ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน => พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์และพุทธสถานที่สำคัญภาคอีสาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:18:43



หัวข้อ: ไหว้ 5 พระแก้วสำคัญของเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทษราช
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:18:43
 พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง องค์นี้เป็นพระปางสมาธิสูง 17 ซ.ม. ทำด้วยแก้วผลึกสีขาวท่านผู้รู้ คือ หม่อมเจ้าภัทรดิส ดิศสกุล สันนิษฐานว่า ดูจากพุทธศิลป์แล้วเป็นพระอยู่ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นๆ ในการสนทนากันระหว่างพระธรรมบัณฑิต กับหม่อมเจ้าภัทรดิศ ดิศสกุล บันทึกพระแก้วขาวเพชรน้ำค้างองค์นี้ ว่า
          เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ควบคุมการก่อสร้างพระอุโบสถวัดสุปัฎนารามแต่ พ.ศ. 2460-2473 เจ้าพระคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้รวบรวมพระพุทธธูปเก่าแก่ไนปางต่างๆ จากหลายที่หลายแห่ง เช่น พระพุทธรูปหินสมัยลพบุรี 3 องค์ และสิ่งอื่นจำนวนมาก โดยเฉพาะพระแก้วขาวองค์นี้เป็นพระประจำองค์ท่าน ท่านได้อย่างไร ไม่ปรากฏชัดในช่วงปี พ.ศ. 2485 เจ้าพระคุณคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺโส อ้วน) ได้ขึ้นมาจำพรรษาที่วัดสุปัฎนาราม ได้มอบพระแก้วขาวองค์ศักดิ์สิทธิ์องค์นี้ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าของวัดสุปัฎนาราม ผู้รับมอบ คือ พระครูปลัดพิพัฒนวิริยาจารย์ (ณาณ ญาณชาโล) และมอบนโยบาย คือให้จัดกิจกรรมของคณะสงฆ์ขึ้น เมื่อท่านได้รับมอบพระแก้วขาวและนโยบายแล้ว ท่านก็ได้วางหลักเกณฑ์ให้คณะสงฆ์ทำกิจกรรมขึ้นเพื่อเป็นการสนองพระเดชพระคุณของเจ้าพระคุณสมเด็จพระมาหวีรวงศ์

          ดังนั้น จึงได้มีกิจกรรมของคณะสงฆ์ (ธรรมยุต) ของจังหวัดอุบลราชธานีขึ้นมา เพื่อได้คณะสงฆ์ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่นว่า

อัญเชิญพระแก้วขาววัดสุปัฎนารามลงให้สาธุชนสรงน้ำขอพรปีใหม่สากล 31 ธันวาคม ถึง 2 มกราคม ของทุกๆ ปี
อัญเชิญพระแก้วบุษราคัม วัดศรีอุบลรัตนาราม ลงให้สาธุชนทรงน้ำขอพรปีใหม่ของไทย 13 เมษายนถึง 17 เมษายน ของทุกๆ ปี
          ข้อมูลจำเพาะของ ? พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง ? เนื้อองค์เป็นแก้วผลึกสีขาวใส ซึ่งความใสขององค์พระประดุจน้ำค้างยามเช้าเปล่งแสงแวววาวในตัวเองดุจประกายเพชร จึงได้ชื่อว่า ? พระแก้วเพชรน้ำค้าง ? ฉลององค์ด้วยทองคำเป็นบางส่วน เพื่อความสวยงามและทรงคุณค่า

          พระรัตนมงคลมุนี อดีตอาวาสวัดสุปัฎฯ องค์ก่อนนี้ สันนิษฐานว่าหลายฝ่ายทางโบราณคดี และพุทธลักษณะขององค์พระ คาดว่า ? พระแก้วขาวเพชรน้ำค้าง ? น่าจะเป็นรุ่นเดียวกับ ? พระแก้วบุษราคัม ? โดยยึดหลักจากตำนานการมาตั้งถิ่นฐานของเมืองอุบลฯ เมื่อ 200 ปี เศษมาแล้ว บรรพบุรุษผู้มาสร้างเมืองได้อันเชิญมาเพื่อเป็นสิริมงคลในการเดินทางอันยาวไกล และเป็นขวัญกำลังใจในการสู้รบกับศัตรูผู้รุกรานจนสร้างบ้านเมืองได้เป็นหลักแหล่งเท่าทุกวันนี้


หัวข้อ: พระแก้วบุษราคัม
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:19:35
 พระแก้วบุษราคัม เป็นพระพุทธปฏิมากร ปางมารวิชัยสมัยเชียงแสน แกะสลักจากแก้วบุษราคัมตามตำนานเล่ากันว่า พระวรราชภักดี (พระวอ) พร้อมด้วยบุตรหลานของพระตา คือเจ้าคำผง เจ้าทิดพรหมและเจ้าก่ำ บรรพบุรุษผู้ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี ได้เชิญพระแก้วบุษราคัมมาจากกรุงศรีสัตนาคณหุต (เวียงจันทน์)

               เดิมทีพระแก้วบุษราคัมประดิษฐานอยู่ที่บ้านดอนมดแดง และได้อัญเชิญมาประดิษฐานอยู่วัดศรีอุบลรัตนาราม พร้อมทั้งได้อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมเป็นองค์ประธานในพิธีอันสำคัญยิ่งทางราชการโดยถือว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองสืบกันมาแต่โบราณกาล

               ปัจจุบันในเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ชาวอุบลจะร่วมใจกัน อัญเชิญพระแก้วบุษราคัมแห่ไปรอบเมืองอุบลราชธานี เพื่อเปิดโอกาสให้พุทธศาสนิกชน ได้นมัสการกราบไหว้และสรงน้ำกันโดยถ้วนหน้า


หัวข้อ: พระแก้วโกเมน
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:21:54
 เมื่อประมาณสี่ปีมาแล้วนี่แหละ ที่พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดอุบราชธานีและชาวจังหวัดใกล้เคียง ได้มีโอกาสกราบไหว้ และสรงน้ำพระแก้วโกเมนพระพุทธรูปอัญมณีศักดิ์สิทธิ์ของวัดมณีวนาราม (วัดป่าน้อย) ทั้งนี้เนื่องด้วยพระแก้วโกเมนเป็นพระพุทธรูปที่มีค่าหาได้ยากยิ่งเกรงจะสูญหาย จึงหวงแหนด้วยความห่วงใย พระเดชพระคุณเจ้าอาวาสวัดมณีวนารามที่ผ่านมาทุกรูป จึงเก็บรักษาพระแก้วโกเมนไว้ในตู้นิรภัยตลอดมา

          ครั้งเมื่อสิ้นสมัยหลวงปู่พระธรรมเสนานี (กิ่ง มหับผโล) คณะกรรมการวัดจึงขออนุญาตนำพระแก้วโกเมนลงมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา และสรงน้ำในเทศกาลวันวิสาขบูชา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนและครอบครัว และได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

          ก็แลได้รับการบอกเล่าสืบต่อกันมาฟังได้ว่า พระแก้วโกเมนอุบัติขึ้นพร้อมกับพระแก้วบุษราคัมซึ่งประดิษฐานอยู่วัดศรีอุบลรัตนรามปัจจุบัน เป็นพระพุทธรูปอัญมณีในตระกูลแก้วเก้า ประการ คือ เพชร มณี มรกต บุษราคัม โกเมน นิลกาฬ มุกดา เพทาย และไพฑูรย์

          เมื่อสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยมีสงครามกับเวียงจันทน์ ผู้รักษาการบ้านเมืองและทายก-ทายิกา ได้พากันนำพระแก้วโกเมนไปรักษาไว้อย่างดีที่วัดบ้านกุดละงุม อำเภอวารินชำราบปัจจุบัน และคณะผู้รักษาพระแก้วโกเมน ได้นำท่อนไม้จันทร์มาทำเป็นผอบใหญ่ คว่ำองค์พระพุทธรูปไว้ ด้วยเกรงว่าข้าศึกจะแย่งชิงไป

          ครั้งเมื่อศึกสงบลงจึงได้นำพระแก้วโกเมนมาประดิษฐานไว้ ณ วัดมณีวนาราม ซึ่งเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดเก็บรักษาไว้เป็นความลับสืบต่อกันมา

          การที่นำผอบไม้จันทน์ไปคว่ำ (หรือ ครอบ) พระแก้วไว้นั้น ภาษาอีสานเรียกว่า ? งุม ? วัดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาพระแก้วโกเมนครั้งนั้น จึงเรียกว่า ? วัดกุดละงุม ? มาจนปัจจุบัน


หัวข้อ: พระแก้วไพฑูรย์
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:22:36
พระแก้วไพฑูรย์ แห่งเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัยประเทศราชนี้ เป็นพระแก้วเกิดจากหินธรรมชาติ มีอายุหลายล้านปีมาแล้ว ใครจะเป็นผู้แกะหินเป็นพระพุทธรูปนั้นไม่ทราบ แต่เป็นพระพุทธรูปที่อยู่ในการปกครองของเจ้านายเมืองอุบลมานานแต่บรรพบุรุษของพระปทุมวราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) ได้ถวายเป็นสมบัติของวัดหลวงคู่กับพระแก้วบุษราคัม เมื่อเจ้านายทางกรุงเทพมหานครมาปกครองเมืองอุบล ในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเกรงว่าเจ้านายทางกรุงเทพจะบังคับเอาพระแก้วทั้งสององค์ไปเป็นสมบัติของส่วนตัว จึงได้พากันเอาพระแก้วทั้งสององค์แบกออกจากกันไปซ่อนไว้โดยมิดชิด ไม่ยอมแพร่งพรายให้คนทั่วไปรู้
          ต่อมาเมื่อสร้างวัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) โดยเจ้าอุปฮาชโท บิดาของพระอุบลเดชประชารักษ์ (เสือ ณ อุบล) จึงได้ไปเชิญเอาพระแก้วทั้งสองออกมาจากที่ซ่อน สำหรับพระแก้วบุษราคัมนั้น ได้ถวายแด่พระเดชพระคุณพระเทวธัมมี (ม้าว) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดศรีทอง (วัดศรีอุบลรัตนาราม) และเป็นลัทธิวิหาริกของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มาจากกรุงเทพคงจะมีความเกรงใจไม่กล้าที่จะขอเอาพระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพฑูรย์ไปจากเมืองอุบลราชธานี

          ส่วนพระแก้วไพฑูรย์นั้น ทายากของเจ้านายพื้นเมืองอุบลราชธานีเอาไปเก็บรักษาไว้ เพราะเป็นสมบัติอันล้ำค่าของบรรพบุรุษ ต่อมาภายหลังจึงได้นำมาถวายพระครูวิลาสกิจจาทร เจ้าอาวาสวัดหลวงให้เป็นสมบัติของวัดหลวงตามเดิม ดังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ นับว่าพระไพฑูรย์องค์นี้เป็นสมบัติของวัดหลวง และของเจ้านายเมืองอุบลราชธานีมาแต่โบราณโดยแท้

          พระแก้วไพฑูรย์เป็นหนึ่งในแก้วอันเป็นรัตนชาติ คือ เพชรดี มณีแดง เขื่องใสแสงมรกต เหลืองใสบุษราคัม ทองแก่กำโมเมนเอก สีหมอกเมฆนิลกาลมุดาหารหมอกมัว แดงสลัวเพทาย สังวาลสายไพฑูรย์

          หากจะยกองค์พระขึ้นส่องจะเห็นเป็นคล้ายสายฝนหยาดลงมาจากฟ้าอันเป็นนิมิตหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ ฝนตกตามฤดูกาลของสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของเมืองอุบลราชนี้มีพระแก้วบุษราคัม พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้พากันเอาไปซ่อนเสียโดยนำออกจากวัดหลวงไปในสมัยนั้น ภายหลังทายาทเจ้าเมืองอุบลราชธานีเห็นว่าวัดหลวงไม่มีพระสำคัญจึงได้นำมาถวายให้เป็นสมบัติของวัดหลวง และเป็นของคู่บ้านคู่เมืองสืบไป พระแก้วไพฑูรย์ จึงได้กลับมาประดิษฐานวัดหลวงตามเดิมดังที่เห็นอยู่ในขณะนี้


หัวข้อ: ขอขอบพระคุณข้อมูลดีๆ
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 04 ตุลาคม 2554, 23:23:41
จาก..........http://guideubon.com/news/view.php?t=18&s_id=40&d_id=40


หัวข้อ: Re: ไหว้ 4 พระแก้วสำคัญของเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทษราช
เริ่มหัวข้อโดย: aon-ubon ที่ 05 ตุลาคม 2554, 08:08:35
มีอีกที่วัดเลียบครับ ผมจำชื่อไม่ได้ น่าจะเป็น "พระแก้วนิลกาฬ"


หัวข้อ: Re: ไหว้ 4 พระแก้วสำคัญของเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทษราช
เริ่มหัวข้อโดย: คนโก้ ที่ 05 ตุลาคม 2554, 09:02:02
ล้วนแล้วแต่ทรงคุณค่า  ควรค่าแก่การสักการะบูชา 017 นะโม  นะโม  นะโม


หัวข้อ: Re: ไหว้ 4 พระแก้วสำคัญของเมืองอุบลราชธานี ศรีวนาไลยประเทษราช
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 05 ตุลาคม 2554, 10:15:59
มีอีกที่วัดเลียบครับ ผมจำชื่อไม่ได้ น่าจะเป็น "พระแก้วนิลกาฬ"

ถูกต้องครับ แต่ยังไม่มีการลงข้อมูล ยังไงถ้ามีข้อมูลผมจะรีบนำมาลงให้นะครับ  015


หัวข้อ: พระแก้วนิลกาฬ วัดเลียบ
เริ่มหัวข้อโดย: เต้ อุบล ที่ 05 ตุลาคม 2554, 10:20:53
จากการสัมภาษณ์ พระครูอุบลคณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเลียบ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ท่านได้เล่าถึงที่มาของพระแก้วนิลกาฬ จากการได้พบกล่องลายไม้สักโบราณ ในขณะที่เป็นเจ้าอาวาสในปี พ.ศ.๒๕๔๕ โดยค้นพบบนฝาเพดานกุฎิสุขสวัสดิ์มงคลซึ่งเป็นกุฎิหลังเก่าของวัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านได้พบพระพุทธรูป ๓ องค์ ได้แก่ พระพุทธรูปบุเงิน ๒ องค์ และ พระแก้วนิลกาฬ ๑ องค์ และท่านได้นำมาให้ญาติโยมมารดน้ำสงกรานต์ เมื่อพ.ศ.๒๕๔๙ และได้จัดทำเครื่องทรงชฎา มงกุฎทองคำ ซึ่งทำจากพลอยแท้ ทองคำแท้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.watliabubon.com/index.php