ประวัติ โดยย่อ พระครูสุทรมงคลวัฒน์ หรือ หลวงปู่คล้าย อธิเตโช วัดศรีสุมังคลาราม (วัดบ้านกระเดียน) อ. ตะการพืชผล จ. อุบลราชธานี พระมหาเถราจารย์ศิษย์เอกหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ เจ้าตำหรับวิชา ?พระโมคคลัลาน์ต่อกระดูก? หรือ ?หนุมานประสานกาย?
หลวงปู่คล้าย อธิเตโช นามเดิมว่า คล้าย อานนท์ บิดาและมารดา ชื่อ พ่อวัน แม่ลาย อานนท์ ช่วงประถมวัย ท่านได้เรียนหนังสืออยู่ที่ โรงเรียนบ้านดอน ต.ตากแดด อ.ตระการพืชผล ด้วยอุปนิสัยที่ไม่ชอบซุกซนเหมือนเด็กทั่วไป เวลาอยู่ที่โรงเรียนก็มักจะปลีกตัวอยู่คนเดียวในสถานที่อันสงบ แม้ในบางครั้งมีเหตุทะเลาะกันในหมู่เพื่อนๆเด็กๆ ท่านก็จะนิ่งไม่ปริกปากโต้เถียงอันใด ท่านศึกษาจนจบประถมศึกษาปีที่ 4 พร้อมกับการถูกกลั่นแกล้งที่ดูจะหนักข้อขึ้นทุกที หนักที่สุดคือกล่าวร้ายให้ท่านว่า ?เด็กชายคล้ายเป็นปอบ? เสียงลือเริ่มหนาหูขึ้น ชาวบ้านบางคนเชื่อ และเริ่มหวาดกลัว สังคมเริ่มบีบคั้น ขนาดถึงกับจะไล่ออกจากหมู่บ้าน และจะนำหมอผีมาปราบ พ่อแม่ของท่านก็หนักใจ สงสารลูกชายมาก เพราะด้วยวัยเพียง 13 ปี โดนข้อกล่าวหาแบบนี้มันช่างรุนแรงเกินไป จนวันหนึ่งชาวบ้านได้ท้าทายบิดาและมารดาของท่านว่า ถ้าแน่จริงให้นำตัวเด็กชายคล้าย ไปทำพิธีไล่ปอบกับหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ โสภิโต เจ้าอาวาสวัดสระกุศกร พระมหาเราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาพุทธาคม ลูกศิษย์บรรพชิตสายวิชาสำเร็จลุนแห่งนครจำปาสัก ผู้ที่ชาวบ้านให้ความเคารพนับถือ
ในใจของบิดาและมารดาของท่านก็อดกลัวอยู่ไม่น้อย แต่ด้วยความที่ท่านอยากช่วยบุตรชายจึงตอบตกลง เพราะรู้อยู่ในใจอยู่แล้วว่าบุตรท่านไม่ได้เป็นปอบ ชาวบ้านอีกกลุ่มหนึ่งด้วยความร้อนใจจึงนำเรื่องเด็กชายคล้ายเป็นปอบ ไปกราบเรียนให้หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ได้ทราบ ซึงท่านก็ไม่ได้ว่าอะไรแต่ให้นำพาเด็กชายคล้ายมากราบได้ เล่ากันว่าเมื่อคณะผู้นำพาเด็กชายคล้าย วัย 13 ขวบไปกราบหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ นั้น เมื่อเด็กชายคล้าย ได้คลานเข่าเข้าไปกราบลงตรงหน้าหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ โดยที่ไม่ได้กล่าวคำใดๆออกมา หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์เพ่งมองเด็กชายคล้ายด้วยสายตาที่เปี่ยมด้วยเมตตาอย่าง ยิ่ง ก่อนที่ท่านจะเอ่ยขึ้นด้วยน้ำเสียงเรียบๆแต่ก็ดัง พอที่ให้คนซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นจะได้ยินกันทั่วว่า ? ถึงเวลาที่เจ้าจะต้องเข้ามาบวชเป็นลูกเณรในพระศาสนาแล้วนะ? ชาวบ้านในที่นั้นไม่อาจจะเข้าใจเท่าใดนัก จนกระทั่งหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์กล่าวต่อไปว่า?มาบวชอยู่กับพ่อนะ? ท่านยังได้กล่าวต่อไปอีกให้ชาวบ้านหายแคลงใจว่า? พวกโยมไม่รู้อะไร เด็กคนนี้มีบุญบารมีที่สะสมไว้มามากนัก ใครกล่าวหาลูกชายฉันว่าเป็นปอบอีกจะเป็นการสร้างบาปกรรมโดยไม่รู้ตัว?
จากนั้นไม่นานหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ก็เอ่ยปากขอเด็กชายคล้าย อานนท์ จากนายวันและนางลาย ผู้เป็นพ่อและแม่ว่า ? ลูกชายโยมคนนี้อาตมาขอเถอะนะขอให้มาบวชเป็นเณรอยู่กับอาตมา อาตมาจะอบรมสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติแก่เขาเอง โยมทั้งสองจงอนุโมทนาบุญนะ? เมื่อได้ยินคำขอจากหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ก็ได้นำพาความตื้นตัน ปลื้มปิติ ให้แก่บิดาและมารดาของท่าน ด้วยกุศลบุญบารมีที่สะสมมา เมื่อถึงเวลาที่ต้องออกบรรพชาเพื่อถือครองเพศสามเณรก็มีเหตุให้ต้องมีเรื่อง ราวถูกกล่าวหา เพื่อชักนำให้เข้าสู่ร่มเงาพระพุทธศาสนาโดยเร็ว เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้ว ทั้งนายวันละนางลาย บิดาและมารดาหลวงปู่คล้าย ก็ได้นำลูกชายวัย 13 ย่าง 14 ขวบ เดินทางไปที่วัดสระกุศกร เพื่อให้หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ โสภิโต เจ้าอาวาสวัดสระกุศกร สมัยนั้นได้ประกอบพิธีบวชสามเณรให้ แต่ครั้นเมื่อเดินทางไปถึง หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ กับบอกกับพ่อวันและแม่ลายว่า ?ลูกของโยมคนนี้อาตมาก้ได้กล่าวคำขอให้เป็นลูกฉันแล้วนะ ดังนั้นฉันจะไม่เป็นผู้บวชให้หรอก จะนำไปมอบให้ท่านอุปัชฌาย์เหิ่ม วัดศรีพลแพง บวชให้นะ ไม่ต้องเป็นห่วง? จากนั้นหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ก็ได้นำพาคณะญาติโยมพ่อวันแม่ลายและเด็กชายคล้าย อานนท์ มุ่งหน้าไปที่วัดศรีพลแพง ต. โนนกุง อ. ตระการพืชผล และได้บวชกับพระอุปัชฌาย์เหิ่ม ในวันเสาร์ ขึ้น 13 ค่ำ เดือน 12 ปี ขาล ตรงกับวันที่ 5 พฤศจิกายน 2481
ในขณะที่คนส่วนใหญ่ต่างชื่นชมยินดีเมื่อเห็นอาจารวัตรของสามเณรคล้าย ต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สามเณรน้อยศิษย์หลวงพ่อญาท่านฤทธิ์รูปนี้น่าเลื่อมใสนัก.....แต่ก็ยังมีไอ้ คนใจบาป พวกหมู่มารที่ตามผจญ พยยามหาคำมานินทากล่าวร้ายป้ายสีให้สามเณรคล้าย อานนท์จนได้ โดยบอกว่า ?ถึงจะบวชเป็นเณรแล้วก็ยังเป็นปอบ คิดดูเอาเถอะแม้แต่พ่อท่านฤทธิ์ยังไม่บวชให้ ? การปล่อยข่าวลือดูเหมือนจะเป็นผล เพราะเรื่องใส่ร้ายป้ายสีนี้ก็ยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งมีคนนำเรื่องนี้ไปฟ้องหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ และถามท่านว่าทำไมยังให้สามเณรคล้าย อาศัยอยู่ในวัดนี้ ท่านจึงถามกลับว่าใครเป็นคนบอก ผู้ฟ้องก็บอกว่าเขาบอกต่อๆกันมา ท่านจึงว่าใครเป็นผู้บอกให้นำตัวผู้นั้นมายืนยัน สุดท้ายท่านก็ได้หลุดปากออกไปว่า ?ต่อไปนี้ใครที่มันใส่ร้ายลูกเณรของข้ามันผู้นั้นจะปากเหม็นปากเน่า เพราะมันสร้างกรรมกับสามเณรลูกศิษย์ของข้าผู่มีศีลบริสุทธิ์? จากนั้นมา มีคนที่เป็นโรคประหลาดปากเปื่อยส่งกลิ่นเหม็น บางคนไปรักษาด้วยหยูกยาที่ไหนหมอไหนที่ว่าดี ก็ไปหมดแต่อาการปากเน่าก็ไม่หาย สุดท้ายได้เดินทางมากราบหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ เพื่อขอความเมตตาให้ท่านช่วยรักษาด้วยน้ำมนต์ให้
หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ มองหน้าผู้ถือขันดอกไม้ เพื่อมาให้รักษาอาการปากเน่าเปื่อยด้วยสายตาแปลกๆ สักอึดใจท่านก็กล่าวขึ้นว่า ? เราไม่มีวิชารักษาคนปากเน่าดอก เพราะไม่ได้ร่ำเรียนมาจากครูบาอาจารย์? ที่กล่าวเช่นนั้นเพราะท่านรักษาคนแต่เฉพาะโรคกระดูก ผู้มาขอการรักษาก็ไม่ลดละ บอกว่าเสียเงินทองไปรักษามามากมายก็ไม่หายเห็นแต่จะมีเพียงหลวงปู่ ญาท่านฤทธิ์เท่านั้นที่จะพอช่วยได้เมื่อได้ยินเช่นนั้นท่านก็พูดขึ้นว่า ?โรคของโยมไม่มีหมอใดในโลกนี้รักษาให้หายดอก นอกจากสามเณรน้อยลูกชายของฉัน?
คนปากเน่ามีสีหน้าแววตาสดใสขึ้นเพราะมีหัวงว่าจะหายจากโรคนี้ที่เจ็บปวด ทรมาน จึงรีบกราบเรียนถามท่านว่า สามเณรลูกชายของหลวงปู่รูปนั้นตอนนี้อยู่ที่แห่งใดตนจะรีบขอให้สามเณรได้มา รักษา หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ชี้มือไปพร้อมกับบอกว่า ?โน่นไง..สามเณรน้อยที่กำลังยื่นกวาดลานวัดอยู่นั้น? พอสิ้นคำของหลวงปู่ อาการของคนปากเน่าสะดุดเหมือนกับลังเล ?เอ้อ..สามเณรที่พวกเองใส่ความว่าเป็นปอบนั้นแหละ รู้ไหมโรคนี้มันเกิดขึ้นเพราะวจีกรรมของพวกโยมที่บังอาจจาบจ้วง สามเณรที่มีศีล หากอยากหายก็ไปให้เณรช่วย แต่หากยังถือมิจฉาทิฐิต่อไปก็รับกรรมนี้ต่อไป? กล่าวจบหลวงปู่ท่านก็ลุกจากอาสนะเดินไปทำกิจอื่นๆของท่าน ผู้เฒ่าหลายท่านยืนยันว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้นจริง และบางคนที่มีอาการ?ปากเน่าเหม็น?ไปกราบและขอน้ำพระพุทธมนต์จากหลวงปู่ญา ท่านฤทธิ์ ท่านก็จะบอกให้นำขันดอกไม้อันถือเป็นเครื่องสักการะไปถวายสามเณรคล้าย หลายรายทำตามปรากฏว่า หนึ่งวันอาการเน่าก็เริ่มแห้ง สามวันแผลที่ปากจะแห้งผากแต่ยังส่งกลิ่นเหม็น เจ็ดวันเป็นอันหายขาดสนิท แต่ก็มีบางรายที่ป่วยเป็นโรคปากเน่าจนตาย เหตุเพราะเขาคนนั้นมีมิจฉาทิฐิอันแรงกล้าจึงไม่อาจจะก้มลงกราบขอขมาสามเณร น้อยที่ตนใส่ร้ายป้ายสีได้ จึงยอมเดินกลับไปบ้าน หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ถึงกับรำพึงออกมาด้วยน้ำเสียงที่ผสมความสังเวชใจว่า ? คนโง่เขลาเบาปัญญาเช่นนี้ ถือดีเพราะมิจฉาทิฐิเป็นใหญ่ เมื่อตายไปอบายภูมิเท่านั้นจะเป็นหนทางให้เดิน เขาให้โอกาสกลับไม่ยอมแก้ไข?
จากนั้นมาสามเณรคล้าย อานนท์ ก็ดำรงตนครองเพศสามเณรศึกษาร่ำเรียนท่องบ่นบทพระพุทธมนต์โดยได้อุปฐากรับใช้ หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์มาโดยตลอด ครั้นอายุของสามเณรคล้าย ครบ 20 ปี หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ก็ได้นำสามเณรคล้าย อานนท์ ผู้เป็นลูกศิษย์ไปอุปสมบทเป็นพระภิกษุในสำนักของพระอุปัชฌาย์เหิ่ม สุจิตโต วัดศรีพลแพง ต.โนนกุง อ.ตระการพืชผล เมื่อวันอังคาร แรม 11 ค่ำเดือน 7 ปีระกา ตรงกับวันที่ 5 มิถุนายน 2488 ท่านได้ฉายาทางธรรมว่า? อธิเตโช? ท่านหลวงปู่อุปัชฌาย์เหิ่ม สุจิตโต ท่านได้เปรยให้หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ ทราบว่า ?เณรลูกศิษย์ญาท่านฤทธิ์องค์นี้มิใช่ ธรรมดา เดชะกล้ายิ่ง? หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ จึงสอบถามว่า?ทำไมล่ะท่านถึงกล่าวเช่นนั้น? ท่านตอบว่า ?ก็เพราะเณรองค์นี้เป็นลูกศิษย์คู่บุญคู่บารมีของหลวงพ่อญาท่านฤทธิ์นะสิ? หลวงปู่พระอุปัชฌาย์เหิ่มกล่าวด้วยน้ำเสียงพอใจ ?เอาล่ะเมื่อพระอาจารย์นามว่าฤทธิ์ศิษย์ผู้นี้จะต้องมี ?เดช? ผมจะตั้งนามฉายาให้ว่า ?อธิเตโช? นะญาท่านฤทธิ์เห็นว่าเป็นเช่นใด? หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์กล่าวเพียงสั้นๆว่า ? ผมมอบหน้าที่นี้ให้ท่านแล้วก็ขอจงดำเนินการสงเคราะห์เณรผู้เป็นลูกศิษย์ของ ผมตามสมควรแก่ธรรมวินัยเถิด?
เรื่องความเคารพเลื่อมใสในฐานะที่หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์เป็นครูอาจารย์นั้นไม่ ต้องพูดถึง ต่างยกย่องเชิดชูอาจารวัตรของหลวงปู่คล้าย อธิเตโช ว่าท่านคือลูกศิษย์ใกล้ชิดและมีโอกาสศึกษาวิทยาคมและแนวทางการปฏิบัติจาก หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์มากกว่าใคร
เมื่อครั้งที่หลวงปู่คล้ายยังเป็นพระภิกษุหนุ่มเป็นผู้ที่ทรงธรรมภูมิความ รู้ มีความสามารถเป็นที่เคารพเลื่อมใสของสาธุชนทั่วไป เคยมีชาวบ้านจากหมู่บ้านอื่นเห็นว่าท่านน่าจะย้ายวัดจากวัดสระกุศกรไปดำรง ตำแหน่งทางการปกครองคณะสงฆ์ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาส จึงได้กราบอาราธนาให้ท่านไปครองวัดอื่น แต่หลวงปู่คล้ายก็ไม่เคยรับนิมนต์เลยสักที
ตามคติโบราณท่านกล่าวว่า การศึกษา วิทยาคมนั้นเป็นวิชาอันละเอียดอ่อนมาก หากไม่มีพื้นฐานและรู้ลึกด้านศาสตร์พิธีกรรมซึ่งจะต้องผ่านการพร่ำสอนอบรม จากครูบาอาจารย์ผู้ที่เชี่ยวชาญมาเป็นอย่างดีแล้วก็ยากที่จะสามารถร่ำเรียน วิทยาคมให้สามารถนำไปใช้ได้ผลได้
หากจะพูดถึงการศึกษาเล่าเรียน ไม่ว่าจะเป็นด้านปริยัติ ข้อปฎิบัติ รวมไปถึงสรรพวิทยาคมต่างๆของหลวงปู่คล้าย ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากหลวงปู่ฤทธิ์โสภิโต นั้นนับว่ามากมายเหลือเกิน โดยใช้เวลาในการศึกษาเล่าเรียนอยู่กับหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์นั้นตั้งแต่ปี 2481 เรื่อยมาจวบจนกระทั่งหลวงปู่ญาท่านฤทธิ์ได้มรณภาพเมื่อปี 2524 ดังนั้นหากจะนับวันเวลาที่หลวงปู่คล้ายได้อยู่อุปฐากปรนนิบัติรับใช้หลวงปู่ ญาท่านฤทธิ์ผู้เป็นครูบาอาจารย์ของท่านนับว่าเป็นเวลาอันยาวนานไม่น้อยกว่า 43ปี จึงเป็นที่เชื่อได้ว่าวิทยาพุทธาคมที่หลวงปู่ญาท่านฤทธิ์มีอยู่ทั้งหมดคงได้ ถ่ายทอดให้แก่หลวงปู่คล้าย อธิเตโช ผู้เป็นศิษย์เอกอย่างไม่ปิดปัง
?วิชาหนุมานประสานกาย?หรืออีกนัยหนึ่งเรียก?วิชาพระโมคัลลาน์ประสานกระดูก? แต่คนในท้องถิ่นมักจะเรียกกันว่า ?วิชา จอดกระดูก? คือการทำพิธีใช้น้ำพระพุทธมนต์และการสาธยายบทพระคาถาทำให้กระดูกที่หัก สามารถกลับเข้าไปติดต่อกันได้ โดยไม่ต้องให้คนขาหักแขนหักต้องเข้าเฝือกเหมือนกับวิทยากรสมัยใหม่แต่ประการ ใด.
ขอขอบคุณข้อมูลจาก อุบลคณาจารย์พระเครื่อง
http://www.ubonamulet.com/