เต้ อุบล
|
|
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554, 21:40:46 » |
|
พระครูวิรุฬสุตการ นามเดิม ลุน นามสกุล บัวเขียวบัตร เกิดเมื่อปี ฉลุ วันที่ 22 เมษายน 2444 ณ บ้านโนนจิก ตำบลคูเมือง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นบุตรนาย เพ๊ะ นาง มี บัวเขียวบัตร มีพี่น้องร่วมบิดาเดียวกัน ทั้งหมด 7 คน คือ 1. นางคำตา หาดี (ถึงแก่กรรมแล้ว) 2. นายคูณ บัวเขียวบัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว) 3. นายห้าว บัวเขียวบัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว) 4. นางบุญมา กิจมั่น (ถึงแก่กรรมแล้ว) 5. ส.ต. นาค บัวเขียวบัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว) 6. พระครูวิรุฬ สุตการ (ลุน บัวเขียวบัตร) 7. นายบุญ บัวเขียวบัตร (ถึงแก่กรรมแล้ว)
เมื่อ พ.ศ. 2457 ท่านอายุได้ 15 ปี ท่านพระครูได้บรรพชาที่วัดบ้านโนนโหนน พระอธิการเคนเป็นพระอุปปัชฌาย์ เมื่อบรรพชาแล้ว ได้ไปจำพรรษาที่วัดบ้านไม้ค้าง ตำบลธาตุ 1 ปี พ.ศ. 2458 ได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดวารินทราราม เพื่อศึกษามูลกัจจายน์ กับยาครูผึ้ง เจ้าอาวาสวัดวารินทราราม ต่อมา เมื่อปี พ.ศ. 2463 ราวเดือนมกราคม จึงได้อุปสมบทที่วัดบ้านโพธิ์ใหญ่ ตำบลคำขวาง (เดี๋ยวนี้บ้านโพธิ์ใหญ่ยกเป็นตำบลแล้ว) พระอธิการเสน เป็นพระอุปปัชฌาย์ พระอธิการมาบ้านดอนกลางเป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการผิวบ้านบัววัด เป็นอนุสาวนาจารย์ อุปสมบทแล้ว ไปจำพรรษาที่วัดบ้านโนนจิก เป็นเวลา 1 พรรษา พ.ศ. 2464 ไปจำพรรษาที่วัดบ้านธาตุ สอบนักธรรมตรีได้ พ.ศ. 2466 ย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านก่อใน เพื่อเป็นครูสอนปริยัติธรรม ท่านพระครู ฯ ชอบการอ่านมากกว่าการเข้าสอบสนามหลวง จึงหันมาสนใจในการฝึกหัดการเทศน์ ( เทศน์ปากเปล่า ) เรื่อง เทศน์ ( ธรรมกถึก ) นี้ ท่านพระครูฯ คงได้ฟังจากเจ้าคุณอุบาลีคุณูปมาจารย์ เมื่อครั้งเป็นเจ้าคุณราชมุนี ขึ้นมาตรวจราชการคณะสงฆ์ ทางจังหวัดอุบลราชธานี ท่านเทศน์สอนประชาชน โดยไม่ต้องอ่านใบลาน ท่านพระครู ฯ คงมีความชอบใจมาก จึงได้ฝึกหัดเอาแบบอย่างบ้าง พ.ศ. 2471 ก็เริ่มขึ้นธรรมาสน์เทศน์ ปากเปล่า จนถึงได้เทศน์ปุจฉาวิสัชนา คารมเทศน์ของท่านทำความสนุกสนานหายง่วงแก่ผู้ฟัง เป็นครูสอนปริยัติแผนกนักธรรม และเป็นนักเทศน์อยู่จนถึง พ.ศ. 2474 พ.ศ. 2474 จึงได้เดินทางไปศึกษาปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร ณ วัดราชนัดดา และสอบนักธรรมโท ไดในปีนั้น จำพรรษา อยู่ที่วัดราชนัดดา เป็นเวลา 3 พรรษา พ.ศ. 2477 เดินทางมาจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านก่อตามเดิม ทำหน้าที่สอนนักธรรม ตรี-โท จน กระทั่งภูมินักธรรมเอก( นธ. เอก ) ซึ่งเป็นชั้นที่ครูยังสอบไม่ได้ ท่านพระครูไม่ชอบอยู่ว่าง ๆ ว่างเมื่อไหร่เป็นต้องคิดหางานทำ เช่น ช่างจักสาน, ช่างไม้ทำตู้โต๊ะ, ช่างทำเก้าอี้, ช่างเหล็ก, ตีพร้า-มีด-ขวาน , ช่างเขียนลายรดน้ำก็เคยทำ ตลอดจนกระทั่งถึงงานก่อสร้างกุฏิ ซ่อมแซมเสนาสนะ เป็นหมอยาเพื่ออนุเคราะห์ชาวบ้านและบุคคลทั่วไป บ้านก่อมีวัดอยู่ 2 วัด คือ วัดก่อนอก ตั้งอยู่ริมทุ่งเดิ่น และวัดบ้านก่อใน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน บ้านเรือนของหมู่บ้านขยายปางทิศใต้เป็นส่วนมาก พระครู ฯ คงมองเห็นความลำบากของชาวบ้านที่ไปทำบุญ จึงได้คิดย้ายวัด พ.ศ. 2479 จึงได้ประกาศยุบวัด รื้อถอนจนกระทั่งต้นมะพร้าว ที่พอจะเอาไปปลูกสร้างในที่ใหม่ ตั้งชื่อวัดที่สร้างใหม่ว่า ?วัดใหม่ทองสว่าง? พ.ศ. 2482 ท่านพระครู ฯ ได้ทำงานสาธารณะประโยชน์ คือ ก่อตั้งโรงเรียนประชาบาล บ้านก่อวิทยาคาร 1 หลัง ตั้งอยู่ในป่ายางตรงข้ามกับวัดทองสว่าง และยังได้นำชาวบ้านท้องที่อำเภอวารินชำราบ สร้างบ่อน้ำก่ออิฐปูน 32 บ่อ สร้างทำนบ 33 แห่ง ตัดถนนในหมู่บ้าน พ.ศ. 2483 ? พ.ศ. 2484 ได้สร้างศาลาการเปรียญ พ.ศ. 2488 ได้เทศน์สั่งสอนประชาชน หาทุนบำรุงเด็กอนาถา ประชาบาลในท้องที่อำเภอวารินชำราบ สมเด็จพระสังฆราช วัดสุทัศน์เทพวนาราม จึงทรงแต่งตั้งท่านพระครู ฯ มีสมณศักดิ์เป็นพระครูชั้นประทวน และประทานพัดยศหนึ่ง พัดรองหนึ่ง พ.ศ. 2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร ที่พระครูวิรุฬสุตการ พ.ศ. 2493 ได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่ที่วัดใหม่ทองสว่าง 1 หลัง พ.ศ. 2496 ท่านได้รับตำแหน่งแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลธาตุ และเป็นพระอุปปัชฌาย์ ท่านพระครู ฯ ยิ่งมีพรรษามากเท่าไหร่ ชื่อเสียงการเทศน์ ยิ่งโด่งดังไปทั่วภาคอิสาน และประเทศลาว เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2513 ท่านพระครู ฯ ได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดวารินทราราม นางคำมะลุน บุญห่อ มีศรัทธาสร้างกุฏิ 2 ชั้น 1 หลัง แทนกุฏิหลังเก่า ซึ่งนายประคุณ และ นางเสงี่ยม วรรธนสาร ได้สร้างไว้เมื่อปี พ.ศ. 2477 ได้ชำรุดไปมาก ใช้การไม่ได้ สิ้นเงินในการก่อสร้าง ประมาณ 67,000 บาทนางคำมะลุน และแม่ใหญ่จันทร์ ร่วมกันสร้างกุฏิอีกหนึ่งหลัง ทางด้านทิศตะวันตกกุฏิของเจ้าคณะอำเภอ สิ้นเงินในการก่อสร้างไปทั้งหมด 55,000 บาท
พ.ศ.2515 ( วันที่ 25 พฤศจิกายน ) เจ้าคณะภาค (พระเทพวิสุทธิเมธี วัดมหาพฤฒาราม ) ได้นำพัดยศ และตราตั้งเจ้าคณะอำเภอไปมอบให้กับท่านพระครูวิรุฬสุตการ เจ้าอาวาสวัดวารินทราราม และเจ้าคณะตำบลธาตุ เป็นเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบนี้ มีอายุ 70 เศษแล้ว พ.ศ. 2518 มีอายุ 74 ปี 54 พรรษา เมื่อได้รับแต่งตั้งดังกล่าวเสร็จแล้ว งานที่ท่านทำเพิ่มเติมจากโรงเรียนปริยัติธรรม คือ ติดบานหน้าต่างไม้สัก ติดตั้งบานประตูเหล็ก สร้างกันสาด และฟุตบาทรอบโรงเรียนปริยัติธรรม เป็นเงิน 16,000 บาท สร้างรั้วคอนกรีตเสริมลวดตาข่ายรอบโรงเรียน สิ้นเงินประมาณ 12,400 บาท ออกทุนสร้างซุ้มประตูวัดทางด้านตะวันออก เป็นเงิน 34,000 บาท ต่อมาไม่นาน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2522 ท่านพระครู ฯ ก็เริ่มป่วย ครั้งแรกมีอาการเจ็บตาข้างซ้ายมาก ท่านไปให้หมอตรวจรักษา อาการก็ยังไม่หายขาด เมื่อเข้าพรรษาแล้ว อาการของท่านก็เริ่มหนักขึ้นมาอีก ท่านไปตรวจที่คลินิกหมอจำรัส หมอก็ให้ยามาฉันอาการก็ยังไม่ทุเลา ท่านเลยไปโรงพยาบาลเมโมเรียน ( รพ. เอกชน ) หมอมาตรวจแล้วก็เรียนท่านว่าท่านเป็นโรท่อน้ำตาอุดตัน ต้องทำการผ่าตัด และจะต้องไปผ่าตัดที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี ขณะนั้นเป็นเวลาเข้าพรรษาท่านเลยไม่ไป หมอก็ให้ยามาฉัน อาการก็ดีขึ้น วันที่ 5 กันยายน 2522 ท่านลงมาฉันเช้า พอฉันไปได้สักคำ สองคำ ท่านก็ร้อง ? เอ๊ะ วันนี้ฉันข้าวลงไปสองสามคำ ทำไมรู้สึกเหมือน กับข้าวติดคอ ? ถึงกระนั้นท่านก็ยังทนฉันต่อไปจนอิ่ม ต่อมาอีก สองสามวัน อาการก็อยู่แบบเก่าอีก และมีความรู้สึกเพลียเล็กน้อย แต่ท่านก็ยังรับนิมนต์เทศน์ไปในที่ต่าง ๆ อยู่ ไปบางวันไม่ฉันข้าวเลย จนวันที่ 25 กันยายน 2522 ท่านเลยให้ ร.อ. ขจร จันสุตะ ทายกวัดวารินทราราม มาเข้าน้ำเกลือให้ 500 C.C. ตอนเช้าก็ยังฉันไม่ได้อีก แต่ก็ไม่เหนื่อยเหมือนเดิม ท่านก็ไปเทศน์อีก อาการทางตาเบาลง แต่ก็ยังเหนื่อยเพลียเหมือนเดิม ในที่สุดอาการทางตาก็หายไป เหลือแต่ฉันข้าวไม่ได้ จนท่านซูบผอมลงผิดปกติ ในที่สุดท่าน ท่านก็ต้องเข้าโรงพยาบาลอีก วันที่ 4 ตุลาคม 2522 หมอให้ท่านรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล หมอก็ดูแลอย่างดี จนถึงวันที่ 12 ในเดือนเดียวกัน หมอได้นำท่านเข้าห้องผ่าตัดและผ่าท้องตรงใต้สะดือ เมื่อตรวจภายใน และเอาลมเข้าไปตรึงลำไส้ เพราะหมอสงสัยว่าลำไส้ตีบตัน ผ่าเสร็จหมอก็นำกลับมานอนที่เตียงและบอกว่า ไม่มีอะไรหมอตรวจละเอียดแล้ว วันที่ 3 มกราคม 2523 อาการของท่านก็หนักขึ้น อาเจียนตลอดทั้งวัน พอค่ำทานก็เหนื่อยมาก และเพ้อจนไม่รู้สึกตัว (ขาดสติ) ญาติโยมจึงนำส่ง รพ.ประจำจังหวัด ฯ อาการของท่านก็หนักลงเรื่อย ๆ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2523 พระใบฎีกาขุนพระวิชัย ไปตามหมอโบราณมาตั้งแต่อำเภอเดช ฯ หมอก็รับปากจะมาตอนเช้ามือ พอบ่ายของวันที่ 15 ท่านก็พูดกับพระวิชัยผูเฝ้าอยู่ว่า ? น้อย ๆ มื้อนี้ข่อยเมื่อยหลาย ? ท่านพูดคำนี้อยู่หลายหน แล้วก๋หลับไป ในเวลาบ่าย 5 โมงเย็น ท่านก็พูดคำนี้เป็นประโยคสุดท้ายของหลวงพ่อ ต่อจากนั้นทานก็ไม่พูดอะไรอีกเลย จนเวลา 19.30 น. ท่านเริ่มหอบและไม่รู้สึกตัวอะไรเลย จนไปถึงเวลา 21.22 น. ของวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2523 ท่านก็ทิ้งร่างอันปราศจากวิญญาณไว้ให้ลูกหลานและคณะศิษย์ไว้ทำบุญกันต่อไป
|
|
|
|
ChayTurbo
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2554, 22:03:25 » |
|
คุณ TaeUbon มีรูปของท่าน พระครูวิรุฬสุตการ ไหมครับ ? ถ้ามีกรุณาลงให้ผมเเละท่านเพื่อนสมาชิกท่านอื่นได้ดูด้วยนะครับอยากเห็นท่านครับ ขอบคุณครับที่นำข้อมูลของพระสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ทั้งในปัจจุบันเเละอดีตมาลงให้เพื่อนๆในเวปนี้ได้ศึกษา
|
M30
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 15 พฤศจิกายน 2554, 09:07:40 » |
|
เยี่ยมครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 16 พฤศจิกายน 2554, 18:26:51 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2554, 07:33:25 » |
|
เท่าที่ทราบหลวงปู่สร้างวัตถุมงคลประเภทเหรียญไว้สามรุ่น รูปหล่อขนาดเล็กและขนาดบูชา ล็อกเก็ต ถูกต้องมั้ยครับ
|
M30
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
เต้ อุบล
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2554, 10:16:32 » |
|
ขณะนี้ (17 11 54) ยังไม่มีข้อมูลครับ สอบถามชาวบ้านในพื้นที่แล้วยังไม่สามารถหาข้อมูลที่แน่นอนได้ครับ เพราะ คนรุ่นนั้นเสียชีวิตหมดแล้วครับ
|
M30
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
fame
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2554, 18:02:16 » |
|
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เต้ อุบล
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 17 พฤศจิกายน 2554, 19:57:57 » |
|
ขอบคุณคร๊าบบบบบ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 06:43:24 » |
|
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 09:16:41 » |
|
เยี่ยมครับพี่โก้ครบทั้งสามรุ่นเลยครับ
|
M30
|
|
บันทึกการเข้า
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
ChayTurbo
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 22:09:35 » |
|
ภาพไม่ขึ้นเลยครับ ไม่ทราบเพราะเหตุใด
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เต้ อุบล
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2554, 22:25:09 » |
|
ภาพไม่ขึ้นเลยครับ ไม่ทราบเพราะเหตุใด รอซักครู่ครับ เด่วภาพก็มาครับ
|
M30
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เต้ อุบล
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 29 กุมภาพันธ์ 2555, 20:45:38 » |
|
เจดีย์เก็บอัฐิธาตุหลวงพ่อพระครูวิรุฬสุตการ วัดใหม่ทองสว่าง บ้านก่อ วารินชำราบ อุบลราชธานี
|
|
|
|
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 16 เมษายน 2557, 13:48:50 » |
|
|
M30
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 16 เมษายน 2557, 13:50:34 โดย ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ »
|
บันทึกการเข้า
|
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
|
|
|
|