ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ห้องเวทย์วิทยาคมและสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติ => เรื่องลึกลับเหนือธรรมชาติ(โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน) => ข้อความที่เริ่มโดย: MaiUbon ที่ 24 พฤศจิกายน 2554, 13:13:43



หัวข้อ: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 24 พฤศจิกายน 2554, 13:13:43
หมากทุย ดีทางแคล้วคลาด คงกระพัน และมหาอุด

         ในตำรับเครื่องรางของขลังไทยนั้น  ท่านได้บอกไว้ประการหนึ่งว่า  อันต้นไม้ใดก็ดีที่อยู่ดี ๆ ก็มีอันเป็นยืนตายแห้งทั้ง ๆ ที่ผืนดินก็อุดมสมบูรณ์ดีไม่มีวี่แววแห่งโรคต้นไม้นั่นแหละเรียกกันว่า  ?ต้นไม้ตายพราย?  จะเป็นหมากตายพราย  มะยมตายพราย  หรือไม้ไผ่ไม้รวกตายพรายก็เหมือนกัน  นำเอาชิ้นส่วนของมันมาทำเครื่องรางของขลังได้อย่าทิ้งให้เปล่าประโยชน์ไป ที่ไม่เข้าหลักก็มีเพียงกล้วยตานี้ตายพรายเท่านั้น  ที่เขาไม่ค่อยจะนิยมเพราะถือว่าเป็นอวมงคล  เหมือนคนออกลูกตายทั้งกลมนั่นแหละ

        พูดถึงต้นหมากนั้นตามปกติตายยากจะมีอายุยืน  ที่จะตายได้ก็มีเพียงน้ำท่วมขังนาน ๆ  หรือไม่ก็ถูกลมพัดหักกลางต้นอันนี้ตายแน่นอน  แต่ถ้าหมากนั้นอยู่ดี ๆ ก็ตายแห้งกรอบเหลืองทั้ง ๆ ที่จั่นติดลูกดกพราว  หมากนั้นเป็น  ?หมากตายพราย?  ให้นำมาทำเครื่องรางที่เรียกว่า  ?หมากทุย?  และหมากทุยนั้นก็คือเครื่องรางที่เกิดจากการเอาลูกหมากตายพรายขนาดย่อมมาประกอบพิธีซึ่งยุ่งยากพอสมควร  จึงทำได้ยากและต้องอาศัยฝีมือของท่านพระอาจารย์ทำเป็นหลัก

        เท่าที่ได้สำรวจในแวดวงนักนิยมสะสมเครื่องรางของขลังนั้น  จะมีเพียงสองสำนักที่ได้รับความนิยมสูงและแพร่หลายได้แก่ของสำนักวัดหนัง  บางขุนเทียน  โดยท่านเจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถระ  (เอี่ยม)  อดีตเจ้าอาวาสและอีกสำหนักหนึ่งคือ  หลวงพ่อทอง  วัดดอนสะท้อน   แต่สำนักหลังนี้จะมีอายุการสร้างหลังกว่าของวัดหนัง  บางขุนเทียน

       ท่านเจ้าคุณเฒ่านั้นท่านเป็นพระเถระที่ประกอบไปด้วยอำนาจจิตอันสูงส่ง  เดิมทีท่านเป็นพระอธิการธรรมดา ๆ ทว่าท่านมีอภินิหารในพระเครื่องรางมากมาย  จนกระทั่งเล่าลือไปถึงพระบรมมหาราชวัง  ขุนน้ำขุนนางและเชื้อพระวงศ์ต่าง ๆ ได้เดินทางมาขอพระเครื่องรางของท่านไปใช้เป็นอันมาก  แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ได้ทราบเสด็จเป็นการส่งนพระองค์ไปนมัสการท่านเจ้าคุณเฒ่าที่วัดหนัง

       ดังนั้นเมื่อท่าเจ้าคุณเฒ่า  วัดหนัง ได้มีโอกาสรับเสด็จพระพุทธเจ้าหลวงอีกครั้งพระคุณท่านก็ได้รับการถวายจีวรแพร  และสิ่งอื่น ๆ ด้วยที่ทรงซื้อมาจากฝรั่งเศสพร้อมกับพระราชทานสมณศักดิ์ให้เป็นพระราชาคณะที่เจ้าคุณพระภาวนาโกศลเถระ ตั้งแต่นั้นมา

       การสร้างหมากทุยนั้น ประการแรกท่านจะให้ศิษย์ไปขึ้นต้นหมาก  เพื่อเอาลูกหมากที่ตายพรายลงมา  และลูกหมากนั้นจะต้องเป็นลูกหมากอ่อนที่มีขนาดเล็กพอเหมาะ  ส่วนการจะขึ้นไปนั้นท่านจะสอนคาถาภาวนาให้  เมื่อเวลาขึ้นต้นหมากก็ต้องภาวนาทุกช่วงเวลาไต่  ครั้นพอถึงแล้วก็ไม่ให้เอามือเด็ดแต่ให้ใช้ปากคาบแล้วดึงจนลูกหมากขาดแล้วเวลาคาบไว้ในปากพร้อมกับภาวนาคาถากำกับทุกช่วงไปการขึ้นครั้งหนึ่งจะได้ไม่กี่ลูกเท่านั้น
เมื่อได้ลูกหมากตายพรายมาแล้วก็เปิดจุกด้านบนคว้าเอาเนื้อหมากด้านในออกให้หมด  จากนั้นจึงเอาเม็ดพระธาตุ  (หรือถ้าไม่มีก็เอากระดาษสาลงพระนามพระพุทธเจ้าด้วยอักขระแทน)  เมื่อทำการปลุกเสกแล้วก็บรรจุไปด้านในแทนให้เต็ม  จากนั้นก็เอาชันโรงใต้ดินมาอุดปิดทับด้านบนให้แน่น  เพื่อป้องกันความชื้นและพวกตัวแมลง

       การปลุกเสกกำกับด้วยพลังจิต  จนเกิดอุดมนิมิต  เป็นว่าลูกหมากนั้นลุกขึ้นตั้งได้เอง  จึงถอนจิตแล้วนำไปถักเชือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งแล้วลงรักเคลือบผิว  ทำห่วงด้านบนเพื่อใช้สำหรับคล้องคอ  เพราะภายในได้บรรจุพระนามพระพุทธเจ้าสำคัญ ๆ ไว้  จึงไม่สมควรจะนำมาคาดเอว  หรือห้อยพวงกุญแจ  เป็นสิ่งที่ไม่ควรอย่างยิ่งทีเดียว
 
       อานุภาพการใช้ได้กล่าวไว้ว่าเมื่อนำติดตัวจะช่วยป้องกันทางด้านมหาอุด  คงกระพัน  แคล้วคลาด  และยังป้องกันภูตผีปีศาจ  เมื่อมีสิ่งนี้พยายามหมั่นปลูกเสกกำกับด้วยคาถาพระเจ้าห้าพระองค์ว่า  ?นะโมพุทธายะ?  อยู่เสมอ ๆ

       หลักการดูหมากทุย  ประการแรกให้ดูลักษณะภายนอกก่อนว่าจะต้องมีลักษณะป้อมตัวโตเรียวมาทางก้น  คล้ายกับลูกหมาก  แม้จะถักหุ้มก็ยังคงมีลักษณะเค้าให้เห็นถ้ากลมอาจจะเป็นลูกอมผงวิเศษที่ถักหุ้ม  ซึ่งมีราคาถูกกว่าหมากทุย  ประการที่สองให้ดูรักที่ลงเอาไว้จะต้องแห้งสนิทห่วงด้านบนมีทั้งสองห่วง  ทองแดงถักเชื่อมกับเชือกและที่เป็นห่วงเชือกถักในตัว  ขนาดไม่เป็นมาตรฐานแต่ไม่ใหญ่มากเท่ากับลูกหมากดิบธรรมดาทั่วไป  ส่วนลายถักเป็นเครื่องสังเกตอีกประการหนึ่ง  สำหรับในรายที่ใช้จนเชือกถักขาดหมด  จะเห็นเนื้อในเป็นผิวหมากแห้งเหี่ยวไม่สด  ชันโรงที่ปิดจะแห้งไม่เปียกเยิ้ม  ส่วนของเทียมนั้นจะสดและใหม่กว่าเห็นได้ชัด  รูปที่นำมาประกอบเรื่องเป็นภาพของแท้จากวัดหนังทั้งสิ้น
 
การอารธนาใช้วิธีดังนี้
 
         ตั้งนะโมสามจบและระลึกคุณพระศรีรัตนตรัย  คุณบิดามารดา  ครูบาอาจารย์  และเรียกชื่อผู้เป็นเจ้าของหมากทุยที่ท่านนับถืออยู่เป็นที่สุด  แล้วใช้คาถามงกุฎเพชร  พระพุทธเจ้า  จากนั้นหนุนด้วยคาถามหาอุดดังนี้
 
         ?นะอุด  โมอัด  พฺทยัด  ธาปิด  ยะมิดชิดปิดปากกระบอก  นะ  พุทธผัดผิด  ปิดด้วยนะโมพุทธายะ?




ข้อมูล http://www.itti-patihan.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A2-%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87-%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%A2.html


หัวข้อ: Re: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: หนองเหล่า ที่ 24 พฤศจิกายน 2554, 22:31:31
เยี่ยมครับ ข้อมูลนี้ดีนักแล 017


หัวข้อ: Re: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: 0000 ที่ 24 ธันวาคม 2554, 23:36:56
หมากทุย วัดหนัง นะครับ  ข้างในบรรจุกระดาษสา พร้อมกับยันต์ นะ ทรหด  ลูกหมากต้องเล็กครับ ของแท้เล็กกว่าเเหรียญบาท เคยสร้างสองครั้ง คือ  สมัยหลวงปู่เอี่ยม สร้างโดยลุงถม เป็นผู้ปีนต้นหมาก คาบมาได้ครั้งละ 1 ลูก    สมัยที่สองคือ เจ้าคุณผลสร้าง  หมากทุยถือว่า เป็นสุดยอดแห่งเครื่องราง ติดอันดับเบญจภาคีเครื่องราง.. ของแท้มีน้อยมาก  ผมเคยท้าผ่าหมากทุยประมาณ 18 ครั้ง เก๊หมดทุกครั้ง.


หัวข้อ: Re: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: 0000 ที่ 06 มกราคม 2555, 08:51:01
นี่คือ ภาพหมากทุยแท้  ของเจ้าอาวาสวัดหนัง นะครับ
องค์ขนาดเล็กกว่าเหรียญบาท องค์ไม่ได้ถักเรียกว่า หมากทุยเปลือยทาทองไว้ ตั้งแต่สมัยหลวงปู่เอี่ยม  ส่วนองค์ถักเชือก เป็นหมากเก่าแต่ถักเชือกใหม่เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้ว เป็นของ นายทหารคนหนึ่งลูกของลุงถม ทองอู๋ ผู้ที่เป็นคนปีนไปเอาหมากให้หลวงปู่

(http://image.free.in.th/z/ib/ws622.jpg) (http://pic.free.in.th/id/bb464eee8dabb0de4a1259bdc4aab48e)


หัวข้อ: Re: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: เสี่ยขุหลุศิษย์บ้านแก้ง ที่ 06 มกราคม 2555, 08:58:03
เยี่ยมคับ  017 017 017 017 017 017 017


หัวข้อ: Re: ตำนานการสร้าง หมากทุย ...
เริ่มหัวข้อโดย: MaiUbon ที่ 06 มกราคม 2555, 13:11:39
ขอบคุณครับ  007