ปราสาทหิน ร่องรอยอารยธรรมอันรุ่งเรื่อง ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:26:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ปราสาทหิน ร่องรอยอารยธรรมอันรุ่งเรื่อง  (อ่าน 20260 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 10 ตุลาคม 2554, 15:42:50 »

ปราสาทบ้านเบญจ์
ที่ตั้ง : บ้านหนองอ้ม ตำบลหนองอ้ม อำเภอทุ่งศรีอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
ประเภท : แหล่งโบราณคดี
 
        ปราสาทบ้านเบญจ์เป็นศาสนสถานขอมขนาดย่อม ประกอบด้วยปรางค์อิฐ 3 หลัง ตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงที่สร้างแยกกัน กรมศิลปากรได้ทำการขุดแต่งในปี พ.ศ. 2533 ได้พบทับหลังรูปเทพนพเคราะห์ หรือเทวดาประจำทิศทั้ง 9 องค์ และรูปพระอินทร์ทรง ช้างเอราวัณ จากลักษณะแผนผังทางสถาปัตยกรรมและภาพสลักบนทับหลังที่พบ อาจกำหนดอายุปราสาท หลังนี้ได้ประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 15 ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 16
 
อ้างอิงจาก : http://www.thaitambon.com


* prasartbanben.jpg (22.83 KB, 160x120 - ดู 1392 ครั้ง.)

* prasartbanben(3).jpg (22.79 KB, 160x120 - ดู 1392 ครั้ง.)

* prasartbanben(4).jpg (20.96 KB, 160x107 - ดู 1433 ครั้ง.)

thxby3632คนโก้
บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2554, 15:46:02 »

ปราสาททองหลาง

ปราสาททองหลาง" ตั้งอยู่ที่บ้านท่าโพธิ์ศรี  หมู่ที่  10 ตำบลท่าโพธิ์ศรี    ปราสาททองหลางเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นปรางค์ ก่อด้วยอิฐ 3 หลัง  ตั้งเรียงกันในแนวเหนือ ? ใต้  บนฐานศิลาแลงเดียวกัน  หันหน้าไปทางทิศตะวันออก  ปราสาทหลังกลางมีขนาดใหญ่กว่าปราสาทอีกสองหลังที่ขนาบข้าง
  จากลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรม  สันนิษฐานได้ว่าปราสาททองหลางมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 16?17 เทียบได้กับศิลปะเขมรแบบบาปวน (พ.ศ. 1550-1620)
          กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และกำหนดเขตที่ดินโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 99 ตอนที่ 155 วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2525 พื้นที่ประมาณ 6 ไร่ 3 งาน 52 ตารางวา
         ปราสาททองหลางเป็นโบราณสถานที่รับอิทธิพลวัฒนธรรม-เขมรโบราณที่พบไม่มากนัก  ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี
         การเดินทาง บ้านท่าโพธิ์ศรี ห่างจากตัวอำเภอเดชอุดม 10 กิโลเมตร ตามทางหลวงหมายเลข 2171 ถนนสายเดชอุดม-น้ำยืน


 ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.ubonguide.org/forum/index.php?topic=303.0


* tat1_01.JPG (179.8 KB, 658x494 - ดู 1734 ครั้ง.)

* tat1_13.JPG (159.81 KB, 658x494 - ดู 1595 ครั้ง.)

* tat1_10.JPG (171.18 KB, 450x600 - ดู 1881 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 10 ตุลาคม 2554, 15:52:04 »

 ดงเมืองเตย

ดงเมืองเตย คือ ชื่อเมืองโบราณสำคัญแห่งหนึ่ง   ตั้งอยู่ในเขตตำบลสงเปือย  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร  ภูมิประเทศโดยรอบยังพอเรียกขานได้ว่า ?ดง?    นอกจากแมกไม้พื้นบ้านประเภทเบญจพันธุ์แล้วยังมีต้นยางนาขนาดใหญ่หลายสิบต้นยืนเปลือยร่างสูงตระหง่าน  แผ่กิ่งก้านสาขาทอดเงาครึ้มสลัวสลางบนเนินดินสีเทาทึม  บรรยากาศเย็น ๆ  สงบ ๆ ชวนให้รู้สึกเคลิบเคลิ้มในอารมณ์ยิ่งนัก   แม้สายแดดยามใกล้เที่ยงแผดเผาเปรี้ยง ๆ ไปทั่วท้องทุ่งยามหน้าแล้ง   แต่ดงดอนแห่งนี้ยังคงสงบเย็น  สงัดเงียบราวกับฝังตัวอยู่ไกลแสนไกลจากโลกปัจจุบันอันแสนเร่าร้อนและยุ่งเหยิง
                               
            หากสำรวจโดยรอบจะพบว่า  สถานที่แห่งนี้ยังได้รับการสงวนไว้เป็นเขตศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน  มีการใช้ประโยชน์ในการบำเพ็ญเพียรทางจิตของพระธุดงค์  และกลุ่มอุบาสก  อุบาสิกา  พากันนุ่งขาว  ห่มขาวนั่งสมาธิกันอย่างสมณะอยู่ตามศาลามุงหญ้าหลังเล็ก ๆ    ส่วนหลักฐานด้านโบราณคดีพบว่า มีซากเจดีย์  สระน้ำหรือบาราย  กำแพงเมือง   ใบเสมาขนาดใหญ่  ศิลาจารึกอักษรปัลลวะ  และชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมศิลาทรายที่สวยงาม
                               
                จากร่องรอยเหล่านี้  นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีต่างสันนิษฐานว่า  ดงเมืองเตย เคยเป็นชุมชนโบราณสมัย เจนละ- ทวารวดี เมื่อประมาณพันปีเศษที่ผ่านมา  เมืองโบราณแห่งนี้รวมทั้งชุมชนใกล้เคียงในแถบอารยธรรมลุ่มน้ำชี ? มูลเคยเป็นเมืองที่มีชื่อตามจารึกว่า ?ศังขะปุระ? ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะเมืองสำคัญแห่งหนึ่งของอาณาจักรเจนละที่มีอาณาเขตกว้างขวางเกือบทั่วภาคอีสานโดยมีกษัตริย์เรืองอำนาจสูงสุดในยุคนั้นคือ ?พระเจ้าจิตเสน? เป็นผู้ปกครอง  แล้วพัฒนาการมาเป็นอารยธรรมขอมในเวลาต่อมา
                                 
             จากข้อมูลสด ๆ  ในพื้นที่   หลักฐานสำคัญของเมืองโบราณแห่งนี้ไม่ใช่ฐานเจดีย์อิฐที่เคยรับรู้และเข้าใจว่านั่นคือทั้งหมดของ ?ดงเมืองเตย? แต่แท้จริงแล้วคือ ชิ้นส่วนประเภทศิลาทรายสีชมพูซึ่งเก็บรักษาไว้ภายในศาลาวัด  หลายชิ้นมีขนาดมหึมา และแกะสลักลวดลายไว้สวยงาม  สุดแสนอลังการ
                                 
             เนื่องจาก  ภายในเมืองโบราณดงเมืองเตยหรือบริเวณใกล้เคียงไม่ปรากฏซาก ร่องรอยสิ่งก่อสร้างใด ๆ ที่ใช้วัสดุประเภทหินเป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง  จึงทำให้เกิดข้อสงสัยบางประการ  ชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมเหล่านี้ใช้ประดับตกแต่งสิ่งก่อสร้างใด และตั้งอยู่จุดใดของเมืองโบราณดงเมืองเตย  หรือว่า ชุมชนแห่งนี้เป็นถิ่นพำนักของศิลปินพื้นบ้าน   รับจ้างแกะสลักหินสำหรับนำไปประดับตกแต่งปราสาท  เทวาลัยที่พบเห็นอยู่ดาษดื่นทั่วภาคอีสาน  คงเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมชนิดพลิกแผ่นดิน  หรือมีเหตุการณ์สำคัญอะไรสักอย่างที่ทำให้การทำงานของช่างหยุดชะงักลง  แล้วแตกกระสานซ่านเซ็นกันไปคนละทิศละทาง  ชิ้นส่วนงานแกะสลักเหล่านี้จึงถูกทิ้งร้างอย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน
                             
            ลายแกะสลักเหล่านี้บ่งบอกได้ดีว่า  บรรพชนคนดงเมืองเตยมีความเจริญก้าวหน้า  มีการติดต่อ  สร้างเครือข่ายกับคนภายนอกอย่างคึกคักมาเป็นเวลานาน   ที่สำคัญคือ ที่นี่เป็นชุมชนที่มีความมั่นคง  สงบสุข ร่มเย็นเพียงพอที่จะก่อให้เกิดกลุ่มบุคคลที่มีภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์ศิลปกรรมละเอียดอ่อน  ล้ำลึกถึงเพียงนี้
                           
            ภายใต้เงาไม้ใหญ่อันวังเวง  พลันนั้นคล้ายมีสำเนียงวิเวกแว่วในห้วงภวังค์ราวส่ำเสียงบริกรรมภาษาโบราณมาจากที่ใดสักแห่ง  แม้ว่า  เหล่าบรรพชนชาวเจนละ-ทวารวดี ได้สลายร่างและสูญสิ้นอาณาจักรแห่งการปกครองไปแล้วอย่างถาวรก็ตาม
            แต่เลือดเนื้อแห่งอารยธรรมสีชมพูยังสดใสพร่างพราวโดดเด่นเหนือระบบการปกครองใด ๆ และสถิตย์เหนือกาลเวลา

        ขอคุณข้อมูลจาก  http://www.oknation.net/blog/U-Thong/2010/03/12/entry-1


* dd01.gif (54.75 KB, 350x263 - ดู 1575 ครั้ง.)

* dd02.gif (58 KB, 350x263 - ดู 1561 ครั้ง.)

* dd06.gif (65.41 KB, 350x263 - ดู 1591 ครั้ง.)

* dd08.gif (46.81 KB, 350x263 - ดู 1621 ครั้ง.)

* ซากเมืองโบราณดงเมืองเตย1.jpg (65.62 KB, 400x400 - ดู 1892 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!