Pruedthachon
|
|
« ตอบ #15 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2555, 22:09:21 » |
|
พระปรกใบมะขาม ปี 2538 > พระปรกใบมะขาม รุ่นแรก เนื้อทองแดง
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #16 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2555, 22:18:05 » |
|
พระสมเด็จเนื้อผง ครบรอบ 86 ปี พ.ศ. 2538 > จัดสร้างโดย อ.รัศมี เนื้อทอง ผู้สร้างเหรียญรูปไข่ รุ่นแรก หลวงปู่ญาท่านสวน ฉนฺทโร > จำนวนการสร้าง 10,000 องค์
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 14:02:49 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #17 เมื่อ: 07 กรกฎาคม 2555, 22:33:28 » |
|
พระผงรูปเหมือน(บารมีธรรม) ปี 2538 > สร้าง ปี 2538 โดย อ.รัศมี เนื้อทอง ผู้สร้างเหรียญรุ่นแรก > จำนวนการสร้าง 2,000 องค์
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 14:09:21 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #18 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 13:25:31 » |
|
พระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า ปี 2539 > การสร้างพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า เป็นดำริจาก "ญาท่านสวน" ที่ต้องการสร้างไว้เพื่อเป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ส่วนผลพลอยได้คือปัจจัยจากการที่มีผู้ร่วมบริจาคทรัพย์ในการสร้างครั้งนี้ ท่านให้นำไปก่อตั้งเป็นมูลนิธิ "อาทรพัฒนคุณ" ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้ใช้จ่ายในกิจกรรมทางพุทธศาสนา เป็นทุนฉุกเฉินเวลาภิกษุสามเณรอาพาธ เป็นทุนอาหารกลางวันและทุนการศึกษาสำหรับเด็ก - การสร้างตามตำราโบราณนั้นจะสร้างยากมาก กล่าวคือจะต้องพิถีพิถันตั้งแต่มวลสารโลหะธาตุ การลงอักขระเลขยันต์ 108 นปถมัง 14 นะ การคำนวณฤกษ์ยาม วิธีการ และพิธีกรรม อีกทั้งค่าใช้จ่ายก็สูง ในการสร้างครั้งนี้หลวงปู่ญาท่านสวนท่านได้ให้ทุนปฐมฤกษ์เป็นเงิน 5,000 บาท การเตรียมการนั้นเป็นเวลา 1 ปีเต็ม มีอุปสรรคหลายประการเกิดขึ้น แต่ทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี ก็เพราะบารมีของญาท่านสวน - การสร้างพระกริ่งครั้งนี้ อยากจะให้เป็นเกียรติประวัติแก่วัดนาอุดม จึงได้กราบทูลขอสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก และทรงพระเมตตาอธิษฐานจิตลงอักขระ บนแผ่นทอง เพื่อนำไปเป็นชนวนในการเททองหล่อ นอกจากนี้ยังมีพระเถรานุเถระชั้นสมเด็จอีก 8 รูป คือ 1. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม 2. สมเด็จพระมหามุณีวงศ์ วัดนรนาถสุนทริการาม 3. สมเด็จพระพุทธาจารย์(เกี่ยว) วัดสระเกศ 4. สมเด็จพระมหาธีราจารย์(นิยม) วัดชนะสงคราม 5. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์(ช่วง) วัดปากน้ำภาษีเจริญ 6. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม 7. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(พุฒ) วัดสุวรรณาราม 8. สมเด็จพระวันรัต วัดเทพศิรินทราวาส และยังมีสุดยอดพระเกจิคณาจารย์ทั่วประเทศอีก 168 รูป ร่วมแผ่เมตตาอธิษฐานจิตลงอักขระบนแผ่นทองเพื่อนำมาเป็นชนวนในการหล่อในครั้งนี้ด้วย - สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงพระเมตตาประทานไฟพระฤกษ์ ในวันประกอบพิธีเททองหล่อพุทธาภิเษก เมื่อวันขึ้น 15 ค่ำ วันอังคาร ที่ 24 ธันวาคม 2539 ซึ่งเป็นวันที่ญาท่านสวน กำหนดให้เป็นวันเททอง ตามตำราของท่านถือว่าเป็นวันครูและเป็นวันที่แข็งที่สุดในรอบ 1 ปี - ท่านอาจารย์อรรถพล กิตฺติโก ได้ให้ความเมตตามาเป็นเจ้าพิธี และทำพิธีบวงสรวงบูชาครู ลงแผ่นพระยันต์ 108 นะปถมัง 14 นะ และควบคุมผสมมวลสารโลหะธาตุ ท่านอาจารย์อรรถพลเป็นผู้หนึ่งที่มีความแตกฉานและเชี่ยวชาญในการผสมโลหะธาตุ และท่านยังได้มอบชนวนนวโลหะ มาเป็นส่วนผสมในครั้งนี้ด้วย และนอกจากนี้ยังมีชาวบ้านนำเอาเครื่องใช้โบราณและทองคำลาวมาร่วมบริจาคและผู้ที่ศรัทธานำโลหะศักดิ์สิทธิต่างๆ มาร่วม ผสมในการหล่ออีกเป็นจำนวนมาก นอกจากการสร้างครั้งนี้แล้วท่านเคยกล่าวย้ำว่า ต่อไปแม้กระทั่งรูปถ่ายของท่านก็จะหาไม่ได้ - ท่านพระครูศิวาจารย์ พระครูพราหมณ์ เป็นผู้คำนวณฤกษ์ผานาทีและบวงสรวงอัญเชิญเทพยดาทั่วท้องจักรวาลมาร่วมอนุโมทนาในพิธี และท่านได้กล่าวว่าพิธีครั้งนี้เยี่ยมมาก พระกริ่งรุ่นนี้ถือกำเนิดขึ้นในถิ่นอีสาน จึงได้มีการกำหนดให้สวดพุทธาภิเษกแบบภาคกลางอยูบนพระอุโบสถ 1 ชุด 4 รูป และสวดไชยหรือสวดพุทธาภิเษกแบบอีสานอยู่ข้างล่างหน้าบริเวณปริมณฑลเททองอีก 1 ชุด จำนวน 9 รูป ท่านพระครูศิวาจารย์ยังกล่าวชมว่า พระสวดได้ไพเราะมาก อีกทั้งพระเกจิคณาจารย์ที่มาร่วมนั่งปรกอธิษฐานจิตครั้งนี้ ท่านนั่งปรกนานเต็มเปี่ยมมาก - พระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีในวันนั้นได้แก่ หลวงปู่คำพันธ์ วัดธาตุมหาชัย , หลวงปู่กิ วัดสนามชัย , หลวงปู่เคน วัดแซอุดมสุข ซึ่งเป็นเกจิที่มีความคุ้นเคยกับญาท่านสวน และล้วนแต่เป็นศิษย์สายในเดียวกันด้วย ท่านพระครูศิวาจารย์ท่านเห็นความพร้อมอย่างนี้ ท่านอยากให้พระกริ่งรุ่นนี้เป็นรุ่นประวัติศาสตร์ ท่านจึงขอให้นิมนต์เกจิทุกรูปลงมาร่วมจับด้ายสายสิญน์เททองพร้อมกับหลวงปู่ญาท่านสวนด้วย
> หลังจากได้ทำพิธีเททองหล่อพุทธาภิเษกพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้าและวัตถุมงคลอื่น ๆ ไปแล้ว เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2539 วันนั้นช่างทำการทุบเบ้าเพื่อที่จะได้นำพระไปถวายให้ญาท่านสวนดู ท่านยิ้มและกล่าวชมว่า พอใจ ... พอใจ สวยงามมาก แม้กระทั่งช่างผู้ทำการเททองยังกล่าวว่า สวยงามกว่าที่คิด สิ่งที่หวั่นใจจะมีปัญหากลับไม่มีปัญหา หลังจากนั้นได้นำพระทั้งหมดไปตัดแต่งช่อที่ จ.นครปฐม มีกำหนดให้เสร็จภายใน 20 วัน - วันเสาร์ ที่ 25 ม.ค. 2540 ทางผู้จัดสร้างได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดไปไว้ในอุโบสถเพื่อตอกโค๊ดที่องค์พระ ก่อนเริ่มทำการตอกได้จุดธูปเทียนบอกกล่าวขออนุญาตองค์พระประธานภายในอุโบสถก่อน หลังจากนั้นจึงตอกโค๊ดตลอดทั้งวัน โดยคณะกรรมการได้สลับเปลี่ยนกันตอกจนถึงช่วงเย็นจึงเสร็จ จากนั้นได้ช่วยกันจัดเตรียมสถานที่เพื่อที่จะให้ญาท่านสวนอธิษฐานจิตปลุกเสก ภายในอุโบสถซึ่งเป็นโบสถ์มหาอุต คือมีประตูเข้า-ออกประตูเดียว - เวลาประมาณ 20.30 ได้นิมนต์ญาท่านสวนมาที่อุโบสถ และจุดธูปปักไว้ด้านนอกอุโบสถ พอท่านมาถึงท่านได้นั่งบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ให้ืท่านได้หยิบวัตถุมงคลขึ้นมาดูอย่างพิจารณาด้วยใบหน้าที่เต็มไปด้วยความอิ่มเอิบ จากนั้นท่านได้ลุกไปจุดธูปเทียนที่หน้าโต๊ะหมู่ เสร็จแล้วกลับมานั่งที่อาสนะ - พอถึงเวลา 21.00 ท่านได้หันกลับมาทางพระประธาน ทุกคนทราบทันทีว่าท่านกำลังเริ่มอธิษฐานจิต จากนั้นท่านได่ค่อยหลับตาลงเบา ๆ แล้วได้เริ่มสวดมนต์ภาวนาอยู่นานเกือบครึ่งชั่วโมง เสร็จแล้วท่านได้เปลี่ยนอริยาบถใหม่เป็นท่านั่งสมาธิ เวลาผ่านไป 1 ชั่วโมง ร่างกายของท่านนิ่งมาก ทุกส่วนของร่างกายไม่ไหวติงเลย ท่านคงจะต้องเข้าฌาณระดับใดระดับหนึ่ง - เวลาได้ผ่านไป 2 ช.ม. 14 นาที ท่านจึงได้ออกจากสมาธิ ท่านหันมาถามว่า "กี่ทุ่มแล้ว" แล้วกรรมการท่านหนึ่งตอบท่านไปว่า 5 ทุ่ม 14 นาทีครับ ท่านยิ้มและพยักหน้าให้พร้อมบอกว่า "พอแล้ว" สักครู่จึงได้กราบนิมนต์ท่านกลับกุฏิ - หลังจากหลวงปู่ญาท่านสวนกลับถึงกุฏิ กรรมการท่านหนึ่งได้ถามว่า "หลวงปู่ครับ หลวงปู่ทราบได้อย่างไรว่า พระกริ่งและวัตถุมงคลรุ่นนี้หลวงปู่อธิษฐานจิตพอแล้ว" ท่านตอบว่า "รู้ได้เฉพาะตน ตนเองปลุกเสก ก็ต้องรู้ด้วยตนเอง" ท่านบอกอีกว่า "ตอนแรกจะนั่งถึงเที่ยงคืน แต่มันเต็มเสียก่อน ก็ไม่รู้จะใส่อะไรลงไปอีก เพราะอะไร ๆ ก็ใส่ลงไปจนครบจนเต็มหมดแล้ว" จากนั้นยังมีคำถามต่อไปว่า "พระกริ่งและวัตถุมงคลรุ่นนี้ก็มีพุทธคุณครบทุกด้านซิครับ" ท่านนั่งอมยิ้มและพยักหน้าพร้อมทั้งหัวเราะฮึ ๆ อยู่ในลำคอ ท่านกล่าวว่า "ถูกแล้ว เต็มครบดีทุกด้าน"
> จำนวนการสร้าง - เนื้อนวโลหะ 42 องค์ - เนื้อทองผสม 500 องค์ บรรจุอยู่ในกล่องคู่กับพระชัยวัฒน์ อีก 300 องค์ รวม 800 องค์
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 14:16:41 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #19 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 13:28:42 » |
|
พระชัยวัฒน์ สายรกพระพุทธเจ้า ปี 2539 > สร้างพิธีเดียวกันกับพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในเบญจภาคี ปี 2539 ของหลวงปู่ญาท่านสวน (พระกริ่งสายรก ฯ , พระชัยวัฒน์สายรก , พระปิดตายันต์ยุ่ง , รูปเหมือนหล่อองค์ลอย และเหรียญหล่อโบราณ) > จำนวนการสร้าง - เนื้อพิเศษ 15 องค์ - เนื้อทองผสม 300 องค์(กล่องคู่พร้อมพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า)
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 14:24:25 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #20 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 13:30:28 » |
|
รูปเหมือนหล่อลอยองค์ ปี 2539 > สร้างปี พ.ศ. 2539 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในเบญจภาคี ปี 2539 ของหลวงปู่ญาท่านสวน (พระกริ่งสายรก ฯ , พระชัยวัฒน์สายรก , พระปิดตายันต์ยุ่ง , รูปเหมือนหล่อองค์ลอย และเหรียญหล่อโบราณ) > จำนวนการสร้าง - เนื้อนวโลหะ 42 องค์ - เนื้อโลหะผสม 1,200 องค์
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 15:27:33 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #21 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 14:33:10 » |
|
พระปิดตาภควัมบดี (ปิดตายันต์ยุ่ง) ปี 2539 > สร้างปี พ.ศ. 2539 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในเบญจภาคี ปี 2539 ของหลวงปู่ญาท่านสวน (พระกริ่งสายรก ฯ , พระชัยวัฒน์สายรก , พระปิดตายันต์ยุ่ง , รูปเหมือนหล่อองค์ลอย และเหรียญหล่อโบราณ) > จำนวนการสร้าง - เนื้อนวโลหะ 42 องค์ - เนื้อสัมฤทธิ์ 800 องค์
ขออนุญาต .. เจ้าของพระ(คุณบ่แม่นเซียนพระแต่เป็นคนซื้อพระ) นำภาพลงโชว์เป็นวิทยาทานน่ะครับ ..
|
เล็ก หัวตะเข้, MaiUbon
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 09 กรกฎาคม 2555, 14:36:48 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #22 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 14:44:53 » |
|
เหรียญหล่อโบราณ รุ่นแรก ปี 2539 > สร้างปี พ.ศ. 2539 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า เป็นหนึ่งในเบญจภาคี ในปี 2539 ของหลวงปู่ญาท่านสวน (พระกริ่งสายรก ฯ , พระชัยวัฒน์สายรก , พระปิดตายันต์ยุ่ง , รูปเหมือนหล่อองค์ลอย และเหรียญหล่อโบราณ) > จำนวนการสร้าง เนื้อโลหะผสม 1,200 องค์
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #23 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 15:06:19 » |
|
พระอุปคุต ขนาดบูชา 2 นิ้ว ปี 2540 > หลังจากญาท่านสวนได้สร้างพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้าไปแล้วนั้น มีผู้สนใจมาก ทำให้ผู้สั่งจองผิดหวังเป็นจำนวนมาก เพราะจำนวนการสร้างที่น้อย ประจวบกับทางวัดนาอุดมโดยได้มีโครงการที่จะสร้างกำแพงรอบวัด ศาลาพักศพ และเมรุเผาศพ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่มาก - ญาท่านสวน ได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกครั้ง เพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ก่อสร้างถาวรวัตถุในครั้งนี้ และได้มอบหมายให้คุณชัยวิทย์ มาลาคำ กับ อาจารย์วิวัฒน์ มิ่งไชย เป็นผู้ประสานงานดำเนินการ โดยมี พ.ต.อ.พจนารถ หวลมานพ รองเลขานุการกรมตำรวจ และ อาจารย์มานพ สายโสภา เป็นประธานที่ปรึกษา - ญาท่านสวนได้ปรารภว่า ถ้าจะสร้างพระกริ่งควรจะเป็น "พระกริ่งอุปคุต" ท่านกล่าวว่า พระอุปคุตเป็นพระอรหันต์เถระที่มีบารมีสูงมาก มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารได้ เป็นที่เกรงกลัวแก่เหล่าพญามารทั้งหลาย ตามตำนานโบราณกล่าวกันว่า พระอุปคุตท่านเกิดในสกุลวาณิชย์ เป็นบุตรของพ่อค้าขายเครื่องหอมเมืองมถุรา ท่านเกิดหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 218 พรรษา ท่านอุปคุตมีความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา จึงได้ออกบวชเจริญศีล สมาธิ ปัญญา จนได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นับว่าพระอุปคุตท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีบารมีอันสูงส่ง ได้เป็นผู้นำเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอดีต พระอุปคุตมีสานุศิษย์ได้รับการอบรมจากท่านแล้ว บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มากถึง 18,000 รูป และยังมีเรื่องแปลกที่โบราณาจารย์ได้กล่าวยืนยันกันว่า พระอุปคุตท่านยังมีชนม์ชีพอยู่ในปราสาทแก้วใต้น้ำ - ด้วยความเชื่อดังกล่าวเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ จึงได้มีการสร้างพระอุปคุตไว้สักการะบูชา เพื่อที่จะสมารถบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น แม้กระทั่งญาท่านสวนยังได้อาราธนาพระอุปคุตแช่น้ำอธิษฐานจิตทำน้ำพุทธมนต์อยู่เป็นประจำ - หลวงปู่ได้กำหนดฤกษ์ให้ทำพีธีเททองหล่อพุทธาภิเษกในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) 20 พ.ย. 2540 ตรงกับวันอังคารพอดี ซึ่งตามตำราของท่านกล่าวว่า วันอังคารใดที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เชื่อว่า วันนั้นเป็นวันที่เข้มขลังที่สุด เหมาะแก่การสร้างวัตถุมงคลดีนักแล ญาท่านสวนกล่าวว่า ถ้าได้ฤกษ์ตามนี้แล้ว "มันคัก มันแฮง มันเต็มดี" (มันที่สุด มันแรงปลุกเสกแล้วมันเต็มดี) ท่านทำพิธีปลุกเสกกรณีพิเศษ ในวันอังคารที่ 16 ก.ย. 2540 ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ และนับเป็นวันอังคาร วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ ครั้งที่ 2 ในปีนี้ นับเป็นวันพิเศษเพราะปกติแล้ว 1 ปี จะมีเพียงวันเดียว และเป็นปีมหามงคลยิ่ง - การสร้างพระกริ่งอุปคุตครั้งนี้ ท่านให้เน้นทำพิธีเททองหล่อถูกต้องตามตำราโบราณเหมือนการเทพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า กล่าวคือ จะต้องพิถีพิถันตั้งแต่มวลสารโลหะธาตุ การลงอักขระ เลขยันต์ 108 นปถมัง 14 นะ จะต้องดูฤกษ์ยาม และเน้นวิธีการและพิธีกรรม มวลสารโลหะธาตุุ ชนวนพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้าทั้งหมดประมาณ 100 กก. พร้อมกันนี้ พระอาจารย์อรรถพล กิตฺติโก พระครูศิวาจารย์ พระครูพราหมณ์ และ พ.ต.อ.พจนารถ หวลมานพ รองเลขานุการกรมตำรวจ ท่านได้มอบมวลสารโลหะธาตุ จากพิธีสำคัญ ๆ อีก หลายพิธี ตลอดจนชนวนจากแผ่นพระยันต์ ทอง เงิน นาก จากเกจิคณาจารย์ทั่วประเทศ 421 รูป ซึ่งได้ไปถวายให้ญาท่านสวน อธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดมาก่อนที่จะนำไปทำพิธีเททอง นอกจากนี้ญาท่านสวนยังได้มอบผลพุทธคุณ ผลกะลาตาเดียว ชานหมากที่ท่านอมในขณะปลุกเสกวัตถุมงคลทุกคืน และเส้นเกษาที่ได้ผ่านการปลุกเสกแล้ว เพื่อนำมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ใส่ในพระอุปคุตแทนเม็ดกริ่ง แล้วให้แบ่งนำไปทำพระสมเด็จ อีกส่วนหนึ่ง จำนวนการสร้าง > เนิ้อนวโลหะ 16 องค์ (ทำพิธีเททองหล่อที่วัด) > เนื้อโลหะผสม 108
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #24 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 15:32:10 » |
|
พระกริ่งอุปคุตชนะมาร ปี 2540 > หลังจากญาท่านสวนได้สร้างพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้าไปแล้วนั้น มีผู้สนใจมาก ทำให้ผู้สั่งจองผิดหวังเป็นจำนวนมาก เพราะจำนวนการสร้างที่น้อย ประจวบกับทางวัดนาอุดมโดยได้มีโครงการที่จะสร้างกำแพงรอบวัด ศาลาพักศพ และเมรุเผาศพ แต่ยังขาดปัจจัยอยู่มาก - ญาท่านสวน ได้พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้จัดสร้างวัตถุมงคลขึ้นอีกครั้ง เพื่อมอบให้แก่ผู้บริจาคทรัพย์ก่อสร้างถาวรวัตถุในครั้งนี้ และได้มอบหมายให้คุณชัยวิทย์ มาลาคำ กับ อาจารย์วิวัฒน์ มิ่งไชย เป็นผู้ประสานงานดำเนินการ โดยมี พ.ต.อ.พจนารถ หวลมานพ รองเลขานุการกรมตำรวจ และ อาจารย์มานพ สายโสภา เป็นประธานที่ปรึกษา - ญาท่านสวนได้ปรารภว่า ถ้าจะสร้างพระกริ่งควรจะเป็น "พระกริ่งอุปคุต" ท่านกล่าวว่า พระอุปคุตเป็นพระอรหันต์เถระที่มีบารมีสูงมาก มีฤทธานุภาพมาก สามารถปราบพญามารได้ เป็นที่เกรงกลัวแก่เหล่าพญามารทั้งหลาย ตามตำนานโบราณกล่าวกันว่า พระอุปคุตท่านเกิดในสกุลวาณิชย์ เป็นบุตรของพ่อค้าขายเครื่องหอมเมืองมถุรา ท่านเกิดหลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานไปแล้ว 218 พรรษา ท่านอุปคุตมีความเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา จึงได้ออกบวชเจริญศีล สมาธิ ปัญญา จนได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ นับว่าพระอุปคุตท่านเป็นพระอรหันต์ที่มีบารมีอันสูงส่ง ได้เป็นผู้นำเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในอดีต พระอุปคุตมีสานุศิษย์ได้รับการอบรมจากท่านแล้ว บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์ มากถึง 18,000 รูป และยังมีเรื่องแปลกที่โบราณาจารย์ได้กล่าวยืนยันกันว่า พระอุปคุตท่านยังมีชนม์ชีพอยู่ในปราสาทแก้วใต้น้ำ - ด้วยความเชื่อดังกล่าวเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ จึงได้มีการสร้างพระอุปคุตไว้สักการะบูชา เพื่อที่จะสมารถบันดาลสิ่งต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น แม้กระทั่งญาท่านสวนยังได้อาราธนาพระอุปคุตแช่น้ำอธิษฐานจิตทำน้ำพุทธมนต์อยู่เป็นประจำ - หลวงปู่ได้กำหนดฤกษ์ให้ทำพีธีเททองหล่อพุทธาภิเษกในวันวิสาขบูชา ซึ่งเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา (วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) 20 พ.ย. 2540 ตรงกับวันอังคารพอดี ซึ่งตามตำราของท่านกล่าวว่า วันอังคารใดที่ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันพระจันทร์เต็มดวง เชื่อว่า วันนั้นเป็นวันที่เข้มขลังที่สุด เหมาะแก่การสร้างวัตถุมงคลดีนักแล ญาท่านสวนกล่าวว่า ถ้าได้ฤกษ์ตามนี้แล้ว "มันคัก มันแฮง มันเต็มดี" (มันที่สุด มันแรงปลุกเสกแล้วมันเต็มดี) ท่านทำพิธีปลุกเสกกรณีพิเศษ ในวันอังคารที่ 16 ก.ย. 2540 ตรงกับวันไหว้พระจันทร์ และนับเป็นวันอังคาร วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ ครั้งที่ 2 ในปีนี้ นับเป็นวันพิเศษเพราะปกติแล้ว 1 ปี จะมีเพียงวันเดียว และเป็นปีมหามงคลยิ่ง - การสร้างพระกริ่งอุปคุตครั้งนี้ ท่านให้เน้นทำพิธีเททองหล่อถูกต้องตามตำราโบราณเหมือนการเทพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้า กล่าวคือ จะต้องพิถีพิถันตั้งแต่มวลสารโลหะธาตุ การลงอักขระ เลขยันต์ 108 นปถมัง 14 นะ จะต้องดูฤกษ์ยาม และเน้นวิธีการและพิธีกรรม มวลสารโลหะธาตุุ ชนวนพระกริ่งสายรกพระพุทธเจ้าทั้งหมดประมาณ 100 กก. พร้อมกันนี้ พระอาจารย์อรรถพล กิตฺติโก พระครูศิวาจารย์ พระครูพราหมณ์ และ พ.ต.อ.พจนารถ หวลมานพ รองเลขานุการกรมตำรวจ ท่านได้มอบมวลสารโลหะธาตุ จากพิธีสำคัญ ๆ อีก หลายพิธี ตลอดจนชนวนจากแผ่นพระยันต์ ทอง เงิน นาก จากเกจิคณาจารย์ทั่วประเทศ 421 รูป ซึ่งได้ไปถวายให้ญาท่านสวน อธิษฐานจิตปลุกเสกตลอดมาก่อนที่จะนำไปทำพิธีเททอง นอกจากนี้ญาท่านสวนยังได้มอบผลพุทธคุณ ผลกะลาตาเดียว ชานหมากที่ท่านอมในขณะปลุกเสกวัตถุมงคลทุกคืน และเส้นเกษาที่ได้ผ่านการปลุกเสกแล้ว เพื่อนำมาปั้นเป็นลูกกลม ๆ ใส่ในพระอุปคุตแทนเม็ดกริ่ง แล้วให้แบ่งนำไปทำพระสมเด็จ อีกส่วนหนึ่ง
> จำนวนการสร้าง - เนื้อนวโลหะ 200 องค์ - เนื้อโลหะผสม 2,000 องค์ _____________________________________________________________________________
- ภาพ 1 : เนื้อนวโลหะ - ภาพ 2 : เนื้อโลหะผสม
|
MaiUbon, เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กรกฎาคม 2555, 10:38:22 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
THEKOPS
|
|
« ตอบ #25 เมื่อ: 09 กรกฎาคม 2555, 16:43:01 » |
|
อาจารย์เอ ออกงานอีกแล้ว ต่อไปคงมีแต่พระเครื่องสวยๆ ให้ชมกัน
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #26 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2555, 09:41:12 » |
|
พระสมเด็จหล่อโบราณ แก้วมณีโชติ ปี 2540 > สร้างปี พ.ศ. 2540 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งอุปคุตชนะมาร ที่โด่งดัง ในวันอาฬหบูชา วันเพ็ญ วันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 19 ก.ค. 2540 และปลุกเสกตลอดไตรมาส 3 เดือน ณ วัดนาอุดม และอธิฐานจิตปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษ ในวันเพ็ญ วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตรงกับวันที่ 16 ก.ย. 2540 > จำนวนการสร้าง - เนื้อนวโลหะ 200 องค์ - เนื้อโลหะผสม 1,000 องค์ - เนื้อผง 10,000 องค์ ______________________________________________________________________________
- ภาพ 1 : เนื้อนวโลหะ - ภาพ 2 : เนื้อโลหะผสม (ขออนุญาต คุณ THE KOP นำภาพสวย ๆ ลงเป็นวิทยาทานครับ) - ภาพ 3 : เนื้อผง
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กรกฎาคม 2555, 10:41:51 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #27 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2555, 11:02:09 » |
|
พระกลีบบัวอุปคุต ปี 2540 > สร้างสร้างปี พ.ศ. 2540 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งอุปคุตชนะมารที่โด่งดัง ในวันอาฬหบูชา วันเพ็ญ วันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 19 ก.ค. 2540 และปลุกเสกตลอดไตรมาส 3 เดือน ณ วัดนาอุดม และอธิฐานจิตปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษ ในวันเพ็ญ วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตรงกับวันที่ 16 ก.ย. 2540 > จำนวนการสร้าง - เนื้อทองแดง 10,000 องค์
|
|
|
|
Pruedthachon
|
|
« ตอบ #28 เมื่อ: 10 กรกฎาคม 2555, 11:23:09 » |
|
ล็อคเกต หลังอุดผง ปี 2540 > สร้างปี พ.ศ. 2540 พิธีเดียวกันกับพระกริ่งอุปคุตชนะมารที่โด่งดัง ในวันอาฬหบูชา วันเพ็ญ วันเสาร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 19 ก.ค. 2540 และปลุกเสกตลอดไตรมาส 3 เดือน ณ วัดนาอุดม และอธิฐานจิตปลุกเสกเป็นกรณีพิเศษ ในวันเพ็ญ วันอังคาร ขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ตรงกับวันที่ 16 ก.ย. 2540 > จำนวนการสร้าง - ล็อคเกตฉากขาว 300 องค์ - ล็อคเกตฉากฟ้า 500 องค์
|
เล็ก หัวตะเข้
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 กรกฎาคม 2555, 11:26:25 โดย Pruedthachon »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|