ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องพระ => พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ => ข้อความที่เริ่มโดย: maxna ที่ 07 กันยายน 2563, 10:18:46



หัวข้อ: เหรียญนาคปรกอุตฺตโม รุ่นแรก ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
เริ่มหัวข้อโดย: maxna ที่ 07 กันยายน 2563, 10:18:46
เหรียญนาคปรกอุตฺตโม รุ่นแรก

ญาถานเบิ้ม อุตฺตโม
บรมครูใหญ่สายธรรมอุตฺตโมบารมี
ผู้สืบทอดรุ่นที่ 3 วัดวังม่วง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี
ศิษย์แห่งบูรพาจารย์สายปรมาจารย์ใหญ่หลวงปู่สำเร็จลุน

“พระนาคปรก” หรืออีกชื่อเรียกพระพุทธรูปลักษณะนั่งสมาธิ และมีพญานาคแผ่พังพานขึ้นจากไหล่ไปปรกพระเศียรของพระพุทธรูป ในกิริยาที่ พญานาคกราบนมัสการ พระพุทธเจ้า เป็นรูปขดตัวเป็นฐานตั้งพระพุทธรูป นั่งสมาธิ ประทับบนตัวพญานาคและมีพังพานและหัวของพญานาค ๗ เศียร ปรกอยู่ซึ่งเป็นพระพุทธจริยาวัตร ที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภาย ในวงขนด ของ พญานาคมุจลินท์นาคราช ทรงพุทธคุณสูงส่ง ด้านเมตตามหานิยม อธิษฐานขอพรโชคลาภ เงินทอง อาราธนาป้องกันภูตผีปีศาจ ตลอดถึงมีพุทธคุณ ปกป้อง คุ้มครอง ดวงชะตา ให้ปราศจากคราะห์ภัยทั้งปวง มีพุทธคุณครอบจักรวาล

ประวัติความสำคัญ
ครั้นพระพุทธองค์เสด็จประทับเสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธสิ้น 7 วัน แล้วพระองค์ก็เสด็จไปประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขยังร่มไม้จิก อันมีชื่อว่า มุจจลินท์ ซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศอาคเนย์ของต้นพระศรีมหาโพธิ์ วันนั้นเกิดฝนตกพรำอยู่ไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน พญานาคมุจจลินท์ ผู้เป็นราชาแห่งนาค ได้ออกจากนาคพิภพ ทำขนดล้อมพระวรกาย ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพานใหญ่ปกคลุมเบื้องบน เหมือนกั้นเศวตฉัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์มิให้ฝนและลมหนาวสาดต้องพระวรกาย ทั้งป้องกันเหลือบ ยุง บุ้ง ร่าน ริ้น และสัตว์เลื้อยคลานทั้งมวลด้วย
ครั้งฝนหายแล้ว พญามุจจลินท์นาคราชจึงคลายขนดจากที่ล้อมพระวรกายพระพุทธเจ้า จำแลงเพศเป็นมาณพน้อยยืนทำอัญชลีถวายนมัสการพระพุทธองค์ในที่เฉพาะพระพักตร์ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า "สุโข วิเวโก ตุฏฺฐัสสะ สุตะธัมมัสสะ ปัสสะโต อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกฺกะโม อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ฯ" ความว่า "ความสงัดเป็นสุขของบุคคลผู้มีธรรมอันได้สดับแล้ว รู้เห็นสังขารทั้งปวงตามเป็นจริงอย่างไร ความเป็นคนไม่เบียดเบียน คือความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย และความเป็นคนปราศจากความกำหนัด คือความก้าวล่วงกามทั้งปวงเสียได้ เป็นสุขในโลกความนำออกเสียซึ่งอัสมินมานะ คือความถือตัวตนให้หมดได้นี้เป็นสุขอย่างยิ่ง"
พระพุทธจริยาที่เสด็จประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขภายในวงขนดของพญานาคมุจจลินท์นาคราชที่ขดแวดล้อมพระกายอยู่นี้ เป็นเหตุให้สร้างพระพุทธรูปปางนี้ขึ้นมา เรียกว่า ปางนาคปรก เรื่องพระปางนาคปรกนี้ นิยมสร้างเป็นพระนั่งบนขนดตัวพญานาคเหมือนเอานาคเป็นบัลลังก์ดูสง่า องอาจเป็นพระเกียรติอำนาจของพระองค์อย่างหนึ่ง ได้ลักษณะเป็นอย่างพระเจ้าของพราหมณ์ ถ้าจะรักษาลักษณะของพระพุทธรูปตามประวัติ ก็จะเป็นไปอีกในลักษณะหนึ่งคือ พระพุทธรูปจะมีพญานาคพันรอบพระวรกายด้วยขนดตัวพญานาคถึง 4-5 ชิ้น จนบังพระวรกายมิดชิด เพื่อป้องกันฝนและลม จะเห็นได้ก็เพียงพระเศียร พระศอ และพระอังสาเป็นอย่างมาก ทั้งเบื้องบนก็มีหัวพญานาคแผ่พังพานปกคลุมอีกด้วย
ความเชื่อ
พระพุทธรูปปางนาคปรกนี้นิยมสร้างเป็น พระพุทธรูปที่สักการบูชาประจำวันของคนเกิดวันเสาร์ ในพุทธศาสนาเป็นที่ทราบกันว่ามีความนิยมสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก อันเกี่ยวเนื่องกับพญานาคที่ชื่อ “มุจลินท์” ซึ่งมาแผ่พังพานปกป้องพระพุทธองค์ และกลายเป็นพระประจำวันเสาร์ นอกเหนือไปจากเรื่องพญานาคเลื่อมใสในพุทธศาสนาถึงขนาดปลอมตนมาขอบวชจนเรียกว่า “บวชนาค” มาจนถึงปัจจุบันนี้
พระนาคปรกเปรียบเสมือนพญานาคได้แผ่พังพาน ปกป้องคุ้มครองเจ้าชะตาให้พ้นทุกข์และภัยพิบัติต่างๆ และยังมีความเชื่อว่าพระปางนี้มีความศักดิ์สิทธิ์ทางเมตตา ซึ่งเป็นการสอนทางอ้อมให้เห็นอานิสงค์หรือผลดีของความเมตตา เพราะแม้แต่พญานาคยังขึ้นจากสระน้ำมาถวายอารักขาพระพุทธเจ้า ทั้งนี้ก็ด้วยพลานุภาพแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ การบูชา พระนาคปรก เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ต่ออายุ เสริมดวงชะตา เมตตามหานิยม ทรัพย์ มหาอำนาจ ดีทุกด้านแก่ผู้บูชา การนำพระนาคปรก หรือ พระประจำวันเกิด บูชานั้นควรไว้ที่หัวนอนของตัวเองจะดีที่สุด องค์พระจะคุ้มครองคุ้มภัยอันตรายทั้งหลาย เสมือนว่าท่านได้คุ้มครองอยู่ตลอดเวลา

พระคาถาบูชา
สวด 10 จบ (องคุลีมาลปริตร) ดังนี้ "ยะโตหัง ภะคินิ อะริยายะ ชาติยา ชาโต นาภิ ชานามิ สัญจิจจะ ปาณัง ชีวิตา โวโรเปตา เตนะ สัจเจนะ โสตถิ เต โหตุ โสตถิ คัพภัสสะ" มีบางความเชื่อ เชื่อว่าที่มาของพระพุทธรูปปางนี้ เป็นการผสมผสานความเชื่อของสองศาสนา คือ ศาสนาพุทธ และศาสนาฮินดู โดยมีที่มาจากพระวิษณุหรือพระนารายณ์ ขณะที่บรรทมประทับบนอาสน์พญานาคที่สะดือสมุทร