PN3
|
|
« เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 16:37:59 » |
|
ประวัติพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดพระโต บ้านปากแซง
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง หมู่ที่ 3 ตำบลพะลาน อำเภอเขมราฐ(ปัจจุบันขึ้นกับอำเภอนาตาล) จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่ และเป็นที่เคารพนับถือ ของประชาชนไทยและลาว เนื่องจากพระพุทธรูปองค์นี้เก่าแก่มากและไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ผู้บันทึกได้เรียบเรียงตามคำบอกเล่าของคนแก่ ซึ่งได้เล่าสืบทอดกันมาดังข้อความต่อไปนี้ มีกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝน พอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลง จึงได้หยุดประทับแรม 1 คืน วันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังหมู่บ้าน และได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้านในสมัยนั้น พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้ตรัสถามถึงประวัติของหมู่บ้าน เจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่า บ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ ในฤดูแล้ง หาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ และหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือ ถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่า สักวันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง ในราว พ.ศ. 1154 พระองค์ ก็ได้เสด็จมา พร้อมด้วยข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จมาถึง พระองค์จึงได้มอบให้เจ้าแสง (คงจะเป็นนายชั้นผู้ใหญ่) เป็นคนควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 1180 และขนานนามว่า พระอินทร์ใส่โฉม (ต่อมาเรียก พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) เมื่อเจ้าแสงก็ถึงกรรมลง ชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และขนานนามว่า หอแสง ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น ?วัดพระโต? จังหวัดอุบลราชธานี มีความเป็นมาที่ยาวนานสืบสานมรดำทั้งด้านประเพณีวัฒนธรรมและความเจริญรุ่งเรือง มีเอกลักษณ์เป็นที่กล่าวขานกันว่า เมืองนักปราชญ์ ในด้านประวัติศาสตร์ของบรรพชนหลายยุคหลายสมัยที่สร้างบ้านแปงเมืองให้ลูกหลานได้อาศัยผืนแผ่นดินนี้สืบทอดมาปรากฏหลักฐานให้ศึกษาบทบาททบทวนเป็นตำนานบอกเล่ามากมายได้สาระ เช่น ด้านโบราณคดีจังหวัดอุบลราชธานี เรามีแหล่งโบราณคดีที่โด่งดังไปทั่วโลก มีการสืบค้นเรื่องราวของคนสมัยโบราณซึ่งได้สร้างหลักฐานเป็นภาพเขียนตามผังถ้ำที่ผาแต้ม อ.โขงเจียม หลักศิลาจารึกที่ริมฝั่งแม่น้ำมูล และด้านสถานที่สำคัญและโบราณวัตถุมีกระจัดกระจายทั่วทั้งจังหวัดรวมไปถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ด้าน สปป.ลาว) ที่มีความเกี่ยวโยงถึงความเจริญด้านศาสนาและประเพณีดั้งเดิมของประชาชนสองฝั่งแม่น้ำโขง เช่น ปราสาทบ้านเบ็ญจ์ ปราสาทวัดภู นารายณ์บรรทมสินธุ์ เครื่องปั้นดินเผาที่บ้านก้านเหลือง เป็นต้น
ทางด้านพระพุทธศาสนา จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นต้นกำเนิดของการสืบทอดและเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีพระอริยสงฆ์ที่สำคัญ ๆ เช่น หลวงปู่เสาร์, หลวงปู่มั่น, หลวงปู่ขาว, หลวงปู่ชา และพระเถระ พระเสมณศักดืชั้นสมเด็จถึง 2 รูป มีการสอนภาษาไทยบาลีและจัดการศึกษาที่วัดสุปัฏนารามวรวิหาร นับเป็นความเจริญรุ่งเรืองของชาวอุบลราชธานีที่น่าภาคภูมิใจยิ่ง ด้วยความเจริญรุ่งเรืองของวิถีชีวิตของอุบลราชธานีดังกล่าว พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองจะปรากฏหลักฐานและเล่าต่อ ๆ กันมาล้วนแต่มีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพกราบไหว้บูชาของชาวพุทธตราบเท่าทุกวันนี้ เช่น พระแก้วบุษราคัม วัดศรีอุบลรัตนาราม พระเจ้าใหญ่อินทร์แปลง วัดมหาวนาราม พระเหลาเทพนิมิต วัดพระเหลา และอีกมากหลายแห่ง ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นสมบัติของชาติไว้
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เดิมเรียกชื่อว่าพระเจ้าอินทร์ใส่โสม ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง กิ่งอำเภอนาตาล จังหวัดอุบลราชธานี ปางมารสะดุ้ง หรือมารวิชัย ลักษณะงดงามมาก สร้างด้วยอิฐ ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.365 เมตร ประดิษฐานแท่นบูชา สูง 1.19 เมตร ที่พระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพบูชาของประชาชนคนไทย และประชาชนจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) เลื่อมใสศรัทธากราบไหว้บูชาตลอดมา จนกลายเป็นประเพณีที่สำคัญในการนมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี และจะมีประชาชนจากทั่วสารทิศ ทั้งไทย-ลาว ได้มานมัสการจำนวนมาก จากหลักฐานการบูรณะวัดพระโต ในปี พ.ศ.2461 พระครูกุ พร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารโดยว่าจ้างช่างชาวญวนใช้เวบาสร้าง 3 ปี และจารึกไว้ที่วิหารว่า ?ข้าพเจ้าพระครูทองกุศกร สมภาควัดกลางเขมราฐ มีท่านพระครูกุ เป็นประธานพร้อมด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างวิหารพระเจ้าใหญ่ปากแซง ใน 5 หมู่บ้าน คือ บ้านปากแซง บ้านนาทราย บ้านพะลาน บ้านบก บ้านทุ่งเกลี้ยง ได้จ้างคนอานาม (เวียดนาม) เป็นเงิน 700 บาท สร้างเมื่อ พ.ศ. 2463 ถึง พ.ศ. 2468 แล้วเสร็จ?
สำหรับวัดพระโตแห่งนี้ มีความสำคัญที่ประชาชนคนไทยและชาวจังหวัดอุบลราชธานี มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง เพราะเป็นมรดกล้ำค่าทางด้านศาสนา เป็นศูนย์รวมดวงใจชาวพุทธทั้งไทย ? ลาว ต่างเลื่อมศรัทธากราบไหว้บูชา และด้วยพระบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของ ?พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ? จึงเป็นสายสัมพันธ์เชื่อมโยงไทย - ลาวให้มีความผูกพันตลอดมา
พระครูพุทธวราธิคุณ เจ้าอาวาสพระโตกล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2520 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านปากแซง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีแก่พสกนิกรชาวจังหวัดอุบลราชธานีอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ ยังมีบุคคสำคัญและผู้นำประเทศได้เดินทางมานมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อหลายท่าน เช่น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี นายกร ทัพรังสี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายจำลอง ครุฑขุนทด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสิทธิชัย โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และอีกหลายท่านหลายหน่วยงานที่มีส่วนร่วมในการพัฒนา ส่งเสริมสนับสนุนการจัดงานประจำปีกลายเป็นประเพณียิ่งใหญ่ของจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นศูนย์กลางนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนตลอดจนความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศอันเป็นแนวทางที่ทุกคนชนชาติปรารถนา
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นศูนย์รวมดวงใจชาวไทย ? ลาวสองฝั่งโขง เชื่อมโยงสู่ความเจริญทางด้านจริยธรรม คุณธรรม และประเพณีอันดีงามให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไปไม่มีวันเสื่อมคลาย ที่สำคัญเมื่อพระครูพุทธวราธิคุณ ได้มาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี 2540 ถึงปัจจุบันกว่า 10 ปี มีคณะกรรมการดำเนินงานเปิดโอกาสให้ชุมชน และทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้า โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์และสถานที่สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับพุทธศาสนิกชนรวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามลำน้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานีประชาสัมพันธ์ไปทั่วโลก เช่น สามพันโบก สองคอน หาดสลึง และต้นปี 2553 มีการค้นพบแหล่งท่องเที่ยวสองฝั่งโขง คือ เก้าพันโหง่น ที่เป็นเกาะแก่งหินกลางลำน้ำโขงตั้งตระหง่านหลายพันก้อน หลายพันโหง่น และหาดทรายที่สวยงามใกล้กับวัดพระโต บ้านปากแซง อ.นาตาล นับเป็นดินแดนสงบ ปลอดภัย น่าอยู่ น่าเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 17:03:12 » |
|
เหรียญพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ รุ่นแรก ปี 2520 เนื้อทองแดง
ประวัติการสร้าง(โดยสังเขป)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ได้เสด็จที่วัดพระโต เพื่อกราบนมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ วัดปากแซง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2520 ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีแก่เหล่าพสกนิกรชาวบ้านปากแซงและพุทธศาสนิกชนทั้งไทย และลาว สองฟากฝั่งแม่น้ำโขง เป็นอย่างยิ่ง
เหรียญพระเจ้าองค์ตื้อนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในวาระที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเหล่าประชาราษฎร์ และทรงกราบนมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ ณ วัดพระโต ครั้งนี้
เหรียญรุ่นนี้มีทั้งหมด 2 พิมพ์ ได้แก่
1. เหรียญรูปไข่ 2. เหรียญเสมา
ข้อสังเกต : เหรียญรูปไข่ ด้านหน้ามีหลายบล็อค แต่ด้านหลังมีบล็อคเดียว
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 21:03:35 » |
|
พระเจ้าองค์หมื่น(พระเจ้าใหญ่อูบมุง) พระเจ้าองค์แสน พระเจ้าองค์ล้าน(พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ)
ไหว้พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น องค์แสน องค์ตื้อ(ล้าน) เสริมโชคลาภ มีโอกาสได้ไปเที่ยว อ.เขมราฐ และเนื่องด้วยมีเพื่อนสมาชิกไกด์อุบล คือท่าน FISHEYE อยู่ที่นั้น อาสาพาไปเที่ยวไหว้พระ 3 วัน บริเวณใกล้เคียง ได้แก่ พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น วัดอูบมุง พระเจ้าใหญ่องค์แสน วัดโพธิ์ และพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ(ล้าน) วัดพระโต เห็นว่าพระเจ้าใหญ่เป็นจำนวนหมื่น แสน ล้าน หากมีโอกาสไหว้พระครบ 3 วัด น่าจะเป็นสิริมงคล ส่งเสริมโชคลาภ เลยนำมาแนะนำ ชวนกันไปเที่ยวนะครับ
การเดินทางไปไหว้พระ 3 วัดข้างต้นนี้ ออกจะไกลนิดนึง ระยะทางประมาณ 100 กิโลเมตรครับ แนะนำเส้นทางจากตัวเมืองอุบลฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2050 สายอุบลฯ - ตระการฯ ครับ ผ่านอำเภอตระกาลพืชผล ตรงไปอีกจนถึงตัวอำเภอเขมราฐ เลี้ยวซ้ายใช้ทางหลวงหมายเลข 202 จนถึงสามแยก ให้เลี้ยวขวาตามทางหลวงหมายเลข 2242 ทางไปตำบลเขมราฐ วัดอูบมุง จะอยู่ใกล้ตำบลเขมราฐครับ
วัดอุบมูง ตั้งอยู่ที่หมู่ 5 ต.เขมราฐ อ.เขมราฐ มีพระพุทธรูปที่ชาวบ้านต่างให้ความเคารพเลื่อมใสศรัทธา ด้วยขึ้นชื่อในเรื่องพุทธคุณต่างๆ คือ พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น ซึ่งจนบัดนี้ก็ยังหาประวัติ การสร้างแน่ชัดไม่ได้ เป็นพระนาคปรกที่มีนาคปรกเหนือเศียรถึง 11 ตัว นับว่ามากกว่าพระนาคปรกใดๆ
ต่อไปเราจะไปไหว้พระเจ้าใหญ่องค์แสน วัดโพธิ์ ครับ โดยเดินทางย้อนกลับทางเดิม ตรงเข้าตัวอำเภอเขมราฐ วัดโพธิ์ จะอยู่กลางอำเภอเขมราฐเลยครับ
วัดโพธิ์ ตั้งอยู่เลขที่ 109 ถนนกงพะเนียง ตำบลเขมราฐ อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดมหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2516 ตามประวัติที่เล่าสืบต่อกันมาได้ความว่า วัดโพธิ์ ตั้งเมื่อ พ.ศ.2331 โดยแม่ชี (แม่ขาว) ได้หนีภัยสงคราม นำผู้คนอพยพลงมาจากเวียงจันทน์ พร้อมด้วยลูกหลานญาติโยมลงมาตามลำน้ำโขง มายึดชัยภูมิแห่งนี้ตั้งหมู่บ้านและวัดขึ้นในสมัยพระเจ้าตากสินมหาราช แห่งกรุงธนบุรี ปูชนียวัตถุที่สำคัญได้แก่ พระเจ้าใหญ่องค์แสน
พระเจ้าใหญ่องค์แสน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 1.09 เมตร สูงรวมเกตุ 1.59 เมตร สร้างด้วยอิฐโบราณ ถือด้วยน้ำเกสรดอกไม้ผสมน้ำเปลือกไม้ ตามภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของาวเขมราฐมาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจบัน และเป็นพระพุทธรูปเก่าแก่ที่สุดองค์หนึ่งของจังหวัด
หลังจากไหว้พระเจ้าใหญ่องค์หมื่น และพระเจ้าใหญ่องค์แสน แล้ว ต่อไปเราจะไปไหว้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อครับ "ตื้อ" เป็นภาษาถิ่น แปลว่า ล้าน ครับ ไหว้ครบ 3 วัด เท่ากับเราไหว้พระเป็น หมื่น แสน ล้าน เลยนะเนี่ย เปรียบเป็นคำอำนวยพร คงจะประมาณว่า ขอให้มีโชคลาภ ได้เงินได้ทองเป็นหมื่น เป็นแสน เป็นล้านเชียว...
การเดินทางจากตัวอำเภอเขมราฐ ใช้ทางหลวงหมายเลข 2112 ลงมาทางใต้ ถึงตำบลพระลาน อยู่ทางซ้ายมือเลียบแม่น้ำโขงครับ
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สร้างด้วยอิฐผสมปูนขาว ขนาดหน้าตักกว้าง 2.90 เมตร สูง 4.36 เมตร มีอายุเก่าแก่ และเป็นที่เคารพนับถือ ของประชาชนไทยและลาว ปัจจุบัน ประดิษฐานอยู่ที่วัดพระโต บ้านปากแซง ต.พะลาน กิ่ง อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี
ประวัติความเป็นมา ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ซึ่งได้เล่าสืบทอดกันมากล่าวว่า มีกษัตริย์สมัยขอมพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้เสด็จล่องเรือลงมาตามลำแม่น้ำโขงในฤดูฝน พอถึงบ้านปากแซงก็ค่ำลง จึงได้หยุดประทับแรม 1 คืน วันรุ่งขึ้น พระองค์ได้เสด็จขึ้นไปยังหมู่บ้าน และได้พบกับเจ้ากวนของหมู่บ้านในสมัยนั้น พระยาแข้วเจ็ดถัน ได้ตรัสถามถึงประวัติของหมู่บ้าน เจ้ากวนได้เล่าให้ฟังว่า บ้านนี้มีหาดสวยงามกว้างใหญ่ ในฤดูแล้ง หาดทรายจะโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำ และหาดทรายแห่งนี้มีสิ่งอัศจรรย์อยู่คือ ถ้าปีใดหาดทรายโผล่ขึ้นเหนือผิวน้ำระหว่างหมู่บ้าน ประชาชนจะอยู่เย็นเป็นสุข เมื่อพระองค์ได้ทราบก็เกิดศรัทธาในใจว่า สักวันหนึ่งจะต้องย้อนกลับมาสร้างหมู่บ้านนี้ให้เป็นเมือง
ในราว พ.ศ. 1154 พระองค์ ก็ได้เสด็จมา พร้อมด้วยข้าทาสบริวารเป็นจำนวนมาก เมื่อเสด็จมาถึง พระองค์จึงได้มอบให้เจ้าแสง (คงจะเป็นนายชั้นผู้ใหญ่) เป็นคนควบคุมการก่อสร้างพร้อมกันนี้ก็ได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นองค์หนึ่ง ซึ่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อประมาณ พ.ศ. 1180 และขนานนามว่า พระอินทร์ใส่โฉม (ต่อมาเรียก พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ) เมื่อเจ้าแสงก็ถึงกรรมลง ชาวเมืองได้สร้างหอหลักเมืองขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ และขนานนามว่า หอแสง ต่อมาวัดแห่งนี้ก็ขาดคนบูรณะ และกลายเป็นวัดร้าง จนกระทั่งเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ควาญช้างในหมู่บ้านนี้ ได้ไปพบพระพุทธรูปองค์ดังกล่าว และได้บอกบุญชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัดขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อวัดเป็น ?วัดพระโต?
|
uthai08
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 เมษายน 2555, 21:25:33 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vs12
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 21:17:35 » |
|
พอจะทราบข้อมูลพระคณาจารย์ที่ร่วมอธิษฐานจิตปลุกเสกมั๊ยครับ ปี 2520 พระอริยสงฆ์น่าจะยังดำรงขันธ์อยู่กันเพียบเลยนะครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 19 เมษายน 2555, 21:37:27 » |
|
ตอบคุณ VS12 ครับ
จากคำบอกกล่าวของคนในพื้นที่ และเซียนพระที่น่าเชื่อถือได้ ยืนยันว่ามี หลวงพ่อผาง จิตตคุตโต แน่นอนองค์หนึ่ง เพราะท่านกำลังธุดงค์อยู่แถบโขงขณะนั้น และพระเกจิสายสำเร็จลุนแถบลุ่มแม่น้ำโขงจำนวนมากร่วมปลุกเสก (หลวงพ่อภูมาภิบาลหรือหลวงปู่ภู หลวงพ่อเพชร เป็นต้น) พิธีใหญ่มาก ที่สำคัญเรื่องประสบการณ์ได้รับฟังมา ครอบจักรวาล สุดที่จะบรรยาย ช่วยสอบถามชาวลุ่มน้ำโขงว่าเป็นอย่างไรบ้าง จะได้ทราบข้อเท็จจริง สำหรับผมได้ยินมามากมาย แม้กระทั่งจากผู้ประสบมาโดยตรง สรุปว่า เป็นเหรียญดีของเมืองดอกบัวที่ผู้คลั่งใคล้ในพุทธคุณ ควรหาบูชาไว้ ท้องที่เช่าหากันแพงมากนะครับ
สำหรับท่านที่มีข้อมูลจริงจากทางวัดช่วยกรุณาลงรายละเอียดเพื่อเป็นวิทยาทาน จักเป็นพระคุณยิ่งครับ (ที่ผมกล่าวมาข้างบนนี้เป็นเพียงข้อมูลจากการสัมภาษณ์ประกอบกับความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณนะครับ)
ทั้งหมดที่กล่าวมาไม่ได้เชียร์เพราะมีพระไว้ให้เช่านะครับ ผมชอบศึกษาเรียนรู้และบูชาเท่านั้น Thank you, see you.
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 20 เมษายน 2555, 06:41:20 » |
|
เหรียญปี 2520 ปรากฎมีเหรียญที่มีกลากด้านหลังเหรียญ ไม่ทราบว่าเป็นการปั๊มซ้ำหรือเปล่าครับ ขอข้อมูลจากผู้รู้ด้วยครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 20 เมษายน 2555, 08:16:10 » |
|
ตอบคุณคนโก้ครับ
จากการสอบถามได้ความว่า หลังปี 2520 ทางวัดได้ปั๊มเหรียญออกมาเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาบูชาทำบุญหลายครั้ง (หลายปี) ทำให้เหรียญมีกลาก คล้ายกับเหรียญกลาก 2 กลาก 3 ของเหรียญหลวงพ่ออื่นๆ เนื่องจากใช้บล็อคปี 2520 (บล็อคเดิม) ปั๊มไปเรื่อยๆ (โดยไม่แกะบล็อคหรือทำบล็อคขึ้นมาใหม่) ขณะปล่อยบล็อคไว้จะเกิดสนิมและทำให้เหรียญมีกลากทั้งด้านหน้าและหลัง (ไม่เพียงแค่ด้านหลังเท่านั้น ด้านหน้าก็มีกลากเหมือนกัน ถ้ามีโอกาสได้เห็นหลายๆเหรียญ) มากน้อยตามปีที่ทิ้งบล็อคไว้เพื่อรอการปั๊มครั้งต่อไป สำหรับพระเกจิที่ปลุกเสกแต่ละปีหลังปี 2520 (หลังรุ่นแรก) แต่ละรุ่นต้องมีแน่นอน แต่ผมไม่ทราบข้อมูลที่ชัดเจน ต้องขอความกรุณาผู้รู้จริงที่ผ่านเข้ามาเว็ปนี้ได้ให้ความกระจ่างชัดอีกครั้งครับ
สรุป เหรียญรุ่นแรกจริงๆ (2520) จะคมชัดมาก (ดูตัวหนังสือ องค์พระ) เส้นขนแมวเล็กๆ (แนวตั้งกระจายทั่วพื้นเหรียญ และเส้นขนแมวส่วนอื่นๆ) คมกริบ สวยมาก ไม่มีกลาก ดูตัวอย่างจากรูปภาพข้างบนได้เลยครับ สวัสดีครับ
|
|
|
|
|
vs12
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 29 เมษายน 2555, 08:42:44 » |
|
ผมมีอยู่เหรียญ ไม่ทราบบล็อคไหนครับ
|
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 29 เมษายน 2555, 19:07:11 » |
|
ตอบคุณ VS12 อีกคนครับ
แน่นอนครับ เป็นเหรียญรุ่นแรก ปั๊มบล็อคแรกๆ เลยครับ
|
vs12
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 พฤษภาคม 2555, 19:03:06 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
vs12
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2555, 10:22:04 » |
|
พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ พิมพ์เสมา ใช่ตามรูปที่โพสหรือเปล่าครับ
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2555, 13:46:09 » |
|
ใช่ครับ ด้านหลังต้องเป็นอ.เขมราฐ ไม่ใช่ อ.นาตาล ถ้าเป็น อ.นาตาลเป็นเหรียญสร้างย้อนยุค แต่ลง พ.ศ. 2520 เหมือนกัน
|
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2555, 14:30:53 » |
|
สุดยอดครับ ขอบคุณครับอาจารย์ อีกเหรียญสุดยอดเหรียญพระพุทธของเขมราฐ คือเหรียญหลวงพ่ออุบมุง ครับยิงกันสะนั่นเมืองเขมราฐมาแล้วครับคนแขวนเหรียญนี้บ่เป็นหยังเลย
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 06 พฤษภาคม 2555, 20:01:06 » |
|
ขอขอบคุณเสี่ยตงที่กรุณาเผยแพร่ข้อมูลประสบการณ์เหรียญพระเจ้าใหญ่อูบมุง (หลวงพ่ออูบมุง ปี 2516) ให้เพื่อนๆได้รับทราบ ขอทราบรายละเอียดประสบการณ์เหรียญพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อรุ่นแรกหน่อยครับ เพื่อเป็นวิทยาทาน ขอบพระคุณล่วงหน้าอย่างสูงมา ณโอกาสนี้ (ผมรู้ว่าเสี่ยตงศึกษามาอย่างลึกที่เดียว)
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2555, 21:49:57 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|