ชีวประวัติโดยย่อหลวงปู่ลัด ฐิตธัมโมนามเดิมชื่อ ลัด
นามสกุล ทองคำวัน
เกิดเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๕๖(ตรงกับวันจันทร์ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๓ ปีฉลู)
สถานที่เกิด บ้านน้ำเกลี้ยง ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานีบิดชื่อนายสุ ทองคำวัน มารดาชื่อ นางสี ทองคำวัน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๕ คน
๑.นายจันทร์ ทองคำวัน
๒.นางก่าน ทองคำวัน
๓.นางเหลือง ทองคำวัน
๔.นาบป้อง ทองคำวัน
๕.นายลัด ทองคำวัน (หลวงปู่ลัด ฐิตธัมโม)
เกิดในครอบครัวที่มีอาชีพเกษตรกรรม อุปนิสัยซื่อตรง เรียบร้อย พูดน้อยมาแต่เด็ก มีนิสัยคล้ายผู้หญิง และได้อยู่คลุกคลีกับผู้หญิงเป็นส่วนมาก จึงทำให้นายลัดฝึกหัดงานหัตถกรรมของผู้หญิงจนถนัดมือ เช่นงานทอผ้า เก็บขิด เก็บลาย ทำผ้าไหมมัดหมี่ งานถักทอเป็นต้น เพราะในยุคสมัยนั้นคนส่วนใหญ่ทำผ้าใช้เอง นายลัดฝึกหัดทำจนถนัดมือ ในงานหัตถกรรมด้านถักทอ จนลือชื่อเป็นที่ยอมรับของคนในหมู่บ้าน จึงทำให้หลายๆคนต้องมาเรียนรู้และศึกษาด้วย
ใช้ชีวิตในเพศฆราวาส วัยหนุ่ม ได้รับการบอกเล่าจากหลายๆคนว่า นายลัดไม่ได้แต่งงานใช้ชีวิตสมรสกับผู้ใด จนถึงวัยเกณฑ์ทหาร จึงต้องเข้ารับการคัดเลือก ด้วยเหตุตามประเพณีนิยมที่ชายไทยต้องผ่านการเกณฑ์ทหาร ถ้าไม่ได้รับคัดเลือกเป็นทหาร ก็ต้องออกบวชทดแทนพระคุณพ่อแม่ ถ้าไม่เช่นนั้น ก็แต่งงานใช้ชีวิตแบบฆราวาสวิสัย ผ่านวัยเกรฑืทหารมานานถึง ๓ ปี มีเหตุทำให้นายลัด ออกบวช ในปีนั้นคือ มีอยู่วันหนึ่งนายลัดปั่นฝ้าย เข็นฝ้าย ไม่ทันกับความต้องการของแม่ จึงถูกตำหนิ ดุด่า ทำให้นายลัดเกิดอาการน้อยใจ จนทำให้ลั่นวาจาออกมาว่า จะหนีไปบวช
ข้อมูลประวัติการบรรพชา/อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๓ ปี วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๔๗๘ สถานที่บรรพชาอุปสมบท วัดบ้านหว้าน ต.สำโรง อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี โดยมีพระอธิการทา สิริภัทโท เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ลุน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ฐิตธัมโม แปลว่า ผู้มีธรรมตั้งมั่นแล้ว สังกัดวัดบ้านน้ำเกลี้ยง ต.หนองไฮ อ.สำโรง จ.อุบลราชธานี และพำนักอยู่วัดบ้านน้ำเกลี้ยงเป็นเวลา ๔ พรรษา จากนั้นย้ายไปจำพรรษาที่วัดบ้านหนองเหล็ก และเป็นเจ้าอาวาสที่นั่นนาน รวมประมาณ ๓๑ พรรษา
ชีวิตสมณะ และการแสวงหาธรรมบันทึกจากคำบอกเล่าของหลวงปู่สี สิริญาโณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีมงคล หลวงปู่สีเล่าว่า ท่านรู้จักกับหลวงปู่ลัด เมื่อครั้งอยู่วัดบ้านด้วยกันมานานหลายปี และเคยได้ไปเทศน์งานทำบุญพระเวสสันดร เทศน์ชาดก ตามวัดต่างๆด้วยกัน ซึ่งเป็นธรรมเนียมทางภาคอีสาน ผ่านมาหลายๆปี หลวงปู่สี ได้ออกปฎิบัติที่วัดหนองป่าพงก่อน เพราะได้ยินกิตติศัพท์หลวงพ่อชาว่า เป็นพระปฏิบัติดี มีคุณธรรมสูง จนเป้นที่กล่าวขานทางสายวัดป่า ฝ่ายอรัญวาสี ดังนั้นหลวงปู่สี จึงได้ไปปฏิบัติที่วัดหนองป่าพง ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อชา สุภัทโท ปีแรกนั้นไม่ได้อยู่เพราะกุฏิที่พักวัดหนองป่าพงนั้นเต็มไม่เพียงพอ หลวงปู่สีจึงรอถึงปีที่สองจึงเข้าไปวัดหนองป่าพงอีกครั้ง และพักอยู่เป้นเวลา ๒ ปี ท่านระลึกถึงสหธรรมิกที่เคยรู้จักกัน คือ หลวงปู่ลัด พอนึกถึงก็เกิดความสงสาร จึงได้ชักชวนออกไปปฏิบัติด้วยกัน ท่านเล่าว่า?หลวงปู่ลัดเป็นคนซื่อจริงๆ(ญาท่านลัดนั้นเพิ่นเป็นคนซื่อๆซื่ออีหลี)? แต่บวชมานานแล้วยังเลื่อนลอย ไม่ได้ฝึกหัดขัดเกลานิสัย เพราะไม่มีผู้อบรมแนะนำพาปฏิบัติ แต่ถ้ามีผู้ชี้แนะและนำพาในการปฏิบัติ หลวงปู่นั้น ก็มีโอกาสสามารถที่จะเข้าสู่ภูมิธรรม อันสูงยิ่งๆขึ้นไปได้ ดังนั้นหลวงปู่สี จึงได้ชักชวนนำหลวงปู่ลัด เข้ามาฝึกในภาคปกิบัติที่วัดหนองป่าพง และพาปฏิบัติออกธุดงค์ เป็นครั้งคราว ที่หลวงพ่อชา ส่งให้ไปพักตามวัดสาขา
หลักธรรมคำสอนของหลวงปู่ลัดหลวงปู่ลัด เป็นบุคคลที่มีการเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การขบฉัน/ดื่มกินหลับนอน จำวัดพักอาศัย เช่นจำวัดในศาลา ที่ประกอบกิจกรรมส่วนรวม สวดมนต์ทำวัตร ถ้ามีกุฏิ ก็เป็นกุฏิไม้ไผ่แบบเรียบง่าย การสอนของหลวงปู่คือ การทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นก็สัมผัสได้ จากคำบอกเล่าของพระหลายๆรูป ที่ได้ใกล้ชิดหลวงปู่ เมื่อคราวมีกิจกรรมงานปฏิบัติธรรมประจำปีวัดหนองป่าพง หรือวัดสาขาต่างๆมีการจัดปฏิบัติธรรมสวดมนต์ทำวัตร นั่งสมาธิฟังธรรมตลอดคืน ถือเนสัชชิก ในการนั่งหลวงปู่ท่านทำให้ดู อยู่ให้เห็น โดยการนั่งบนอาสนะนั้น ส่วนมากพระเณรฟังธรรมจบแต่ละกัณฑืก็จะลุกออกไปเดินเปลี่ยนอิริยาบถ ไปหนักเบาเข้าห้องน้ำ แต่หลวงปู่ท่านจะไม่ลุกจากอาสนะเลย จนกว่าจะได้เวลากราบพระเลิก จึงลุกออกจากที่นั่ง ข้อนี้เป็นแบบอย่างที่ดีถึงความอดทนขององค์หลวงปู่ที่ทำเป็นแบบอย่างให้พระลูกพระหลานได้เห็น
เกร็ดประวัติหลวงปู่จากคำบอกเล่าของผู้ใกล้ชิดพระอาจารย์อเนกเล่าว่า เมื่อครั้งหลวงพ่อชายังดำรงขันธ์อยู่ ท่านได้ไปเยี่ยมวัดป่าวนโพธิญาณ(วัดเขื่อนสิรินธร) สมัยนั้นพระที่พักจำพรรษาด้วยกันมี ๑.หลวงปู่สี สิริญาโณ ๒.หลวงปู่ลัด ๓.พระอาจารย์เรืองฤทธิ์ จันทสโร ๔.พระอาจารยือเนก ยสทินโน เมื่อหลวงปู่ชาพบปะกับลูกศิษย์แล้ว คณะศิ๋ษย์ทั้งหมดได้กราบลาหลวงพ่อชาๆได้ถามหลวงปู่ลัดว่า(ญาพ่อท่านลัดสบายดีอยู่บ้อ)หลวงปู่ลัดสบายดีมั้ย หลวงปู่ลัดก็ตอบว่า ?สบายดีอยู่ข้าน้อย?(สบายดีอยู่ครับ) หลวงปู่ก็ได้พูกคุยกับทุกคนต่อไปว่า(เออ ญาพ่อท่านลัดนี่ ถ้าเป็นกล้วยก็เป็นกล้วยสุกเขียวเด้อ)
ครั้งนึงที่หลวงปู่ลัดและพระอาจารย์อเนก เดินไปบิณฑบาตด้วยกันที่บ้านห้วยสำราญ เห็นหลวงปู่ลัดเดินสะดุดก้อนหินจนหัวแม่เท้าหวิ่น เป็นแผลมีเลือดไหลไม่หยุด พระอาจารย์อเนกเลยถามท่านไปว่า ?เป็นยังไงหลวงปู่ ทำไมไม่เห็นร้องว่าเจ็บปวด และเป็นอะไร? ?เจ็บบ้างมั้ย?? หลวงปู่ลัดตอบว่า ?รู้อยู่ เจ็บอยู่ แต่ถึงพูดไป มันก็ไม่ช่วยให้หายเจ็บปวด อะไรหรอก? พระอาจารย์อเนกจึงต้องยอมให้กับความอดทน อดกลั้นของหลวงปู่ และความวางเฉยเป็นปกติธรรมดา ท่านเป็นบุคคลตัวอย่างที่ดี ที่ได้พบเห็น พระอาจารย์อเนกได้ให้ชื่อท่านว่า ?หลวงปู่บุญเย็น? ซึ่งมีความหมายว่าได้พบก็เป็นบุญและเมื่อได้เห็นแล้วก็เย็นใจ
หลวงพ่อคำ นิสโสโก แห่งวัดป่าไทยพัฒนาได้เทศนาและกล่าวถึงหลวงปู่ลัดว่า หลวงปู่มีนิสัยเหมือนพระปัจจเจกพุทธเจ้า รู้ธรรมเห็นธรรมเฉพาะตน แต่ไม่สันทัดจัดเจนในการถ่ายทอดธรรมะให้กับบุคคลอื่นได้ เป็นพระผู้เฒ่าโบราณซื่อๆ พูดน้อย ถ้าได้รับการนิมนต์ให้เทศน์ ก็พูดเพียงสั้นๆว่า?ให้พากันเฮ็ดเอา ทำเอา?(ให้พากันประพฤติปฏิบัติเอานะ) มีครั้งนึงในพรรษาหลวงปู่ฉันเจ ญาติโยมก็พากันต้มแต่ยอดผักติ้วใส่เกลือให้หลวงปู่ฉันทั้งพรรษา กับข้าวเหนียว จนร่างกายท่านซูบผอม อิดโรยไม่มีเรี่ยวแรง เพราะชาวบ้านไม่สันทัดในเรื่องอาหารเจ แต่ท่านก็ฉันได้ โดยไม่ปริปากบ่นแต่อย่างใดเลย จนทำให้ผู้ที่พบเห็นต่างสงสารหลวงปู่ และซาบซึ้งในภูมิธรรมของท่าน เป็นแบบอย่างที่ทรงคุณค่าต่อผู้พบเห็น และได้สัมผัสใกล้ชิด
ประวัติการจำพรรษาปีพ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๑ จำพรรษาที่บ้านน้ำเกลี้ยง
ปีพ.ศ. ๒๔๘๒-๒๕๑๒ จำพรรษาที่บ้านหนองเหล็ก
ปีพ.ศ. ๒๕๑๓-๒๕๑๔ จำพรรษาที่วัดหนองป่าพง
ปีพ.ศ. ๒๕๑๔-๒๕๑๕ จำพรรษาที่วัดป่าวนโพธิญาณ(วัดเขื่อน)
ปีพ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖ จำพรรษที่วัดคำชะอี
ปีพ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๒๐ จำพรรษาที่วัดป่ารัตนโพธิ์ศรี(วัดป่าดงหอย)
ปีพ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๔๔ จำพรรษาที่วัดป่านาเกษม
หลวงปู่ชาท่านมอบหมายให้หลวงปู่ลัด ไปเป็นประธานสงฆ์เจ้าอาวาสครั้งแรก ที่วัดป่ารัตนโพธิ์ศรี(วัดป่าดงหอย) เป็นเวลา ๓ ปี ก็มีญาติโยมทางบ้านนาเกษม ไปพบหลวงปู่ชา เพื่อมอบถวายวัดบ้านนาเกษมให้แด่หลวงปู่ชา และนิมนต์หลวงปู่ลัด จากหลวงปู่ชาที่วัดหนองป่าพง ให้มาเป็นเจ้าอาวาส ที่วัดบ้านนาเกษม เมื่อหลวงปู่ลัดได้มาเป็นเจ้าอาวาสในปีต่อมา จึงได้ยกวัดบ้านนาเกษมขึ้นเป็นสาขาวัดหนองป่าพงที่ ๕๖ เป็นวัดป่านาเกษม
ข้อมูลประวัติการอาพาธ/มรณภาพเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๒ หลวงปู่มีโรคประจำตัวครั้งแรก คือต่อมลูกหมากโตและโรคลำไส้อักเสบจนได้รับการผ่าตัด เพื่อป้องกันการติดเชื้อ จึงได้ตัดลำไส้ออกและต่อใหม่ แต่บาดแผลไม่หายสนิท นานวันเข้า จึงมีโรคแทรกซ้อน โดยสันนิษฐานว่า น่าจะเป็นโรคมะเร็ง ตั้งแต่ครั้งนั้นเป็นต้นมา เริ่มมีอาการป่วยและทรุดหนักลงมาเป็นลำดับ ได้รับการรักษาครั้งแรก โดยคณะศิษย์ได้นำไปรักษาพยาบาลที่วัดหนองป่าพง เพื่อบำบัดรักษาขั้นพื้นฐาน แต่ยังไม่หายขาด
เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๔ เริ่มมีอาการหนักรุนแรงอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๔ คณะศิษยานุศิษย์ ก็ได้รบเร้าให้เข้าไปรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานีอีกครั้ง หลวงปู่ก็อนุญาตให้คณะศิษย์นำส่งโรงพยาบาล ให้หมอตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด ซึ่งหลวงปู่ก็รู้แล้วในอาการป่วยของท่าน จนท่านพูดออกมาว่า ?ถึงเอาไปก็ไม่หาย? จากการที่หมอตรวจเสร็จรู้ผลทางการแพทย์แล้วจึงให้คณะศิษย์นำหลวงปู่กลับวัด เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๔เวลา ๐๕.๑๕ น. หลวงปู่ก็ได้ทิ้งขันธ์กลับคืนสู่ธรรมชาติเดิม รวมอายุ ๘๙ ปี ๖๗ พรรษา