บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 12:38:38 » |
|
กราบขอขมาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เจตนาเพื่อเผยแพร่ประวัติและบารมีของท่านให้พุทธศานิกชนได้รับรู้กันครับ
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
Agri_07
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 12:57:58 » |
|
ลูกขอกราบนมัสการ พระครูบาอาจารย์ สาธุุ สาธุ สาธุ...ปล. ขอบคุณครับพี่ท่านบ่อหัวซา สำหรับข้อมูลที่มาเผยแผ่ครับ๙๙๙หนุ่มสิงห์บางระจัน๙๙๙
|
" คิดดี ปฏิบัติดี จะได้ดี "
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 13:33:14 » |
|
ผู้ข้าฯ ขอกราบนมัสการพระอาจารย์ใหญ่ ท่านคือใครน๊อ....ใช่ญาท่านธรรมบาล หรือว่าเป็นญาท่านแก้วไพฑูรย์
|
|
|
|
MaiUbon
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 20:20:12 » |
|
รูปภาพนี้ไม่รู้เลยครับ
|
|
|
|
vs12
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 21:29:30 » |
|
ญาท่านธรรมบาล(ผุย)
|
|
|
|
vs12
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 21:30:08 » |
|
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 21:34:43 » |
|
ถูกต้องนะครับ ท่าน vs12 ทั้งภาพถ่ายและเหรียญ ท่านั่งของท่านจะเป็นเอกลักษณ์ครับ
|
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #7 เมื่อ: 13 สิงหาคม 2554, 21:53:58 » |
|
ท่านพระธรรมบาล(ผุย) แห่งวัดป่าน้อยหรือวัดมณีวนาราม มีสัณฐานสูงใหญ่ สีผิวเนื้อขาวละเอียด ลักษณะท่าทางทุกส่วนสง่างาม ฟันทนไม่โยกคลอนสักซี่จนถึงวันมรณภาพ เป็นสัทธิวิหาริกของท่าน พฺรหมฺสโร (พรหมมา) วันหนองยาง ภูมิลำเนา เกิดที่บ้านขุนปูน ตำบลคำไฺฮใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี ท่านเชี่ยวชาญทางคันถธุระปฏิบัติเคร่งในธรรมวินัย เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และประชาชนที่อยู่ในชุมชนข้างวัด ท่านมีไหวพริบเฉียบแหลมในทางแปลงปริยัติ ตัดใจความให้สละสลวยเข้่าใจความง่าย ชอบใช้จีวรย้อมแก่นขนุนสีกรัก พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ทรงอารธนาไปรับบิณบาตที่วัง ทำพิธิทดลองในการปฏิบัติพระธรรมวินัย ถึงกับได้เปล่งวาจาชมเชยว่า "ในเมืองอุบลมีแก้ววิเศษ" จึงเป็นเหตุให้นำมาซึ่งความเลื่อมใส จะเป็นปีเดือนอะไรไม่ทราบได้ ท่านเชิญชวนอันโตชนและบริวารชน เสด็จมาทำพิธีสรงน้ำที่วัดและประทานอัฐบริิขารพร้อมทั้งสัญญาบัตรพัดยอดอันท่านเจ้าเคยใช้ ซึ่งมีอยู่ประจำวัด ให้ใช้ในงานหลวงเมืองอุบลเสมอมา ครั้นพระเจ้าบรมเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ เสด็จกลับกรุงเทพฯ แล้ว ท่านก็ไปอยู่วัดบ้านคำไฺฮบ้าง มาอยู่วัดมณีวนารามบ้าง เป็นครั้งคราว ในระหว่างนี้ท่านมีอายุเข้าขั้นชรามากการไปมาเดินไม่สะดวก พวกอุบาสกชอบให้ขึ้นแคร่หามไปมาเสมอ ขณะที่หามไปที่ไหนๆ ก็ตามมักพูดปลอบโยนเอาอกเอาใจผู้หามเสมอว่า "อย่าบ่นว่าหนักเลย อุตส่าห์หามตู้หนังสือไปเถิด" ดังนี้ ครั้นมาภายหลังท่านไปบ้านคำไฺฮโดยขึ้นแคร่หามไปเวลากลับได้กลับทางเรือตามลำเซบก ระหว่างทางท่านได้หยุดพักฉันเพล พอฉันเพลเสร็จท่านจะเดินทางต่อ แต่เผอิญท่านมีอาการปวดหัวมาก ท่านเองก็ทราบว่า "อาการเก่ากำเริบขึ้นอีก" จึงขึ้นจากเรือ พวกลูกศิษย์ได้ไปตามราษฎรบ้านดงบังมาจัดเตียงสำหรับหามเสร็จแล้ว ท่านก็ให้เขาหามรีบลัดมาทางตรงถึงวัดมณีวนาราม ในวันนั้นอาการปวดศรีษะนั้น กำเริบขึ้นมากกลายเป็นไข้สันนิบาตแพทย์แผนโบราณได้เยียวยาสุดความสามารถ เมื่ออาการไข้ค่อยทุเลาลง สายตาก็ค่อยมืดลงตามกันเมื่อไข้หายแล้วเส้นประสาททางตาก็หมดอำนาจ จึงทำให้ตาบอด ครั้นตาบอดแล้วการไปมาก็ต้องขึ้นแคร่หามอยู่ตามเดิม ถึงเวลาขบฉันลูกศิษย์ก็ผลัดกันเปลี่ยนกันป้อน ท่านจะนึกอย่างไรไม่ทราบท่านจึงกลับไปอยู่วัดบ้านคำใฮอีกหลายปี ก็ระยะที่ท่านไปอยู่วัดบ้านคำใฺฮนี้ประชาชนทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิตก็ไปมานอบน้อมถวายปัจจัย ๔ ไม่ได้ขาด ครั้นกาลล่วงมาท่านชรามากเข้าศิษยานุศิษย์มาประชุมพร้อมกัน มีความเห็นตรงกันว่าท่านเป็นผู้ที่ประชาชนให้การสักการะและเคารพนับถือเป็นอย่างยิ่งจึงไม่ควรที่จะมรณภาพที่วัดบ้านคำใฺฮ จึงได้เชิญชวนกันไปรับท่านมาอยู่วัดมณีวนารามตามเดิม ท่านครองวัดอยู่ประมาณ ๓๐ ปี มรณภาพด้วยโรคชราที่กุฏิแดง อันตั้งอยู่ทิศตะวันตกศาลาการเปรียญคำณวนอายุได้ ๘๘ ปี ทำพิธีสรงน้ำศพเสร็จแล้วเชิญศพบรรจุหีบกำปั่นสำรองก่อน เมื่อบำเพ็ญกุศลสัตตมวารเสร็จแล้ว ก็เก็บศพไว้ ๖ เดือน เมื่อกำหนดวันจะทำฉาปนกิจศพ มีท่านเจ้าคุณ-พระพรหมมุนี เจ้าคณะมณฑลอุบลฯ สมันนั้น เป็นประธานจัดการปลงศพ จึงทำรูปนกหัสดีลิงค์ประกอบหอแก้วบนหลังนกและทำหีบนพสูญ แล้วบำเพ็ญกุศลอยู่ ๓ วันแล้วเชิญหีบศพไปประดิษฐานหอแก้วบนหลังคานก ชักลากไปทำฌาปนกิจศพที่สุสานป่าช้าวัดแจ้งแล้วเก็บอัฏฐิมาบำเพ็ญกุศลตามประเพณี เสร็จแล้วก็นำอัฐิเข้าบรรจุในเจดีย์ท่านเจ้า(พระอริยวงศาจารย์) ซึ่งเป็นเจดีย์เก็บอัฐิของท่านสุวณฺโณ และท่านจันทรังสี
|
|
|
|
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
|
|
« ตอบ #8 เมื่อ: 14 สิงหาคม 2554, 10:08:13 » |
|
ถูกต้องแล้วครับ ยอดเยี่ยมมากครับพี่รามิน หลวงปู่ใหญ่ญาท่านธรรมบาลผุย แห่งวัดป่่าน้อย ผู้ซึ่งเป็นสหธรรมิกของสำเร็จลุน ธรรมบาลผุยท่านนี้ถือว่าเป็นอาจารย์ใหญ่อีกท่านหนึ่งของสายสำเร็จลุนเพราะท่านมักแลกเปลี่ยนวิชาและไปมาหาสู่กับสำเร็จลุนอยู่เป็นประจำ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ศิษย์ยุคต้นๆของท่านได้แก่ ลป.รอด วัดทุ่งศรีเมือง หลวงปู่ญาท่านโสม(ญาท่านธรรมบาลโสดา)แห่งวัดเหล่าแดง อ.ดอนมดแดง ซึ่งศิษย์ในสาย ลป.รอด วัดทุ่งศรีเมืองทั้งหมดก็ถือว่าท่านธรรมาลผุยเป็นอาจารย์ใหญ่ อาทิ ลป.บุญ วัดคำหว้า ลป.บุญโฮม วัดดอนรังกา และองค์อื่นๆอีกมากมายครับ มาพูดถึงศิษย์รุ่นหลังๆของท่านธรรมบาลผุยกันบ้าง ตามที่สืบทราบมา ก็คือท่าน หลวงปู่ด่อน แห่งวัดถ้ำเกีย และก็คงอมีองค์อื่นๆอีกมากมายครับ รูปภาพข้างบนเป็นรูปต้นแบบของเหรียญรุ่นแรกของท่าน ซึ่งสร้างขึ้นมาในปี 2514 ถึงแม้จะไม่ทันหลวงปู่แต่ก็เปี่ยมด้วยพุทธคุณและประสบการณ์มากมายเพราะปลุกเสกโดยคณะลูกศิษย์ของหลวงปู่ครับ
|
ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #9 เมื่อ: 15 สิงหาคม 2554, 13:53:04 » |
|
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
chanatip
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #10 เมื่อ: 31 ธันวาคม 2554, 15:38:44 » |
|
หลวงปู่ผุยสุดยอดมากครับ
จะว่าจริงๆ ก็หายากนะครับ พระยุคเดียวกันกับสำเร็จลุนแบบนี้
ข้อมูลท่านที่เกี่ยวกับสหายรักครับ
ข้อความสีแดงเป็นช่วงที่สำคัญมากครับ
หลวงปู่สำเร็จลุน อายุประมาณ 13 ปี พ. ศ.2402 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ สำนักวัดบ้านเวินไซ บ้านของท่านเอง พระอุปัชฌาย์ไม่ปรากฎ จำพรรษาเล่าเรียนจนอายุครบ 20 ปีได้ไปอุปสมบทที่สำนัก "วัดบ้านฮีบ้านเวียง" อำเภอตระการพืชผล ประเทศไทย พระอุปัชฌาย์สืบไม่ได้ ศึกษาอยู่กี่ปีสืบไม่ได้และได้ลาอุปัชฌาย์กลับวัดบ้านเวินไซ บ้านเกิดของท่าน
ประมาณ พ.ศ. เท่าใดไม่ปรากฎ ท่านได้ร่วมกับพระซึ่งเป็นสหายรักใคร่สนิทสนมกันมาก คือ ญาท่านธรรมบาล วัดป่าน้อย เมืองอุบล ประเทศไทย ชักชวนกันไปศึกษาเล่าเรียนค้นคว้าจากสำนัก วัดบ้านนาหลงนาหลัก เมืองสุวรรณคีรี แขวงปากเซ ประเทศลาว โดยไปด้วยกันทั้งหมด 5 รูป เมื่อไปถึงได้เข้านมัสการแจ้งความประสงค์ขอมอบตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ท่านก็ยินดีรับและมอบให้ทั้ง 5 รูปนี้ ให้ขึ้นไปบนหอไตร ซึ่งบรรจุพระคัมภีร์ต่างๆมากมาย ให้ค้นคว้าเอาเองจนกว่าจะพบ ถ้าหากไม่พบห้ามกลับลงมาฉันอาหารเพล มีตู้บรรจุพระไตรปิฎกอยู่ 3 ใบ ท่านพร้อมกับญาท่านธรรมบาล และพระภิกษุอีก 3 รูป ได้พร้อมกันค้นคว้าจนหมดทั้ง 3 ตู้ จนกระทั่งจวนถึงเวลาฉันอาหารเพล พระภิกษุทั้ง 3 รูป จึงได้ลงมาฉันอาหารเพลก่อน คงเหลือแต่ท่านและญาท่านธรรมบาลเท่านั้น ค้นอยู่จนอ่อนใจจึงไปพบอยู่ก้นตู้ผูกหนึ่งเล็กๆ ซึ่งสำคัญมาก ท่านทั้งสองจึงได้ถือเอาลงมาด้วย และได้นำไปศึกษาเล่าเรียนในตำราเล่มเล็กนี้ ก็คงได้ศึกษาแต่ท่านสำเร็จลุนและญาท่านธรรมบาลเท่านั้นรวม 2 รูป สำหรับพระภิกษุทั้ง 3 ขาดความอดทน พระอาจารย์สั่งไม่ให้ศึกษาและมีข้อห้ามที่ว่า "พระภิกษุที่ได้ศึกษาจากตำราเล่มนี้จะสึกมิได้ต้องอยู่ในเพศพรหมจรรย์ตลอดชีวิต"
|
|
|
|
chanatip
บุคคลทั่วไป
|
|
« ตอบ #11 เมื่อ: 05 มกราคม 2555, 08:03:23 » |
|
|
|
|
|
mohbantung
|
|
« ตอบ #12 เมื่อ: 02 มกราคม 2556, 18:41:06 » |
|
เหรียญ ท่านธรรมบาล (ผุย) กะไหล่ทอง สวยมาก (องค์จริงสวยมากครับผม)
|
|
|
|
|
ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
|
|
« ตอบ #14 เมื่อ: 28 กันยายน 2560, 21:01:35 » |
|
ข้อมูลอ้างอิง จากหนังสือ เล่มด้านล่างนี้
|
.
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 28 กันยายน 2560, 21:12:42 โดย ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ »
|
บันทึกการเข้า
|
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นใน... ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
|
|
|
|