สิม : สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:17:47 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: สิม : สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน  (อ่าน 48787 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:17:08 »

สิม : สถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสาน

รศ.วิสุทธิ์ ภิญโญวาณิชกะ

ศาสนาคารที่เกี่ยวเนื่องในพระพุทธศาสนานั้น มีหลายประเภทตามลักษณะของประโยชน์ใช้สอย เช่น พระอุโบสถ หรือโบสถ์ ใช้ทำกิจกรรมของสงฆ์ ศาลาการเปรียญ ใช้ทำกิจกรรมทั่วๆไป หอไตร ใช้เก็บคัมภีร์ทางศาสนา เป็นต้น ศาสนาคารเหล่านี้มีความสำคัญลดหลั่นกันไป ที่สำคัญมากน่าจะได้แก่พระอุโบสถ เพราะใช้เป็นที่ทำสัฆกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การอุปสมบท


พระอุโบสถ มีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก ปัจจุบันมีความสำคัญมาก เพราะเป็นอาคารประธานของวัด แทนสถูปเจดีย์ และวิหารที่เคยมีความสำคัญและเป็นประธานของวัดมาก่อน พระอุโบสถทั่วไป จะสร้างด้วยไม้หรือก่ออิฐถือปูน เป็นอาคารที่มีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีประตูทางเข้าทางด้านหน้าและด้านหลัง ด้านข้างมีหน้าต่าง ภายในทำเป็นฐานชุกชีประดิษฐานพระพุทธรูปประธาน
ในภาคอีสาน พระอุโบสถจะเรียกกันว่า ?สิม? ซึ่งเป็นรูปของเสียงที่กร่อนมาจากคำว่า ?สีมา? ซึ่งหมายถึงเขตหรืออาณาเขตที่กำหนดขึ้น เพื่อใช้ทำกิจกรรมในพระพุทธศาสนา

พระอุโบสถ หรือสิมอีสาน เป็รนอาคารขนาดเล็ก มีสัดส่วน ทรวดทรง การตกแต่งภายนอก ภายในเพื่อความสวยงาม การเลือกใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น ตลอดจนใช้โครงสร้าง มีลักษณะที่ค่อนข้างลงตัว คือ ทุกอย่างดูพอดี พอเหมาะ ไม่เล็ก ไม่ใหญ่เกินไป เป็นลักษณะของสถาปัตยกรรมพื้นบ้านอีสานที่มีรูปแบบเรียบง่าย หนักแน่น มีพลัง มีความสมถะ ส่อคุณลักษณะแห่งความจริงใจ อันเป็นคุณสมบัติเด่นของชาวอีสาน


สิมอีสานมี 3 ประเภท คือ คามสีมา สิมที่สร้างในชุมชน อัพภันตรสีมา สิมที่สร้างในป่า และอุทกกเขปสีมา สิมที่สร้างในน้ำ แต่ส่วนมากเป็นสิมที่สร้างในชุมชน ส่วนสิมที่สร้างในป่า และสร้างในน้ำมีน้อย
จังหวัดบุรีรัมย์ มีสิมเกือบทุกวัด แต่ปัจจุบันสิมที่มีอยู่ ได้ชำรุด หักพัง และรื้อทิ้งไปเป็นจำนวนมาก เพราะชุมชนหันมาสนใจค่านิยมสมัยใหม่ตามลัทธิส่วนกลางนิยม (Capitalism) คือ พึงพอใจรูปแบบของพระอุโบสถของส่วนกลาง และรังเกียจรูปแบบพระอุโบสถที่มีอยู่เดิม ทั้งนี้เพราะขาดความเข้าใจคุณค่าและความหมายภูมิปัญญาท้องถิ่น จึงปรากฏว่า วัดต่างๆได้รื้อสิม หรือพระฮุโบสถเก่า และสร้างพระอุโบสถใหม่ที่มีรูปแบบจากส่วนกลางขึ้นแทน
เรื่องของภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องใช้สติปัญญาพิจารณาเพื่อให้ประจักษ์ว่า สิ่งต่างๆที่ปู่ ย่า ตา ยาย คิดสร้างทำขึ้นไว้นั้น มีคุณค่า มีความหาย โดยเฉพาะอาคารในพระพุทธศาสนา ที่สร้างขึ้นจากความเลื่อมใสศัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน ฉะนั้น สิ่งที่ได้สร้างไว้ ในอดีต เคยมีความสำคัญ แต่ปัจจุบันชำรุดทรุดโทรตม ปรักหักพัง หน้าที่ของเราซึ่งเป็นลูกหลาน ควรที่จะต้องช่วยกันดูแลรักษา ให้ดำรงอยู่สืบต่อไปนานเท่านาน การรื้อสิมก็ดี ศาสนาคารอื่นๆก็ดี นอกจากจะทำลายหลักฐานประวัติศาสตร์ของชุมชนแล้ว ยังเป็นการทำร้ายจิตใจของ ปู ย่า ตา ยาย และบรรพบุรุษของเราอย่างหยาบคายอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม เรื่องของสิม ปัจจุบันยังพอเหลือให้ได้ศึกษาชื่นชมความงามอยู่บ้าง เช่น สิมวัดบ้านแวง อำเภอพุทไธสง สิมวัดกลาง วัดขุนก้อง วัดแพงพวย อำเภอนางรอง สิมวัดสนวน อำเภอห้วยราช และสิมวัดโพธิ์ทอง บ้านสวายจีก อำเภอเมือง เป็นต้น
สิมที่วัดบ้านแวง วัดขุนก้อง และวัดสนวน ได้ทำการบูรณะเมื่อเร็วๆนี้ และสามารถรักษาลักษณะดั้งเดิมไว้ค่อนข้างดี ส่วนสิมแห่งอื่นๆ ยังไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแล ปล่อยปะละเลยทิ้งร้างไว้ เพราะทางวัดสนใจที่จะสร้างพระอุโบสถใหม่ แต่ก็ยังดีกว่าบางวัดที่รื้อทิ้งไปแล้ว
วัดโพธิ์ทอง บ้านสวายจีก เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยี่ที่บ้านสวายจีก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปตามทางหลวงหมายเลข 226 บุรีรัมย์-สุรินทร์ ประมาณ 10 กิโลเมตร ภายในวัดมีสิมเก่าหลังหนึ่ง ตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก เป้นสิมก่ออิฐถือปูน โครงหลังคาเป็นไม้ หลังคาซ้อนกันสองชั้น มุงสังกะสี มีประตูทางเข้าทางด้านหน้าและด้านหลังด้านละ 1 ประตู บานประตูแกะสลักสวยงามงาม ด้านข้างมีช่องหน้าต่างเล็กๆ ด้านละ 1 ช่อง
ภายในสิม มีฐานชุกชี ประดิษฐานพระพุทธรูป (ใหม่) องค์เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อสำริด ปางสมาธิภายใต้ฉัตร แต่ได้ถูกโจรกรรมไปพร้อมกับพระไม้เป็นจำนวนมากเมื่อปี 2536 ส่วนที่เหลือ มีพระพุทธรูปแกะสลักด้วยไม้ขนาดใหญ่ 1 องค์ ขนาดเล็ก 2-3 องค์ มีสภาพชำรุดมาก
ปัจจุบัน วัดโพธิ์ทองบ้านสวายจีก ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เสร็จเรียบร้อยแล้ว จากการที่มีโอกาสได้ไปกราบนมัสการท่านเจ้าอาวาส พระอธิการสุบัน ปณฑิโต ท่านเปรยว่า อยากจะรื้อสิงหลังนี้ เพราะเก่าและชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่มีประโยชน์อะไรแล้ว โบราณวัตถุที่มีก็ถูกโจรกรรมไปจนหมด ซึ่งผมก็ได้เรียนชี้แจงถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาสิมหลังนี้ไว้ เป็นเบื้อต้นบ้างแล้ว ซึ่งท่านก็แบ่งรับแบ่งสู้ว่า สุดแท้แต่ญาติ โยม จะเห็นสมควร ก็ขอบอกข่าวมายังหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อจะได้รีบไปทำความเข้าใจกับชาวบ้านสวายจีก หาทางอนุรัษ์สิมหลังนี้ไว้ ก่อนที่จะสายเกินไป
ถึงวันนี้ สิมที่วัดโพธืทอง บ้านสวายจีก ยังอยู่ครับ แต่ก็มีสภาพชำรุดทรุดโทรมมาก หางผ่านไปทางนั้น ก็ลองแวะดูซิครับ เป้นบุญตา บุญใจ เพระนับวันจะหาดูได้ยากยิ่งขึ้นทุกที

thxby3936Uboncandle
บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:19:15 »

วัดหลวง วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ ประมาณ 8 ไร่ 4 ตารางวา ปี กุน พ.ศ.2324 เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง) ได้อพยพมาจากดอนมดแดง มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น และเห็นว่า ที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมือง วัดวาอาราม เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นที่อยู่อาศัย สืบทอดพระพุทธศาสนา จึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วย ลงมือก่อสร้าง

   โดยให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ พร้อมด้วยท่านอุปฮาดราชบุตรราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย กรรมการน้อยใหญ่ ร่วมสร้างด้วยความสามัคคี วัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมณ์ สร้างโบสถ์ องค์พระประธาน กุฎิวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า พระเจ้าใหญ่วัดหลวง นามนี้เรียกว่า "วัดหลวง" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี และถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก นั้นก็คือ ท้าวคำผง นั้นเอง


 เนื่องจากเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี ที่ตั้งขึ้นหลังตั้งเมือง ดังนั้น จึงมีโบสถ์ที่สวยงาม แต่แน่เสียดาย ที่โบสถ์หลังดังกล่าวได้รื้อไปแล้ว และได้สร้างโบสถ์หลังใหม่แบบเมืองหลวงขึ้นแทน จากหลักฐานภาพถ่ายเก่าๆ ที่ยังพอหลงเหลืออยู่ พอจะได้เห็นถึงลักษณะรูปแบบของสิมวัดหลวงได้บ้าง

 ลักษณะของสิมวัดหลวง มีแปลนรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานี แต่รูปคล้ายๆ กัน คือ ฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม 4 ต้น เป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจลกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้างหน้าบันกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหม สาหร่าย รวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน(อิทธิพลล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่ว ไม่มีชั้นลด มีปีกนก(พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง (รายระกามอญ)

ลักษณะของสิมวัดหลวง มีคนเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี กล่าวว่า สวยงามมากคล้ายกับวัดเชียงทอง ของเมืองหลวงพระบางของล้านช้าง หากสิมวัดหลวงหลังนี้ไม่ถูกรื้อไป ก็คงจะมีโบราณสถาน ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของเมืองอุบลราชธานี ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมและภาคภูมิเป็นอย่างยิ่ง


* ubonratchthani52.jpg (23.13 KB, 161x200 - ดู 7125 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:21:25 »

วัดบ้านตำแยใกล้กับวัดสระประสานสุข หรือวัดหลวงปู่บุญมี บ้านนาเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้ชิดติดกับกองบิน 21 อุบลราชธานีเส้นทางรอบเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สิมวัดตำแยถือว่าเป็นศาสนสถานที่เกี่ยวข้องกับเมืองอุบลราชธานีและประวัติศาสตร์ศิลาจารึกโบราณ สิมวัดบ้านตำแย อายุประมาณ 200 ปี ตั้งแต่เริ่มตั้งเมืองอุบลราชธานี มีขนาดกะทัดรัด เรียบง่าย ตัวอาคารของสิมวัดบ้านตำแย ลักษณะของสิมเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตั้งอยู่บนเอวขันธ์มีบันไดขึ้นตรงหน้า ประตูด้านเดียวหน้าต่างด้านข้างด้านละหนึ่งช่อง ด้านหลังก่อทึบถึงหน้าจั่ว ผนังก่ออิฐถือปูนด้วยประทาย หลังคาทรงจั่วชั้นเดียว รายลำยองทำเป็นช่องฟ้า ในระกา และหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง หลังคามุงด้วยแป้นไม้ มีทวยรูปพญานาคอ่อนช้อยแบบอีสาน มีสองแบบคือ แบบอ้าปาก และแบบหุบปาก หน้า สิมเหนือประตูจารึกอกษรไทยน้อยสี่บรรทัด ด้านซ้ายมีบันทึกอีกสิบบรรทัด กล่าวถึงการสร้าง สิมวัดบ้านตำแย มีอยู่ด้านกับ 3 หลัก หลักที่ 1-2 กล่าวถึงการสร้างสิม เป็นจารึกบนฝาผนังด้านหน้าสิมเป็นอักษรไทยจารึกเมื่อ พ.ศ.2415 ส่วนหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลืองซึ่งเดิมเป็นพระประธานในสิมจารึกด้วยอักษรธรรมอีสานเมื่อปี พ.ศ.2400 วัดบ้านตำแย ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่งในจังหวัดอุบลราชธานี ณ ปัจจุบัน สิมวัดบ้านตำแยแห่งนี้ กรมศิลปกรขึ้นทะเบียนเป็น โบราณสถานแห่งชาติ เรียบร้อยแล้ว

จารึกวัดสุปัฏนารามและจารึกปากน้ำมูล จารึกปากน้ำนั้น พบบริเวณใกล้ปากน้ำมูล ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม เป็นศิลาจารึกทำด้วยหินทรายสีน้ำตาล ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 สมัยเจนละ จำนวน 2 หลัก จารึกด้วยอักษร ปัลลวะภาษาสันสกฤต ทั้งสองหลักขนาดเท่ากันมีข้อความเหมือนกัน กล่าวถึงพระนามของพระเจ้าศรีเห นทรวรมันข้อความในศิลาจารึกถ้ำภูหมาไน ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม ซึ่งเป็นถ้ำขนาดเล็กริมฝั่งแม่น้ำมูล(บางคนเรียกถ้ำนี้ว่าถ้ำปราสาท)

ส่วนจารึกระยะที่ 2 ประมาณพุทธศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา จารึกด้วยอักษรขอมที่เรียกว่า “ตัวธรรม” เป็น ภาษาลาวเป็นจารึกเนื่องในพระพุทธศาสนาเป็นส่วนมากพบตามวัดต่างๆที่สร้างในระยะแรกที่ก่อตั้งเมืองอุบลราชธานี เช่น จารึกวัดมหาวนาราม (วัดป่าใหญ่) มีจำนวน 7 หลักโดยสรุปถึงการสร้างพระพุทธรูปของวัดมหาวนาราม ในสมัยแรก ๆ ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานีกล่าวถึงเทคนิคในการก่อสร้างที่เรียกว่าก่ออิฐซะทราย ประเพณีเข้าโอกาสหรือผู้ปฏิบัติพระและประวัติเมืองอุบลราชธานีบางส่วน

จารึกวัดบ้านตำแยแห่งนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 หลัก หลักที่ 1-2 กล่าวถึงการสร้างสิม เป็นจารึกบนฝาผนังด้านหน้าสิม เป็นอักษรไทยน้อยจารึกเมื่อ พ.ศ.2415 ส่วนหลักที่ 3 กล่าวถึงการสร้างพระพุทธรูป จารึกอยู่ที่ฐานพระพุทธรูปทองเหลืองซึ่งเดิมเป็นพระประธานในสิมจารึกด้วยอักษรธรรมอีสานเมื่อปี พ.ศ.2400

ศิลาจารึก หน้าที่ว่าการ อ.โขงเจียม เป็นศิลาจารึกรูปเสมาทำด้วยหินทราย สีน้ำตาลเข้ม จารึกเป็นอักษรไทยและไทยน้อย พ.ศ.2435 เป็นจารึกที่กล่าวถึงเจ้านาย บุคคลสำคัญที่ปกครองหัวเมืองลาวกาวในสมัยนั้น จารึกของจังหวัดอุบลราชธานียังมีอีกมากส่วนใหญ่จะอยู่ที่ วัดสุปัฏนาราม อ.เมืองอุบลราชธานี
 


* 1231478454.jpg (19.52 KB, 410x337 - ดู 5350 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:24:05 »

 ?สิม? วัดแจ้ง ซึ่งเล่าว่าเป็นโบสถ์ลักษณะเก่าของอีสานที่หาดูได้ยากแล้ว เท่าที่เห็นในภาพซึ่งถ่ายไว้เมื่อเกือบสิบปีก่อนจัดว่ามีลักษณะค่อนข้างสมบูรณ์เมื่อเทียบกับสิมวัดอื่นในตัวจังหวัด



พ่อบอกว่า ?สิม? คือ คำที่ใช้เรียกโบสถ์ในภาคอีสาน แต่เดิมจะเป็นอาคารเล็กๆ ขนาดพอที่พระจะเข้าไปทำสังฆกรรมภายใน มีประตูทางเข้าเพียงทางเดียวและแทบจะไม่มีหน้าต่าง ภายหลังเมื่อช่างและพระภิกษุได้ไปเห็นวัดวาอารามในภาคกลางจึงกลับมาสร้างโบสถ์ในลักษณะของภาคกลางมากขึ้น คือมีหลังคาซับซ้อน มีประตูหน้า ประตูหลัง และหน้าต่างมากมาย เป็นความนิยมตามยุคสมัย แต่พ่อชอบสิมแบบเดิมมากกว่า เพราะดูสมถะเรียบง่ายเข้ากับศาสนาพุทธและชีวิตไทยพื้นบ้านอีสานทั่วไป โบสถ์สมัยใหม่ดูหรูหราอลังการ เหมือนแข่งกันสร้าง แข่งกันทำบุญ หาเงินไปทำสิ่งก่อสร้างอวดกัน มากกว่าจะมาพิจารณาว่าโบสถ์แท้จริงนั้นมีไว้ทำไม



สิมวัดแจ้งไม่ทำให้ฉันผิดหวัง เรือนไม้เก่าๆ ได้รับการอนุรักษ์และดูแลพอสมควร แม้จะดูเหงาๆ ไปบ้าง แต่สิ่งที่ฉันประทับใจกลับเป็นจระเข้สองตัวที่ทอดตัวเป็นราวบันไดสิม




จระเข้เป็นสัตว์ดุร้าย ใครจะนึกว่าช่างไทยจะจับจระเข้ให้มานอนเซื่องๆ เฝ้าประตูโบสถ์กะเขาได้ หนังไทยแต่ละเรื่องจระเข้รับแต่บทร้ายตลอด โผล่จากน้ำขึ้นมากินวัวควาย หรือแม้แต่คนบ้างล่ะ รู้จักอาฆาตแค้นคนอีกต่างหาก แม้แต่ในวรรณคดีไทยชาละวันซึ่งเป็นตำนานเรื่องเอกของชาวพิจิตรก็ยังเป็นจระเข้ที่โหดร้าย กินคนไม่พอยังจับสาวๆ ไปทำเมียอีกต่างหาก



ถ้าจะว่าไปแล้วนาคที่คนไทยคุ้นเคยว่ามักจะอยู่คู่กับวัดก็เป็นสัตว์ดุร้ายเหมือนกัน ช่างผู้สร้างคงเลือกสรรมาให้ช่วยดูแลวัด แต่ดูยังไงฉันก็ว่านาคที่วัดดูสวยงามมากกว่าดุร้าย ถึงแม้สุนทรภู่จะแต่งกลอนนิราศบรรยายความดุร้ายดุดันของนาคที่ช่างปั้นเอาไว้หลายตอน ฉันก็ไม่เคยเห็นคล้อยตามสักที



จระเข้ที่ราวบันไดสิมวัดแจ้งก็เหมือนกัน ดูน่ารักมากกว่าน่ากลัว แถมหางยังสั้นกุดจนน่าขัน ไม่รู้ว่าจระเข้อีสานจะหางสั้นอย่างนี้จริงหรือเปล่า จากที่เคยอ่านและฟังมาหางจระเข้นั้นเป็นอาวุธสำคัญของมันรองไปจากคมเขี้ยว หางใหญ่หนาหนักฟาดเหยื่อให้ล้มคว่ำเสียหลักไม่ทันรู้ตัว จนกลายมาเป็นท่าตวัดเท้าฟาดคอของมวยไทยที่ใครๆ ก็รู้จักกันดีคือท่า ?จระเข้ฟาดหาง? เนื้อเพลงกราวตะลุงของภาคใต้ก็มีกล่าวถึง ?บ้องตัน? ซึ่งมาจากคำเรียกหางจระเข้ที่ว่ากันว่าเนื้อแน่นน่ากิน



ดวงตาเศร้าๆ ของจระเข้ที่ราวบันได ทำให้ฉันสงสัยว่าภาคอีสานมีตำนานอะไรเกี่ยวกับจระเข้เฝ้าสิมหรือเปล่า ตำนานจระเข้ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาที่ฉันนึกออกก็มีเพียงเรื่องดาวจระเข้เท่านั้น ไม่รู้ว่าเหตุที่สร้างจระเข้ไว้ตรงบันไดจะมาจากตำนานดาวจระเข้ด้วยไหม


ความโค้งยาวทอดอ่อนของลำตัวจระเข้ทำให้มันดูเหมาะต่อการเป็นราวบันไดยึดจับของผู้คน บางทีจระเข้คงจะเป็นสัตว์ในท้องถิ่นที่ชาวบ้านรู้จักดีมาแต่เดิม ก่อนที่สัตว์ในจินตนาการอย่างนาคจะเข้ามาถึงชุมชน หรือเพื่อความน่ายำเกรงแทนที่จะเป็นสัตว์สวยงามอย่างปลาหรือสัตว์อื่นที่มีลำตัวยาว ช่างพื้นบ้านอีสานจึงเลือกใช้สัตว์ร้ายอย่างจระเข้เฝ้ารักษาพุทธสถาน




ภายหลังฉันไปวัดทุ่งศรีเมืองก็เห็นหอพระบาทเล็กๆ ข้างหอไตร ที่มีร่องรอยการบูรณะสร้างนาคคร่อมจระเข้ที่เป็นราวบันไดเดิม แอบเสียดายอยู่ในใจ ก็เจ้านาคเขียวมันดูแปลกแยกไม่กลมกลืนกับงานฝีมือน่ารักๆ อย่างจระเข้ด้านล่าง และลายปูนฝีมือช่างเก่าที่ยังทิ้งไว้ให้เห็น


อ่านทบทวนประวัติสิ่งก่อสร้างทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดอุบลราชธานี พบว่าหอพระบาทในวัดทุ่งศรีเมืองสร้างก่อนสิมวัดแจ้งเพื่อเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง โดยมีลักษณะสถาปัตยกรรมผสมระหว่างเวียงจันทร์และรัตนโกสินทร์ คือฐานด้านล่างเป็นศิลปะเวียงจันทร์ ส่วนด้านบนคือ เสา หน้าบรรณ และหลังคาเป็นศิลปะรัตนโกสินทร์ นาคที่ขึ้นไปทับอยู่บนตัวจระเข้ก็คงเป็นรูปแบบรัตนโกสินทร์กับเขาด้วย แต่ฉันก็ยังดูแล้วรู้สึกว่าไม่น่าจะเป็นการผสมผสานระหว่างสองวัฒนธรรมดังว่า มันดูเหมือนซ่อมให้สวยขึ้นแต่ไม่เข้ากับแบบเก่าเสียมากกว่า


ริ้วลายที่เลือนรางบนตัวจระเข้เฝ้าสิมวัดแจ้งบอกเล่าถึงระยะเวลานับแต่แรกสร้างว่าคงมิใช่น้อย อายุเมืองอุบลแม้จะไม่ผ่านเจ็ดร้อยปีอย่างเมืองเชียงใหม่ แต่ก็ผ่านสองร้อยปีไล่หลังรัตนโกสินทร์มาติดๆ จระเข้คู่นี้อย่างน้อยๆ ต้องมีอายุไม่ไกลร้อยปีสักเท่าไร คงได้เคยเห็นตั้งแต่ชาวบ้านนุ่งซิ่นไหมเข้าวัดจนปรับแปรเป็นกระโปรงกางเกงตามยุคสมัย ตั้งแต่ป่าตะเคียนยังหนาทึบวัดให้ผู้คนหวาดหวั่นผีนางตะเคียนเล่น กระทั่งป่าโปร่งโล่งมองทะลุได้ไกล แล้วก็ถูกบดบังด้วยตึกรามบ้านช่องแทน


มันจะเคยสงสัยบ้างไหมว่าชาวบ้านที่เคยหนาตาวันงานบุญไปไหนกันหมด ทำไมภายนอกมีผู้คนผ่านไปมามากมาย แต่เหมือนจะถูกกั้นจนไกลจากกัน


* watjang(3).jpg (111.86 KB, 800x600 - ดู 5773 ครั้ง.)

* 1201587655.jpg (84.19 KB, 500x375 - ดู 4689 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ตุลาคม 2554, 00:29:04 »

วัดบูรพาราม
-ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของเมืองอุบลฯ ถนนพโลรังฤทธิ์ หลังโรงพยาบาลอุบลรักษ์ธนบุรี

-ประวัติความเป็นมา วัดบูรพาราม ในพื้นที่ปัจจุบันนั้น เดิมเป็นป่าโสงเสง (ภาษาพื้นบ้าน) หมายถึงป่า โปร่ง มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม ต่อมา หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต จึงเดินทางไปจำพรรษาที่วัดแห่งนี้ ซึ่งต่อมากรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ได้บริจาคทรัพย์และที่ดินให้สร้างวัดบูรพาราม และเป็นต้นกำเนิดสายวิปัฎนากรรมฐาน ซึ่งมีเกจิอาจารย์ดัง เช่น พระอาจารย์สีทา ชยเสโน , พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล , พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต , พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม และพระอาจารย์ลี ธัมมธโร

-วิถีชีวิตในการตกแต่งต้นเทียน วัดบูรพาราม ได้ตระหนักถึงประเพณีอันดีงามของชาวอุบลราชธานี จึงได้ร่วมกับชุมชนเพื่อทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ส่งเข้าประกวดทุกปี และเกือบทุกปี ต้นเทียนประเภทติดพิมพ์วัดบูรพาราม มักจะได้รับรางวัลชนะเลิศ หรือรองชนะเลิศอันดับ 1 โดยตลอด โดยมีนายแก้ว อาจหาญ มรรคทายกวัดบูรพาราม เป็นผู้กำกับ ดูแล และมีช่างฝีมือระดับอาจารย์ เช่น พระอู๊ด , นายจันทร์ และนายธวัช นอกจากยังมีชาวบ้านในชุมชนที่ร่วมมือร่วมใจกัน สถานที่ทำต้นเทียน ภายในวัดบูรพาราม

-สิ่งที่น่าสนใจอื่น ๆ ภายในบริเวณชุมชน วัดบูรพาราม เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งของจังหวัดอุบลราชธานี มีอายุกว่า 200 ปี ดังนั้นวัดนี้จึงมีโบราณสถานที่ล้ำค่า คือ สิม ซึ่งสร้างด้วยดินเหนียว ปัจจุบันกรมศิลปากรได้จดทะเบียนขึ้นเป็นโบราณสถานแล้ว และยังมีตอไตรบกคู่ (สร้างอยู่บนดิน) ไว้เก็บเอกสารเกี่ยวกับธรรมะต่าง ๆ นอกจากนั้นแล้วภายในวัดยังสงบร่มรื่น อุดมด้วยต้นไม้น้อยใหญ่จำนวนมาก ซึ่งเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม

-กิจกรรมในวัดบูรพาราม ช่วงวันที่ 1 ? 29 ก.ค 2550 มีดังนี้ การทำต้นเทียนพรรษาประเภทติดพิมพ์ โดยชุมชนชาวบ้านคุ้มวัดบูรพาราม/เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวมีส่วนในการทำต้นเทียน/การจัดแสดงนิทรรศการประวัติความเป็นมาของวัดบูรพาราม/การจัดแสดงนิทรรศการผลงานต้นเทียนประเภทติดพิมพ์/การจัดแสดงนิทรรศการขั้นตอน , เครื่องมือ , ในการทำต้นเทียนประเภทติดพิมพ์/จำหน่ายของที่ระลึก


* 11.jpg (52.83 KB, 200x133 - ดู 4481 ครั้ง.)

* 2.jpg (47.02 KB, 200x133 - ดู 4423 ครั้ง.)

* idol-monks.jpg (89.62 KB, 640x480 - ดู 4365 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2554, 07:57:34 »

คือบ่มีฮูปสิมวัดบ้านคำขวางน้อ

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2554, 08:03:36 »

เพิ่งถ่ายมาเด่วนิครับ ยังบ่ได่ลงเครื่องเลย โปรดติดตามตอนต่อไป 

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 26 ตุลาคม 2554, 08:25:14 »

สิมเก่าวัดคำขวาง วารินชำราบ เมืองอุบล  ผมคาดว่าน่าจะสร้างช่วงปี พ.ศ. 2300 กว่าๆ
เพราะวัดคำขวางเริ่มก็สรา้งประมาณปี พ.ศ. 2293
เป็นศิลปะแบบอีสานแท้ๆ มีประตูทางเข้าเดียวตามแบบสิมมหาอุด
ปัจจุบันได้สวดถอนแล้ว เนื่องจากเมื่อวันที่ 14 มี.ค. 2525 ทางวัดได้วางศิลาฤกษ์อุโบสถหลังใหม่ทดแทน
แต่ปัจจุบันสิมเก่าก็ยังคงได้รับการดูแล  และเป็นที่ภาวนาสำหรับพระบวชใหม่หรือพระอคันตุกะที่มาเยือน

ปล.สมาชิกท่านใดที่ในภูมลำเนาท่านมีสิม เจดีย์ วิหาร ลานธรรมต่างๆที่เก่าแก่ โปรดร่วมกันรักษาและร่วมถ่ายทอดความรู้แก่ชนรุ่นหลังด้วยนะครับ 


* DSC07054.JPG (210.75 KB, 500x376 - ดู 4455 ครั้ง.)

* DSC07056.JPG (128.38 KB, 500x375 - ดู 4409 ครั้ง.)

* DSC07050.JPG (99.63 KB, 500x375 - ดู 4353 ครั้ง.)

* DSC07055.JPG (154.81 KB, 500x667 - ดู 4431 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
Uboncandle
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 40%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #8 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555, 18:14:22 »

สงสัยครับว่า  wan-e016

ทำไมสิม จึงมีแข้ อยู่ด้วย

บ้างก็ทำเป็นรูปแข้ กำลังกินพญานาค หรือ พญานาค อยู่บนแข้




บันทึกการเข้า
Uboncandle
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 1
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 2

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 1 : Exp 40%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #9 เมื่อ: 30 กรกฎาคม 2555, 18:28:26 »

อยากเบิ่งสิม วัดบ้าน นาควาย 

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #10 เมื่อ: 23 พฤษภาคม 2556, 20:06:35 »

เก็บภาพมาฝากครับ สิมวัดใต้ยางขี้นก อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี
มีฮูปแต้มอยู่ผนังด้านนอกสิม


* ภาพ1.jpg (42.68 KB, 500x667 - ดู 3484 ครั้ง.)

* ภาพ2.jpg (46.94 KB, 500x667 - ดู 3459 ครั้ง.)

* ภาพ3.jpg (47.58 KB, 500x667 - ดู 3469 ครั้ง.)

* ภาพ4.jpg (48.9 KB, 500x667 - ดู 3477 ครั้ง.)

* ภาพ5.jpg (48.75 KB, 500x375 - ดู 3511 ครั้ง.)

* ภาพ6.jpg (37.88 KB, 500x375 - ดู 3480 ครั้ง.)

* ประตู.jpg (65.91 KB, 500x667 - ดู 3497 ครั้ง.)

thxby13768บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!