละเรื่องต่างๆ    แล้วเข้ามาสงบอยู่ในปัจจุบันธรรมจนไม่มีความรู้สึกว่าเวลาไหนเป็นเวลากลางวัน  เวลาไหนเป็นกลางคืน  มีแต่ความสว่างจ้าของจิต  แล้วสงบอยู่เฉพาะตนคนเดียว ภายหลังเมื่อมาตรวจดูกายและจิตของตนเองแล้วเห็นว่าเรายังไม่แตกดับก่อน   หากเราอยู่  ณ  ที่นี้ อายตนะผัสสะของเรายังมีอยู่จำต้องกระทบกับอารมณ์ภายนอกอยู่เรื่อยไป   เมื่อกระทบเข้าแล้วก็จะต้องใช้กำลังสมาธิและอุบายปัญญาต่างๆ ต่อสู้กันร่ำไป  อย่าเลย   เรากลับไปต่อสู้กันที่สนามชัยของเรา (คือที่วัด) ดีกว่า  แล้วจึงได้กลับวัดดังได้กล่าวมาแล้ว
                        ในปี  ๒๕๑๕  ได้เริ่มทำการก่อสร้างอุโบสถ    ซึ่งรายละเอียดจะได้กล่าวแยกเป็นบทหนึ่งต่างหากต่อไป พร้อมกับขณะที่ทำการก่อสร้างอุโบสถอยู่นี้  ก็ได้ปลูกศาลาบ้านชีอีกหนึ่งหลังทำเป็นเรือนไม้สองชั้น เสาคอนกรีตต่อไม้มุงกระเบื้องลอนเล็กกว้าง ๔ เมตร  ยาว ๙ เมตร  ข้างล่างทำระเบียงรอบ  ข้างละ ๔ เมตร  พื้นราดซีเมนต์เสมอกันกับพื้นข้างใน สิ้นเงินไปประมาณ ๗ หมื่นบาทเศษ  โดยทุนของวัด

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/14842.jpg)

                          หินหมากเป้ง(หินสามก้อน)

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1486.jpg)

                         กุฎิหลวงปู่

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1483.jpg)

                          ปฐมศาลา(ศาลาหลังแรก)

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1454.jpg)

                         ศาลาเทสรังสี

                         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1490.jpg)

                         พระอุโบสถ ปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:12:48
          
                                      พรรษา ๕๑ - ๕๒ จัดเสนาสนะ วังน้ำมอก (พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๑๗)
 
                     ได้ช่วยย้ายโรงเรียนเก่า  บ้านโคกซวก  และบ้านพระบาท มาปลูกต่อหลังที่ปลูกใหม่เป็นอาคารไม้ ๔ ห้องเรียน  เสาคอนกรีตต่อไม้  สิ้นเงินไป ๘๐,๐๐๐ บาท แต่ยังไม่เสร็จ เพราะหมดทุน มา พ.ศ. ๒๕๑๗ นี้ได้เริ่มทำต่อ โดยเชื่อมหลังใหม่กับหลังเก่าให้ติดกัน  แล้วได้กั้นให้เป็นห้องทำงานครูใหญ่   ข้างล่างได้ทำเป็นถังเก็บน้ำฝนเทคอนกรีตเสริมเหล็กโดยยาว ๗ เมตร  กว้าง ๖ เมตร  สูง ๒ เมตร
                      ขณะที่กำลังย้ายโรงเรียนอยู่นี้   ได้ไปจัดเสนาสนะขึ้นที่ป่าวังน้ำมอก   ซึ่งไกลจากที่วัดหินหมากเป้งไปทิศทางตะวันตกราว ๖ กม. อีกแห่งหนึ่ง  เพื่อให้เป็นที่วิเวกของผู้ต้องการเจริญภาวนากัมมัฏฐาน เพราะสถานที่แห่งนั้นยังมีสภาพเป็น ป่า  มีถ้ำ  เขาและแม่น้ำลำธารสมบูรณ์เป็นที่วิเวกดีอยู่  เพื่อรักษาสภาพของป่าธรรมชาติไว้
 
                                                      พรรษา ๕๓ สร้างวัดลุมพินี (พ.ศ. ๒๕๑๘)

                      มีโยมคนหนึ่งถวายที่ที่ตำบลลุมพินี    เนื้อที่ประมาณ  ๓ ไร่   แล้วมีคนอื่นซื้อเพิ่มเติมอีก   ทั้งหมดเป็นที่ประมาณ  ๑๑ - ๑๒ ไร่   จึงได้ตั้งเป็นสถานที่พักวิเวกอีกแห่งหนึ่ง     วัดลุมพินีนี้ไม่แพ้วังน้ำมอกที่ได้สร้างมาแล้ว เพราะมีอาณาเขตจดแม่น้ำทั้งสี่ทิศ  สร้างไว้เพื่อผู้ต้องการวิเวกไปอยู่  เนื่องจากที่วัดหินหมากเป้งบางคราวไม่มีความสงบ  ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๗ มารู้สึกว่าคนทางภาคกลางสนใจมาสมาคมกับวัดต่างๆ ทางภาคอีสานมากขึ้นเป็นลำดับ  วัดเราก็พลอยได้ต้อนรับชาวกรุงมากขึ้นด้วย
                      ในปี  ๒๕๑๘  นี้   สมเด็จพระญาณสังวร      ได้สนับสนุนพระภิกษุชาวต่างประเทศ ซึ่งได้อุปสมบทที่วัดบวรนิเวศฯ ให้ออกไปศึกษาธรรมะที่วัดภาคต่างๆ ของเมืองไทยหลายแห่ง และได้ส่งมาจำพรรษาอยู่ที่นี่หลายรูป ท่านก็สนใจและตั้งใจปฏิบัติด้วยกันทุกองค์

                                                 พรรษา ๕๔ ไปแสดงธรรมต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๕๒๐)

                       การไปต่างประเทศของเราครั้งนี้    ได้รับการสนับสนุนและความอุปการะจากหลายฝ่าย   โดยมีความมุ่งหมายจุดเดียวกันคือ   เพื่อการอบรมศีลธรรมในต่างประเทศ   นอกจากนั้นเราเองยังต้องการที่จะไปเยี่ยมและให้กำลังใจแก่เพื่อนๆ   ทั้งพระไทยและพระต่างประเทศ   ที่ได้ไปอบรมเผยแพร่พุทธศาสนาในประเทศเหล่านั้นอีกด้วย
                       มันเป็นสิ่งที่น่าขบขันอยู่อย่างหนึ่งก็คือ    รู้สึกตัวว่าแก่จวนจะตายอยู่แล้ว   ยังอุตส่าห์ไปเมืองนอกกับเขา มิหนำซ้ำภาษาของเขาก็ยังไม่รู้เสียอีกด้วย          ว่าที่จริงแล้วการเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้ยังไม่ถูกต้องตามอุดมคติของเราในเรื่องของการเดินทางสามประการคือ
                       ๑. การไปในภูมิภาคหรือถิ่นฐานใด ๆ ก็ตาม ต้องรู้ภาษาคำพูดของเขา
                       ๒. ต้องรู้จักเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของเขา
                       ๓. ต้องรู้จักการอาชีพในภูมิภาค และถิ่นฐานนั้นๆ ของเขา
                       ทั้งนี้  เพื่อเราจะได้สมาคมกับเขาและพูดเรื่องราวของเขาได้ถูกต้อง แต่นี่เมื่อเราไม่รู้ภาษาของเขาเสียอย่างเดียวแล้วสองข้อข้างท้ายก็เลยเกือบไม่ต้องพูดถึง  อย่างไรก็ดี  เราก็ได้รับความอนุเคราะห์จากท่านผู้รู้มากหลายช่วยเป็นสื่อภาษา ให้ความรู้ความเข้าใจแก่เราเป็นอย่างดี ทำให้อุปสรรคด้านภาษาแทบจะหมดความหมายไร้ค่าไปทีเดียว
                       เรารู้ตัวดีว่า  เราอายุมากแล้ว  ล่วงเข้าวัยชรามากแล้วไม่อยากไปไหนมาไหน ไปมาก็มากแล้ว หาที่ตายได้ขนาดวัดหินหมากเป้งนี้ก็ดีโขแล้ว     อยู่ๆ แม่ชีชวน  (คนสิงคโปร์มีศรัทธาในพุทธศาสนาและได้มาบวชเป็นชี และมาจำพรรษาอยู่วัดหินหมากเป้ง)   มานิมนต์ให้เราไปสิงคโปร์ - ออสเตรเลีย - อินโดนีเซีย   เพราะเธอเห็นว่าเราแก่แล้วอยู่วัดไม่มีเวลาพักผ่อน  บางทีรับแขกตลอดวัน  โดยมากมาเรื่องขอบัตรขอเบอร์กันทั้งนั้นไปทางโน้นคงมีเวลาพักผ่อนบ้าง   เราได้มาพิจารณาดูแล้วเห็นว่า   การไปต่างประเทศเมื่อไม่รู้ภาษาของเขา  ย่อมเป็นการลำบาก  และเมื่อเขาเห็นเป็นคนแปลกหน้าเขาก็จะยิ่งแห่กันมาดู  มันจะได้พักผ่อนอย่างไร  ยิ่งกว่านั้นเรานั้นเป็นพระสาธารณะ   แก่แล้วจะไปมา ณ ที่ใด   ต้องพิจารณาให้รอบคอบ    บางทีไปเกิดอันตราย   เจ็บป่วยหรือตายลง อาจเป็นเหตุทำความเดือดร้อนให้แก่คนอื่นโดยเฉพาะพระผู้นิมนต์ไปนั้นเอง เขาจะหาว่านิมนต์ไปแล้วไม่ได้ช่วยรักษา   ถึงกระนั้นแล้วก็ตาม   เธอก็ไม่สิ้นความพยายามจะนิมนต์ไปให้ได้  กอปรทั้งพี่ชายของเธอซึ่งเป็นหัวหน้ากองชุมชนชาวพุทธที่เมืองเพิร์ธในออสเตรเลียก็ได้จดหมายมานิมนต์ให้ไปโปรดชาวพุทธที่โน่นด้วย
                       เราได้พิจารณาแล้ว  มีเหตุผลที่ควรแก่การรับนิมนต์ ๓ ประการว่า  การไปครั้งนี้มีเหตุผลคุ้มค่าแน่
                       ประการแรก   ประเทศอินโดนีเซียมีพลเมือง ๑๓๐ กว่าล้าน   ยังนับถือพุทธศาสนาอยู่ ๑๐ กว่าล้าน   ในท่ามกลางศาสนาอื่น คือ ฮินดู-อิสลาม-คริสต์ โดยมิได้มีพระภิกษุสงฆ์เป็นผู้นำเลยเราได้ฟังจากคนอื่นมาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแล้วทำให้เกิดความสงสารชาวอินโดนีเซียมาก          แล้วยังได้ทราบว่าเขาเหล่านั้นชอบในการทำภาวนานั่งสมาธิอีกด้วย     (ทุกๆ ศาสนาที่เขาถือพระเจ้าเขาจะต้องนั่งสมาธิรวมใจให้สงบ    ยึดเอาพระเจ้าของเขาเป็นอารมณ์)   เรายิ่งชอบใจใหญ่
                       ประการที่สอง   พระที่มาบวชที่วัดบวรนิเวศวิหารกับสมเด็จพระญาณสังวร  (ปัจจุบัน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)   ที่มาทางสายอินโดนีเซีย - ออสเตรเลีย  ก็มีจำนวนมาก ก่อนเข้าพรรษาปีนี้พระดอน (Donald Riches) ซึ่งเป็นชาวอังกฤษ ก็ได้นำเอาเทปอัดธรรมเทศนาและรูปของเราไปเผยแพร่ทางออสเตรียก่อนแล้ว       เมื่อเขาได้ทราบว่าเราพร้อมด้วยคณะจะเดินทางไปออสเตรเลียก็พากันเตรียมรับรอง   บางคนดีใจถึงกับนอนไม่หลับ  ที่ออสเตรเลียนี้มีพระไทยรูปหนึ่งชื่อบุญฤทธิ์  เธอบวชมานาน  ได้ออกไปเผยแพร่พุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว  ท่านรูปนี้ได้ทำประโยชน์แก่การเผยแพร่พุทธศาสนาในออสเตรเลียมาก มีหลายรูปที่ได้ไปอบรมกับท่านแล้วเข้ามาบวชในเมืองไทย
                       ประการที่สาม   เรานึกอยู่เสมอว่าต่อไปพุทธศาสนาจะเผยแพร่ไปในนานาชาติมากขึ้น    และอาจเผยแพร่แบบบาทหลวงของคริสต์ศาสนา   ถ้าเป็นพระไทยออกเผยแพร่แล้วมักจะเอาเปลือกของพุทธศาสนาออกเผยแพร่  หากเป็นคนชาติของเขาเองเข้ามาบวชและอบรมให้เข้าถึงแก่นของพุทธศาสนาที่แท้จริงแล้วเขาได้นำเอาแก่นแท้ของพุทธศาสนาไปเผยแพร่เองนั่นแหละจึงจะได้แก่น  เมื่อพรรษาที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๑๙) ก็ได้มีพระสุธัมโมชาวอินโดนีเซีย ซึ่งบวชกับสมเด็จพระญาณสังวรที่วัดบวรนิเวศวิหาร มาจำพรรษาที่วัดหินหมากเป้ง เวลานี้เธอยังรอรับคณะของเราอยู่ที่อินโดนีเซียนั้นเอง     ซึ่งเป็นพระสำคัญรูปหนึ่งที่จะนำเอาแก่นของพุทธศาสนาออกไปเผยแพร่
                       เมื่อพิจารณาดูถึงเหตุผลทั้ง  ๓ ประการดังกล่าวแล้ว  จึงได้ตัดสินใจด้วยตนเองว่า  ชีวิตของเราเท่าที่ยังเหลืออยู่จะขอยอมสละทำประโยชน์เพื่อพระศาสนาเท่าที่สามารถจะทำได้      เมื่อตกลงอย่างนั้นแล้วก็มองเห็นคุณค่าชีวิตของตนมากขึ้นอันเป็นเหตุให้เรายอมสละความสุขส่วนตัวเพื่อพระศาสนาอย่างเด็ดเดี่ยว
                       แท้จริงมีคนกรุงเทพฯ      หลายคนหลายหมู่ได้เคยมานิมนต์ให้เราไปอินเดีย      เพื่อนมัสการกราบไหว้ปูชนียสถานต่างๆ โดยรับบริการให้ความสะดวกทุกประการ  แต่เราก็ยังไม่ยอมรับอยู่นั่นเอง ได้เคยวาดมโนภาพที่จะไปอินเดียดูมาหลายครั้งแล้ว เพื่อให้เกิดฉันทะในการที่จะไปอินเดีย แต่แล้วใจมันก็เฉยๆ เมื่อมาพิจารณาดูเหตุผลว่า อินเดียเป็นที่อุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนาเมื่อเราเกิดไม่ทันพระพุทธเจ้า หรือสมัยที่พระพุทธศาสนายังรุ่งโรจน์อยู่ เมื่อปูชนียสถานยังคงเหลืออยู่ควรจะไปนมัสการเพื่อจะได้เกิดธรรมสังเวชหรือความเลื่อมใส  แต่แล้วใจมันก็ตื้อเฉยๆ อยู่เช่นเคย      หรือว่าเราอาจได้เกิดมาเป็นพระสงฆ์ในสมัยยุคฮินดูปราบพระและปูชนียวัตถุให้ราบเรียบไป  เราอาจเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระที่ถูกฮินดูปราบนั้นก็ได้  เราเลยเข็ดฮินดูในอินเดียแต่ครั้งกระโน้นแล้ว เลยไม่อยากไปอีกในชาตินี้กระมัง  ใครมีศรัทธามีโอกาสได้ไปกราบไหว้ปูชนียสถานทั้งสี่ ก็นับเป็นมหากุศลอันยิ่งใหญ่  ดังที่พระองค์ได้ตรัสไว้แก่พระอานนท์ว่า  "ปูชนียวัตถุทั้งสี่จะเป็นบ่อบุญแก่สาธุชนเป็นอันมากเมื่อเรานิพพานไปแล้ว "  เราวาสนาน้อยมิได้ไปก็ขออนุโมทนาด้วยแล้วก็ขอเป็นหนี้บุญคุณประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นที่อุบัติขึ้นของพระพุทธศาสนาไว้ในโอกาสนี้ด้วย
                       ก่อนจะเดินทางไปต่างประเทศครั้งนี้ได้มาพัก ณ ที่พักสงฆ์สวนของ  พลอากาศโท โพยม เย็นสุดใจ   ที่ดอนเมือง   กลางคืนจะมีผู้มาฟังเทศน์อบรมสมาธิมากขึ้นทุกๆ คืน  รู้สึกว่าคนกรุงเทพฯ สมัยนี้คงจะมีความรู้สึกตัวดีกว่าสมัยก่อนว่า   เรามาเกิดในเมืองเทวดาตามสมัญญาสมมุติต่างหาก    แต่ตัวของเราเองยังคงเป็นมนุษย์ดิ้นรนกระเสือกกระสนทำมาหาเลี้ยงชีพแย่งกันเหมือนๆ  มนุษย์ทั่วไปนั่นเอง    จึงอยากจะสร้างตนเองให้ได้เป็นเทวดาที่แท้จริงก็ได้   เพราะเคยได้ทราบมาว่าเทวดาที่ไปเกิดในสวรรค์นั้นไม่มีโอกาสจะได้ทำบุญเหมือนเมืองมนุษย์เรา เมื่อเสวยผลบุญที่ตนได้กระทำไว้แต่ในเมืองมนุษย์นี้หมดแล้ว ก็กลับมาเกิดในเมืองมนุษย์นี้อีก บางทีไม่แน่นอนอาจไปเกิดในอบายก็ได้ ไม่เหมือนพระเสขะอริยบุคคลมีพระโสดาเป็นต้น ท่านเหล่านั้นตายแล้วไม่ไปเกิดในอบายอีกแน่
                       เราเป็นพระแก่เกิดในถิ่นด้อยการศึกษา       บางทีเขานิมนต์ให้เราไปเทศน์อบรมศีลธรรมแก่ผู้ที่มีการศึกษาดี  เบื้องต้นเรามีความรู้สึกเหนียมๆ ตัวเองเหมือนกัน   แต่มันเข้ากับหลักพุทธศาสนาที่ไม่ให้ถือชั้นวรรณะ ให้ถือเอาความรู้ดีประพฤติดีเป็นประมาณ   เพราะคนรู้ดีทำความชั่ว   ย่อมทำความเดือดร้อนให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าคนไม่มีความรู้ คนไม่มีความรู้แต่เขาไม่ทำความชั่ว ดีกว่าคนที่มีความรู้มาก แต่นำความรู้นั้นๆ ไปใช้ในทางที่ชั่ว  คนรู้น้อยแต่เขาพยายามสร้างแต่ความดีย่อมนำความเจริญมาให้แก่ประเทศชาติบ้านเมืองยิ่งกว่าคนไม่มีความรู้   คนไม่มีความรู้แต่เขาไม่ทำความชั่ว   ดีกว่าคนที่มีความรู้มาก  แต่นำความรู้นั้นๆ ไปใช้ในทางที่ชั่ว    คนรู้น้อยแต่เขาพยายามสร้างแต่ความดีย่อมนำความเจริญมาให้แก่หมุ่คณะตลอดถึงประเทศชาติได้ เมื่อได้มาพิจารณาถึงเหตุผลดังกล่าวแล้ว  เราก็สามารถพูดอบรมได้อย่างภาคภูมิใจ  เพราะเทศน์อบรมศีลธรรมแก่ผู้ที่มีการศึกษาดีย่อมเข้าใจง่าย   ศีลธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น   สอนให้รู้จักของธรรมชาติ   จึงเข้ากับหลักวิทยาศาสตร์ทันสมัยดีที่สุด         นักศึกษาที่ดีทั้งหลายย่อมมุ่งแสวงหาแต่ความรู้ที่เป็นสาระอันจะนำเอามาประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของคนเท่านั้น   มิได้มุ่งบุคคลว่าจะอยู่ในฐานะและภูมิเช่นไรก็ตาม     อย่างสมัยนี้ครูสอนศิษย์มีความรู้สูงๆ แล้วศิษย์กลับนำเอาความรู้นั้นๆ มาสอนครูอีกก็มี  ไม่เหมือนศิษย์ที่เลวๆ บางคนบางกลุ่ม   เห็นครูอาจารย์ทำผิดอะไรนิดๆ  หน่อยๆ     หรือมีความคิดความเห็นไม่ตรงกับของตนแล้ว    ถือว่าครูอาจารย์เป็นเรือจ้างรวมหัวกันรุมจิกขับไล่ถือว่าได้หน้ามีเกียรติ อย่างนี้มันเป็นสมัยพัฒนาวิชาอุบาทว์  มีแต่จะนำมาซึ่งความเสื่อมถ่ายเดียว
           
                          พรรษา ๕๗ - พรรษา ๗๐ ๒๘ ปีที่วัดหินหมากเป้ง (พ.ศ. ๒๕๒๒ - ๒๕๓๕)

                         จำเดิมแต่เรามาอยู่วัดหินหมากเป้งได้ ๒๘ ปีเข้านี่แล้วนับว่านานโข    ถ้าเป็นฆารวาสก็พอสร้างฐานะได้ พอมีอันอยู่อันกินได้พอสมควร  เป็นพระแก่ก็อยู่เฝ้าวัดเป็นธรรมดาๆ อย่างพระแก่ทั่วไป ไปไหนก็ไม่ได้อย่างเมื่อก่อน  ถึงไปก็ไม่มีป่าเที่ยวรุกขมูลอย่างพระธุดงค์เหมือนแต่ก่อน   เขาโค่นป่าทิ้งหมดแล้วและลูกหลานก็มากเข้าทุกวันๆ  ไปไหนก็มีลูกเกิดจากโอษฐ์มิได้เกิดจากอุทรแห่ตามกันเป็นพรวน   ดังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑  พล.อ.อ.หะริน หงสกุล   นิมนต์ไปวิเวกที่ออบหลวง  อำเภอจอมทอง  จังหวัดเชียงใหม่   ก็มีผู้ตามเป็นพรวนไปเลย  แทนที่จะอดอาหารทรมานกาย  ทำความเพียรภาวนา  มันตรงกันข้าม อาหารการกินก็รุ่มรวยมาก  มีเบาะมีเตียงชั้นดีให้นอน เรื่องปัจจัยธาตุสี่นี้ถ้ามันฟุ่มเฟือยมากก็เป็นอุปสรรคแก่การภาวนาของผู้ที่ยังไม่เป็นอย่างสำคัญ   วัดใดสำนักใดที่ปัจจัยลาภมากมักทะเลาะกัน  และการศึกษาธรรมะก็ไม่เจริญเท่าที่ควร   ถึงทางโลกๆ ที่เป็นพื้นฐานนี้ก็เช่นเดียวกัน ลาภสักการะเกิดมีขึ้น ณ ที่ใด ที่นั้นย่อมเป็นภัยอันตรายแก่คนหมู่มาก เป็นเจ้านายฉ้อราษฎร์บังหลวง  โกงกินกันแหลกลาญไปหมด  ทะเลาะกันเพราะผลประโยชน์ไม่เท่ากัน  พ่อค้าประชาชน ผู้มีอิทธิพลขัดผลประโยชน์กัน ฆ่ากันตายนับไม่ถ้วน พระพุทธองค์จึงตรัสไว้ว่า "กาโร กาปุริสัง หนติ"  สักการะย่อมฆ่าบุรุษผู้ที่มีปัญญาทราม ดังนี้             อยู่ที่เก่านานเกินไปชอนฝังลากลึกลงไปทุกที ญาติโยมไปเห็นสิ่งที่ไม่ดีไม่งามในบริเวณวัด  ก็มีศรัทธาก่อสร้างขึ้นจนเป็นถาวรวัตถุสวยๆ งามๆ มีก่อสร้างสวยงามขึ้นมาแล้วก็จำเป็นอยู่เองที่จะต้องรักษา เมื่อไม่รักษาก็เป็นโทษตามวินัยของพระผู้รักษาก็ใครล่ะก็พระแก่นั่นแหละ  อบรม สั่งสอน การนั่ง นอน อยู่กิน บิณฑบาต  และกิจวัตรทั้งปวง    ตลอดถึงการศึกษาของพระภิกษุและสามเณรทั้งหมดที่อยู่ในวัดมาเป็นภาระของพระแก่คนเดียว เขาให้ชื่อว่า  สมภาร  สมจริงดังเขาว่า เรื่องนี้หลีกเลี่ยงก็ไม่ได้ จำเป็นต้องสู้ไปจนกว่าจะสิ้นชีพ

                        บุญคุณของพุทธศาสนา             เมื่อมาคิดถึงครูบาอาจารย์ และพระผู้ใหญ่แต่ปางก่อน   มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น  ท่านนำพระศาสนาก็ด้วยอาการอย่างนี้แล้ว   ก็มีใจกล้าหาญขึ้นมาว่า     เราคนหนึ่งก็ได้นำพระศาสนามาได้โดยลำดับ  ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นคนแล้วยังบวชในพระพุทธศาสนายังได้ทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์ เมื่อเขาทำอัญชลีกรรมกราบไหว้หรือทำทานวัตถุต่างๆ  ก็นึกถึงตนเสมอว่า  เขากราบไหว้อะไร  เขากับเราก็เช่นเดียวกัน  คือ   เป็นก้อน   ดิน   น้ำ   ไฟ   ลม  เหมือนกัน แท้จริงอย่างน้อยเขาก็เห็นแก่ผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นเครื่องหมายของพระอรหันต์แล้วจึงกราบไหว้  พระศาสนาอยู่ได้ด้วยความเชื่อถืออย่างนี้ ถึงแม้จะไม่เห็นจริงจังด้วยใจของตน แต่เชื่อด้วยความเห็นที่สืบๆ กันมา
                        เราคิดถึงบุญคุณของพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  แต่บวชมาก็นานแล้ว    ศาสนาได้ปรนปรือตัวของเราให้เป็นคนดีตลอดเวลา  ศาสนามิได้แนะนำสอนให้เราทำความชั่วแม้แต่น้อย แต่ถึงขนาดนั้นพวกเราก็ยังฝ่าฝืนคิดจะทำชั่วอยู่ร่ำไป  ที่อยู่  ที่นอน  เสื่อ  หมอน มุ้งม่านและอาหารการกินทุกอย่าง ที่เราบริโภคใช้สอยอยู่ทุกวันนี้ล้วนแต่เป็นของพุทธศาสนาทั้งนั้น    ยาแก้โรคภัยไข้เจ็บก็เป็นของผู้มีศรัทธาในพระศาสนาสละมาทำทานทั้งนั้น  เราบวชมาเป็นพระครั้งแรกก็ต้องอาศัยผ้ากาสาวพัตร์อันเป็นเครื่องหมายของท่านผู้วิเศษที่อุปัชฌาย์อาจารย์ให้แก่เราแล้วทั้งนั้น   (อุปัชฌาย์อาจารย์   ก็เป็นเพียงตัวแทนพุทธศาสนาเท่านั้น     เพราะท่านทั้งหลายเหล่านั้นก็ล้วนแล้วแต่ยึดเอาพระรัตนตรัยมาเป็นหลักด้วยกันทั้งนั้น) เมื่อได้เครื่องทรงอันวิเศษนี้แล้ว เขาก็กราบไหว้ทำบุญสุนทานจนเหลือหลายเราไม่ตายอยู่มาได้จนตราบเท่าทุกวันนี้ก็เพราะศาสนา        พุทธศาสนามีคุณอเนกอนันต์เหลือที่จะพรรณนานับแก่ตัวของเราพร้อมทั้งโลกทั้งหมดด้วยกัน
                       เมื่อเราได้มาอยู่ที่นี่หรือที่ไหนๆ   ก็ตาม        เมื่อกำลังทางกายมีอยู่เราก็ได้ก่อสร้างถาวรวัตถุทางพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐานตามสมควรแก่อัตภาพของตน    เมื่อเราแก่แล้วเราไม่มีกำลังกายพอจะก่อสร้างได้   ญาติโยมเขามีศรัทธาบริจาคทรัพย์   เราก็เอาทรัพย์นั้นมาก่อสร้างถาวรวัตถุในพุทธศาสนาแทนตัวต่อไป   ถ้าหากมีเหลือพอเฉลี่ยให้แก่วัดอื่นๆ ได้เราก็เฉลี่ยไป  แต่ไม่ยอมเป็นทาสของอิฐ ปูน หรือไม้   แต่ไหนแต่ไรมา  เพราะเราเห็นว่าของเหล่านั้นเป็นภายนอก  ของเหล่านั้นจะสร้างให้สวยสดงดงามสักปานใด จะหมดเงินกี่ร้อยล้านก็ตาม   หากตัวของเราไม่ดีประพฤติเหลวไหลแล้ว  ของเหล่านั้นไม่มีความหมายเลย  แก่นพุทธศาสนาแท้มิใช่อยู่ที่วัตถุ  แต่หากอยู่ที่ตัวผู้ประพฤติต่างหาก   อันนี้เป็นหลักใจของเรา การบวชที่ได้นามว่า      เนกขัมมะเพื่อละกามทั้งหลาย      ตั้งใจปฏิบัติตามสัจธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเพื่อพ้นจากทุกข์ทั้งปวงนั้น จึงไม่ควรที่จะนำเอาตัวของตนไปฝังไว้ในกองอิฐกองปูนโดยแท้

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/7186-1.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4710-1.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9-5.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2715.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2716-2.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/12-23.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/af937c70.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/c3332581.jpg)

                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2714.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:13:08
                         
                            พรรษา ๕๕-๕๖ สังขารนี้เป็นวัฏจักร (พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๒๑)

                       สังขารร่างกายเป็นวัฏจักรมีการหมุนไปไม่มีที่สิ้นสุด แม้จิตใจของผู้ที่ไม่ได้ฝึกฝนอบรมก็ต้องเป็นวัฏจักรด้วย    ผู้ที่ฝึกฝนแล้วจึงจะเห็นเป็นของเบื่อหน่าย     อย่างตัวของเราเมื่อออกจากหมู่ที่ภูเก็ต พ.ศ. ๒๕๐๗     อยู่เฉยๆ  เสียงก็แหบแห้งจนจะพูดไม่ออกมาคราวนี้ก็อีกเหมือนกัน      หลังจากพวกพระนวกะ (นักศึกษาแพทย์ศิริราช) ที่มาอบรมศึกษาธรรมะเพิ่งกลับไป เราอาพาธเล็กๆ น้อยๆ แต่เสียงก็แหบแห้งไปเฉยๆ จนกระทั่งบัดนี้เสียงก็ยังไม่กลับเหมือนเดิม   คุณหมอโรจน์ สุวรรณสุทธิ   ได้นิมนต์ให้ไปตรวจสุขภาพทั่วไปที่ รพ.ศิริราช  เมื่อตรวจแล้วก็ไม่ปรากฏว่ามีโรคอันใด  นอกจากโรคชราเท่านั้น  วัฎจักรย่อมเป็นไปอย่างนี้ ทุกรูปทุกนามก็จะเป็นอย่างนี้ทั้งหมด จะต่างกันก็แต่อาการเท่านั้น
     


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:13:22
                                          อุโบสถวัดหินหมากเป้ง
                      
                      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/1.jpg)

                     ในราว   พ.ศ. ๒๕๐๙   นายกอง  ผิวศิริ    อยู่บ้านโคกซวก   ตำบลพระพุทธบาทนี้   มีจิตศรัทธาสร้างพระประดิษฐานบนก้อนหินใหญ่  หันหน้าไปทางแม่น้ำโขง  ทำด้วยหินปูน  และทราย  ไม่ได้ผูกเหล็ก   โดยใช้หินก้อนใหญ่ที่หาเอาในบริเวณวัดนี้ผสมกับปูนและทรายก่อขึ้นเป็นองค์พระ  แกหาทุนทรัพย์และดำเนินการหาช่างมาก่อสร้างด้วยลำพังตนเอง เราไม่เกี่ยวข้องด้วยแต่อย่างไร ทราบว่าสิ้นเงินไปราว ๑,๐๐๐.๐๐๐ บาท (หนึ่งพันบาท) ได้พระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางสะดุ้งมาร   ขนาดหน้าตักกว้างราว  ๔  เมตรเศษ   สูงตั้งแต่ฐานจรดยอดพระเกศราว  ๕ เมตรเศษ  แต่รูปร่างลักษณะก็มิได้งดงามอย่างนี้  เพราะช่างที่ว่าจ้างมานั้นเป็นช่างพื้นบ้านธรรมดาๆ ไม่มีความสามารถและชำนาญในการปั้นพระมากนักต่อมาเราได้หาช่างที่มีความสามารถมาตกแต่งแก้ไข  โดยเฉพาะพระพักตร์ตกแต่งแก้ไขอีกสองสามครั้งจึงสำเร็จเรียบร้อยสวยงามดังที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้   เสร็จแล้วเราได้สร้างศาลาครอบองค์พระไว้  โดยทุนของวัดและพระเณรช่วยกันทำเอง
                    ต่อมาทางวัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา   เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓  เราจึงพิจารณาเห็นว่าวัดหินหมากเป้งแห่งนี้     นับว่าเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยสมบูรณ์     สมควรที่จะมีอุโบสถไว้เพื่อประกอบสังฆกรรมตามธรรมวินัย     เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาสืบไป    และเห็นว่าบริเวณที่ประดิษฐานพระองค์ใหญ่นั้น หากจะสร้างอุโบสถครอบไว้แล้วคงจะเหมาะสมดีนัก  เมื่อเสร็จแล้วจะได้ทั้งพระอุโบสถและพระประธานพร้อมกันทีเดียว
                    จึงได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์     เมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕    โดยเจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร)  วัดพระศรีมหาธาตุ  บางเขน  กรุงเทพฯ  เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  พลอากาศโท ชู สุทธิโชติ  เป็นประธานฝ่ายฆารวาส
                    อุโบสถหลังนี้ทำเป็นหลังคาสองชั้น     กว้าง  ๗  เมตร   ยาว  ๒๑  เมตร   สูงจากพื้นถึงเพดาน  ๙  เมตร มุงกระเบื้องดินเผากาบกล้วย โดยคุณไขศรี ตันศิริ กรมอนามัย เป็นผู้ออกแบบ อาจารย์เลื่อน พุกะพงษ์ แห่งกรมศิลปากร  เป็นผู้ออกแบบลวดลายต่างๆ  ตลอดจนแนะนำการก่อสร้าง นายไพบูลย์ จันทด   เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง เฉพาะค่าแรงงานราคา ๓๐๐,๐๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)  น.ท.พูนศักดิ์ รัตติธรรม  เป็นผู้หาเครื่องอุปกรณ์ที่มีอยู่ทางกรุงเทพฯ   นายแสงเพ็ชร จันทด  เป็นเหรัญญิก  และหาอุปกรณ์ตลอดจนควบคุมการก่อสร้างโดยใกล้ชิด ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างรวมทั้งสิ้นประมาณ ๗๐๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดแสนบาท)  ได้จากท่านผู้มีจิตศรัทธาทั้งสิ้น ได้จัดให้มีการฉลองอุโบสถ  ยอช่อฟ้า  ผูกพัทธสีมาตัดลูกนิมิต  เมื่อวันที่  ๕ - ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๖  โดยมีเจ้าพระคุณ  สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์)   เป็นประธานฝ่ายสงฆ์และพลอากาศโท  ชู  สุทธิโชติ   เป็นประธานฝ่ายฆารวาสอีกเช่นกัน
                    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๙   ได้ทำการซ่อมแซมเปลี่ยนกระเบื้องมุงหลังคาเป็นกระเบื้องซีแพคโมเนีย ทำช่อฟ้าใบระกาคันทวยหางหงส์   ทำลวดลายปูนปั้นซุ้มประตู หน้าต่าง บัวหัวเสา  กำแพงแก้วรอบอุโบสถ  ทาสีทั้งภายในและภายนอก  สิ้นทุนทรัพย์ ๔๕๐,๐๐๐ บาท (สี่แสนห้าหมื่นบาทถ้วน)
                    ในปี พ.ศ. ๒๕๓๕   ได้ทำการปิดทองพระประธานองค์ใหญ่สิ้นทุนทรัพย์อีก  ๒๙๙,๕๐๐๐.๐๐  บาท   (สองแสนเก้าหมื่นเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)

                                                       มณฑปแห่งวัดหินหมากเป้ง

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2.jpg)

                    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕  เราได้พิจารณาเห็นว่า   สถานที่ตรงริมแม่น้ำโขงนี้เป็นทำเลเหมาะ  คิดอยากจะสร้างมณฑปขึ้นสักหลังหนึ่ง  ให้มีลักษณะเป็นศิลปะแห่งลุ่มแม่น้ำโขง
                    เพื่อเป็นสถานที่ประดิษฐานสิ่งสักการบูชา มีพระพุทธรูปพระบรมสารีริกธาตุเป็นอาทิ นอกจากนั้นเราได้แอบนึกปรารภไว้ในใจว่าเพื่อความไม่ประมาท  หากเรามีอันเป็นไปก็จะได้ไม่ต้องเป็นภาระให้คนอยู่หลังจัดหาที่เก็บกระดูกของเราให้ยุ่งยากไปด้วย
                    เราได้ปรารภความประสงค์การจัดสร้างมณฑปนี้แก่บุคคลเป็นจำนวนมาก      แต่ในที่สุดเรื่องนั้นจำต้องเงียบหายไป   เพราะไม่มีทุนทรัพย์
                    ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๒๐  คุณประพัฒน์ เกษสอาด ได้มาเยี่ยมที่วัด เราได้ปรารภเรื่องนี้อีก คุณประพัฒน์เกิดความสนในเห็นดีด้วย  ได้รับอาสาว่าจะเขียนแบบแปลนตัวมณฑปมาให้ดู   เมื่อคุณประพัฒน์เขียนแบบโครงร่างมณฑปเสร็จแล้วก็นำไปปรึกษาคุณประเวศ ลิมปรังสี ผู้อำนวยการกองหัตถศิสป์แห่งกรมศิลปากรให้ช่วยพิจารณาตกแต่งแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆ ของตัวมณฑป   คุณประเวศ   เป็นผู้ที่สันทัดกับศิลปกรรมแห่งลุ่มแม่น้ำโขงผู้หนึ่งในปัจจุบันนี้   ได้ให้ความสนใจช่วยเหลือด้วยความยินดียิ่งและในโอกาสต่อมาก็เป็นผู้รับออกแบบตรวจตราแก้ไขเพิ่มเติมงานก่อสร้างมณฑป ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งสำเร็จสมบูรณ์  รวมทั้งการตกแต่งภายในด้วย
                    เมื่อแบบแปลนมณฑปเสร็จเรียบร้อยแล้ว   คุณประพัฒน์ได้นำมาให้ดู    นับว่าเป็นแบบมณฑปที่งดงามสง่าน่าดูหลังหนึ่งทีเดียว     แต่ยังมิได้คำนวณเกี่ยวกับเรื่องโครงสร้างซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก    จึงได้นำแบบแปลนกลับไปดำเนินงานต่อแล้วก็หายเงียบไปอีกครั้งหนึ่ง  เป็นระยะเวลานานพอสมควร  จนคิดว่าคงจะไม่สำเร็จเสียแล้ว  เราจึงได้ตัดสินเลิกล้มความคิดที่จะทำเสีย
                    ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๒๒   คุณประพัฒน์  ได้มาพบเราในระยะที่เงียบหายไปนั้น  เธอได้นำแบบไปให้วิศวกรช่วยคำนวณโครงสร้างคอนกรีตของตัวอาคารอยู่  และในเวลาเดียวกันก็ได้พยายามหาผู้มาช่วยคำนวณพื้นฐานรากด้วย  เมื่องานยังไม่เสร็จจึงยังไม่ได้มาแจ้งเรื่องราวให้ทราบ  เธอขอดำเนินการต่อไป
                    เมื่อนายแพทย์วันชัย พงศ์พิพัฒน์   แห่งโรงพยาบาลพระพุทธบาท   จังหวัดสระบุรี   ผู้เคยมาบวชและจำพรรษาที่วัดหินหมากเป้งนี้     เมื่อทราบเรื่องเข้าก็ถวายเงินให้ไว้สองแสนบาทเพื่อเริ่มต้นงานก่อสร้าง   และภายหลังยังได้ถวายเพิ่มอีกหนึ่งแสนบาท
                    ตัวมณฑปเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ความกว้าง x ยาววัดได้ ๑๓ x ๑๓ เมตร ส่วนสูงประมาณ ๓๖ เมตร  ได้อาศัยผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายร่วมกันพิจารณาและดำเนินการ กล่าวคือ งานด้านสถาปนิกและศิลปกรรม   คุณประพัฒน์และคุณประเวศเป็นผู้ควบคุมดูแล  งานด้านโครงสร้างอาคารซึ่งเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งหมดนั้น  ร.อ.ชัยชาญ ภิญญาวัธน์ ร.น.   เป็นผู้คำนวณให้ ส่วนความมั่นคงของฐานรากของมณฑปหลังนี้ ซึ่งมีความยากลำบากเป็นพิเศษ   เพราะพื้นฐานรากทั้งหมดของตัวอาคารต้องสร้างลงบนดินตลิ่งที่ลาดชันของฝั่งแม่น้ำโขง  จะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ   การนี้ ศาสตราจารย์  ดร.ชัย มุกตพันธุ์  ได้รับภาระมาตรวจสอบพื้นที่และชั้นหินต่างๆ แล้วออกแบบกำหนดฐานรากอาคารให้ทั้งหมด ทั้งๆ ที่ท่านมีงานรัดตัวอยู่มากมาย ก็ยังหาโอกาสปลีกตนและเวลามาเป็นธุระให้ด้วยความยินดี  น่าอนุโมทนาในกุศลจิตของท่าน
                    ผู้ทำการก่อสร้างคือ  คุณประมุข บรรเจิดสกุล  แห่งบริษัท ป.ว.ช. ลิขิตการสร้าง  ได้ช่วยเหลือถือเสมือนเป็นการก่อสร้างของตัวเอง         มีสิ่งใดไม่ดีไม่เหมาะก็พยายามแก้ไขดัดแปลงให้ดีขึ้นอยู่เสมอ       แม้ว่าจะอยู่นอกรายการข้อผูกพันสัญญาก็ตาม     การก่อสร้างได้เริ่มขึ้นได้     การทำสัญญาการก่อสร้างฉบับแรกเมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๒  และฉบับที่ ๒ เมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม ปีเดียวกันในราคาการก่อสร้างทั้งสิ้น ๒,๗๑๖,๙๑๓ (สองล้านเจ็ดแสนหนึ่งหมื่นหกพันเก้าร้อยสิบสาม)    นี้เป็นราคาเริ่มแรกภายหลังต่อมาได้มีการปรับปรุงเพิ่มเติมรายการต่างๆ       เพื่อความเรียบร้อยสวยงามและเหมาะสมขึ้นไปอีกเมื่อรวมเบ็ดเสร็จแล้วค่าก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณหกล้านบาท
                   เมื่อการก่อสร้างเริ่มขึ้น     ก็มีผู้มีจิตศรัทธาถวายปัจจัยร่วมการก่อสร้างมาโดยลำดับ     คุณกษมา  (ตุ๊) ศุภสมุทร  ถวายหนึ่งแสนบาท  คณะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย  และบริษัทการบินไทย   ได้ร่วมกันทอดกฐินสามัคคี ปี ๒๕๒๒  เพื่อหาปัจจัยสร้างมณฑปได้เงินหกแสนสี่หมื่นบาท กรมการศาสนาอนุมัติเงินอุดหนุนสองแสนห้าหมื่นบาท  และเมื่อการก่อสร้างดำเนินมาจนปรากฏเป็นรูปเป็นร่างบ้างแล้ว ก็มีผู้ศรัทธามาจากทั่วทุกสารทิศ เป็นรายบุคคลบ้าง เป็นคณะบ้าง มาได้เห็นการก่อสร้างก็เกิดจิตศรัทธาร่วมบริจาคสมทบทุนการก่อสร้างเป็นอันมาก   จนเหลือที่จะกล่าวนามท่านเหล่านั้นได้ในที่นี้ได้หมดสิ้น    ผู้ที่ร่วมบริจาคมากที่สุดและเป็นกำลังสำคัญเห็นจะเป็น คุณธเนตร เอียสกุล ได้บริจาควัสดุอุปกรณ์และเงินสด ซึ่งเมื่อคิดรวมทั้งหมดแล้วก็เป็นมูลค่ามากกว่าหกแสนบาท  นับว่าเป็นกำลังอันสำคัญผู้หนึ่งทีเดียว
                    มณฑปหลังนี้   นับว่าเป็นสิ่งก่อสร้างที่ค่อนข้างพิเศษ   กล่าวคือ    ได้รับการเอาใจใส่และเลือกสรรอย่างพิเศษทุกขั้นตอน เริ่มแต่การเลือกตำแหน่งสถานที่ก่อสร้าง ซึ่งจะเห็นว่าเป็นจุดที่เด่นและเหมาะสม เมื่อมองจากภายในอาคารสามารถเห็นทิวทัศน์โดยรอบ ไม่มีจุดอับ การออกแบบรูปทรงของอาคารเป็นมณฑป  ซึ่งมีความงดงาม มีลักษณะพิเศษ  เป็นศิลปะแห่งลุ่มแม่น้ำโขงโดยเฉพาะ โครงสร้างตลอดจนฐานรากสร้างอย่างแข็งแรงเป็นพิเศษ  ทั้งนี้ด้วยความมุ่งหมายจะให้เป็นถาวรวัตถุเป็นปูชนียสถานอันมั่นคงไว้ชั่วกาลนาน
                    พระพุทธรูปประธานราคา ๙๕,๐๐๐ บาท  บริษัท ป.ว.ช. ลิขิตการสร้าง  และคุณจวบจิต รอดบุญ  คุณโรส บริบาลบุรีภัณฑ์  และคณะ  ออกคนละครึ่ง  เป็นพระพุทธรูปที่ได้รับการออกแบบและสร้างขึ้นอย่างงดงามสมส่วนในลักษณะศิลปะร่วมสมัย  โดยปฏิมากรผู้ชำนาญแห่งกรมศิลปากร มีความสง่างามและมีความนุ่มนวลเป็นพิเศษ ผิดไปจากพระพุทธรูปตามวัดหรือปูชนียสถานอื่นๆ
                    ชุกชีที่ประดิษฐานของพระพุทธรูป พร้อมทั้งเครื่องประดับประดาตกแต่งทั้งหมด  น.พ.แสวง วัจนะสวัสดิ์ และญาติมิตรเป็นผู้ถวายค่าก่อสร้าง  เป็นเงินสี่แสนสองหมื่นห้าพันบาท
                    ความพิเศษสุดท้าย   ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นความพิเศษยอดสุดก็คือว่า มณฑปหลังนี้สำเร็จเป็นรูปร่างขึ้นมาได้ก็ด้วยแรงศรัทธาล้วนๆ ทุนทรัพย์ที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด  มาจากการบริจาคด้วยศรัทธาอันบริสุทธิ์ของสาธุชนทั้งหลาย  โดยที่ทางวัดไม่ได้มีการเรี่ยไรหรือออกฎีกาบอกบุญแต่อย่างใดเลย  นับว่าเป็นความพิเศษอย่างยิ่งออกที่จะมีได้ในยุคปัจจุบันนี้
                    นับตั้งแต่ริเริ่มมา จนกระทั่งสำเร็จเสร็จสิ้นสมบูรณ์ลงได้ในที่สุด ก็ด้วยความร่วมมือร่วมใจจากคนหลายฝ่าย ซึ่งต่างก็มาร่วมมือร่วมใจกันด้วยความยินดี เต็มอกเต็มใจ ทั้งนี้เพราะทุกคนที่เราได้กล่าวนามถึงก็ดี ไม่ได้กล่าวนามก็ดี  ต่างก็มีศรัทธาตรงกัน  จึงได้มาร่วมกันทั้งกำลังทรัพย์ ทั้งกำลังกาย กำลังปัญญา  ความคิดอันเป็นเหตุผลักดันให้เกิดมณฑปที่ทรงความสง่าเป็นเอก      ยากที่จะมีอาคารหรือปูชนียสถานอื่นในสมัยนี้ทัดเทียมได้ สมควรที่สาธุชนทั้งหลายจะได้มีความภาคภูมิใจ  เราปลื้มปีติในกุศลเจตนา และขออนุโมทนาในส่วนกุศลอันเกิดจากศรัทธาของท่านทุกผู้ทุกคน
                    อนึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้ทำการซ่อมแซมทาสีภายนอกใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งปิดทองแต่สันหลังคาขึ้นไปจรดยอดมณฑปสิ้นทุนทรัพย์อีก  ๓๓๗,๗๕๐.๐๐  บาท   (สามแสนสามหมื่นเจ็ดพันเจ็ดร้อยห้าสิบบาทถ้วน)    ซึ่งก็ได้จากศรัทธาของท่านสาธุชนทั้งหลายที่พร้อมใจกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและเป็นอนุสรณ์แก่เราผู้สร้างซึ่งมีอายุครบ ๙๐ ปีบริบูรณ์  เมื่อ ๒๖ เมษายน ๒๕๓๕ นั้นด้วย

  
                                                                 ศาลาเทสรังสี

                    

                    ปฐมศาลาของวัดหินหมากเป้งเป็นศาลาโรงฉันย่อมยกพื้นสูง  เสาไม้  พื้นปูไม้กระดาน   ฝาใช้ไม้ไผ่ขัดแตะ หลังคามุงด้วยสังกะสี มีสภาพไม่คงทนถาวร  เมื่อเราได้มาพักอยู่ที่นี้ได้ในราวสองปี ญาติโยมทางกรุงเทพฯ ก็เดินทางมาที่แห่งนี้มากขึ้น  เมื่อได้มาพบเห็นสถานที่แล้วชอบใจเกิดศรัทธาเลื่อมใส จึงร่วมใจกันหาเงินมาก่อสร้างศาลาการเปรียญขึ้นใหม่แทนศาลาหลังเดิมซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากแล้ว
                    ศาลาการเปรียญที่ก่อสร้างขึ้นนั้น   มีลักษณะเป็นเรือนไม้ทรงไทย   สองชั้น  ขนาดกว้าง ๑๑ เมตร  ยาว ๑๗ เมตร      โดยใช้แรงงานของพระภิกษุสามเณรช่วยกันก่อสร้างเป็นส่วนใหญ่      สร้างเสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่๒๐ กรกฎาคม ๒๕๑๐  ค่าก่อสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๘๔,๗๖๓.๐๐ บาท (แปดหมื่นสี่พันเจ็ดร้อยหกสิบสามบาทถ้วน) และได้ให้นามศาลาหลังนั้นว่า  "ศาลาเทสก์ประดิษฐ์"
                    กาลเวลาล่วงเลยมาโดยลำดับ  ญาติโยมจากทางกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ได้พากันมาที่วัดหินหมากเป้งนี้มากขึ้น   กอปรด้วยการคมนาคมสะดวกขึ้น   เพราะทางราชการได้ตัดถนนผ่านหน้าวัด   พระภิกษุสามเณร อุบาสกอุบาสิกา  ที่มาอยู่พักจำพรรษารักษาศีลปฏิบัติภาวนา ทั้งที่มาอยู่ประจำและมาพักเป็นครั้งคราวก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงเทศกาลวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาศาลาการเปรียญที่มีอยู่จึงไม่สามารถจะต้อนรับญาติโยมอุบาสกอุบาสิกาได้เพียงพอ  ประกอบกับศาลาเทสก์ประดิษฐ์ก็ชำรุดทรุดโทรม  เนื่องจากปลวกกัดกินจนเสียหายเป็นบางส่วน   อาจจะไม่ปลอดภัยและอาจเกิดอันตรายขึ้นได้ในภายหน้า  คณะกรรมการวัดหินหมากเป้งจึงได้มาปรึกษาหารือกันกับเรา   และมีความเห็นพ้องตรงกันว่าควรจะสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ให้กว้างขวางและคงทนถาวรขึ้นกว่าเดิม  เพื่อเป็นที่ประกอบศาสนกิจสืบต่อไป
                   ศาลาการเปรียญหลังใหม่นี้ได้สร้างขึ้นที่เดิม       โดยรื้อศาลาหลังเก่าออกเสีย       มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กสองชั้น  ขนาดกว้าง ๒๓.๐ เมตร ยาว ๔๔.๐ เมตร  ชั้นบนภายในตัวอาคารเป็นห้องโถงตลอด ปูพื้นด้วยไม้ปาร์เก้  กั้นฝาโดยรอบด้วยกระจกกรอบอะลูมิเนียม พร้อมทั้งติดประตูหน้าต่างโดยรอบ  ระเบียงและชานศาลารอบตัวอาคารปูพื้นด้วยหินอ่อน  ชั้นล่างเป็นห้องโถงตลอด  ปูพื้นด้วยหินอ่อนทั้งหมด  ชานพักบันไดและขั้นบันไดทำด้วยหินกรวดล้าง
                   การออกแบบโดย  อาจารย์สาคร พรหมทะสาร   แห่งวิทยาลัยเทคนิคหนองคาย  ทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานกับ  นายกองศรี แก้วหิน  เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๒๘  โดยทางวัดเป็นผู้จัดหาวัสดุก่อสร้างทั้งหมด   การก่อสร้างแล้วเสร็จตามสัญญาเมื่อวันที่  ๒๕  กุมภาพันธ์  ๒๕๒๙    ค่าก่อสร้างทั้งศาลาการเปรียญและหอระฆัง   เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  ๗,๖๙๓,๙๒๖.๕๒ บาท  (เจ็ดล้านหกแสนเก้าหมื่นสามพันเก้าร้อยยี่สิบหกบาทห้าสิบสองสตางค์) เสร็จแล้วได้ขนานนามศาลาหลังนี้ว่า  "ศาลาเทสรังสี พ.ศ. ๒๕๒๙"
 
                                                                     จิตกรรมฝาผนัง

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/4.jpg)

                    ภายหลังบรรดาศิษยานุศิษย์ได้มีจิตศรัทธา จะให้มีการวาดภาพจิตกรรมฝาผนังบนผนังศาลาการเปรียญชั้นบน  จึงได้ว่าจ้างช่างเขียนภาพจิตกรรมฝาผนังด้วยสีน้ำมันอย่างดี  ช่วงกลางเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนประสูติ  เสด็จออกบรรพชา ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา ทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์  และเสด็จดับขันธปรินิพพาน  ช่องด้านขวามือเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับวัดหินหมากเป้ง ด้านซ้ายมือเป็นภาพพระธาตุพนม และเรื่องราวประเพณีท้องถิ่นภาคอีสาน  โดยทำสัญญาจ้างกับ นายสามารถ ทองสม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๐  ในราคา ๖๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หกแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)  กำหนดแล้วเสร็จภายใน ๑๒ เดือน  ทั้งนี้อยู่ในความควบคุมของคุณไข่มุกด์ ชูโต

                                                                       หอระฆัง

                    (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/5.jpg)

                    ต่อมาได้สร้างหอระฆังไว้ตรงมุมศาลาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ    โดยการก่อสร้างหอระฆังดังกล่าวนั้น  คุณธเนตร เอียสกุล   มีจิตศรัทธาบริจาคค่าแรงงานในการก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญาจำนวน ๓๕๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนห้าหมื่นบาทถ้วน) และได้หล่อระฆังมาถวายอีกด้วยในราคา ๖๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หกหมื่นบาทถ้วน)

                                                                  หอสมุดวัดหินหมากเป้ง

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/6.jpg)

                    หอสมุดเดิมเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว  ตั้งอยู่ตรงอาคารหอสมุดหลังปัจจุบันนี้   เมื่อทางวัดได้ดำเนินการก่อสร้างศาลาการเปรียญใกล้จะแล้วเสร็จตามสัญญา  เราได้พิจารณาเห็นว่าควรจะสร้างอาคารหอสมุดขึ้นใหม่ ให้มีสภาพสอดคล้องกับศาลาการเปรียญ   ก็ได้รับความช่วยเหลือด้วยดีจาก  คุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว  แห่งบริษัท ดีไซน์ ๑๐๓ จำกัด กรุงเทพฯ ช่วยออกแบบแปลนให้  มีลักษณะเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สองชั้น  ขนาดกว้าง ๑๒.๓๐ เมตร  ยาว ๑๓.๐๐ เมตร  หลังคาทรงไทยแบบสามมุข มีหน้าบันทำลวดลายปูนปั้นทั้งสามด้าน ทำสัญญาจ้างเหมาแรงงานกับ นายกองศรี แก้วหิน   เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘  โดยทางวัดเป็นผู้จัดหาวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด     แล้วเสร็จตามสัญญา    เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙      สิ้นค่าก่อสร้างจำนวน ๗๒๕,๐๕๔.๖๓ บาท  (เจ็ดแสนสองหมื่นห้าพันห้าสิบสี่บาทหกสิบสามสตางค์)

                                                                           หอกลอง

                      

                    เมื่องานก่อสร้างหอสมุดเสร็จเรียบร้อยตามสัญญาแล้ว  คุณธเนตร เอียสกุล  ผู้มีศรัทธากล้าแข็งคนหนึ่ง ได้ปวารณาขออนุญาตต่อเรา   ขอเป็นเจ้าภาพสร้างหอกลอง   พร้อมกับจัดหากลองขนาดใหญ่มาถวาย    เพื่อให้เป็นคู่กันกับหอระฆังสมบูรณ์แบบตามประเพณีนิยม    ประกอบกับศรัทธาญาติโยมทางจังหวัดสกลนคร   จังหวัดกาฬสินธุ์   จังหวัดมุกดาหาร   และบ้านขัวสูง  มีจิตศรัทธาสร้างโปงขนาดใหญ่มาถวาย  เราจึงได้ออกแบบและว่าจ้างให้ช่างมาทำหอกลองขึ้น   ชั้นบนเป็นที่ตั้งกลอง  ชั้นล่างเป็นที่แขวนโปง  สิ้นค่าก่อสร้างเป็นเงิน ๖๕,๐๐๐.๐๐ บาท (หกหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  คุณธเนตร   รับเป็นเจ้าภาพออกเงินทั้งหมด

                                                                        กุฏิเสนาสนะ

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/71.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2472.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2473.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2474.jpg)
            
                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2475.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2475.jpg)

                     กุฏิเสนาสนะที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร       ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งที่ต้องจัดให้มีขึ้นตามความเหมาะสม  กุฏิที่สร้างขึ้นแต่แรกมาอยู่ใหม่ๆ เพียงไม่กี่หลัง  บางหลังก็ชำรุดทรุดโทรมจำเป็นต้องซ่อมแซม หรือรื้อทำเสียใหม่ให้ถาวรก็มีขณะเดียวกันก็สร้างเพิ่มเติมขึ้นมาอีกด้วย     เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของพระภิกษุสามเณรที่เพิ่มขึ้น
                     กุฏิในวัดหินหมากเป้งส่วนใหญ่เป็นกุฏิทรงไทยขนาดเล็กใหญ่ตามความเหมาะสม   ซึ่งล้วนแล้วแต่เกิดจากศรัทธาของญาติโยมทั้งหลายมาปลูกสร้างถวายคนละหลังสองหลัง       บางท่านถึงสามหลังก็มี        เพื่อหวังประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรจะได้อยู่พักจำพรรษา          และผู้ที่สนใจในการปฏิบัติก็มาขอปลูกบ้านพักเพื่ออยู่ภาวนาบำเพ็ญเพียร  จนปัจจุบันนี้มีกุฏิถาวรสำหรับพระภิกษุสามเณรจำนวน ๕๖ หลัง   บ้านพักชีและบ้านพักญาติโยมจำนวน ๓๗ หลัง   ศาลาแม่ชี   โรงครัว   ห้องน้ำห้องส้วม     ถังน้ำประปาขนาดใหญ่สำหรับจ่ายน้ำใช้ทั่วทั้งวัด เครื่องกำเนิดไฟฟ้าเมื่อประมาณราคาแล้วมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า ๑๐ ล้านบาท
                    เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖   นายบุญ สกุลคู   พร้อมด้วยญาติมิตรได้มีจิตศรัทธาสร้างอาคารมอบถวายเป็นอาคารเรียนนักธรรมแก่พระภิกษุสามเณรที่อยู่จำพรรษา        เป็นอาคารชั้นเดียวหนึ่งหลัง        สิ้นเงินค่าก่อสร้างในราว ๓๐๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สามแสนบาทถ้วน)
 
                                                                        กำแพงวัด

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2476.jpg)

                     นับแต่เราได้มาอยู่ที่วัดหินหมากเป้งตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๐๘    การพัฒนาวัดและการก่อสร้างถาวรวัตถุก็ค่อยเจริญเป็นมาโดยลำดับ    ด้วยแรงศรัทธาของบรรดาศิษยานุศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย    ขณะเดียวกันก็ซื้อที่ดินขยายอาณาเขตของวัดเพิ่มขึ้นอีกด้วย  ในปี พ.ศ.๒๕๒๘ นายสรศักดิ์ สร้อยสนธ์ (นายอำเภอศรีเชียงใหม่ขณะนั้น) ได้ช่วยเป็นธุระติดต่อกับเจ้าหน้าที่ของกรมที่ดิน       เพื่อขอเอกสารสิทธิต่อทางราชการถูกต้องตามกฏหมายจนสำเร็จเรียบร้อยตามประสงค์ ปรากฏตามหลักฐานหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ ก.) เลขที่ ๐๐๐๑ เล่มที่ ๑ ก.หน้าที่ ๐๑ ออกให้เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๘ เนื้อที่ ๒๖๑ ไร่ ๒ งาน ๙๒ ตารางวา  นับว่าเป็นสถานที่แห่งแรกและแห่งเดียวในเขตพื้นที่นี้ที่ได้รับเอกสารสิทธิถูกต้องตามกฏหมาย
                     เราจึงพิจารณาเห็นว่าวัดหินหมากเป้งก็มีการพัฒนาเจริญขึ้นมากแล้ว บ้านเมืองโดยเฉพาะหมู่บ้านใกล้เคียงก็เจริญขยายกว้างขวางขึ้นโดยลำดับ    สมควรที่จะกำหนดเขตแดนของวัดให้เป็นเอกเทศส่วนหนึ่งต่างหากให้ชัดเจน  จึงได้ขอความร่วมมือไปยังสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท (รพช.) จังหวัดหนองคาย   ก็ได้รับความร่วมมือด้วยดีจาก  คุณวรพจน์ ธีระอำพน   หัวหน้าสำนักงานในด้านการออกแบบการปรับปรุงพื้นที่เตรียมการก่อสร้างและทำถนนดินรอบแนวกำแพงหลังจากก่อสร้างเสร็จแล้ว โดยได้ส่งช่างผู้ชำนาญงานมาคอยดูแลช่วยเหลือตลอดจนงานแล้วเสร็จ
                    ทำสัญญาจ้างเหมาทั้งแรงงานและวัสดุอุปกรณ์กับนายกองศรี แก้วหิน เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๒๙ ด้านหน้าจากประตูใหญ่ไปจนสุดเขตแดนทางทิศตะวันตก  ความยาว ๖๕๔ เมตร   ทางทิศตะวันตกทำไปจนจรดริมแม่น้ำโขง ความยาว ๕๓๓ เมตร รวมค่าก่อสร้างทั้งสองด้านเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น ๑,๖๑๓,๓๒๐.๐๐ บาท (หนึ่งล้านหกแสนหนึ่งหมื่นสามพันสามร้อยยี่สิบบาทถ้วน)
                    อนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔   ได้สร้างกำแพงคอนกรีตเสริมเหล็ก ด้านหน้าวัดจากซุ้มประตู ไปจนจรดแม่น้ำโขงทางด้านทิศใต้ ความยาวประมาณ ๖๕๐ เมตร สิ้นทุนทรัพย์อีก ๑,๐๙๐,๐๐๐.๐๐ บาท (หนึ่งล้านเก้าหมื่นบาทถ้วน)



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:13:41
                                                      ถวายพระราชกุศล

                       หลังจากการก่อสร้างศาลาการเปรียญ  หอสมุด  หอระฆัง  หอกลอง    และกำแพงวัดเสร็จเรียบร้อยตามประสงค์     เราเห็นว่าถาวรวัตถุเหล่านี้เกิดขึ้นได้ด้วยแรงศรัทธาของญาติโยมทั้งหมดเมื่อการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย  ก็จำเป็นที่ควรจะมีการฉลองเพื่อประกาศให้ท่านผู้มีส่วนช่วยเหลือในการนั้นๆ ได้ทราบถึงความสำเร็จ และได้ร่วมอนุโมทนากุศลบุญโดยพร้อมเพียงกันประกอบกับในปี พ.ศ. ๒๕๓๐    ซึ่งชาวไทยทั้งหลายถือว่าเป็นโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ   ของปวงชนชาวไทยทั้งหลายทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ  ๕ รอบ จึงได้กำหนดการฉลองถาวรวัตถุเหล่านั้นในวันที่  ๒๕- ๒๖  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๓๐      ซึ่งเป็นวาระที่เรามีอายุครบ ๘๕  ปีบริบูรณ์และได้ทำพิธีถวายพระราชกุศลแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  พร้อมกันทีเดียว   ในการนี้มีพระเทพวราลังการ (ศรีจันทร์ วัณณาโภ)  รองเจ้าคณะภาค ๑๑ (ธ) วัดศรีสุธาวาส  จังหวัดเลย    เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยพระธรรมไตรโลกาจารย์ (รักษ์ มีวรรณดิษฐ์)   เจ้าคณะภาค ๙ (ธ) วัดศรีเมือง   จังหวัดหนองคาย พระเทพเมธาจารย์ รองเจ้าคณะภาค ๘ (ธ) โพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี พระภาวนาพิศาลเถระ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา และพระเถรานุเถระทั้งหลายฝ่ายฆารวาสมี พล.อ.อ.หะริน หงสกุล เป็นประธานในพิธีนำถวายถาวรวัตถุเหล่านั้น     และนำถวายพระราชกุศล    ได้รับความกรุณาจากสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก  (เจริญ สุวัฑฒโน) วัดบวรนิเวศ   กรุงเทพฯ   ซึ่งขณะนั้นดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร ทรงแต่งคำถวาย
                      นอกจากการก่อสร้างเป็นการตอบแทนบุญคุณของพระพุทธศาสนา    สำหรับในวัดหินหมากเป้งที่เราได้อาศัยร่มเงาอยู่มาเป็นเวลากว่ายี่สิบปีดังกล่าวแล้ว  ทรัพย์ที่ญาติโยมมีศรัทธาบริจาค  ปวารณาถวายเป็นการส่วนตัวแก่เราก็ยังมีเหลือพออยู่อีกเฉลี่ยให้แก่วัดอื่นๆ ได้เราก็เฉลี่ยไป เพื่อก่อสร้างถาวรวัตถุให้เป็นการทนุบำรุงพระพุทธศาสนาพร้อมกันนั้นมีญาติโยมมารายงานถึงความจำเป็นที่ควรต้องช่วยด้านสาธารณประโยชน์ต่างๆ    อันมีกิจการโรงเรียนหรือโรงพยาบาล  เป็นอาทิ  เราก็ช่วยเหลือเจือจานไปตามกำลังความสามารถ  เพื่อประโยชน์แก่สถานที่นั้น และเพื่อประโยชน์ของผู้บริจาคเงินปวารณาถวายทานแก่เราแต่เบื้องต้นด้วย
                      การก่อสร้างทั้งหมดโดยสรุปใจความมานี้   ย่อมเป็นการยุ่งยากแก่ผู้กระทำอย่างยิ่ง  โดยส่วนมากผู้ที่จะทำไม่ค่อยสำเร็จก็เพราะขาดทุนทรัพย์และศรัทธา โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาดคุณธรรมประจำตัว เมื่อทำเสร็จก็ดีอกดีใจ     เมื่อทำไม่สำเร็จก็ตีอกชกหัววุ่นวายไปหมด   แต่สำหรับเราที่กระทำมาทั้งหมดนั้นไม่รู้สึกอะไรเลย สำเร็จก็ช่าง ไม่สำเร็จก็ช่าง ใจมันเฉยๆ อยู่
                      การกระทำสิ่งใดๆ  เราถือว่าเป็นสักแต่ว่าทำเพื่อกิจพระศาสนา  ปัจจัยที่ทำก็ไม่ใช่ทุนทรัพย์ของตน   เป็นของศรัทธาญาติโยมชาวบ้านทั้งหมด   เมื่อทำสำเร็จไปได้ก็เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา   และเป็นบุญกุศลแก่ญาติโยมทั้งหลาย   การจะทำอะไรก็ไม่ต้องบอกบุญเรี่ยไร   การบอกบุญเรี่ยไรเป็นการจู้จี้ทำให้เขารำคาญเบื่อหน่าย
                      การที่เราได้กระทำไปจนสำเร็จทุกรายการนั้น     ก็ด้วยทุนทรัพย์ที่ญาติโยมจากจตุรทิศทั้งสี่     จากต่างประเทศก็มีได้มาปวารณาถวายไว้    ในส่วนที่ปวารณาถวายเป็นกฐิน  ผ้าป่า สังฆทาน ค่าภัตตาหาร ค่าไฟฟ้า น้ำประปานั้น ได้รวบรวมไว้เป็นทุนทรัพย์ของทางวัดโดยเฉพาะ  ใช้เฉพาะในกิจการของวัดหินหมากเป้งเท่านั้น ในส่วนที่ปวารณาถวายเป็นการส่วนตัวแล้วแต่เราจะใช้ในกิจการใดตามอัธยาศัย   ตั้งแต่หนึ่งบาท สิบบาท ร้อยบาท พันบาท   หมื่นบาท   แสนบาท   ตามกำลังทรัพย์และศรัทธานั้น       เมื่อเห็นว่ามีจำนวนมากพอสมควรที่จะสร้างถาวรวัตถุเพื่อสาธารณประโยชน์  จึงได้นำไปใช้ในกิจการที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนทุนทรัพย์ก็ไม่เห็นขาดตกบกพร่อง  ศรัทธาความเชื่อมั่นในกิจการงานของตนก็ตั้งมั่นดิบดี ส่วนคุณธรรมของตัวเองก็ไม่เสื่อมถอย  กระทำมาโดยเรียบร้อย  สาธุ สาธุ สาธุ   เรื่องเหล่านี้เป็นเพราะบุญกุศลที่เราได้เคยกระทำมา   จึงสำเร็จเรียบร้อยด้วยดีโดยประการทั้งปวง  ดังกล่าวแล้ว
                    เราเองหาเงินไม่เป็นเลยแม้แต่สตางค์เดียว       ญาติโยมจากจตุรทิศทั้งสี่มามอบถวายทำบุญไว้     เราเลยกลายเป็น  "พระคลังสมบัติ"  ของพุทธบริษัท ที่มาบริจาคทำบุญในพระพุทธศาสนาไปเลยทีเดียว
                     "พระคลังสมบัติ" ของพุทธศาสนิกชนที่บริจาคปัจจัยทำบุญถวายไว้ในพระพุทธศาสนานี้ เป็นการยากมากแก่ผู้บริหาร  เพราะลูกค้า (ผู้ถวาย)  ไม่มีสมุดบัญชีบันทึกไว้  เป็นแต่พระคลังสมบัติมีไว้ฝ่ายเดียว เหตุนั้นจึงเป็นการยากที่จะบริหาร แต่การบริหารก็ได้เป็นไปแล้วด้วยความเรียบร้อย กล่าวคือเมื่อมีเงินทุนมากพอสมควรที่จะสร้างสิ่งใดได้  จะเป็นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ  อาคารเรียน หรือสิ่งใดก็ดี  ก็จะถอนทั้งเงินทุนและดอกเบี้ยมาใช่จ่ายให้จนหมดเกลี้ยง  ไม่เหลือหลอแม้แต่สตางค์เดียว   ผู้จะเป็นนายพระคลังสมบัติบริหารทุนทรัพย์ของพุทธศาสนิกชนที่มาทำบุญนี้  ถ้าหากไม่เชื่อฝีมืออันขาวบริสุทธิ์ของตนเองถึง ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์แล้วอย่าพึงทำเลย  ขืนทำไปก็เสื่อมเสียพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพของตน และตนเองก็เสื่อมเสียด้วย ดังมีตัวอย่างให้เห็นได้ในที่ทั่วไป ตัว  "ง"   ตัวนี้ร้ายกาจมากทำให้คนเสียมานับไม่ถ้วนแล้ว   แต่ผู้บริหารพระคลังสมบัตินี้ขอยืนยันว่า   เรื่องเหล่านี้บริสุทธิ์สะอาดเต็มที่ ผู้มีคุณธรรมหิริโอตตัปปะอยู่ในตัว  อย่ากลัวเลยว่าจะเป็นเช่นนั้น
                    การทำสิ่งใดเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน  ย่อมก่อให้เกิดผลเสียหาย การสร้างสิ่งต่างๆ เพื่อพระพุทธศาสนาและศาสนิกชนทั่วไป  ถ้าหวังจะได้อย่างเดียวย่อมเป็นการเสียหายมาก  ถ้าหากมุ่งประโยชน์เพื่อพระพุทธศาสนาและสาธารณกุศล ไม่ใช่ของใครทั้งหมด จะเป็นผลดีมาก  โดยเฉพาะ "พระ" เมื่อก่อสร้างสิ่งต่างๆ แล้วสิ่งเหล่านั้นย่อมพาไป    ส่วนตนเองทอดทิ้งกิจในพระพุทธศาสนาและพระธรรมวินัยหมด     ไปสร้างสิ่งต่างๆ ภายนอก  แต่ตนไม่สร้างตนเอง  ย่อมเป็นการเสื่อมเสียอย่างยิ่ง

                    จากสภาพของป่าดงทึบที่เราได้เคยเห็นครั้งแรกเมื่อประมาณกว่า ๖๐ ปีก่อนหน้านี้   เราได้มาอยู่ตั้งแต่ปี ๒๕๐๗ และพัฒนาสถานที่นี้  จนถึงบัดนี้กาลเวลาได้ล่วงเลยมายี่สิบกว่าปีแล้ว  การพัฒนาวัดที่ค่อยเจริญมาโดยลำดับ ตั้งแต่ต้นจนสำเร็จบริบูรณ์เป็นวัดที่ถาวรดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้แล้วนั้นที่สำคัญที่สุดก็คือ เกิดจากศรัทธาของญาติโยมทั้งหลาย บรรดาศิษยานุศิษย์ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ต่างก็ร่วมแรงร่วมใจกันทั้งกำลังกาย   กำลังทรัพย์   ตามความสามารถของแต่ละท่านแต่ละคนเกินกว่าที่จะกล่าวนามท่านทั้งหลายได้ทั้งหมด  ผลงานจึงปรากฏอยู่จนบัดนี้  เมื่อคราวที่สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาปริณายก (วาสน์ วาสโน) เสด็จมาเป็นประธานในพิธีฉลองมณฑป   ทรงพอพระทัยมาก    โปรดให้ยกขึ้นเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง   พร้อมทั้งประทานประกาศนียบัตรและพัดพัฒนาให้เป็นที่ระลึก   เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม ๒๕๒๕    นับว่าเป็นเกียรติประวัติที่สำคัญของวัดหินหมากเป้ง  อีกอย่างหนึ่ง
                    เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า    วัดหินหมากเป้งแห่งนี้จะเป็นศาสนาสถานสำหรับบำเพ็ญสมณกิจ    เพื่อความเจริญรุ่งเรืองแห่งพระพุทธศาสนาสืบต่อไปนานเท่านาน  จึงขออนุโมทนาให้ท่านทั้งหลายทั้งมวล  ที่มีส่วนช่วยในการทำนุบำรุงวัดหินหมากเป้งแห่งนี้    จงประสบแต่ความสุขความเจริญ    งอกงามไพบูลย์และมั่นคงในบวรพุทธศาสนาตลอดไปชั่วกาลนาน
                    การทำประโยชน์ให้แก่คนอื่น   อันจะเป็นประโยชน์ได้ที่แท้จริงนั้น  จะต้องทำประโยชน์ของตนให้ได้เสียก่อน  แล้วนำประโยชน์นั้นๆ ออกแจกให้แก่คนอื่น  หากคนอื่นเขาไม่รับของเราเราก็ไม่เสียหายไปไหน อันนี้เป็นกรณียกิจที่แท้จริงของเรา นับแต่เราได้บวชมาในพุทธศาสนา ได้กระทำมามิได้ขาดตลอดเวลา
                    ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา    วันที่ ๕  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๓    ได้ทรงพระมหากรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ให้เราเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่  พระราชนิโรธรังสีคัมภีร ปัญญาวิศิษฏ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม อรัณยวาสี
                    สำหรับการได้รับสมณศักดิ์ของพระกัมมัฏฐาน            โดยเฉพาะคณะลูกศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ นี้  เรายังคงยืนยันความรู้สึกส่วนตัวดังที่เคยกล่าวไว้แล้วในช่วงประวัติของเรา  ตอนที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเมื่อปี ๒๕๐๐ นั้น
                    แต่นั่นแหละ ท่านผู้ใหญ่ได้อธิบายว่า การสถาปนาเลื่อนและตั้งสมณศักดิ์นี้  เป็นพระราชาประเพณีอันมีมาแต่โบราณกาลเป็นส่วนพระราชทานสังคหธรรมของพระมหากษัตริย์ไทย     องค์เอกอัครศาสนูปถัมภก    ทรงยกย่องพระมหาเถรานุเถระผู้รับธุระพระพุทธศาสนา    เป็นภาระสั่งสอนช่วยระงับอธิกรณ์และอนุเคราะห์พระภิกษุสามเณร   ให้ดำรงอยู่ในสมณฐานันดรโดยสมควร   และเมื่อได้บำเพ็ญคุณความดีเพิ่มขึ้นก็จะพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ถวายต่างเครื่องราชสักการะเป็นการประกาศเกียรติคุณ
                    เราพระป่า ก็ได้แต่ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณขอถวายอนุโมทนา  และถวายพระพร

                                                                       บทสรุป

                    นับแต่อุปสมบทมาจนบัดนี้   มีพรรษา  ๗๑ แล้ว   เราได้บำเพ็ญแต่กรณียกิจสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตนและเพื่อคนอื่นตลอดมา โดยได้เริ่มตั้งต้นแต่ประโยชน์ตน  แล้วก็ต่อไปเพื่อประโยชน์คนอื่น      กล่าวคือ   ได้ออกเที่ยวธุดงค์ตั้งแต่ได้อุปสมบทพรรษาแรกได้ติดตามครูบาอาจารย์ประกอบกิจวัตร   และตั้งใจฝึกหัดตามคำสอนของท่านโดยลำดับ ไม่มีกิจธุระอย่างอื่นที่ต้องทำจึงได้มีโอกาสบำเพ็ญเพียรภาวนาดีมาก พอพรรษาต่อๆ มา  ได้แยกตัวออกไป ต้องรับภาระมาก มีหมู่เพื่อนคอยติดตามอยู่เสมอ   และจะต้องเป็นภาระในการอบรมสั่งสอนญาติโยมเป็นประจำ  เพราะสมัยนั้นพระกัมมัฏฐานมีจำนวนน้อย พอเห็นรูปใดมีลูกศิษย์ติดตามมากหน่อยเขาก็ถือว่าเป็นอาจารย์ แล้วก็แห่กันไปหารูปนั้น ถึงอย่างนั้นก็ดี เรามิได้ท้อแท้ใจในการทำความเพียร ดูเหมือนเป็นเครื่องเตือนสติของเราให้ทำความเพียรกล้าแข็งขึ้นไปเสียอีก ตกลงประโยชน์ของเราก็ได้  คนอื่นก็ไม่เสีย

                                                                      บุญคุณของบิดามารดา

                     คนเราเกิดมาได้ชื่อว่าเป็นบุญคุณของกันและกัน บุตรธิดาเป็นหนี้บุญคุณของบิดามารดา บิดามารดาเป็นหนี้ใหม่ของบุตรธิดา  ต่างก็คิดถึงหนี้ของกันและกันโดยที่ใครๆ มิได้ทวงหนี้   แต่หากคิดถึงหนี้เอาเอง แล้วก็ใช้หนี้ด้วยตนเองตามความสำนึกของตนๆ บางคนก็น้อยบ้างมากบ้าง  เพราะหนี้ชนิดนี้เป็นหนี้ที่ตนหลงมา ทำให้เกิดขึ้นเอง ไม่มีใครบังคับและค้ำประกัน  บางคนคิดถึงหนี้สิ้นที่ตนมีแก่บิดามารดามากมายเหลือที่จะคณานับ แต่เกิดจนตาย บิดามารดาถนอมเลี้ยงลูกด้วยความเอ็นดูทุกอย่าง เป็นต้นว่า  นั่ง นอน ยืน เดิน พูดจา   ต้องอาศัยบิดามารดาสั่งสอนทุกอย่าง   เวลาเกิดโทสะฟาดตีด้วยไม้หรือฝ่ามือก็ยังมีความระลึกตัวอยู่ว่านี่ลูกนะๆ บางทีตีไม่ลงก็ยังมี  มันเป็นสัญชาตญาณของสัตว์ผู้เกิดมา  บิดามารดาย่อมมีความรักบุตร  แม้แต่สัตว์ดิรัจฉานก็ยังมีความรักลูกโดยไม่ทราบความรักนั้นว่ารักเพื่ออะไร  และหวังประโยชน์อะไรจะช่วยเหลืออะไรแก่ตนบ้าง  ลูกๆ ก็ทำนองเดียวกันนี้  แต่สัตว์มันยังรู้หายเป็น  รักกันชั่วประเดี๋ยวประด๋าว รักกันแต่ยังเล็กๆ  เมื่อเติบโตแล้วก็ลืมกันหมด  มนุษย์นี้รักกันไม่รู้จักหายถึงตายแล้วก็ยังรักกันอยู่อีก ตายแล้วมันคืนมาได้อย่างไร มนุษย์คนใดไม่รู้จักบุญคุณบิดามารดา แลไม่สนองตอบแทนบุญคุณของท่าน มนุษย์ผู้นั้นได้ชื่อว่าเลวร้ายกว่าสัตว์เดรัจฉานไปเสียอีก
                     เราบวชแต่ยังเล็กมิได้หาเลี้ยงบิดามารดาเหมือนกับคนธรรมดา        แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านด้วยเพศสมณะ  ตอนนี้เราคุยโม้อวดโตได้เลยว่า   เราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย  ได้บวชแต่เล็ก  มิได้เลี้ยงบิดามารดาเหมือนคนธรรมดาสามัญทั่วไป  แต่หล่อเลี้ยงน้ำใจของท่านทั้งสองด้วยทัศนะสมณเพศอันเป็นที่ชอบใจของท่านเป็นอย่างยิ่ง    ระลึกอยู่ถึงเสมอว่า   ลูกของเราได้บวชแล้วๆ    ถึงอยู่ใกล้หรือไกลตั้งพันกิโลเมตรก็มีความดีใจอยู่อย่างนั้นแล้วก็สมประสงค์อีกด้วย ตอนท่านทั้งสองแก่เฒ่าลง  เราก็ได้กลับมาสอนท่านให้เพิ่มศรัทธาบารมีขึ้นอีกจนบวชเป็นชีปะขาวทั้งสองคน  (แท้จริงท่านก็มีศรัทธาอยู่แล้ว เรามาสอนเพิ่มเติมเข้ากระทั่งมีศรัทธาแก่กล้าจนได้บวชเป็นชีปะขาว)          และภาวนาเกิดความอัศจรรย์หลายอย่าง ทำให้ศรัทธามั่นคงขึ้นไปอีก เราสอนไปในทางสุคติ  ท่านทั้งสองก็ตั้งใจฟังโดยดี เหมือนอาจารย์กับศิษย์จริงๆ  เต็มใจรับโอวาททุกอย่าง  ท่านไม่ถือว่าลูกสอนพ่อแม่  บิดาบวชเป็นชีปะขาวได้ ๑๑ ปี ถึงแก่กรรมเมื่ออายุ ๗๗ ปี มารดาบวชเป็นชีอยู่ได้ ๑๗ ปี จึงถึงแก่กรรม อายุได้ ๘๒ ปี มารดาเสียทีหลังบิดา ตอนจะตายเราก็ได้แนะนำสั่งสอนจนสุดความสามารถ เราได้ชื่อว่าได้ใช้หนี้บุญคุณของบิดามารดาสำเร็จแล้ว  หนี้อื่นนอกจากนี้ไม่มีอีกแล้ว  ท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว  เราก็ได้ทำฌาปนกิจศพให้สมเกียรติท่านและตามวิสัยของเราผู้เป็นสมณะอีกด้วย
                     ดีเหมือนกันที่เราบวชอยู่ในพุทธศาสนา  และอยู่ได้นานมาถึงปานนี้   ได้เห็นความเปลี่ยนของสังขารร่างกายพร้อมทั้งโลกภายนอกด้วย ได้เห็นอะไรหลายอย่างทั้งดีและชั่ว เพิ่มปัญญาความรู้ของเราขึ้นมาอีกแยะ   นับว่าไม่เสียทีที่เกิดมาร่วมโลกกะเขา  คิดว่าเราเป็นหนี้บุญคุณของโลก  เราเอา ดิน น้ำ ไฟ ลม  ของเขามาปั้นเป็นรูปเป็นกาย   แล้วเราจึงได้มาครองอยู่มาบริโภคใช้สอยของที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งนั้น ของเราแท้ๆ ไม่มีอะไรเลย  ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกนี้ทั้งนั้น   ของเราแท้ๆ ไม่มีอะไรเลย  ตายแล้วก็สละปล่อยทิ้งไว้ในโลกทั้งนั้น  บางคนไม่คิดถึงเรื่องเหล่านี้จึงหลงเข้าไปยึดถือเอาจนเหนียวแน่นว่าอะไรๆ ก็ของกูๆ ไปหมด  ผัวเมีย ลูกหลาน ข้าวของ  เครื่องใช้ในบ้านของกูทั้งนั้น  แม้ที่สุดของเหล่านั้นที่มันหายสูญไปแล้ว  หรือมันแตกสลายไป  ก็ยังไปยึดว่าของกูอยู่ร่ำไป

                                                    กิจที่ไม่ควรกระทำ และกรรมที่ไม่ควรก่อสร้าง

                     กิจที่ไม่ควรกระทำ   แต่เกิดขึ้นมาแล้วก็จำยอมทำ  เพราะคนผู้เกิดมาได้อัตภาพอันนี้  อันได้นามชื่อว่า สังขาร จะต้องแก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย เป็นธรรมดา ไม่มีใครสักคนเดียวที่อยากให้เป็นเช่นนั้น จะแก่หง่อมเฒ่าชราจนกระทั่งไปไหนไม่ได้แล้วก็ตามก็ยังไม่อยากตาย  อยากอยู่เห็นหน้าลูกหลานต่อไป   เมื่อตายลงคนที่อยู่ข้างหลังแม้แต่ลูกหลานก็ไม่ยอมเก็บศพไว้ที่บ้าน อย่างนานก็ไม่เกิน ๑๕ วัน   โดยส่วนมากแล้วจะต้องเอาไปเผาทิ้งนั่นได้ชื่อว่า กิจไม่ควรทำ เพราะคนที่เราเคารพนับถือแท้ๆ แต่เอาไปเผาทิ้ง จึงเป็นสิ่งไม่สมควรอย่างยิ่ง แต่ก็จำเป็นต้องกระทำ  และไม่มีใครจะเอาผีไว้ในบ้านให้เฝ้าเรือน
                     กรรมที่ไม่ควรก่อสร้างนั้น  เมื่อตายแล้วจะเป็นใครก็ตามเป็นบิดา มารดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง  หรือญาติคนอื่นๆ เช่น  ครูบาอาจารย์ที่เคารพนับถือ  อย่างไรก็ตาม  เมื่อตายแล้วจะต้องมีการทำฌาปนกิจศพ   การทำศพนี้จะต้องใช้คนและสิ่งของมากไม่เหมือนเมื่อเกิดนั้นมีสองคนตายายเท่านั้นก็สำเร็จได้   นี่จะต้องเลี้ยงแขก เลี้ยงคน เลี้ยงพระ เลี้ยงสงฆ์ หรือหาของมาถวายพระอีกด้วย  นับว่าเป็นภาระแก่ผู้ยังอยู่ ที่มีฐานะค่อนข้างฝืดเคืองมิใช่น้อย เมื่อไม่มีก็ต้องไปยืมพี่ยืมน้องเป็นหนี้สินสืบไป  การเป็นหนี้เช่นนี้ไม่มีรายได้อะไรเลยมีแต่จะขาดทุน เว้นแต่ผู้ใจบุญจริงๆ เอาบุญนี้มาเป็นกำไร แต่ถึงอย่างไรก็ได้ชื่อว่าเป็นของไม่ควรกระทำ  แต่เมื่อมันเกิดขึ้นมาเฉพาะหน้าของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จำเป็นต้องทำ

                                                                       การเกิด - การตาย

                      การเกิด การตาย  สำหรับสัตว์โลกถือไม่เหมือนกัน  โดยการเกิดจะต้องลำดับในบิดามารดาเดียวกัน ใครเกิดก่อนก็เรียกว่าพี่ เกิดทีหลังก็เรียกว่าน้อง  แต่การตายไม่อย่างนั้น ใครจะตายก่อนตายหลังก็แล้วแต่กรรม บุญกรรมของใครของมัน บางทีน้องตายก่อนพี่ก็มี หรือพี่ตายก่อนน้องก็มี  ตายแล้วก็ไม่จำเป็นต้องไปเกิดเป็นพี่น้องกันอีก   ก็แล้วแต่บุญกรรมจะส่งให้ไปเกิดที่ใดเหมือนกัน   บางคนทำชั่วอาจไปเกิดเป็นเปรตอสุรกาย หรือตกนรกหมกไหม้อยู่ในอเวจีก็มี      บางคนทำดีจิตใจผ่องใสบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกองทุกข์ถึงพระนิพพานก็มีเอาแน่ไม่ได้
                      ดังโยมบิดามารดาของเราผู้ถึงแก่กรรมไปแล้ว    ท่านทั้งสองนั้นเราคิดว่าไม่ได้เป็นหนี้บุญคุณของท่านอีกแล้ว  ใช้หนี้กันหมดเสียที  เพราะเราเป็นลูกผู้ชายคนสุดท้ายของท่าน ได้ทำกิจอันสมควรแก่สมณะให้แก่ท่านทั้งสองทุกอย่าง  ไม่มีการบกพร่องแต่ประการใด  ถึงแม้ท่านทั้งสองก็คงคิดเช่นนั้นเหมือนกัน คงไม่คิดจะทวงเอาหนี้สินจากเราอีกแล้ว เพราะสมเจตนาของท่านแล้วทุกประการ
                      อาจารย์คำดี   พี่ชายคนหัวปีนั้นรักเรายิ่งกว่าลูกสุดสวาท    น่าเสียดายมาถึงแก่กรรมเมื่อเราไม่อยู่ไปจำพรรษาที่จังหวัดจันทบุรี ไม่ได้ทำศพสนองบุญคุณให้สมกับความรักของท่าน  นอกจากนั้นพี่ๆ ทุกคนเมื่อยังมีชีวิตอยู่เราก็ได้อบรมสั่งสอนให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตามสมควรแก่นิสัยวาสนาของตนๆ เมื่อตายก็ได้เป็นที่พึ่งทางใจอย่างดี  ไม่เสียทีที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้วได้ปฏิบัติตามสติกำลังของตน
                      นางอาน ปราบพล   พี่สาวคนที่สอง ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ อายุได้ ๘๘ ปี
                      นางแนน เชียงทอง   พี่สาวคนที่สาม ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ อายุได้ ๙๐ ปี
                      นายเปลี่ยน   พี่ชายคนที่สี่ ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ อายุได้ ๘๐ ปี
                      นางนวล กล้าแข็ง  พี่สาวคนที่ห้า ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖ อายุได้ ๗๙ ปี
                      พระเกต   พี่ชายคนที่หก ถึงแก่กรรมเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๙ อายุได้ ๔๘ ปี พรรษา ๑๔
                      นางธูป ดีมั่น   น้องสาวคนสุดท้อง ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ อายุได้ ๘๖ ปี
                      พี่น้องทั้งหมด         เราได้ทำฌาปนกิจศพให้สมบูรณ์บริบูรณ์ทุกอย่าง        สมเจตนารมณ์ของผู้ตายแล้วทุกประการ เฉพาะนางธูป น้องสาวคนสุดท้องนี้  ในช่วงบั้นปลายชีวิตเธอได้มาถือศีลบวชชีอยู่รับการอบรมกับเราที่วัดหินหมากเป้งหลายปี  การปฏิบัติภาวนาของเธอคงจะได้ผล  มีที่พึ่งทางใจอย่างดีโดยไม่เป็นที่น่าสงสัย   เมื่อป่วยหนักบุตรได้มารับตัวไปรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลจังหวัดสกลนคร  เล่าว่าเธอมีสติดี   รู้สึกตัวตลอดเวลาจนวาระสุดท้าย บอกลูกหลานผู้พยาบาลได้ทุกระยะว่ารู้สึกอย่างไรว่า รู้สึกเริ่มเย็นมาแต่ปลายเท้า มาถึงหน้าแข้ง มาถึงเข่า มาถึงหน้าอก เธอเพ่งดูจิตที่หน้าอกอย่างมีสติ ลมหายใจแผ่วลง แผ่วลง และจนสงบไปในที่สุด
                      บัดนี้ยังเหลือแต่เราเป็นที่พึ่งของเราเท่านั้นแหละ    ญาติพี่น้องและครูบาอาจารย์ไม่มีใครเป็นที่พึ่งแก่ตัวเองแล้ว  เราจะพยายามทำความดีจนกว่าชีวิตจะหาไม่  เพราะคนเราตายแล้วความดีและความชั่วไม่มีใครทำให้
                       อัตตโนประวัติแต่เริ่มมา  จนอายุครบเก้าสิบสองปี ก็เห็นจะจบลงเพียงแค่นี้


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:14:04
                                                         ประวัติวัดเจริญสมณกิจ

                                            (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๐๖)

          วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาล) ตั้งเมือ่ พ.ศ.๒๔๙๔ ในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ต ตำบลตลาดใหญ่ อ.เมือง จังหวัดภูเก็ต ตามโฉนดหมายเลขที่ ๖๓๑๐ เล่มที่ ๖๔ หน้า ๑๐ และลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๐๔ คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๒ ไร่ ๓ งาน ๔ วา (๕๑๔๐ ตารางวา)

                                                                        อาณาเขต

                             ทิศตะวันออก                      จดที่ดินเลขที่ ๘ และถนนโทรคมนาคมขึ้นเขาโต๊ะแซะ
                             ทิศตะวันตก                       จดที่ดินเลขที่ ๒๕-๒๕ คูน้ำสาธารณประโยชน์
                             ทิศเหนือ                          จดที่ดินเลขที่ ๘ คูน้ำสาธารณประโยชน์และเขาโต๊ะแซะ
                             ทิศใต้                             จดที่ดินเลขที่ ๘ และศาลจังหวัดภูเก็ต

                                                 มูลเหตุแห่งการสร้างวัด
    
           เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๒  พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี [ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐)เป็นพระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ และเป็นหัวหน้าวิปัสสนาธุระฝ่ายอรัญญวาสี] ท่านได้ธุดงค์หรือรุกขมูลมาจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งประเทศไทย  ผ่านกรุงเทพฯและเลยลงไปถึงจังหวัดสงขลา  ได้แวะพักวิเวกอยู่ในวัดป่าแห่งหนึ่ง ซึ่งขึ้นอยู่ในเขตท้องถิ่นอำเภอหาดใหญ่
           ขณะนั้น พุทธบริษัทชาวภูเก็ต-พังงา ได้ทราบกิตติศัพท์ด้านปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานของพระอาจารย์เทศก์ ก็เกิดความเลื่อมใส ฉะนั้นชาวภูเก็ตโดยมี คุณหลวงอนุภาษภูเก็ตการ และคุณนายหลุยวุ้นภรรยา เป็นต้น และชาวพังงามีนายสุนทโร ณ ระนอง เป็นต้น จึงได้ส่งพระมหาปิ่น ชลิโต [ ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐)เป็นพระครูวิโรจน์ธรรมาจารย์] เป็นตัวแทนไปนิมนต์ท่านอาจารย์เทศก์  พร้อมด้วยพระสหธรรมมาพักจำพรรษาที่ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา ก่อน ๑ พรรษา (ปี พ.ศ.๒๔๙๓)
          รุ่งขึ้นอีกปี คือ พ.ศ.๒๔๙๔ ตรงกับวันตรุษจีนพอดี คุณนายหลุยวุ้น หงษ์หยก จึงได้ไปรับท่านมาที่ภูเก็ต ทีแรกไม่มีสำนักปฏิบัติธรรม  ท่านจึงได้พักอยู่ที่ค่ายฝรั่งหน้าสนามไชย [ ปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๑๐) เป็นบ้านพักปลัดเทศบาลภูเก็ต ] ต่อมาเห็นว่าที่ดินระหว่างศาลกับเขาโต๊ะแซะเป็นที่เหมาะสมในการเจริญสมณธรรม คณะพุทธบริษัทผู้มีความเลื่อมใสในท่านได้สละทรัพย์รวมทุนกัน  ขอแบ่งซื้อที่ดินจากนาย บวร กุลวนิช ถึง ๒ ครั้ง ครั้งแรกซื้อเพียง ๔ ไร่ๆละ ๑,๐๐๐ บาท แต่เจ้าของที่ดินยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ให้  ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๓ ซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก ๔ ไร่ๆละ ๕,๐๐๐ บาท รวมเป็นเงินซื้อที่ดิน ๒๔,๐๐๐ บาท นอกจากนั้นเจ้าของที่ได้ยกเศษที่ดินส่วนที่ติดกับเชิงเขาโตะแซะถวาย ๔ ไร่ ๓ งาน ๔วา จึงรวมเนื้อที่ตั้งวัดทั้งหมดเท่าจำนวนที่กล่าวข้างแล้วต้น (๑๒ ไร่ ๓ งาน ๔ วา)

                                                  วิวัฒนาการ

           ลุถึงปี พ.ศ.๒๕๐๓ เมื่อเจ้าของที่ดินยินยอมโอนโฉนดให้  พระอาจารย์เทศก์จึงขอให้นายบวร กุลวนิช เจ้าของที่ดิน ลงนามขออนุญาตสร้างวัดทันที เพื่อตัดปัญหายุ่งยากในการรับโอนและค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นเงาตามมาทีหลัง
           ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัด                      เมื่อวันอังคารที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๓ ตามใบอนุญาตให้สร้างวัด เลขที่ ๑/๒๕๐๓
           ได้รับอนุญาตเป็นสำนักสงฆ์               เมื่อวันทร์ที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๕ และให้นามว่า วัดเจริญสมณกิจ ตั้งแตนั้นเป็นต้นมา
           หมายเหตุ   เมื่อปี  พ.ศ.๒๕๐๖ ท่านพระอาจารย์เทศก์ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดกลับคืนไปอยู่ทางถิ่นเดิม คือจังหวัดหนองคาย
          ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา             เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ.๒๕๐๘
          ได้ก่อสร้างโรงอุโบสถชั่วคราว              เมื่อวันเสาร์ที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๘
          ได้ทำพิธีปักหลักเขตวิสุงคามสีมา          เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ก่อสร้างอุโบสถ      เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ลงมือวางรากฐานก่อสร้างพระอุโบสถ   เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๙
          ได้ทำพิธีมุงกระเบื้องหลังคาอุโบสถ        เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๑๐
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว               ทรงเจิมและทรงปิดทองช่อฟ้า เมื่อวันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๑๐                                                                                                      ประชาชนได้จัดการยกช่อฟ้า เวลา ๑๗.๐๕ น.ในวันนั้นด้วย
          ได้ผูกพัทธสีมา                            วันอังคารที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๑ สมเด็จพระสังฆราช(อุฏฐายิมหาเถร)ทรงเป็นองค์                                                                                          ประธานฝ่ายสงฆ์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นองค์ประมุขในงาน

                                                   ฐานะของวัด

          ปัจจุบันนี้(พ.ศ.๒๕๑๐) วัดเจริญสมณกิจ เป็นวัดราษฎร์ รุ่นใหม่ ตั้งมาได้ประมาณ ๑๖ ปี  มีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาติดต่อกันมามิได้ขาด  และไม่น้อยกว่าปีละ ๑๖ รูป  ภิกษุสามเณรวัดนี้ใช้ขนบธรรมเนียม ระเบียบปฏิบัติแบบฝ่ายกรรมฐาน เช่น ฉันอาหารในบาตร และฉันมื้อเดียวเป็นต้น เป็นที่สถิตอยู่ของเจ้าคณะจังหวัด เป็นสำนักงานบริหาร และเป็นสถานที่สอบธรรมประจำปี ของคณะสงฆ์จังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ฝ่ายธรรมยุติ

                                                    การศึกษา
 
          เจ้าอาวาสรูปแรก (ท่านพระอาจารย์เทศก์) แม้ว่าท่านจะเป็นพระฝ่ายอรัญญวาสีก็ตาม  แต่ท่านมีปกติมองเห็นประโยชน์ทั้งด้านปริยัติและด้านปฏิบัติเสมอ  ไม่ว่าท่านจะไปอยู่ ณ ที่ใด ฉะนั้น  ท่านจึงได้จัดให้มีการสอนและสอบปริยัติธรรม  ให้ควบคู่กันไปกับการปฏิบัติ  และได้รับอนุมัติให้เป็นสำนักสอบธรรมสนามหลวงประจำปีของคณะสงฆ์ จังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๗ เป็นต้นมา
          ส่วนบาลีไม่ได้เปิดสอนขึ้นที่วัด  เพราะมีนักศึกษาน้อยไม่พอที่จะตั้งเป็นโรงเรียน  เป็นแต่ส่งผู้ต้องการศึกษาไปเรียนร่วมกับสำนักเรียนวัดวิชิตสังฆาราม ซึ่งตั้งอยู่ในที่ม่ห่างไกลกันมากนัก  รวมนักเรียนทั้งหมดที่สอบได้ไปแล้ว(พ.ศ.๒๕๑๐) ดังนี้
                                                 นักธรรมชั้นตรี                                                 ๑๓๕  รูป
                                                 นักธรรมชั้นโท                                                  ๗๘  รูป
                                                 นักธรรมชั้นเอก                                                  ๓๐  รูป
                                                 เปรียญเอก                                                        ๒  รูป

                                                  เสนาสนะ
 
          เสนาสนะที่ปลูกสร้างขึ้นในสมัยท่านเจ้าอาวาสรูปแรก(ท่านพระอาจารย์เทศก์) มีดังนี้
             ๑.ศาลาการเปรียญถาวร               กว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร                    ๑  หลัง
             ๒.กุฏิเจ้าอาวาส                        กว้าง  ๖  เมตร  ยาว  ๑๒  เมตร                    ๑  หลัง
             ๓.กุฏิพระอันดับ   ส่วนมากอยู่ได้เฉพาะองค์                          รวม                  ๑๑  หลัง
             ๔.หอฉัน                               กว้าง  ๑๑ เมตร  ยาว  ๑๓  เมตร                    ๑  หลัง
             ๕.โรงครัว                              กว้าง  ๑๓ เมตร  ยาว  ๑๓  เมตร                    ๑  หลัง
             นอกจากนั้นยังมี ถังคอนกรีตเก็บน้ำฝน (ตั้งอยู่ด้านหน้าและด้านหลังศาลาการเปรียญ) อีก ๒ ถัง และสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ เช่น  ห้องน้ำ  โรงไฟ  บันได  ลานวัด  เป็นต้น

                                                  เจ้าอาวาส

          วัดนี้  มีเจ้าอาวาสดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญมาแล้ว ๒ องค์ ทั้งองค์ปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๑๐) คือ
             ๑. พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี)  ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี  พ.ศ.๒๔๙๔-๒๕๐๖  รวมเวลา ๑๒ ปี
                  ต่อมาท่านได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสและตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัด  กลับคืนไปอยู่ทางถิ่นเดิม คือ จังหวัดหนองคาย  เพราะสุขภาพของท่านไม่ค่อยเป็นปกติ
                   ทางคณะสงฆ์ได้พิจราณาเห็นว่า
                               ๑. ท่านเป็นพระเถระรูปหนึ่งที่คงแก่การปฏิบัติธรรม
                               ๒. ทรงไว้ซึ่งคุณธรรมที่น่าเลื่อมใส
                               ๓. ได้ทำคุณประโยชน์ไว้ในพระพุทธศาสนาเป็นเอนกประการ
                  จึงได้ยกให้ท่านเป็น  เจ้าคณะจังหวัดกิตติมศักดิ์ ตั้งแต่วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา
            ๒. พระพิศิษฐ์ธรรมภาณ (เปลื้อง  จตตาวิไล) อดีตเจ้าคณะอำเภอเขาไชสน  จังหวัดพัทลุง  ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดเจริญสมณกิจ  และเป็นเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ฝ่ายธรรมยุติ แทนรูปแรก โดยเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๐๙ และในศกเดียวกันนี้ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดไม้ขาว บ้านไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต และได้เป็นประธานที่ปรึกษาในการก่อสร้างอุโบสถอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย
           ด้วยทางการคณะสงฆ์ ได้พิจราณาเห็นว่า  วัดเจริญสมณกิจ เป็นที่ตั้งสำนักงานบริหารหมู่คณะทั้ง ๓ จังหวัด คือ ภูเก็ต พังงา กระบี่  จำต้องเพิ่มภารกิจมากขึ้น ทั้งภายในวัดและภายนอกวัด  ยากที่เจ้าอาวาสรูปเดียวจะปกครองดูแลทั่วถึง  จึงได้อนุมัติแต่งตั้งให้มีรองเจ้าอาวาสอีก ๑ รูป คือ พระครูสังฆพิชัยบุญรักษ์ (ปัจจุบันเป็นพระครูสถิตย์บุญญารักษ์) เลขานุการเจ้าคณะจังหวัดทั้งองค์ก่อน(ท่านพระอาจารย์เทศก์) และองค์ปัจจุบัน (พระอาจารย์เปลื้อง) ตั้งแต่วันที่ ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา                                                                                                                                                                                          รวบรวมโดย
                                                                                                                 พระครูสถิตบุญญารักษ์
                                                                                                                         ๑๖ พ.ค. ๑๐

                                                 ประวัติการก่อสร้างอุโบสถ

                  เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๖ ซึ่งเป็นปีที่ ๑๒  แห่งการริเริ่มบุกเบิกก่อสร้างวัดเจริญสมณกิจ ของท่านเจ้าคุณพระราชนิโรธรังสี (พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี) ข้าพเจ้า(พระครูสถิตบุญญารักษ์) จำได้ว่า วันหนึ่งในระหว่างปี พ.ศ.๒๕๐๖  ท่านเจ้าคุณอาจารย์(พระอาจารย์เทศก์ เทสรังสี) ได้ปรารภกับญาติโยมที่มาในวันพระ ณ ท่ามกลางศาลาการเปรียญ หลังจากที่ท่านแสดงธรรมเสร็จแล้วว่า "การที่อาตมาได้มาอยู่ภูเก็ตก็เป็นเวลาหลายปีแล้ว ยิ่งอยู่นานสุขภาพร่างกายก็ยิ่งทรุดโทรม ไม่ทราบว่าจะอยู่ไปได้นานสักเท่าไร"
                      "ฉะนั้น ก่อนจากไป อาตมาคิดว่าควรจะได้ลงมือก่อสร้างอุโบสถไว้บ้าง  ถึงแม้จะไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร  เราเป็นผู้ริเริ่มไว้ก่อนแล้ว ให้คนอื่นเขามาสร้างต่อก็ยังดี ดีกว่าจะไม่ลงมือเสียเลย"  ท่านเจ้าคุณกล่าว แล้วก็เสริมต่อไปว่า "บัดนี้อาตมาเห็นว่าเป็นกาลอันสมควรที่จะเริ่มลงมือได้แล้ว  หรือว่าญาติโยมจะเห็นสมควรอย่างไร"
                      ปรากฏว่า วันนั้นอุบาสิกาล้วนๆ ประมาณไม่เกิน ๒๐ คน  ต่างก็แสดงความยินดีต่อคำปรารภของท่านอย่างพร้อมเพรียง
                      "ถ้าเช่นนั้น ใครจะมีศรัทธาบริจาคเป็นทุนคนละเท่าไร ขอได้โปรดแสดงความจำนงได้ ณ บัดนี้" ท่านเจ้าคุณปรารภต่อ พร้อมหันมาบอกให้ข้าพเจ้าจดชื่อของผู้แสดงความจำนงไว้ด้วย
                      ซึ่งปรากฏว่าทุกๆท่าน ได้แสดงความจำนงไว้มากบ้าง น้อยบ้าง ตามกำลังศรัทธา  รายที่มากที่สุดจำได้ว่าเป็น คุณนายสุ่น อัญชัญภาติ บริจาคส่วนตัว ๓,๐๐๐ บาท และอุทิศให้ พ.ท.จำลอง ลูกชายจำนวน ๑,๐๐๐ บาท นอกนั้นคนละ ๑,๐๐๐ บาทบ้าง  ๕๐๐ บาทบ้าง และต่ำกว่านั้นก็มีอยู่มากราย  รวมตัวเลขทั้งหมดไม่ถึง ๑๐,๐๐๐ บาท และตามตัวเลขเหล่านี้  บ้างก็นำมามอบให้ก่อน  บ้างก็รอจนกว่าจะลงมือก่อสร้าง จึงจะนำมามอบให้ภายหลัง
                      ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์ เห็นว่าทุนเพียงเล็กน้อยเท่านี้  ยังไม่พอที่จะเริ่มลงมือสำหรับการสร้างโบสถ์ได้เลย  ฉะนั้นท่านจึงให้ข้อคิดเห็นต่อญาติโยมว่า  ควรจะต้องรอไว้ก่อนโดยนำเงินส่วนนี้ไปฝากไว้ที่ มหามกุฏฯ  สมทบกับทุนที่ศิษยานุศิษย์ของท่านซึ่งฝากไว้ก่อนแล้วเพื่อหาดอกผลต่อไป   เป็นอันว่าทุกคนเห็นชอบตามมติของท่านด้วยดี  เรื่องการก่อสร้างโบสถ์เป็นอันต้องยุติโดยปริยาย
                      รุ่งขึ้นอีกปี คือ วันอาทิตย์ที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๐๗  ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์ก็ได้อำลาจากภูเก็ตเป็นปีสุดท้าย
                      และในปีนั้นเอง ท่านได้ไปจำพรรษาอยู่ที่ ถ้ำขาม จังหวัดสกลนคร พร้อมกันนั้นท่านได้ยื่นใบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจริญสมณกิจ และตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดภูเก็ต-พังงา-กระบี่ ธรรมยุติ                      ฉะนั้น ภารกิจทุกอย่างจึงตกอยู่กับข้าพเจ้า (พระครูสังฆพิชัยบุญรักษ์หรือพระครูสถิตบุญญารักษ์)โดยปริยาย  โดยเฉพาะวัดเจริญสมณกิจได้ว่างสมภารลง ๓ ปี คือ พ.ศ.๒๕๐๗-๒๕๐๙
                     แม้ว่า ท่านเจ้าคุณพระอาจารย์จากไปแล้ว แต่พระคุณของท่านยังดำรงมั่นอยู่ในส่วนลึกแห่งหัวใจของข้าพเจ้า ไม่สามารถจะลืมเลือนไปได้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะก็เรื่อง ก่อสร้างอุโบสถที่พระคุณท่านอาจารย์ได้ดำริ และมอบหมายไว้ให้แล้วก่อนแต่ท่านจะจากไป   


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:14:21

                         กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี(ช่วงปี พ.ศ 2521-2525)
อารัมภบท
         การเขียนถึงเรื่องราวของผู้อื่น    แม้ผู้เขียนจะพยายามบรรยายความเป็นอยู่เป็นไปของท่านตามที่ตนได้รู้ได้เห็นมาโดยละเอียด บริบูรณ์ครบถ้วนอย่างที่สุด    แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งในความเป็นอยู่เป็นไปทั้งหมดของเจ้าของเรื่องราว    ส่วนที่มีอยู่เป็นอยู่ในชีวิตจริง ๆ  ของท่านทั้งหมดยังมีอยู่อีกมากมายที่มิได้ปรากฏแก่ผู้เขียน    ดังนั้นจึงไม่อาจกล่าวได้ว่าเรื่องราวที่เขียนเกี่ยวกับท่านผู้อื่นนั้นจะถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์แล้วทุกประการ   
        "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี" ดังที่ปรากฏในที่นี้ก็เป็นอย่างนั้น แม้จะเป็นความเป็นอยู่ประจำวันของท่านในช่วงเวลาสั้น ๆ ช่วงหนึ่ง      และได้พยายามไล่เลียงลำดับความอย่างละเอียดทุกระยะอย่างที่สุดแล้ว  จึงยังเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเป็นอยู่ทั้งหมดของท่านในช่วงเวลานั้นเท่านั้น   เป็นส่วนที่ปรากฏให้ได้รู้ได้เห็นและเท่าที่สามารถกราบเรียนถามเหตุผลจากองค์ท่านแล้ว    ยังมีอยู่อีกมากมายหลายอย่าง หลายเหตุการณ์ ที่รอดเหลือไปจากการรู้การเห็นและรับทราบซึ่งเหตุผลของผู้เขียน  และส่วนนั้น ๆ  ก็ผ่านกาลเวลาไปเสียแล้ว     ไม่อาจจะนำมาเล่าให้ปรากฏแก่ผู้ใดได้
         การที่ได้เขียน "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี" นี้   ก็ด้วยดำริว่า  นับเป็นความโชคดีที่เราผู้เป็นศิษย์  ได้มีโอกาสอบรมและปฏิบัติธรรมอยู่ร่วมกับหลวงปู่ได้พบเห็นความเป็นอยู่  อันเป็นทั้งกิจวัตร  และจริยาวัตรของท่าน   ทั้งได้ร่วมกันกระทำกิจวัตรต่าง ๆ  ถวายต่อท่านด้วยความเคารพ  เทอดทูนอย่างสูง  ต่างก็รู้สึกผูกพันต่อท่านและเหตุการณ์นั้น ๆ อยู่ในจิตใจอย่างลึกซึ้ง     สมควรอย่างยิ่งที่จะได้บันทึกไว้ให้ปรากฏแม้จะเป็นเพียงส่วนน้อยในทั้งหมดแห่งกิจวัตรของท่าน   ก็เป็นวิถีความเป็นอยู่ที่น่าสนใจยิ่ง     เป็นความเป็นอยู่ที่เหมาะสม   เรียบและงามสมกับสมณวิสัย  มีคุณค่าน่านำมาเป็ตัวอย่างแก่ศิษยานุศิษย์ที่ดำเนินเดินตามมาภายหลังในวิถีทางเดียวกันนี้    เกรงว่าเมื่อกาลเวลาผ่านไปนานเข้า  ก็จะสูญหายไปจากความทรงจำของบรรดาศิษย์  อนุศิษย์   แม้กระทั่งผู้ที่เคยอยู่ร่วมและทำกิจต่าง ๆอยู่กับท่าน    ซึ่งหากเป็นดังนั้นก็น่าเสียดายมาก   และด้วยความที่พิจารณาเห็นว่า   จะเกิดประโยชน์ขึ้นมาบ้างแก่ศิษย์รุ่นหลัง ๆ ต่อไป   ผู้ที่ได้รู้จักองค์ท่านจากประวัติ   หรือจากที่อื่น ๆ แล้ว  หากได้มารับรู้กิจวัตรความเป็นอยู่ประจำวันของท่านเพิ่มเติมเข้าไปอีก  อาจจะเกิดความเข้าอกเข้าใจ  และซาบซึ้ง   ศรัทธายิ่งขึ้นในองค์ท่าน ในปฏิปทา ในข้ออรรถ  ข้อธรรม   ที่ท่านแสดงไว้ในที่ต่าง ๆ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความมีกำลังใจ      มีศรัทธาน้อมนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตประจำวันของตน  ตั้งอกตั้งใจศึกษา  และประพฤติปฏิบัติตามธรรม  ตามวินัย      คำสั่งสอนขององค์พระศาสดา ย่อมจะราบรื่น  เจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า   โดยเฉพาะในธรรมปฏิบัติยิ่ง ๆ ขึ้นไป  ไม่ท้อถอย เป็นกำลังอันมั่นคง     จรรโลงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองถาวรสืบไปชั่วกาลนาน
          อนึ่ง   กิจวัตรความเป็นอยู่ของหลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  นั้นย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมแห่งกาลเวลาและภาวะแวดล้อม ในช่วงชีวิตของท่านช่วงอื่น ๆ เมื่อท่านมีอายุมากขึ้น  สภาพวัดวาอารามและสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป    การไปมาหาสู่ของศิษย์ ทั้งพระเณรและญาติโยมเปลี่ยนไป    ท่านต้องปรับเปลี่ยนกิจวัตรประจำวันให้เหมาะสมกับกาลและสถานที่ ตลอดถึงสภาวะแวดล้อมนั้น ๆ  อาจต้องลดกิจกรรมบางอย่างบางประการ   และเพิ่มเติมบางอย่างบางประการ "กิจวัตรประจำวันของหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี" ที่เขียนในที่นี้  จึงเป็นส่วนที่ปรากฏในช่วงที่ท่านอยู่ที่วัดหินหมากเป้งระหว่างปี พ.ศ. 2521-2525เท่านั้น  มิได้หมายความว่า กิจวัตรประจำวันของท่าน  ย่อมเป็นดังนี้ตลอดทุกกาล
         อีกประการหนึ่งในช่วงเวลาที่กล่าวถึงนี้      วัดหินหมากเป้งยังไม่มีสภาพสิ่งก่อสร้างที่สมบูรณ์อย่างในปัจจุบัน   ปัจจัยที่จะอำนวยความสะดวกสบายยังไม่มีเพรียบพร้อม   หลวงปู่ยังพักอยู่ที่กุฏิครึ่งคอนกรีตครึ่งไม้หลังเก่า       ซึ่งคุณธเนศ เอียสกุล ศิษย์เก่าแก่ผู้เคารพ  เลื่อมใส  ศรัทธาได้สร้างถวาย   จะขออธิบายสภาพในวัดหินหมากเป้งในช่วงเวลานั้นสักเล็กน้อย
         กุฏิหลวงปู่
         เป็นอาคารครึ่งคอนกรีตครึ่งไม้  สร้างอยู่บนโขดหิน ริมฝั่งแม่น้ำโขง ส่วนล่างของอาคารเป็นคอนกรีต  ส่วนบนต่อ  ด้วยเสาไม้ และเครื่องไม้ พื้น  ฝาไม้ เป็นอาคารสองชั้นครึ่ง  ชั้นบนสุด  (ชั้นที่ 1) ระดับพื้นสูงกว่าลานหินประมาณ 1 เมตร    เป็นชั้นที่หลวงปู่พักจำวัด  และอยู่ภาวนาในตอนกลางคืน   การสรงน้ำ   การนวดหลวงปู่ กระทั่งหลวงปู่นั่งพักที่ระเบียง   ต้อนรับญาติโยมส่วนน้อยในตอนบ่าย ๆ   พื้นชั้นนี้แบ่งเป็นส่วน ๆดังนี้    ห้องพักของหลวงปู่และบริเวณหน้าห้องพัก  สองส่วนนี้เป็นพื้นไม้ยกสูงขึ้น  นอกนั้นลดระดับลงเป็นระเบียงพื้นคอนกรีต    ส่วนระเบียงด้านตะวันออกเป็นส่วนที่ท่านนั่งพักยาม
เย็น ๆ    ใช้เดินจงกรมไปมาตอนกลางคืน  และนั่งภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียง
         ด้านทิศเหนือ  (ด้านลำน้ำโขง)  ด้านหน้ากุฏิ (ด้านศาลายาว)  เป็นระเบียงยาวเลยมา
         ด้านตะวันตก   เป็นบริเวณกว้าง   ใช้สรงน้ำหลวงปู่   ริมระเบียงด้านหนึ่งเป็นห้องส้วม  ข้าง ๆ ห้องส้วมเป็นประตูเปิดสู่บันไดทอดลงไปสู่ห้องชั้น 2 (ชั้นล่าง)   ที่ชั้นนี้การเดินขึ้น
ลงกุฏิ มีบันไดคอนกรีต 4 ขั้น ทอดลงไปยังแผ่นลานหินกว้างที่ด้านหน้ากุฏิ ศาลายาวสำหรับจงกรมของหลวงปู่  อยู่ถัดลานหินออกไป  มีบันไดก้าวขึ้นบนศาลา 2 ขั้น  (ตัวศาลากว้าง4-5 เมตร  ยาวประมาณ 16 เมตร  พื้นเทคอนกรีต  ขัดมันเรียบ   มีเสาไม้รับหลังคากระเบื้องลอนเล็ก      ด้านข้างบางส่วนและด้านปลายศาลาด้านหนึ่งกั้นด้วยอิฐก่อฉาบปูนส่วนล่าง  ส่วนบนเป็นไม้ไผ่สาน   ทาสีเทา ๆ มอ ๆ ข้างฝาด้านปลายศาลา  ตั้งตู้ไม้ทึบ ขนาดใหญ่  1 ใบ  ใส่หนังสือ และของเล็ก ๆ น้อย ๆ บางอย่างของหลวงปู่ เหนือระดับตู้  ติดนาฬิกาไขลานเรือนขนาดกลางยี่ห้อเก่าแก่  1  หลัง   สมัยนั้นทั้งวัดมีนาฬิกาตีบอก
เวลาก็ที่นี่  และที่เรือนตั้งพื้นตัวใหญ่ที่ศาลาใหญ่เท่านั้น)
         กุฏิชั้นที่ 2   ระดับต่ำลงไปจากชั้นบน   เป็นชั้นที่สงบเงียบ  ปราศจากเสียงรบกวน จะอยู่ลึกลงไปตามฝั่งแม่น้ำโขง  มีบันไดลงไปจากชั้น 1 (ชั้นบน)  14-15 ขั้น มีประตูเปิดเข้าไป  มีระเบียงยื่นออกไปด้านลำโขง     หลวงปู่สามารถออกไปเดินจงกรม และรับอากาศริมโขงได้     หลวงปู่จะอาศัยพักผ่อน    และทำความสงบในช่วงกลางวัน   ต่อมาเมื่อปรับปรุงกุฏิครั้งที่ 2 ได้ขยายห้องชั้นที่ 2 ให้กว้างขวางขึ้น    สามารถลงบันได4-5 ขั้น จากลานหินภายนอก เข้าประตูสู่ห้องชั้น 2 ได้โดยตรง     และหลวงปู่พักอยู่ในชั้นนี้ในช่วงกลางวัน   รับแขกช่วงกลางวัน   และแม้แต่สรงน้ำก็เปลี่ยนมาสรงที่ในห้องน้ำชั้นนี้  กิจกรรมช่วยสรงน้ำหลวงปู่จึงเปลี่ยนไปบ้าง     ไม่มีการช่วยถูสบู่และส่งสบู่ให้ท่าน มีแต่เพียงเตรียมน้ำอุ่นไว้  คอยส่งผ้า  รับผ้า  ผลัดผ้าต่าง ๆ เท่านั้น  (กิจกรรมสรงน้ำหลวงปู่ที่เล่าในเรื่อง  เป็นช่วงที่กุฏิยังไม่ได้ปรับปรุงครั้งที่ 2      ท่านยังสรงน้ำอยู่ลานระเบียง  และอยู่ชั้นบนของกุฏิ) หลวงปู่จะพักช่วงกลางวันอยู่ที่ชั้น 2 นี้  จนกระทั่งบ่าย ๆสรงน้ำเสร็จแล้วจึงย้ายขึ้นไปพักชั้นบน
         กุฏิชั้นที่ 3  เป็นชั้นครึ่งเดียว   ต่ำลงไปตามริมฝั่งโขง  เป็นห้องทึบเก็บของใช้ต่าง ๆ ที่ญาติโยมนำมาถวายแก่ทางวัด เช่น สบู่ ยาสีฟัน ธูป เทียน  ตะเกียง  ถ้วยชาม สารพัดสิ่งของ
         สถานที่ตั้งกุฏิหลวงปู่ก็คือ ที่ ๆ ตั้งกุฏิตำหนักสมเด็จพระสังฆราชในขณะนี้นั่นเอง
         ศาลาหลังเก่า
         ตั้งอยู่ที่ศาลาใหญ่ในปัจจุบัน  และใช้ชื่อ  ศาลาเทสรังสี เช่นเดียวกับปัจจุบันนี้   แต่สร้างเป็นอาคารไม้   เสาไม้เป็นหลัก   มีเสาแซม  เสาเสริม    เป็นคอนกรีตบ้าง เป็นเหล็กแป๊ปน้ำบ้าง เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคามุงด้วยสังกะสี ขยายพื้นชั้นล่าง (ราดปูน) และต่อเติมหลังคา เป็นเพิงต่อเข้ากับตัวศาลาโดยรอบ  มีบันไดไม้ขึ้น
ศาลา 3 จุด อยู่ด้านหน้าศาลา  (ศาลาหันหน้าลงแม่น้ำโขง) 2 จุด ซ้าย-ขวา  อยู่ข้างศาลาอีก 1 จุด (ด้านทางเข้ามาจากนอกวัด)   การใช้ศาลาส่วนมาก  กิจกรรมต่าง ๆ จะได้ใช้เฉพาะชั้นล่าง
         ด้านหลังศาลาเป็นห้องน้ำ  ห้องส้วมเก่า ๆ  แต่สะอาด  ข้าง ๆ กันนั้น เป็นโรงล้างบาตรและโรงไฟ   ที่พื้นชั้นล่างศาลาแบ่งเป็นส่วน   ที่มุมด้านหน้าตั้งแท่นบูชา  มีประตูบานไม้  เปิดออกได้กว้างตลอด  หลวงปู่จะเดินเข้ามาทางนี้  ด้านหลังศาลากั้นเป็นห้องเก็บสัมภาระ 1 ช่วงเสา  มีถังเก็บน้ำฝนอยู่ใต้หลังคาเพิงซึ่งต่อเติมใหม่    น้ำใช้ฉันเอาจากที่นี่  มีตู้เก็บแก้ว  ขวดน้ำ  กระโถนแอบอยู่ด้านหนึ่ง     มีที่ล้างเท้าอยู่ด้านหลังนอกพื้นศาลา ข้าง ๆ ศาลาใหญ่  มีศาลาหลังเล็กยกพื้นเสมอระดับศาลาใหญ่ (เป็นพื้นไม้)     สำหรับญาติโยมจะได้มาเตรียมจัดกับข้าวที่นำมา ใส่ถ้วยชาม ภาชนะต่าง ๆ  ให้เรียบร้อย
ก่อนนำไปถวายพระเณร     และใช้เป็นที่ญาติโยมร่วมรับประทานอาหารกันภายหลังจากที่พระเณรฉันเรียบร้อยแล้ว
         โรงไฟฟ้า
         อยู่ถัดไปจากด้านหลังโรงล้างบาตร เป็นโรงไม้มุงสังกะสี   ใช้เก็บเครื่องปั่นไฟฟ้า  เครื่องไฟที่ใช้เป็นเครื่องดัดแปลง โดยเอาเครื่องรถยนต์อีซูซุ  ต่อเข้ากับไดนาโมสามารถปั่นไฟได้ถึง  10  กิโลวัตต์  เครื่องปั่นไฟนี้  ญาติโยมเก่าแก่คนหนึ่งดัดแปลงและนำมาถวายไว้หลายปีก่อน  หลวงปู่ให้ติดเครื่องไฟในวันพระ  เพราะญาติโยมจะมารวมกันมากและจะมีการแสดงพระธรรมเทศนา    ต้องใช้เครื่องไฟฟ้าและเครื่องขยายเสียงด้วย   ในวันธรรมดาบางโอกาสเมื่อมีคณะญาติโยมมามาก ๆ ก็ต้องติดเครื่องไฟด้วยเหมือนกัน ซึ่งพระผู้มีหน้าที่ติดเครื่องไฟฟ้านี้ต้องเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ (ในสมัยนั้นก็คือครูบายา และครูบาเวื่อง)  ในวันปกติทั่ววัดจะไม่มีไฟฟ้าใช้  แม้จะมีปักเสาเดินสายและหลอดแสงสว่างไว้บางจุดก็ตาม   ยังคงใช้เทียนไข  จุดในโคมผ้าถือส่องทาง  ใช้ไฟฉายบ้าง     แต่ก็ประหยัดกันมาก   เพราะถ่านไฟฉายก็ต้องซื้อ   ความเป็นอยู่ยังไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์  และแหล่งซื้อคือตลาดก็อยู่ไกล (อำเภอศรีเชียงใหม่  ห่างออกไป  20 กิโลเมตร)  เทียนไขและไม้ขีดไฟจึงเป็นอุปกรณ์สำคัญของทุกองค์   แม้แต่ขณะที่นวดหลวงปู่ ไฟที่จุดก็คือตะเกียงน้ำมันก๊าดที่หรี่ได้
         น้ำอาบ
         การอาบน้ำ  สรงน้ำ  พระเณรทุกองค์ที่แข็งแรงปกติ    ต้องลงสรงน้ำที่ในแม่น้ำโขง มีทางลงไปที่ท่าน้ำ ยกเว้นเฉพาะพระที่ชราภาพ  หรืออาพาธ    จึงอนุโลมให้อาศัยสรงน้ำจากที่หมู่คณะขนมาไว้ ณ จุดต่าง ๆ ประจำวันนั้น
         น้ำใช้
         ต้องมีการขนน้ำมาไว้ใช้    ในกิจประจำวันของส่วนรวม  คือ   น้ำล้างส้วมน้ำล้างบาตร  น้ำล้างถ้วยชาม  น้ำล้างเท้า  แหล่งน้ำที่ใช้สมัยนั้น   ใช้น้ำบ่อซึ่งมี 2 บ่อ อยู่ที่บริเวณที่เป็นอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุหลวงปู่นี้แห่งหนึ่ง และอยู่ที่ทางออกจากวัดไปสู่ถนนใหญ่ ผ่านที่ของการพลังงานแห่งชาตินั้นอีกแห่งหนึ่ง     บ่อทั้งสองนี้มีน้ำให้ตักไปใช้ได้ตลอดทั้งปี  (ต่อมาภายหลังมีการสูบน้ำจากแม่น้ำโขงขึ้นมาใช้แทน) การขนน้ำมาจากบ่อใช้ปี๊บ  บรรทุกบนรถเข็น ช่วยกันตัก  ช่วยกันเข็นมาใส่ถัง ใส่ตุ่มใหญ่ตามจุดที่ต้องใช้ต่าง ๆ  จนเต็มหมดแล้วจึงหยุด  และเก็บรถเข็น  ปิ๊บให้เรียบร้อย (บางคราวเมื่อรถเข็นชำรุด  ต้องช่วยกันหามปี๊บน้ำมา  โดยใช้ไม้ยาว ๆ สอดเชือกหิ้วปิ๊บ แล้วพระเณรหามหัวท้าย)
         น้ำดื่ม
         อาศัยน้ำฝน จากถังเก็บน้ำฝนด้านหลังศาลาใหญ่  โดยใช้ผ้ากรอง   กรองใส่กาน้ำประจำตัวมาไว้ฉันตอนฉันจังหัน  และนำไปฉันที่กุฎิด้วย  ทุก ๆ องค์ต้องถือเป็นหน้าที่
ช่วยกันประหยัดน้ำดื่ม
        ? โรงครัวและบ้านแม่ชี ?
         อยู่ทิศตะวันออกไกลออกไปทางด้านข้างขวาของศาลา   (เพราะศาลาหันหน้าลงแม่น้ำโขง  ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือ)   เป็นโรงเก็บสิ่งของอันเป็นอาหารที่จะนำมาประกอบ   เพื่อถวายพระเณรในวัด  เป็นที่ปรุงอาหาร และรอบ ๆ บริเวณนั้นปลูกเป็นอาคาร บ้านพักสำหรับแม่ชี หรืออุบาสิกาที่มาสู่วัด  เพื่อศึกษาปฏิบัติธรรมได้พัก   หลวงปู่เมื่อจะบิณฑบาตก็จะมาที่บริเวณโรงครัวนี้
         ?  บริเวณที่ดินของวัด  ?
         ในสมัยนั้นที่ดินส่วนใหญ่ยังไม่ใช่ของวัด ที่ที่เป็นบริเวณอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุ เป็นที่ของพ่อตู้ผู  บ้านโคกซวก ที่บริเวณเจดีย์ (เรียกว่าดานเล็บเงือก)   ยังเป็นที่ของคุณพ่อบุญยัง จันทรประทศ  อ.ศรีเชียงใหม่   ที่ป่าสนยังเป็นที่พ่อเต่า  ดังนั้นวัดจึงมีเฉพาะแต่ที่ริมแม่น้ำโขงออกมาถึงแนวกอไผ่สีสุกเท่านั้น   และมีทางเข้าออกก็ทางลูกรังที่ออกจากเขตวัดผ่านที่ของการพลังงานฯ ออกมาถึงถนนใหญ่ ขอบเขตของวัดล้อมด้วยรั้วลวดหนามเก่า ๆ   ภายในบริเวณวัดส่วนใกล้ศาลา ปลูกไม้ไผ่ส้างไพ  เป็นกอ ๆ ปัดกวาดบริเวณเตียนสะอาดนอก ๆ ออกไปคงปล่อยไว้ให้เป็นสภาพธรรมชาติ เป็นป่าไม้เต็ง ไม้ชาด ไม้ประดู่ ตะแบกสลับกับป่าไม้ไล่ (ไม้ไผ่พันธุ์เล็กชนิดหนึ่ง เกิดติดต่อกันเป็นพืด กินบริเวณกว้าง)
         ?  กุฎิพระเณร  ?
         ในสมัยนั้นกุฎิพระเณรมีอยู่ทั้งสิ้น  21  หลัง  เป็นกุฎิขนาดเล็กพักอยู่ได้เฉพาะรูปเดียว มีหอสมุด (หลังเก่า เล็ก ๆ) มีกุฏิที่พักของฝ่ายอุบาสิกา   ประมาณ  12  หลัง
         กุฏิพระเณรปลูกอยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกันนัก   บริเวณระหว่างกุฏิยังเหลือต้นไม้หรือไผ่ป่าธรรมชาติบังอยู่บ้าง  ไม่ได้กวาดเตียนโล่งไปหมดเหมือนปัจจุบัน     คงปัดกวาดให้สะอาดเฉพาะที่เป็นทางเดินติดต่อกัน   และทางเดินจงกรมประจำกุฏิ กับรอบ ๆ กุฏิกว้างออกไปนิดหน่อยเท่านั้น   
         ?  การออกบิณฑบาตร  ?
         แบ่งเป็น  2  สาย   คือสายบ้านโคกซวก เป็นสายใกล้   เดินออกจากเขตวัดไปตามชายลำน้ำโขง  ด้านทิศตะวันออก (ตามน้ำ)  ไปประมาณ 1  กิโลเมตรเท่านั้นเริ่มบิณฑบาตรที่กระต๊อบของพ่อตู้ผู จากออกจากวัดจนบิณฑบาตเสร็จกลับถึงวัด   ใช้เวลาประมาณ 40 นาที   อีกสายหนึ่งคือสายบ้านไทยเจริญ เป็นสายไกล  ต้องเดินออกมาตามทางลูกรังที่ผ่านเขตของการพลังงานฯ  มาจนถนนใหญ่ลาดยาง    (แต่ขณะนั้นยังเป็นทางลูกรังอยู่) ข้ามถนนใหญ่เข้าไปทางแยก  ซึ่งจะเริ่มเป็นหมู่บ้านไทยเจริญ   สมัยนั้นหมู่บ้านไทยเจริญยังมีน้อยหลังคาเรือน  แต่ละหลังอยู่กันห่าง ๆ  บิณฑบาตรสายนี้ไป-กลับใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง   พระเณรผู้ยังแข็งแรง  นิยมจะออกบิณฑบาตรสายไกลนี้เป็นส่วนมาก สายใกล้คือบ้านโคกซวกนั้น  เหมาะกับผู้มีอายุมาก     หรือรูปที่อาพาธเล็กน้อยไปไกลนักไม่สะดวก  และพระรูปที่ต้องมีหน้าที่  รับส่งดูแลบาตรหลวงปู่     กับรูปที่ต้องเดินติดตามหลวงปู่  ซึ่งจะต้องรีบกลับมาถึงวัดให้ไว ทันต่อการทำกิจวัตรถวายท่าน
         โดยสภาพทั่ว ๆไปของวัดหินหมากเป้งในระยะนั้น  สงบ สงัด เงียบปราศจากเสียงอึกทึก  และกิจกรรมที่วุ่นวาย   ต้นไม้ต่าง ๆ ยังมีมาก   ปกคลุมร่มเย็นอยู่ตลอดวัน ประกอบกับสมาชิกในวัด  ทั้งฝ่ายพระเณร  ทั้งฝ่ายอุบาสก  อุบาสิกา และญาติโยมที่ไปมาสู่วัดมีไม่มาก   จึงทำให้บรรยากาศของวัด  สงบ วังเวง เหมาะต่อการอยู่ประพฤติปฏิบัติธรรม   ขัดเกลากิเลส  ของผู้ใฝ่ความวิเวก ดีแท้ ๆ
          กิจวัตรประจำวันของพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
         ช่วงเช้า
         ความเป็นอยู่ของหลวงปู่ที่พวกเราได้เกี่ยวข้อง  ปรากฏในแต่ละวันนั้นเริ่มจากเวลาเช้าตรู่   ประมาณ  5.30  น.  พระเณรที่มีหน้าที่  ต่างทยอยไปสู่กุฏิของท่าน ซึ่ง อยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง  (ปัจจุบันนี้คือตรงที่เป็นอาคารตำหนักสมเด็จฯ)  ด้วยอาการเงียบสงบสำรวม  ไม่ให้มีเสียงใด ๆ เป็นอันขาด  นั่งสงบนิ่ง  รออยู่ที่บริเวณระเบียงกุฏิ ต่างองค์ต่างก็สงบจิตภาวนาไปในตัวด้วย (พระเณรที่ไปทำกิจวัตรถวายท่านในช่วงนี้ จะต้องเป็นรูปที่อยู่มาเก่า ๆ คุ้นเคยกับองค์ท่าน และเป็นผู้รู้จักการงานดีแล้ว ส่วนรูปที่ยังใหม่อยู่    แต่ต้องการร่วมทำกิจนี้ถวายท่านบ้าง ก็ต้องเฝ้าดูและศึกษาสอบถามผู้อยู่เก่าเสียก่อน  นานไปจึงค่อยขยับเข้าไปช่วยกิจส่วนที่ใกล้ชิดกับองค์ท่านมากขึ้น    เมื่อตนเข้าใจและท่านคุ้นเคยมากขึ้นแล้ว)
         เมื่อได้เวลาอรุณรุ่ง   โดยสังเกตจากขอบฟ้าทางตะวันออก      ซึ่งเป็นทิศทางมองทอดไปตามลำน้ำโขง   เห็นสว่างเป็นสีเหลือง-แดง  หลวงปู่จะให้เสียงแสดงว่าท่านตื่นแล้ว    โดยบางครั้งจะเป็นเสียงพลิกตัว    บางครั้งก็เป็นเสียงกระแอมเบา  ๆ  บางทีก็เป็นเสียงจับต้องสิ่งของใช้   พวกพระที่รออยู่ก็จะค่อย ๆ เปิดประตูห้องพักของท่านเข้าไป  บางองค์ถวายน้ำบ้วนปาก  บางองค์ถือกระโถนรองรับน้ำบ้วนปาก  องค์อื่น ๆ ก็จัดทำกิจอื่น  เช่น นำกระโถนปัสสาวะออกไปเทและชำระล้าง  เช็ด  ขัด ให้สะอาด นำไปเก็บไว้ ณ ที่เก็บ  เก็บก้านธูป  ทำสะอาดแท่นบูชาพระในห้องจำวัดนั้น
         เมื่อหลวงปู่บ้วนปากแล้ว 1-2 ครั้ง  จะลุกขึ้นเดินออกประตูไปข้างนอก   ไปแปรงฟันและล้างหน้าที่อ่างล้างหน้า ริมระเบียงด้านหนึ่ง  ซึ่งจะมีพระคอยถวายแปรงพร้อมยาสีฟัน   (การล้างหน้าแปรงฟันนี้  บางสมัยเมื่ออาพาธก็ถวายท่านที่หน้าเตียง  เมื่อท่านลุกขึ้นนั่งอยู่ที่ริมเตียงนั้นเลย)  ในขณะที่ท่านออกจากห้องไป  พระเณรจึงรีบทำสะอาดภายในห้อง   ปัดกวาดพื้น   ฝาห้อง   สลัดผ้าปูที่นอน   ผ้าห่ม  ผ้าคลุม  หมอนและจัดปูให้เรียบร้อยไว้   ผ้าผืนใดเห็นว่าสมควรจะนำไปทำการซักฟอก หรือตาก ผึ่ง ก็นำไปเสียแต่ตอนนี้  โดยถ้ามีผืนสำรองก็นำมาจัดปูเข้าที่ไว้เสียให้เรียบร้อยก่อน
         ตัวหลวงปู่เมื่อเสร็จจากแปรงฟัน ล้างหน้า ก็ลงสู่ศาลาจงกรม  ซึ่งอยู่ด้านหน้ากุฏิ    (พวกเราเรียกว่าศาลายาว)   ขณะท่านเดินจงกรมไป มา  พวกพระเณรก็รีบทำความสะอาดกุฏิ  โดยทั่วไปทั้งหมด   ปัดกวาด   เช็ดถู  เตรียมปูอาสนะนั่งแถบระเบียง  (บางสมัย   จัดปูอาสนะที่ยกพื้นสูงหน้าประตูห้องของท่านเลย)  พระองค์ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบาตร นำบาตรและกาน้ำ  จอกน้ำของท่านไปตั้งที่แท่นฉันที่ศาลาใหญ่ (เรื่องบาตรนี้พระรูปใด  จะรับเป็นธุระจะต้องขออนุญาตจากท่าน   และจะต้องเอาใจใส่ดูแลให้เรียบร้อยดีทุกขั้นตอน  เริ่มตั้งแต่นำบาตรไปศาลา  นำบาตรไปรอ  ณ ที่รับบิณฑบาต  นำบาตรกลับมาศาลาฉัน เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วนำไปล้างชำระให้สะอาด  เช็ดขัดให้แห้ง   ผึ่งแดดพอร้อน ใส่ถลกและรัดเชิงบาตรเข้ากันเรียบร้อย แล้วนำไปเก็บไว้ในห้องพักของท่าน    พร้อมทั้งกาน้ำและจอกน้ำ     สำหรับกาน้ำและจอกน้ำนั้น  ต้องคอยดูแลขัดเช็ด   ให้ขาวสะอาดเป็นมันวาวอยู่เสมอ     กาน้ำของหลวงปู่  เป็นกาอะลูมีเนียม  มีขนาดเล็ก เมื่อเติมน้ำฉันในกา  ก็ต้องรู้จักพอดีกับที่ท่านฉัน   โดยเมื่อท่านฉันแล้วเรียบร้อย  ให้มีเหลือเพียงนิดหน่อยเท่านั้น   มิใช่ว่าจะเติมใส่น้ำเสียจนเต็มหรือเกือบเต็ม  ซึ่งจะเป็นปริมาณที่มากมายเกินกว่าความจำเป็น  น้ำที่เหลือจากฉันในแต่ละวัน  จะต้องเททิ้งและเช็ดถูกาและจอกให้แห้ง    สะอาด ขาว วาว จึงนำไปเก็บพร้อมกับบาตรดังกล่าว   พระรูปใดได้เป็นผู้ดูแลบาตร   และกาน้ำ-จอกน้ำ  จะต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง  ต้องทำด้วยตัวเอง  มิใช่จะไปมอบให้องค์อื่นทำต่อ   หรือทำแทนตน  หากจำเป็นจะต้องให้ผู้อื่นทำแทน  จะต้องกราบเรียนท่านให้ทราบและอนุญาตเสียก่อน)
         หลวงปู่เดินจงกรมที่ศาลายาว   ประมาณ 20-30 นาที    ญาติโยมจากทางโรงครัวของวัด  จะนำอาหารว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ มาเพื่อถวาย   ท่านขึ้นจากทางจงกรมไปนั่งที่อาสนะ  ที่พระเณรจัดถวายไว้ตอนเช้าตรู่ที่ระเบียงกุฏิ    จะมีสามเณรองค์หนึ่งอยู่คอยเป็นผู้รับและประเคนถวายท่าน
         ในบางคราว  หากมีอุบาสกที่เป็นลูกศิษย์คุ้นเคยมาพักอยู่ที่วัดด้วย  ท่านก็จะให้อุบาสกนั้น  เป็นผู้นั่งคอยรับใช้อยู่กับท่านแทนสามเณร    (ในสมัยนั้นสามเณรที่อยู่ทำหน้าที่ คือสามเณรสุเนตรบ้าง  สามเณรอ๊อดบ้าง  ส่วนอุบาสก  ก็มีโยมวิรัตน์  พ่อตู้ใส พ่อตู้แสง คุณหมออุดม เป็นต้น) ให้สามเณรนั้นไปบิณฑบาตอันเป็นกิจประจำวัน หลวงปู่ฉันบ้างเล็ก ๆน้อย ๆ ฉลองศรัทธาให้บังเกิดความเบิกบานใจแก่ผู้นำมาถวาย    หลวงปู่อาศัยช่วงเวลาเล็กน้อยภายหลังฉันอาหารว่างนี้  พูดคุยแนะนำ     ตอบปัญหาข้อข้องใจในธรรมปฏิบัติแก่ญาติโยมที่มาจากทางไกลมาคารวะและพักอยู่ที่วัด  ซึ่งมักจะขึ้นมาพร้อมกับผู้ที่นำอาหารว่างขึ้นมาถวาย  บางครั้งก็สอง-สามคน   บางครั้งก็สิบคน ญาติโยมที่มาในช่วงนี้   ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่คุ้นเคยเก่าแก่กับท่านมานานแล้ว  และนาน ๆ จะได้มีโอกาสมากราบสักครั้งหนึ่ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 07:14:35

         พอพระเณรที่ออกบิณฑบาตชุดแรกกลับเข้ามาถึงวัด   พระรูปที่มีหน้าที่เกี่ยวกับบาตร   จะนำบาตรของท่านตรงไปรอที่โรงครัว   หลวงปู่สังเกตเห็นว่า พระเณรกลับมาถึงวัดเป็นชุดแรกแล้ว ก็เตรียมครองจีวรห่มคลุม  ถือไม้เท้าอันเล็กเรียวยาว    เดินไปสู่โรงครัวเพื่อรับบิณฑบาต โดยมีอุบาสกที่นั่งอยู่คอยรับใช้นั้นเดินติดตามคอยช่วยเหลือไปด้วย
         ที่โรงครัว  พระรูปที่มีหน้าที่ดูแลบาตร   (พระที่ดูแลบาตรท่าน    สมัยนั้นคือครูบาเวื่อง  ครูบายา  และต่อมาคือครูบาพิชิต) ซึ่งไปบิณฑบาตสายใกล้ที่สุด (ในที่นี้ก็คือสายบ้านโคกซวก) ต้องรีบกลับมา   แล้วรีบนำบาตรของหลวงปู่ไปรอที่โรงครัว (ในเวลาต่อมา เมื่อจัดให้มีพระผู้คอยเดินติดตามท่านด้วย    พระรูปนั้นก็ต้องรีบกลับมาพร้อมกับรูปที่ดูแลบาตรด้วย)  เมื่อหลวงปู่ไปถึง ส่งบาตรถวายท่าน  หลวงปู่สะพายบาตรเข้าที่   เดินเข้าไปยืน  ณ  จุดที่ญาติโยมเตรียมปูผ้าเอาไว้  เปิดฝาบาตรให้ญาติโยมทยอยกันใส่บาตร (ในระยะหลังเมื่อท่านชราภาพมากขึ้น    ได้จัดเก้าอี้ไว้ให้ท่านนั่งรับบิณฑบาตรแทนการยืน ซึ่งในบางคราวมีญาติโยมมาก   ก็เป็นเหตุให้ท่านต้องยืนรับบิณฑบาตนาน ๆ   กว่าจะรับหมดทุกคน)
         เมื่อญาติโยมทุกคนที่เตรียมมาใส่บาตร ได้ใส่หมดแล้วเรียบร้อย  หลวงปู่ปิดฝาบาตร  พระผู้มีหน้าที่ซึ่งรออยู่ห่าง ๆ ก็รีบเข้าไปรับบาตรจากท่าน  นำขึ้นไปที่ศาลาโรงฉัน เตรียมตั้งไว้บนเชิงบาตรให้เรียบร้อยไว้    หลวงปู่สนทนาทักทายกับญาติโยมบ้างเล็กน้อย  บางครั้งก็ออกเดินไปตรวจดูบริเวณโรงครัวบ้าง  ที่พักฝ่ายอุบาสิกา  ญาติโยมบ้าง แล้วจึงเดินกลับกุฏิพร้อมผู้ติดตามถึงกุฏิแล้ว  ท่านเปลื้องจีวรออก  ให้ผู้ติดตามรับไปคลี่พาดตากไว้ที่ราวระเบียงกุฏิด้านที่มีแดดส่อง  ท่านเข้าห้องน้ำแล้วออกมานั่งพักที่ระเบียง
         ฝ่ายพระเณร เมื่อกลับจากบิณฑบาต   จัดแบ่งอาหารบางส่วนในบาตรไว้แล้ว  แต่ละองค์ก็จะไปรวมทำวัตรเช้าที่ในโบสถ์   เสร็จจากทำวัตรแล้วจึงมาที่โรงฉัน  เตรียมเพื่อการขบฉันต่อไป
         เมื่อพระเณรเสร็จจากทำวัตรเช้า     ทยอยออกมาจากโบสถ์มายังศาลาใหญ่หลวงปู่ก็ครองผ้าจีวรถือไม้เท้า เดินจากกุฏิไปสู่ศาลาพร้อมผู้ติดตาม (เรื่องผู้ติดตามหลวงปู่นี้ ต่อมาภายหลังได้พิจารณาเห็นว่า สมควรจะให้มีพระรูปใดรูปหนึ่งเป็นหน้าที่ติดตามประจำ คอยช่วยเหลือท่าน ระมัดระวัง  ขณะท่านเดินไปในที่ต่าง ๆ เช่น เดินจากกุฏิไปบิณฑบาตโรงครัว  เดินกลับกุฏิจากบิณฑบาต  เดินไปศาลาฉัน  เดินกลับกุฏิ หรือเดินไปตรวจดูงานต่าง ๆ ในวัด เป็นต้น  ซึ่งพระรูปดังกล่าวนี้  ต้องมีคุณสมบัติที่เหมาะสม   มีสัมมาคารวะ สงบ  อ่อนน้อม  เฉลียวฉลาด ช่างสังเกต  รู้จักกาละ และกาลอันควรมิควร    เป็นผู้มี
มารยาทอันดี  สะอาด  และขยันขันแข็ง  กระฉับกระเฉง   เป็นต้น     ที่สำคัญคือต้องกราบเรียนให้หลวงปู่ทราบ  และให้ท่านพิจารณาดูนิสัยใจคอขององค์นั้น ๆ อีกทีหนึ่งในสมัยนั้นผู้ที่รับหน้าที่ก็คือ ครูบาชัยชาญ) วางไม้เท้า    ถอดรองเท้า   ให้พระเณรที่รออยู่แล้ว   นำไปเก็บพิงไว้ด้านหนึ่ง   หลวงปู่กราบพระที่แท่นบูชาแล้วขึ้นนั่งบนแท่นฉัน    อันเป็นส่วนเฉพาะขององค์ท่าน  รับกราบจากพระเณร  จากนั้นก็เตรียมเลือกอาหาร  ตัก  ข้าว-กับ  ที่ถูกธาตุขันธ์ใส่ในบาตร    (ที่แท่นฉันของหลวงปู่นั้น    จะมีพระอีกรูปหนึ่งมีหน้าที่คอยรับประเคนอาหารต่าง  ๆ   วางให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม  โดยต้องรู้อัธยาศัยการขบฉันของหลวงปู่เป็นอย่างดี  ในสมัยนั้นผู้ทำหน้าที่นี้คือครูบายาบ้าง  ครูบาชุมพลบ้าง บางสมัยก็ครูบาพิชิต   หลวงพ่อคำไพ)   ในขณะเดียวกันพระเณรก็จัดการจัดแบ่งอาหารจนทั่วถึงกันเรียบร้อย   หลวงปู่พิจารณาตักอาหารต่าง  ๆ  ใส่รวมลงในบาตรเสร็จแล้วก็จะนั่งรออยู่พระผู้จัดตั้งวางอาหารบนแท่น  กลับไปนั่ง ณ ที่นั่งฉันของตน
          บนแท่นฉันของหลวงปู่จะมีอาหารจานต่าง ๆ มากมาย     ท่านเลือกตักเอาอาหารที่มีรสและคุณค่าทางอาหาร  ถูกธาตุขันธ์ของท่าน  อาหารที่ตักนั้นนำรวมลงในบาตรเป็นส่วนใหญ่   และมีปริมาณไม่มาก   อาหารส่วนที่เหลือก็คงตั้งไว้บนแท่นนั้น  จนกระทั่งท่านฉันเสร็จเรียบร้อย  ในระหว่างฉันท่านอาจจะเลือกตักจากจานไหนเพิ่มเติมบ้างเล็ก ๆน้อย ๆ อาหารที่ยกถอยออกมา  เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วนี้  จะมอบให้ฝ่ายแม่ชี หรืออุบาสิกานำไปโรงครัว สำหรับให้ฝ่ายโรงครัว นำไปรับประทานกันที่บริเวณโรงครัวโน้น (ทางฝ่ายโรงครัว  คือแม่ชีและอุบาสิกา  จะนำอาหารทั้งหมดที่ปรุงขึ้น ขึ้นมาถวาย   ได้มีการแบ่งถวายหลวงปู่   และพระเณรทั้งหมดเสียก่อน   เมื่อพระเณรให้พรอนุโมทนา  และหลวงปู่ฉันเสร็จ ถอยอาหารออกมาแล้ว จึงนำกลับลงไปแบ่งกันรับประทาน  ซึ่งอาหารที่นำกลับลงไปนั้น ก็คือส่วนที่ถอยออกจากแท่นหลวงปู่นี้ส่วนหนึ่ง และที่เหลือจากแจกพระเณรทุกองค์แล้ว ยังอยู่ในหม้อต่าง ๆ นั้นอีกส่วนหนึ่ง  การทำดังนี้เห็นเป็นที่สบายใจ ในข้อที่ว่าอาหารทุก ๆอย่างที่เป็นของเขาได้นำมาถวายเป็นของสงฆ์แล้ว    และได้รับการอนุโมทนา   อนุญาตจากสงฆ์ให้บริโภคโดยชอบแล้วนั้นแล    เมื่อพระเณรทั้งหมดแจกอาหารทั่วถึงกันเรียบร้อยแล้ว  หลวงปู่จะให้พร ยะถา  สัพพี  (การให้พรนี้ในระยะหลัง ๆ ท่านให้พระองค์ที่นั่งถัดจากท่านเป็นผู้ให้พร  โดยท่านจะหันมาพยักหน้าให้เป็นสัญญาณ)
        จบการให้พรแล้ว หลวงปู่นั่งพิจารณาอาหารในบาตรให้เป็น  อภิณหปัจจเวกขณะ ครู่หนึ่ง  แล้วจึงเริ่มฉัน  ส่วนพระเณรก็จึงเริ่มลงมือฉันตามท่าน  ฉันเสร็จต่างองค์ต่างลุกนำบาตรของตนไปล้างยังโรงล้างบาตร   แล้วนำกลับมานั่งเช็ดที่ที่นั่งฉันของตนนั้นเอง  พระองค์ที่มีหน้าที่จัดตั้งอาหารบนแท่นของหลวงปู่จะต้องรีบฉันและอิ่มก่อน      แล้วละจากที่นั่งของตน   ไปคอยจัดเลื่อนอาหาร   จาน  หรือ  ถ้วยต่าง ๆ เข้าหรือออกไปจากหลวงปู่  เมื่อสังเกตเห็นว่าท่านเพียงพอแล้ว   หรือประสงค์จะฉันจากจานใด  เมื่อหลวงปู่ฉันเสร็จท่านให้สัญญาณ  ก็ยกบาตรพร้อมเชิงถอยออกมาวางที่พื้น แล้วเตรียมถวายน้ำล้างมือ  ผ้าเช็ดมือ  น้ำฉันท่าน  ส่วนบาตรนั้นพระรูปที่มีหน้าที่ดูแล ซึ่งฉันเสร็จแล้วก็จะนำไปเพื่อชำระล้าง   เช็ดขัดให้แห้งสะอาด
         หลวงปู่เมื่อรับน้ำล้างมือและล้างปากแล้ว  รับผ้าเช็ดมือมาเช็ดปากเช็ดมือ รับไม้สีฟันและจอกน้ำ   ทำสะอาดปากฟันให้ปราศจากเศษอาหาร    แล้วจึงเทน้ำจากกาฉัน  หากต้องฉันยาหลังอาหาร   ก็จะนำถวายท่านตอนนี้เลย  ฉันน้ำจากจอกหมดแล้ว  ท่านจะเช็ด ขัดจอกน้ำนั้นด้วยตนเองเล็กน้อย  แล้วจึงวางไว้ข้าง ๆ กาน้ำ (ด้านซ้ายมือข้างที่นั่งฉัน) ส่งผ้าเช็ดมือและผ้าคลุมตักคืนให้พระผู้นั่งคอยถวายการอุปัฏฐากอยู่ พระผู้ดูแลบาตรจะนำกาน้ำ  และจอกไปเทน้ำในกาทิ้ง แล้วล้างจอก ขัดเช็ดถูให้แห้งสนิท  สะอาด จึงนำไปเก็บพร้อมกับบาตรที่กุฏิของท่าน  ผ้าเช็ดมือนำไปผึ่งหรือซักตากต่อไป     หลวงปู่พูดคุยกับญาติโยมที่มากราบบ้าง   รับถวายสิ่งของจากญาติโยมบ้าง  จนเสร็จเรียบร้อย   แล้วจึงเคลื่อนตัวก้าวลงจากแท่น   กราบพระที่หน้าแท่นบูชา  ยืนขึ้น มีพระคอยช่วยพยุง ประคอง พระรูปอื่นนำรองเท้าและไม้เท้ามาเตรียมไว้ที่ตรงจะก้าวออกจากศาลาฉัน  ท่านรับไม้เท้าสวมรองเท้าแล้วเดินกลับไปกุฏิ  พร้อมกับพระผู้ที่ติดตาม
         ถึงกุฏิ  หลวงปู่เปลื้องจีวรออกแล้วนั่งพักชั่วครู่    พระผู้ติดตามรับเอาไปตากผึ่งไว้ชั่วคราว   หากจะมียาโอสถบางอย่างถวาย  ก็ถวายเสียในช่วงนี้  เช่น ยาฉันเฉพาะโรคบางอย่าง ยาทาถูนวด เป็นต้น   ทั้งนี้เป็นไปเฉพาะบางกาล  บางโอกาส    ตามที่คณะหมอได้ตรวจ  และกำหนดให้ถวายเป็นครั้งคราวไป      (คณะหมอที่ถวายการตรวจ   แนะนำและกำหนดถวายยา  ระยะนั้นคือ  คุณหมอโรจน์  คุณหมอชะวดี)     หลังจากนั้นหลวงปู่จะเข้าห้องพักส่วนตัว    พระผู้ติดตามต้องรีบเก็บผ้าจีวร   ที่นำไปตากผึ่งนั้นมาจีบรวบเข้าแล้วพับนำไปไว้ให้ท่านที่ในห้องพัก แล้วจึงกลับออกมาพร้อมหับประตูไว้ให้เรียบร้อย หลวงปู่อยู่เป็นการส่วนตัวของท่าน   ซึ่งท่านอาจจะอาศัยช่วงเวลานี้พักผ่อนบ้าง  พิจารณาอรรถธรรม หรือเรื่องต่าง ๆ เป็นการเฉพาะองค์ท่าน  นับว่าเป็นเสร็จกิจการในช่วงเช้าของหลวงปู่
         ช่วงบ่าย
         ในช่วงแรก ๆ  จนถึงปี 2522  ตอนกลางวันหลวงปู่พักอยู่เป็นการส่วนตัวที่ในห้องชั้นที่ 2 (ชั้นล่างที่กุฏิยังไม่ได้ปรับปรุง  ทางบันไดลงไปชั้นที่ 2 ยังต้องลงที่ข้างห้องน้ำห้องส้วม ริมระเบียงชั้นบนทางเดียวเท่านั้น)   จนถึงบ่าย ๆ ประมาณบ่ายสามโมง จึงขึ้นมาชั้นบนในระยะที่พักช่วงกลางวัน   หากพระเณรมีกิจธุระจำเป็น  หรือญาติโยม  (ยังไม่มากเหมือนระยะหลัง ๆ ) จะเข้ากราบพบ ท่านก็อนุญาตให้เข้าไปพบได้  แต่ต้องเป็นขณะหลังจากที่ท่านพักผ่อนแล้ว  ซึ่งพระผู้อยู่อุปัฏฐาก  จะต้องคอยเฝ้าสังเกตดู    ต้องเข้าไปกราบเรียนให้ท่านทราบ  และท่านอนุญาตเสียก่อน การเข้าพบระยะเวลานี้   โดยปกติจะเป็นช่วงระหว่างเที่ยงถึงบ่าย  3  โมง  จากนั้นท่านก็จะขึ้นมาชั้นบน  พระที่อุปัฏฐากท่านเก็บจีวร  ย่าม และอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น กาน้ำ กระติกน้ำร้อน ย่าม เป็นต้น    ขึ้นมาตั้งชั้นบนเพราะท่านจะไม่ลงไปอีกในวันนั้น
          ต่อมาเมื่อปรับปรุงกุฏิครั้งใหม่   ได้ทำพื้นชั้นล่างกว้างขวางขึ้น   มีระเบียงด้านชายโขงยาว รื้อห้องน้ำชั้นบนเสีย แล้วทำใหม่ที่ริมระเบียงชั้นล่าง รื้อบันไดที่ทอดลงมาจากชั้นบนเสีย  ทำประตูเปิดให้เข้าจากด้านหน้า  เข้าสู่ห้องชั้นล่างได้โดยตรง หลวงปู่จึงพักช่วงกลางวัน ที่ชั้นล่างจนถึงหลังสรงน้ำ (ซึ่งการ "สรงน้ำ" หลวงปู่ได้เปลี่ยนมาทำที่ในห้องน้ำชั้นล่างนี้แทน) แล้วจึงย้ายขึ้นไปพักที่ระเบียงชั้นบน
          การพักอยู่ในช่วงกลางวันของหลวงปู่  ท่านจะมีการจำวัดพักผ่อนบ้างเล็กน้อย จากนั้นก็อ่านหนังสือบ้าง   เขียนหนังสือบ้าง   พิจารณากิจการงานของวัด หรือกิจเล็ก ๆน้อย ๆ กับบริขารของท่านเอง (ได้เคยเห็นว่าบางคราวเมื่อผ้าจีวรหรือสบงมีรอยขาดทะลุเล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งพระเณรไม่ได้สังเกตเห็น และท่านเองสังเกตเห็นเข้า ท่านก็ทำการชุนเสียด้วยตนเอง   ด้วยชุดเข็มและด้ายที่มีประจำอยู่ในย่ามใบเล็กของท่านนั้นเสมอ)  บางครั้งก็ปรึกษางานกับพระที่มาธุระหรือมากราบเยี่ยม-คารวะ  ประมาณบ่ายสามโมง   จะมีสัญญาณระฆังตีบอกถึงเวลาทำกิจวัตร  ปัดกวาดลานวัด หลวงปู่จะลงกวาดลานวัดพร้อมพระเณร
ท่านจะครองสบงและอังสะ   และมีผ้าอาบน้ำผืนหนึ่งพับทบจนเหลือขนาดพอเหมาะ พาดปกศีรษะเพื่อกันฝุ่นและแสงแดด ไม้กวาด (ซึ่งเรียกกันว่า ไม้ตาด   เรื่องของไม้ตาดนี้จะได้กล่าวในตอนหลังอีกเล็กน้อย) ของท่านนั้น  ท่านต้องให้เก็บไว้อย่างเรียบร้อยในที่ที่พ้นจากฝนสาด เป็นการเก็บรักษาที่ท่านถือว่าต้องให้ความสำคัญคล้ายกับบริขารประจำตัวอย่างหนึ่ง   ไม้ตาดนี้พระเณรย่อมต้องรู้จักว่าเป็นของครูบาอาจารย์  และการไปหยิบเอาของท่านมาใช้จึงไม่เป็นการสมควรอย่างยิ่ง    และแม้จะเป็นการขอโอกาสขอรับไม้ตาดจากมือของท่านซึ่งกำลังกวาดอยู่เอามากวาดแทนท่าน  ด้วยหวังจะเป็นการช่วยเหลือท่าน  ก็ไม่สมควรอีกเหมือนกัน ท่านเคยสอนว่าสิ่งของเครื่องใช้ของครูบาอาจารย์   เป็นสิ่งที่ผู้เป็นศิษย์ควรให้ความเคารพ ไม่ควรไปร่วมใช้กับท่าน เช่น ไม้กวาด ไม้ตาด  จอกดื่มน้ำ  ผ้าจีวร  หรือผ้าใช้อื่น ๆ  แม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้า   ห้องน้ำห้องส้วมที่อยู่เป็นสัดส่วนเฉพาะของท่าน และอุปกรณ์  เป็นต้น (การที่ขอเอาไม้กวาด  หรือไม้ตาดจากท่านมากวาด    ท่านอธิบายให้ทราบว่า  เป็นการนำเอาของใช้ของครูบาอาจารย์ไปใช้เอง เป็นการขาดความเคารพนั่นประการหนึ่ง   และที่ท่านกำลังกวาดอยู่  เป็นการทำกิจวัตร   ไม่สมควรเข้าไปขัดขวางถ้าหากอยากช่วยปัดกวาด   ก็ควรไปเอาอันอื่นมากวาดช่วย  นี่เป็นอีกประการหนึ่ง   ซึ่งเป็นเรื่องของความละเอียดในการพิจารณา ที่ได้รับทราบจากท่าน)  
        การกวาดตาดของหลวงปู่นั้น   ท่านจะกวาดอย่างเบา ๆ  เป็นลักษณะเขี่ยเอาเฉพาะใบไม้ที่หล่นหรือขยะมูลฝอยให้กระเด็นไปเท่านั้น  พยายามไม่ให้ซี่ไม้ตาด กด ขูดดินมาก  ท่านได้เคยแนะนำให้พระเณรได้เข้าใจถึงเหตุผลเรื่องนี้ว่า   หากเรากวาดโดยกดไม้ตาดแรงไปก็เป็นการขูดเอาผิวดินไปด้วยทีละน้อย ทีละน้อย เมื่อหลายทีเข้าผิวดินบริเวณที่เรากวาดอยู่ทุก ๆ  วันนั้นก็จะกร่อนจนต่ำลงไปเป็นแอ่ง  และเมื่อนานไปจะเห็นว่าดินไปกองรวมอยู่ตามขอบทางหรือขอบบริเวณที่กวาดเป็นกองสูง   ก็ต้องทำการขุดถากปรับกันอีกและการกวาดแบบกดแรงนั้น   เมื่อดินหนีไปตามแรงกวาดแล้วรากไม้ก็จะค่อย ๆ โผล่ ทำ
ให้เสียคุณประโยชน์หลาย ๆ ประการแก่ต้นไม้  ทำให้ต้นไม้ไม่เจริญยืนนานอีกด้วย  (รากลอย  ยืนต้นตาย)  อีกอย่างหนึ่ง  การกวาดที่มีความระวังยั้งมือแบบนั้น   ยังเป็นการได้ฝึกตนเองให้เป็นผู้มีความระมัดระวัง  สังเกตอยู่เสมอ  ซึ่งก็คือการฝึกสติไปด้วยในตัว ทั้งยังเป็นการใช้ไม้ตาดอย่างถนอม   ทำให้ไม่ชำรุดเร็วเกินไปอีกด้วย
         การกวาดลานวัด  ที่วัดหินหมากเป้งนั้น  กวาดเอาใบไม้ที่หล่นไปรวมลงในที่ลุ่มต่ำหรือในหลุมซึ่งขุดไว้ฝังใบไม้โดยเฉพาะ   การกวาดอาจจะกวาดไปลงหลุม  หรือกวาดเอาไปรวมไว้ตามโคนต้นไม้   หรือกวาดกองรวมเป็นกองไว้  แล้วจึงทะยอยขนเอาไปอีกทีหนึ่ง  เมื่อกองใบไม้หรือขยะใหญ่ขึ้น  รกรุงรังมากขึ้น  เกินกว่าที่จะเอาไปทิ้ง  เด็กวัดหรือญาติโยมที่มาวัด  ก็จะพิจารณาเผาเสียครั้งหนึ่ง  กองใบไม้ตามโคนต้นไม้นั้น  เมื่อจะจุดไฟเผาต้องเขี่ยออกมาให้พ้นโคนต้น  เพื่อไม่ให้เปลวไฟลวกไหม้ต้นไม้  ซึ่งอาจจะทำให้ต้นไม้ตายหรืออายุสั้นลงมาก  (ในช่วงเวลากวาดลานวัดนี้ หากขณะนั้นมีการปรับปรุงสร้างเสริมอะไรในวัด   หลวงปู่ก็จะไปตรวจดูงานนั้น ๆ ด้วย     หรือถ้ามีกิจการงานใด ที่ควรให้พระเณรไปช่วยทำกัน  ท่านก็จะให้เรียกระดมไปร่วมช่วยกันทำเสีย    การไปตรวจดูงาน หากอยู่ไม่ไกล ท่านก็ถือไม้ตาด   พร้อมผ้าอาบน้ำปกศีรษะเดินไปพร้อมกับพระเณรที่ตามไปดูด้วย หากอยู่ไกลท่านจะบอกพระหรือเณรไปนำไม้เท้ามา   มอบตาดให้เอาไปเก็บ  แล้วท่านก็ถือไม้เท้า  ผ้าปกศีรษะ  เดินไปกับพระเณร
       


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:33:50

          ไม้เท้าของหลวงปู่อันนี้ ทำด้วยไม้ประดู่  มีลักษณะกลมเรียวเล็ก  ปลายด้านหนึ่งใหญ่เรียวลงไปหาอีกปลายหนึ่ง  เส้นผ่าศูนย์กลางที่ปลายด้านใหญ่ประมาณ 15-18 ม.ม. ด้านปลายเล็ก 10ม.ม.  ความยาวทั้งสิ้นประมาณ  165 ซม. ที่ระยะ 50 ซ.ม. และ 1 เมตร วัดจากปลายด้านใหญ่   มีฝังหมุดทองแดงไว้ สำหรับเป็นระยะครึ่งเมตร  แทนไม้เมตรวัดระยะ   ท่านจะใช้ไม้เท้านี้กะวัดระยะ  งานก่อสร้างต่าง ๆ อย่างคร่าว ๆ เสมอ  จนรู้สึกเสมือนว่าองค์ท่านกับไม้เท้าอันนี้    เป็นเอกลักษณ์ของท่าน  ที่ตราอยู่ในจิตใจพวกพระเณร และศิษย์  อนุศิษย์    ในยุคนั้นโดยทั่วไปการใช้ไม้เท้าท่านจับถือเอาด้านปลายใหญ่ลงดิน  เอาด้านปลายเล็กชี้ขึ้นทางบนพระ เณร  กวาดลานวัดถึงประมาณบ่าย 4 โมงครึ่ง  ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยทั่วบริเวณวัด พอดีถึงเวลาฉันน้ำปานะ จะมีสัญญาณระฆังอีกครั้งหนึ่ง    พระเณรมารวมกันฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง
         หลวงปู่กลับกุฏิ  พระเณรรับไม้ตาดจากท่านไปเก็บไว้ยังที่เก็บ  ท่านนั่งที่เก้าอี้พับซึ่งเตรียมจัดไว้ที่ระเบียง  ฉันน้ำชา พักเหนื่อยอยู่    ชาที่หลวงปู่ฉันในระยะนี้ ทำจากต้นไม้เล็ก ๆ ชนิดหนึ่งชื่อ ต้นน้ำนมราชสีห์  มีอยู่ทั่วไปในวัด   สามเณรผู้อุปัฏฐาก ต้องนำมาหั่นตากแดดแห้ง  คั่วให้เกรียม  หอม  แล้วเก็บใส่กล่องไว้ เมื่อจะชงถวาย   ก็นำใส่ลงในป้านนำชาแล้วรินน้ำร้อนใส่อย่างเดียวกับชงชานั้นเอง หลวงปู่บอกว่าท่านฉันน้ำนั้นแล้วทำให้ชุ่มคอ  และโล่งเบา   ท่านฉันน้ำชานี้อยู่หลายปี   ต่อมาภายหลังจึงเลิก     และเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น  พระเณรฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่เสร็จแล้ว  ก็แยกย้ายกันไปทำกิจวัตรพิเศษ เป็น 4 จุด คือ
        1. ทำสะอาดศาลาใหญ่ และห้องน้ำห้องส้วม
        2. ทำสะอาดโบสถ์  
        3. ทำสะอาดกุฏิหลวงปู่  และ
        4. ขนน้ำใช้มาใส่ตุ่มหรือถังตามจุดต่าง ๆ
(ในระยะต่อมา เมื่อต่อไฟฟ้าเข้าวัดแล้ว  และได้ทำระบบจ่ายน้ำไปตามท่อ งานขนน้ำใช้ก็เป็นอันยกเลิก   และต่อมาอีก  เมื่อมีการก่อสร้างมณฑปเสร็จ จึงเพิ่มงานทำความสะอาดมณฑปเพิ่มเข้ามาอีก)
        กิจวัตรทั้งสี่นี้   แรก ๆ ยังไม่ได้จัดตั้งเป็นกลุ่มและมอบหมายกันเป็นวาระ  วนเวียนกันไปแต่ละวัน เมื่อพระเณรรูปใดเห็นว่าต้องการจะไปทำกิจใดก็ไป     หรือเห็นว่ากลุ่มใดมีจำนวนในคณะน้อยก็ไปช่วยได้เลย     การทำกิจวัตรในสมัยแรก ๆ ที่ยังไม่มีการแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ   เนื่องจากพระเณรยังมีน้อย  บางครั้งไม่ถึง  10 องค์ด้วยซ้ำ ไม่มีการกำกับบังคับให้ต้องทำส่วนนั้นส่วนนี้  ทุกท่านทุกองค์ล้วนมีจิตใจกระตือรือร้น    มุ่งที่จะได้มีส่วนร่วมทำกิจทั้งปวง  พยายามหาจังหวะ  โอกาสให้ตนได้ทำร่วมอยู่เสมอ  เช่น  กิจทำความสะอาดศาลา  พระเณรรูปใดตื่นแต่เช้าตรู่  ก็รีบนำบาตร กระโถน  กาน้ำ  จอกน้ำ
พร้อมกับผ้าครอง  (ไตรจีวรครบชุดเพราะยังไม่สว่าง ได้กำหนดรุ่งอรุณของวันใหม่  พระเณรต้องรักษาผ้าครองให้ครบอยู่กับตน) ของตน  มาที่ศาลาใหญ่  รีบปัด  กวาด  เช็ด ถู ศาลาทันที  โดยไม่ต้องรอใคร  ทำได้มากเท่าใดยิ่งรู้สึกยินดีและเป็นบุญกุศล ก่อนที่องค์อื่นจะทันได้มาแย่งแบ่งทำเสียก่อน  ถึงแม้มาเช้ายังมืดอยู่ ก็ใช้จุดเทียนไข  ตั้งตามจุดต่าง ๆให้สว่างพอมองเห็นและทำกิจได้  แม้ในกิจวันอื่น ๆ  ก็เช่นเดียวกัน   ทุกท่านทุกรูปต่างก็กระตือรือร้น  ช่วยกันทำ  แย่งกันทำอย่างเต็มใจ  พอใจ  กิจวัตรต่าง ๆ จึงรู้สึกว่าเป็นเรื่องเพลิดเพลิน  สนุก  อิ่มเอิบใจ    สมกับที่แต่ละองค์ต่างมุ่งหน้ามาสู่สำนักของหลวงปู่เพื่อศึกษาและฝึกฝนอบรมตนเองกับท่านจริง ๆ ต่อมามีพระเณรมากขึ้น  ด้วยความประสงค์ที่จะให้ทุกองค์ได้มีโอกาสทำกิจวัตรทุกอย่าง  สมกับที่ได้เข้ามาสู่สำนัก   เพื่อศึกษาเรียนรู้ กิจวัตร  ข้อวัตรปฏิบัติ  จึงได้แบ่งพระเณรออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วกำหนดให้ทำกิจวัตรพิเศษนี้ หมุนเวียนเปลี่ยนไปแต่ละวัน  จะอธิบายกิจวัตรพิเศษในที่นี้  เพื่อความเข้าใจและมองเห็นสภาพสักเล็กน้อย
         ? งานทำสะอาดศาลาใหญ่ ?
         ประกอบด้วยการปัดกวาดทั้งข้างบน  ข้างล่าง   แล้วใช้ไม้ถูชุบน้ำบิดให้พอหมาด  ถูพื้นโดยทั่วไป (ไม้ถูศาลา  เป็นไม้ซีก 2 อัน ประกบเข้ากันยึดด้วยน็อตสกรู เพื่อหนีบผ้าให้แน่นอยู่กับไม้ซีกนั้น  ทำด้ามต่อฉากจากตรงกลางความยาวไม้ซีก   สำหรับจับถือคันไม้ถู    ให้ผ้าเช็ดไปตามพื้นเป็นหน้ากระดาน   ด้ามไม้จะยาวประมาณ 60-80 ซ.ม. การดันไม้ถูไปแต่ละเที่ยวจึงเป็นการเช็ดถูพื้นเป็นแถบหน้ากระดาน กว้างถึง 60-80 ซ.ม.ผ้าที่ใช้ยึดติดไม้ถูนี้  ใช้ผ้าเก่า  เช่น  สบง  จีวร  ที่เก่าขาดปุปะ  ไม่สามารถใช้ครองได้อีกแล้วมาตัดให้ได้ขนาด  ทบกันหลายชั้น  แล้วเจาะรูให้น็อตสกรูสอดผ่านได้  นำไปใส่
ระหว่างไม้ซีกทั้งสอง  ขันน็อตสกรูให้แน่นก็ใช้ได้เลย   เมื่อจะใช้ถูศาลาก็นำส่วนที่เป็นผ้าชุบจุ่มในน้ำ   แล้วบิดให้หมาดจึงนำไปถู  เมื่อถูเสร็จแล้วก็นำไม้ถูนี้ไปพาดตากให้แห้ง ผ้าถูนี้จะเปลี่ยนใหม่เมื่อของเก่าใช้ไปจนเปื่อยลุ่ย ไม่อาจใช้ได้อีกนั่นแหละจึงจะนำผ้าผืนอื่นมาใส่แทนใหม่)  พื้นแห้งแล้วปูเสื่อสาด อาสนะ เพื่อครูบาอาจารย์พระเณร อุบาสก อุบาสิกา ญาติโยม  จะมารวมทำวัตรค่ำสวดมนต์   ทำความสะอาดแท่นบูชา ปัดฝุ่น เช็ดถู เปลี่ยนดอกไม้แจกัน  ตั้งเทียน  ธูป  ไว้ให้พร้อม  หากวันใดเป็นวันพระ แปดค่ำ หรือสิบสี่ค่ำ สิบห้าค่ำซึ่งหลวงปู่จะลงมาแสดงธรรม    ก็ต้องจัดเตรียมปูอาสนะ  ตั้งน้ำฉัน    กระโถนไว้ด้วย   งานในกลุ่มนี้รวมถึง เก็บเสื่อสาด  อาสนะทั้งหมด  เมื่อเสร็จจากทำวัตรค่ำ    สวดมนต์ หรือเสร็จจากการฟังธรรมเทศนา  นั่งสมาธิภาวนา  แล้วยังรวมไปถึงวันรุ่งขึ้น แต่เช้าตรู่ต้องทำความสะอาดปัด กวาด เช็ด ถูศาลาชั้นล่าง ปูเสื่อสาด อาสนะ เพื่อการขบฉันจังหัน ตั้งกระโถน  ขวดน้ำ  จอกแก้วเพื่อพระเณร ปูเสื่อสาด สำหรับที่ญาติโยมนั่ง  จัดปูอาสนะบนแท่นฉันของหลวงปู่   เตรียมน้ำล้างมือ  ปูที่เช็ดเท้าหลวงปู่    ปูอาสนะที่นั่งกราบพระหน้าแท่นพระ  สิ่งสำคัญอีกอย่างหนึ่งในงานกลุ่มนี้  คือที่เช็ดเท้า    ซึ่งมีวางไว้เป็นจุด ๆรอบศาลา ต้องคอยเอาใจใส่ดูแลเก็บรักษาให้ดี      หากฝนตกแล้วปล่อยปละให้เปียกได้หลวงปู่มาเห็นเข้าจะตำหนิอย่างหนัก
          การตีระฆังให้สัญญาณในช่วงเวลาต่าง ๆ  ในแต่ละวัน ก็ถือเป็นงานในกลุ่มนี้ด้วยอีก  ซึ่งจะมีการตีเป็นเวลาดังนี้
          ตอนเช้าออกบิณฑบาต
          ตอนบ่าย 3 โมง  พื่อกวาดลานวัด
          ตอนบ่าย 4 โมงเพื่อรวมฉันน้ำปานะ
          ตอน 1 ทุ่มเพื่อรวมทำวัตรค่ำ
          ตอนตี 3  เพื่อเป็นสัญญาณให้ลุกขึ้นภาวนา
          ในวันที่มีลงอุโบสถ ต้องตีตอนบ่ายโมงครึ่งเพื่อให้พระภิกษุเตรียมตัวไปลงอุโบสถ  ซึ่งจะเริ่มในเวลาบ่าย 2 โมงการ ตีระฆังเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่  พระเดชพระคุณหลวงปู่  พยายามสอนให้ตีให้ถูกจังหวะ   ทำนอง  ถึงกับต้องมีการให้ลองหัดตีต้นไม้ให้ท่านดู  ก็เคยมีหลายคราว  และถ้าผู้ใดถึงวาระตีระฆังแล้วแล้วตีผิดแบบ  ท่านจะตำหนิและให้หัด  ตีเสียให้ดีใหม่   ท่านว่าการตีระฆังเป็นกิจที่แสนจะหยาบและอยู่นอก ๆ   รู้ได้ด้วยชัดเจนอย่างนี้  ถ้าคนสนใจ  ตั้งใจจะฝึกหัดตนเองจริง ๆ ทำไมจะทำไม่ได้    ที่ทำไม่ได้ก็เพราะความสะเพร่า  ไร้การสังเกตนั่นเอง   ถ้าเป็นอย่างนั้นจะฝึกตนเองต่อข้ออรรถ ข้อธรรมที่ละเอียดและอยู่ลึกซึ้งใน ๆ ทั้งหลายได้อย่างไรกัน  แต่ก็นั่นแหละยังมีพวกเราที่พยายามเท่าไรก็ยังตีระฆังไม่ถูกแบบอยู่หลายราย  เมื่อภัตตกิจในตอนเช้าเสร็จแล้ว ก็ต้องเก็บเสื่อสาด อาสนะ  ปัดกวาด เช็ดถู ให้สะอาด เรียบร้อย  เป็นอันเสร็จกิจวัตร
          ?  งานทำความสะอาดโบสถ์  ?
          ประกอบด้วย   ปัดกวาดใบไม้และฝุ่นผงในบริเวณลานโบสถ์      ปัดกวาดหยากไย่  แมลงมุม  ตามผนัง และกำแพงรอบ ปัดกวาดและดูดฝุ่นผงตามพรมปูพื้นในโบสถ์   เก็บทำสะอาดแท่นพระภายในโบสถ์  ปัดฝุ่นเช็ดถู เก็บดอกไม้   เครื่องบูชาเก่าออกไปทิ้ง   เปลี่ยนดอกไม้แจกันใหม่  ตั้งเทียนธูปไว้ให้เรียบร้อย  ถ้าวันใดตรงกับวันพระ    การทำวัตรค่ำของพระเณรจะย้ายจากศาลาใหญ่ชั้นล่างมาทำที่ในโบสถ์  (คงเหลือแต่คณะญาติโยม คงทำวัตรค่ำที่ศาลาใหญ่นั้น)  จะต้องเป็นผู้มาเปิดโบสถ์  เปิดประตู   หน้าต่าง  เปิดไฟเตรียมไว้  ถ้าตรงกับวันที่จะต้องลงอุโบสถ  จะต้องมาเตรียมจัดทำความสะอาดเรียบร้อย และปูอาสนะเพื่อหลวงปู่   ตั้งธรรมาสน์  องค์ผู้สวดพระปาฏิโมกข์  ตั้งกระโถน  ขวดน้ำ แก้วน้ำพร้อมไว้  ตั้งแต่ก่อนเที่ยง (ลงอุโบสถเวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง  หรือบ่ายสองโมง)   ถ้าวันใดตรงกับวันที่มีการเวียนเทียน   และหลวงปู่จะได้ลงมาร่วมด้วย     ก็จะปูอาสนะและเครื่องใช้ไว้เพื่อท่านลงมาในตอนค่ำนั้น  (การเวียนเทียนนี้มาระยะหลัง    พระเณรและญาติโยมมากขึ้น จึงย้ายมาเวียนเทียนรอบศาลาใหญ่) จากนั้นก็ปิดหน้าต่าง ประตูโบสถ์ให้เรียบร้อย  ลั่นกุญแจแล้วเก็บรักษากุญแจโบสถ์ไว้กับตัว  วันรุ่งขึ้น เมื่อพระเณรกลับจากบิณฑบาต  วางบาตร  จัดแบ่งอาหารในบาตรเตรียมไว้แล้ว  ต่างก็จะมารวมทำวัตรเช้ากันที่ในโบสถ์   ผู้ทำกิจวัตรทำสะอาดโบสถ์  จะต้องรีบมาก่อน  เปิดประตู หน้าต่างโบสถ์ไว้คอยท่า  เมื่อการทำวัตรเช้าเสร็จสิ้น   ปิดประตู  หน้าต่างโบสถ์  ลั่นกุญแจ  แล้วส่งมอบลูกกุญแจนั้นให้กลุ่มถัดไป    ซึ่งจะต้องถึงวาระมาทำกิจวัตรที่โบสถ์ในวันนั้นอีก   เป็นเสร็จกิจวัตรทำสะอาดโบสถ์
           ? งานทำความสะอาดกุฏิหลวงปู่  ?
           ประกอบด้วย  ปัดกวาดฝุ่นมูลฝอย  บริเวณลานหินและที่ใกล้กุฏิหลวงปู่ ปัดกวาดหยากไย่แมลงมุมทั่วไป  ทั้งภายนอกภายในกุฏิ  รวมทั้งที่ศาลายาว (ศาลาจงกรม  ซึ่งอยู่หน้ากุฏิ)   ปัดกวาดฝุ่นผงบนกุฏิ เช็ดถูพื้น ฝา ราวลูกกรง  กรอบและบานประตู หน้าต่างทั้งชั้นบนชั้นล่าง   ทำสะอาดแท่นพระภายในห้องพัก   ถูพื้นศาลายาว  ปูที่เช็ดเท้าวางไว้ให้ถูกที่  ปูอาสนะ  เก้าอี้ต่าง ๆ  ไว้  ซึ่งจะมีสามจุด คือ
           1. เตียงพับสนาม ปูตั้งที่ริมระเบียงด้านตะวันออก เพื่อท่านนอนพักช่วงเย็น ภายหลังสรงน้ำแล้ว   พร้อมตั้งน้ำชา  น้ำเย็น  ย่าม  กระโถน   และกระดาษเช็ดปาก
           2. เก้าอี้บุนวมตัวใหญ่ที่ปลายระเบียงด้านติดชายโขง (ทางทิศเหนือ) เพื่อท่านนั่งภาวนาในยามกลางคืน   พร้อมถาดน้ำเย็น   กระดาษเช็ดปาก   และกระโถน
           3. ปูที่นอน (ฟองน้ำอย่างบาง)  ที่พื้นยกสูงหน้าประตูห้องพัก  เพื่อท่านมานอนให้โอกาสพระเณรนวดถวาย  ภายหลังทำวัตรค่ำสวดมนต์แล้ว  พร้อมถาดน้ำเย็น กระดาษเช็ดปาก   และกระโถน   นำตะเกียงน้ำมันก๊าด  พร้อมไม้ขีดไฟมาตั้งเตรียมไว้
         ไม้กวาดที่ใช้กวาดแล้วต้องเก็บไว้ให้เป็นระเบียบในที่ที่เก็บ  ผ้าเช็ดถูพื้นซักให้สะอาด   แล้วคลี่ตากบนลานหินหน้ากุฏินั่นเอง  แล้วจึงเป็นอันว่าเสร็จกิจวัตรส่วนนี้  (ผ้าเช็ดพื้นที่ตากนี้เมื่อแห้งแล้ว    ต้องเก็บพับให้เรียบร้อย   แล้วนำไปเก็บไว้ในที่ส่วนหนึ่งที่ปลอดภัย  ไม่ถูกลมพัดสูญหาย  หรือถูกฝนเปียกได้)
         งานทำสะอาดมณฑป   เป็นกิจวัตรที่มีเพิ่มมาในภายหลัง     เมื่อมณฑปเสร็จสมบูรณ์    และหลวงปู่ย้ายจากกุฏิไปพักอยู่ประจำที่มณฑป      มีกิจวัตรที่ต้องทำคล้าย ๆ กับกิจวัตรที่กุฏิหลวงปู่  (ภายหลังต่อมา เมื่อหลวงปู่ย้ายไปพักอยู่ประจำที่มณฑปแล้ว กิจวัตรที่กุฏิเรียกชื่อว่า   กิจวัตรกุฏิเก่าหลวงปู่    และเมื่อสร้างกุฏิใหม่ขึ้นมาที่นั้น  ได้ใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระญาณสังวร เมื่อเสด็จวัดหินหมากเป้งหลายคราว กิจวัตรในส่วนนี้ก็ยังมีอยู่  และเรียกว่ากิจวัตรตำหนัก)
         ? งานขนน้ำใช้  ?
         ในแต่ละวันภายในวัดจะต้องใช้น้ำตามจุดต่าง ๆ คือ ที่โรงล้างบาตร ล้างถ้วยชาม ห้องน้ำห้องส้วม  ที่ล้างเท้าพระเณรด้านท้ายศาลาใหญ่ แต่ละจุดจะตั้งตุ่มใหญ่ หรือถัง 200 ลิตร  ไว้น้อยบ้าง มากบ้าง   งานในชุดนี้คือขนเอาน้ำจากแหล่งมาเติมใส่ไว้ให้เต็มเพียงพอต่อการใช้ของพระเณรทุกจุด ใช้ปี๊บบรรทุกใส่บนรถเข็น (ครั้งละ 8 ปี๊บ) นำถังตักน้ำใบเล็ก  เชือก  และที่กรองน้ำ (ใช้ผ้าเย็บเข้ากรอบวงกลมเหมือนกระด้ง โตประมาณ 40 เซนติเมตร) ไปด้วย  ไปยังบ่อน้ำซึ่งมี 2 บ่อ บ่อหนึ่งอยู่ที่บริเวณที่เป็นอ่างเก็บน้ำหน้าเมรุหลวงปู่ขณะนี้ (แต่ก่อนเป็นที่รกไปด้วยกอไผ่ป่าและหญ้า  มีต้นไม้ใหญ่ดูเหมือนว่าจะเป็นต้นหว้า บ่อน้ำอยู่บริเวณใต้ต้นหว้านั้น) มีทางไปสู่บ่อก็แต่เฉพาะจากวัด และจากทางเดินไปนาของพ่อตู้ผู  บ้านโคกซวก ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินบริเวณนี้) อีกบ่อหนึ่งอยู่ข้าง ๆ  เส้นทางลูกรังที่ออกจากวัด   ผ่านที่ดินของการพลังงานฯ (อยู่ที่ร่องทางน้ำธรรมชาติ  ในเขตที่ดินของการพลังงานฯ)   น้ำในบ่อทั้ง 2 นี้จะมีไม่มากนัก  แต่ก็พอให้ทางวัดขนไปใช้ได้ทุกวัน(คือค่อย ๆ ออกมาให้พอขนไปใช้แต่ละวัน)   ส่วนมากจะขนจากบ่อเดียวก็พอใช้แต่ในบางฤดูต้องเอาจากทั้ง  2  บ่อจึงพอ  ใช้ถังใบเล็กผูกปลายเชือกหย่อนลงไปตักเอาน้ำจากบ่อ (ไม่ลึก)  ขึ้นมาเทใส่ที่กรองน้ำ  ให้น้ำที่ผ่านกรองแล้วไหลลงในปี๊บซึ่งใส่ไว้บนรถเข็น เต็มทุกปี๊บ  ก็ช่วยกันเข็นกลับไป  ใส่ตามตุ่ม  หรือถัง 200 ลิตรที่จุดต่าง ๆ (ถังหรือตุ่มต้องหมั่นขัดล้าง เทน้ำออกทิ้งให้หมดทุก ๆ 2-3 วัน เพื่อป้องกันการเกิดมีลูกน้ำ ยุงเมื่อพระตักใช้จะผิดพระวินัยได้)  แล้ววกกลับไปขนมาอีก ดังนี้จนเต็มทุกตุ่ม ทุกถัง จึงเก็บรถเข็น คว่ำปี๊บไว้ให้น้ำแห้ง  เก็บที่กรองน้ำและถังตักให้เรียบร้อย     ก็เป็นอันเสร็จกิจประจำวันส่วนนี้    
          หลวงปู่นั่งพักที่ระเบียงสักพักใหญ่ ๆ    พระเณรฉันน้ำปานะที่ศาลาใหญ่เสร็จ  ก็พากันทยอยไปทำกิจวัตร  กลุ่มที่ทำกิจวัตรกุฏิหลวงปู่ก็จะมาที่กุฏิของท่าน  ในขณะเดียวกันพระเณรที่คุ้นเคยและมีหน้าที่ช่วย "สรงน้ำ" หลวงปู่   ก็มาเตรียมน้ำสรง ในระยะแรก ๆ (ประมาณ ปี พ.ศ 2521-2523) การสรงน้ำทำอยู่ชั้นบนที่ลานระเบียงด้านหนึ่งซึ่งเป็นส่วนหน้าห้องน้ำห้องส้วม (ด้านทิศตะวันตก)   พระเณรซึ่งทำหน้าที่ช่วย "สรงน้ำ"  จะเตรียมกะละมังใบใหญ่ใส่น้ำผสมให้ร้อนพอดีของท่าน   ซึ่งผู้ทำหน้าที่ย่อมต้องรู้ดี  นำตั่งไม้ตัวเตี้ยเตรียมขัน  กล่องสบู่ถูตัวมาเปิดเอาไว้ท่า  จีบผ้าอาบน้ำถือรออยู่
         เมื่อหลวงปู่พร้อมที่จะสรงน้ำ  จะลุกเดินมาที่ที่เตรียมน้ำสรงไว้  ถอดผ้าอังสะ  และปลดรัดประคดเอว   พระเณรรับเอาไปผึ่งไว้ร่วมกับอังสะ ผู้ถวายผ้านุ่งอาบ จะถวายผ้า   โดยคลี่ผ้าอ้อมรอบไปข้างหลังท่านแล้วจับชายทั้งสองทบกันถวายใส่มือท่าน ท่านจับผ้า  แลัวพับม้วนเข้ามาเหน็บที่เอว แล้วจึงปลดผ้าสบงให้ลุ่ยหลุดลงไป   พระเณรรับเอาไปสลัดแล้วผึ่งรวมกับอังสะและประคดเอว    หลวงปู่นั่งลงที่ตั่งซึ่งเตรียมไว้ที่ข้าง ๆ อ่างน้ำสรง  เริ่มสรงน้ำ   พระเณรที่มีหน้าที่  ช่วยส่งสบู่   ถูสบู่ด้านหลัง  ไหล่  ขา  เท้า การช่วยท่าน "สรงน้ำ"  พระเณรย่อมต้องรู้จักว่าการใดควรและไม่ควร   เช่น การช่วยท่านถูสบู่  
พึงถูเฉพาะส่วนที่ควร  ส่วนอันเป็นเบื้องสูง  เช่น  ใบหน้า  ศีรษะย่อมไม่สมควรอย่างยิ่ง  การช่วยราดน้ำให้ท่านก็ทำนองเดียวกัน   เสร็จสรงน้ำหลวงปู่จะเหลือน้ำสรงไว้หน่อยหนึ่ง    หลวงปู่ลุกขึ้นยืน   พระเณรส่งผ้าเช็ดตัวถวาย    พระเณรรีบเก็บผ้าสบง   อังสะ  และประคดเอว  ที่นำไปตากผึ่งมาเตรียมไว้ท่า   ท่านเช็ดตัว  เช็ดหน้าเสร็จ  ส่งผ้าเช็ดตัวให้พระเณรรับไป   พระเณรผู้จีบผ้าสบงเตรียมไว้    ส่งสบงถวายท่านด้วยวิธีเดียวกันกับการส่งผ้าอาบน้ำถวาย    ท่านม้วนพับผ้าสบงนุ่งเหน็บที่สะเอวแล้ว   ส่งประคดเอวถวาย  ท่านรัดประคดเอวเสร็จ  ผู้ถือผ้าอังสะส่งถวาย  ท่านรับไปครองแล้วเดินไปนั่งพักยังเก้าอี้
สนามที่พระเณรชุดทำกิจวัตรตั้งเตรียมไว้แล้วที่ริมระเบียงกุฏิ    พระเณรผู้ช่วย "สรงน้ำ"  จัดการนำผ้าอาบน้ำที่ท่านผลัดเปลี่ยนออกมาแล้วนั้น     ลงซักในน้ำที่สรงที่ท่านเหลือไว้ในอ่างสรงเมื่อ  เห็นว่าผ้าเช็ดตัวสมควรซักฟอกก็นำซักฟอกร่วมกันกับผ้าอาบด้วย บิดให้หมาด  แล้วนำไปคลี่ตากที่บนลานหินหน้ากุฏิ   นำน้ำที่เหลือจากการซักผ้าในอ่างสรงไปเทรดต้นไม้  แล้วนำอ่างและอุปกรณ์อื่นเก็บเข้าที่เรียบร้อย  เช็ดถูพื้นบริเวณสรงน้ำให้แห้ง  นำผ้าที่เช็ดไปบิดตากไว้ที่ลานหินร่วมกับผ้าอื่น ๆ จากนั้นพระเณรต่างกลับไปที่พักของตน (ทำกิจส่วนตัวมีการสรงน้ำ   เข้าที่จงกรม   นั่งสมาธิภาวนา  จนถึงเวลา 1 ทุ่ม  เสียงสัญญาณระฆัง  จึงไปรวมกันที่ศาลาใหญ่ชั้นล่างเพื่อทำวัตรค่ำสวดมนต์ต่อไป)
          ขณะที่หลวงปู่นั่งหรือนอนพักอยู่ที่ระเบียง      เป็นเวลาที่ญาติโยมที่มาพักอยู่ปฏิบัติธรรมจะเข้ากราบเยี่ยมเรียนถามธรรมะ  และความเป็นไปในการปฏิบัติธรรมของตนได้  บางคน  บางคณะก็นำน้ำปานะ    น้ำผลไม้     ซึ่งทำโดยถูกต้องตามวิธีที่แสดงในพระวินัยมาถวาย  หลวงปู่ฉันน้ำปานะในช่วงเวลานี้ บางวันมีญาติโยมมามาก  การต้อนรับพูดคุยกับญาติโยมจะทำที่ศาลายาว  โดยให้พระเณรผู้อุปัฏฐาก   ปูสาดเสื่อสำหรับญาติโยม  และจัดตั้งอาสนะสำหรับท่าน - นั่งพูดคุย      หรือแม้บางครั้งก็ถือเป็นโอกาสแสดงธรรมเทศนากัณฑ์พิเศษ
          การออกต้อนรับคณะพระเณรที่มากราบเยี่ยม หรือมาคารวะนั้น  หลวงปู่จะให้โอกาสในช่วงบ่าย ภายหลังจากท่านพักผ่อนแล้วช่วงหนึ่ง (ก่อนกวาดลานวัด)  และระยะที่ท่านพักผ่อนภายหลังสรงน้ำแล้วนี้อีกช่วงหนึ่งดังนี้เป็นปกติ   ส่วนสถานที่ที่ต้อนรับนั้นขึ้นอยู่กับจำนวนของแขกผู้มา   ถ้ามีเพียงสอง-สามคน  ไม่เกินห้าหกคน    ท่านอาจจะต้อนรับบนระเบียงกุฏินั้นเลย   ถ้าถึงสิบคน   ยี่สิบคน   ก็ให้จัดต้อนรับที่ศาลายาว     ถ้าจำนวนมากกว่านั้น  เช่น  มาเป็นคณะใหญ่    ท่านให้จัดเตรียมสถานที่ต้อนรับที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง  ในขณะที่ต้อนรับอยู่นั้น  พระเณรผู้อุปัฏฐากต้องนั่งคอยรับใช้อยู่ใกล้ ๆ ตลอดเวลา
         หลวงปู่นั่งพักที่ระเบียงจนเย็นพอสมควร   (ประมาณบ่าย  5 โมงครึ่ง)  จึงลงสู่ทางจงกรมที่ศาลายาว   พระผู้อุปัฏฐากท่านซึ่งพักอยู่ที่กุฏิใกล้  ๆ  รีบมาเก็บเก้าอี้พับ  เก็บถาดน้ำ  แก้วต่าง ๆ ไปล้างเก็บไว้  นำย่ามท่านไปเก็บภายในห้อง  ตรวจดูผ้าที่ตากไว้ตามลานหิน  ถ้าเห็นว่าแห้งก็รีบเก็บพับไว้ที่เก็บ  หากยังไม่แห้ง  เมื่อกลับไปกุฏิของตนแล้วต้องคอยสังเกตดู   หากเห็นว่าพอแห้งแล้ว  ต้องรีบมาเก็บ  ไม่เช่นนั้น  หลวงปู่อาจจะเดินมาเก็บเสียเอง
         หลวงปู่เดินจงกรมไปมาที่ศาลายาว    ในคราวที่อากาศร้อน   ท่านจะถือพัดขนนกโบกพัดไปด้วย  เดินจงกรมอยู่ประมาณ  30-45  นาที  จึงขึ้นสู่กุฏิ    นั่งภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงด้านริมโขง   จนถึงเวลา  1 ทุ่ม      เสียงระฆังสัญญาณรวมทำวัตรค่ำ จึงเข้าห้องพัก  ทำวัตรค่ำ  สวดมนต์  เป็นอันจบความเป็นอยู่ของท่านช่วงบ่าย
        ช่วงค่ำ
         เมื่อผู้คนที่มากราบเยี่ยมกลับไปหมด     ก็จะเป็นเวลาเย็นมากพอสมควรแล้ว(ประมาณ 6 โมงเย็น)     หลวงปู่จะลงสู่ทางจงกรม   คือที่ศาลาจงกรมหรือศาลายาว  พระเณรผู้อุปัฏฐากเก็บอาสนะ เครื่องใช้   ชำระทำความสะอาด  เก็บเข้าที่   เก็บผ้าที่ตากตามลานหินทั้งหมดพับเก็บ   แล้วกลับไปสู่กุฏิ   สู่ที่จงกรมของตน  (ผ้าที่ตากตามลานหินนี้   พระเณรผู้อุปัฏฐากต้องคอยสังเกตกะดูว่าแห้งแล้วหรือไม่  หากแห้งแล้วยังปล่อยไว้นานอีก  หลวงปู่จะลงมาเก็บพับเสียเอง  ดังนั้นต้องระวังไม่ให้เผลอ    เห็นว่าแห้งแล้วต้องรีบไปเก็บไปพับไว้  อย่าทันให้ท่านต้องมาเก็บเอง)
         หลวงปู่จงกรมอยู่ระยะหนึ่ง  ประมาณ 30 นาทีถึง 45 นาทีแล้วขึ้นกุฏิ นั่งยังเก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียงด้านริมโขง   นั่งภาวนาระยะหนึ่งจนถึงเวลา 1 ทุ่ม  สัญญาณระฆังให้พระเณรและญาติโยมไปสู่ศาลาทำวัตรค่ำ  ท่านจึงเข้าห้องที่พัก จุดธูปเทียนและนั่งทำวัตรค่ำเฉพาะองค์ท่าน    เสร็จแล้วออกมาเอนหลังนอนอยู่ที่อาสนะที่ปูไว้หน้าห้องพักนั้นรออยู่จนการทำวัตรค่ำ สวดมนต์ที่ศาลาใหญ่เสร็จลงแล้ว พระเณรที่จะถวายงานนวดท่านมาถึง  ซึ่งจะเป็นเวลาประมาณ 2 ทุ่ม   ท่านให้โอกาสนวดถวายประมาณชั่วโมงครึ่ง คือถึงเวลาประมาณ  3  ทุ่มครึ่งจึงให้เลิก  ท่านลุกขึ้นนั่งรับกราบของพระเณรแล้วลุกเดินไปนั่งพักอยู่เก้าอี้ที่ระเบียง  พระเณรช่วยกันเก็บอาสนะ  ชำระแก้วน้ำ   เก็บเข้าที่แล้วกลับไป
         เมื่อพระเณรกลับไปแล้ว  หลวงปู่จะเดินไปมาบนระเบียงกุฏิเล็กน้อย แล้วเข้านั่งภาวนาอยู่ที่เก้าอี้นวม  จนถึงเวลาประมาณสี่ทุ่ม  หรือ สี่ทุ่มครึ่ง  จึงลุกขึ้นบ้วนปากแล้วเข้าห้องปิดประตูพักจำวัด
         ประมาณตีสอง (อย่างช้าที่สุดตีสองครึ่ง) หลวงปู่จะตื่น ลุกขึ้นเปิดประตูออกมา แล้วเดินไปที่อ่างล้างหน้าที่ริมระเบียงด้านหนึ่ง บ้วนปาก และลูบหน้า     แล้วเดินจงกรมไปมา  ที่ระเบียงประมาณ 30 นาที  จากนั้นเข้าที่นั่งภาวนาต่อที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงจนถึงเวลาประมาณตีสี่ครึ่ง  จึงเข้าห้อง  จุดธูป  เทียน  ไหว้พระ ทำวัตรเช้าที่แท่นพระในห้อง  เสร็จแล้วก็เอนหลังนอนพักอยู่บนเตียงในห้องนั้น     รอเวลารุ่งอรุณของวันใหม่  ดังนี้นับเป็นครบรอบความเป็นอยู่ประจำวันปกติของหลวงปู่
          ต่อไปนี้จะอธิบายกิจกรรมส่วนพิเศษบางเรื่อง  อันเป็นส่วนประกอบเพื่อความเข้าใจที่ละเอียดเพิ่มขึ้น
          การนวดหลวงปู่
          จะอธิบายรายละเอียดการถวายงานนวดหลวงปู่ไว้      เพื่อเป็นที่รู้กันในที่นี้สักหน่อย    พระเณรที่มาสู่สำนักเป็นอันมาก    ต้องการที่จะได้เข้าไปใกล้ชิดเพื่อสังเกต  ศึกษาข้ออรรถ ข้อธรรม  ทั้งอัธยาศัยส่วนองค์ท่าน   การถวายงานนวดนี้เป็นกิจกรรมหนึ่งที่พวกพระเณรจะได้โอกาสใกล้ชิดท่านจริง ๆ  (นอกเหนือไปจากกิจอื่น เช่น  ช่วยสรงน้ำท่าน) ในระหว่างถวายงานนวดนั้น  พระเณรผู้สงสัยในการประพฤติ  ปฏิบัติของตน จะได้โอกาสค่อย ๆ กราบเรียนถาม  ซึ่งท่านจะตอบให้ได้ทราบอย่างละเอียด และเมื่อพระเณรรูปใดถามข้อธรรม  รูปอื่น ๆ ในที่นั้นก็จะได้ยินได้ฟังด้วย   การที่ได้ถวายงานใกล้ชิดท่านได้ยิน ได้ฟังถ้อยคำ ข้อธรรมะจากปากท่านโดยตรงอย่างชัดเจนและละเอียดลึกซึ้ง ย่อมก่อให้เกิดความแน่ใจ  ปิติ  ยินดี  เบิกบานใจ     เกิดความฮึกเหิมขึ้นในจิตใจของตนเองในการที่จะมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมยิ่ง ๆ ขึ้น   กำลังจิตใจที่จะประกอบความเพียร  เดินจงกรม  นั่งสมาธิเกิดมีขึ้นอย่างมาก เป็นผลให้ทุก ๆ องค์ต่างก็เร่งความเพียรภาวนากันอย่างเต็มที่เต็มกำลัง  และย่อมปรากฏผลแห่งการประกอบความพากเพียรนั้น  ที่จิตใจของท่านองค์นั้นอยู่เป็นลำดับ ซึ่งปรากฏในเมื่อได้พบเห็นกันในครั้งต่อไป    ทั้งในคราวหลังที่ท่านมาถวายงานนวดหลวงปู่  สังเกตกิริยาอาการของท่าน   ฟังการพูดจาข้อธรรมะ  และที่ท่านกราบเรียนถามข้อธรรมะหลวงปู่   และจากคำอธิบาย  หรือรับรองผลการปฏิบัตินั้น ๆ ทำให้ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้รับทราบด้วยย่อมเกิดความกระตือรือร้น  ปิติยินดีด้วยท่าน    และทั้งเกิดกำลังใจที่จะเร่งประกอบความเพียรของตนยิ่งขึ้นไปอีก     เป็นอันว่าการได้เข้าไปถวายงานนวดหลวงปู่นั้น  เป็นกิจที่ทำให้เกิดประโยชน์อย่างมากแก่ผู้มีโอกาสเข้าไป   จึงเป็นที่ประสงค์อย่างมากของพระเณร  ผู้มุ่งมาสู่สำนักเพื่อศึกษาอบรม   ปฏิบัติธรรม   แต่การที่จะเข้าไปถวายงานนวดท่านนั้นก็มีขอบขีดจำกัด     คือจำนวนผู้เข้านวดต้องไม่มากเกินไป  ควรมี  4 ถึง 6 องค์  นวดส่วนบนคือเอว แขน ไหล่ คอ  สองคนซ้ายขวา  นวดส่วนขา  สองขาซ้ายขวา นวดเท้าหนึ่งหรือสองคน  ส่วนคนอื่น ๆ  ต้องถอยออกลงไปนั่งอยู่พักต่ำซึ่งเป็นแถวระเบียงกุฏิ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:34:04
          พระเณรซึ่งไปเพื่องานนวดนี้จะต้องไม่ไปมาก  เพราะถ้ามากเกินไปถึงแม้จะไม่ได้นวดแต่เพียงนั่งฟังอยู่ที่ระเบียงก็เป็นการชุมนุมกลุ่มใหญ่คับแคบ  อึดอัด ไม่ค่อยสะดวก  จึงไปเพียงประมาณไม่เกิน   10   คน   (จำนวนผู้ไปงานนวดนี้ไม่แน่นอน  บางวันมากบางวันก็น้อย  แต่ถ้ามากก็ไม่เกินจำนวนนี้  ต่อมาเมื่อหลวงปู่ย้ายไปพักในมณฑป  จำนวนผู้ไปนั่งฟังอยู่ด้วยห่าง ๆ จึงเพิ่มจำนวนขึ้นบ้าง แต่จำนวนผู้ถวายงานนวดคงเป็นปกติเท่าเดิม
          พระเณรที่จะเข้าถวายการนวดต้องเป็นผู้รักษาความสะอาดอย่างดี     ผ้าที่ครองต้องสะอาดไม่มีกลิ่นเหม็นประเภทใดทั้งสิ้น  มือไม้ ร่างกายต้องสะอาด  ไม่เป็นโรคเช่น หิด  กลาก เกลื้อน ไม่เป็นโรคติดต่อ  ต้องตัดเล็บให้สั้น  รักษาให้สะอาด    ต้องไม่มีกลิ่นปาก ต้องล้างปาก แปรงฟันให้ดี  (แม้กระนั้นก็ยังเป็นที่สังเกตและทักถามจากท่านได้ในขณะนวด   เป็นเหตุให้พระบางรูปถึงกับตั้งใจงดการสูบบุหรี่ของตนลงเสียได้เด็ดขาด  กลายเป็นผลดีขึ้นมาได้โดยไม่นึกฝัน)
          พระเณรที่ยังมาสู่สำนักใหม่ ๆ  จะยังไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปถวายงานนวด ทั้งนี้  เพราะเหตุผลหลายประการคือ  ยังไม่คุ้นเคยกับระเบียบ เรื่องราว  ความเป็นไปภายในสำนัก  ยังไม่เป็นที่รู้จักมักคุ้นกันและกันพอสมควร  ยังไม่รู้จักความตั้งใจและปฏิปทาของกันและกันเพียงพอ  ยังไม่รู้จักการควรมิควร  ถ้อยคำที่ควรกล่าวมิควรกล่าว  เหล่านี้ เป็นต้น  กิจในการถวายนวดนี้ เป็นงานต้องเข้าถึงส่วนตัวท่านโดยตรงแท้ ๆ ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ตัวท่านเองจะต้องมีการสนิทสนม    เข้าใจในอัธยาศัย   ยอมรับในบุคคลที่จะเข้าไปใกล้ชิด  จนถึงขนาดสัมผัสกับกายของท่าน
          พระผู้อุปัฏฐาก  จะต้องเป็นผู้คอยสอดส่องดูแล เลือกอนุญาตให้เฉพาะองค์ใดรูปใดที่เห็นว่าเหมาะสมที่จะเข้าไปถวายงานนวด   โดยอาศัยพิจารณาจากข้อต่าง ๆ   ที่กล่าวมานั้น  อีกทั้งต้องกราบเรียนถวายให้ท่านทราบและพิจารณาเสียก่อนด้วย
         การถวายงานนวดนั้น    เมื่อพระเณรรูปใดมาถึงกุฏิท่าน   กราบไปในทิศในห้องพักท่านเสียก่อน  (มิใช่กราบที่องค์ท่านซึ่งนอนรออยู่)  พนมมือกล่าวคำ  "ขอโอกาส" ท่าน  แล้วจุดตะเกียงโป๊ะ (น้ำมันก๊าด) หรี่แล้วยกลงตั้งไว้พักล่าง (ระเบียง)   บริเวณด้านปลายเท้า    บังต้นเสาไว้ไม่ให้แสงสาดส่องเคืองตาท่าน     แล้วคลานเข้าไปใกล้  ประนมมือกล่าวขอโอกาสท่านแล้วลงมือนวดได้เลย  ส่วนองค์ที่มาถึงทีหลัง ๆ  ก็ทยอยเข้าประจำที่จุดอื่น ๆ  ที่เหลือ   การนวดจะนวดแรงนวดค่อยขนาดไหน   นวดแบบใดนั้นต้องคอยสังเกตพระเณรรูปเก่า ๆ ดูเสียก่อน  ในขณะนวดแรก ๆ พึงสำรวมตนเอง อย่าพึ่งพูดหรือถามอะไรก่อน  พึงเงียบอยู่  ต่อเมื่อสักระยะหนึ่ง  ภายหลังที่ท่านเงียบ    สังเกตดูทุก ๆ คนแล้ว  ท่านจะให้เสียงกระแอมเบา ๆ จากนั้นท่านอาจจะเป็นฝ่ายเอ่ยเรื่องอะไรขึ้นมาก่อน  บางทีก็เป็นเรื่องเก่า ๆ ที่ท่านไปพบเห็นมา ท่านตั้งใจเล่าให้ฟัง  บางทีก็เป็นการสอบถามบางเรื่องจากพระเณรบางรูป    หากท่านกระแอมแล้วเงียบไประยะหนึ่งแล้ว  หากเรามีปัญหาธรรมะข้อปฏิบัติใดที่ข้องใจ  สงสัย     ก็ขอโอกาสแล้วกราบเรียนถามได้  การพูดต้องใช้ภาษาที่สุภาพ   ตรงไปตรงมา   ไม่วกวนปนไปด้วยสำนวนต่าง ๆ  พูดเบาแต่พอประมาณ  และควรถามเฉพาะในเรื่องธรรมะข้อปฏิบัติ    ไม่ควรถามพล่ามไปเรื่องสัพเพเหระ เพราะจะเป็นการน่ารำคาญ  หลวงปู่เองก็ไม่อยากจะตอบ (บางครั้งท่านถึงกับเงียบเฉยไปเลยก็มี) หมู่พระเณรที่รอฟังอยู่ในที่นั้นก็รำคาญ  ทั้งเสียเวลาเสียโอกาสที่ผู้อื่นจะได้กราบเรียนถามบ้าง   ในขณะที่ท่านพูดอธิบาย   ไม่พึงพูดสอด   พูดแซม  พูดพลอย  หรือทำสุ้มเสียงใด ๆ พึงนวดไปด้วยอาการสงบปาก  ตั้งใจจดจ่อฟังเงียบ ๆ   ด้วยความเคารพจนท่านพูดจบแล้ว  ทิ้งระยะเห็นว่าท่านไม่พูดต่อแล้ว  เราจะพูดจะถามอะไร  ก็จึงค่อยพูดค่อยถามต่อไปอีก
         เมื่อท่านให้สัญญาณพอว่า  "เอ้า  เอาละ"      ทุกองค์ก็ยกมือพนมไหว้แล้ว  ค่อย ๆ  คลานถอยออกมานั่งคุกเข่ารออยู่พักต่ำที่ระเบียงกุฏิ     หลวงปู่ลุกขึ้นนั่งพับเพียบ  รับน้ำบ้วนปากลงกระโถนแล้วหันมา พระเณรรูปที่อยู่ใกล้ตะเกียง  หมุนให้ตะเกียงสว่างขึ้นแล้วยกขึ้นตั้งบนพื้นยกสูงที่ท่านนั่งอยู่  พอให้ท่านได้มองเห็นทั่ว ๆ ว่า  มีใครบ้างที่นั่งอยู่ในที่นั้น พระเณร (บางครั้งมีอุบาสกด้วย) กราบ  หลวงปู่ยกมือพนม รับการกราบ (การกราบนี้นิยมให้พระกราบเสร็จแล้ว   ท่านลดมือที่พนมรับกราบลงแล้ว    สามเณรและอุบาสกจึงกราบท่าน)    จากนั้นหลวงปู่ลุกขึ้นถือเอาไฟฉายอันเล็ก ๆ ของท่าน   เดินไปที่ระเบียงเดินไปมาแล้วนั่งพักอยู่ที่เก้าอี้นวมที่ปลายสุดระเบียงด้านชายโขง     พระเณรช่วยกันเก็บอาสนะ  ชำระล้างแก้วน้ำ  และกระโถน    เครื่องใช้ต่าง ๆ   เก็บเข้าที่ให้เรียบร้อย  แล้วกราบพระไปทางในห้องพักของท่านแล้วจึงกลับไป
         ข้อที่พึงสังเกตและปฏิบัติอีกประการหนึ่งเมื่อไปสู่กุฏิหลวงปู่   คือที่ชานระเบียงตรงบันไดขึ้นลง  จะมีที่เช็ดเท้าของหลวงปู่วางไว้อยู่   มีไม้เท้าอันเล็กเรียวยาวของท่านวางพิงอยู่ข้างราวระเบียง  พึงระวังอย่าให้โดนไม้เท้าของท่านล้ม    และอย่าเช็ดเท้าที่ที่เช็ดเท้าของท่าน   พระเณรผู้ไปถึงก่อนพึงยกเอาที่เช็ดเท้าของท่านออกไว้ทางหนึ่ง แล้วไปเอาที่เช็ดเท้าอันอื่น   ซึ่งมีเตรียมไว้มาวางแทน   เพื่อตัวเองและพระเณรอื่นที่ตามมาจะได้ใช้เช็ดเท้า   เมื่อจะกราบลาลงมาจากกุฏิของท่าน     ก็ย้ายนำของท่านมาวางไว้อย่างเก่าให้เรียบร้อยเสียก่อนด้วย  ปิดประตูระเบียงกุฏิให้ท่านแล้วจึงกลับไป การกระทำ
ทั้งหมดนี้ต้องระวังไม่ให้เกิดสุ้มเสียงกระทบ  กระแทก  ต้องให้นิ่มนวลสงบเงียบ
         ? การปลงผมหลวงปู่ ?
         ทุก ๆ วันขึ้น หรือ แรม 14 หรือ 15 ค่ำ  จะเป็นวันอุโบสถ    พระสงฆ์จะร่วมกันลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์   พระสงฆ์ในเขตใกล้เคียง   จะมาร่วมกันลงอุโบสถ ที่โบสถ์วัดหินหมากเป้ง
         วันโกน  คือวันก่อนวันลงอุโบสถ  ขึ้น 14 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ  เป็นวันที่ทุกองค์ต่างปลงผมของตน  การปลงหรือการโกนผมของหลวงปู่  จะทำที่กุฏิของท่าน     พระผู้มีหน้าที่ปลงผมหลวงปู่ จะถือเป็นกิจที่สำคัญและสูงยิ่ง   แม้จะมีกิจธุระอะไรติดอยู่ก็ปล่อยวาง  สละ  แล้วมาทำหน้าที่นี้ของตนไม่ให้พลาดได้
        ผู้ที่จะได้รับหน้าที่นี้  จะต้องเป็นผู้ที่หลวงปู่ได้พิจารณาและเฝ้าดูด้วยตัวท่านเองจนท่านสนิทใจ  แน่ใจว่าเป็นผู้ที่มีใจตั้งจริง ใจเป็นบุญกุศล ศรัทธา เคารพในองค์ท่านจริงทั้งมีฝีมือในการปลงผมที่นิ่มนวล  มีกิริยามารยาทดี  รู้จักสัมมาคารวะนอบน้อม  การควร-ไม่ควร เมื่อเป็นผู้ได้รับธุระปลงผมหลวงปู่แล้ว ก็ต้องดูแลอุปกรณ์เครื่องมือต่าง ๆ ให้พร้อมไว้เสมอ  ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง    ทั้งคอยติดตามทราบวาระที่จะต้องมาถวายการปลงผมให้ท่านไม่ให้พลาดได้  โดยต้องรำลึกไว้ในใจตัวเองว่า   จะอย่างไรท่านก็คอยเราไปทำหน้าที่อยู่   
         หลวงปู่จะปลงผมในช่วงบ่าย ๆ    ก่อนเวลาสรงน้ำปกติ  โดยที่ปลงผมแล้วก็สรงน้ำต่อเลย   พระรูปที่มีหน้าที่ปลงผมหลวงปู่  จะรีบมาเตรียมเครื่องใช้ไว้ท่าก่อนเวลาเล็กน้อย   ซึ่งก็ได้แก่มีดโกน  พร้อมใบเปลี่ยนใหม่  (สมัยก่อน ๆ ทราบว่าท่านใช้มีดโกนรุ่นเก่า   ที่มีใบตายตัว  เมื่อเกิดทื่อก็ใช้วิธีลับคมเสียใหม่  เป็นครั้งคราวไป ใบมีดโกนที่ใช้ปลงผมหลวงปู่ สมัยนั้นเป็นมีดแบบแบน ๆ มีคม 2 ด้าน วางเข้าที่แป้น  วางแผ่นประกับทับเข้าไป  เอาด้ามซึ่งมีรูที่ปลายข้างหนึ่งขัน  กดแผ่นประกับแน่น    ทำให้ใบมีดถูกจับยึดแน่นที่แป้นหน้า   ใช้โกนได้ด้วยคมทั้งสองด้าน  มีดโกนที่ว่านี้มียี่ห้อเดียวคือ ยิลเล็ตหลวงปู่มีเครื่องมือพิเศษที่สามารถใช้ลับใบมีดโกนแบบนี้ได้  เป็นกล่องแบน ๆ เปิดฝาอ้าออก เอาใบมีดโกนวางลงไปตามรูปของมัน   ปิดล็อคฝา    มีเชือกเหนียวมากสอดผ่านกลางกล่องตามแนวยาวของใบมีด  ขยับกล่องนี้รูดขึ้นลงตามเชือกซึ่งขึงให้ตึงไว้หลาย ๆ เที่ยว  เปิดฝากล่องนำใบมีดออกมา   ใบมีดซึ่งทื่อแล้วนั้นจะกลับคมกริบ สามารถใช้โกนได้อีก เครื่องนี้ไม่ทราบว่าใครนำมาถวายท่าน   และก็ไม่ได้นำมาใช้จริง ๆ เลย   เพราะว่าระยะนั้นใบมีดโกนก็หาได้ไม่ยาก   มีผู้นำมาถวายท่านไว้ก็เยอะแยะ    พระที่ทำหน้าที่ก็มักเปลี่ยนใบใหม่เสียก่อนที่จะทื่อจนใช้ไม่ได้   แต่ก็เคยเห็นท่านให้เก็บใบเก่าไว้ด้วยเหมือนกัน  ถ้าเกิดมีเหตุ  ใบมีดโกนไม่มีขึ้นมา   ก็เข้าใจว่าต้องนำใบเก่า ๆ มาปรับปรุงใช้ได้แน่ ๆ )สบู่  ขันน้ำอุ่น  ผ้าอาบน้ำสำหรับคลุมตัวท่านขณะนั่งให้ปลงผม    เก้าอี้นั่งห้อยเท้า (เป็นเก้าอี้เดี่ยว  เป็นหวายสาน  ตัวแคบ ๆ)     จานกระเบื้องขาวใบย่อมสำหรับใส่เส้นผม(เกศา) ที่ปลงออก   พานเล็ก ๆ สำหรับวางมีดโกน     
        เมื่อได้เวลาคือเมื่อพระเณรฉันน้ำปานะประจำวันที่ศาลาใหญ่เสร็จ   ทยอยมาแล้ว  หลวงปู่จะรับผ้าอาบน้ำผืนหนึ่งมานุ่ง เปลี่ยนเอาสบงออก  ให้พระเณรรับไปสลัดตากไว้พร้อมรัดประคดและอังสะ  รับผ้าอาบน้ำอีกผืนหนึ่งคลุมปิดไหล่   แล้วเดินไปนั่งที่เก้าอี้ที่เตรียมไว้สำหรับท่านนั่งปลงผม (จัดตั้งไว้บริเวณลานระเบียงด้านที่จัดสรงน้ำหลวงปู่นั่นเอง) พระถวายขันน้ำอุ่น  หลวงปู่วักน้ำลูบผมโดยทั่ว (ส่วนมากจะไม่ใช้สบู่ ชโลมก่อนโกนเหมือนทั่ว ๆ ไป เพราะเส้นผมของท่านอ่อนอยู่แล้วโดยปกติ)
         พระผู้มีหน้าที่ปลงผม  พนมมือขอโอกาส  ขออนุญาตจากท่าน  แล้วเริ่มโกน   ผมที่โกนออกมา   เก็บรวมใส่จานที่เตรียมไว้   เศษผมทุกเส้นที่ตกลงมา  พระเณรในที่นั้นช่วยกันเก็บหมด    บ้างก็ใส่รวมในจานรองที่เตรียมไว้   บ้างก็ถือเอาไว้เป็นที่เคารพกราบไหว้  เป็นที่ระลึกส่วนตัว   เมื่อโกนผมหมดแล้วก็โกนคิ้ว  โกนหนวด  เครา เรียบร้อยแล้วก็ถือเป็นเสร็จ  พระผู้ทำหน้าที่ปลงผม ก็กราบเรียนให้ท่านทราบ  จากนั้นหลวงปู่ก็ลุกขึ้นมอบผ้าอาบน้ำผืนที่คลุมไหล่ให้พระเณรรับไป     ส่วนองค์ท่านก็เริ่มสรงน้ำโดยมีพระเณรผู้มีหน้าที่คอยช่วยเหลือดังได้อธิบายแล้ว
         เส้นผมของหลวงปู่ที่โกนออกมานั้น   หลวงปู่เองไม่เคยได้สนใจไยดีว่าใครจะเอาไปไหน จะจัดการอย่างไร  มีแต่พระเณรรูปไหนต้องการก็ไปขอแบ่งจากครูบาอาจารย์ผู้ที่เก็บรักษาไว้    ซึ่งอาจจะเป็นองค์ที่ทำหน้าที่ปลง   หรือพระรูปอื่นที่อยู่อุปัฏฐากประจำบางครั้งจะมีบางองค์เมื่อได้ไปแล้ว    เพื่อให้เป็นการไม่ล่วงเกินท่าน     ก็นำมากราบเรียนให้ท่านทราบ   และขออนุญาตต่อท่านโดยตรงอีก  ซึ่งท่านก็ไม่ว่าอะไร  ก็อนุญาตให้ตามที่ขอ เส้นผมหรือเส้นเกศาของหลวงปู่    จึงไม่ได้มีการเก็บรวบรวมไว้เป็นล่ำเป็นสันเพื่อกิจการใด ๆ ทั้งนั้น  ผู้ที่มีเส้นผมของท่าน  จึงเป็นพระเณรรุ่นเก่า ๆ ที่เคยได้ไปเก็บ
หรือขอแบ่งเอาจากองค์อื่น ๆ  และได้ไปเล็ก ๆ น้อย ๆ พอเพื่อการเคารพกราบไหว้ของตนเท่านั้น เส้นผมหลวงปู่   เป็นเส้นฝอย ๆ บาง ๆ อ่อน ๆ ไม่เป็นเส้นโต แข็ง  และมีสีขาวใสเป็นส่วนมาก  อาจเป็นเพราะท่านอยู่ในวัยแก่เฒ่ามากแล้ว  ความสมบูรณ์ของเส้นผมและสีสันจึงเปลี่ยนแปลงไป
         เรื่องฉันอาหารด้วยช้อนนั้น
         หลวงปู่วัดหินหมากเป้ง  ท่านใช้เป็นประจำขององค์ท่านอยู่แล้วแม้อยู่ต่อหน้าหลวงปู่มั่น  เวลาท่านไปกราบเยี่ยมคารวะ  ท่านก็ฉันอาหารโดยใช้ช้อนเป็นประจำและไม่ใช่ช้อนธรรมดา  แต่เป็น  ช้อนส้อมและใช้ช้อนได้เฉพาะหลวงปู่เทสก์องค์เดียวเท่านั้น  ถ้าพระผู้ใหญ่ผู้น้อยรูปอื่น ๆ ไปเอาอย่างทำตามบ้างจะโดนข้อหาว่า  ไม่เจียมตัว  หรือทำตนเทียมผู้ใหญ่  ไม่รู้จักประมาณตนหลวงตาวัดบ้านตาดท่านจะตำหนิพวกพระเล็กเณรน้อยในสมัยนั้นว่า  ทำอะไรกระทบกระเทือนครูบาอาจารย์ (จากเทศน์หลวงปู่หล้าวัดภูจ้อก้อ)
         ดังนั้น  ท่านที่เคยไปถวายอาหารที่วัดหินหมากเป้ง  ตั้งแต่สมัยที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ ยังทรงขันธ์อยู่จะเห็นว่าพระเณรที่วัดหินหมากเป้ง  จะฉันอาหารในบาตร  โดยใช้ช้อนส้อมกันทุกรูป
พระ วัดป่าสายหลวงปู่มั่นวัดอื่น ๆ ที่เป็นวัดครูบาอาจารย์ผู้ใหญ่  จะเรียกพระ เณรวัดหินหมากเป้ง อย่างล้อ ๆ ด้วยความเกรงใจว่า วัดผู้ดี  หรือวัดเศรษฐี (อันนี้เป็นประสพการณ์จริง ๆ ของพระเณร และญาติโยมวัดหินหมากเป้ง หลายรูปหลายท่าน)
          ? วันพระและวันอุโบสถ ?
         โดยปกติในตอนเช้าของวันพระ  8 ค่ำหรือ 15 ค่ำ  ตอนเช้า ฆราวาส  ญาติโยมจะมารวมที่ศาลาฉันมาก จะมีพิธีไหว้พระ  อาราธนาศีลอุโบสถ   แล้วมีการถวายทาน โดยหัวหน้าฝ่ายฆราวาสจะเป็นผู้นำ   เริ่มเมื่อสังเกตว่าพระเณรแจกภัตตาหาร     และจัดแจงอะไร ๆ เรียบร้อยพอสมควรแล้ว  หลวงปู่จะให้ศีลอุโบสถ (การให้ศีล  ในโอกาสต่อ ๆ มา ท่านมอบให้เป็นธุระของพระผู้อาวุโสที่นั่งรองจากท่านเป็นผู้ให้แทน  ส่วนอุบาสกที่เป็นหัวหน้าสมัยนั้น  คือพ่อบุญมี  บ้านโคกซวก  หรือพ่อตู้พรหมา   ผู้ใหญ่บ้านไทยเจริญ) จากนั้นญาติโยมกล่าวถวายทาน  หลวงปู่ให้พร ยะถา สัพพี   พระเจ้าพระสงฆ์ร่วมสวดจบแล้ว  ก็เริ่มฉันตามปกติ    ส่วนญาติโยมก็จะร่วมกันทำวัตรเช้าในที่ต่อหน้าพระเณรนั่นเอง(การให้ศีล และการให้พร ยะถา สัพพีนี้ ต่อมาหลวงปู่ให้พระรูปรองจากท่านเป็นผู้ให้แทน)   เสร็จภัตรกิจแล้วหลวงปู่กลับสู่กุฏิ  พักอยู่เป็นส่วนองค์ท่าน  ในห้องชั้นล่าง
         ถ้าเป็นวันอุโบสถ   (คือวันที่ปักข์ตกพอดี อาจเป็นวันขึ้นหรือแรม 14 ค่ำ หรือ15 ค่ำ  หรือบางที่ตรงกับวันขึ้นหรือแรม 1 ค่ำ  ซึ่งจะถือเอาตามปฏิทินปักขคณนา  ที่ทางมหามกุฎราชวิทยาลัยพิมพ์แจกไปทั่ว  ตามวัดต่าง ๆ เป็นประจำทุกปี)     เวลาประมาณบ่ายโมงครึ่ง  จะมีสัญญาณระฆังตี 3 ลา แสดงถึงเวลาเตรียมตัวไปสู่โรงอุโบสถ (โบสถ์)พระสงฆ์ทั้งปวงต่างก็ครองผ้า  พาดสังฆาฏิ  ไปสู่โบสถ์ พระที่มาร่วมลงอุโบสถนี้   มีทั้งที่อยู่ประจำในวัดหินหมากเป้ง   และที่มาจากวัดอื่น ๆ ในละแวกนั้น  อันได้แก่วัดวังน้ำมอก วัดลุมพินี  วัดถ้ำฮ้าน  วัดถ้ำเกีย  (วัดเหล่านี้เป็นวัดซึ่งพระจากหินหมากเป้งออกไปตั้งขึ้น
และอยู่ภาวนา เพื่อให้ได้รับความวิเวก  ในสมัยนั้นยังเป็นป่าดงอยู่  การไปมาล้วนแต่ต้องเดินด้วยเท้าทั้งสิ้น   ถนนหนทางก็เป็นเพียงทางเดินของคนไปหาของป่า    หรือเป็นทางเกวียนเท่านั้น   รถรามีน้อยมาก  นาน ๆ จะมีรถไถ หรือรถกระบะขนมันโทรม ๆ สักคัน
หนึ่ง)
         เมื่อพระทุกรูปรวมกันอยู่ในโบสถ์แล้ว   พระผู้มีหน้าที่ก็นำถาดน้ำร้อนพร้อมย่ามและผ้าปูนั่งของหลวงปู่ลงมาสู่โบสถ์    จัดตั้งถาดน้ำร้อน   และผ้าปูนั่งบนอาสนะของท่านเรียบร้อย   หลวงปู่เดินมาโบสถ์พร้อมกับพระผู้ติดตาม  ถอดรองเท้า  วางไม้เท้า  พระรับไปแล้ว หลวงปู่เข้าไปสู่อาสนะรับเทียนชนวน  จุดเทียนใหญ่  จุดธูปปัก  แล้วนั่งลง (ขณะจุดเทียน-ธูป หลวงปู่และพระทั้งหมดยืนพนมมือ) หลวงปู่กับพระทั้งหมดนั่งลงคุกเข่า หลวงปู่ นำไหว้พระย่อ  จากนั้นหันมารับกราบของพระทั้งหมด     พระรูปที่จะแสดงพระปาฏิโมกข์   กราบขอโอกาสแล้วขึ้นสู่ธรรมาสน์  (การสวดพระปาฏิโมกข์นี้  จะใช้เวลาประมาณ 40-50นาที  พระรูปที่จะขึ้นสวดนั้นเดิมที หลวงปู่จะเป็นผู้พิจารณาอนุญาต    ต่อมาเมื่อองค์ที่สวดพระปาฏิโมกข์ได้มีมากขึ้น  ท่านจึงให้จัดวาระวนเวียนให้ทุกองค์ได้ขึ้นสวดทั่วกัน    และก็
เป็นนโยบายของหลวงปู่เองที่จะให้พระที่วัดสวดปาฏิโมกข์ได้   โดยท่านกำหนดให้มีการนำ
บทพระปาฏิโมกข์มาสวดซ้อมต่อท้ายทำวัตร  สวดมนต์เย็นในทุก ๆ วันอยู่แล้วด้วย)
        พระแสดงพระปาฏิโมกข์จบลงหลังจากหลวงปู่นำสวดพระคาถาท้ายพระปาฏิโมกข์จบแล้ว ท่านจะหันหน้ากลับออกมาสู่คณะสงฆ์  แสดงธรรมพิเศษบางข้อบางอย่าง   อันเป็นเครื่องชี้แนะการประพฤติปฏิบัติของพระเณรโดยเฉพาะ      บางครั้งก็เป็นสัมโมทนียกถา พาให้เกิดความมานะพยายาม มีกำลังจิต กำลังใจในอันที่จะปฏิบัติธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้น  การแสดงธรรมในตอนนี้จะไม่ยืดยาว   ท่านจะพูดเอาเฉพาะแก่น เฉพาะตอน    จะใช้เวลาประมาณ  10-20 นาที  จากนั้นก็เลิก  หลวงปู่นำกราบพระประธานในโบสถ์  แล้วหันมารับกราบจากพระ  พระทั้งหมดกราบท่าน  แล้วหลวงปู่ก็ลุกขึ้น    เดินออกจากอุโบสถกลับไปกุฏิของท่าน   โดยพระผู้ติดตามไปด้วย  พระผู้นำถาดน้ำร้อน  ย่าม  และผ้าปูที่นั่งของท่าน  ก็ทำหน้าที่นำกลับไปยังกุฏิของท่านด้วยเช่นกัน
         หลวงปู่พักอยู่กุฏิตามอัธยาศัยจนถึงค่ำ  ประมาณ 1 ทุ่ม สัญญาณระฆังทำวัตรค่ำ  พระเณรไปรวมทำวัตรค่ำที่ในโบสถ์   ส่วนฆราวาส    ญาติโยมรวมทำวัตรค่ำที่ศาลาใหญ่ชั้นล่าง จากนั้นพระเณรเข้าไปรวมนั่งในศาลา  ร่วมกับญาติโยมในศาลา    โดยนั่งในอีกส่วนหนึ่ง ซึ่งได้ปูอาสนะเตรียมไว้แล้วทั้งหมด    นั่งสงบ  รอเวลาที่หลวงปู่จะลงมาเทศน์
         ประมาณ  2  ทุ่ม หลวงปู่จะลงจากกุฏิมาสู่ศาลา  พระผู้มีหน้าที่นำถาดน้ำร้อน ย่าม  และผ้าปูนั่งของท่านลงมาเตรียมไว้ก่อนแล้ว  หลวงปู่กราบที่แท่นพระแล้ว ก้าวขึ้นนั่งบนแท่นอาสนะ  หันมารับกราบจากพระเณร  จากนั้นครู่หนึ่งอุบาสกผู้เป็นประธานอาราธนาเทศน์  (การอาราธนาเทศน์ที่วัดหินหมากเป้ง    นิยมกล่าวเป็นทำนองสรภัญญะตลอดมา) หลวงปู่แสดงธรรมเทศนาประมาณ 30 นาที  จบแล้วให้ดับไฟบางดวง    เหลือไว้แต่น้อย พอให้แสงไม่สว่างจนเคืองตามากนัก
         จากนั้นหลวงปู่แสดงธรรมะ  นำนั่งภาวนา  ซึ่งเป็นอุบายธรรมเฉพาะ   เพื่อโน้มจิตของผู้ฟังให้ลงสู่ความสงบในที่นั้น  ขณะนั้นเอง ประมาณ 10 นาที  แล้วท่านหยุดนิ่งพาพุทธบริษัททั้งหมดนั่งสงบภาวนาต่อไปอีก  ประมาณ 30 นาที    จึงให้สัญญาณเป็นเสียงกระแอมค่อย ๆ  เป็นอันเลิกกัน
         พระเณรกราบหลวงปู่   ญาติโยมกราบ   จากนั้นหลวงปู่ดื่มน้ำปานะจากแก้วที่ญาติโยมนำมาถวายที่ศาลาเล็กน้อย  แล้วเลื่อนตัวลงจากแท่น  กราบพระที่แท่นบูชา ลุกขึ้นยืน  รับไม้เท้า  สวมรองเท้า  เดินกลับกุฏิ  พร้อมกับพระผู้ติดตาม
         ในระยะนี้   พระเณรผู้มาจากวัดนอก  ๆ  ผู้ประสงค์จะนวดถวาย  และต้องการกราบเรียนถามธรรมะ  ก็จะติดตามท่านไปสู่กุฏิด้วย  ถึงกุฏิแล้ว  ท่านเอนหลังนอนให้โอกาสพระเณรนวดถวาย  จนถึงเวลาอันสมควรจึงเลิก  (ประมาณ 21.45-22.00 น.) (พระเณรที่มาจากวัดนอก ๆ   หลังจากนวดหลวงปู่แล้วมาสด ๆ ร้อน ๆ  ก็เดินทางกลับสู่วัดของตน  ด้วยความที่ได้กำลังใจและอุบายธรรมจากท่านมาสด ๆ ร้อน ๆ     บางองค์เมื่อเดินทางกลับถึงวัดของตน  แล้วก็เลยไม่พักผ่อนนอนหลับ   เร่งทำความเพียร  มีการเดินจงกรม    นั่งสมาธิต่อไปจนสว่างรุ่งเช้าของวันใหม่ก็มีอยู่เป็นประจำ (ความก้าวหน้า
ในคุณธรรมของท่านองค์อย่างนั้น   ก็ปรากฎให้รู้เห็น เป็นที่ตื้นใจทั้งแก่ตนเอง แก่หมู่เพื่อนพระเณรที่อยู่ร่วมกัน  ทำให้องค์อื่น รูปอื่นเกิดความกระตือรือร้น มีกำลังใจเร่งการภาวนาขึ้นตามกันไปด้วย)
     



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:34:19
          ?  ไม้ตาด   ?
         ไม้ตาดหรือไม้กวาดสำหรับกวาดลานวัด   เป็นไม้กวาดขนาดใหญ่   โดยนำซี่ไม้กวาดริ้วเล็ก ๆ  จำนวนมากมาผูกหรือถักยึดเข้ากับปลายด้านหนึ่งของด้ามหรือคันไม้ตาดซี่ไม้ตาดเรียก  ริ้วตาด เมื่อก่อนนี้นิยมใช้ไม้ไผ่สีสุก  ตัดยาวประมาณ 70-75 ซ.ม. หรือประมาณ  2 ชั่วปล้อง นำมาผ่าเป็นซีก ๆ เล็ก ๆ ประมาณกว้าง 6-7  ม.ม. แล้วเหลาให้ได้รูปร่าง   โดยด้านโคนมีลักษณะกลมเรียบ  ทำขยักตรงปลายเผื่อเป็นที่ผูกรัดแน่นเข้ากับคันตาด ส่วนปลายค่อย ๆ เหลาให้เรียวลงจนเล็กจิ๋ว    โดยแบ่งแล่งออกเป็น 2 ซี่ในริ้วตาดอันเดียวกัน  การเหลาที่ได้ส่วนดีต้องเหลาให้กลมกลึง   ทั้งค่อย ๆ เรียวจากโคนไปสู่ปลายแฉกทั้งสอง  เวลาจับสะบัดดูจะนิ่มมือ   และมีเสียงดังเฟี้ยว ๆ  อย่างไม้เรียวจำนวนซี่ตาดที่ใช้ทำตาดแต่ละเล่ม (เรียกเป็นเล่ม)  ประมาณ  22-30 ซี่  แล้วแต่ว่าจะใช้คันตาดใหญ่หรือเล็ก    คันตาดเป็นไม้ไผ่ลำเล็ก ยาว ตรง แข็งแรง แต่เบา   ขนาดความโตเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 นิว้  ความยาวประมาณ 2-2.5 เมตร   นิยมใช้ไม้ที่แห้งแล้วแต่ยังแข็งแกร่งดี  ไม่ถึงผุ  เพราะจะได้มีน้ำหนักเบา  ริ้วตาดที่ใช้บางครั้งก็ใช้ก้านใบของต้นปาล์มชนิดหนึ่งเรียก  ต้นชก   ก็ใช้ได้ดีมากในระยะแรก ๆ  แต่สึกหรอเร็วไม่ทนทาน บางทีก็ใช้ก้านทางมะพร้าวแทน  ซึ่งก็ใช้ดีเหมือนกัน  มาระยะหลัง ๆ นี้จะมีแต่ริ้วทางมะพร้าวแทบทั้งนั้น   ริ้วตาดเหลาจากไม้ไผ่สีสุก   แทบจะหาดูไม่มีเลย 
         ในการถักริ้วตาดเข้ากับคันจะถักเป็น  2  วง  วงแรกติดที่ระยะปลายคันตาด  ห่างจากปลายเข้าไปประมาณ  10  ซ.ม.  โดยนำเอาริ้วตาดมาเรียงรอบ ๆ คันให้รอบ  จำนวนริ้วที่ใช้ในรอบควรเป็จำนวนคี่   ใช้เชือกรัดริ้วตาดตรงคอขยักให้แน่นเข้ากับตัวคัน จากนั้นใช้เชือกอย่างเหนียวดี   (ถ้าใช้หวายเส้นซึ่งเหลาไว้แล้วจะดีมากที่สุด)   สอดถักแถว ๆ โคนของริ้ว  ถักเป็น ลายสอง ไปรอบ ๆ คัน  พอไบรรจบรอบก็ถักคร่อมรอบต่อไป การที่จำนวนริ้วเป็นจำนวนคี่  จะทำให้ลายในการถักรอบต่อไปนี้กลมกลืนลงตัวพอดี ถักและดึงแน่นอย่างนี้ไปเรื่อย จนได้ประมาณ 3-4 รอบ  แล้วริ้วตาดทั้งหมดก็จะตรึงติดแน่นอยู่กับคันตาด  จากนั้นจึงเริ่มวงที่สอง
         วงที่สองนำริ้วตาดจำนวนเท่าวงแรกมาเรียง  และยึดถักเข้ากับคันตาดเหมือนอย่างวงที่ 1    แต่จุดที่ยึดกับคันตาดให้อยู่ถัดจากวงแรกเข้ามา  อีกประมาณ 6-8 ซ.ม. เมื่อถักยึดวงที่สองแล้วจะเห็นว่าเป็นลักษณะไม้กวาดที่มีด้ามยาว       มีซี่ลู่เป็นกระจุกอยู่ตรงปลาย  โดยซี่จะอยู่ซ้อนกันสองชั้น (ของวงแรกและวงที่สอง)
         จากนั้นจึงถักยึดเพื่อให้ริ้วตาดบานถ่างออก     โดยนำลวดแข็ง ๆ มาวงเป็นวงกลมประมาณ 8-10 ซ.ม.  มาใส่ในภายในกลางกลุ่มริ้ว      ขยับเข้าออกจากปลายไม้คันตาด  กะดูว่าริ้วตาดกบานออกมามากน้อยพอดี (โดยปกติจะใส่ที่ระยะวัดจากจุดยึดริ้วตาดวงแรกออกมาประมาณ 25-30 ซ.ม.)     แล้วจึงใช้เชือกเหนียวผูกถักยึดริ้วของวงที่สองรวบกับริ้วของวงที่หนึ่ง   และรวบกับขอบลวดวงกลมนั้นเข้าด้วยกันแน่น  แล้วก็ถักรวบชุดริ้วที่อยู่ถัดไป   ยึดเข้ากับขอบลวดวงกลมดังนี้อีก  ถักต่อไปเรื่อย ๆ   จนครบรอบวงกลมลวดนั้น  ริ้วตาดทั้งหมดก็จะถูกยึดแน่นหนา  (ขณะถักเข้ากับวงลวดพยายามจัดระยะระหว่างชุดให้เท่า ๆ กัน) เป็นอันเสร็จ  จะได้ไม้ตาดมีรูปร่างด้ามยาว ๆ    ส่วนปลายริ้วตาดจะคลี่บานออกรอบตัว กลม (ความคลี่บานของริ้วตาดนี้   หากบานน้อยหรือมากเกินไป  จะกวาดใบไม้ไม่ค่อยดี  ต้องทำให้พอเหมาะ      การจะบานมากหรือน้อยอยู่ที่ว่าวงลวดกลมนั้นค้ำบังคับอยู่ที่ในหรือนอกจนเกินไปหรือไม่ ถ้าเลื่อนเข้าในเข้าไปหาตัวคันตาด   กลุ่มริ้วตาดก็จะบานมาก  ถ้าเลื่อนออกมาก็จะบานน้อลง   จะต้องอาศัยความชำนาญเป็นตัวกะเอาที่พอดีแล้ว  จึงถักยึดริ้วเข้ากับขอบลวดวงกลมให้มั่นคง)
         เชือกที่ใช้ถักทั้งหมด ต้องใช้เชือกที่มีความเหนียวทนทาน เพราะตาดแต่ละเล่มเมื่อทำขึ้นมาแล้ว  หากรักษาดีไม่ให้ถูกแดด ฝน มอดไช  จะทนทานสามารถใช้ได้นานมาก หากสามารถใช้หวายเส้นมาถักได้ก็นับว่าดีที่สุด
         ไม้ตาดนี้เมื่อทำเสร็จแล้ว  ทางพระผู้ปฏิบัติธรรมถือว่าเป็นอุปกรณ์สำคัญชิ้นหนึ่งเท่าเทียมกับบริขารประจำตัวเลยทีเดียว  หลวงปู่เคยได้แนะนำให้ดูแลรักษาไม้ตาดของตนให้เป็นอย่างดี  ต้องเก็บไว้ในที่ปลอดภัยจากแดด  ฝน  พ้นจากอันตราย  เช่น  ลมจะมาพัดตก   ที่ทางอันมีผู้ไปมาจะกระทบให้หักหรือลุ่ยได้  ทั้งไม้ตาดที่ทำและยังไม่ได้ใช้จะเก็บไว้ก็ให้วางไว้บนห้างร้านสูงเหนือโรงไฟ  เพื่ออังไฟ  อังควัน  กันมอดแมงกัดไช   และทำให้ไม้ตาดเหนียวทนทาน   และแม้กระทั่งการใช้ตาดปัดกวาด    ท่านก็แนะนำให้กวาดด้วยความระมัดระวัง  ไม่กดจนเกินไป  จะทำให้ริ้วตาดหักหรือสึกหรอชำรุดได้ง่าย   ให้กวาดเป็นลักษณะเขี่ยเอาใบไม้หรือขยะให้กระเด็นไปเท่านั้น       ตาดที่กวาดเสร็จแล้วเมื่อยังเปื้อนหรือเปียกอยู่ก็ให้ทำสะอาดและตากให้แห้งจึงนำเข้าเก็บไว้
         โดยปกติ ท่านให้พระเณรทุกองค์ต้องมีไม้ตาดประจำของตนเอง จะทำเองหรือผู้อื่นทำให้ก็แล้วแต่  แต่ท่านพยายามแนะนำ   สนับสนุนให้พระเณรหัดทำของตนเองให้เป็น มิใช่แต่จะคอยขอจากผู้อื่น)    ตามกุฏิแต่ละหลังจึงย่อมมีไม้ตาดอยู่พร้อม 2-3 อันเสมอ
         ในวาระเตรียมตัวเข้าพรรษาแต่ละปี   หลวงปู่จะพูดเตือนพระเณรทุก ๆ องค์ ให้เตรียมตนของตนเพื่อการอยู่จำพรรษา   สิ่งที่จะต้องเตรียมก็มีหลายอย่าง  เช่น  ดูแลซ่อมแซมเสนาสนะ  กุฏิ  กระต๊อบต่าง ๆ  ให้แข็งแรงเรียบร้อย    พออยู่ปกติของตน ๆ ช่วยกันหาไม้แห้งมาตัดผ่าเป็นฟืนรวมกองไว้เป็นระเบียบให้มากพอ    เตรียมไว้เผื่อตลอดพรรษา  และที่สำคัญคือให้ทุก ๆ องค์  เตรียมไม้ตาดของตนไว้ให้พร้อม องค์ละ  2  คัน ถ้าไม่สามารถทำเป็นตาดเหลา  (อย่างที่อธิบายมา)    ก็เป็นตาดแขนงไม้ไผ่เสียอันหนึ่ง(ตาดแขนงไม้ไผ่  ทำโดยเอาแขนงไม้ไผ่อันเล็ก ๆ หรือลำไม้ไผ่พันธุ์หนึ่ง      เรียกว่า
ไม้ไผ่โจด  เป็นลำเล็ก ๆ เรียว ๆ มามัดเป็นกำ   รวบเข้ากับด้ามคันตาด มัดให้แน่น ๆสักสองถึงสามเปลาะ ก็พอจะใช้กวาดลานวัดได้ แต่ไม่ดีเท่าตาดเหลา)
          หลวงปู่ให้เตรียมไม้ตาดไว้ให้พร้อมทุกองค์อย่างนี้ทุก ๆ พรรษา  ก็คงจะเป็นเพราะเห็นว่า  ไม้ตาดเป็นเครื่องมือสำคัญอันหนึ่งสำหรับพวกพระเณรที่ตั้งใจประพฤติปฏิบัติ  จะใช้ประกอบกิจวัตรขัดเกลาตนเองให้ก้าวสู่คุณธรรมความดีที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่ง ๆ   ขึ้นไป ท่านเคยบอกว่าการเป็นนักปฏิบัติ   หากต้องการจะเจริญก้าวหน้าไปในธรรมปฏิบัติจริงแล้ว  จะต้องสนอกสนใจ  เอาใจใส่ฝึกฝนตนเองแม้จากเรื่องนอก ๆ หยาบ ๆ อย่างกวาดตาดนี้แหละ แล้วจึงมีนิสัยละเอียดลออ รู้สึกสังเกต เหตุผล ลึกซึ้งเข้าไปโดยลำดับจึงจะเหมาะสมต่อคุณธรรมขั้นสูง  และละเอียดลึกซึ้งต่อไป   ถ้าหากละเลยต่อกิจการนอก ๆหยาบ ๆเสียแล้ว  ไฉนจะเป็นผู้มีความละเอียดลออ  ลึกซึ้ง  คู่ควรแก่การบรรลุคุณธรรมอันสูงส่งได้
         ? อุปนิสัยส่วนตัวของหลวงปู่ ?
         หลวงปู่มีอุปนิสัยหลาย ๆ อย่างที่เห็นว่าเหมาะสมกับเพศสมณะ  และพวกเราที่เป็นศิษยานุศิษย์  ผู้มุ่งดำเนินไปบนแนวทางเดียวกับท่าน    ควรจะรู้และพิจารณานำไปเป็นแบบอย่าง  พอจะยกมากล่าวในที่นี้
        เป็นผู้ประหยัด  สันโดษ
        ท่าน มีนิสัยประหยัดในการใช้เครื่องใช้ต่าง ๆ  จนเป็นที่ปรากฏ  และติดตาติดใจ และเลยหล่อหลอมติดเป็นนิสัยกับลูกศิษย์ไปด้วยหลาย ๆ รูป  หลาย ๆ อย่าง  เช่น  การใช้สบู่ถูตัวของท่าน  ท่านจะใช้จนก้อนสบู่กร่อน   เหลือเพียงก้อน นิด ๆ เท่านิ้วก้อย  ก็ไม่ยอมให้ทิ้งไป  แต่ท่านนำไปติดเข้ากับก้อนใหม่   แล้วใช้ถูตัวต่อไปอีก  จนแม้เศษเล็ก ๆ นั้น  ค่อย ๆ กร่อน หมดไปเลยจริง ๆ ในที่สุด
         ถ่านไฟฉาย   เมื่อใส่ในกระบอกไฟฉายแล้ว  ท่านจะเปิดส่องสว่างดูทางเดิน  หรือดูสิ่งของอะไร  ก็เปิดเพียงระยะสั้น ๆ  พอเห็นว่าอะไรเป็นอะไร  แล้วก็เป็นพอ  ท่านก็ดับไว้   อย่างเช่นการที่ท่านออกจากห้องพักมาข้างนอกในตอนตื่นจากจำวัดตอนตี 2 นั้น   ท่านจะส่องไฟฉายก็แต่ตอนเปิดประตูออกมาเดินลงพักล่างที่เป็นระเบียง   เดินไปที่บ้วนปาก   บ้วนปากแล้วเดินมาที่ระเบียง   สาดไฟดูทางจงกรม (คือที่ระเบียง)  เสีย 1 ครั้ง แล้วก็ดับไว้  เดินจงกรมไปมาที่ระเบียงโดยไม่ต้องเปิดไฟฉาย เพราะหมดความจำเป็นแล้ว   บริเวณระเบียงเป็นที่ ๆ ท่านคุ้นเคยเป็นอันดี  ไม่มีความจำเป็นต้องใช้แสงสว่างพิเศษใด ๆ  เพียงแต่ความสว่างจากแสงเดือน   แสงดาวของท้องฟ้าก็เป็นอันเพียงพอแล้ว  เมื่อเลิกจงกรมจะไปนั่งพักภาวนาที่เก้าอี้นวมที่ปลายระเบียงจึงเปิดไฟฉาย  ส่อง
ดูนิดหน่อย   เมื่อนั่งลงที่เก้าอี้นวมแล้วก็ดับไฟฉายไว้ จะเปิดไฟฉายอีกทีก็เมื่อตอนเลิกจากนั่งภาวนาตอนตี 4 เมื่อเข้าห้องเพื่อทำวัตรเช้าก็ปิดไฟฉายไว้  แม้เมื่อจะต้องส่องดูของในที่อื่น ๆ ก็เหมือนกัน  ก็ส่องดูพอเห็นเท่านั้น  มิได้ส่องกราดไปโน่น ไปนี่  ปรู๊ดปร๊าดไปทั่วและมิได้ใช้อย่างพร่ำเพรื่อเกินกว่าที่เป็นประโยชน์เลย   ถ่านไฟฉายของท่านแต่ละชุดที่ใส่เข้ากับกระบอกไฟฉาย  จึงใช้อยู่ได้นานมาก  บางชุดถึง  2-3  เดือน    (แต่ส่วนมากถ่านไฟฉายจะรั่วเละเสียก่อน   เพราะถ่านไฟฉายสมัยก่อนทำไม่แข็งแรงดีเหมือนในสมัยนี้  พระผู้อุปัฏฐากต้องคอยดูแล  และเปลี่ยนชุดใหม่ให้ท่านเมื่อเห็นว่าถ่านเริ่มจะเยิ้ม)
         เทียนไข ที่ท่านใช้จุดที่แท่นบูชาในห้องพัก  เพื่อทำวัตร เช้า-ค่ำ   เมื่อเสร็จทำวัตรท่านจะดับไว้  มิได้ปล่อยให้ติดอยู่จนหมดเล่ม  หรือปล่อยไว้นาน ๆ ดังนี้ เทียนไขที่ตั้งบนเชิงเทียนแต่ละครั้ง  ท่านจึงใช้ได้นานนับเดือน   แม้ที่แท่นบูชาที่อื่น  เช่น  ที่ศาลา หรือที่โบสถ์  ท่านก็ให้ทำอย่างนี้
         ผ้าใช้ต่าง ๆ  เช่น  ผ้าเช็ดมือ  ผ้าอาบน้ำ  ผ้าเช็ดตัว  ผ้าอังสะ  ผ้าสบง  จีวร  หลวงปู่จะใช้ผ้าเหล่านี้ด้วยความระมัดระวัง  ถนอม  และใช้อย่างคุ้มค่า  ไม่ทิ้งขว้างเสียง่าย ๆ มีขาดทะลุที่ใด  แม้ท่านไม่อาจปะ ชุนได้เอง  ก็ให้พระเณรนำไปจัดการให้  แม้ใครจะนำผืนอื่นชิ้นอื่นมาถวาย    ท่านก็ยังให้นำผืนเก่านั้นมาใช้ต่อไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าสภาพผ้านั้นทรุดโทรมเกินกว่าที่จะซ่อม  ท่านจึงอนุญาตให้นำผืนใหม่มาแทน
         ความใช้ของอย่างประหยัดให้คุ้มคุณค่าอย่างนี้    มิใช่ว่าหลวงปู่ท่านตระหนี่แต่ประการใด   ท่านมีการแจกจ่ายสิ่งของเครื่องใช้ต่าง  ๆ  แก่พระเณร ในโอกาสต่าง ๆ อยู่เสมอ  ทั้งสงเคราะห์  ให้นำสิ่งของเครื่องใช้เหล่านั้น   ถวายไปยังสำนักวัดวาอื่น ๆ อยู่เป็นประจำ  แต่ท่านก็แนะนำพระเณรทุกรูปที่ท่านพอจะแนะนำได้   ให้ใช้สิ่งของทั้งปวงอย่างรู้จักและให้สมคุณค่าของ ๆ นั้นมากที่สุด  ไม่ควรใช้อะไร ๆ อย่างสุรุ่ยสุร่าย   ด้วยเห็นว่ามีสิ่งของนั้น ๆ เยอะแยะมากมาย ท่านเคยเล่าให้ฟังถึงพระอาจารย์ของท่านที่อบรมสั่งสอนท่านมาว่า     เป็นองค์ที่เป็นแบบอย่างงดงามในเรื่องการใช้สิ่งของอย่างประหยัด  และสมคุณค่าของ ๆ นั้น  ท่านว่ามิใช่เพราะหวงแหนเสียดายในสิ่งของดอก  แต่เสียดายปฏิปทา  และนิสัยอันดีมีประโยชน์ของสมณะจะเสียไป   ท่านว่าหากนักปฏิบัติมีนิสัยแห่งการใช้สิ่งของอย่างประหยัด  ใช้ให้คุ้มความมีประโยชน์ของสิ่งของแล้ว   จะไม่สิ้นเปลืองอะไร ๆ มากมายเลย   ถึงแม้จะมีของเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็อยู่ได้   ใช้พอไม่เดือดร้อน  ความเป็นอยู่ของนักปฏิบัติธรรมที่มีนิสัยอย่างนี้   จึงสามารถอยู่ได้สะดวกสบาย    แม้ในที่ค่อนข้างอัตคัตในเครื่องใช้เครื่องบริโภค   เมื่อไม่เดือดร้อนก็เป็นช่องทางให้จิตใจไม่เดือดร้อนกังวล  จะฝึกฝนอบรมด้านจิตใจ  ก็สะดวกสบายเป็นไปด้วยดีเท่านั้นเอง
           เป็นผู้ระมัดระวังตน
          โดยปกติหลวงปู่จะระมัดระวังอยู่เสมอ   ไม่ให้มีการเบียดเบียนใคร ๆ  ไม่ให้กระทบกระเทือนใคร ๆ แม้พระเณรในวัดฯเอง     ท่านถือว่าทุกองค์มุ่งมาสู่วัดของท่านเพื่อศึกษาอบรมการปฏิบัติธรรม  ต้องการโอกาส เวลา  ในการทำความเพียรภาวนาด้วยท่าน  ท่านจึงให้โอกาสแก่ทุก ๆ องค์มากที่สุด     การจะเรียกใช้สอยในกิจการใดอันเป็นกิจของวัดฯโดยตรง   ก็จะต้องเป็นกิจที่ไม่สามารถจะทำได้โดยวิธีใดอื่นแล้วเท่านั้น  แม้การเดินเหินไปมา  หรือการพูดจา  ท่านก็จะทำด้วยความเบา ๆ สงบ สำรวม  ไม่ให้มีเสียงอึงคะนึง  หรือตึง ๆ ตัง ๆ ท่านบอกว่าการทำอย่างนั้น อาจจะเป็นการกระทบกระเทือนพระเล็ก ๆ ผู้อุปัฏฐากที่อยู่กุฏิใกล้ ๆ กับท่าน หากเผอิญนั่งภาวนาสงบอยู่อาจเสียประโยชน์ได้   หรือการที่ท่านใช้ไฟฉายอย่างสำรวมไม่สาดกราดสูงไปโน่นไปนี่   ก็เพราะเกรงว่าแสงอาจไปกระทบหน้าตาของใคร  ทำให้เดือดร้อน    หรือหากผู้นั้นทำความสงบกำหนดจิตอยู่  อาจจะทำลายความสงบเป็นสมาธิของเขาได้     เหล่านี้เป็นต้นที่ได้กราบเรียนถามและท่านบอกให้ทราบ  ส่วนเรื่องนอก ๆ เช่น    การที่ท่านไม่เคยมีการเรี่ยไรในกิจทั้งปวงของท่าน    ก็เป็นเพราะเป็นผู้มีความระมัดระวังตนของท่าน  ซึ่งเป็นที่ทราบกันมาโดยตลอดอยู่แล้ว
         ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นกิจวัตรความเป็นอยู่ในแต่ละวันของหลวงปู่  ในช่วงสมัยที่ท่านมีอายุ  ประมาณ  77-80  ปี  (พ.ศ.2521-2525)  พร้อมเหตุการณ์และเรื่องราวบางอย่างที่เกิดขึ้น  ทั้งที่มีอยู่ในวัดหินหมากเป้งที่หลวงปู่พักอยู่ในช่วงนั้น     ความเป็นอยู่ของบุคคลโดยทั่ว ๆ ไป  ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสิ่งแวดล้อม      และสภาพร่างกายของตน  หลวงปู่ก็เช่นเดียวกัน   ระยะนั้นท่านยังแข็งแรงพอออกมากวาดตาดและเดินไปไหนมาไหนได้พอสมควร   โรคภัยไข้เจ็บก็ยังไม่มีอะไรเด่นชัดเป็นประจำ มีป่วยไข้เป็นหวัดบ้างเป็นครั้งคราว   ท้องเสียบ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ  ในสมัยอื่นลักษณะความเป็นอยู่ประจำวันของท่านย่อมจะเป็นอย่างอื่น  ย่อมจะไม่มีจังหวะเวลาและลักษณะอาการ รวมทั้งอุปกรณ์สิ่งของที่ใช้ทุกสิ่งทุกประการเหมือนเช่นที่กล่าวมานี้     พวกเราที่เป็นศิษยานุศิษย์ผู้ เคารพเลื่อมใสในท่าน  ปรารถนาจะทราบถึงเรื่องราวอันเป็นกิจวัตรประจำวันของท่าน  พึงทราบโดยนัยว่าที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงในช่วงสั้น ๆ ช่วงหนึ่งในช่วงชีวิตอันยาวนานของท่าน     พึงพิจารณาเลือกเอาส่วนใดที่เห็นแล้วว่า  จะเกิดเป็นประโยชน์ต่อการประพฤติปฏิบัติธรรมนำความก้าวหน้าเจริญรุ่งเรือง มาสู่ตนของตนตามปรารถนาเทอญ
           


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:34:40
                                        อนุสรณ์สถานของท่านอาจารย์เทสก์  เทสรังสี

   จังหวัดหนองคาย
              อำเภอศรีเชียงใหม่
                 วัดหินหมากเป้ง
                         -   พระอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/1.jpg)                                                                    
                         -   มณฑป
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4649.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4646.jpg)
                             หลวงปู่เทสก์ ควบคุมการก่อสร้างมณฑป ปี พ.ศ ๒๕๒๓
                             ติดยอดมณฑป ในงานฉลองชนมายุครบ ๘๐ ปี และงานฉลองมณฑป ปี พ.ศ.๒๕๒๘
                         -   ศาลาเทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4636.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4635.jpg)
                             ศาลาเทสก์ประดิษฐ์
                         -   ภาพจิตกรรมฝาผนัง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/4.jpg)
                        
                         -   ศาลาจงกรม
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4650.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2478.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4651.jpg)    
                         -   ลานมณฑป
                         -   ศาลาเล็กข้างศาลาเทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2479.jpg)
                         -   หอกลอง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/5.jpg)
                         -   กุฏิเสนาสนะ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/71.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2472.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2473.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2474.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2475.jpg)                                                                                                
                         -   กำแพงวัด
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2476.jpg)    
                         -   หอสมุด
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/6.jpg)
                         -   หอพระหุ่นขี้ผึ้ง
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2480.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4640.jpg)
                         -   หอระฆัง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/5.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4648.jpg)
                         -   ตำหนักรับรองสมเด็จพระสังฆราช
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2481.jpg)
                         -   วิหารหอพระ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2482.jpg)
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2483.jpg)
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๒
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๓
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๔
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๕
                         -   อาคารรับรองฆราวาสชาย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2484.jpg)
                         -   ระบบประปาพร้อมโรงกรองและถังจ่าย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2485.jpg)
                         -   เมรุและศาลาพักศพ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2487.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2486.jpg)
                         -   ศาลากลางน้ำ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2488.jpg)
                         -   พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4661.jpg)
                              
                         -   ห้องน้ำชาย หลังศาลาเทสรังสี
                         -   ห้องน้ำหญิง หน้าโรงครัว
                         -   ศาลาแม่ชี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2490.jpg)
                         -   กุฏิแม่ชี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2491.jpg)
                         -   กุฏิคุณแม่น้อย
                         -   กุฏิรับรองอุบาสิกา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2492.jpg)
                    บ้านโคกซวก
                         -   สะพานข้ามห้วยซวก
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2493.jpg)
                    บ้านไทยเจริญ
                         -   ศาลาเอนกประสงค์เทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2494.jpg)
                    โรงเรียน
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2495.jpg)
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๒
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2496.jpg)
                    วัดพระพุทธบาทคอแก้ง
                         -   ศาลาพระพุทธบาท
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2497.jpg)
                         -   พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2498.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2499.jpg)
                    วัดลุมพินี
                         -   ศลาการเปรียญและซื้อที่ดิน
                             ภายในศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2500.jpg)
                    วัดวังน้ำมอก
                         -   ศาลาราชนิโรธรังสีอนุสรณ์  ๓๓
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2501.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2502.jpg)
                    วัดถ้ำฮ้าน
                         -   ต่อเติมศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2503.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2504.jpg)
                    โรงเรียน ต.โพธิ์ตาก
                         -   โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาก
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2505.jpg)
                    วัดโพธิ์รุขาราม ต.โพธิ์ตาก
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2506.jpg)
                    วัดป่าสามัคคีธรรมาวาส ต.โพนทอง
                         -   ซ่อมแซมศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2507.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2508.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2509.jpg)
                    วัดโพธิ์ศรีวนาราม ต.หนองปลาปาก
                         -   สมทบทุนอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2510.jpg)
                    ห้องสมุดศรีเชียงใหม่
                         -   ห้องสมุดประชาชน
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2511.jpg)
                    อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษาศรีเชียงใหม่
                         -   อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2512.jpg)
              อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
                    วัดอรัญญวาสี
                         -   อุโบสถ
                                                                 พระอุโบสถหลังเก่าวัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2513.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2514.jpg)
                                                                 พระอุโบสถหลังใหม่วัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2515.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2517.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2516.jpg)
                         -   ภาพเขียนครูบาอาจารย์ 14 องค์
                         -   ศาลาการเปรียญ
                                                                  ศาลาการเปรียญวัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2518.jpg)
                                                                  ภายในศาลาการเปรียญ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2519.jpg)
                         -   หอนาฬิกา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2521.jpg)
                         -   วิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2523.jpg)
                         -   กุฏิเทสรังสี (กุฏิเจ้าอาวาส )
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2520.jpg)
                         -   กุฏิเรือนแถว ๒ ชั้น
                         -   บ้านพักอุบาสิกา ๒ หลัง
                         -   ห้องสุขา ๒๒ ห้อง
                         -   ถังน้ำประปา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2522.jpg)
                         -   กำแพงรอบวัดและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2524.jpg)
                     โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
                         -   ตึกสงฆ์อาพาธ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2525.jpg)
                         -   บริจาคดิน 3 ไร่ 5 ตารางวา
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์ 5 รายการ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2526.jpg)
                     อำเภอท่าบ่อ
                         -   สมทบทุนสร้างที่ว่าการอำเภอ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2527.jpg)
                     วัดป่าจันทาราม
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2528.jpg)
                 อำเภอสังคม
                         -   หอพระพุทธมงคลสารประภากรมุนี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2529.jpg)
                         -   บริจาคเงินปรับปรุงพัฒนา
                         -   บริจาคซื้อที่ดิน
                 อำเภอเมือง จ.หนองคาย
                      วัดศรีเมือง
                         -   สมทบทุนสร้างอุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2530.jpg)
                      โรงพยาบาลหนองคาย
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์
                 อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
                      วัดโพธิการาม
                         -   วิหารหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2532.jpg)
                 อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
                         -   สมทบทุนตึกสงฆ์เทิดพระเกรียติ 60 พรรษา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2534.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2533.jpg)
            จังหวัดอุดรธานี
                 อำเภอบ้านผือ
                       วัดป่าบ้านนาสีดา
                         -   อุโบสถ
                                                     หลวงปู่เทสก์ ปรึกษางานและตรวจแบบก่อสร้างพระอุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2536.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2542.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2535.jpg)
                         -   เมรุเผาศพ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2537.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2543.jpg)
                       วัดป่ากุดงิ้ว (วัดป่าบ้านผักบุ้ง )
                         -   ศาลาการเปรียญ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2544.jpg)                              
                       วัดศรีราษฎร์บำรุง (บ้านผักบุ้ง)
                         -   อุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2545.jpg)
                       วัดป่านิโรธรังสีฯ
                         -   บ้านพักรับรองอุบาสิกา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2546.jpg)
                       บ้านกลางใหญ่
                         -   เมรุเผาศพ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2547.jpg)
                       ถ้ำพระ นาผักหอก
                         -   ศาลาบำเพ็ญบุญ (แท็งค์น้ำด้านล่าง)
                         -   ศาลาการเปรียญ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2549.jpg)
                         -   บ้านพักอุบาสิกา พร้อมทั้งสร้างทางลูกรังเข้าวัดระยะทาง 6.5 กิโลเมตรด้วย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2551.jpg)
                       โรงเรียน
                         -   หอพระ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2554.jpg)
                         -   ซุ้มประตู
                         -   หอสมุด
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2553.jpg)
                         -   ถังน้ำสูง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2555.jpg)
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2552.jpg)
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๒
                       วัดป่าสาระวารี
                         -   บริจาคสร้างสะพานไปอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2556.jpg)                              
                       วัดพระพุทธบาทบัวบก
                         -   ศาลานิโรธรังสีอนุสรณ์
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2557.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2558.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:35:14
อำเภอเมือง จ.อุดรธานี
                        วัดโพธิสมภรณ์
                         -   อาคารรับรองพระเถระอนุสรณ์ (อาคารอนุสรณ์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี พิพิธภัณฑ์บูรพาจารย์ฝ่ายกัมมัฏฐาน )
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2559.jpg)
                         -   ศาลาบำเพ็ญกุศล  ศาลาสามพระอาจารย์ (หลวงปู่เทสก์/หลวงปู่อ่อน/หลวงปู่บุญมา)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2560.jpg)
                       โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร
                         -   อาคารจริยศึกษา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2561.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2562.jpg)
             จังหวัดขอนแก่น
                       โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                         -   หอสงฆ์อาพาธ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2563.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2564.jpg)
             จังหวัดกาฬสินธ์
                       วัดประชานืยม (อ.เมือง )
                         -   ศาลาวิหารเทสก์ เทสรังสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2565-1.jpg)
             จังหวัดอำนาจเจริญ
                       วัดป่าสำราญนิเวศ
                         -   สมทบทุนสร้างพระตำหนักสมเด็จ ( อาศรมอบรมจิต )
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2566.jpg)
             จังหวัดอุบลราชธานี
                       วัดสุทัศนาราม
                         -   กุฏิ หลวงปู่เทสก์
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2567.jpg)
              จังหวัดชุมพร
                         -   โรงพยาบาลปะทิว
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2568.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2569.jpg)
              จังหวัดเลย
                         -   เมรุเผาศพประจำหมู่บ้านโพนสว่าง อ.นาด้วง
              จังหวัดภูเก็ต
                      อ.เมือง จ.ภูเก็ต
                         -  วัดเจริญสมณกิจ (หลังศาล)
                                                                                ศาลาการเปรียญหลังเก่า
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2570.jpg)
                                                                                ศาลาการเปรียญหลังใหม่
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2571.jpg)
                                                                                พระอุโบสถวัดเจริญสมณกิจ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2572.jpg)
                         -  วัดถาวรคุณาราม (แสนสุข)
                                                                                ศาลาการเปรียญ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2574.jpg)
                     อ.ถลาง จ.ภูเก็ต
                         -   วัดไม้ขาว
                                                                            หอประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2573.jpg)
                         -   วัดท่าฉัตรไชย
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดท่าฉัตรไชย
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2576.jpg)
                                                                              อุโบสถวัดท่าฉัตรไชย
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2577.jpg)
              จังหวัดพังงา
                      อ.เมือง จ.พังงา
                         -   วัดประชาสันติ
                      อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา
                         -   วัดนิโรธรังสี (ควนเขาดิน)
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดนิโรธรังสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2575.jpg)
                      อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา
                         -   วัดราษฎร์โยธี
                         -   วัดควนกะไหล
                         -   วัดสันติวราราม (สวนพริก)
                                                                             ศาลาการเปรียญวัดสันติวราราม
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2578.jpg)
               จังหวัดกระบี่
                      อ.อ่าวลึก จ.กระบี่
                         -   วัดแหลมศักดิ์
                         -   วัดคลองช่องลม
                                                 โครงการต่อเนื่องของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ที่กำลังดำเนินการก่อสร้างต่อไป
               จังหวัดสกลนคร 
                         -   พิพิธภัณฑ์เทสกเจดีย์ เทสรังสีอนุสรณ์ วัดถ้ำขาม อ.พรรณานิคม
               จังหวัดอุดรธานี
                         -   กำแพงวัดป่าบ้านนาสีดา อ.บ้านผือ
                         -   ซ่อมแซมหลังคาโบสถ์วัดไชยารามหนองสวรรค์ อ.เมือง
               จังหวัดหนองคาย
                         -   ฌาปนสถานบ้านเจื้อง อ.สังคม
                         -   ห้องสมุดประชาชน อ.เมือง
                         -   อาคาร สปอ.สังคม
                         -   อาคาร สปอ.ศรีเชียงใหม่
               จังหวัดราชบุรี
                         -   พิพิธภัณฑ์เจดีย์วัดป่าพระธาตุเขาน้อย อ.สวนผึ้ง
               จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                         -   ศาลาบำเพ็ญกุศลศพวัดตึกคชหิรัญ อ.ผักไห่
               สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                         -   ซ่อมแซมวิหารองค์ตื้อ นครเวียงจันทร์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:35:36
ประวัติวัดหินหมากเป้ง
บันทึกโดย หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี
พิมพ์แจกเป็นอนุสรณ์ในงานฝังลูกนิมิตผูกพัทสีมา  อุโบสถวัดหินหมากเป้ง
วันที่ ๕ ? ๗  เมษายน  พ.ศ. ๒๕๑๕

...........................................

              หลังจากนี้ไปราว ๔๐ ปี   ที่นี้เป็นป่าทึบรกมาก  กอรปด้วยเชื้อมาลาเรีย   ทั้งเป็นที่อยู่อาศัยของเหล่าสัตว์ร้ายต่างๆ มีเสือ หมี เป็นต้น   แล้วก็เป็นท่าข้ามของเขาเหล่านั้นในระหว่างสองประเทศ คือประเทศไทยและประเทศลาวอีกด้วย    เพราะที่นี้ห่างจากคนสัญจรไปมา   จะมีก็แต่พวกพรานป่ามาหาดักยิงสัตว์กินเท่านั้น   อนึ่งคนแถบนี้รู้จักหินหมากเป้งในนามว่าผีดุมาก   พระธุดงค์ที่ต้องการทดสอบความกล้าหาญของตนแล้ว  จะต้องมาภาวนา ณ ที่นี้   ผู้ที่ได้มาทดสอบความกล้าหาญในที่นี้แล้ว ย่อมเชื่อตนเองได้  ทั้งเพื่อนพรหมจรรย์ก็ยกยอว่าเป็นผู้ที่กล้าหาญเชื่อถือได้   เนื่องจากเขาถือว่าผีดุนั่นเอง   ต้นไม้ใหญ่ป่าดงจึงยังคงเหลือไว้ให้พวกเราได้เห็นดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้    นอกจากจะเป็นท่าข้ามของเหล่าสัตว์ร้ายดังกล่าวแล้ว  ยังเป็นท่าข้ามของของพวกมิจฉาชีพขนของหนีภาษี มีฝิ่นเถื่อนเป็นต้น     สัตว์พาหนะมีวัวควายเป็นต้นไม่ว่าฝั่งโน้นหรือฝั่งนี้   ถ้ามันหาย สงสัยว่าคนขโมยแล้ว   ทั้งเจ้าของและเจ้าหน้าที่จุดแรกจะต้องมาดักจับเอาที่ตรงนี้เอง   ถ้าไม่เจอะแล้วก็หมดหวัง
              หินหมากเป้ง เป็นชื่อหินสามก้อนซึ่งตั้งเรียงรายกันอยู่ริมฝั่งโขงที่หน้าวัดนี้เอง    อันมีรูปลักษณะคล้ายลูกต้มเครื่องชั่งทองคำสมัยเก่า   คนพื้นนี้เขาเรียกว่า เต็ง  หรือ  เป้งยอย      คำว่า หมากเป้ง เป็นภาษาภาคนี้   ผลไม้หรืออะไรก็ตามถ้าเป็นลูกแล้วเขาเรียก หมาก ขึ้นหน้า เช่น หมาก-ม่วง หมากพร้าว เป็นต้น  มีคนเฒ่าคนแก่เล่าปรัมปราสืบกันมาว่า   หินหมากเป้งก้อนบน(เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง  ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์    ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้างให้เจริญ    คำนี้ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้พยากรณ์ไว้มิได้บอก   เป็นแต่เล่าสืบๆกันมาเท่านั้น  แต่มีเค้า  น่าจะมีผู้ญาณพยากรณ์ไว้แน่   เพราะสถานที่นี้เป็นที่มีวัตถุโบราณ อันส่อแสดงว่าคงจะเป็นสถานที่สำคัญสักอย่างหนึ่ง     ดังที่ปรากฏอยู่คือ  ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง   ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ    แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใด ๆ  แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย    เรื่องสามกษัตริย์จะมาสร้างหินหมากเป้งให้เจริญ  ผู้เขียนเมื่อยังเป็นเด็กอยู่ได้ฟังแล้วก็ยิ้มในใจไม่ยักเชื่อเลย   นึกว่าป่าดงดิบแท้ๆ ผีดุจะตายแล้วใครจะมาสร้าง   สร้างแล้วใครจะมาอยู่เล่า    แล้วเรื่องนั้นมันก็ลืมเลือนหายไปนานจนไม่มีใครกล่าวถึงอีกแล้ว  เพราะเห็นว่าไร้สาระ    แล้วจู่ๆ ผู้เขียนซึ่งซึ่งไม่เชื่อคำพยากรณ์นั้นเองได้มาอยู่และมาสร้างเสียเอง   จึงระลึกขึ้นมาได้ว่า  อ๋อ ความจริงมันหนีความจริงไม่พ้น   ถึงใครจะไม่พูดถึงมันก็ตาม เมื่อถึงเวลาของมันแล้วความจริงมันจะปรากฏขึ้นมาเอง
              พ.ศ.  ๒๔๘๑   พระอาจารย์หล้า  (ฉายา  ขันติโก) ได้มาจำพรรษา ณ ที่นี้เป็นองค์แรก  แต่ท่านก็มิได้สร้างเป็นวัด    ทำเป็นกระต๊อบเล็กๆ อยู่อย่างพระธุดงค์ธรรมดา ๆ   ท่านองค์นี้เป็นลูกบ้านห้วยหัดนี้เอง   ท่านเคยมีครอบครัวได้ลูกชายคนหนึ่งแล้ว   ภรรยาของท่านตายท่านจึงได้ออกบวช  อายุของท่านราว  ๔๐  ปี   โดยเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ วัดโพธิสมภรณ์เมื่อครั้งยังดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระราชเวที เป็นพระอุปัชฌายะ     ท่านไม่รู้หนังสือ   เมื่อมาภาวนากรรมฐาน ตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่าน   ท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรมาก  สนใจในกิจการทั่วไป   เมื่อตัวหนังสือมาปรากฏในภาวนาของท่านเป็นที่อัศจรรย์ ท่านยิ่งสนใจมาก   ท่านพยายามประสมและอ่านผิดบ้างถูกบ้างทีแรก   นานเข้าจนอ่านหนังสือที่มีเนื้อความเป็นธรรมได้     นอกนั้นอ่านไม่ได้   ผลที่สุดด้วยความพยายามของท่าน ท่านอ่านหนังสือทั่วๆ ไปได้หมด   เรื่องนี้ไม่น่าจะเป็นไปได้เลย  แต่ท่านอาจารย์หล้าได้เป็นไปแล้ว    ตอนหลังๆท่านเป็นเจ้าตำราสั่งให้เขาซื้อหนังสือใหญ่ๆ เช่น หนังสือพระวิสุทธิมรรค ? ปุพพสิกขาวรรณา  มหาขันธกวินัย   มาไว้เป็นสมบัติของท่านเลย
               ท่านชอบเที่ยววิเวกองค์เดียวอยู่ตามแถบแถวภูพานนี้โดยมาก   ชาวบ้านที่ท่านเทียวไปยอมเคารพนับถือท่านมาก   ถ้าบ้านใดเจ็บไข้ได้ป่วยโดยเขาถือว่าผีมาอาละวาด   เขาต้องไปนิมนต์ให้ท่านไปขับผีให้   ความจริงมิใช่ท่านไปขับผี  แต่ท่านไปโปรดเขาพร้อมทั้งชาวบ้านด้วย    เมื่อท่านไปถึงทีแรกท่านจะต้องหาที่พักซึ่งเขาถือว่าเป็นที่อยู่ของผี   แล้วท่านจะต้องนั่งกำหนดภายในให้รู้ว่า ผีตัวนี้ชื่อว่าอย่างไร ทำไมจึงต้องมาอยู่ ณ ที่นี้   และได้ทำให้ชาวบ้านเขาเจ็บไข้ได้ป่วยเพราะเหตุใด     เมื่อท่านทราบแล้วท่านจะต้องกำหนดหาบทภาวนา  เพื่อให้ผีตนนั้นมีจิตอ่อนน้อมยอมเมตตาเป็นมิตรกับชาวบ้านเหล่านั้น   แล้วท่านจะเรียกชาวบ้านเหล่านั้นมาสอนให้เขาตั้งมั่นอยู่ในคุณพระรัตนตรัย     ต่อไปก็ให้มีการปฏิบัติทำวัตรไหว้พระเช้าเย็นเป็นประจำอย่าได้ขาด   แล้วตอนท้ายก็สอนให้เขาภาวนาบทที่ท่านเลือกได้นั้น   นอกนี้ก็สอนให้เขาเหล่านั้นงดเว้นจากการสาปแช่งด่าและพูดคำหยาบคายต่าง ๆ     ห้ามลักฉ้อโกงขโมยของกันและกัน   ให้เว้นจากมิจฉาจารและให้งดจากการดื่มสุรา   และยังมิให้รับประทานลาบเนื้อดิบอีกด้วย    เมื่อท่านไปสอนที่ไหนได้ผลเป็นที่อัศจรรย์ทุกแห่งไป   แม้ที่เป็นหนองหรือน้ำซับทำเลดี ๆ ซึ่งเขาถือว่าผีดุ   เมื่อปฏิบัติตามท่านสอนแล้ว  เขาไปจับจองเอาที่เหล่านั้นมาเป็นกรรมสิทธิ์ทำมาหากินจนตั้งตัวได้ก็มากราย    ที่อธิบายมานี้เพื่อให้เห็นอัจฉริยะนิสัยของท่าน  ซึ่งไม่น่าจะเป็นแต่มันก็เป็นไปแล้ว     ท่านพึ่งมรณภาพที่บ้านนาเก็น (ปัจจุบันคือ  วัดป่าขันติยานุสรณ์  ต.หนองแวง  อ. น้ำโสม  จ. อุดรธานี)  เมื่อ  พ.ศ. ๒๕๑๐  นี้เอง    อายุของท่านได้  ๘๒ ปี  พรรษา  ๔๒    การมรณภาพของท่านก็พิสดาร   คือท่านป่วยมีอาการเล็กน้อย   เย็นวันนั้นท่านออกเดินไปตามริมชายวัดเห็นต้นไม้แดงตายยืนอยู่ต้นหนึ่ง   ท่านบอกว่า ฉันตายแล้วให้ให้เอาต้นไม้นี้นะเผาฉัน  แล้วก็อย่าเอาไว้ล่วงวันล่วงคืนด้วย    ตกกลางคืนมาราว  ๒  ทุ่ม ท่านเริ่มจับไข้  อาการไข้เริ่มทวีขึ้นโดยลำดับ   ตีหนึ่งเลยมรณภาพ    บรรดาลูกศิษย์ทั้งพระและฆราวาสก็ทำตามท่านสั่งทุกอย่าง
                ที่นำเอาประวัติของท่านพระอาจารย์หล้ามาเล่าโดยย่อนี้   ก็เพื่อผู้สนใจจะได้นำมาเป็นคติ    และท่านเป็นคนแรกที่เริ่มสร้างวัดนี้      ต่อจากนี้ก็มีพระเส็ง ? พระคำจันทร์ ? พระอุทัย ? และพระคำพัน เป็นคนสุดท้าย
                เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗  ข้าพเจ้าได้จำพรรษาที่ถ้ำขาม    ออกพรรษาแล้วได้วิเวกมาพักอยู่ด้วยพระคำพัน   เห็นว่าที่นี้วิเวกดีพร้อมด้วยดินฟ้าอากาศก็ถูกกับโรค   รู้สึกว่าได้รับความสบายดี    จึงได้จำพรรษาอยู่ด้วยพระคำพัน      บรรดาศิษยานุศิษย์เมื่อได้ทราบว่าข้าพเจ้ามาอยู่ ณ ที่นี้  ต่างก็พากันลงเรือมาเยี่ยม เพราะเวลานั้นทางรถยังไม่มี    เมื่อพากันมาเห็นสถานที่เป็นที่สัปปายะ  อากาศก็ดี วิเวกน่าอยู่  วิวก็สวยงาม  แต่เสนาสนะที่อยู่อาศัยยังไม่น่าอยู่   ต่างก็พากันหาทุนมาช่วยบูรณะก่อสร้างจนสำเร็จเป็นวัดที่ถาวร   ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านทั้งหลายอยู่ ณ บัดนี้แล้ว

            ======================================================================================================

           เพิ่มเติมเกี่ยวกับวัดหินหมากเป้ง

ข้อพิจารณาเรื่อง  คูหรือสนามเพลาะรูปวงเดือน  ในวัดหินหมากเป้ง

พระเดชพระคุณหลวงปู่  กล่าวว่า

        ขุดคูเป็นรูปวงเดือนแรมหันข้างแหว่งลงไปทางแม่น้ำโขง   ถ้าดูที่ขุดเป็นปีกกาออกไปสองข้างแล้ว ทำให้เข้าใจว่าเป็นสนามเพลาะ    แต่ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ ณ ที่ใด ๆ  แลไม่เคยได้ยินนักโบราณคดีพูดถึงเลย

       ปรากฏในหนังสือเรื่องนิทานขุนบรมราชาหรือ  พงศาวดารเมืองล้านช้างว่า  หลังจากพระยาฟ้างุ่มตีได้เมืองหลวงพระบาง ในปี พ.ศ. ๑๘๙๖  แล้ว  ได้ทำสงครามรวบรวมบ้านเมืองเพื่อก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง  ในปี พ.ศ. ๑๘๙๘  ได้ยกกองทัพจากเมืองหลวงพระบางลงมาตีได้เมืองซายขาว (บ้านทรายขาว  อ. วังสะพุง  จ.เลย)  เมืองเชียงคาน (ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงตรงข้าม อ. เชียงคาน)  หลังจากนั้นยกกองทัพบกทัพเรือลงมาตีเมืองเวียงจันทน์  ซึ่งพระยาเภาและท้าวเชียงมุงเป็นเจ้าเมืองปกครองอยู่  ในพงศาวดารระบุว่า  ตั้งกองทัพที่  คอแก้ง  ซึ่งคอแก้งในแม่น้ำโขงบริเวณใกล้เมืองเวียงจันทน์ก็มีอยู่แห่งเดียว  คือแก่งหินในแม่น้ำโขงข้างวัดหินหมากเป้งนี้เอง

        เมื่อพิจารณาจากสภาพภูมิประเทศแล้ว  คอแก้งมีพลาญหินกว้างใหญ่และยื่นเข้ามาในแม่น้ำทั้งสองข้างทำให้แม่น้ำโขงตรงนี้แคบมาก  อาจที่จะทำ  สะพานเรือก  ให้ทหารในกองทัพที่อยู่ทั้งสองฟากแม่น้ำข้ามไปมาหากันได้โดยสะดวก  และสามารถนำเรือจอดเทียบที่ริมน้ำได้  แต่ถ้าเป็นใต้แก่งลงมาไม่สามารถจอดเรือได้เพราะแม่น้ำโขงใต้คอแก้งบริเวณ บ้านโคกซวก เป็นวังน้ำวน  หรือเป็นเวินที่เรียกว่า  เวินกุ่ม  เหนือวัดหินหมากเป้งขึ้นไปก็เป็นภูเขาสูงทั้งสองฟากแม่น้ำ  จนถึงบริเวณบ้านผาตั้ง อ่างปลาบึก อำเภอสังคม  จึงมีที่ราบให้ตั้งกองทัพได้  แต่น้ำโขงบริเวณนั้นก็เป็นวังน้ำวนเช่นกันโดยเฉพาะที่  อ่างปลาบึก
     
      ใต้วัดหินหมากเป้งลงไปจนถึงเมืองเวียงจันทน์เป็นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย ๆ ทั้งสองฟากแม่น้ำ  อาจเดินกองทัพบกไปถึงเมืองเวียงจันทน์ในเวลาไม่เกินครึ่งวัน  และยกทัพเรือไปถึงเมืองเวียงจันทน์ไม่เกิน ๓ ชั่วยามหรือ ๔ ชั่วโมงครึ่ง  แต่ผู้รวบรวมยังไม่มีโอกาสไปสำรวจฝั่งตรงข้ามกับวัดหินหมากเป้งว่ามีคูหรือสนามเพลาะแบบเดียวกันนี้หรือไม่   ถ้ามีสนามเพลาะแบบเดียวกันก็ยิ่งแสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นที่ตั้งกองทัพทั้งสองฟากแม่น้ำมาก่อน

        อีกประการหนึ่งภูมิประเทศตรงวัดหินหมากเป้งเป็นที่ลำแม่น้ำแคบมากและตลิ่งก็สูง  เหมาะแก่การซุ่มโจมตีและเหมาะที่จะตั้งกองตระเวนหน้าด่านสำหรับรักษาเมืองด้วยเช่นกัน

        สรุปว่า  หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงหินหมากเป้งหรือคอแก้ง  คือหนังสือพงศาวดารเมืองล้านช้างหรือนิทานขุนบรมราชา  ในสมัยพระยาฟ้างุ่มแถลงหล้าธรณี  คราวตีเมืองเวียงจันทน์ พ.ศ. ๑๘๙๘

          ========================================================================================================

        ข้อพิจารณาเรื่องนิทานปรัมปราเกี่ยวกับหินหมากเป้ง

พระเดชพระคุณหลวงปู่เล่าว่า

         มีคนเฒ่าคนแก่เล่าปรัมปราสืบกันมาว่า   หินหมากเป้งก้อนบน(เหนือน้ำ) เป็นของหลวงพระบาง  ก้อนกลางเป็นของบางกอก  ก้อนใต้เป็นของเวียงจันทน์    ต่อไปในอนาคตข้างหน้ากษัตริย์ทั้งสามนครจะมาสร้าง  หินหมากเป้ง  ให้เจริญ

สันนิษฐานว่า  นิทานปรัมปรานี้  อาจเกิดขึ้นประมาณ  พ.ศ.  ๒๓๑๐ ? พ.ศ.  ๒๓๗๑  เพราะ
             ๑   บางกอก  ก่อน พ.ศ.  ๒๓๑๐  เป็นเพียงเมืองหน้าด่านที่มีป้อมปราการสองฟากแม่น้ำ  เป็นป้อมสำหรับป้องกันข้าศึกที่จะยกมาตีกรุงศรีอยุธยาทางทะเล  เรียกว่าเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร  เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงขับไล่พม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาแล้วได้อพยพไพร่พล  ลงไปตั้งเมืองธนบุรีเป็นเมืองหลวงในปี พ.ศ.  ๒๓๑๐
             ๒   หลังจากพระยาฟ้างุ้มทรงก่อตั้งอาณาจักรล้านช้าง  ในประมาณ พ.ศ.  ๑๘๙๖ แล้ว  ทรงยกเมืองหลวงพระบางเป็นเมืองหลวง  เมืองเวียงจันทน์เป็นเพียงเมืองพระยามหานคร  เช่นเดียวกันกับเมืองนครพนม  เมืองปากห้วยหลวง (โพนพิสัย)   และเมืองพิษณุโลก  เมืองนครศรีธรรมราช  ของกรุงศรีอยุธยา  มีขุนนางผู้ใหญ่ปกครองเรียกว่า  พระยาเมืองจันทน์  หรือพระยาแสนเมืองเวียงจันทน์
             ต่อมาในปี  พ.ศ.  ๒๑๐๓  พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช  ทรงอพยพไพร่พลลงไปตั้งเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง  ยกเมืองหลวงพระบางให้เป็นที่ตั้งของพระพุทธศาสนา  มีขุนนางปกครอง  จนกระทั่งสิ้นรัชกาลของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราช  เกิดสงครามแย่งชิงราชสมบัติในพระราชวงศ์ล้านช้าง  พระไชยองค์เว้  ทรงยึดเมืองเวียงจันทน์ได้  สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระไชยเชษฐาธิราช ที่ ๒  ครองเมืองเวียงจันทน์  ในปี พ.ศ.  ๒๒๔๑  ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเพทราชา แห่งกรุงศรีอยุธยา  และเจ้ากิ่งกิจ  ทรงยึดเมืองหลวงพระบางได้ใน ปี พ.ศ. ๒๒๔๖  ทรงสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น  พระธรรมกิจล้านช้างร่มขาว  ครองเมืองหลวงพระบาง  ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเพทราชา  แห่งกรุงศรีอยุธยา  อาณาจักรล้านช้างจึงแบ่งออกเป็นสองนครรัฐ  คือกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างเวียงจันทน์  และกรุงศรีสัตตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง
              ต่อมาเมื่อเจ้าราชครูหลวงยอดแก้วโพนสะเม็ก   หรือญาครูขี้หอม  ได้อพยพญาติโยมและลูกศิษย์บริวารออกจากเมืองเวียงจันทน์ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  ๒๒๓๘  ไปอยู่เมืองนครจำปาศักดิ์  และได้ยกเจ้าหน่อกษัตริย์  ราชนัดดา (หลานตา) ของพระยาสุริยวงศาธรรมิกราชขึ้นเป็นกษัตริย์ครองเมืองนครจำปาศักดิ์  ในปี พ.ศ. ๒๒๕๖  ทรงพระนามว่าเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร  อาณาจักรล้านช้างจึงได้แตกออกเป็น ๓ นครรัฐ  แต่นั้นมา  ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ  ครองกรุงศรีอยุธยา  (บางกอกยังเป็นเพียงเมืองธนบุรีศรีมหาสมุร)
              ในปี พ.ศ. ๒๓๒๒  เกิดสงครามระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  กรุงธนบุรีและเจ้าสิริบุญสาร เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์  (สมเด็จ)เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก  ตีได้เมืองเวียงจันทน์  และเจ้าสุริยวงศ์ผู้ครองเมืองนครหลวงพระบางยอมอ่อนน้อม  ขอเป็นข้าขอบขันธสีมา  เมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบาง  จึงเป็นเมืองประเทศราชขึ้นแก่กรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  จึงทรงเป็นกษัตริย์ทั้งสามนครพระองค์แรก
              ในปี พ.ศ. ๒๓๖๙  เจ้าอนุวงศ์  เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์คิดก่อการกบถ  ทำสงครามกู้เอกราช  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดเกล้า ฯ ให  กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์  และพระยาราชสุภาวดี (เจ้าพระยาบดินทร์เดชา) ยกกองทัพขึ้นมาปราบ  เจ้าอนุวงศ์สู้ไม่ได้จึงหนีไปเมืองญวน  และถูกจับได้ในปี พ.ศ. ๒๓๗๑     หลังสงครามกับกรุงเทพ ฯ ในครั้งนั้น  โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าประเทศราชเมืองเวียงจันทน์และโปรดเกล้า ฯ ให้ทำลายเมืองเวียงจันทน์  เหลือไว้แต่พระอาราม  และตั้งบ้านไผ่  หรือเมืองล่าหนอง  เป็นเมืองหนองคาย  ขึ้นดูแลบริเวณอาณาเขตเมืองเวียงจันทน์แทน
               ส่วนเมืองหลวงพระบางมีความชอบในการร่วมปราบกบถในคราวนั้น  จึงยังคงมีกษัตริย์ปกครองต่อมาจนถึง ปี  พ.ศ. ๒๕๑๘  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๓ จึงทรงเป็นกษัตริย์สามนครพระองค์ ที่ ๔ และเป็นพระองค์สุดท้าย

               สรุปความได้ว่า  นิทานปรัมปราเกี่ยวกับหินหมากเป้ง  คงเกิดขึ้นหลังจากตั้งบางกอกหรือเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรขึ้นเป็นเมืองหลวง  ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐  และไม่เกินไปกว่า ปี พ.ศ. ๒๓๗๑  หลังจากเมืองเวียงจันทน์ถูกทำลายกลายเป็นเมืองร้าง
               


เพิ่มเติมโดยพระดำรงรักษ์  ธัมมปาโล  วัดเทสรังสี  ๒๓ กันยายน ๒๕๕๒


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 11:35:52

         หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี เป็นพระอาจารย์ที่มีอุปนิสัยในทางปฏิบัติธรรม   ตามอย่างที่ได้เคยฝึกฝนอบรมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต มาเป็นเวลานาน   วัดหินหมากเป้งจึงเป็นวัดที่เน้นการปฏิบัติธรรมเป็นหลัก     หลวงปู่ได้พัฒนาวัดหินหมากเป้ง   โดยได้ทำการก่อสร้างเสนาสนะและอาคารสิ่งก่อสร้างต่างๆ  ทำให้เป็นวัดมีอาคารเสนาสนะอย่างสมบูรณ์    ทั้งหลวงปู่ได้วางระเบียบทั้งกฎกติกาต่างๆ  เพื่อให้พระเณรตลอดจนอุบาสกอุบาสิกาที่มาวัดได้ถือเป็นแนวทางปฏิบัติ   ทำให้วัดหินหมากเป้งสงบเรียบร้อยดีเป็นที่เจริญใจแก่สาธุชนผู้มาสู่วัดตลอดมา       ทางวัดก็ได้ยึดถือนโยบายและแนวทางที่หลวงปู่ได้วางไว้เป็นเครื่องดำเนินโดยตลอดมา
         หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี  ปกครองวัดหินหมากเป้งต่อมาถึง  วันที่ ๑๗  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๓๗   จึงมรณภาพ
     
ลำดับเจ้าอาวาสผู้ปกครองวัดหินหมากเป้งดังนี้

๑  พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฎ์ (หลวงปู่เทสก์  เทสรังสี)      พ.ศ. ๒๕๐๗ ? ๒๕๓๗
๒  พระอธิการอุทัย  ฌานุตตโม                                            พ.ศ. ๒๕๓๘ ? ๑๐ มกราคม ๒๕๓๙
๓  พระครูวิสุทธิคุณรังสี (ชัยชาญ  ชยธัมโม)                              พ.ศ. ๒๕๓๙ ? ๒๕๔๑
๔  พระอธิการพิชิต  ชิตมาโร                                         กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒ ? กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒
๕  พระอาจารย์ไพบูลย์  โกวิโล                                     กุมภาพันธ์  ๒๕๕๒ ? พฤษภาคม ๒๕๕๓
๖  พระครูมงคลญาณโสภณ (บุญทวี  สีตจิตโต)                    พฤษภาคม  ๒๕๕๓ ? ปัจจุบัน

       ==============================================================================================================

                    รายนามวัดสาขาวัดหินหมากเป้ง

            ๑   พระ อ. นิรันดร์  คุณธโร  วัดถ้ำน้ำทิพย์  บ. นามูล  ต. ดูนสาด  อ. กระนวน  จ. ขอนแก่น  ๔๐๙๗๐
               ๒   พระ  อ.สมคิด  ธัมมสาโร  สำนักสงฆ์บ้านดงขันทองต. บ้านเหล่า  อ. เพ็ญ  จ. อุดรธานี  ๔๑๑๕๐
               ๓   พระ อ. อุทัย  อุทโย  วัดป่าวังน้ำเย็น บ. ขามเฒ่า  ต. ขามเฒ่า  อ. กันทรวิชัย  จ. มหาสารคาม  ๔๔๑๕๐
               ๔   พระครูธรรมชัยเมธี (อ.ประคอง  วิสาระโท)  วัดธรรมโยธินนิวาส บ. นิคมทหารผ่านศึก  ต. บ้านตาด  อ.เมือง  จ. อุดรธานี  ๔๑๐๐๐
               ๕   พระอาจารย์ สมร  ฐิตธมฺโม   วัดป่าดงแก้วรังสี ต. โนนทองอินทร์  กิ่ง อ. กู่แก้ว  จ. อุดรธานี  ๔๑๑๓๐
               ๖   พระครูมงคลญาณโสภณ (บุญทวี  สีตจิตโต)  วัดป่าเทสรังสี (ร้อยรู)ต. แสนตุ้ง  อ. เขาสมิง  จ. ตราด  ๒๓๑๕๐
               ๗   พระ อ.บรรหาร  ธัมมรโต  สำนักสงฆ์สถานีทดลองพืชสวนฝาง ต. โป่งน้ำร้อน  อ. ฝาง  จ. เชียงใหม่  ๕๐๑๑๐
               ๘   พระครูภาวนาวิทยาคม  (อ. วิชา  อภินันโท)  วัดศรีเทพนิมิตวราราม  บ. ชะอม ต. บ้านนา  อ.  แก่งคอย  จ. สระบุรี  ๑๘๑๑๐
               ๙   พระ อ. ศิริศักดิ์  ศิริคุตโต  วัดป่าหนองแสง  บ. หนองแสง  ต. แก้งไก่  อ. สังคม  จ. หนองคาย  ๔๓๑๖๐
              ๑๐   พระ อ. สมพงษ์  ธนปาโล  วัดป่าแสงทอง  บ. แสงทอง ต. บ่อรัง  อ. วิเชียรบุรี  จ. เพชรบูรณ์  ๖๗๑๓๐
              ๑๑   พระ อ. พิษณุ  ชินวังโส  วัดป่าบ้านมะกอก  ต. ท่าขอนยาง  อ. กันทรวิชัย  จ. มหาสารคาม  ๔๔๑๕๐
              ๑๒   พระ อ. เค  ปภัสสโร  วัดป่าบ้านก๊อด  ต. ปงสนุก  อ. เวียงสา  จ. น่าน  ๕๕๑๑๐
              ๑๓   พระไกรทอง  จันทวังโส  วัดป่าผาล้อม  บ. เพีย  ต. น้ำสวย  อ. เมือง  จ.เลย  ๔๒๐๐๐
              ๑๔   พระครูอดิสัยคุณาธาร  (อ. สะอาด  อภะโย)  วัดป่าผาขาม  บ. โพนสว่าง  ต. นาดอกคำ  อ. นาด้วง  จ. เลย   ๔๒๒๑๐
              ๑๕   พระ อ. ชาญ  ธัมมชะโย  วัดป่าเขาล้อม  ต. คลองตะเกรา  อ. ท่าตะเกียบ  จ. ฉะเชิงเทรา  ๒๔๑๖๐
              ๑๖   พระมหาปัญญา  ตัปปโร  วัดป่าปัญญาเจริญธรรม  บ. สูงแคน ต. หมูม่น  อ. เมือง  จ. อุดรธานี  ๔๑๐๐๐
              ๑๗   วัดป่าเขื่อนแก้ว  ต. ท่าสาย  อ. เมือง  จ. เชียงราย  ๕๗๐๐๐
              ๑๘   พระครูสุนทรธรรมโฆสิต (สุรเสียง   ปัญญาวชิโร)  วัดป่าเลิงจาน บ.โนนหัวฝาย ต.แก่งเลิงจาน  อ.เมือง  จ.มหาสารคาม
              ๑๙   วัดป่าบ้านห้วยลาด   ต. สานตม        อ. ภูเรือ   จ. เลย
              ๒๐   พระภัลลภ  อภิปาโล  วัดเชิงเลน  ซอยวัดเพลงวิปัสสนา  ถนนจรัญสนิทวงศ์  แขวงบางขุนศรี   เขตบางกอกน้อย     กรุงเทพฯ
              ๒๑   พระขวัญชัย  ผลธมฺโม  วัดเขาน้อยเทสรังสี  บ.เขาน้อย  ม.11  ต.ดู่ใต้   อ.เมือง  จ.น่าน
              ๒๒   พระวิโรจน์  ปัญญาวุโธ   วัดป่าบ้านคอนเรียบ    ต. เตาไห     อ.เพ็ญ  จ.อุดรธานี  41150
              ๒๓   พระพวง  คัมภีโร  วัดลุมพินีวัน  บ. ลุมพินี  ต. พระพุทธบาท  อ. ศรีเชียงใหม่  จ. หนองคาย
              ๒๔   วัดเทสรังสี  บ.วังน้ำมอก  ต. พระพุทธบาท  อ. ศรีเชียงใหม่  จ. หนองคาย
              ๒๕   วัดดอนขนุน (ถ้ำฮ้าน)  บ. ดอนขนุน  ต. ด่านศรีสุข  อ. โพธิ์ตาก  จ. หนองคาย
              ๒๖   สำนักสงฆ์ป่ายาง  บ.น้ำทอนใต้  ต. ด่านศรีสุข  อ. โพธิ์ตาก  จ. หนองคาย
              ๒๗   พระอาจารย์ศิริสมชัย  ทีปกโร  วัดป่าพระธาตุเจริญธรรม  ต.ทับกวาง  อ.แก่งคอย  จ. สระบุรี
              ๒๘   หลวงพ่อทองพูน  ปุญญกาโม  วัดป่าอภัยวัน  ต. บ้านทุ่ม  อ. เมือง  จ. ขอนแก่น
              ๒๙   พระอาจารย์สมควร  โกมโล  วัดเกาะกระทิง  ต. คลองตะเกรา  อ. ท่าตะเกียบ  จ. ฉะเชิงเทรา
              ๓๐   หลวงพ่อประสพ  วรจิตโต  วัดป่าภูรินทร์  ต. บ้านตาดเขต ๒   อ.เมือง  จ. อุดรธานี
              ๓๑   พระครูโสภณขันติพลากร(ทรงศักดิ์  ขันติโก)  วัดถ้ำพระผาป่อง  บ.ขัวสูง  ต.กกตูม  อ. ดงหลวง  จ. มุกดาหาร
              ๓๒   พระไพบูลย์  ญาณโสภโณ  วัดอุดมสิทธิกุล  บ.คลองสิบศอก  ต.นราภิรมย์  อ.บางเลน  จ. นครปฐม
              ๓๓   พระประพันธ์ศักดิ์  อนาวิโล  วัดป่าเทสรังสี (เขาตุ๊กปุ๊ก)  ต. ท่าเยี่ยม  อ.โชคชัย  จ. นครราชสีมา
              ๓๔   พระทองเจือ  ชุติมันโต  วัดเทสรังสีคัมภีรปัญญา  ม. 8    ต.ชะอม  อ.แก่งคอย จ.สระบุรี            18110


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 23:16:26
2 ที่ระลึก

           2.1พระนาคปรกนาสีดา

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG2.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/561722-1.jpg)

           เมื่อปี 2522  หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร(หลานหลวงปู่เทสก์) ขออนุญาตสร้างรูปหล่อเท่าองค์จริงหลวงปู่เทสก์ เททองหล่อที่วัด เพื่อประดิษฐานไว้วัดป่าบ้านนาสีดา(วัดป่าจันทรังสี) เพื่อให้ลูกหลาน ลูกศิษย์ ชาวบ้านนาสีดา ได้กราบไหว้แทนองค์จริงหลวงปู่เทสก์ เพราะการเดินทางจากบ้านนาสีดา -อ.ศรีเชียงใหม่-วัดหินหมากเป้ง ค่อนข้างลำบาก และขออนุญาตสร้างพระนาคปรก ซึ่งเป็นพระประจำวันเกิดของหลวงปู่เทสก์ (วันเสาร์) แจกชาวบ้านนาสีดา(บ้านเกิดหลวงปู่เทสก์) หลวงปู่เทสก์อธิษฐานจิต ๒ ครั้งโดยมีคณะจัดสร้างคือ ท่านผู้ว่าจังหวัดอุดรธานี (ท่านพิศาล มูลศาสตร์สาทร) โรงสีข้าวศรีไทยใหม่ อ.บ้านผือ(เป็นผู้ออกค่าบล็อค) ท่านพระอาจารย์จิต(หลานหลวงปู่เทสก์ เจ้าอาวาสวัดอรัญญิกกาวาส อ.บ้านผือ) หลวงปู่จันทร์โสม  จัดสร้างดังนี้
           1. พระกริ่งรูปหล่อ พระนาคปรก  (ใต้ฐานมีฝาอุดกริ่ง เป็นรูปธรรมจักร เท่านั้น) มีเนื้อทองคำ 11 องค์(ร้านทอง................. วงเวียนห้าแยกอุดรธานี ออกทองคำหล่อพระ)  เนื้อเงิน ประมาณไม่เกินหกสิบองค์  เนื้อทองแดง (ถ้าแขวน/ใช้นานๆจะดูเป็นเนื้อนวะโลหะ) สองพันองค์

         พระกริ่งนาคปรกนาสีดา เนื้อทองคำ  ( ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของพระเป็นอย่างสูง ที่เอื้อเฟื้อรูปพระ เพื่อเป็นวิทยาทานครับ)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3.jpg)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3-1.jpg)

พระกริ่งนาคปรกนาสีดา เนื้อเงิน  (ขอขอบพระคุณท่านเจ้าของพระเป็นอย่างสูง ที่เอื้อเฟื้อรูปพระเพื่อเป็นวิทยาทานครับ)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-2.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/73b1c239.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/3e5e400a.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/07dcf25c.jpg)

             พระกริ่งนาคปรก เนื้อทองผสม

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/8105.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/8106.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/8108.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3715.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3716.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/6141.jpg)

            ฝาอุดกริ่ง

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/54822.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/12-1.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/7698.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/f0a7f72d.jpg)

            คราบเบ้า

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/8976.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/8975.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/8974.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/34.jpg)

            กล่องใส่พระนาคปรกนาสีดา

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/6702.jpg)

            =========================================================================================================

            องค์นี้ฝาอุดกริ่งแปลกแตกต่าง

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9066.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9065.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9067.jpg)

            ==========================================================================================================

            2. เหรียญพระนาคปรกนาสีดา หลังเรียบ  (ลป.เทสก์ให้ลบชื่อของหลวงปู่ที่อยู่ด้านหลังเหรียญออก)มีเนื้อทองคำ ประมาณ 10 เหรียญ เนื้อเงิน ประมาณ ไม่เกินหกสิบเหรียญ  เนื้อทองผสม(ผิวไฟ -รมดำ) ประมาณ 3000 เหรียญ

             เหรียญเนื้อเงิน

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0285-1.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0286-1.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/DSCF9999.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/6365.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/6366.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/DSCF9998.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/DSCF9997.jpg)
        
            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0883.jpg)

             เนื้อตะกั่วลองพิมพ์

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0869.jpg)

            (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0870.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 23:16:45
                   เหรียญพระนาคปรก เนื้อทองแดง

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1762.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1763.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1765.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-52.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0341fdb3.jpg)

                   เหรียญนาคปรกนาสีดา บล็อคคอขีด (บล็อคเนื้อเงิน )

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-25.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3-6.jpg)

                   รอยตัดขอบเหรียญ

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/434721.jpg)
                       
                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4345.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4346.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4348.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/434822.jpg)

                   (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4349.jpg)

                                                                 2.2  เหรียญพัดยศรุ่นแรก ปี 2529

                    สร้างปี  พ.ศ ๒๕๒๙  เนื่องในงานทำบุญอายุครบ ๗ รอบ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) และ ฉลองพระอุโบสถวัดอรัญญวาสี ( เป็นวัดที่หลวงปู่มั่น ลป.เทสก์ ลป.ฝั้น ฯลฯ เคยมาจำพรรษา)  ขออนุญาตโดย ท่านปลัดฮิ (ท่านพิศาล มูลศาสตร์สาทร) ในวาระโอกาสที่ฟ้าชายเสด็จวัดอรัญญวาสี สร้าง 3000 เหรียญ เป็นเหรีญทองเหลืองชุบนิเกิ้ลแล้วกระหลั่ยทอง แยกเป็น 2 บล็อค
     1. บล็อคปั๊มครั้งแรก (พ.ศ .๒๙)  เป็นเหรียญปั๊มแรกๆ บล็อคยังไม่ชำรุด มีน้อย (เหรียญพัดยศ 20-30 เหรียญจะเจอเหรียญบล็อคนี้เหรียญเดียว )หายาก ตัวหนังสือนูนชัด อ่านง่าย  ส่วนใหญ่ที่ได้รับกับมือหลวงปู่ จะเป็นบล็อคนี้

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-7.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-8.jpg)
               
                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-4.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-10.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/f2a752cd.jpg)
                     
    2. บล็อคไข่ปลา  บล็อคนี้เป็นเหรียญปั๊มเมื่อบล็อคเริ่มชำรุด จะปรากฏเนื้อเกินเป็นเม็ดคล้ายไข่ปลา ลาดเอียงลงไปจากตัว ป ของคำว่า เป็น (ด้านหลังเหรียญ) ตัวหนังสือจะไม่คมชัดเท่าบล็อค ๒๙ ( ตัวเลข พ.ศ ๒๙ จะติดกันคล้าย ๒๔ หรือ ๒๘ )

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/5129.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/5130.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/6861.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/Copyof3.jpg)

                     หลักฐานและข้อมูลว่า สร้างปี ๒๙

                     พระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์เกิดปี พ.ศ. ๒๔๔๕ + ทำบุญอายุครบ ๗ รอบ ( ๑๒ x ๗ = ๘๔ ) =  ๒๔๔๕ + ๘๔ ปี พ.ศ.๒๕๒๙

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/509f00d3.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/d401c0eb.jpg)
                   
          **** จากคำบอกเล่าของคุณพ่อ ม. ลูกศิษย์หลวงปู่ (ที่พาท่านพิศาลนำเหรียญพัดยศมาถวายหลวง) ว่า หลวงปู่สั่งให้คุณพ่อ ม. นับเหรียญที่นำมาถวาย คุณพ่อ ม.ตอบว่านับไม่ไหวครับ เยอะมาก หลวงปู่ก็ได้ตำหนิว่า สร้างมาเยอะเกินกว่าที่ขอ หลวงปู่บอกให้คุณพ่อ ม.นำเหรียญเอาไปไว้ในกุฏิหลวงปู่ เท่าที่ถามคุณพ่อ ม. ว่า มีเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงินถวายหลวงปู่เพื่อให้หลวงปู่อธิษฐานจิตหรือไม่?  ตอนที่นำเหรียญไปถวายหลวงปู่ไม่มีเหรียญเนื้อทองคำและเนื้อเงินแน่นอน *****



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ธันวาคม 2553, 23:17:18
                          2.3 เข็มกลัดพัดยศลงยา(ขาว) ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี ๒๕๓๔

   จัดสร้างโดยคุญหญิง................เนื่องในงานฉลองสมณศักดิ์ " พระราชนิโรธรังสี" และทำบุญอายุครบ ๘๙ ปี สร้างประมาณ 300 อัน แจกคณะทำโรงทาน ตำรวจจราจร เจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ครู และลูกศิษย์ใกล้ชิด ที่มาช่วยงาน มีด้วยกัน 2 แบบ
    1.เข็มกลัดพัดยศกรรมการ จะเป็นเข็มกลัดพัดยศสีทองไม่ลงยา ด้านหน้าตรงกลางมีล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ไม่มีชื่อหลวงปู่ ฉากหลังสีฟ้าติดอยู่ สร้างประมาณ 10 อัน แจกกรรมการ (กรรมการชุดนี้ ถ้ายังมีอายุอยู่คงมีอายุไม่ต่ำกว่า 60-70 ปี) เคยเห็นอยู่ครั้งเดียวกับคุณป้า......(อายุ 70 กว่าปี)เมื่อสามปีที่แล้ว
    2. เข็มกลัดพัดยศลงยาขาว เป็นเข็มกลัดพัดยศกระหลั่ยทองลงยาสีขาว(ลงยาร้อน)
    เข็มกลัดพัดยศลงยา  ของแท้สังเกตุที่ลงยา  เก่า แห้งและจะเป็นสีขาวอมเทานิดๆ

           ภาพจำลองเข็มกลัดพัดยศลงยา กรรมการ

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3-3.jpg)

           เข็มกลัดพัดยศลงยา หน้า
 
           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-5.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-10.jpg)

           2.4  ล็อคเก็ต

           ล็อคเก็ตของหลวงปู่เทสก์ หายาก สร้างใช้เฉพาะคนในครอบครัว แต่ละแบบแต่ละรุ่นไม่เกิน 10 อัน   หรือสร้างแจกเฉพาะในหมู่ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดเท่านั้น เพราะฉะนั้นการจะเก็บจะหาล็อคเก็ตหลวงต้องสืบประวัติที่มาให้แน่ชัดว่า ลูกศิษย์คนไหนสร้าง สร้างปีอะไร อยู่กับใครบ้าง  

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-15.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-16.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/222-1.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/111.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9-2.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/99.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/90.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/12-5.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/11-2.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/22-8.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/97722.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/97732.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/index-1.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/index2-2.jpg)

          ล็อคเก็ตติดหนังสือธรรมมะหลวงปู่

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/62933.jpg)

          หนังสือธรรมมะหลวงปู่

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0143.jpg)

          ล็อกเก็ต  ยายมากแม่เจ้าของร้านถ่ายรูปเอราวัณโฟโต้ อ.ศรีเชียงใหม่ ขออนุญาตสร้าง ประมาณปี ๒๘

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/59085baf.jpg)

         ล็อกเก็ตมาตรฐาน อีก 4 แบบ ครับ

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-55.jpg)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/f7aea75e.jpg)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-18.jpg)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3d8a1feb.jpg)

         ล็อคเก็ตที่หาที่มายังไมได้
            
         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/12-6.jpg)

         (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2-5.jpg)

                                                             ล็อคเก็ตที่มีปัญหา & ปลอม

                                                       ปลอม

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/-.jpg)

                                                        ปลอม

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/--1.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1-89.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/f.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/7418.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/7193.jpg)

          (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/22-9.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/5598.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/22-10.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/l.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/12-25.jpg)

                               ปลอม

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/1758.jpg)

                               ปลอม

        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0898.jpg)

        (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/0853.jpg)

                               ปลอม

                                         รูปถ่ายขนาดห้อยคอ

      เป็นรูปถ่ายที่หลวงปู่แจกตั้งแต่ปี 06 - 10 เป็นต้นมา

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/12-3.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/29622.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/222.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-13.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1724.jpg)

                                รูปถ่ายแจกปี 16-17

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2681.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/5.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/Copyof9867.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/Copyof9868.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0844.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0845.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0287.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0029.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/0030.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9108.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9109.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/Copyof-1.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/Copyof.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/2905.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/5860.jpg)
    
      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/5861.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-14.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/7.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/c3332581.jpg)

                                        รูปถ่ายปี 20 กว่าๆ

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/1-15.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/dcec1964.jpg)

                                         3 ของชำร่วย

       บาตรที่ระลึก ปี ๒๕

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/9801.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/9802.jpg)

        ปี ๒๙

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4775.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/4777.jpg)

        ปี ๓๐/ปี ๓๒

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/bb67ae05.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/a37b76c2.jpg)

       ปี ๓๓/ปี ๓๕

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/09173996.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/f72f5cba.jpg)

          


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 มกราคม 2554, 14:35:02
                                                                      
          เหรียญรูปเหมือน รุ่นแรก ปี 2516 
 
        เป็นเหรียญที่หลวงปู่เทสก์ ไม่ได้อนุญาตให้สร้าง และสั่งให้นำเอาไปเทลงโบสถ์
       
        แยกแท้-เก๊ (หลวงปู่ไม่ได้อนุญาตและไม่ได้อธิษฐานจิต)  เป็น 2 แบบ

       1) เหรียญแท้แต่เก๊ ( เหรียญสร้างออกมาเมื่อปี 16 แต่หลวงปู่ไม่ได้อนุญาตและไม่ได้อธิษฐานจิต)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/16.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/16-1.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/766b17b0.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/e3d848f8.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/7758a5ac.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/b5e4d9ef.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/22.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/9.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/8.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/10.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/7.jpg)

       2) เหรียญเก๊แต่เก๊ (เหรียญสร้างเลียนแบบ/ปลอม+หลวงปู่ไม่ได้อนุญาตและไม่ได้อธิษฐานจิต)

       เหรียญที่แตกต่างไปจากเหรียญแบบที่ 1

       


       
                    


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ 23 มกราคม 2554, 22:29:48
**อนุโมทนาบุญในการเผยแผ่ คุณครูบาอาจารย์นะครับ สุดยอดของความพยามครับ สมบูรณ์จริงๆ.....


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554, 09:55:02
 รูปถ่าย รุ่นแรก ปี ๐๖ ด้านหลังมีเกษาหลวงปู่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: mickey ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554, 13:18:37
เรื่องเด็ด สาระดี สุดยอดครับท่าน เอามาลงเยอะๆนะครับท่านเจ้ากระทรวง เยอะแบบนี้ต้องเจ้ากระทรวง กรม เล็กไป
จะไดช่วยไม่ให้ผม เป็นกบในกระลา สุดยอดครับได้เห็นก็เป็นบุญแล้ว 008 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2554, 21:33:04
        ก็พยายามเอามาลงให้เพื่อนได้อ่านได้ชมกันครับ

        รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ ปี ๑๖ ได้มาใหม่ 3 แผ่น ด้านหลังมีการบรรจุ........... ( หมายเหตุ หลวงปู่ไม่ฉันหมาก เจ้าของเดิมเขาเอามาใส่ไว้ ไม่รู้ว่าเป็นหมากของหลวงปู่องค์ไหนครับ )


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 มีนาคม 2554, 12:30:22
  รูปถ่าย ปี ๑๕ ขนาด 6.6x8.8 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 มีนาคม 2554, 21:32:51
รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ ปี 16-18 ขนาด 5.3x6.9 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 มีนาคม 2554, 20:20:56
 ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ได้มาใหม่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ 25 มีนาคม 2554, 20:58:29
**ยังสุดยอดเช่นเคยนะครับ....


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: tar ที่ 30 มีนาคม 2554, 21:30:22
 017  017  017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 เมษายน 2554, 22:59:37
 เนื่องจากระยะนี้ เหรียญพัดยศรุ่นแรกบล็อคไข่ปลาปลอม ทำออกมาได้ใกล้เคียงของแท้มาก การเช่าหาก็ควรจะระมัดระวังมากขึ้นครับ

 ผมเอาเหรียญบล็อคไข่ปลาแท้ มาลงให้ได้ศึกษากัน เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันพระเก๊ครับ

 วิธีดูเหรียญบล็อคไข่ปลาแท้

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3396.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3372.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3390.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3374.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3385.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3378.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3376.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3363.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3362.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3361.jpg)

                     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3359.jpg)



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 04 เมษายน 2554, 19:52:12
สุดยอดครับพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 เมษายน 2554, 09:03:37
         
           ขอบคุณครับ 007

           วิธีดูเหรียญพัดยศรุ่นแรก บล็อค ๒๙

           ตัวตัดเหรียญเป็นตัวเดียวกัน แต่บล็อคนี้เป็นบล็อคแรก จะตัดได้คมกว่า

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3438.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3439.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3443.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3435.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3434.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3433.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3457.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3429.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3425.jpg)

           มีเส้นแตก หรือเส้นสายฝนดังรูป

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3446.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3449.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3452.jpg)

           พื้นเหรียญเรียบ มีเม็ดเกิน ไม่กี่เม็ด ตัวหนังสือคมชัด ใหญ่ อ่านง่าย

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3462.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3454.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3464.jpg)

           (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/wathinmakpeng/3453.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 เมษายน 2554, 10:03:19
         พระบูชานาคปรก ๙ เศียร หน้าตัก ๙ นิ้ว ฉลองอายุ ๙๐ ปี พระราชนิโรธรังสี ๒๖ เม.ย ๓๕


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 เมษายน 2554, 10:05:11
   
      ต่อ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 เมษายน 2554, 23:35:27
เอาบรรยากาศวัดหินหมากเป้ง เมื่อตอนบ่ายของวันนี้(15) มาให้ชมครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 เมษายน 2554, 07:00:29
  
     ประมวลภาพถ่าย (ต้นฉบับ)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 10 พฤษภาคม 2554, 06:07:38
สุดยอดมากๆๆๆๆๆๆๆครับ

ประเมินค่ามิได้จริงๆๆ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 10 พฤษภาคม 2554, 06:10:39
สุดยอดดด  จริงๆครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 มิถุนายน 2554, 06:36:55

   อัฐิธาตุ + โถเบญจรงค์หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 มิถุนายน 2554, 06:39:12
 
    รูปถ่ายบูชา พิธีเททองหล่อพระประธาน (หลวงพ่อเชียงรุ้ง) วัดป่าบ้านนาสีดา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 ธันวาคม 2554, 08:00:18
*


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 ธันวาคม 2554, 13:08:00
     เอาภาพบรรยากาศภายในวัด ก่อนจะถึงวันงานมาให้ชมครับ
     
       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03369.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03368.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03367.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03366.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03365.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03364.jpg)

       (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03378.jpg)

      (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03377.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03376.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03375.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03374.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03373.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03372.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03371.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03391.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03390.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/3383.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03382.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03381.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03380.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03379.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03399.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03398.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03397.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03396.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03395.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03393.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03392.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03404.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03403.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03402.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03401.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03400.jpg)

     (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/new/03399.jpg)



     


       

             




หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: หนองเหล่า ที่ 16 ธันวาคม 2554, 14:07:42
ขอกราบแทบเท้าหลวงปู่ ด้วย เศียรเกล้า ด้วยความเคารบ อย่างสูงยิ่ง ครับ 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 มีนาคม 2555, 20:32:13

  ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ปี ๓๕ ลูกศิษย์ใกล้ชิดขออนุญาตสร้าง พร้อมธรรมจักรติดล็อกเก็ตซีเปียครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 มีนาคม 2555, 21:36:17
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 มีนาคม 2555, 14:46:16

    วิธีพิจราณา เหรียญเข็มกลัดพัดยศลงยา แท้


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 มีนาคม 2555, 19:09:19

   รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ ปี 16 ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 เมษายน 2555, 10:08:38
   ตำหนิพัดยศลงยา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 เมษายน 2555, 08:11:24
 
    รอยตัดขอบเหรียญ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 เมษายน 2555, 07:48:05
  
    รูปถ่ายหลังยันต์ อจ.ฝั้น ประมาณปี 17-19


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 เมษายน 2555, 07:56:18

  รูปถ่าย(สติกเกอร์) ขนาดห้อยคอ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: vs12 ที่ 22 เมษายน 2555, 11:58:22
สอบถามครับ เหรียญ ร.5 รุ่นบูรณะสวนสาธารณะหนองเดิ่น หลวงปู่เทสก์ ได้อธิษฐานจิตให้หรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 เมษายน 2555, 22:16:27
สอบถามครับ เหรียญ ร.5 รุ่นบูรณะสวนสาธารณะหนองเดิ่น หลวงปู่เทสก์ ได้อธิษฐานจิตให้หรือเปล่าครับ ขอบคุณครับ

    013 012 015


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 เมษายน 2555, 06:35:35
    เข็มกลัดพัดยศลงยา ปี ๓๔


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 เมษายน 2555, 06:37:32
        เหรียญนาคปรก วัดป่าบ้านนาสีดา ปี ๒๒


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 พฤษภาคม 2555, 19:04:10
  รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ แป้งเจิมและเกษา พร้อมเลี่ยมทอง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 พฤษภาคม 2555, 08:10:26
ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 พฤษภาคม 2555, 09:23:30
 ลายมือ ลพ.พุธ เขียนบันทึกเอาไว้ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 พฤษภาคม 2555, 16:05:00
  เข็มกลัดพัดยศลงยาได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: chanatip ที่ 11 พฤษภาคม 2555, 16:12:36
ลายมือ ลพ.พุธ เขียนบันทึกเอาไว้ครับ


ชี้แจ้งด้วยครับ มายังไง

สุดยอดเลยครับ !    :wan-e046:


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 พฤษภาคม 2555, 19:16:02
ลายมือ ลพ.พุธ เขียนบันทึกเอาไว้ครับ


ชี้แจ้งด้วยครับ มายังไง

สุดยอดเลยครับ !    :wan-e046:

    ลพ.พุธ เขียนบันทึกเอาไว้ด้วยความเคารพนับถือในหลวงปู่ฝั้นและหลวงปู่เทสก์ ลป.ฝั้นบอกให้ ลพ.พุธ ให้อยู่ดูแลรักษาวัดป่าสาลวัน ส่วนหลวงปู่เทสก์เห็นว่า ลพ.พุธ สร้างวัตถุมงคลออกมาเยอะ ด้วยความเมตตาจึงบอกให้ ลพ.พุธ เลิกสร้างวัตถุมงคล ซึ่ง ลพ.พุธ ก็ได้ทำตามด้วยความเคารพนับถือและศรัทธา และได้เขียนบันทึกเอาไว้ครับผม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 พฤษภาคม 2555, 17:32:07
 
   เหรียญพัดยศ รุ่นแรก ปี ๒๙ ไดด้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 พฤษภาคม 2555, 07:47:34
พระกริ่งนาคปรกนาสีดา ปี 22 ลป.เทสก์ อธิษฐานจิต 2 ครั้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 พฤษภาคม 2555, 08:33:33
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ พร้อมเลี่ยมทอง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 พฤษภาคม 2555, 06:39:04
  พระคำข้าว-พระชานหมาก-พระข้าวก้นบาตร ( พระเก๊ ปลอม พระไม่มีวัด )

               พระคำข้าว -พระชานหมาก เป็นพระที่สร้างออกมากันเอง ปราศจากวัดหรือข้อมูล- ประวัติการสร้าง โดยมักจะใช้คำว่า เขาว่า สายตรงว่า เซียนว่า หรือไม่ก็ให้ข้อมูลแบบมั่วนิ่ม มีการทำออกมาหลายพิมพ์ เช่น พระสมเด็จ(แยกอีกออกมาอีกหลายพิมพ์) พระนางพญา พระงบน้ำอ้อย พระบูชาสิวลี พระปิดตา พระพิมพ์เหรียญนาคปรกนาสีดา  พระสังกัจจาย  ด้านหลังจะเป็นตัวหนังสือกดลึกลงไปว่า " หลวงปู่เทสก์ ปี 2535"ข้อมูลที่เขาชอบอ้างกันมีดังนี้
                  1. อ้างว่า เป็นพระออกวัดป่าบ้านนาสีดา และลูกศิษย์ สร้าง
              2. อ้างว่า เป็นพระที่พระและแม่ชีวัดหินหมากเป้ง สร้างบูชากันเองภายในวัด มีเกษา ข้าวก้นบาตร
              3. อ้างว่า เป็นลูกศิษย์สร้างถวายหลวงปู่อธิษฐานจิตในงานทำบุญครบรอบอายุ ๙๐ ปี (๒๖ เม.ย ๓๕)
              4. อ้างว่า เป็นลูกศิษย์สร้างใช้การภายในกลุ่ม มีส่วนผสมชานหมาก น้ำหมาก ข้าวก้นบาตร ลป. (หลวงปู่ไม่ฉันหมาก ยาเส้น) อธิษฐานจิตงานทำบุญครบรอบอายุ ๙๐ ( ปี ๓๕)

             ในงานทำบุญครบรอบอายุ  ๙๐ ปี (พ.ศ ๒๕๓๕) หลวงปู่ไม่ได้อธิษฐานจิตพระรุ่นไหนทั้งสิ้น
  
              ที่จริงพระชุดนี้เป็น พระสนาม พระเก๊  พระปลอม ทำออกมาตั้งแต่ปี 39 - 40  มาจากสนามพระวงเวียนห้าแยก จ.อุดรธานี มาอุปโหลกขายเอง  
              


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 พฤษภาคม 2555, 05:33:15
รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ หลังลายมือ-ลายเซ็นหลวงปู่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มิถุนายน 2555, 10:15:57
   วัตถุมงคลที่มี ? ของหลวงปู่เทสก์

 
  


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 มิถุนายน 2555, 09:04:10
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ ปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 มิถุนายน 2555, 09:05:59
เหรียญพัดยศ ลป.เทสก์ รุ่นแรก ปี ๒๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 26 มิถุนายน 2555, 18:54:46
สุดยอดข้อมูลครับพี่

หลวงปู่คุ้มครองครับ
 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 กรกฎาคม 2555, 12:57:49
ภาพหายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 กรกฎาคม 2555, 13:06:42
รูปถ่าย ลป.มั่น และ ลป.เทสก์ ถ่ายที่วัดป่าสาละวัน นครราชสีมา โดยร้านมีกวง โคราช ปี 2483


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 กรกฎาคม 2555, 11:33:15
รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ ปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 กรกฎาคม 2555, 20:15:24
รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ ปี ๑๖


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 กรกฎาคม 2555, 06:53:51
  รูปถ่ายหลังโต๊ะหมู่ ปี ๑๖-๑๗ ขนาด 2.5 x 3.5 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 สิงหาคม 2555, 20:03:22
เหรียญพระนาคปรกนาสีดา เก๊มาใหม่
เป็นเหรียญกระกลั่ยทอง (นอกทำเนียบครับ) ของเก๊มีเนื้อเกินและกลากทุกเหรียญครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 05 สิงหาคม 2555, 17:07:26
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆครับพี่
 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 07 สิงหาคม 2555, 13:32:27
เหรียญพัดยศ ลป.เทสก์ รุ่นแรก ปี ๒๙
พี่ครับเหรียญพัดยศรุ่นแรกปี๒๕๒๙ มีเก๊ไหมครับ แล้วเริ่มมีเก๊มาได้กี่ปีแล้วครับ คือผมมีพระของลป.เทส กริ่งนาสีดา/เหรียญปรกนาสีดา/พัดยศรุ่นแรก๒๕๒๙/เหรียญร.๕/พระบูชายืนปางห้ามสมุทร กริ่งเหรียญปรกเหรียญพัดยศได้มาราวๆยี่สิบปีแล้ว ส่วนพระบูชาได้ตั้งแต่ท่านผู้พิพากษาสร้าง เลยขอความรู้หน่อยว่าที่ผมมี มีรุ่นไหนลป.เทสอนุญาติ และรุ่นไหนลป.เทสไม่ได้อนุญาติสร้างครับ ผมติดตามพี่มาจากเวปอุดร๑๐๘/เชียงใหม่๑๙๐๐ เห็นสมาชิกในเวปนี้แล้วดูชื่อรู้สึกคุ้นๆๆกัน รบกวนข้อมูลด้วยครับ ขอบคุณล่วงนำเด้อ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 สิงหาคม 2555, 19:45:22
เหรียญพัดยศ ลป.เทสก์ รุ่นแรก ปี ๒๙
พี่ครับเหรียญพัดยศรุ่นแรกปี๒๕๒๙ มีเก๊ไหมครับ แล้วเริ่มมีเก๊มาได้กี่ปีแล้วครับ คือผมมีพระของลป.เทส กริ่งนาสีดา/เหรียญปรกนาสีดา/พัดยศรุ่นแรก๒๕๒๙/เหรียญร.๕/พระบูชายืนปางห้ามสมุทร กริ่งเหรียญปรกเหรียญพัดยศได้มาราวๆยี่สิบปีแล้ว ส่วนพระบูชาได้ตั้งแต่ท่านผู้พิพากษาสร้าง เลยขอความรู้หน่อยว่าที่ผมมี มีรุ่นไหนลป.เทสอนุญาติ และรุ่นไหนลป.เทสไม่ได้อนุญาติสร้างครับ ผมติดตามพี่มาจากเวปอุดร๑๐๘/เชียงใหม่๑๙๐๐ เห็นสมาชิกในเวปนี้แล้วดูชื่อรู้สึกคุ้นๆๆกัน รบกวนข้อมูลด้วยครับ ขอบคุณล่วงนำเด้อ
    ถ้าจะเก็บสะสมของหลวงปู่เทสก์ ผมแนะนำ คือ
        1.พระกริ่งและเหรียญพระนาคปรกออกวัดป่าบ้านนาสีดา(วัดป่าจันทรังสี)ปี ๒๒
        2.เข็มกลัดพัดยศลงยา ปี ๓๔ 3. เหรียญพัดยศรุ่นแรก ปี ๒๙ บล็อค ๒๙ อันดับแรก บล็อคไข่ปลา(ป ปลามึจุดไข่ปลาเรียงเป็นเส้น)เป็นอันดับรอง
        3 พระเชียงรุ้ง วัดป่านาสีดา ปี ๓๔-๓๕ เนื้อทองผสมโค๊ดสามแฉก/เบ๊นซ์
    พระบูชา
        1.พระนาคปรกนาสีดา ๙ นิ้วและ ๕ นิ้ว
        2.พระนาคปรกฉลองอายุ ๙๐ ปี ปี ๓๕
        3.พระเชียงรุ้ง ๗ นิ้ว ปี ๓๕ โค๊ดหมายเลข ๒ ขนาดและ โค๊ด 90
    ส่วนรุ่นอื่นๆแล้วแต่ละท่านจะพิจราณาเอาเองครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 สิงหาคม 2555, 09:26:25
รูปถ่าย ลป.เทสก์ หลังเกษา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 สิงหาคม 2555, 17:03:03
ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 สิงหาคม 2555, 02:56:46
รูปถ่ายปี ๐๕ ถ่ายที่ภูเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 สิงหาคม 2555, 03:02:23
รูปถ่ายปี 16 ขนาดห้อยคอ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 15 สิงหาคม 2555, 08:33:50
 017  017  017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 สิงหาคม 2555, 09:46:29
รูปหายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 สิงหาคม 2555, 17:46:33
รูปถ่าย ลป.เทสก์ ปี ๑๖ ครึ่งองค์ สภาพสวยแชมป์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 กันยายน 2555, 08:35:09
เหรียญนาคปรกนาสีดา ปลอม ระบาดหนักครับ
ถ้าเหรียญมีเนื้อเกิน(ขี้กลาก)ดังรูป ปลอม ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 กันยายน 2555, 15:17:38
รูปถ่าย ปี 15 / 20 กว่า


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 02 กันยายน 2555, 20:44:18
 017  017  017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 04 กันยายน 2555, 12:00:12
เหรียญนาคปรกนาสีดา ปลอม ระบาดหนักครับ
ถ้าเหรียญมีเนื้อเกิน(ขี้กลาก)ดังรูป ปลอม ครับ

คุณภาพและคุณธรรม คับแก้วเหมือนเดิมเลยนะครับพี่

ขอบคุณครับที่นำภาพพระเก๊ มาลงให้ชมครับ

ขอบคุณครับ
 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 07 กันยายน 2555, 12:12:32
แบบนี้แท้มั้ยครับพี่ มีในสายระบบมั้ยครับ

(http://upic.me/i/4j/1314719038.jpg) (http://upic.me/show/38944056)

 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 07 กันยายน 2555, 12:38:25
แบบนี้แท้มั้ยครับพี่ มีในสายระบบมั้ยครับ ถ้าแท้ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/4j/1314719038.jpg) (http://upic.me/show/38944056)

 017 017 017

 รูปนี้ไม่ทันหลวงปู่ครับ ทำปี 39 โดยลูกศิษย์คนราชบุรีแต่อยู่ อ.วารินชำราบ จ.อุบล (ในสมัยนั้น) เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่
จำนวนเยอะมาก เป็นกระดาษสีแต่อัดรูปเป็นขาวดำอมฟ้า


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 07 กันยายน 2555, 12:51:42
แบบนี้แท้มั้ยครับพี่ มีในสายระบบมั้ยครับ ถ้าแท้ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/4j/1314719038.jpg) (http://upic.me/show/38944056)

 017 017 017

 รูปนี้ไม่ทันหลวงปู่ครับ ทำปี 39 โดยลูกศิษย์คนราชบุรีแต่อยู่ อ.วารินชำราบ จ.อุบล (ในสมัยนั้น) เพื่อแจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่
จำนวนเยอะมาก เป็นกระดาษสีแต่อัดรูปเป็นขาวดำอมฟ้า


ขอคุณครับพี่
 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 กันยายน 2555, 08:29:49
ถ่ายที่วัดหินหมากเป้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 09 กันยายน 2555, 09:36:05
มีแต่รูปสวยๆ หาดูได้ยากทั้งนั้นเลยครับพี่
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 กันยายน 2555, 11:49:54
รูปถ่ายห้อยคอ เลี่ยมเดิม-รูปหลังจากแกะกรอบพลาสติกออกครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 15 กันยายน 2555, 17:09:56
สวยงามมากครับ  หายาก คลาสสิคสุดๆ

 :wan-e042: :wan-e042: :wan-e042:


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 15 กันยายน 2555, 17:10:18
ธรรมสุดท้ายที่หลวงปู่เทศก์ เทสรังษี ท่านฝากใว้
ก่อนละสังขารที่ วัดถ้ำขาม สกลนครครับ

"หลวงปู่ฝากใว้ อย่านำเอาสิ่งที่ตนปฏิบัติได้ ปฏิบัติรู้ ปฏิบัติเห็น มาสอนต่อ มาบอกต่อ
ให้นำเอาสิ่งที่องค์พระพุทธเจ้าท่านปฏิบัติได้ ปฏิบัติรู้ ปฏิบัติเห็น มาสอนต่อ หลวงปู่ขอฝาก"

กราบหลวงปู่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 กันยายน 2555, 05:56:25
ธรรมสุดท้ายที่หลวงปู่เทศก์ เทสรังษี ท่านฝากใว้
ก่อนละสังขารที่ วัดถ้ำขาม สกลนครครับ

"หลวงปู่ฝากใว้ อย่านำเอาสิ่งที่ตนปฏิบัติได้ ปฏิบัติรู้ ปฏิบัติเห็น มาสอนต่อ มาบอกต่อ
ให้นำเอาสิ่งที่องค์พระพุทธเจ้าท่านปฏิบัติได้ ปฏิบัติรู้ ปฏิบัติเห็น มาสอนต่อ หลวงปู่ขอฝาก"

กราบหลวงปู่ครับ
สาธุ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 กันยายน 2555, 17:23:39
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 19 กันยายน 2555, 19:11:46
                017   017   017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 กันยายน 2555, 11:41:03
เหรียญพัดยศรุ่นแรก บล็อคแรก( ปี ๒๙ )หายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 กันยายน 2555, 11:50:16
รูปถ่าย ปี 15 ขนาด 6 นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 ตุลาคม 2555, 07:22:52
รูปถ่่าย ปี 28 ขนาด 1 นิ้ว กระดาษขาวดำ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 ตุลาคม 2555, 07:28:38
พระเชียงรุ้งนิ้วกระดก วัดป่าบ้านนาสีดา
เนื้อทองผสม โดยนำเนื้อโลหะที่เหลือจากการหล่อพระประธาน(หลวงพ่อเชียงรุ้ง)มาหล่อ ลป.เทสก์เป็นองค์ประธานเททองหล่อฯและอธิษฐานจิต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 ตุลาคม 2555, 06:43:56
รูปถ่าย ปี 20 ขนาด 20 x 10 นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: อนัตตา ที่ 15 ตุลาคม 2555, 21:33:35
**ตามมาอ่านครับ..คุณภาพเช่นเคยนะท่านสปริติ...


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ตุลาคม 2555, 11:52:39
รูปถ่ายขาวดำ ปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 ตุลาคม 2555, 10:41:52
รูปถ่าย ณ.วัดถ้ำพระ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 ตุลาคม 2555, 10:44:17
ณ.ศาลาหลังเก่า วัดหินหมากเป้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 พฤศจิกายน 2555, 18:14:40
รวมภาพถ่ายหลวงปู่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 พฤศจิกายน 2555, 18:17:42
รวมรูปถ่่ายหลวงปู่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 พฤศจิกายน 2555, 18:19:50
รวมรูปถ่่ายหลวงปู่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 03 พฤศจิกายน 2555, 19:59:45
       017   017   017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤศจิกายน 2555, 10:40:47
บาตรที่ระลึกหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 พฤศจิกายน 2555, 07:36:58
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 พฤศจิกายน 2555, 20:29:52
  พระครูมงคลญาณโสภณ (บุญทวี  สีตจิตโต) เจ้าอาวาสวัดหินหมากเป้งองค์ปัจจุบัน ( อดีตเจ้าอาวาส วัดป่าเทสรังสี (ร้อยรู)ต. แสนตุ้ง  อ. เขาสมิง  จ. ตราด)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 16 พฤศจิกายน 2555, 13:36:01
รวมภาพถ่ายหลวงปู่

 003 003 003...กราบหลวงปู่แทบเท้า... 003 003 003


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 17 พฤศจิกายน 2555, 12:19:33
 003 003 003...ปรกหลวงปู่ เทศก์ เนื้อฝาบาตร... 003 003 003

(http://upic.me/i/22/gs560.jpg) (http://upic.me/show/41154072)

(http://upic.me/i/cw/i8561.jpg) (http://upic.me/show/41154076)

(http://upic.me/i/2d/ef562.jpg) (http://upic.me/show/41154081)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 พฤศจิกายน 2555, 19:09:59
 013 013 013


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 พฤศจิกายน 2555, 05:48:08
ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 พฤศจิกายน 2555, 05:56:54
เหรียญนาคปรกนาสีดา เนื้อทองแดง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 22 พฤศจิกายน 2555, 07:29:46
เหรียญนาคปรกนาสีดา เนื้อทองแดง

 002 002 002...สวยกริ๊บเลยท่าน....MIDDLE SPIRIT...หาเหรียญสวย ๆ มาให้ชม...ขอบคุณครับ !!!!... 008 008 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 27 พฤศจิกายน 2555, 09:24:05
เหรียญนาคปรกนาสีดา เนื้อทองแดง

 002 002 002...สวยกริ๊บเลยท่าน....MIDDLE SPIRIT...หาเหรียญสวย ๆ มาให้ชม...ขอบคุณครับ !!!!... 008 008 008

ของพี่ spirit ต้องสวยๆครับ อิอิ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 27 พฤศจิกายน 2555, 09:31:50
รบกวนพี่ spirit ด้วยครับ
พอมีข้อมูล ล็อคเก็ต
สองรุ่น นี้มั้ยครับขอบคุณครับ

1
(http://upic.me/i/pq/122387-1.jpg) (http://upic.me/show/41429729)
(http://upic.me/i/uq/122387-2.jpg) (http://upic.me/show/41429730)


2
(http://upic.me/i/fj/341341-1da27.jpg) (http://upic.me/show/41429737)
(http://upic.me/i/kb/341341-2ba0a.jpg) (http://upic.me/show/41429741)

 017 017 017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 27 พฤศจิกายน 2555, 16:28:17
ยืมรูปมาลงครับ

หลวงปู่ชอบ พ2
สภาพตามรูปครับ
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/e3/1338617442.jpg) (http://upic.me/show/41437369)

ขอบคุณครับ
นับถือ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 พฤศจิกายน 2555, 17:30:11
รบกวนพี่ spirit ด้วยครับ
พอมีข้อมูล ล็อคเก็ต
สองรุ่น นี้มั้ยครับขอบคุณครับ

1
(http://upic.me/i/pq/122387-1.jpg) (http://upic.me/show/41429729)
(http://upic.me/i/uq/122387-2.jpg) (http://upic.me/show/41429730)


2
(http://upic.me/i/fj/341341-1da27.jpg) (http://upic.me/show/41429737)
(http://upic.me/i/kb/341341-2ba0a.jpg) (http://upic.me/show/41429741)

 017 017 017
ล็อกเก็ตครึ่งองค์เป็นรุ่นสอง ปี ๓๙ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัดครับ
ล็อกเก็ตเต็มองค์ ปีสี่สิบสี่ขึ้นครับ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 พฤศจิกายน 2555, 17:31:31
ยืมรูปมาลงครับ

หลวงปู่ชอบ พ2
สภาพตามรูปครับ
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/e3/1338617442.jpg) (http://upic.me/show/41437369)

ขอบคุณครับ
นับถือ
2000 ขึ้นครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 28 พฤศจิกายน 2555, 00:14:27
รบกวนพี่ spirit ด้วยครับ
พอมีข้อมูล ล็อคเก็ต
สองรุ่น นี้มั้ยครับขอบคุณครับ

1
(http://upic.me/i/pq/122387-1.jpg) (http://upic.me/show/41429729)
(http://upic.me/i/uq/122387-2.jpg) (http://upic.me/show/41429730)


2
(http://upic.me/i/fj/341341-1da27.jpg) (http://upic.me/show/41429737)
(http://upic.me/i/kb/341341-2ba0a.jpg) (http://upic.me/show/41429741)

 017 017 017
ล็อกเก็ตครึ่งองค์เป็นรุ่นสอง ปี ๓๙ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัดครับ
ล็อกเก็ตเต็มองค์ ปีสี่สิบสี่ขึ้นครับ จำนวนการสร้างไม่แน่ชัด

ขอบคุณหลายๆครับพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 28 พฤศจิกายน 2555, 00:15:20
ยืมรูปมาลงครับ

หลวงปู่ชอบ พ2
สภาพตามรูปครับ
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/e3/1338617442.jpg) (http://upic.me/show/41437369)

ขอบคุณครับ
นับถือ
2000 ขึ้นครับ

ขอบคุณหลายๆครับพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 29 พฤศจิกายน 2555, 07:50:17
ยืมรูปมาลงครับ

หลวงปู่ชอบ พ2
สภาพตามรูปครับ
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/e3/1338617442.jpg) (http://upic.me/show/41437369)

ขอบคุณครับ
นับถือ
2000 ขึ้นครับ

ขอบคุณหลายๆครับพี่

 008 008 008...เหรียญนี้กะไหล่เงิน สวยได้ใจ จริง สุดยอดครับ !!!! ท่าน DEKNOY... 002 002 002


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 30 พฤศจิกายน 2555, 14:30:56
 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 30 พฤศจิกายน 2555, 20:17:42
007

ปีนี้บ่นำสิ่งมงคล ออกมาแบ่งบูชา เอาเงินไปร่วมทำบุญหลวงปู่หรือครับพี่ แฮ่ะๆ
 จอบอยู่เด้อครับพี่ อิอิ
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 ธันวาคม 2555, 13:45:41
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 02 ธันวาคม 2555, 20:06:34
                      017   017  017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 ธันวาคม 2555, 06:31:14
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 05 ธันวาคม 2555, 07:32:05
(http://upic.me/i/vi/b7500.jpg) (http://upic.me/show/41652029)

.....................................ทรงพระเจริญ ๕ ธันวา.....................................


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 ธันวาคม 2555, 05:19:19
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 ธันวาคม 2555, 13:02:20
พระเชียงรุ้ง (นิ้วกระดก) วัดป่าบ้านนาสีดา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 08 ธันวาคม 2555, 16:46:23
 003 003 003...มีกี่เนื้อ สร้าง ปี ไหน ???? ครับ !!!!... ท่าน MIDDLE SPIRIT...รบกวนหน่อยครับ !!!... 003 003 003


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 ธันวาคม 2555, 16:48:18
003 003 003...มีกี่เนื้อ สร้าง ปี ไหน ???? ครับ !!!!... ท่าน MIDDLE SPIRIT...รบกวนหน่อยครับ !!!... 003 003 003
ดูที่หน้าที่ 3 ครับผม :wan-e042:


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 08 ธันวาคม 2555, 21:05:36
ยืมรูปมาลงครับ

หลวงปู่ชอบ พ2
สภาพตามรูปครับ
ราคาประมาณเท่าไหร่ครับ

(http://upic.me/i/e3/1338617442.jpg) (http://upic.me/show/41437369)

ขอบคุณครับ
นับถือ
2000 ขึ้นครับ

ขอบคุณหลายๆครับพี่

 008 008 008...เหรียญนี้กะไหล่เงิน สวยได้ใจ จริง สุดยอดครับ !!!! ท่าน DEKNOY... 002 002 002

เหรียญนี้อยากให้เป็นของผมเช่นกันครับ แต่ยังไม่มีบุญครับพี่ ได้แต่มอง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 09 ธันวาคม 2555, 17:12:51
003 003 003...มีกี่เนื้อ สร้าง ปี ไหน ???? ครับ !!!!... ท่าน MIDDLE SPIRIT...รบกวนหน่อยครับ !!!... 003 003 003
ดูที่หน้าที่ 3 ครับผม :wan-e042:

 003...ขอบคุณครับ !!!.... 003


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 ธันวาคม 2555, 23:04:18
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 10 ธันวาคม 2555, 16:42:10
007 007 007

.....กราบหลวงปู่แทบเท้า......


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 ธันวาคม 2555, 11:15:06
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 16 ธันวาคม 2555, 11:32:29
ขออนุโมทนา สาธุ นำเด้อครับคุณพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ธันวาคม 2555, 16:26:08
งานนิทรรศการของหลวงปู่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ธันวาคม 2555, 16:27:49
 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ธันวาคม 2555, 16:32:25
 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ธันวาคม 2555, 16:35:17
 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ธันวาคม 2555, 16:37:26
 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 ธันวาคม 2555, 09:07:28
เข็มกลัดพัดยศลงยา ปี ๓๔


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 ธันวาคม 2555, 09:10:35
รูปถ่ายขาวดำเก่า ขนาด 3 x 4 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 21 ธันวาคม 2555, 15:48:22
 002 002 002...เห็นแล้ว.....อาการเก่ากำเริบ .... ฮา า า า  า า  า.... 003 008 :wan-e002:


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 มกราคม 2556, 11:14:11
เหรียญนาคปรกนาสีดา ปี 22+รูปถ่ายปี ๑๖


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 08 มกราคม 2556, 19:42:03
เหรียญนาคปรกนาสีดา ปี 22+รูปถ่ายปี ๑๖

ทั้งสวย ทั้งหายาก
โอ้ยยยย อยากได้
 008 008 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 09 มกราคม 2556, 13:31:59
(http://upic.me/i/qt/img_3788.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 09 มกราคม 2556, 13:34:12
(http://upic.me/i/m0/img_3786.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 มกราคม 2556, 07:58:16
 
(http://upic.me/i/m0/img_3786.jpg)
007 :wan-e042: 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 10 มกราคม 2556, 15:45:24
(http://upic.me/i/m0/img_3786.jpg)


เอ้าาาา....คือมาหลายเหรียญแท้ครับพี่
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2556, 21:20:09
 017   017   017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556, 08:14:09
 007 007 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 25 มีนาคม 2556, 22:03:49
รบกวนขอรูป วิธีการดู ตำหนิ เหรียญหลวงปู่เหรียญ รุ่นสอง แท้-เก๊ อีกทีครับพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 เมษายน 2556, 09:31:52
รวมรูปถ่ายสมเด็จพระสังฆราช(วาส)เสด็จมาวัดหินหมากเป้ง

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/482_zpsf96b4a86.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/483_zps9eea60e8.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/487_zpsba6cdcac.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/488_zps1920bc03.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/489_zpse6e4ca85.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4811_zps5270f18f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4812_zps2f10a81d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4814_zps764b6f17.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4815_zps92c9e186.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4816_zpseeb43721.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4819_zps1d908895.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4820_zps59e5ad30.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4821_zps2d51cc6f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4822_zps01dbb5e7.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4823_zps1aca72a1.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4825_zpse354e2ba.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4827_zps0fc42b1b.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4828_zpse2dd1586.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4830_zps80eecc5e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4831_zps856ce839.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4832_zpsb4c0824c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4834_zps8c0ce556.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4835_zps8833bfef.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4836_zps706a79d3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4837_zps2d14ef5d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4838_zpsccd8a42b.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4839_zpsca378e14.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4840_zpsa47dd72c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4841_zps5014f702.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4842_zps0a16df7f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4843_zps384ff495.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4844_zps7a0f57d3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4845_zpsada7a4ef.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4846_zpsf996b6c5.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4847_zpsb88d4102.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4848_zps9c54477e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4849_zps0c2951ce.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4850_zps46dc85fa.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4856_zps74e9a559.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4857_zpsf48d34f2.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4858_zps0a74c72c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4859_zpsf1e11994.jpg)  

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4860_zps6e7b7b9c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4861_zpsce61eefc.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4862_zps9497a25e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4863_zps1a401f68.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4866_zps3883f75f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4867_zpsb42479b3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4868_zpsb17b078c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4872_zps36873d2c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4873_zps61f5183d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4874_zps8d5b3afc.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4878_zps9a156dbe.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4879_zpsca67fe52.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4880_zpsf50d37d4.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4881_zps0d3635a4.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4883_zps3fb5fe13.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4884_zpsaa73c51a.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4885_zps790618d6.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4887_zpsfbc05074.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4888_zps52ea6f01.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4889_zpsdb891546.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4890_zpsd6da3de5.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4891_zpsea9a41cd.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4893_zps24cf5932.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4894_zps4d814ce1.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4895_zps78b1ac07.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4897_zps8a25800f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4898_zps59c18660.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4899_zpse608844c.jpg)

  

 


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 เมษายน 2556, 16:00:32
สมเด็จพระสังฆราช(สมเด็จพระญาณสังวร)เสด็จมาวัดหินหมากเป้ง

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0003_zps48f0547c.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0004_zps807255c4.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0005_zps5209b2c1.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0006_zps5c628d5d.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0007_zpsa8ef5388.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0008_zps74b903a5.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0009_zps4e41d99b.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0010_zpsef321f26.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0013_zpse2f0a3bb.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0014_zpsac20139f.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0015_zpsb261ea94.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0017_zpscd5eb7a3.jpg)

 (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/IMG_0019_zpse4242f23.jpg)

 


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 เมษายน 2556, 17:07:47
รวมภาพงานฝังลูกนิมิตรและฉลองอุโบสถ วัดหินหมากเป้ง ปี 16
พร้อมกับฝังเหรียญรุ่นแรกครับ

  มีพระเถระที่ร่วมพิธีเช่น ลป.บุญมา ลป.จันทร์ ลป.สาม ลป.อ่อน สมเด็จพระญาณสังวร ลป.อ่อนสี ลป.เหรียญ ลป.บัวพา ลป.สุวัจ ลต.รักษ์ ลป.จันทร์ศรี ลป.ศรีจันทร์ พระอาจารย์จวน พระอาจารย์วัน ฯลฯ

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1602700_zps8fe89842.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1603700_zpsf04328d0.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1604700_zpsd68dbc66.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1606700_zps585f6688.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1607700_zps0a0b123f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1608700_zps1c040b31.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E1609700_zps962f8101.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16010700_zps321ffe7a.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16011700_zps3fb849a0.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16012700_zps53ce3e09.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16013700_zps54f331c5.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16014700_zps7bb42423.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16015700_zpsaa13332d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16018700_zps67929ef8.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16019700_zps0b296ada.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16020700_zpsd8514ff3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16021700_zps54cc2893.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16024700_zps8bbd2fb1.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/FotoSketcher-E2D0E380E420E1A0E2A0E16026700_zps20a1d142.jpg)

 


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 พฤษภาคม 2556, 08:27:59
ล็อกเก็ตหลังบรรจุ.... เกษาหลวงปู่ และพระผง ลป.ฝั้น เลี่ยมทอง ๒ ชั้น ฝังเพชร


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤษภาคม 2556, 06:33:15
รูปถ่ายงานทำบุญฉลองอายุพระอาจารย์ขาว พระอาจารย์บัว ที่วัดถ้ำกองเพล  วันที่ ๒๗-๒๘-๒๙ ธ.ค ๑๑


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤษภาคม 2556, 06:34:17
ที่ วัดหินหมากเป้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤษภาคม 2556, 06:34:59
ภูเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 พฤษภาคม 2556, 11:35:35
เหรียญนาคปรกนาสีดาปี ๒๒


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 13 พฤษภาคม 2556, 14:46:36
 003 003 003เป็นบุญตาที่ได้เห็น ( ภาพวัดหินหมากเป้ง )... 003 003 003สาธุ สาธุ สาธุ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: mc80 ที่ 21 พฤษภาคม 2556, 14:37:20
รวมรูปถ่ายสมเด็จพระสังฆราช(วาส)เสด็จมาวัดหินหมากเป้ง

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/482_zpsf96b4a86.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/483_zps9eea60e8.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/487_zpsba6cdcac.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/488_zps1920bc03.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/489_zpse6e4ca85.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4811_zps5270f18f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4812_zps2f10a81d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4814_zps764b6f17.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4815_zps92c9e186.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4816_zpseeb43721.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4819_zps1d908895.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4820_zps59e5ad30.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4821_zps2d51cc6f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4822_zps01dbb5e7.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4823_zps1aca72a1.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4825_zpse354e2ba.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4827_zps0fc42b1b.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4828_zpse2dd1586.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4830_zps80eecc5e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4831_zps856ce839.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4832_zpsb4c0824c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4834_zps8c0ce556.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4835_zps8833bfef.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4836_zps706a79d3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4837_zps2d14ef5d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4838_zpsccd8a42b.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4839_zpsca378e14.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4840_zpsa47dd72c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4841_zps5014f702.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4842_zps0a16df7f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4843_zps384ff495.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4844_zps7a0f57d3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4845_zpsada7a4ef.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4846_zpsf996b6c5.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4847_zpsb88d4102.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4848_zps9c54477e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4849_zps0c2951ce.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4850_zps46dc85fa.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4856_zps74e9a559.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4857_zpsf48d34f2.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4858_zps0a74c72c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4859_zpsf1e11994.jpg)  

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4860_zps6e7b7b9c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4861_zpsce61eefc.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4862_zps9497a25e.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4863_zps1a401f68.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4866_zps3883f75f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4867_zpsb42479b3.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4868_zpsb17b078c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4872_zps36873d2c.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4873_zps61f5183d.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4874_zps8d5b3afc.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4878_zps9a156dbe.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4879_zpsca67fe52.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4880_zpsf50d37d4.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4881_zps0d3635a4.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4883_zps3fb5fe13.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4884_zpsaa73c51a.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4885_zps790618d6.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4887_zpsfbc05074.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4888_zps52ea6f01.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4889_zpsdb891546.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4890_zpsd6da3de5.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4891_zpsea9a41cd.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4893_zps24cf5932.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4894_zps4d814ce1.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4895_zps78b1ac07.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4897_zps8a25800f.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4898_zps59c18660.jpg)

  (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4899_zpse608844c.jpg)

  

 
อายุ56ปีแล้ว ไม่เคยเห็นภาพชุดนี้  ดูไปๆน้ำตาซึมไม่รู้ตัว  สาธุ  สาธุ  สาธุ.....


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 มิถุนายน 2556, 11:25:19
รูปถ่่าย ลป.เทสก์ หลังจีวร


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 มิถุนายน 2556, 11:39:21
หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดภูจ้อก้อ เคยกราบเรียนถาม พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดหินหมากเป้ง เป็นเชิงขอปรึกาาความเห็น ว่า

พ่อแม่ครูอาจารย์ ทำไมถึงสร้างวัดสร้างวาใหญ่โตหรูหราแท้ขอรับ

พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดหินหมากเป้งจึงตอบว่า
เงินทองที่ญาติโยมเขาเอามาให้ผม ถ้าไม่ให้ผมเอามาสร้างวัด เอามาสร้างสาธารณะประโยชน์ให้โลก จะให้ผมเอาไปปล่อยเงินกู้เหรอ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร หมดเงินไป 80 โกฏิ (เงิน 800 ล้านบาท เมื่อ 2600 ปีก่อน)
มีวัดไหนในประเทศไทยที่สร้างหมดเงินขนาดนั้นบ้างหละ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 มิถุนายน 2556, 13:00:35
พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดหินหมากเป้ง (หลวงปุ่เทสก์ เทสรังสี) เคยกล่าวว่า

เราไม่รุ้หรอกว่า อะไรถูกหรือ อะไรแพง
เพราะตั้งแต่เราเกิดมา เราไม่ซื้อ เราไม่เคยขายอะไร
เงินทองที่ญาติโยมเขาให้มา เราก็ให้ใช้สอยไปตาม พระธรรมวินัย


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 14 สิงหาคม 2556, 19:13:50
กลับบ้านหนองคายเทื่อหน้า แวะไปเยี่ยมไปยามเล่นนำก่อนน้า
เผื่อได้รูปถ่ายขนาดห้อยคอจักรูป อิอิ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: vasan ที่ 16 สิงหาคม 2556, 18:15:46
เป็นบุญที่ใด้เห็นภาพครูบาอาจารย์ครับผมมีอัฐิท่านนะครับวันหลังผมจเอามาให้ใด้ดูกันนะครับสาธุสาธุครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 20 สิงหาคม 2556, 11:48:01
(http://upic.me/i/ii/img_4141.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 20 สิงหาคม 2556, 11:51:45
(http://upic.me/i/7n/0img_4142.jpg)

พี่deknoy พี่middle.......ช่วยเบิ่งแน...เด้อ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: deknoy ที่ 20 สิงหาคม 2556, 12:48:35
(http://upic.me/i/ii/img_4141.jpg)



องค์พระงาม พร้อมกล่องเดิม โชว์ก้นนำแหน่ครับพี่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ruguest93 ที่ 05 กันยายน 2556, 09:47:25
(http://upic.me/i/tv/img_4145.jpg)

พี่deknoy.....ซอยเบิ่งแน...เด้อ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 ตุลาคม 2556, 06:55:43
(http://upic.me/i/tv/img_4145.jpg)

พี่deknoy.....ซอยเบิ่งแน...เด้อ
พระแท้ดูง่ายครับ 007


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 16 พฤศจิกายน 2556, 07:01:31
 002 002 002 008 008 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 ธันวาคม 2556, 16:14:37
17- 18 ธันวาคม 2556 นี้
งานครบรอบวันมรณภาพ ปีที่ 19
ของพระเดชพระคุณหลวงปู่ ณ วัดหินหมากเป้ง
[/color

     ถึงแม้ว่า พระเดชพระคุณหลวงปู่ จะละสังขารไปถึง 19 ปีแล้วแต่ธรรมะ คำสอน ปฏิปทา และจริยาวัตรอันงดงามขององค์ท่าน ยังตราตรึงอยู่ในดวงจิต ดวงใจของศิษยานุศิษย์ผู้ได้เคยพบเห็นอยู่ อย่างไม่ลืมเลือน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 ธันวาคม 2556, 16:17:36
                        บรรยากาศ การจัดเตรียมสถานที่ งานทำบุญระลึกถึงพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ประจำปี 2556 ในวันที่ 16 - 18 ธันวาคม นี้ ณ วัดหินหมากเป้ง จะมีประชาชนมาร่วมจัดตั้งโรงทาน เพื่อให้บริการอาหาร น้ำและเครื่องดื่ม แก่ผู้มาร่วมงาน ประมาณ 120 โรงทาน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 ธันวาคม 2556, 16:19:39
ตกแต่งเต๊นท์จัดนิทรรศการ ณ วัดหินหมากเป้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 ธันวาคม 2556, 16:23:49
สิงห์ ก็ไม่มีลาย พระกับเณรต้องแต้มสี แต้มลายให้


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 ธันวาคม 2556, 14:01:45
บรรยากาศการเตรียมงาน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 ธันวาคม 2556, 15:03:14
นิทรรศการ กิจวัตรประจำวัน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 ธันวาคม 2556, 15:06:08
คุณอมรยุพา สนิทวงศ ณ อยุธยา คุณปิรันทนา คลี่ขะจาย (ภริยาคุณสุภาพ คลี่ขะจาย ผู้ช่วยรัฐมนตรี) และคณะโรงทานพระราชทานในสมเด็จพระบรมราชินีนาถ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 ธันวาคม 2556, 15:08:08
จัดสถานที่สำหรับพิธีทักษิณานุปทาน เย็นวันนี้( 17) เวลา 19 นาฬิกา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 เมษายน 2557, 16:05:08
ติดภาระกิจเลยไม่ได้อัพเดตข้อมูลครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 เมษายน 2557, 17:11:50
มีคำถาม เกี่ยวกับวัตถุมงคล ลป.เทสก์ รุ่นแรก และรุ่นอื่นๆ
      เมื่อปี 37-38 หนังสือพระเครื่องลงวัตถุหลวงปู่เทสก์ หลายรุ่น อ้างว่าเป็นของหลวงปู่เทสก์ เลยอยากรู้เลยพยายามสอบครูบาอาจารย์ลูกศิษย์หลวงปู๋ และคนที่อยู่ในเหตุการณ์สมัยนั้น และหลวงปู่จันทร์โสม 4-6 ปี
      เมื่อก่อนอ้างว่าเป็น 1 คุณกิมก่าย เป็นคนสร้าง 2 นายตำรวจท่านหนึ่งสร้าง และหลวงปู่เทเหรียญลงแม่น้ำโขง คนสร้างให้ลูกน้องเอาถุงหรือกระสอบรองรับเหรียญ  ข้อกล่าวอ้างนี้ตกไป เพราะหลวงปู่สั่งให้เทลงโบสถ์ คนสร้างเหรียญเป็นเศรษฐินีสกลนครสร้าง และคนสร้างก็แจกกันเองก่อนหน้านั้นแล้ว
      ล่าสุดกลับลำว่าอ้างว่า เศรษฐินีสกลนครสร้าง ขอสร้าง 2500 เหรียญ แต่สร้างจริง 12500 เหรียญหลวงปู่อธิษฐานจิต แล้วส่งคืนคนสร้าง ส่วนอีก 10000 เหรียญ หลวงปู่สั่งให้เทลงโบสถ์ คนที่กล่าวอ้างวัดก็ไม่เคยเข้า ไม่เคยหาข้อเท็จจริง เพียงหวังว่าพระที่ตัวเองเก็บสะสมเอาไว้ ในอนาคตราคาจะขึ้นจะมีกำไร ให้ข้อมูลเป็นเท็จ
     ปฏิปทาขององค์หลวงปู่ ไม่อนุญาตให้สร้างวัตถุมงคลที่เป็นเหรียญหรือรูปหล่อที่เป็นรูปเหมือนหลวงปู่ใดๆท้้งสิ้น เพราะไม่ใช่หนทางดับทุกข์ พรือพ้นทุกข์
     


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 06 พฤษภาคม 2557, 14:58:30
หลักฐานอ้างอิง เหรียญพัดยศ ลป.เทสก์ รุ่นแรก สร้างปี พ.ศ.๒๕๒๙ ไม่ใช่ พ.ศ.๒๕๒๘ ทีเซียนพระมั่วนิ่มมานานครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 06 พฤษภาคม 2557, 15:06:59
หนังสือแจกงานศพหลวงปู่มั่น เขียนโดย ลป.เทสก์ ปี พ.ศ.๒๔๙๒

http://www.openbase.in.th/files/Microsoft%20Word%20-%20Document2_6.pdf


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 มิถุนายน 2557, 12:01:32
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ได้มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 สิงหาคม 2557, 07:49:38
รูปถ่าย แจกปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 สิงหาคม 2557, 07:58:17
เข็มกลัดพัดยศลงยา ปี 34 เข็มกลัดด้านหลัง ร้านทองตัดทิ้งก่อนเลี่ยมทองครับ เสียดายจริง ได้มาแบบนี้ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 31 สิงหาคม 2557, 10:01:39
 017  017  017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 กันยายน 2557, 22:08:08
พระกริ่งนาคปรกนาสีดา ลป.เทสก์ ปี 22 ลป.เทสก์อธิษฐานจิต 2 ครั้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 กันยายน 2557, 16:43:31
พระกริ่งนาคปรกนาสีดา ปี ๒๒ ลป.เทสก์อธิษฐานจิต ๒ ครั้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 กันยายน 2557, 09:36:50
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ยุคแรก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 ตุลาคม 2557, 12:15:13
เหรียญพระนาคปรกนาสีดา และ รูปถ่าย ปี 16


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: RANEE MUNEENAM ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558, 22:46:08
                                       อนุสรณ์สถานของท่านอาจารย์เทสก์  เทสรังสี

  

                         -   พระอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/1.jpg)                                                                    
                         -   มณฑป
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4649.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4646.jpg)
                             หลวงปู่เทสก์ ควบคุมการก่อสร้างมณฑป ปี พ.ศ ๒๕๒๓
                             ติดยอดมณฑป ในงานฉลองชนมายุครบ ๘๐ ปี และงานฉลองมณฑป ปี พ.ศ.๒๕๒๘
                         -   ศาลาเทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4636.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4635.jpg)
                             ศาลาเทสก์ประดิษฐ์
                         -   ภาพจิตกรรมฝาผนัง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/4.jpg)
                        
                         -   ศาลาจงกรม
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4650.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2478.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4651.jpg)    
                         -   ลานมณฑป
                         -   ศาลาเล็กข้างศาลาเทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2479.jpg)
                         -   หอกลอง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/5.jpg)
                         -   กุฏิเสนาสนะ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/71.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2472.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2473.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2474.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2475.jpg)                                                                                                
                         -   กำแพงวัด
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2476.jpg)    
                         -   หอสมุด
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/6.jpg)
                         -   หอพระหุ่นขี้ผึ้ง
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2480.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4640.jpg)
                         -   หอระฆัง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/5.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4648.jpg)
                         -   ตำหนักรับรองสมเด็จพระสังฆราช
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2481.jpg)
                         -   วิหารหอพระ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2482.jpg)
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2483.jpg)
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๒
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๓
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๔
                         -   อาคารรับรองพระเถระ ๕
                         -   อาคารรับรองฆราวาสชาย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2484.jpg)
                         -   ระบบประปาพร้อมโรงกรองและถังจ่าย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2485.jpg)
                         -   เมรุและศาลาพักศพ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2487.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2486.jpg)
                         -   ศาลากลางน้ำ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2488.jpg)
                         -   พิพิธภัณฑ์อัฐบริขาร
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/4661.jpg)
                              
                         -   ห้องน้ำชาย หลังศาลาเทสรังสี
                         -   ห้องน้ำหญิง หน้าโรงครัว
                         -   ศาลาแม่ชี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2490.jpg)
                         -   กุฏิแม่ชี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2491.jpg)
                         -   กุฏิคุณแม่น้อย
                         -   กุฏิรับรองอุบาสิกา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2492.jpg)
                    บ้านโคกซวก
                         -   สะพานข้ามห้วยซวก
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2493.jpg)
                    บ้านไทยเจริญ
                         -   ศาลาเอนกประสงค์เทสรังสี
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2494.jpg)
                    โรงเรียน
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2495.jpg)
                         -   โรงเรียนพระพุทธบาทเทสรังสีวิทยา อาคาร ๒
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2496.jpg)
                    วัดพระพุทธบาทคอแก้ง
                         -   ศาลาพระพุทธบาท
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2497.jpg)
                         -   พระพุทธไสยาสน์ปูนปั้น
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2498.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2499.jpg)
                    วัดลุมพินี
                         -   ศลาการเปรียญและซื้อที่ดิน
                             ภายในศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2500.jpg)
                    วัดวังน้ำมอก
                         -   ศาลาราชนิโรธรังสีอนุสรณ์  ๓๓
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2501.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2502.jpg)
                    วัดถ้ำฮ้าน
                         -   ต่อเติมศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2503.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2504.jpg)
                    โรงเรียน ต.โพธิ์ตาก
                         -   โรงเรียนบ้านโพธิ์ตาก
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2505.jpg)
                    วัดโพธิ์รุขาราม ต.โพธิ์ตาก
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2506.jpg)
                    วัดป่าสามัคคีธรรมาวาส ต.โพนทอง
                         -   ซ่อมแซมศาลา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2507.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2508.jpg)
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2509.jpg)
                    วัดโพธิ์ศรีวนาราม ต.หนองปลาปาก
                         -   สมทบทุนอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2510.jpg)
                    ห้องสมุดศรีเชียงใหม่
                         -   ห้องสมุดประชาชน
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2511.jpg)
                    อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษาศรีเชียงใหม่
                         -   อาคารศูนย์พัฒนาการศึกษา
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2512.jpg)
              อำเภอท่าบ่อ จ.หนองคาย
                    วัดอรัญญวาสี
                         -   อุโบสถ
                                                                 พระอุโบสถหลังเก่าวัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2513.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2514.jpg)
                                                                 พระอุโบสถหลังใหม่วัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2515.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2517.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2516.jpg)
                         -   ภาพเขียนครูบาอาจารย์ 14 องค์
                         -   ศาลาการเปรียญ
                                                                  ศาลาการเปรียญวัดอรัญญวาสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2518.jpg)
                                                                  ภายในศาลาการเปรียญ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2519.jpg)
                         -   หอนาฬิกา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2521.jpg)
                         -   วิหารประดิษฐานรูปเหมือนหลวงปู่
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2523.jpg)
                         -   กุฏิเทสรังสี (กุฏิเจ้าอาวาส )
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2520.jpg)
                         -   กุฏิเรือนแถว ๒ ชั้น
                         -   บ้านพักอุบาสิกา ๒ หลัง
                         -   ห้องสุขา ๒๒ ห้อง
                         -   ถังน้ำประปา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2522.jpg)
                         -   กำแพงรอบวัดและถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2524.jpg)
                     โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ
                         -   ตึกสงฆ์อาพาธ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2525.jpg)
                         -   บริจาคดิน 3 ไร่ 5 ตารางวา
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์ 5 รายการ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2526.jpg)
                     อำเภอท่าบ่อ
                         -   สมทบทุนสร้างที่ว่าการอำเภอ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2527.jpg)
                     วัดป่าจันทาราม
                         -   สมทบทุนสร้างศาลา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2528.jpg)
                 อำเภอสังคม
                         -   หอพระพุทธมงคลสารประภากรมุนี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2529.jpg)
                         -   บริจาคเงินปรับปรุงพัฒนา
                         -   บริจาคซื้อที่ดิน
                 อำเภอเมือง จ.หนองคาย
                      วัดศรีเมือง
                         -   สมทบทุนสร้างอุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2530.jpg)
                      โรงพยาบาลหนองคาย
                         -   บริจาคเครื่องมือแพทย์
                 อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
                      วัดโพธิการาม
                         -   วิหารหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2532.jpg)
                 อำเภอบึงกาฬ  จังหวัดหนองคาย
                         -   สมทบทุนตึกสงฆ์เทิดพระเกรียติ 60 พรรษา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2534.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2533.jpg)
            จังหวัดอุดรธานี
                 อำเภอบ้านผือ
                       วัดป่าบ้านนาสีดา
                         -   อุโบสถ
                                                     หลวงปู่เทสก์ ปรึกษางานและตรวจแบบก่อสร้างพระอุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2536.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2542.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2535.jpg)
                         -   เมรุเผาศพ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2537.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2543.jpg)
                       วัดป่ากุดงิ้ว (วัดป่าบ้านผักบุ้ง )
                         -   ศาลาการเปรียญ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2544.jpg)                              
                       วัดศรีราษฎร์บำรุง (บ้านผักบุ้ง)
                         -   อุโบสถ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2545.jpg)
                       วัดป่านิโรธรังสีฯ
                         -   บ้านพักรับรองอุบาสิกา
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2546.jpg)
                       บ้านกลางใหญ่
                         -   เมรุเผาศพ
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2547.jpg)
                       ถ้ำพระ นาผักหอก
                         -   ศาลาบำเพ็ญบุญ (แท็งค์น้ำด้านล่าง)
                         -   ศาลาการเปรียญ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2549.jpg)
                         -   บ้านพักอุบาสิกา พร้อมทั้งสร้างทางลูกรังเข้าวัดระยะทาง 6.5 กิโลเมตรด้วย
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2551.jpg)
                       โรงเรียน
                         -   หอพระ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2554.jpg)
                         -   ซุ้มประตู
                         -   หอสมุด
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2553.jpg)
                         -   ถังน้ำสูง
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2555.jpg)
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๑
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2552.jpg)
                         -   โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ อาคาร ๒
                       วัดป่าสาระวารี
                         -   บริจาคสร้างสะพานไปอุโบสถ
                             (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2556.jpg)                              
                       วัดพระพุทธบาทบัวบก
                         -   ศาลานิโรธรังสีอนุสรณ์
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2557.jpg)
                              (http://i980.photobucket.com/albums/ae289/sorsak07/picture/2558.jpg)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: Nap ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558, 09:32:27
  017   017   017


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: vasan ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558, 14:39:49
(http://upic.me/i/c2/1507789_663130413795598_6999813903293872276_n.jpg) (http://upic.me/show/54694865)
(http://upic.me/i/lo/10393789_663130417128931_7603561133374200666_n.jpg) (http://upic.me/show/54694866)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 พฤษภาคม 2558, 07:27:18
รูปถ่าย ลป.เทสก์ ขนาด 3 นิ้ว หายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 สิงหาคม 2559, 11:56:10
รูปถ่าย 2 หน้า หลังยันต์นกยูงทอง ศิษย์กาฬสินธุ์/สกลนคร สร้างถวาย พร้อมล็อกเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 สิงหาคม 2559, 11:57:56
รูปถ่ายหลังจีวร อีกรูปหนึ่งที่หายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 สิงหาคม 2559, 12:01:19
เหรียญนาคปรกนาสีดา ไม่เจาะห่วงครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 สิงหาคม 2559, 12:07:43
พัดยศ-รูปเหมือน หลวงปู่เทสก์ ปี 37 ร้านคูบ้วนเส็ง อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย สร้าง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 สิงหาคม 2559, 12:12:27
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ งานเขียนสีเก่าครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 ตุลาคม 2559, 07:04:45
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ ปี 07 มีลายเซ็นต์หลวงปู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 ตุลาคม 2559, 10:13:19
คำนำ คำชี้แจง หนังสือแจกงานฌาปนกิจหลวงปู่มั่น ( ชีวประวัติ ธรรมเทศนา บทประพันธ์ และธรรมบรรยาย ของ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถร )พ.ศ.๒๔๙๓


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560, 13:26:36
ล็อกเก็ตพระราชนิโรธรังสีฯ ปี 34


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560, 13:31:22
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:27:03
ล็อกเก็ตพระราชนิโรธรังสีฯ(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:31:20
รูปถ่าย ลป.เทสก์ ปี 16 หลังเกษา เลี่ยมเดิม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:38:04
รูปถ่ายขาวดำห่มคลุม ลป.เทสก์ เทสรังสี ขนาด 2.8x3.8 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:40:12
รูปถ่าย ลป.เทสก์ เทสรังสี พิธีเททองหล่อพระประธานวัดป่าบ้านนาสีดา ปี 34


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:44:42
รูปถ่าย ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี 28-30 ขนาด 3 x 4.2 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มีนาคม 2560, 20:53:01
รูปถ่าย ลป.เทสก์ งานหล่อรูปเหมือนบูชาเท่าองค์จริง และพิธีอธิษฐานจิตพระนาคปรกนาสีดา ปี 22 ที่วัดป่าบ้านนาสีดา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 มีนาคม 2560, 17:00:37
รูปถ่าย ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี 16 ขนาดใหญ่ กว้าง 2 cm สูง 3 cm หายาก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 มีนาคม 2560, 17:10:11
รูปถ่าย ลป.ฝั้นและ ลป.เทสก์ หลังรอยจารของลป.ฝั้น ขนาดกว้าง 7.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว กระดาษลายจุด (หนังไก่)
รูปนี้ทำให้คนเข้าใจผิดว่า ลป.ฝั้น มีพรรษามากกว่า ลป.เทสก์ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 06 เมษายน 2560, 09:08:05
รูปถ่ายขาวดำ ลป.เทสก์ เทสรังสี ขนาด 10 นิ้ว ( 6 นิ้ว x 8 นิ้ว )


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 06 เมษายน 2560, 09:11:39
รูปพิมพ์เก่า ขนาด 2 cm x 3 cm


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 เมษายน 2560, 14:24:20
มาใหม่ครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 พฤษภาคม 2560, 08:50:40
เข็มกลัดพัดยศลงยา ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี 34


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 พฤษภาคม 2560, 08:57:07
ล็อกเก็ต ลป.เทสก์ ปี 34-36 จัดสร้างโดย โรงงานศรีเชียงใหม่อุตสาหกรรม จำกัด ศรีเชียงใหม่ (รอตรวจสอบข้อมูลการสร้าง)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 พฤษภาคม 2560, 10:07:52
รูปถ่าย ลป.เทสก์  หลังยันต์นกยูงกระดาษลายจุด


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 มิถุนายน 2560, 11:40:38
บทสรุป เหรียญหลวงปู่เทสก์ รุ่นแรก ปี 2516
https://www.youtube.com/watch?v=O6d84tPwex0&t=2359s


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 มิถุนายน 2560, 20:07:20
https://www.youtube.com/watch?v=O6d84tPwex0


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 กรกฎาคม 2560, 16:27:14
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ออกวัดเจริณสมณกิจ จ.ภูเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 กรกฎาคม 2560, 20:44:43
รูปถ่ายขาวดำ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 กรกฎาคม 2560, 12:35:14
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ ปี 26 ขนาดกว้าง 1 1/2 นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 ตุลาคม 2560, 21:30:01
ไว้อาลัยอาจารย์ฝั้น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

https://www.youtube.com/watch?v=nlIMx7ZXqwg


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 ตุลาคม 2560, 21:40:44
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:00:56
หรียญพระนาคปรกนาสีดา บล็อคคอขีด(นิยม) พร้อมเลี่ยมเงินลงยา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:04:02
รูปถ่ายขาวดำหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:10:32
รูปถ่ายขาวดำหลวงปู่เทสก์ ยุคต้น เลี่ยมทอง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:13:33
เข็มกลัดพัดยศหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:27:16
ชุดประจำตัวครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 มีนาคม 2561, 14:34:12
ชุดล็อกเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 มีนาคม 2561, 08:07:29
เหรียญพัดยศ รุ่นแรก ปี๒๕๒๙ บล็อคแรก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 30 มีนาคม 2561, 12:00:04
เหรียญพัดยศ รุ่นแรก ปี๒๕๒๙ บล็อคแรก
 008
   002 003 008


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 เมษายน 2561, 10:40:09
รูปถ่ายขาวดำหลวงปู่เทสก์ ขนาดห้อยคอ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 กรกฎาคม 2561, 19:00:04
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ หลังบรรจุเกษา หายากครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 สิงหาคม 2561, 09:52:14
ข็มกลัดพัดยศลงยา ปี 34


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 สิงหาคม 2561, 09:54:48
เหรียญพัดยศรุ่นแรก เนื้อเงิน(ลงงยา)
เหรียญแรกที่เจอ และได้มาไว้ครอบครองในรอบสามสิบปี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 สิงหาคม 2561, 17:03:32
เหรียญพัดยศรุ่นแรกลงยาหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 ตุลาคม 2561, 06:26:03
พระบูชาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี รุ่นแรก
สร้างทั้งหมด 72 องค์(เท่ากับจำนวนพรรษาหลวงปู่) ถวายพระเถระ 20 กว่าองค์ ส่วนที่เหลือมอบให้แด่ผู้ร่วมบริจาคเพื่อหล่อรูปเหมือนเท่าองค์จริง หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เพื่อประดิษฐาน ณ.โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสีอุปถัมภ์ ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ในวันที่ 15-16 ธ.ค. 2561
                     การหล่อรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ขนาดเรูปหล่อบูชาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี รุ่นแรกท่าองค์จริงเพื่อนำไปประดิษฐานไว้ที่โรงเรียนกลางใหญ่นิโรธรังสี ต.กลางใหญ่ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี อันเป็นถิ่นมาตุภูมขององค์ท่านในวันอาทิตย์ที่14ต.ค.นี้เวลา15.39 น.โดยมีหลวงปู่สงวน ยุตฺตธมฺโม วัดธุดงคนิมิต จ.กาญจนบุรีและพระเทพวราลังการ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระศรีมหาธาตุ กรุงเทพฯเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พล.อ.อ.ศิวเกียรติ์ ชเยมะ อดีตปลัดกระทรวงกลาโหม พล.อ.ท.น้อย ภาคเพิ่ม เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารอากาศ คุณนพดล เสริมสิริมงคล เจ้าของห้างพาต้าปิ่นเกล้า คุณสมเกียรติ์ แต้มไพโรจน์ เจ้าของขาหมูเฮียอู๊ด นครปฐม ฯลฯ  ร่วมเป็นประธานพิธีฝ่ายฆราวาส


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 ตุลาคม 2561, 06:42:27
ประมวลภาพพิธีหล่อรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 ตุลาคม 2561, 07:03:44
ประมวลภาพ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 ตุลาคม 2561, 08:11:16
พิธีบวงสรวง เจริญพระพุทธมนต์และอธิษฐานจิต หล่อรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
https://www.youtube.com/watch?v=8flqLQEcV_4&feature=youtu.be


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 พฤษภาคม 2562, 15:58:36
รูปถ่าย ลป.เทสก์ เทสรังสี วัดป่านาสีดา


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 พฤษภาคม 2562, 16:04:12
พระผงพระพุทธชินราชวัดเจดีย์ยอดทอง จ.พิษณุโลก ปี 14 หลวงปู่เทสก์/หลวงปู่ขาว/หลวงปู่ฝั้น/หลวงปู่โชติ ร่วมอธิษฐานจิต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 พฤษภาคม 2562, 16:41:55
หุ่นเทียนรูปเหมือน หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ขนาดสูง 22 นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 พฤษภาคม 2562, 07:35:24
พระบูชารูปเหมือนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี ๔๒
พระบูชา ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี๔๒
การจัดสร้างเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2542 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่เทสก์หลังจากท่านมรณภาพได้ 4 ปีเศษ จำนวนสร้าง 39 องค์ แบ่งเป็นเนื้อทองเหลืองรมดำ 30 องค์ มีหมายเลขกำกับตั้งแต่เลข 10-39 เนื้อทองเหลืองรมดำปิดทอง มีหมายเลขกำกับตั้งแต่เลข 1-9 ทุกองค์ตอกโค้ด พพ บริเวณสังฆาฏิด้านหลัง หมายถึงชื่อและนามสกุลของผู้จัดสร้าง รอบฐานมีข้อความ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย 26 เมษายน 2542
มวลสารใช้แผ่นจารทองแดงที่หลวงปู่เทสก์จารไว้ด้วยลายมือของท่านด้วยคาถา นะ มะ พะ ทะ เป็นชนวน อธิษฐานจิตโดยลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต 3 รูปคือ หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ วัดอรัญญบรรพต จ.หนองคาย หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา จ.อุดรธานี และ หลวงปู่คำพอง ติสโส วัดถ้ำกกดู่ จ.อุดรธานี
รูปหล่อบูชารุ่นนี้จัดว่าเป็น รูปหล่อตาย? คือสร้างภายหลังจากท่านมรณภาพแล้ว แต่ถือว่าผ่านการอนุญาตจากหลวงปู่เทสก์อย่างถูกต้อง โดยมีแผ่นจารด้วยลายมือเป็นชนวน ซึ่งปัจจุบันพระเครื่องรุ่นต่างๆ ของหลวงปู่เทสก์หายาก เพราะแทบจะไม่มีการให้จัดสร้าง รูปหล่อรุ่นนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในครอบครองของศิษย์ใกล้ชิด และประเมินค่าไม่ได้เนื่องจากสร้างน้อย ถึงจะเป็นพระใหม่ อายุการสร้าง 10 กว่าปี
แต่ก็เป็นของดีที่หายากไปแล้ว
รูปหล่อบูชาที่ถือว่าเป็นรุ่นเดียวของท่าน มูลเหตุการสร้างเริ่มจากเมื่อกลางปีพ.ศ.2537 นายฮุย แต้ศิริเวชช์ ร้านรวมมิตรการค้า จ.สกลนคร กราบขออนุญาตจัดสร้างรูปเหมือนโลหะเท่าองค์จริงของหลวงปู่เทสก์
ขณะนั้นท่านพำนักอยู่ ณ วัดถ้ำขาม จ.สกลนคร โดยขอจัดสร้าง 3 องค์ เพื่อนำไปไว้ที่วัดคำประมง อ.พรรณานิคม 1 องค์ วัดประชานิยม อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ 1 องค์ และไว้ที่บ้านของนายฮุยอีก 1 องค์ โดยท่านได้อนุญาตให้จัดสร้างตามคำขอ
ขณะเดียวกัน ร.ต.อ.เพทาย พรล้วนประเสริฐ รองสว.สส.สน.บางโพงพาง (ยศในขณะนั้น) อยู่ในเหตุการณ์ด้วย เมื่อคณะของนายฮุยกลับไปแล้ว ร.ต.อ.เพทายจึงขอจัดสร้างรูปเหมือนโลหะบูชา หน้าตัก 5 นิ้ว ซึ่งท่านได้อนุญาตด้วยวาจาโดยมีข้อแม้ว่า จะจัดสร้างได้ต่อเมื่อหลวงปู่มรณภาพไปแล้วเท่านั้น? และอนุญาตให้จัดสร้างครั้งเดียวเพียง 39 องค์ ตามความประสงค์ของผู้ขอซึ่งมาจากหมายเลขของรุ่นที่จบการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ คือรุ่นที่ 39
วัตถุประสงค์ในการสร้างเพื่อเก็บไว้สักการบูชาและแจกจ่ายแก่ลูกศิษย์หลวงปู่เทสก์ที่ร.ต.อ.เพทายคุ้นเคย โดยไม่มีการจำหน่ายแต่อย่างใด


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 พฤษภาคม 2562, 08:15:55
เหรียญพระนาคปรกนาสีดา ลป.เทสก์ เทสรังสี ปี๒๒ เนื้อทองแดงผิวไฟ หายาก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 มิถุนายน 2562, 21:28:20
พระกริ่งรัตนรังสี ปี37
        มีการกล่าวอ้างว่าหลวงปู่เทสก์ สร้าง แท้ที่จริงแล้ว หลวงปู่เทสก์ไม่ได้อนุญาตให้สร้างด้วยประการใดทั้งสิ้น โดยได้ออกข่าวปฏิเสธการอนุญาตให้สร้างทางหน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ และออกข่าวทางโทรทัศน์เกือบทุกช่อง
        คนสร้างจึงนำวัตถุมงคลชุดนี้เอาไปทำพิธีตามวัดต่างๆ อยู่หลายปี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 กรกฎาคม 2562, 17:15:35
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี 2 แผ่น


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 สิงหาคม 2562, 16:31:11
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ครึ่งองค์ฉากฟ้า


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 ตุลาคม 2562, 12:12:09
รูปหล่อหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี สูงขนาด๒๒นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 ตุลาคม 2562, 16:17:05
รูปหล่อหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ขนาดสูง ๑๒ นิ้ว


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 พฤศจิกายน 2562, 18:22:01
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 ธันวาคม 2562, 08:35:15
เข็มกลัดพัดยศลงยาหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี๓๔


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 ธันวาคม 2562, 08:37:04
รูปถ่ายห้อยคอหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี๑๖ พิมพ์ใหญ่


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ ที่ 19 ธันวาคม 2562, 17:23:51
สวยมากเลยครับ   :wan-e042:


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563, 07:47:17
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ ปี ๑๕


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563, 07:54:59
เหรียญหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี๔๗ ออกวัดเจริญสมณกิจ จ.ภูเก็ต


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563, 08:18:22
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ ฉากเหลือง ยุคต้น  สร้างโดย คุณหญิง ส.ม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: ROBIN ที่ 02 เมษายน 2563, 11:57:03
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ ฉากเหลือง ยุคต้น  สร้างโดย คุณหญิง ส.ม
008 007 003


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 เมษายน 2563, 06:53:23
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ยุคต้น


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 เมษายน 2563, 06:57:18
ล็อกเก็ตหลวงปุ่เทสก์ เทสรังสี ยุคปลาย (รอการตรวจสอบอยู๋ครับ)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 กรกฎาคม 2563, 09:43:18
เหรียญพระนาคปรกนาสีดา หลวงปู่เทสก์อธิษฐานจิต 2 ครัง หลังมีจาร


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 ตุลาคม 2563, 20:33:08
https://www.youtube.com/watch?v=O6d84tPwex0&t=1268s


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 ตุลาคม 2563, 20:45:58
ชุดล็อกเก็ตพัดขนนก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 มีนาคม 2564, 08:55:33
ล็อกเก็ต หลวงปู่เทสก์ ยุคต้น


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 มีนาคม 2564, 09:06:12
รูปถ่ายขาวดำหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ขนาดเล็ก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 มีนาคม 2564, 09:15:59
รูปถ่ายขนาดบูชา หลวงปู่เทสก์ ยืนหน้าประตูโบสถ์วัดหินหมากเป้ง ปี10กว่า


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 มีนาคม 2564, 09:21:34
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 มีนาคม 2564, 21:40:03
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ฉายากุหลาบ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 ตุลาคม 2564, 08:37:28
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี 15-16 ขนดใหญ่พิเศษ หลังแผ่นจาร


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 ตุลาคม 2564, 08:45:43
ชุด หลวงปู่เทสก์ ลายเซ็นต์ - รูปถ่ายปี 06 - เข็มกลัดพัดยศลงย


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 มกราคม 2565, 13:30:00
ข้อมูลดีๆบทความดีqจากเพจ
****************************
วางพระบนมือ ถือพระในใจ
เมื่อวานนี้ เวลา 14:42 น.  ·
52) ความจริงเรื่องเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่เทสก์
ผู้เขียนไตร่ตรองอยู่นานว่าจะเขียนเกี่ยวกับเหรียญนี้ดีหรือไม่ เพราะถือเป็นเรื่องใกล้ตัวในฐานะผู้ศรัทธาวัดหินหมากเป้ง เรื่องนี้เป็นความเห็นขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มเซียนพระที่ซื้อขายเล่นเหรียญนี้อยากเอิกเกริกกับกลุ่มศิษย์วัดหินหมากเป้งแท้ๆที่เคารพศรัทธาในคำสอนของหลวงปู่เทสก์อย่างแท้จริงกันมานานแล้ว ตอนแรกเกรงว่าเขียนไปเดี๋ยวเซียนใหญ่เซียนน้อยจะมาหาว่าไปเหยียบเท้าเขา แต่พิจารณาใคร่ครวญดูแล้วคิดว่าเป็นประโยชน์ เป็นความจริงตามที่ได้รับฟังมา และที่สำคัญที่สุด คือ   เป็นการรักษาเจตนารมย์ของหลวงปู่ที่จะไม่ให้มีเรื่องมัวหมองเกี่ยวกับเรื่องรูปเรื่องเหรียญอย่างที่ท่านเทศนาสั่งสอนไว้เสมอๆ จึงคิดว่าเป็นการทำโดยสุจริตในการที่จะเผยแพร่เรื่องนี้
เรื่องมันมีอยู่ว่าในตลาดพระมีการเล่นหาเหรียญนี้เป็นเหรียญยอดนิยมเหรียญหนึ่งของพระเกจิในภาคอีสาน เล่นหากันราคาแพงลิบ และเล่นกันเป็นเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่ท่านที่สร้างในวาระฉลองโบสถ์ตามรายละเอียดที่ปรากฏด้านหลังเหรียญ มีการเผยแพร่ทางโซเชียลมากมาย ทั้งราคาค่านิยม และวิธีดูแท้เก๊อะไรต่ออะไร ล่าสุดเห็นปรากฏตีราคาค่านิยมในเว็ปซื้อขายพระหลักแสนบาท
สำหรับท่านที่รู้จักหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ได้ศึกษาคำสอน ศรัทธาและรู้จักในปฏิปทาและเลื่อมใสในวัตรปฏิบัติที่งดงามของท่าน จะทราบดีว่าหลวงปู่เทสก์ท่านไม่เน้นไม่ส่งเสริมให้คนยึดติดกับวัตถุมงคลทุกชนิด มุ่งเน้นการพัฒนาการปฏิบัติสมาธิ โดยเฉพาะเรื่องของจิต ลดละอัตตาตัวตน และมีมรณานุสติอยู่เสมอ หลวงปู่เทสก์ท่านจึงพยายามเลี่ยงในการเกี่ยวข้องกับวัตถุมงคลมาตลอด เว้นแต่เมื่อเลี่ยงไม่ได้หรือมีเหตุจำเป็นในส่วนรวม ท่านก็จะอนุญาตให้สร้างเป็นรูปแทนของพระพุทธเจ้า หรือให้สร้างเป็นรูปหรือเหรียญพระพุทธรูปปางต่างๆเท่านั้น โดยมีข้อแม้ว่าต้องไม่ปรากฏชื่อของท่านอยู่ในวัตถุมงคลว่าเป็นพระเครื่องของท่าน ย้ำนะครับ วัตถุมงคลที่ท่านอนุญาตมักไม่ปรากฏชื่อที่ประกาศตัวตนของท่าน เหล่าคณะผู้ที่สร้างพระจึงต้องคอยระวังไม่ให้ผิดพลาดในเรื่องเหล่านี้อยู่เสมอ เพราะท่านเข้มงวดจริง ดุจริง อย่างมากสุดที่มีความพยายามเชื่อมโยงวัตถุมงคลกับตัวท่านก็ทำได้แค่ตั้งชื่อพระให้มีความหมายเป็นนัยถึงสมณศักดิ์ของท่านหรือเอาธรรมะของท่านมาใช้แสดงบนวัตถุมงคลเท่านั้น
ข้อห้ามอย่างที่สุดที่ท่านเข้มงวดและไม่เคยอนุญาตให้แก่ผู้ใดเลยคือการสร้างเหรียญรูปเหมือนรูปแทนตัวท่าน เพราะท่านไม่ส่งเสริมให้ยึดตัวตนรูปเหมือนครูบาอาจารย์ไปโอ้อวดกัน เรื่องนี้มีหลักฐานการบันทึกเสียงของท่านอยู่นะครับ หาฟังได้ในหมวดเสียงเทศนาของหลวงปู่บนหน้ายูทูปในเรื่อง “กรรม” ทั้งตอน1 ตอน2 ลองหาฟังดูได้หากท่านสนใจ ดังนั้นเรื่องเหรียญรูปเหมือนของท่านที่ปรากฏในตลาดพระคืออะไร ท่านผู้อ่านคงหาคำตอบเบื้องต้นได้ในระดับหนึ่ง
ความจริงลึกๆเกี่ยวกับเรื่องเหรียญนี้ ผู้เขียนได้ยินมานานแล้วจากคนในพื้นที่จังหวัดหนองคาย เมื่อครั้งที่ผู้เขียนไปกราบนมัสการอนุสรณ์สถานของหลวงปู่ที่วัดหินหมากเป้ง นักเล่นพระท้องถิ่นคนเก่าคนแก่ท่านหนึ่งเคยปรารภเรื่องนี้เมื่อผู้เขียนถามถึงเหรียญรุ่นแรกเพราะสนใจว่าแปลกดี ลักษณะเหมือนเหรียญอาจารย์ฝั้น นักเล่นพระท่านนี้มีเหรียญหลวงปู่เทสก์แบบนี้อยู่จำนวนนึง เขาถามผู้เขียนว่าจะเอาไปทำไม เมื่อตอบว่าจะเอาไปบูชาเพราะศรัทธาท่านมากๆ เขากลับตอบว่าถ้าอย่างนั้นเขาไม่ให้ และอธิบายว่าที่ไม่ให้เพราะเห็นว่าคุณ(ผู้เขียน)ศรัทธาหลวงปู่จริงๆ เหรียญเหล่านี้เขาจะเก็บไว้ขายคนในตลาดพระที่กรุงเทพเพราะเขาเล่นกัน แต่คนที่นี่ไม่เล่นไม่บูชา เพราะเป็นเหรียญที่หลวงปู่ท่านไม่อนุญาตให้สร้าง! ให้ผู้เขียนไปหาพระนาคปรกนาสีดามาบูชาแทนถ้าอยากได้พระที่หลวงปู่เทสก์อธิษฐานจิตจริงๆ ( *พระนาคปรกนาสีดา คือพระที่หลวงปู่ได้เมตตาไปอธิษฐานจิตให้ ณ.วัดป่านาสีดา ของหลวงปู่จันทร์โสม หลานของท่าน ในปี พ.ศ. 2522 ซึ่งในการสร้างเหรียญนาคปรกนี้หลวงปู่ก็ได้มีคำสั่งให้ลบชื่อท่านที่ด้านหลังเหรียญออก เหรียญนาคปรกนาสีดาจึงมีด้านหลังเรียบอย่างที่เห็น)
ตอนนั้น ผู้เขียนฟังแล้วก็อึ้งไปครับ และคิดว่าต้องพยายามหาความจริงให้ได้ จนภายหลัง ผู้เขียนได้พบและได้มีโอกาสเป็นโยมอุปัฏฐากหลวงพ่อวิรัตน์ผู้เคยเป็นโยมผ้าขาวในวัด คอยดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่เทสก์อย่างใกล้ชิดมาเป็นเวลานาน ปัจจุบันท่านบวชในธรรมยุตินิกายและจำพรรษาอยู่ที่วัดป่าในจังหวัดอุดรธานี ท่านเมตตาเล่าเรื่องของหลวงปู่เทสก์ให้ฟังอยู่เสมอ ผู้เขียนจึงได้มีโอกาสเห็นภาพถ่ายเก่าๆของท่านกับหลวงปู่มากมาย ทั้งยังได้รับฟังความจริงหลายอย่างเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่มีผู้สร้างแล้วมาถวายท่านด้วย ท่านว่าหลวงปู่เทสก์ท่านจะดูเจตนาของผู้สร้างเป็นรายๆ รูปเหมือนของท่านจะมีแค่ล็อกเก็ตที่มีผู้ขออนุญาตสร้างเพื่อบูชากันในครอบครัวคราวละ4-5 อันเท่านั้น และจะอนุญาตเป็นคราวๆเป็นคนๆไป เรื่องที่จะสร้างเหรียญปั๊มเหรียญนั้นท่านไม่เคยอนุญาต
เมื่อไม่นานมานี้ ผู้เขียนได้เดินทางไปกราบท่านที่อุดรธานีและได้ถามท่านเกี่ยวกับเหรียญนี้โดยเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง ท่านจึงได้เล่าให้ผู้เขียนฟังเพิ่มเติมว่า มูลเหตุของเรื่องเหรียญนี้เริ่มที่มีโยมคนหนึ่งเป็นชาวสกลนคร (ขอสงวนนาม) ได้จัดทำเหรียญนี้ขึ้นมาและฝากพระภายในวัดให้เป็นธุระนำมาแจกภายในงานขึ้นพัทธสีมาพระอุโบสถเพื่อจะถือโอกาสให้หลวงปู่อธิษฐานจิตให้โดยปฏิเสธไม่ได้ วันนั้นหลวงพ่อวิรัตน์ท่านอยู่ในเหตุการณ์ด้วย ท่านเล่าว่าท่านได้ยินหลวงปู่เทสก์ดุพระและโยมคนนั้นอย่างหนัก จนสุดท้ายโยมคนนั้นก็มายืนร้องให้ที่โคนเสาใต้กุฏิและบ่นว่า ไม่น่าเลย ๆ ฉันไม่น่าทำมาเลย พูดซ้ำๆและสะอื้นตลอดเวลาเป็นที่น่าสังเวชใจ สุดท้ายเหรียญชุดที่เอามาแจกในงานนั้นหลวงปู่ท่านได้สั่งให้นำไปทิ้งลงแม่น้ำโขงจนหมด ส่วนเหรียญที่เหลือนั้นจะเอาไปไหนทำอะไรก็ไป หลวงปู่ท่านว่าท่านไม่รับรู้ ไม่รับผิดชอบใดๆทั้งสิ้น ซึ่งท้ายที่สุดก็มีการขนกลับมาจำหน่ายกันที่สกลนครจนกระจายสู่ส่วนกลางโดยทั้งโยมและพระรูปหนึ่งกันจนมีราคาสูงอย่างที่เห็น
เรื่องที่ผู้เขียนได้รับการถ่ายทอดมาก็มีเนื้อหาหลักๆดังนี้ รายละเอียดเกี่ยวกับตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องขอสงวนไม่กล่าวถึงเพราะมีทั้งพระและโยม ส่วนเหรียญที่เหลือรอดจากการเททิ้งน้ำ ไม่ทราบว่ามีจำนวนเท่าใด และกระจายมาสู่ตลาดพระในเมืองเท่าใดผู้เขียนก็จนปัญญาจะทราบได้ ซึ่งต่อจากนี้ก็ขอให้ท่านผู้อ่านใช้ดุลยพินิจพิจารณาสิ่งเหล่านี้กันเองต่อไปนะครับ เพราะสำหรับผู้ที่ปฏิบัติและศรัทธาในคำสอนของหลวงปู่เทสก์อย่างแท้จริงแล้วจะมีคำตอบที่ชัดเจนต่อเหรียญนี้อยู่ในใจเสมอ ส่วนใครจะเล่นหาซื้อมาสะสมอย่างไรก็สุดแล้วแต่ท่านเทอญ..สาธ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 เมษายน 2565, 10:31:50
รูปถ่ายพระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์(หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี) งานทำบุญอายุครบ90ปี ปี พ.ศ.๒๕๓๔ พร้อมลายเซ็นต์สด ขนาดกว้าง 20นิ้ว สูง24นิ้ว (ไม่รวมกรอบไม้สัก) เป็นรูปอริยบทที่หายาก***กระดาษkodak เก่า****


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 เมษายน 2565, 07:56:38
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ งานร้านฉายากุหลาบ มีซ่อม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 พฤษภาคม 2565, 07:30:48
เหรียญที่ระลึกพัดยศรุ่นแรก หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ปี2529 บล็อคไข่ปลา พร้อมซองพลาสติคเดิมๆ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 พฤษภาคม 2565, 07:38:04
รูปหล่อจำลองหลวงพ่อเชียงรุ้ง วัดป่านาสีดา หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี เป็นประธานเททองหล่อพระประธาน เนื้อทองผสม (เป็นเนื้อเหลือจากการเททองหล่อพระประธาน)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มิถุนายน 2565, 08:17:25
รูปถ่ายขาวดำหลวงปู่เทสก์ ประมาณปี พ.ศ.2500 ขนาก 15 นิ้ว (กว้าง 9 นิ้ว สูง 12 นิ้ว) ไม่รวมกรอบ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 มิถุนายน 2565, 08:28:48
รูปถ่ายขนาดฌปสการ์ด


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 มิถุนายน 2565, 08:31:21
(ปรล็อกเก็ต หลวงปู่เทสก์ ฉากทอง(ประวัติการสร้างยังไม่แน่ชัด) รูปในล็อกเก็ตเป็นรูปถ่ายประมาณปี 34-36 ล็อกเก็ตฉากทองเริ่มมีการสร้างเมื่อปี 34-35


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 กันยายน 2565, 11:46:29
รูปถ่ายหลังศาลาหลังเก่าเลี่ยมพลาสติคเดิมๆ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 กันยายน 2565, 11:52:25
เหรียญรูปหมือนหลวงปู่เทสก์ รุ่นแรก ปี 2516 หลังเรียบ ( รุ่นนี้หลวงปู่ไม่ได้อนุญาตให้สร้างและไม่ได้อธิษฐานจิต) ด้านหลังติดรูปถ่ายสี ปี 16 ขนาดกลาง (หลวงปู่แจก) และจีวร


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 กันยายน 2565, 11:57:17
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ งานร้านฉายากุหลาบ มีซ่อม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 กันยายน 2565, 08:29:05
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ขาวดำ แต่งเป็นรูปสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 กันยายน 2565, 08:35:37
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์ขาวดำ แต่งเป็นรูปสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 05 ตุลาคม 2565, 14:12:31
เข็มกลัดพักยศลงยาปลอม ทำออกมาแล้วครับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 ตุลาคม 2565, 15:14:28
คติธรรมหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:44:27
คติธรรม หลวงปู่เทสก์ 1


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:45:55
คติธรรม หลวงปู่เทสก์2


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:47:58
คติธรรม หลวงปู่เทสก์3


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:48:46
คติธรรม หลวงปู่เทสก์4


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:49:29
คติธรรม หลวงปู่เทสก์5


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:50:49
คติธรรม หลวงปู่เทสก์6


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 พฤศจิกายน 2565, 12:51:45
คติธรรม หลวงปู่เทสก์7


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 พฤศจิกายน 2565, 10:27:50
คติธรรม หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 พฤศจิกายน 2565, 10:28:59
คติธรรม หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 พฤศจิกายน 2565, 10:30:50
คติธรรม หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 02 พฤศจิกายน 2565, 10:33:12
คติธรรม หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 พฤศจิกายน 2565, 14:47:49
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ หลังรูปถ่าย ยุคแรก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 พฤศจิกายน 2565, 15:58:38
ล็อกเก็ตหลวงปู่เทสก์ หลังรูปถ่าย ยุคแรก


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 ธันวาคม 2565, 12:20:00
ครบรอบ ปีที่28


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 มกราคม 2566, 17:49:32
ล็อกเก็ตหลวงปูเทสก์ นั่งเต็มองค์ ฉากฟ้า


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 14 มกราคม 2566, 17:51:07
ภาพถ่ายบูชา หลวงปู่เทสก์ ขนาด50x60 ซม


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2566, 07:26:17
เทสโกวาท


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2566, 07:32:43
เทสโกวาท


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 มีนาคม 2566, 09:20:09
ใจสะอาด


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 มีนาคม 2566, 09:21:37
เทสโกวาท


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 มีนาคม 2566, 09:27:18
เทสโกวาท


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 มีนาคม 2566, 10:06:08
เทสโกวาท


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 เมษายน 2566, 06:41:06
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 เมษายน 2566, 06:43:25
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 03 เมษายน 2566, 11:48:53
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 07 เมษายน 2566, 06:37:27
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 เมษายน 2566, 07:11:44
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 09 เมษายน 2566, 06:47:09
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 เมษายน 2566, 06:13:00
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 เมษายน 2566, 06:15:56
เหรียญพัดยศ รุ่นแรก ปี 2529 บล็อคทองคำ/เนื้อเงิน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 เมษายน 2566, 11:40:37
รูปถ่ายหลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 13 เมษายน 2566, 07:20:00
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 เมษายน 2566, 06:49:00
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 18 เมษายน 2566, 07:13:47
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 เมษายน 2566, 06:38:57
หลวงปู่เทสก์


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 เมษายน 2566, 06:11:41
เกิดขึ้นมาเป็นมนุษย์
รู้จักดี รู้จักชั่ว บาปบุญคุณโทษ
ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์
ทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์
สิ่งที่เป็นโทษไม่ต้องทำ
สิ่งที่เป็นประโยชน์ต้องทำบ่อยๆ
เรียกว่า อบรมนิสัยของเรา
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๕๘



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 เมษายน 2566, 06:17:12
เมื่อศีลครบมูลบริบูรณ์แล้ว
จิตใจมันกว้างขวางเอง
เบิกบานเอง
จิตแผ่กระจายไปทุกทิศทุกทาง
นั่นแหละ เมตตา
พรหมวิหารเกิดขึ้นแล้วนั่น
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๕



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 เมษายน 2566, 06:18:59
ใจที่หยุด ไม่คิดนึกปรุงแต่ง
มันถึงความดับ
มันจึงปลอดโปร่งโล่งหมด
ไม่คับแคบ
ไม่เดือดร้อนวุ่นวายมีอิสระในตัว
ไม่มีอะไรบังคับ


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 เมษายน 2566, 06:35:22
การต่อสู้ทางใจคือ
การต่อสู้กับกิเลสภายใจของตนเอง
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 25 เมษายน 2566, 06:30:17
ปล่อยวาง ในการที่ควรปล่อย
รักษา ในการที่ควรรักษา
ระวัง ในการมี่ควรระวัง
นี่เป็นอุบายแยบคายของตนเอง
เป็นหน้าที่ของตน
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๒


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 เมษายน 2566, 06:39:49
26 เมษายน 2566 ชาตกาล 121 ปี พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ (หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 เมษายน 2566, 07:20:35
ใจเป็นของอันเดียว
เมื่อทำดีแล้ว มันก็ละชั่ว
เมื่อทำชั่วแล้ว มันก็ละดี
เหตุนั้น ตั้งใจทำดีเสีย ให้ละชั่ว
ต้องปฏิบัติอย่างนี้
จึงจะเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๗


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 เมษายน 2566, 07:54:06
https://www.facebook.com/groups/1639472166356668


รักหลวงปู่ วัดหินหมากเป้ง


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 เมษายน 2566, 06:06:36
เมื่ออารมณ์ทางชั่วเข้ามาปักอยู่กับจิตกับใจ
ทำให้จิตไม่ให้สงบได้
จำเป็นต้องใช้อารมณ์ทางดีต่อสู้
เอาชนะความชั่ว ด้วยความดีของเรา
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 พฤษภาคม 2566, 06:48:46
เมื่ออารมณ์ทางชั่วเข้ามาปักอยู่กับจิตกับใจ
ทำให้จิตไม่ให้สงบได้
จำเป็นต้องใช้อารมณ์ทางดีต่อสู้
เอาชนะความชั่ว ด้วยความดีของเรา
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 พฤษภาคม 2566, 06:52:14
แยกใจออกจากอารมณ์เสีย
แล้วเอาแต่ใจอย่างเดียว
อย่าไปเอาอารมณ์
เท่านั้นก็แยกได้ทุกสิ่งทุกอย่างหมด
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 04 พฤษภาคม 2566, 06:54:21
เราละความชั่วเวลานี้
ก็เห็นความดีในเวลานี้
ไม่ได้เลือกกาลเวลา
ความอิ่มใจดีใจเกิดขึ้น
นั่นเป็นผลของการปฏิบัติ
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๒


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤษภาคม 2566, 06:02:57
ใจ ที่เป็นกลางๆแล้ว
จะมีอะไรกระทบกระเทือนอีก
ขอให้รักษา ความเป็นกลาง
ไว้ให้มั่นคงเถอะ
ไฟนรก ย่อมดับลง ณ ที่นั่นแหละ
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๘



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 08 พฤษภาคม 2566, 06:04:14
สติมีมากเท่าไหร่ยิ่งดี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 พฤษภาคม 2566, 07:25:43
ให้พิจารณา กาย นี่แหละ
อย่าให้ จิต ส่งออกนอกกาย
จิต มันแน่วแน่อยู่แต่เรื่องนั้น
จิต จะได้ความสงบ
จิต จะรวมเป็นสมาธิ
อยู่ในขั้นของ สมถะ
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๔


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 พฤษภาคม 2566, 07:29:30
ถ้าหากว่ามี สติ ควบคุมจิต
คอยกลั่นกรองจิต
กำจัดความชั่วให้ออกไปเสีย
เหลือไว้แต่ ความดี ในจิต
จึงจะปรากฏแต่ความดี
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๙



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 10 พฤษภาคม 2566, 07:32:28
ตัวจิตแท้คือ ผู้คิดผู้นึก
คือ ผู้รู้สึกนั่นเอง
มันเพิกถอนอารมณ์ต่างๆหมด
ไม่ถืออะไรทั้งหมด
ยังเหลือแต่ ความรู้สึก
มันเลยกลายเป็นชำระกิเลสไปในตัว
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 11 พฤษภาคม 2566, 07:13:44
จะต้องพิจารณาให้เห็นว่า คือ
ใจมันไปเกี่ยวข้องมันจึงไม่สงบ
ใจไม่เกี่ยวข้องมันก็ไม่มีเรื่องอะไร
เมื่อเห็นชัดแล้วก็ปล่อยวางเสีย
มันก็หมดเลยเรื่องนั้น
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๐


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 พฤษภาคม 2566, 05:34:35
จิตสงบ คือ มีสมาธิ
ถ้าจิตไม่มีสมาธิ ไม่สงบ
ทำให้ต้องการ หัดสมาธิ
จากหนังธรรมะเล่มที่๗๔
@all


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 12 พฤษภาคม 2566, 18:52:49
สติ มีมากเท่าไหร่ยิ่งดี
     มีแต่คุณไม่มีโทษ

-------------------------------------------------------------------------
          .......อย่าเพิ่งเชื่อ........(กาลามสูตร)
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะฟังตามกันมา
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถือสืบกันมา
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะข่าวเล่าลือ
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีในตำรา
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรรกะ
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะอนุมาน
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะลักษณะอาการที่ปรากฎ
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะตรงกับความคิดของตน
- อย่าเพิ่งเชื่อเพราะดูน่าเชื่อถือ
 - อย่าเพิ่งเชื่อเพราะเป็นครูของตน


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 พฤษภาคม 2566, 05:43:29
ทำความดีแล้วให้รู้จักคุณค่า
อย่าให้มันเสื่อมสูญไป
รักษาความดีนั้นไว้
ได้มากน้อยเท่าไร รักษาไว้
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๕


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 17 พฤษภาคม 2566, 06:30:44
ต่างคนต่างชำระใจของใครของมัน
ก็หมดเรื่องกันไป แต่นี่ไม่ยอมชำระตน
ไปชำระคนอื่น มันก็เลยยุ่ง
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๔



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 พฤษภาคม 2566, 05:55:54
การเอาชนะตัวของเรานั้น
คนอื่นไม่กระทบกระเทือน
กิเลสของใครจะมีมากน้อยเท่าไร
ก็ไม่กระทบกระเทือนใคร
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๑๙



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 พฤษภาคม 2566, 06:07:05
พวกเราไม่เข้าใจความจริง
ในพระพุทธศาสนา
ปฏิบัติผิดๆ เข้ากับกิเลสของตน
ก็เหมือนกับช่วยบ่อนทำลาย
พระศาสนาคนละนิดคนละหน่อย
คนละด้าน คนละทาง เช่นนี้แล้ว
จะไม่เป็นบาปมากหรือ
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๐


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 21 พฤษภาคม 2566, 06:33:16
เรียนรู้ใจของตน
รักษาใจให้อยู่ได้
ก็เป็นพอแล้ว
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๑๙


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 พฤษภาคม 2566, 06:25:46
จิตอันใดที่ไม่รู้จักอิ่มจักพอ
จิตอันที่มันหมุนเวียนไปๆมาๆ
มันลอยอยู่ตามอารมณ์
นั่นเรียกว่า โลก
จิตเป็น ธรรม แล้วมันหยุด
มันสงบ มันเย็นไม่ร้อน
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๐



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 23 พฤษภาคม 2566, 06:48:05
ความดี มันทำได้ยาก
อยากได้ดี อยากเป็นดี
แต่ก็ดีไม่ได้ เพราะไม่ทำดี
นี่แหละคนเรา

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๗๕



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 26 พฤษภาคม 2566, 06:42:23
คนมีปัญญาอาศัยธรรมะ
เป็นเครื่องปรับปรุงกายและใจของตน
เอาปัญญาเข้ามาพิจารณา จิต
ที่มันเป็นโลกนั้น
ให้กลายมาเป็นธรรม
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๐


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 27 พฤษภาคม 2566, 07:11:26
สิ่งที่เป็นของมีค่า
ได้แก่ความดีที่เราพาไปด้วยคือ ใจพาไป
ตนจึงเป็นที่พึ่งของตน ไม่ต้องง้อใคร
พึ่งตนเองทุกชาติไป
ไม่กลัวทุกข์ยากความลำบากอะไรเลย
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๓


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 28 พฤษภาคม 2566, 06:27:30
ประกอบแต่กิจที่ควร
และละสิ่งที่ไม่ควรเสีย
พยายามรักษาความดีของตนไว้
ก็มีแต่ทางจะดียิ่งๆขึ้นไป
จะไม่เรียกว่า เพียรชอบได้อย่างไร
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 29 พฤษภาคม 2566, 06:31:54
ทาน มิใช่เรื่องปรารถนา
แต่เป็นเรื่องสละ
ศีล มิใช่เป็นความสุข
แต่สังวรระวังจะไม่ทำชั่วอีก
ภาวนา มิใช่เรื่องปรารถนา
แต่เป็นเรื่อง สละทุกสิ่งทุกอย่าง

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๘๑


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 30 พฤษภาคม 2566, 06:43:55
บูชาพระพุทธเจ้าด้วยการปฏิบัติ
บุญทั้งหลาย
ก็อยู่ในการปฏิบัตินั่นเอง
เป็นบุญที่วิเศษสูงสุดแล้ว
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๒๐

[/i]


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 31 พฤษภาคม 2566, 05:52:46
พุทธศาสนานี้กล่าวถึงเรื่อง การกระทำ
เราฟังเฉยๆ ไม่กระทำตาม
มันก็ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
สิ่งที่มันบกพร่อง
เราก็ทำให้มันสมบูรณ์ขึ้น
จึงจะถูกตามรอยของพระองค์
[i]จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๓
[/i]
[/b][/b][/b][/size]


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 01 มิถุนายน 2566, 07:03:04
เรื่อง สมมุติ มากขึ้นเท่าไร
กิเลส ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
เพราะ ความสมมุติ
เป็นต้นเหตุของ กิเลส
ให้ยืดยาวกว้างขวางออกไป

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๓


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 มิถุนายน 2566, 05:48:41
รู้อะไรแล้ว ไม่ปล่อยไม่วาง
ก็ไม่เป็นประโยชน์
รู้แล้วโอ้อวด รู้ยึดรู้ถือ นั่นเป็นโลก
รู้ปล่อยรู้วาง เป็นธรรม

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๕



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 15 มิถุนายน 2566, 05:52:30
ใจ สำคัญที่สุด
ควรระวังสังวรที่ใจ
อบรมให้เป็น ใจ ที่สอนง่ายว่าง่าย
ให้เป็น ใจรู้ ใจฉลาด ใจเยือกเย็น
ให้ใจเห็นคุณค่าของความสงบเยือกเย็น
จึงจะนำมาซึ่งความสุข ที่มั่นคงและถาวร
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๔๕



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 16 มิถุนายน 2566, 06:26:09
#พุทธศาสนาเสื่อมได้อย่างไร
...นอกจากพุทธบริษัท 4 คือภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาแล้ว ไม่มีใครจะทำให้เสื่อมได้เลย
พุทธศาสนาจะเสื่อมหรือเจริญต้องขึ้นอยู่กับพุทธบริษัททั้ง 4 เท่านั้น...
..ถ้าพระไม่เข้าใจหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว ชาวบ้านอาจดึงเอาพระให้ปฏิบัติตามกิเลสของตนได้ หรือพระรู้ดีอยู่แต่ทนต่ออำนาจกิเลสฝ่ายต่ำของตนดึงไปไม่ได้ก็มี ทั้งสองนี้ย่อมทำให้พระศาสนาเสื่อมได้ทั้งนั้น...
...ดังในปัจจุบันนี้เราอาจได้เห็นและได้ทราบข่าวจากที่ต่างๆ อยู่แล้วว่า พระบางรูปประพฤติดีเรียบร้อยในธรรมวินัยแต่ไปถูกชาวบ้านผู้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวชักจูงไปทางผิด ถูกเขาต้มเสียจนเหลือแต่โครงกระดูก
พระบางรูปก็มิใช่ของแห้ง ต้มเอาชาวบ้านจนกระเป๋าแฟบก็มีเหมือนกัน...
...คนเข้าวัดและฟังเทศน์มากที่สุดก็คือวัดที่อาจารย์กรรมฐานครองผ้าคล้ำๆ ครึๆ และสกปรกหน่อย บอกเลขท้าย
จริงๆ เมื่อความเป็นไปในพุทธศาสนาเป็นไปถึงขนาดนี้แล้ว พวกเราที่ได้สมญาว่าพุทธมามกะถือว่าพระรัตนตรัยเป็นของของเราแล้ว พระรัตนตรัยมาอยู่ในกายในใจของเราแล้วจริงหรือ
เวลานี้เราพากันส่งเสริมหรือพากันทำลายพุทธศาสนากันแน่....
พระธรรมเทศนาของ พระนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาจารย์ (เทสก์ เทสรังสี)
วัดเจริญสมณกิจ จังหวัดภูเก็ต
เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2506


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 มิถุนายน 2566, 05:59:25
เรามาแก้ตัวของเราอย่างเดียว
เขาจะโกรธจะเกลียดเรา
หรือเขาจะชอบอกชอบใจเรา
อันนั้นเป็นเรื่องของโลก
เราไม่ได้เอาอันนั้นมาเกี่ยวเกาะ
ไว้กับจิตกับใจของเรามันก็สบายเลย

จากหนังสือธรรมะเล่มที่๖๕


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 19 มิถุนายน 2566, 06:03:04
เราโกรธเขา
เราไปยินดีกับความโกรธ
พอใจกับความโกรธอันนั้น
อยากโกรธเขา
นั่นแหละเรียกว่า
ยินดีพอใจในวิสัยของมาร
จากหนังสือธรรมะเล่มที่๓๖



หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 20 มิถุนายน 2566, 07:21:12
จรรยาชองคนดี


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 22 มิถุนายน 2566, 06:12:37
จิตหลงเข้าใจผิด
เข้าไปยึดถือเอาด้วยอาการต่างๆ
เรียกว่า “ อัตตานุทิฏฐิ “
เลยกลายเป็นกิเลส
(กัณฑ์ที่ 6 รหัส 1 หน้า 156)


หัวข้อ: Re: พระราชนิโรธรังสีคัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ ( หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี )
เริ่มหัวข้อโดย: middle spirit ที่ 24 มิถุนายน 2566, 06:13:22
กิเลส เป็นอาการของ จิต
ใจผ่องใสสะอาดแล้ว
กิเลสจะแสดงอาการใดๆออกมา
ใจย่อมทราบชัดด้วยตนเอง
แล้วก็กำจัดด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์
ซึ่งมีความสงบเป็นรากฐาน
(สติปัฏฐานภาวนา รหัส 5 หน้า 42)