PN3
|
|
« เมื่อ: 27 สิงหาคม 2555, 18:47:34 » |
|
เหรียญปั๊มพระซาคำแดงรุ่นแรก (เนื้อทองแดง)
พระซาคำแดง พระเกจิลาวที่ผู้คนชาวลาวและไทยให้ความศรัทธาสูงมาก
สร้างปีค.ศ.1970 ตรงกับพ.ศ. 2513
ด้านหน้าขวาของเหรียญเป็นปี ค.ศ. 1970 ด้านซ้ายของเหรียญเป็น พ.ศ.2513
โดยเขียนเป็นตัวอักษรและตัวเลขลาว
สำหรับเหรียญทองแดงที่พบมีรมน้ำตาลและรมดำ
(สร้างทั้งหมดหลายเนื้อเช่น ฝาบาตร ทองแดงรมดำ รมน้ำตาล กะหลั่ยเงิน) สำหรับเหรียญเนื้อทองแดงรมน้ำตาลที่ลงโชว์นี้เป็นบล็อคนิยม(บล็อคแรกสุด)
หมายเหตุ : ภาษาลาวออกเสียงตัว ช เป็นเสียง ซ ดังนั้น คำว่า"ชา"จึงอ่านว่า"ซา"
|
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 สิงหาคม 2555, 20:01:21 » |
|
มนต์เรียกพระนี่ท่านอาจารย์ยังไร้เทียมทานครับ
|
PN3, deknoy
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2556, 20:27:54 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
Thaza
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 กันยายน 2555, 19:26:23 » |
|
เหรียญนี้หละครับ ที่ ผมตามเก็บไม่ทัน บล๊อกแรกตัวจริง
|
PN3, deknoy
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2556, 20:28:16 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2555, 22:18:19 » |
|
รอพบกับ.................
ประวัติพระซาคำแดง โดย พันตำรวจเอกเกียรติศักดิ์ กอมณี (เหลนพระอาจารย์สำเร็จลุน) เร็วๆ นี้
สืบเนื่องจาก ความพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะเสาะหาประวัติพระซาคำแดง ซึ่งถูกนำเสนอในหลากหลายข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างน่ากังขา (บางข้อมูลว่าท่านมรณะปี 2513 บ้างว่าหลังปี 2513 บ้างให้ข้อมูลอย่างน่าเหลือเชื่อว่าปัจจุบันท่านยังมีชีวิตอยู่.....สรุปไม่ได้แน่ชัด...และไม่ปรากฏข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวหลวงพ่อจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ) บังเอิญวันนี้ได้พบกับลูกศิษย์ตัวจริงของหลวงพ่อที่เคยฝากตัวเป็นลูกศิษย์ในปี พ.ศ 2517 ซึ่งเป็นเพื่อนสนิทของ PN3 ที่เคยเรียนร่วมกันในชั้นมัธยมฯ(รั้วเขียว-แดง ห้องคิง) ก่อนที่จะพบกับประวัติหลวงพ่อที่เป็นลายลักษณ์อักษร (ปัจจุบันอยู่หิ้งพระบ้านผู้พัน...ผมยังไม่มีเวลาไปนำมานำเสนอที่นี่ ...คงไม่เกินปี 2555...อีกไม่กี่วันก็ปี 2556 แล้ว....กรุณาอดใจรอ....) ท่านเปิดไฟเขียวให้ผมนำมาลงในเว็ปนี้ได้ทุกเมื่อ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ท่านเกริ่นว่า สมัยปี 2517 คุณพ่อของท่านผู้พัน(คนบ้านด่าน ปัจจุบันเรียกว่า โขงเจียม) ต้องการให้ผู้พันซึ่งขณะนั้นเรียนอยู่ชั้นมัธยมฯในเมืองอุบล (เบ็ญฯ) โตขึ้นเป็นทหาร จึงเสาะหาพระอาจารย์ทางฝั่งลาวที่มีความขมังเวทย์ที่สุด ซึ่งในขณะนั้นที่โด่งดังมากแถบนั้นคือ พระซาคำแดง จึงเดินทางไปที่ วัดท่าหมากเห็บ หรือ วัดบ้านห้วยแม่สังข์ ได้ขอฝากตัวเป็นลูกศิษย์ และอยู่ที่วัดนั้น 2 สัปดาห์ หลวงพ่อลงเหล็กจารที่ศรีษะนาน และค่อนข้างเจ็บมาก ปัจจุบันท่านยังเก็บลูกประคำ 108 เม็ด ที่ทำจากคราบไคลพระพุทธรูปหลายองค์ผสมแก่นมะขาม ที่เณรซึ่งเป็นลูกศิษย์พระซาคำแดงมอบตั้งแต่ปีนั้นไว้ที่หิ้งพระที่บ้าน (ไม่เปิดเผยพิกัดบ้านนะครับ...อันตราย....) ท่านผู้พันเล่าต่อว่า หลวงพ่อในขณะนั้นยังไม่แก่ (น่าจะไม่เกิน 50 ปี)(ท่านไม่ได้ถามอายุหลวงพ่อ) หลวงพ่อไม่ค่อยชอบพูด (ขรึม) ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่งที่ท่านจำได้ไม่ลืมคือ หลวงพ่อเอามือทำเป็นวงที่ดวงอาทิตย์ ร่ายมนต์เสร็จ แล้วให้ลูกศิษย์มองที่ดวงอาทิตย์ รู้สึกสบายตาเหมือนกับมองดวงจันทร์เลยที่เดียว มองนานเท่าไรก็ไม่เคืองตา (ปกติมองดวงอาทิตย์ตาเปล่านานๆ...ตาบอดแน่) ท่านผู้พันให้ผมไปเอาหนังสือเล่มเล็กที่พิมพ์ประวัติของพระซาคำแดง(มีรูปถ่ายหลวงพ่อด้วย)ที่บ้านได้ตลอดเวลา ระยะนี้งานมาก ทั้งสอน ทั้งงานเลี้ยงแทบทุกวัน(ทั้งChristmas ,New Year's Day) แฟนพันธุ์แท้คงต้องรอก่อน ถ้าได้ประวัติเล่มนั้นมา ต้องลงตีแผ่ที่นี่อย่างแน่นอน ...กรุณาใจเย็นๆครับ.....ไม่นานเกินรอ.........
|
|
|
|
deknoy
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 25 ธันวาคม 2555, 23:05:56 » |
|
รออ่านด้วยคนครับ
|
PN3
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤษภาคม 2556, 20:29:34 โดย PN3 »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
PN3
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 03 มกราคม 2556, 18:43:26 » |
|
มาตามนัด......
รูปถ่ายต้นแบบเหรียญพระซาคำแดง ยานนะวุทโท พร้อมลูกประคำ
(ส่วนหนังสือประวัติฉบับภาษาลาวเจ้าของค้นหาไม่เจอ.....ต้องขออภัยแฟนพันธุ์แท้อย่างสูงมา ณ ที่นี้)
หมายเหตุ : รูปถ่ายนี้ตัดจากหนังสือประวัติพระซาคำแดงฉบับภาษาลาว แล้วนำมาเข้ากรอบไว้บูชา
|
|
|
|
meaw
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 06 มกราคม 2556, 20:44:21 » |
|
คุณพ่อผมก็เป็นศิษย์ ท่านซาคำแดงครับ รูปของท่านครับ
|
|
|
|
meaw
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 06 มกราคม 2556, 20:48:58 » |
|
อีกรูปครับ
|
|
|
|
meaw
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 06 มกราคม 2556, 20:56:38 » |
|
เหรียญครับ โทษทีผมถ่ายรูปไม่เก่งครับ
|
|
|
|
meaw
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 06 มกราคม 2556, 21:04:08 » |
|
หลังครับ
|
|
|
|
meaw
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 06 มกราคม 2556, 21:09:53 » |
|
ตะกรุดของท่าน ซาคำแดงครับ พ่อเล่าว่า ตอนได้มาใหม่ๆเคยลองครับ ตัดต้นกล้วยออกครับ แล้วเอาตะกรุดไปวาง ปรากฎว่ากล้วยงอกขึ้นมาไม่ได้เลยครับ ซึ่งปรกติแค่ไมถึงชั่วโมงกล้วยจะแทงหน่ออ่อรๆออกมาแล้วครับ ประสบการณ์ทางคงกระพันสูงมากครับ ว่างๆผมจะเข้ามาเล่าประวัติท่านอีกครับ
|
|
|
|
Thaza
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2556, 18:58:15 » |
|
ก่อนตรุดจีนไปเทียวลาวมา และได้ขอมูลจากโยมอุปัฏฐาของพระที่เป็นลูกศิษย์ของพระซาคำแดง โยมท่านนี้บอกว่าหลวงพ่อซาคำแดง มรณะภาพ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๘ (หายสาบสูญ) หลังจากลาวแปลงแปลง และมีนโยบายกรวดล้างพระเถระองค์คำคัญๆในลาว เหรียญของท่านมี่สร้างด้วยกัน 3 รุ่น ที่ทันท่าน และใด้เอารูป หลวงพ่อซาคำแดง ที่อยู่ประเทศเขมร ให้แก่ดูว่าน่าจะใช้ท่านไหมแก่เลยเอารูปหลวงพ่อซาคำแดงที่แก่เก็บไว้บูชามาให้ดู(รูปเดียวกันกับที่เพยแพร่ใรเวปนี้หละรูปนังนับประคำ)แล้วบอกว่าซาคำแดงที่เขมรไม่ใช้องค์เดียวกันแน่ แก่แนะว่าให้ดูใต้คางด้านขวาของหลวงพ่อจะมีไฝอยู่แต่องค์ที่เขมร ไม่มีไฝครับ
|
|
|
|
tar
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2556, 00:46:56 » |
|
พระอาจารย์ซาคำแดง นอกจากท่านจะเป็นอาจารย์สายกรรมฐานผู้ทรงเวทวิทยาแล้ว ท่านยังเป็นอาจารย์สอนสมะถะกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานควบคู่กันและท่านยังสร้างวัดไว้หลายวัดครับ เช่น วัดโพนป่าเป้า วัดโพนทัน วัดพระธาตุฝุ่น รูปนี้หน้าตาท่านดูผ่องใสมาก สาธุๆ พระอาจารย์ชาคำแดง ท่านได้มรณะภาพปี 2519
พระอาจารย์ซาคำแดง เป็นพระนักปฏิบัติ สายวิปัสนากัมมัฏฐาน ปฏิบัติฌานเตโชธาตุ ตามประวัติเพิ่นคร่าวๆนั้น พระอาจารย์ได้เข้าคองวิปัสนาที่วัดพุทธวงศาป่าหลวง กับพระเดชพระคุณญาท่านมหาปาน อานันโท เป็นพระคองวิปัสนาแห่งราชอาณาจักรลาว พระอาจารย์ซาคำแดงได้พักอยู่ที่วัดพระธาตุหลวงเหนือ กับมหาสมเด็จอัครมหาบัณฑิต ลูกแก้ว (คูณ มณีวงศ์) พระสังฆนายก แห่งอาณาจักรลาว
หลังจากนั้นได้ออกปลีกวิเวก ปฏิบัติวิปัสนากัมมัฏฐาน ที่ภูเขาควายสำเร็จฌานขั้นหนึ่ง แล้วได้ลงไปอยู่บ้านท่าหมากเห็บ เมืองนาคะบุรี แขวงสีทันดอน สร้างวัดที่นั้น และได้ออก สืบต่อแสวงทางธรรม ที่ถ้ำแก้วธรรมฤทธิ์ ภูสาระแพดอนแร่ ได้สำเร็จธรรมขั้นสูงอยู่ที่นั่น กล่าวว่าฌานที่ท่านสำเร็จนั้น ชื่อว่าเตโชธาตุ คือสามารถแปลงกาย หายตัวได้ เป็นผู้มีฤทธิ์ และตอนนั้นแหละที่ท่านมีชื่อเสียงสมณะศักดิ์ ตอนนั้นแค่เพียงซา คนจึงเรียกท่านว่าพระอารย์ซาคำแดง แต่ความจริงหลังจากนั้นเลื่อนสมณะศักดิ์เป็นพระครู แต่คนก็ยังเรียกท่านอยู่อย่างนั้น ท่านได้เปิดสำนักวิปัสนากัมมัฏฐาน ที่วัดท่านหมากเห็บ มีพระสงฆ์สามเณร ประชาชน ญาติโยมไม่เว้นระดับเจ้านาย ไปปฏิบัติอยู่กับท่านมากมาย
ลูกศิษย์ท่านที่ถือว่าปฏิบัติตามเจตนารมย์ของท่าน เช่น - พระ อาจารย์ซาใส สึกเมื่อปี 2525 ยังมีชีวิตอยู่ และบำเพ็ญธรรมเหมือนกับพระสงฆ์อยู่ - พระอาจารย์ซาสุด บ้านดอนส้มโฮง ยังมีชีวิตอยู่ สึกเมื่อปี 2519 แต่ก็ยังปฏิบัติธรรมตามรอยพระอาจารย์อยู่ - พระอาจารย์ซาโหง่น ปัจจุบันอยู่วัดหนองด้วง เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก (มรณะำภาพแล้วเมื่อ 5 ตุลา 2555) - ส่วนลูกศิษย์ที่ไปเรียนนำเพิ่น ที่เป็นพ่อออกนั้น มีอยู่หลายท่าน แต่ที่รู้ประวัติ เช่นท่านนายครูพันอยู่สีพันดอน แต่ย้ายอยู่เวียงจันทร์ บ้านสะพานทอง - ลูกศิษย์อีกท่านหนึ่ง ที่เป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์ซาคำแดง ที่เรียนในสมัยยังเป็นพ่อออก ภายหลังได้บวชคือพระอาจารย์พ่อเฒ่าสิงห์ บ้านดอนรีน้อย แขวงจำปาสัก ได้มรณะภาพแล้วปี 2536 - อีกคนลูกศิษย์พระอาจารย์ซาคำแดงโดยตรง ทั้งยังเป็นลูกศิษย์ของท่านมหาปาน อะนันโท ที่เรียนกับพระอาจารย์ซาคำแดงโดยตรง ตอนเป็นพ่อออก คืออาจารย์พ่อเฒ่าสี ปัจจุบันอยู่วัดหาดทรายคูณนอก ได้เรียนตอนเป็นพ่อออกและในที่สุดก็ออกบวชทั้งผัวทั้งเมีย ชื่อว่าแม่ขาวแดง ตอนยังหนุ่มต้องมาประจำอยู่ที่วัดสีสังวร แต่ปัจจุบันอยู่วัดภูกิ่งแก้ว
ลูกศิษย์ที่กล่าวมานั้น ถือว่าเป็นศิษย์เอก ของพระอาจารย์ซาคำแดง ส่วนที่เป็นพระสงฆ์นั้น ศิษย์เอกของเพิ่นนั้น จะเรียกคำนำหน้าว่า (ซา) หมดทุกองค์ ด้วยเหตุว่า พระอาจารย์เป็นเพียงซา ลูกศิษย์ถึงเป็นพระครูก็ตาม แต่บ่กล้าใช้สมณะศักดิ์เกินอาจารย์ ด้วยเหตุนั้น อาจารย์ทั้งสามที่กล่าวมา จึงมีชื่อทางสมณะศักดิ์เพียง(ซา) เท่านั้นจันดี สีเวินไซ เรียบเรียง ขออภัยภาษาลาวผมไม่แข็งแรง
|
|
|
|
tar
|
|
« ตอบ #13 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2556, 17:11:53 » |
|
ขออนุญาตประกอบส่วนบทความได้รู้เกี่ยวกับ สมณะศักดิ์ ของพระสงฆ์ นำกัน เมื่อได้บวชเป็นพระ (ครูบา) แล้วจึงจะถูกเรียกว่าพระมหา ส่วนคำว่า จัว ในภาษาลาวชาวเบ้านหมายถึง สามเณร หรือ เณร ทั่วไป แต่คำว่าราซา หรือ ซา นั้นเป็นคำยกย่องพิเศษ หรือที่เรียกว่า เป็นสมณะศักดิ์พิเศษ เพราะว่าตามธรรมดา สมณะศักดิ์ในล้านช้างในสมัยนี้ จะแต่งตั้งให้ได้แต่เมื่อได้บวชเป็นพระ (ครูบา) จึงถืก คือ
- ขั้นต้นของพระจะเป็น พระสมเด็จ (สมเด็จ) - ขั้นต่อไปจะเป็น "พระซา" (พระราชาคณะ) - ต่อมาเป็น "พระครู" - พระครูหลักคำ - พระลูกแก้ว - พระยอดแก้ว เบิ่งแล้วการขึ้นชั้นระหว่าง พระสงฆ์ไทยกับพระสงฆ์ลาวในสมัยนี้ จะเป็นการกลับกัน - พระครู - พระราชาคณะ - สมเด็จ
แต่พระครูโพนสะเม็กได้รับสมณะศักดิ์ตั้งแต่เป็นสามเณรแล้ว ยังข้ามชั้นจากสมเด็จไปเป็นซา *อ้างอิงตามหนังสือ ประวัติพระราชครูหลวง โพนสะเม็ก หน้าที่ 10-110 เขียนโดย คำเพา พอนแก้ว
เพิ่มเติม เกี่ยวกับลำดับขั้นสมณะศักดิ์ พระสงฆ์ของลาว
- พระสมเด็จ เป็นสมณะศักดิ์ขั้นหนึ่ง - พระซา เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสอง - พระครู เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสาม (สมณะศักดิ์ขั้นการศึกษา) - พระหลักคำ เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสี่ - พระลูกแก้ว เป็นสมณะศักดิ์ขั้นห้า - พระยอดแก้ว เป็นสมณะศักดิ์ขั้นหก (เป็นสมณะศักดิ์ ขั้นการปกครองนับตั้งแต่เจ้าคณะเมืองขึ้นไปฮอดสังฆราซา)
- ผู้ที่เป็นพระบ่ทันได้บวช เป็นพระสงฆ์ธรรมดา หากสึกไป เรียกว่าทิด (มาจากบัณฑิต) ส่วนสามเณรนั้นเรียกว่า จัว ใช้เรียกทั่วไปหากสึกไป - สามเณรที่ยังไม่ได้รับสมณะศักดิ์ แต่จะได้รับวุฒิที่ได้ แต่ไม่ได้รับขั้น พระบวชใหม่เช่นกัน ต้องบวช 3 ปีจนจบนักธรรมเอกแล้ว จึงจะได้ทิด แต่เดี๋ยวนี้ ประชาชาบ่รู้บวดหนึ่งพรรษา สองพรรษา บ่ทันพ้นนิสัยมุตะกะ ประชาชนก็เอิ้นทิดแล้ว
แปลและเรียบเรียง จันดี สีเวินไซ (tar)
|
|
|
|
tar
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 17 ธันวาคม 2556, 18:43:34 » |
|
เหรียญพระอาจารย์ใหญ่ซาคำแดง เท่าที่รู้ ได้ประสบพบพ่อ และได้ศึกษามา ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่ซาคำแดงยังมีชีวิตอยู่นั้น ลูกศิษย์ของเพิ่นได้สร้างเหรียญ ของเพิ่น ด้วยกันจำนวน 3 รุ่น มีการกล่าวกันว่า แต่ละรุ่นนั้นมีการสร้างหลวงหลาย แต่มีรุ่นหนึ่งมีการสร้าง 1000 เหรียญ
ในรุ่นนี้ (บ่รู้ว่ารุ่นได๋?) มีการกล่าวว่า พระอาจารย์ใหญ่ตั้งใจสร้าง จำนวน 1000 เหรียญ ตามเขาว่าเพิ่นได้อธิษฐานจิตแต่เพียง 1000 เหรียญ และขอให้เหรียญทุกเหรียญมีความศักดิสิทธิ์
การกดเหรียญ 2 เหรียญครั้งแรกแม่นเอาาฤกษ์โดยพระอาจารย์ใหญ่เอง ส่วนต่อมาให้ลูกศิษย์เป็น ผู้กดเรื่อยไปจนฮอด 1000 เหรียญแล้ว ลูกศิษย์บ่เลิกทำก็กดไปฮอด 1001 เหรียญ พอดีเบ้าหล่อ เหรียญแตกหมุ่นกระจายเลย
เหรียญพระอาจารย์ซาคำแดงนั้น แม่นนิยมมาตั้งแต่ชุมปี 1970 พศ. 2513 แล้ว สมัยยังน้อย ก่อนปลดปล่อยเคยเห็นหมู่เดียวกันแขวนคออยู่ เมื่อปลดปล่อยมาแล้ว ก็เห็นเด็กน้อยเขาแขวนเช่นกัน แต่เหรียญหล่อจนบ่เห็นรูป
เขากล่าวกันว่าเหรียญพระอาจารย์ซาคำแดงนี้ศักดิ์สิทธิ์ เด็กน้อยไข้ ผีเข้า เอามาแซ่น้ำให้กินกะเซาได้ ผีกะออกว่าซั่น แต่ผู้เขียนยังบ่ทันเคยลอง
ชาวบ้านข่อย (ดอนหนึ่งในเมืองโขง) อยู่ในแขวงจำปาสัก เป็นดอนหนึ่งที่มีชายแดนกับเขมร ชาวบ้านส่วนหนึ่งแม่นมีอาชีพค้าขายตั้งตึกตั้งเตียม เฮ็ดเส้น (ก๋วยเตี๋ยว ก๋วยจั๊บ) ชาวค้าขายเหล่านี้ ทั้งที่เป็นจีน และลาวมักจะไปเป็นลูกศิษย์พระอาจารย์ซาคำแดง
แต่ก็แปลกตรงที่ว่า พ่อของข่อยบ่เคยเห็นเพิ่น ไปหาพระอาจารย์ซาคำแดงเบน (หรือไปกะบ่ฮู้) หรือหากแม่นไปกะคงได้เหรียญมา เหรียญพระอาจารย์ซาคำแดง ดังที่บอกแล้ว มีการสร้างในสมัยเพิ่น 3 รุ่น แต่บ่รู้ว่าเริ่มในปีได๋ แต่เท่าที่ผู้เขียนเคยเป็นเจ้าของนั้น 2 เหรียญ ตั้งแต่เมื่อปี 2004 พศ 2547 ได้จากแม่ยก ที่ให้ไว้ แม่ยกของข้าพเจ้าบอกว่า ได้จากมือพระอาจารย์เอง ที่มหากุฎิวัดพระธาตุหลวงเหนือ พระอาจารย์ได้มาพักที่นั้น พ่อยก แม่ยก กับลูกของเพิ่น (เพิ่นมีลูกชายคนเดียว) ไปเยี่ยมพระอาจารย์ พระอาจารย์ใหญ่ก็ให้เพิ่น 3 เหรียญ หลังจากได้มาก็เอาไว้ฮ้านพระเลย เมื่อข้าพเจ้าไปเบิ่งฮ้านพระ พระเพิ่นเต็มแต่พระ แม่ยกก็ได้เอาเหรียญพระอาจารย์ซาให้ผู้เขียน 1 เหรียญ หลังจากนั้นเหรียญ ก็เสียไปหลายครั้ง จนมาฮอดปีใหม่สากล ผู้เขียนไปเมืองหลวง ปี 2006-2007 กลับมาก็บ่เห็นเหรียญ กลับมาก็บ่เห็นเหรียญ ก็นึกเสียดาย และยังคิดถึงเวลาไหว้พระก็มักจะนึกถึงเหรียญนั้น
แต่ปี 2005 เป็นต้นมามีคนเอาเหล็กจานมาให้ เป็นเหล็กจานแก่นไม้ขาม ที่ปลายเหล็กจานมีรูปพระพุทธรูป ต่อมาอีกมีคนเอาหมากตุ่มแทนมาให้ ก็ผูกใส่กันไว้ เวลานั่งสมาธิก็เอาหมากตุมแทนนั้นมานับกำหนดเสมอ ได้หลายปี แต่แปลกตรงที่ เวลาอธิษฐานจิต ก็มักจะนึกถึงเหรียญพระอาจารย์นั้นเสมอ แต่ละปีก็ได้จัดห้องพระ ใหม่ปีละ 3 ครั้ง คือ ออกพรรษา เข้าพรรษา และบุญปีใหม่
โปรดติดตาม จันดี สีเวินไซ (tar) แปลและเรียบเรียง
|
|
|
|
|