ประวัติแก้วโป่งข่าม อ.เถิน
ความหมายของคำว่า ?โป่งข่าม?
โป่ง ตามหลักพจนานุกรมหลักภาษาไทยพายัพราชบัณฑิตยสถาน จัดพิมพ์ในปี พ.ศ. 2502 แปลว่า โป่งดิน หรือ ดินโป่ง
ข่าม หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภัยอันตราย
โป่งข่าม หมายถึง แหล่งที่ขุดขึ้นมา แห่งความข่าม คงซึ่งในสถานที่นั้นเป็นโป่งแก้วอันล้ำค่า
แก้วโป่งข่าม แก้วอันศักดิ์สิทธ์ ถือว่ามีความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดลำปางมาช้านาน เชื่อว่าสามารถคุ้มภัยให้ผู้ที่มีไว้ครอบครองในทางที่ดีได้ เป็นสิ่งที่มีมงคลควรแก่การบูชามาก
......."แก้วโป่งข่าม" ทรัพยากรธรรมชาติใต้พิภพอันล้ำค่า ซึ่งมีความเชื่อว่า ใครมีครอบครองจะประสบแต่ความสุข ความเจริญมีโชคลาภ แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งปวง จนกล่าวเป็นตำนานอันลือลั่น ขุมทรัพย์อันล้ำค่าของแก้วโป่งข่ามที่ซ่อนความเร้นลับภายใต้พื้นดิน ตามเชิงเขา ของหมู่บ้านแม่แก่ง,บ้านนาบ้านไร่ บ้านแม่เติน ตำบลแม่ถอด ห่างจากที่ว่าการอำเภอเถินประมาณ 10 กิโลเมตร ไปตามถนน เถิน-ลี้ และถนนเข้าหมู่บ้านดังกล่าวอีกประมาณ 4 กิโลเมตร สถานที่พบหินแก้วอยู่ตามเชิงเขาและที่ราบ เชิงเขาของห้วยแม่แก่ง เมื่อขุดลึกลงไปจะเป็นดินปนทราย ลักษณะหินแก้วจะเกาะกันเป็นก้อน หรือเกะากันเป็นลิ่ม เป็นแท่งรูปหกเหลี่ยมสีสันสวยงาม อยู่ลึกลงไปใต้พื้นดินประมาณ 4-5 เมตร บางแห่งขุดลึกลงไป 1 เมตรก็พบ
........ โบราณกาลมาแล้วที่คนรุ่นก่อนๆ ได้รู้จักและเห็นคุณค่าของแก้วชนิดต่าง ๆ ว่ามีคุณวิเศษเพียงใด ทั้งยังรู้จักที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ตัวเองและครอบครัว แต่ก่อนที่จะนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่แท้จริงนั้นต้องรู้จัก คุณลักษณะ ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแก้วแสง แต่ละชนิดเสียก่อน ตำราดูลักษณะของแก้วตามแบบที่ถูกต้องตามตำราพื้นเมืองลานนานั้นจริง ๆ แล้วเราสามารถแบ่งได้เป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด ๙ ประการ และยังสามารถแบ่งแก้ววิเศษออกได้อีกเป็น ๒๔ ดวง แก้ววิเศษทั้ง ๒๔ ดวงดังกล่าวนี้ถ้าหากว่าผู้ใดก็ตามที่สามารถนำ มาครอบครอง หรือทำเป็นหัวแหวนแล้วนำมาสวมใส่มือหรือ อาจจะนำมาพกติดตัวเอาเก็บไว้เป็นขวัญถุงแล้วก็จะทำให้ผู้ที่ครอบครอง จะมีแต่ความสุขความเจริญมั่งศรีสุข ข้าวของอันพึงมีจะไหลมาเทมาและยังมีอานุภาพทางมหาอำนาจ คุ้มครองป้องกันจากภัยอันตรายต่าง ๆ ดังมีผู้ได้ประสบการณ์อยู่เนือง ๆ บางทีก็ถึงขั้นคงกระพันฟันแทงไม่เข้า ที่เรียกกันว่าข่าม
......... แก้วโป่งข่ามมีชื่อเรียกต่างๆ ดังนี้ ขนเหล็ก ขนเพชร ขนคำ ขนทอง ขนเงิน หมอกมุงเมือง หมอกสีฟ้า ฟ้าแล หมอกสีน้ำตาล น้ำผึ้ง ปลวกเขียว ปลวกคำ ปลวกครั่ง ปลวกแดง สลักหิน สลักแก้ว สลักเพชร ประกายเพชร ประกายคำ หยาดน้ำค้าง มหานิล กาบเงิน กาบคำ กาบเพชร สีม่วง เรือนแก้ว เรือนคำ เรือนเพชร ฯลฯ คุณสมบัติแห่งความศักดิ์สิทธิ์คือ ป้องกันอุบัติเหตุได้ดีเยี่ยม ป้องกันไฟ แคล้วคลาด อยู่ยงคงกระพัน ป้องกันภูตผีปีศาจ ให้คุณทางมหานิยมให้ผลโชคลาภ ทำมาค้าขายดีให้ความร่มเย็นเป็นสุขแก่เคหะบ้านเรือนและครอบครัว
ความเชื่อในแก้วโป่งข่าม
........ โบราณกาลมาแล้วที่คนรุ่นก่อนๆ ได้รู้จักและเห็นคุณค่าของแก้วชนิดต่าง ๆ ว่ามีคุณวิเศษเพียงใด ทั้งยังรู้จักที่จะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ ตัวเองและครอบครัว แต่ก่อนที่จะนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามวิธีการที่แท้จริงนั้นต้องรู้จัก คุณลักษณะ ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ของแก้วแสง แต่ละชนิดเสียก่อน ตำราดูลักษณะของแก้วตามแบบที่ถูกต้องตามตำราพื้นเมืองลานนานั้นจริง ๆ แล้วเราสามารถแบ่งได้เป็นหลักใหญ่ ๆ ได้ทั้งหมด ๙ ประการ และยังสามารถแบ่งแก้ววิเศษออกได้อีกเป็น ๒๔ ดวง แก้ววิเศษทั้ง ๒๔ ดวงดังกล่าวนี้ถ้าหากว่าผู้ใดก็ตามที่สามารถนำ มาครอบครอง หรือทำเป็นหัวแหวนแล้วนำมาสวมใส่มือหรือ อาจจะนำมาพกติดตัวเอาเก็บไว้เป็นขวัญถุงแล้วก็จะทำให้ผู้ที่ครอบครอง จะมีแต่ความสุขความเจริญมั่งศรีสุข ข้าวของอันพึงมีจะไหลมาเทมาและยังมีอานุภาพทางมหาอำนาจ คุ้มครองป้องกันจากภัยอันตรายต่าง ๆ ดังมีผู้ได้ประสบการณ์อยู่เนือง ๆ บางทีก็ถึงขั้นคงกระพันฟันแทงไม่เข้า ที่เรียกกันว่าข่าม
แก้วโป่งข่าม มีลักษณะเป็นหินแก้วตระกูลแร่ควอทซ์ ซึ่งมีความแข็งแรงเป็นลำดับที่ 4 ของมาตราวัดความแข็งของแร่ คำว่า แก้ว หมายถึง หินแข็งใสแลลอดเข้าไปข้างในได้ โป่ง หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่พองด้วยลม หรือแก๊ส เช่นดินโป่ง(ดินที่มีเกลือ) ข่าม หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน ดังนั้นแก้วโป่งข่าม จึงมีความหมายถึง หินแข็งใสที่มองเล็ดลอดเข้าไปข้างใน และมีความอยู่ยงคงกระพัน โดยเกิดจากการผุดขึ้นมาที่ช่องดิน ด้วยเหตุนี้หลายๆคนจึงเชื่อว่า หากมีแก้วโป่งขามไว้ในครอบครองจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน
โดยตำนานอภินิหารความคงกระพันของแก้วโป่งข่ามนั้น เล่ากันว่า ในเขตดอยโป่งหลวงเป็นบริเวณที่มีดินโป่งสำหรับ สัตว์ที่จะกินเป็นอาหารได้ บริเวณดังกล่าวสมัยโบราณเป็นที่ชักลากไม้สัก ไม้ไผ่ และของป่า สำหรับชาวเมืองเถิน ส่วนขุมแก้วที่มีอยู่แม้จะทราบกันมานานแล้วแต่ก็น้อยคนนักที่จะ ทราบแหล่งขุมต่างๆที่แน่นอน เพียงแต่เข้าไปเพื่อหาของป่ามาขายเท่านั้นสำหรับการค้นพบแก้วโป่งขามที่ อ.เถินนั้นมีเรื่องเล่าว่า เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2545 บริเวณดอยโป่งหลวง บ้านนาบ้านไร่ หมู่ที่ 5 ต.แม่ถอด อ.เถิน จ.ลำปาง ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศเหนือประมาณ 3 กิโลเมตร ได้มีการขุดค้นพบแก้วโป่งข่ามยักษ์สูง 95 ซ.ม. กว้างรอบแท่งแก้ว 166 ซ.ม. น้ำหนักประมาณ 1 ตัน ชาวบ้านจึงได้นำมาถวายและเก็บไว้ที่วัดนาบ้านไร่ทั้งนี้ก่อนวันที่จะขุดค้น พบนั้น นายกาบ พรมไชย ราษฎรบ้านนาบ้านไร่ หนึ่งในชาวบ้านที่ขุดพบได้ฝันว่า มีแก้วปวกเขียวลักษณะเป็นแท่งลอยมาหา และได้พยายามคว้าไว้แต่ไม่ได้ และแท่งแก้วดังกล่าวได้ลอยไปอยู่บริเวณปากหลุมที่ขุดค้นพบ เรื่องนี้ใครจะเชื่อเช่นใดหรือใครจะมีความคิดเห็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับ วิจารณญาณของแต่ละคน
แก้วปวก.... คำว่าปวกเป็นภาษาเหนือ แปลว่าต่อมน้ำหรือฟองน้ำ ตามตำนานพระธาตุลำปางกล่าวถึงลักษณะดั้งเดิมของพระธาตุเจ้าลำปางมีสัณฐานดั่งปุ่มปวกน้ำ คือลักษณะครึ่งวงกลมเช่นผลส้มผ่าครึ่ง ตามแบบพระสถูปอินเดียสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งเผยแพร่พระพุทธศาสนาถึงสุวรรณภูมิ
........ปวกต่าง ๆ ประเภทแร่สีและต่อมน้ำแก้วต่าง ๆ ทำให้เกิดชื่อปวกสี ปวกแก้วต่าง ๆ ปวกแร่สีที่ราบกับก้นแก้วเรียกว่า ?ปวกทราย? แก้วปวกทรายคำตามสีสันและวาวสี แต่ถ้ามีลักษณะฟูขึ้นมาก็จะเรียกว่า ?ปวกปุย? ปวกสีต่าง ๆ ปวกเครือ ปวกลอย คราบปวก ที่กระจัดกระจายมีสีกระดำกระด่าง คนภาคกลางเรียกกันว่า ?กาหลง? ปวกกาหลง มิใช่ลักษณะแก้วชั้นดีของบ่อแก้วโป่งข่ามมักจะเป็นของที่นำมาจากที่อื่นลักษณะของแก้วปวกแต่ละชนิดจะมีชื่อตามลักษณะสี เช่นปวกเขียว ปวกแดง ปวกคำ (ทอง) ปวกเงิน ปวกแก้ว ฯลฯ และลักษณะที่เกิดขึ้นภายในเรือนแก้วได้แก่ ปวกไรแก้ว, ปวกทราย, ปวกครั่ง, ปวกเครือ, ปวกลอย, ปวกปุย, ปวกสี, ปวกวรรณสาม (สามสี), ปวกเบญจรัตน์ (ห้าสี), ปวกสัตรัตน์ (เจ็ดสี), ปวกนวรัตน์ (เก้าสี)
แก้วประภาหมอกมุงเมือง.... ลักษณะของแก้วประเภทหมอกมุงเมืองโดยทั่วไปนั้นเราสามารถดูได้ง่าย ๆ คือภายในแก้วนั้นจะมีลักษณะเหมือนกับลายที่เกิดขึ้นในก้อนน้ำแข็งและลายผ้าที่เกิดขึ้นในก้อน โป่งข่ามจึงเรียกกันว่าหมอกมุงเมือง คือจะมีลักษณะลายสีขาว ๆ อาจจะมีทั้งขาวบาง ๆ หรืออาจจะขาวขุ่นหนาทึบเหมือนกับลักษณะของเมฆบนท้องฟ้าซึ่งก็แล้วแต่ละภูมิอากาศ ว่าบางวันอากาศดีเมฆไม่มากไม่น้อย หรือบางวันอากาศปิดฟ้ามืดทืบเมฆก็จะมาก หมอกมุงเมืองบางเม็ดอาจจะมีเพียงริ้วบาง ๆ และแทรกด้วยสีฟ้าอ่อน ๆ หรือบางเม็ดอาจจะมีลักษณะ เหมือนกับควันไฟก็ได้
........เชื่อกันว่าแก้วประภาหมอกมุงเมืองนั้นดีหากผู้ใดได้ครอบครองแล้ว จักทำให้เกิดความชุ่มเย็นกับผู้ครอบครองและสมาชิกในครอบครัวอีกทั้งจะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ สินเงินทองและข้ารับใช้ ส่วนอีกด้านหนึ่งนั้นเหมาะนักแลกับผู้ที่ฝึกสมาธิเพราะจะเพิ่มพูนส่งเสริมสมาธิให้กับผู้ใช้ ........ อีกทั้งแต่โบราณยังใช้แก้วประภาหมอกมุงเมืองเป็นเครื่องมือในการทำการเสี่ยงทาย หรือเพ่งดูภาพนรกสวรรค์ทางสมาธิ จึงนับได้ว่าแก้วประภาหมอกมุงเมืองมีคุณค่า อเนกอนันต์นักแล
........ผู้ที่เหมาะจะใช้แก้วประภาหมอกมุงเมืองหากดูตามวันที่เหมาะสมตรงตามกับโฉลกของผู้ใช้ คือผู้ที่เกิดวันอังคาร ไม่แต่เท่านั้นยังใช้กับวันอื่น ๆ ได้ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่ต้อง การเสริมบารมีหรือต้องการนำไปส่งเสริมในการฝึกสมาธิ โดยไม่จำเป็นต้องดูวันเกิดว่าตรงหรือไม่ คำว่า ?หมอกมุงเมือง? นั้นเป็นภาษาลานนา หมายถึง มีความร่มเย็นตลอดเวลา ดังหมอกมุงเมืองไว้ คือไม่มีความเดือดร้อนเลย จนนำมาเป็นชื่อแก้วโป่งข่ามชนิดนี้ และบางท่านที่หาแก้วชนิดนี้ไม่ได้คืออยู่ในดินแดนที่ห่างไกลออกจากแหล่งแก้วโป่งข่ามก็จะหา คาถาอาคมที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชื่อว่า ?หมอกมุงเมือง? เช่นกัน เรื่องนี้ท่านอาจารย์ปริญญา ณ เชียงใหม่ ผู้ที่ค้นคว้าเรื่องเลขยันต์เมืองเหนือที่จัดว่าเชี่ยวชาญท่านหนึ่งก็เคยเล่าให้ฟังว่ามี ตะกรุดที่ชื่อ ?หมอกมุงเมือง? เช่นกันและยังบอกว่าคำว่าหมอกมุงเมืองนี้นอกจากร่มเย็นมั่งคั่งแล้ว ยังเป็นข่ามคง สีหนาถ ด้วยจึงจัดว่าครบเครื่องครับ อีกประการ คำว่า ?หมอกเมือง? หรือ ?เมฆเมือง? ในตำราพิไชยสงครามโบราณยังให้ความหมายถึงบรรดาสิ่งศักดิ์สิทธิ์อย่าง เทพประจำเมือง (เจ้าพ่อหลักเมือง) ด้วยดังนั้น คำว่าหมอกมุงเมืองจึงมีนัยความหมายว่า เป็นแก้วที่มีเทพเจ้าศักดิ์สิทธิ์ในระดับเทพประจำเมืองคอยคุ้มครองทีเดียว (ดูคาถาหมอกมุงเมืองในบทความเชื่อและคาถาอาคมกับโป่งข่าม)