ประวัติศาสตร์เก่าน่าสนใจ ...วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:28:30 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติศาสตร์เก่าน่าสนใจ ...วัดป่าแสนสำราญ อ.วารินชำราบ  (อ่าน 16119 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
มีสติ ดูตัวเอง สอนตัวเอง ไม่ต้องสอนคนอื่น
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 808
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 639

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 20 : Exp 50%
HP: 0.1%



chanatip99@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2557, 08:53:39 »

วัดป่าแสนสำราญ

ตั้งอยู่ที่ ตำบลวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี


ประวัติวัดป่าแสนสำราญ เริ่มสร้างมาตั้งแต่วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ.๒๔๗๖ บรรดาคณะสัป

บุรุษทั้งหลายประจำวัดแสนสำราญแรกเริ่มเดิมทีแต่ก่อนยังไม่ได้สร้างเป็นวัดมีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ

ปิ่น เดินรุกขมูลเที่ยวธุดงค์มาจากอำเภอภูเขียวได้มาพักแรมอยู่ร่มไม้ใกล้กับสถานีรถไฟ

อุบลราชธานี นายเทศ ยิ่งยศกับนายสอน พนักงานห้ามล้อรถไฟอุบลฯ กับนายเพ็ง วิมลกลาง พ.ต.ร.

ได้เห็นแล้วก็อาราธนาให้ท่านมาพักอยู่โคนต้นไม้กระบกในป่าที่ว่างเปล่า ซึ่งเป็นพื้นที่วัดแสน

สำราญในปัจจุบัน เมื่อเวลาพระภิกษุจะหลีกไป ท่านก็แนะนำกับสัปบุรุษทั้งหลายว่า อาตมานี้มีอายุ

พรรษาน้อย ยังมีความรู้น้อยอยู่ ไม่สามารถจะสร้างเป็นวัดขอให้ญาติโยมทั้งหลายไปอาราธนาพระ

ผู้มีความรู้มากๆ และมีอายุพรรษามากๆ ทั้งสามารถเป็นเจ้าอาวาสได้มาจัดการก่อสร้างเป็นวัดเถิด

จึงจะถาวรมั่นคงรุ่งเรืองสืบต่อไปฯ ต่อจากนั้นบรรดาคณะสัปบุรษทั้งหลาย เมื่อได้ทราบว่าพระมหา

เสาร์และพระมหาสมบูรณ์ วัดบรมนิวาสพระนครได้แสวงหาที่วิเวกเที่ยวธุดงค์มาพักวิเวกอยู่บำเพ็ญ

สมณธรรมอยู่ที่เสนาสนะป่าใกล้บ้านโพธิ์ ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวาริชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จึง

ได้พร้อมใจกันไปอารธนาให้ท่านทั้งสองมาจัดการก่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์ขึ้น ท่านพระมหาเสาร์

และพระมหาสมบูรณ์ เมื่อได้รับอารธนาแล้วก็มีความเต็มใจ ได้มาบำเพ็ญสมณธรรมตามสมณวิสัย

โดยอาศัยรุกขมูลร่มไม้เป็นที่วิเวกอยู่เท่านั้นฯ ครั้นญาติโยมทั้งหลาย ปรารภ ที่จะให้เป็นวัดวา

อาวาสสืบต่อไป จึงได้กราบเรียนต่อสมเด็จพระมหาวีรวงศ์สังฆนายก(เมื่อยังไม่ได้เป็นสมเด็จและ

เป็นสังฆนายก) เจ้าคุณพระศาสนดิลกและเจ้าคุณพระศรีธรรมวงศาจารย์เจ้าคณะจังหวัดในสมัยนั้น

ฯ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเป็นอยู่เองจะต้องนิมนต์พระกัมมัฎฐานมาจากจังหวัดอื่นๆ

เมื่อได้ความชัดดังนี้แล้วจึงได้ขอรายงานจากท่านเจ้าคุณพระศาสนดิลก และท่านเจ้าคุณ

พระศรีธรรมวงศาจารย์ให้คณะสัปบุรุษประจำจังหวัดอุบลราชธานี มีนายโพธ์ ส่งศรี เป็นต้น ไป

อาราธนาพระอจารเสาร์ กนฺตสีโล ซึ่งเป็นพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระมาจกจังหวัดนครพนม

พร้อมด้วยพระคณะกัมมัฏฐานประมาณ ๓๐ รูป ให้กลับคืนมาสั่งสอนประชาชน พลเมืองในท้องที่

จังหวัดอุบลราชธานี คณะสัปบุรุษทั้งหลาย ที่ประจำวัดแสนสำราญ พร้อมทั้งชายและหญิง เป็น

จำนวนมากก็ได้ลงมือก่อสร้างสำนักสงฆ์แห่งนี้ขึ้น ตังแต่วันที่ ๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๖ มา

จนกระทั่งบัดนี้ นับตั้งแต่แรกสร้างวัดมามีพระคณะกัมมัฏฐานได้สับเปลี่ยนกันมาดูแลรักษาโดย

มิได้ขาด นับตั้งแต่ปี ๒๔๗๖ เป็นต้นมา ปรากฏรายนามดังต่อไปนี้

พระมหาปิ่น

พระอาจารย์โคตร

พระอาจารย์วิฤทธิ์

พระอาจารย์สิงห์

พระอาจารย์ไสว

พระครูพุทธิสารสนุนทร

พระครูศีลคุณาภรณ์

พระครูอุบลเดชคณาจารย์

ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๖ ได้ทรงโปรดให้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ

พระราชทานวิสุงคามสีมาแก่วัดป่าแสนสำราญ โดยกำหนดเขตกว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร เมื่อ

ความเจริญรุ่งเรืองมากขึ้น พื้นที่ ที่เคยกว้างขวางก็ลดเหลือน้อยลง จากเดิม ๘๐ ไร่เศษเหลือเพียง

ประมาณ ๓๐ กว่าไร่เท่านั้น ในปี พ.ศ.๒๕๑๑ พระครูศีลคุณาภรณ์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ก็ได้มี

การจัดสร้าง มณฑปครอบรอบพระพุทธบาทจำลองไว้ เพื่อเป็นที่เคารพสักการะบูชาและประกอบ

พิธีสังฆกรรมของพระภิกษุสงฆ์ และเมื่อศาลาการเปรียญหลังเก่า ซึ่งทำด้วยไม้เริ่มชำรุดทรุดโทรม

ลง ท่านก็ได้ชักชวนญาติโยมเริ่มสร้างหลังใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๘ แล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๓๕

ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๓๗ พระครูอุบลเดชคณาจาย์ ( พระมหาต่วน นิสฺเทสโก) ได้เดินทางมา

ดำรงตำแหน่งท่านก็ได้ก่อสร้างเพิ่มเติม เช่น ถนนคอนกรีตเสริมเหล็กภายในวัด พื้นคอนกรีตรอบ

ศาลาการเปรียญ ห้องสมุดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์และสิ่งต่างๆอีกมากมายจนนับได้ว่า

เจริญรุ่งเรืองมาก

ลำดับเจ้าอาวาสวัดแสนสำราญเริ่มตังแต่สร้างวัดมา

๑. พระมาเสาร์ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖-๒๔๗๙

๒. พระอาจารย์ฤทธิ์ ปี พ.ศ.๒๔๘๑-๒๔๘๔

๓. พระอาจารย์บุญมี ปี พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๗

๔. พระอาจารย์ไสว ปี พ.ศ.๒๔๘๘-๒๔๙๒

๕.พระอาจารย์ดี ปี พ.ศ.๒๔๙๓-๒๔๙๕

๖. พระครูพุทธิสารสุนทร ปี พ.ศ.๒๔๙๖-๒๕๑๑

๗. พระครูศีลคุณาภรณ์ ปี พ.ศ. ๒๕๑๑-๕๓๕

๘. พระครูอุบลเดชคณาจารย์ ปี พ.ศ.๒๕๓๗ ( องค์ปัจจุบัน )

วัดแสนสำราญตั้งอยู่ในย่านที่ชุมชนและเป็นที่พักอาศัยของอาคันตุกะที่สัญจรไปมาและมี

ความสำคัญเกี่ยวกับทางราชการคณะสงฆ์ คือ

ก. เป็นที่ตั้งสำนักงานเจ้าคณะอำเภอวารินชำราบฝ่ายธรรมยุต

ข. เป็นที่ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์

ค. เป็นที่พักผ่าน ปฏิบัติธรรม และประกอบพิธีทางศาสนของชาวพุทธ ปูชนียสถานที่

สำคัญของวัดนี้ คือรอยพระพุทธบาทจำลอง พระประจำวันเกิด



ที่มา : www.lib.ubu.ac.th/ubon_temple/

thxby15836คนโก้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2557, 08:56:44 โดย ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ » บันทึกการเข้า

วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!