วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:20:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2] 3   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: วัตถุมงคล ของหลวงปู่ชา  (อ่าน 55099 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
คมขวาน
VIP Member
*****

พลังน้ำใจ : 74
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 35

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 79%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 10:39:46 »

ได้พระของขวัญมา1 องค์ครับ ตอนสมัยบวช ที่วัดถ้ำแสงเพรช เพื่อเป็นที่ละลึกถึงท่าน และหนังสือที่ผมชอบอ่าน และสะสม มี
1. หนังสือโพธิญาณ
2. หนังสือน้ำนิ่งไหลลึก
3. หนังสือนอกเหตุเหนือผล
4. หนังสืออีกเล่มจำชื่อไม่ได้

คำสอนท่านที่ผมจำได้ขึ้นใจ

ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย

บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 10:56:24 »

ได้พระของขวัญมา1 องค์ครับ ตอนสมัยบวช ที่วัดถ้ำแสงเพรช เพื่อเป็นที่ละลึกถึงท่าน และหนังสือที่ผมชอบอ่าน และสะสม มี
1. หนังสือโพธิญาณ
2. หนังสือน้ำนิ่งไหลลึก
3. หนังสือนอกเหตุเหนือผล
4. หนังสืออีกเล่มจำชื่อไม่ได้

คำสอนท่านที่ผมจำได้ขึ้นใจ

ทุกข์มีเพราะยึด
ทุกข์ยืดเพราะอยาก
ทุกข์มากเพราะพลอย
ทุกข์น้อยเพราะหยุด
ทุกข์หลุดเพราะปล่อย


เยี่ยมครับ

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หมู่ต้อม
Sr. Member
****

พลังน้ำใจ : 118
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 103

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 8 : Exp 19%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 04 มกราคม 2555, 20:44:23 »

สาธุ  สาธุ  สาธุ  สาธุ


* หลวงพ่อชา_1.jpg (112.69 KB, 600x750 - ดู 4875 ครั้ง.)

* หลวงพ่อชา.jpg (123.14 KB, 600x750 - ดู 4820 ครั้ง.)

* IMG_4799.jpg (137.48 KB, 600x750 - ดู 3583 ครั้ง.)

* IMG_4800.jpg (108.24 KB, 600x750 - ดู 3352 ครั้ง.)

* Pic_720261_1.jpg (108.91 KB, 600x750 - ดู 3274 ครั้ง.)

* Pic_720261_2.jpg (108.32 KB, 600x750 - ดู 3310 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:04:19 »


1. พระเกษ (พ.ศ. 2510)

ลักษณะเป็นแผ่นตะกั่วม้วนหุ้มเป็นแท่ง ขนาดประมาณหัวลูกปืน ยาวบ้าง สั้นบ้างหัวกลมมนแบบลูกปืนบ้าง หัวตัดท้ายตัดบ้าง หัวแหลมเป็นทรงกรวยบ้าง

รุ่นแรกสุดทำเป็นหัวมนแบบลูกปืน ทำขึ้นในปี 2510 ส่วนแบบอื่น ๆ กำหนดรุ่นไม่ได้ว่าอย่างไหนก่อนหลัง คงแต่เพียงบอกได้ว่าได้มีการทำออกมาติดต่อกันหลายปี รูปทรงที่แตกต่างกันนั้นเกิดจากฝีมือผู้หุ้มห่อตะกั่วแต่ละคนไม่เหมือนกัน ห่อตามถนัด อย่างเช่นปี 2517 ท่านอาจารย์ผาเป็นผู้ห่อคนเดียว ลักษณะของพระเกษจึงเป็นรูปทรงกรวย ขนาดก็ไม่แน่นอน

ข้างในพระเกษบรรจุเส้นเกษาของหลวงพ่อชาและผงพุทธคุณ แต่รุ่นหลัง ๆ มีเพียงเส้นเกษาอย่างเดียว

พระเกษเป็นของเล่นยาก ดูยาก ถ้าไม่ใช่ผู้ได้รับจากหลวงพ่อแล้วจะไปหาเอาจากที่อื่นก็น่ากลัวว่าจะถูกของปลอม ได้ยินว่าแม้ตะกั่วถ่วงอวนหรือแหก็มีผู้เอามาอ้างว่าเป็นพระเกษและก็ยังขายได้


thxby7206ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:05:55 »


2. รูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ (พ.ศ. 2510)

ปีเดียวกันกับที่มีพระเกษออกมา คุณกฤษณะและแม่ชีวิไลได้ถือวิสาสะสร้างรูปหลวงพ่อพร้อมกับตะกรุด 3 กษัตริย์เลี่ยมรวมกันในกรอบพลาสติกเป็นจำนวนประมาณ 500 อัน พร้อมกับทำบล็อคพระเครื่องรูปหลวงพ่อ นั่งในซุ้มระฆังอย่างพระสมเด็จฯ โดยว่าจ้างช่างในจังหวัดนครสวรรค์ทำให้ ฯ

บล็อกพระเครื่องได้นำมาถวายหลวงพ่อ ส่วนรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ไม่ถวาย

ต่อมาหลวงพ่อทราบว่าได้มีการสร้างรูปถ่ายและตะกรุด3 กษัตริย์ด้วย ก็สั่งให้แม่ชีวิไลนำรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์มามอบให้ท่าน เพราะเกรงว่าจะเป็นการทำขึ้นเพื่อประโยชน์ตน (ความจริงเรียกว่ายึดมา) เมื่อแม่ชีวิไลนำรูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์มาถวายหลวงพ่อแล้ว หลวงพ่อก็นำออกแจกจ่ายแก่ญาติโยมทั่วไปจนหมด

รูปถ่ายและตะกรุด 3 กษัตริย์ จึงถือว่าเป็นวัตถุมงคลรุ่น 2


thxby7207ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:08:49 »


3. หลวงพ่อชาหลังใบไม้ (พ.ศ. 2510)

3. หลวงพ่อชาหลังใบไม้ (พ.ศ. 2510)

สืบเนื่องจากบล็อกที่คุณกฤษณะและแม่ชีวิไลนำมาถวาย หลวงพ่อก็ได้อนุญาตให้มีการสร้างพระเครื่องเนื้อผงขึ้นเป็นครั้งแรกโดยใช้บล็อกดังกล่าว ผู้ที่ได้เข้าร่วมกดพิมพ์พระคนหนึ่งคือคุณชัยสิทธิ เตชะศิริชนะกุล ซึ่งได้เล่าว่าพิธีกดพระทำขึ้นที่ใต้ถุนกุฏิหลวงพ่อทำกันเองในหมู่ลูกศิษย์ใกล้ชิด

ระหว่างที่กำลังผสมผงพุทธคุณ หลวงพ่อได้บอกว่าให้ไปเอาจีวรมา ทกคนเข้าใจว่าหลวงพ่อจะเอาจีวรมาห่ม แต่ปรากฏว่าท่านจะเอามาผสมใส่ในเนื้อพระด้วย จึงเกิดการถกกันว่าจะเอาจีวรใส่ลงไปอย่างไร คุณชัยสิทธิแสดงความคิดเห็นว่าให้ตัดจีวรเป็นชิ้นเล็ก ๆ บรรจุไว้ในองค์พระทุกองค์ ภายหลังถ้าจะพิสูจน์ว่าพระแท้หรือไม่ให้หักพระออกดู ถ้าพบจีวรก็แปลว่าแท้ แต่หลวงพ่อไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น ท่านว่าขืนทำอย่างนั้นพระก็หักหมด จึงให้เอาจีวรทั้งผืนเผาไฟ เอาขี้เถ้าจีวรมาผสมนอกจากนี้มีขี้เถ้าจีวรแล้ว ยังมีเส้นเกษาของหลวงพ่อผสมอยู่ด้วย รวมทั้งขี้ธูปจากกระถางธูปบูชาพระประธานในศาลาและผงดอกไม้บูชาพระประธานในศาลาผสมอยู่ด้วย

ลักษณะของของพระเครื่องรุ่นแรกนี้ทำเป็นรูปหลวงพ่อนั่งสมาธิอยู่ในซุ้มระฆัง ฐานสองชั้น เนื้อขาวอย่างปูนปลาสเตอร์ เป็นพระไม่มีทน้ามีตา ด้านหลังเป็นรอยใบไม้.ทุกองค์ บางคนเข้าใจว่าเป็นใบโพธิ์แต่ความจริงเป็นใบไม้ธรรมดาทั่วไป ที่ทำเช่นนี้เพื่อความหมายว่าเป็นวัดป่าเท่านั้น ไม่มีเจตนาอื่น

ขนาดขององค์ไม่สามารถกำหนดมาตรฐานได้ เนื่องจากว่าผู้แกะพระออกจากบล็อกมีหลายคน บางคนหยิบพระโดยใช้นิ้วคีบด้านบนกับด้านล่างของพระ ก็จะทำให้พระดูสั้นลงหรือดูเตี้ยลงเล็กน้อย ถ้าใช้นิ้วคีบพระด้านข้างก็จะทำให้พระดูชะลูดขึ้นเล็กน้อย คงประมาณขนาดของพระได้ว่าอยู่ในราว ๆ ความกว้างประมาณ 2.4 ซ.ม. ยาว 3 ซ.ม. มีบางองค์กว้างถึง 2.6 ซ.ม. และยาว 3.5 ชม. ก็มี ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากการตัดปีกไม่เท่ากัน แต่ถ้าจะเอามาตรฐานโดยวัดจากขอบพระพิมพ์พระจริงวัดจากบนถึงล่าง โดยไม่นับส่วนปีกที่เกินออกมา ก็ควรจะอยู่ในราว 3.2 ซ.ม. ส่วนความหนาของพระยิ่งไม่แน่นอนใหญ่ มีทั้งหนามาก หนาพอดี และบางเกินไป

เนื้อพระโดยมากเป็นสีขาวอย่างปูนปลาสเตอร์ ที่เป็นสีเทาก็มี เทาอมเหลืองก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะการผสมเนื้อพระแต่ละวันไม่เหมือนกัน ลักษณะพื้นผิวของพระดูหยาบและคล้ายจะแตกหักโดยง่าย แต่ถ้าดูด้วยแว่นขยายจะพบความแห้งและแกร่งไม่น้อย ในองค์ที่เนื้อผงออกสีขาว ผิวบางส่วนขึ้นเป็นเงามันคล้ายผิวของพระสมเด็จนาคปรกสุโขวิเวโก หลังตรายาง ของเจ้าคุณนรฯ สีของเนื้อพระก็ขาวเหมือนกัน

ข้อสังเกตพระรุ่นนี้ต้องดูที่ซุ้มระฆังด้านบน ซึ่งจะชิดขอบพระด้านบนมากเป็นพิเศษ และถ้าจะวัดความกว้างของซุ้มก็ดูจะได้มาตรฐานมากกว่า วัดขนาดองค์พระ คือความกว้างของซุ้มด้านล่างอยู่ในราว 2.2 ซ.ม. ความสูงของซุ้ม 2.9 - 3 ชม.

พระเครื่องรุ่นแรกนี้มีทั้งที่โรยกากเพชรไว้ด้านหน้า และไม่โรยกากเพชร

ที่มีการโรยกากเพชรนั้นเกิดจากผู้กดพิมพ์คิดเอากากเพชรมาโรยลงไปเอง เมื่อหลวงพ่อมาพบเข้าก็ตำหนิว่าเป็นพระลิเก จึงเลิกโรยกากเพชร แต่ว่ารุ่นหนึ่งนี้มีด้านหลังเป็นใบไม้ทุกองค์

พระเครื่องรุ่นนี้มีของปลอมออกมานานแล้ว ปลอมกันหลายหมู่หลายคณะ แต่ของปลอมไม่สามารถทำเนื้อได้เหมือน พิมพ์ก็ไม่เหมือน

thxby7208ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:10:54 »


4. หลวงพ่อชาหลังเรียบ (พ.ศ. 2511)

หลังเรียบนี้ใช้บล็อกเดียวกับรุ่นหลังใบไม้ เนื้อหามวลสารก็เป็นอันเดียวกัน คือใช้ผงเดิมที่ยังเหลือค้างอยู่จากปีที่แล้ว (2510) ต่างกันเพียงด้านหลังเท่านั้นที่ทำเรียบ ๆ ไม่มีอะไร

ดังนั้นข้อสังเกตในการแยกรุ่นแรกกับรุ่นสองจึงอยู่ที่ด้านหลัง รุ่นแรกจะมีรอยใบไม้ทุกองค์ ทั้งที่โรยกากเพชรและไม่โรยกากเพชร หากมีรอยใบไม้แล้วถือเป็นรุ่นแรกทั้งหมด ส่วนรุ่นสองนี้แม้ว่าด้านหน้าจะเหมือนรุ่นแรกทุกประการเพราะใช้บล็อกเดียวกัน แต่ด้านหลังจะเรียบไม่มีรอยกดพิมพ์ด้วยใบไม้

thxby7209ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:12:26 »


5. หลวงพ่อชาห้าเหลี่ยม ใหญ่ (พ.ศ. 2512)

อาจารย์โพธิ ขัมภรัตน์ เจ้าของโรงเรียนเอนกวิทยา จังหวัดอุบลฯ เป็นผู้สร้างถวาย โดยว่าจ้างนายคล้าย ธีรมาตร แกะบล็อก และได้ผงสำหรับสร้างจากมรรคทายกริน วัดป่าใหญ่ (พระเจ้าใหญ่อินแปลง) เท่าที่พบพระพิมพ์นี้มีอยู่หลายเนื้อ หลายสี บางองค์หลังเรียบ บางองค์มีรอยนิ้วหัวแม่มือกดพิมพ์ไว้ด้านหลังพระ รอยมือนั้นคนทั่วไปเข้าใจว่าเป็นรอยมือหลวงพ่อชา ความจริงไม่ใช่ เป็นรอยมือของอาจารย์โพธิ์เอง ท่านจะกดไว้เพื่ออะไรก็ไม่ทราบ บางทีจะมุ่งหวังให้พระดูสวยหรือเป็นเอกลักษณ์ส่วนตัวก็ได้

พระพิมพ์นี้ได้มีการนำออกขายโดยพละการที่หน้าวัดป่าใหญ่โดยมรรคทายกรินเป็นผู้ขาย

ถ้าใครไม่ได้รับจากมือหลวงพ่อแล้วอาจจะไม่สบายใจนักก็ได้


thxby7210ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:20:32 »



6. หลวงพ่อชาพิมพ์ใหญ่ (พ.ศ.2513)

 
หลวงพ่อชาพิมพ์ใหญ่ เนื้อผง ผสมเส้นเกษา (2513)
เฉพาะบล็อกนี้มีหลายเนื้อ
 
สืบเนื่องจากบล็อกหลวงพ่อชารุ่นแรกและรุ่นสอง คือรุ่นหลังใบไม้และหลังเรียบ เป็นบล็อกที่หลวงพ่อเห็นว่าไม่มีหน้าไม่มีตา จึงมอบบล็อกให้นายคล้าย ธีรมาตรไปแกะใหม่ โดยทำให้มีหน้ามีตามีจมูกชัดเจนขึ้น เมื่อนายคล้ายนำบล็อกไปแกะพิมพ์เสร็จแล้ว ไม่ได้เอาบล็อกที่แกะเสร็จมาถวายหลวงพ่อโดยทันที หากแต่ได้กดพิมพ์พระออกมาจำนวนหนึ่ง คือกดพิมพ์ทีละ 100 องค์บ้าง 200 องค์บ้าง เสร็จแล้วนำพระมาถวายหลวงพ่ออธิษฐานจิตให้ เมื่อหลวงพ่ออธิษฐานจิตให้แล้วได้ขอพระกลับไปครึ่งหนึ่ง ถวายหลวงพ่อครึ่งหนึ่งทุกครั้งไป

พระพิมพ์นี้ที่นายคล้ายกดพิมพ์ที่บ้านไปถวายหลวงพ่อทีละครึ่งโดยมากเนื้อพระจะออกสีขาวนวลหนักไปทางเนื้อปูนผสมว่าน

ต่อมานายคล้ายได้นำพระออกขาย คนไปซื้อกันมาก หลวงพ่อทราบข่าวว่านายคล้ายขายพระก็ให้คนไปยึดเอาบล็อกกลับคืน

เมื่อได้บล็อกคืนมาแล้วหลวงพ่ออนุญาตให้มีการกดพิมพ์พระด้วยบล็อกนี้ภายในวัด กดครั้งละ 10 องค์บ้าง 50 องค์บ้าง กดคราวละน้อย พอได้แจกแก่ผู้มากราบขอ เนื้อพระที่กดพิมพ์ในวัด โดยมากหนักไปทางเนื้อดอกคะยอมซึ่งมีอยู่มากในวัด พอถึงฤดูบานก็บานแล้วร่วงเกลื่อนวัด หลวงพ่อให้ไปเก็บกวาดเอามาทำพระ

แม้ว่าโดยมากจะเป็นเนื้อดอกคะยอมก็ตาม เนื้ออื่นที่แปลกออกไปก็มี ที่ทำขึ้นในวัดเช่นกัน ดังนั้นพระพิมพ์นี้จึงมีหลายเนื้อ

หลังจากพิมพ์พระได้พอควรแล้ว หลวงพ่อได้นำบล็อกพระพิมพ์นี้ขึ้นไปเก็บไว้บนหอระฆัง โดยโบกปูนปิดเอาไว้ในเพดาน บล็อกพิมพ์นี้จึงไม่มีโอกาสถูกนำออกมาใช้อีก


thxby7211ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #24 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:24:37 »





7. หลวงพ่อชาพิมพ์หัวโน และพิมพ์ธรรมดา (พ.ศ. 2516)

 
หลวงพ่อชาเนื้อผง พิมพ์หัวโน มีเส้นเกษาอยู่ในเนื้อ (2516)
 
ระหว่างปี 2514-2515 ก็มีการสร้างพระเครื่องถวายท่านแจกหลายรุ่นหลายพิมพ์ แต่ไม่สามารถจะรวบรวมหรือเรียงตามลำดับก่อนหลังได้ ทราบว่าได้มีการสร้างล็อกเก็ตรูปท่านขึ้น 12 อันในปี 2514 และมีพระพิมพ์แปลก ๆ ปรากฏอยู่หลายพิมพ์บางพิมพ์ หลวงพ่อได้มอบให้พระลูกศิษย์ซึ่งไปรักษาการเป็นเจ้าอาวาสตามวัดสาขาต่าง ๆ แจกแก่ญาติโยม เช่นหลวงพ่อเที่ยง โชติธมฺโม วัดป่าอรัญวาสีก็ได้พระของหลวงพ่อมาแจกอยู่ ระหว่างปี 14-15 หลวงพ่อเที่ยงแจกแล้วไม่ได้บอกว่าอะไร ผู้ได้รับไปเข้าใจว่าเป็นพระเครื่องของหลวงพ่อเที่ยง ภายหลังผู้เขียนได้กราบเรียนถามหลวงพ่อเที่ยง จึงทราบว่าเป็นพระของหลวงพ่อชาให้มาแจก ไม่ใช่พระของท่านแต่อย่างใด

 
พระสมเด็จหลวงพ่อชา (พ.ศ. 2514-2515)

พระอาจารย์เที่ยง โชติธมฺโม
แจกที่วัดป่าอรัญญวาสี
 
ครั้นถึงปี 2516 มีชาวนครสวรรค์เข็นพระลูกรังอัดมาเร่ขายที่เมืองอุบลฯ ผ่านมาที่หน้าบ้านคุณชัยสิทธิ เตชะศิริธนะกุล คุณชัยสิทธิได้สนทนาด้วย ทราบว่ามีความสามารถในการแกะบล็อกพระเครื่อง จึงว่าจ้างให้แกะบล็อกพระหลวงพ่อชา โดยตกลงกันว่าต้องทำให้เหมือนพระเครื่องรุ่นแรก คือรุ่นหลังใบไม้

ต่อมาชาวนครสวรรค์นำบล็อกพระที่แกะสำเร็จแล้วมาให้ 2 บล็อก คุณชัยสิทธิ์เห็นว่าแกะได้ไม่เหมือน จึงไม่ยอมรับไว้เพราะถือว่าผิดข้อตกลง

วันหนึ่ง คุณชัยสิทธินั่งสนทนากับหลวงพ่อที่ใต้ถุนกุฏิท่าน ก็แลเห็นชาวนครสวรรค์เดินเข้ามา คุณชัยสิทธิ์ร้อนใจรีบเล่าเรื่องบล็อกถวายหลวงพ่อทราบโดยเร็ว เมื่อชาวนครสวรรค์เข้ามาถึงแล้วก็กราบเรียนฟ้องหลวงพ่อว่า คุณชัยสิทธิจ้างแกะบล็อกแล้วไม่เอา เขาเสียหายมาก เพราะว่าลงทุนไปแล้วไม่ได้คืน

คุณชัยสิทธิเห็นว่าเรื่องจะยืดเยื้อ จึงตัดใจยอมจ่ายเงินให้ไปเพื่อจะได้หมดเรื่องหมดราวเสียที โดยจ่ายเงินไปเป็นจำนวน 500 บาท

เมื่อชาวนครสวรรค์ได้เงินแล้วก็กลับไป คุณชัยสิทธิ์ก็เอาบล็อกขึ้นมาจะทำลายทิ้ง หลวงพ่อซึ่งนั่งฟังและดูเหตุการณ์เงียบ ๆ มาตลอดร้องห้ามว่าอย่าทุบ อย่าทุบ เก็บไว้ เก็บไว้สร้างพระอีก

ตกลงบล็อกทั้งสองก็ได้กดพิมพ์พระขึ้นมาแจกแก่ญาติโยมอีกในปีนั้น


 
หลวงพ่อชาเนื้อมะพร้าวนรเก พิมพ์หัวโน ไม่มีเส้นเกษา บางองค์แห้งแล้ว หดตัว เล็กลงมาก ขนาดของแต่ลพเนื้อกำหนดมาตรฐานไม่ได้
 
พระที่พิมพ์ด้วยบล็อกทั้งสองนี้โดยมากเป็นเนื้อที่เรียกกันว่ามะพร้าวนรเก คือหลวงพ่อได้ทุบเอาผงขาวในก้อนหินที่เชื่อกันว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ที่ฤๅษีในสมัยก่อนทำเอาไว้ เป็นหินที่ลักษณะขนาดกำปั้น กลมกลึงสวยงาม ซึ่งถ้าทุบแตกแล้วตรงใจกลางจะมีผงขาว ๆ รวมตัวอยู่หลวงพ่อก็ได้เอาผงส่วนนี้มาผสมสร้างพระ จึงเรียกกันว่า?เนื้อมะพร้าวนรเก?

บล็อกพระอันที่หนึ่งเป็นบล็อกธรรมดา อีกบล็อกหนึ่งจะพบว่าที่ศีรษะหลวงพ่อด้านซ้ายจะมีตุ่มกลมเป็นเม็ดติดอยู่ คนจึงเรียกว่าบล็อกหัวโน ที่เกิดเป็นตุ่มขึ้นนี้เนื่องจากว่าในบล็อกเกิดมีฟองอากาศอยู่ตรงนั้นพอดีทั้งสองบล็อกนี้มีลักษณะเดียวกัน เว้นแต่ตุ้มกลมที่ศีรษะหลวงพ่อ เท่านั้น

มีพระเนื้อดอกคะยอมที่กดด้วยบล็อกทั้งสองนี้อยู่รุ่นหนึ่งซึ่งทุกวันนี้หายาก เป็นพระที่ผสมด้วยน้ำมันขี้โล้ สร้างขึ้นจำนวน 50 องค์

มูลเหตุที่สร้างนั้นเกิดขึ้นขณะหลวงพ่อกำลังดูแลเรื่องสร้างโบสถ์ คุณชัยสิทธิเห็นช่างเอาน้ำมันขี้โล้ทาพื้นล่างของโบสถ์ก็ถามหลวงพ่อว่า ทาทำไม

หลวงพ่อว่า ทากันน้ำซึม

 
หลวงพ่อชาพิมพ์หัวโน เนื้อดอกคะยอมผสมน้ำมันขี้โล้ พระไม่แข็งแรง ชำรุดเสียหายทุกองค์ (2516)
 
คุณชัยสิทธิได้ยิน เกิดความคิดว่าถ้าเอาน้ำมันขี้โล้มาผสมสร้างพระคงจะดี เพราะว่ากันซึมได้

หลวงพ่อก็ว่า เอางั้นรึ

คุณชัยสิทธิว่า เอา

หลวงพ่อก็อนุญาตให้ลองดู

เมื่อทำพระออกมาได้ 50 องค์ หลวงพ่อให้เลิก เพราะเห็นว่าไม่ได้ผลดีดังที่คุณชัยสิทธิคิด พระชุดนี้ไม่สวย แถมผุพังง่ายไม่แข็งแรง หลายองค์คงพังเป็นฝุ่นไปแล้ว ที่ยังเหลืออยู่ก็พรุนเป็นรู จึงจัดว่าเป็นพระหายากอีกเนื้อหนึ่ง

พระพิมพ์นี้ที่ทำด้วยเนื้อดอกคะยอม ทำขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับบล็อกทั้งสอง หลังจากนั้นจึงทำเนื้อมะพร้าวนรเกออกมา และมีเนื้ออื่น ๆ อีกหลายเนื้อ

ไม่ว่าจะเป็นเนื้ออะไรก็ตาม หากเป็นพระที่มาจากบล็อกทั้งสองเป็นไว้วางใจได้ เพราะว่าทำขึ้นในวัด ไม่รั่วไหลออกนอกวัด แต่อย่างใด

เป็นพระที่บริสุทธิ์ผุดผ่องในการสร้าง เทียบเท่ากับรุ่นแรกหลังใบไม้ และรุ่นสองหลังเรียบ

บล็อกทั้งสองนี้ได้พิมพ์พระออกมาเรื่อย ๆ หลายครั้ง ไม่สามารถแยกได้ว่าเนื้อไหนก่อนหลัง คงทราบแต่ว่า เนื้อดอกคะยอมผสมน้ำขี้โล้เท่านั้นที่พิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกด้วยบล็อกทั้งสอง

(ในปีเดียวกันนี้ทราบว่าได้มีการทำล็อกเก็ตขึ้น 124 อัน แต่ไม่มีภาพให้ดู)


thxby7212ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #25 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:29:25 »


8. หลวงพ่อชาหน้าตรง พิมพ์ งจส. (พ.ศ. 2517)

พระเครื่องพิมพ์นี้ร่วมมือกันสร้างขึ้นสามคน คือร้านง่วนอัง, คุณอ๊อด และอีกคนไม่ทราบชื่อ แต่เป็นเจ้าของแผงหนังสือพิมพ์ที่โรงหนังศิริสิน (เก่า) กดพิมพ์ขึ้นมาในวัดทั้ง 104 องค์ ระหว่างกดพิมพ์กันอยู่นั้น คุณชัยสิทธิไปกราบหลวงพ่อพอดี หลวงพ่อกล่าวว่า เขาขอรูปเฮาไปทำล็อกเกต ดันไปทำเป็นบล็อกทองเหลืองมา โน่นกำลังกดอยู่หอฉัน ไปดูสิ

หลังจากกดพระได้ครบจำนวน 104 องค์แล้ว นำพระถวายหลวงพ่อ และขอบล็อกกลับคืน อ้างว่าจะเอาไปลบตัวหนังสือ ?งจส.? ที่ด้านหลังออกเสียก่อน จึงจะนำมาถวายหลวงพ่อ เพราะว่าอยากให้มีพระที่ด้านหลังมี ?งจส.? อยู่แค่ 104 องค์ หลวงพ่อก็อนุญาตให้นำบล็อกกลับไป

ปรากฏว่าเอาบล็อกไปนานนับเดือน ไม่เอามาคืน ต้องส่งคนไปตาม เมื่อได้บล็อกมาแล้วหลวงพ่อได้จัดพิมพ์เอง เป็นพระเนื้อชานหมากจำนวน 12 องค์ ส่วนเนื้อเทียนไขก็มี แต่ว่าเป็นของท่านอาจารย์คำ วัดสวนกล้วยทำขึ้นทีหลัง เนื่องจากว่าภายหลังหลวงพ่ออาพาธแล้วบล็อกนี้ได้ตกไปอยู่กับท่านอาจารย์คำ และท่านได้กดพระพิมพ์นี้ขึ้นที่วัดสวนกล้วยหลายรุ่นหลายเนื้อ ปัจจุบันนี้ท่านอาจารย์เลี่ยม เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ได้ขอเอาบล็อกนี้กลับมาเก็บไว้ที่วัดหนองป่าพง และไม่มีการสร้างพระด้วยบล็อกนี้ขึ้นมาอีก


thxby7213ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #26 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:30:19 »




บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #27 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 08:34:22 »

เดี๋ยวมีภาคสอง(พาหลานไปเที่ยววัดเด็กก่อน อิอิอิ)เคดิตจากจากหนังสือ บุญญฤทธิ์ พระโพธิญาณเถร

หลวงพ่อชา สุภทฺโท วัดหนองป่าพง

อำพล เจน บรรณาธิการ


บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #28 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 17:07:59 »


9. พระเกษเจดีย์ คณะศิษย์ ร.ร.นายเรืออากาศ สร้างถวาย (พ.ศ. 2517)

คณะผู้สร้างได้มากราบขออนุญาตหลวงพ่อสร้างวัตถุมงคล เพื่อเป็นที่ระลึกสำหรับนักเรียนนายเรืออากาศรุ่นที่กำลังจะจบ หลวงพ่อไม่อนุญาตให้สร้างรูปท่าน แต่บอกว่าให้ทำเป็นพระเกษ ซึ่งหลวงพ่อหมายถึงพระเกษอย่างที่ท่านทำสมัยแรก แต่ทางคณะผู้สร้างอาจไม่เข้าใจความหมาย จึงได้ออกแบบสร้างเป็นรูปเจดีย์เรียกว่าพระเกษเจดีย์ โดยขออนุญาตสร้างจำนวน 500 อัน

เมื่อสร้างเสร็จแล้วยกมาถวาย ปรากฏว่าไม่ทำให้เสร็จสมบูรณ์ คือเพียงทำเป็นพระเกษสองชิ้นหน้าหลัง ไม่ประกบกันให้เรียบร้อย ผลก็คือหลวงพ่อต้องให้ศิษย์มาช่วยกันประกบติดให้ ท่านบ่นว่า นี่เอางานมาให้ทำอีก

เมื่อให้ลูกศิษย์ทำการประกบเจดีย์เข้าด้วยกัน ท่านให้บรรจุผงและเส้นเกษาไว้ด้วย พอทำเสร็จให้นับดูปรากฏว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 700 อัน หลวงพ่อร้อง อ้าว ขอ 500 ทำ 700 เสียนี่

หลังจากที่ท่านอธิษฐานจิตเสร็จแล้ว คณะผู้สร้างมาขอรับคืน โดยถวายหลวงพ่อไว้แจกจำนวนเล็กน้อย

พระเกษเจดีย์นี้ ได้มีผู้เอาไปทดลองยิงด้วยปืน ปรากฏว่ายิงไม่ออก


บันทึกการเข้า
siambomba
Jr. Member
**

พลังน้ำใจ : 41
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 47

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 5 : Exp 53%
HP: 0.1%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #29 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 17:09:48 »


10. เหรียญพระแก้วมรกต (พ.ศ.2517)

ข้าราชการพัฒนาที่ดิน ขออนุญาตสร้างเพื่อแจกเป็นของที่ระลึกในโอกาสจะย้ายจากจังหวัดอุบลฯ โดยขออนุญาตสร้างประมาณ 300 เหรียญ เมื่อสร้างเสร็จนำมาถวาย ซึ่งหลวงพ่อได้เอาเหรียญทั้งหมดเก็บไว้ใต้ฐานพระประธานในศาลาเป็นเวลานานวันระหว่างพรรษา ครั้นออกพรรษาแล้วผู้สร้างมาขอรับคืน หลวงพ่อก็มอบให้ไป

ระหว่างวันที่รับพระคืน เป็นวันออกพรรษา มีคนมาวัดมาก คุณชัยสิทธิ์ก็มาด้วย พบคณะผู้สร้างอยู่หน้าวัด และถูกถามว่า จะเอาเหรียญไหม รีบเอานะเดี๋ยวหมด เหรียญละ 30 บาท คุณชัยสิทธิบอก ไม่เอา ในใจนึกว่า ไปขอเอากับหลวงพ่อก็ได้ และซักถามรายละเอียดของพระรุ่นนี้ ได้ความว่าถวายปัจจัยหลวงพ่อไปจำนวนหนึ่ง (ไม่ทราบว่าเท่าไหร่เพราะว่าลืม)

เมื่อคุณชัยสิทธิไปกราบหลวงพ่อ ได้ถามว่า เขาถวายเงินเท่าไหร่

หลวงพ่อบอกว่า เปล่า ไม่ได้ถวาย คงถวายแต่เหรียญมา 35 เหรียญเท่านั้น

คุณชัยสิทธิเลยฟ้องว่า ตอนนี้เขากำลังขายเหรียญหลวงพ่ออยู่หน้าวัดกันแล้ว

หลวงพ่อร้องว่า อ้าวก็ไหนว่าจะเอาไปแจก กลับเอามาขาย เออ เขาไม่รวยหรอก

ตกลงหลวงพ่อเลยไม่แจกเหรียญพระแก้วในวันนั้น

ต่อมาภายหลังท่านไม่มีพระจะแจก จึงนำเหรียญพระแก้วทั้ง 35 เหรียญ แจกจนหมด


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!