ท่านธรรมบาล วัดบ้านยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบล ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:30:32 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ท่านธรรมบาล วัดบ้านยางขี้นก อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบล  (อ่าน 18739 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
konlathai
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 57
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 7 : Exp 9%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 14:37:49 »

ท่านใดพอทราบประวัติท่านธรรมบาล วัดบ้านยางขี้นก  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบล

ช่วยเล่าด้วย


ขอบคุณมากครับ


บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:15:10 »

พระธรรมบาล (ทุย)
(ราว พ.ศ. ๒๓๗๔ ? ๒๔๖๘)
ชาติภูมิ
พระธรรมบาล (ทุย) นามเดิม ทุย เกิดวัน เดือน ปีใดไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนแต่คงเป็นราว พ.ศ. ๒๓๗๔ (เพราะเป็นสหธรรมิกรุ่นราวคราวเดียวกับพระธรรมบาล (สุ้ย) และพระธรรมบาล (ผุย) แห่งวัดมณีนาราม อาเภอเมืองอุบลราชธานี ที่บ้านยางขี้นก ตาบลยางขี้นก อาเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี บิดา มารดาชื่ออะไรก็ไม่ปรากฏหลักฐานเช่นกัน ทราบแต่เพียงว่าเป็นชาวนาบ้านยางขี้นก
การศึกษา บรรพชาและอุปสมบท
พระธรรมบาล (ทุย) คงได้รับการศึกษาเบื้องต้นจากวัดในหมู่บ้านโดยมีพระสงฆ์เถระเจ้าวัดหรือพระอาจารย์ที่มีความรู้ในอักษรสมัย เช่น อักษรขอม อักษรธรรมและอักษรไทยน้อย (ลาว) ตลอดจนคาถาอาคม ตาราสรรพเวทย์ต่าง ๆ เป็นผู้สอนจนมีความรู้พออ่านเขียนท่อง (สวด) ได้ จึงจะสามารถเรียนระดับสูงขึ้นไปได้ ท่านได้บรรพชาและอุปสมบทเมื่อใดและใครเป็นพระอุปัชฌาย์ก็ไม่ปรากฏหลักฐาน ทราบแต่เพียงว่าเมื่ออุปสมบทแล้วได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียนมูลกัจจายน์ที่สานักวัดหลวง ในเมืองอุบลราชธานี ซึ่งเป็นสานักเดียวกันกับพระธรรมบาล (ผุย) ผลการเรียนมูลกัจจายน์อยู่ในชั้นเชี่ยวชาญมากจนสามารถออกไปตั้งสานักเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดยางขี้นกอันเป็นบ้านเกิดโดยท่านเป็นผู้อานวยการสอนเอง นับเป็นสานักเรียนที่มีชื่อเสียง มีพระภิกษุสามเณรจากที่อื่นมาศึกษาเล่าเรียนจานวนมาก เทียบเท่ากับสานักเรียนในเมือง เช่นสานักวัดป่าน้อย (มณีวนาราม) สานักวัดหลวง เป็นต้น
หน้าที่การงาน
พระธรรมบาล (ทุย) ใช้อุบายในการสั่งสอนธรรมะแก่ญาติโยมศิษยานุศิษย์ด้วยการใช้สถานการณ์จริง โดยการปฏิบัติจริงจึงจะได้รู้ว่าผลที่เกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร ดีหรือไม่ดีอย่างไรขอยกกรณีตัวอย่างที่ ดร.ปรีชา พิณทอง (ป.ธ.๙., อดีตพระศรีธรรมโศภน) ได้บันทึกไว้ตามคาบอกเล่าของบิดาของท่านซึ่งเป็นหนึ่งในศิษย์ของพระธรรมบาล (ทุย) ๓ เรื่องดังนี้
เรื่องที่ ๑ ?สอนให้รู้จักประมาณตน? โดยใช้กระบวยตักน้าเป็นสื่อในการสอนให้รู้จักประมาณ คือ ที่หน้ากุฏิของท่านจะมีโอ่งน้าขนาดใหญ่ใบหนึ่ง ให้ลูกศิษย์ตักน้ามาใส่ให้เต็มอยู่ทุกวัน เมื่อญาติโยมมาเยี่ยมหรือนิมนต์ไปในงานบุญกุศลต่าง ๆ ถ้ากระหายน้าก็จะให้ตักดื่มเอง มากน้อยตามความต้องการ กระบวยมี ๓ ขนาด คือ เล็ก กลาง ใหญ่ บางคนใช้กระบวยใหญ่ตักดื่มไม่หมดเททิ้งบางคนใช้กระบวยขนาดกลางตักดื่มไม่อิ่มต้องตักเพิ่ม บางคนใช้กระบวยเล็กต้องตัดเพิ่มหลายครั้ง ท่านจะสอนว่า ก่อนจะดื่มต้องสารวจดูตน
เสียก่อน ถ้ากระหายมากต้องใช้กระบวยใหญ่ กระหายปานกลางต้องใช้กระบวยขนาดกลาง พระหายนิดหน่อยต้องใช้กระบวยขนาดเล็ก คนเราทุกคนต้องให้รู้จักประมาณ กินก็ให้รู้จักประมาณ ใช้ก็รู้จักประมาณ ถ้าไม่รู้จักประมาณ ก็เข้าในลักษณะ ?กินช้างก็บ่เหลือ กินเสือก็บ่อิ่มได้มาเต็มฟ้าเต็มแผ่นดิน กะใช้หมดบ่เหลือดอก?
เรื่องที่ ๒ สอนให้เข้าใจอย่างละเอียดลึกซึ้งในวินัยสงฆ์โดยเฉพาะศีล ๒๒๗ ข้อของพระภิกษุสงฆ์ ในข้อที่ว่าด้วยการฉันอาหารใน ?เวลาวิกาล? มีข้อห้ามและข้อยกเว้นอย่างไร โดยใช้กรณีไปหาไม้เนื้อแข็ง (ไม้แก่น) มาทา ?เสาค้าหอแจก? เป็นตัวอย่างดังนี้
หอแจก คือศาลาการเปรียญในปัจจุบัน หอแจกวัดบ้านยางขี้นกสร้างมาเป็นเวลานาน เสาบางต้นผุ ถ้าจะหาเอาไม้แก่นมาเปลี่ยนต้องไปเอาที่อื่น ที่บ้านยางขี้นกไม่มีจะมีก็แต่ต้นยางซึ่งเป็นไม้เนื้ออ่อน ที่เมืองฟ้าหยาดมีไม้แก่นมาก และมีลูกศิษย์ของท่านพอจะช่วยหาให้ได้
เช้าวันหนึ่ง พระธรรมบาล (ทุย) ขอให้ญาติโยมจัดหาอาหารเพลให้จึงออกเดินทางพร้อมพระลูกวัด ๕ ? ๖ รูปลงเรือไปตามแม่น้าชี ขณะนั้นเป็นเวลาออกพรรษา เมืองฟ้าหยาดอยู่เหนือน้า น้ากาลังไหลเชี่ยว ระยะทางจากบ้านยางขี้นกไปถึงเมืองฟ้าหยาดไกลหลายกิโลเมตร ตั้งใจจะไปฉันเพลที่เมืองฟ้าหยาด แต่ยังไม่ถึงพอถึงบ้านแจนแลนก็เพลพอดี ถ้าจะหยุดฉันเพลที่นี้ก็ได้ แต่จะไม่สมศักดิ์ศรีของผู้รู้พระธรรมวินัยอย่างพระธรรมบาล (ทุย) ท่านจึงบอกให้พระเอามีดปักขั้นเรือไว้โดยถือว่าเป็นสถานที่พักฉันเพล ถ้าพระมานั่งฉันเพลที่นี่จะเป็นเวลาไหนก็ได้ไม่ต้องอาบัติเพราะฉันอาหารในเวลาวิกาล เมื่อเรือไปถึงท่าน้าเมืองฟ้าหยาดเป็นเวลาบ่าย ๓ โมงแล้ว
พระธรรมบาล (ทุย) ให้นาอาหารเพลมาวางไว้ที่ขั้นเรือแล้วนั่งฉันที่ขั้นเรือนั้น ชาวเมืองฟ้าหยาดทั้งผู้เฒ่าผู้แก่ ชายหนุ่มและหญิงสาว พากันลงอาบน้าที่ท่าน้าชี เมื่อเห็นพระนั่งฉันเพลโดยไม่กระดากอาย ต่างโจษจันกันว่าบ่าย ๓ โมงแล้วทาไมพระจึงฉันอาหารเวลาวิกาล เสียงที่โจษจันกันนั้นท่านก็ได้ยินแต่ท่านก็นั่งนิ่งไม่พูดจาอะไร
เมื่อฉันเสร็จแล้วให้พระเอาเรือไปผูกไว้ที่ท่าเมือง แล้วเดินทางต่อไปยังบ้านลูกศิษย์ให้ลูกศิษย์ไปหาไม้แก่นไปทาต้นเสาอย่างที่ต้องการ เมื่อลูกศิษย์จัดแจงหาต้นเสาให้ตามที่อาจารย์ต้องการแล้วบอกว่าจะกลับแต่เช้า ขอให้จังแจงอาหารจังหันและเพลให้ด้วย เมื่อท่านฉันจังหันเสร็จแล้วก็ลงเรือที่ท่าน้าแล้วพาคณะล่องเรือไปตามลาน้าชี เมื่อเรือถึงท่าญาติโยมบ้านยางขี้นกก็เอาล้อมาลากเอาต้นเสาไป จัดการเปลี่ยนต้นเสาที่ผุพังออกตามวัตถุประสงค์
เสียงเล่าลือของพระสงฆ์และญาติโยมชาวเมืองฟ้าหยาดเกี่ยวกับฉันข้าวแลง (ฉันในเวลาวิกาล) พระธรรมบาล (ทุย) ลุกลามไปเหมือนไฟไหม้ป่าจากปากหนึ่งไปสู่อีกปากหนึ่ง แต่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นพระมาจากที่
ไหน เป็นอุปัชฌาย์อาจารย์ของใคร มีอานาจราชศักดิ์มากน้อยแค่ไหน เมื่อสืบไปถามไปก็ทราบว่านั้นคือพระธรรมบาล (ทุย) เจ้าสานักสอนมูลกัจจายน์ แห่งวัดบ้านยางขี้นก เมืองเขื่องใน ท่านเป็นนักปราชญ์เฉลียวฉลาดในพระธรรมวินัย มีคนเคารพนับถือมาก ท่านมีอานาจราชศักดิ์จักให้คุณให้โทษแก่ใครก็ได้ เมืองฟ้าหยาดก็เป็นเมืองหนึ่งซึ่งขึ้นความปกครองต่อเมืองอุบลฯ ถ้าเรามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นเรื่องลาบาก พวกเราควรจะไปขอขมาลาโทษต่อท่านในฐานะที่พวกเราเล่าลือกันว่าท่านฉันข้าวแลง (ฉันในเวลาวิกาล)
พระสงฆ์และญาติโยมชาวเมืองฟ้าหยาดมาปรึกษาหารือ เห็นว่าเรื่องที่เล่าลือนั้นเป็นบาป เป็นกรรมไม่ควรที่พวกเราจะไปติเตียนพระสงฆ์องค์เจ้า พระสงฆ์องค์เจ้าก็มีครูบาอาจารย์ ใครผิดใครถูกท่านจะแนะนา สั่งสอนกันเอง พวกเราควรไปขอขมาโทษเพื่อให้ท่านยกโทษให้ ภายหลังท่านคงได้อธิบายหลัก พระธรรมวินัยสงฆ์ให้ญาติโยมศิษยานุศิษย์เข้าใจ ?ข้อยกเว้น? ในสิกขาบทที่ว่าด้วยการฉันอาหารในเวลาวิกาลของพระสงฆ์ กล่าวคือ ในหมวดอาบัติปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔ โภชนวรรคว่าด้วยเรื่องขบฉัน พระบรมศาสดา (พระพุทธองค์) ทรงบัญญัติสิกขาบทที่ ๗ แห่งโภชนวรรค ความว่า ?ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวของฉันในเวลาวิกาลเป็นปาจิตตีย์? เวลาวิกาล หมายถึง ตั้งแต่เที่ยงจนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ ถ้าภิกษุฉันอาหารในเวลาวิกาลต้องอาบัติปาจิตตีย์ ซึ่งเป็นอาบัติเบา (โทษขนาดเบา) จะพ้นได้ด้วยการ ?การปลงอาบัติ? คือการแสดงตนว่าต้องอาบัติให้ภิกษุอื่นทราบ แต่มีข้อยกเว้นในกรณีที่ไม่ถือว่าเป็นอาบัติ กรณีฉันในเวลาวิกาล ในข้อที่ ๑ ความว่า ?ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เมื่อมีเหตุอันสมควร? คาว่ายามกาลิก หมายถึง ของฉันได้เฉพาะวันนั้น เช่น ข้าว ปลา อาหารคาวหวาน ที่เขาถวายให้ฉันเฉพาะ ๑ วัน สัตตาหกาลิก หมายถึงของฉันได้ภายใน ๗ วัน ยาวชีวิก หมายถึงของฉันได้ตลอดชีวิต ดังนั้น กรณีพระธรรมบาล (ทุย) พร้อมคณะฉันอาหารเพลในเวลาวิกาลบนเรือ จึงควรเข้ากับกรณียกเว้นดังกล่าว เพราะมีเหตุอันสมควรในลักษณะเดินทางไกลไปทางเรือซึ่งจะมีความเกี่ยวโยงกับสิกขาบทอื่น ๆ ด้วย (พระไตรปิฎกสาหรับเยาวชน เล่ม ๒๕๓๙ : ๒๙, ๓๔)
เรื่องที่ ๓ สอนให้เป็น คนรอบคอบ มีระเบียบ รู้จักพอเพียง และไม่สร้างความเดือดร้อนให้คนอื่น เมื่อญาติโยมชาวเมืองฟ้าหยาดได้มาขอขมาลาโทษ ได้ฟังคาอธิบายเรื่องวินัยสงฆ์พร้อมได้ทาบุญ โดยถวายปัจจัยไทยธรรมแล้ว ก่อนกลับบ้านเห็นว่าวัดยางขี้นกมีต้นขนุนอยู่หลายต้น จึงพร้อมกันขอต้นขนุนขนาดใหญ่ ๑ ต้น เพื่อนาแก่นไม้ไปถวายพระสงฆ์ที่วัดฟ้าหยาด สาหรับต้มเป็นสีย้อมผ้าจีวร (สีแก่นขนุน) เนื่องจากในสมัยนั้นสีย้อมผ้าหายาก พระสงฆ์ส่วนใหญ่นิยมใช้แก่นขนุนเป็นสีย้อมผ้า พระธรรมบาล (ทุย) บอกให้เลือกเอาตามใจชอบ อยากได้ต้นใดก็ให้ทั้งต้นแต่ผู้ขอไม่เข้าใจ เมื่อโค่นต้นขนุนลงแล้วก็ช่วยกันถากเอาเฉพาะส่วนที่เป็นแก่นไม้ โดยทั้งกิ่ง ใบ เปลือกไว้ทั้งหมดไม่เก็บให้เรียบร้อย ท่านเห็นดังนั้นจึงให้คนไป
ตามญาติโยมที่ขอต้นขนุนกลับมา แล้วถามในเชิงสั่งสอนว่าเมื่อขอไม้ทั้งต้นเมื่อให้ตามขอแล้วทาไมเอาไปไม่หมด จะเหลือไว้ให้ใครอีกหรือทุกคนเข้าใจจึงยอมสารภาพผิด และได้เก็บเศษไม้เหล่านั้นจนหมดสิ้น
จะเห็นว่า ความบกพร่องเล็กน้อยเหล่านี้คนส่วนมากจะไม่เอาใจใส่ ไม่ให้ความสาคัญ มักง่าย และเห็นแก่ตัว พระธรรมบาล (ทุย) เป็นผู้เคร่งครัดในระเบียบวินัย พูดอย่างไรก็ต้องทาอย่างนั้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยของตนเอง หมู่คณะและสังคม จึงได้สั่งสอนเช่นนั้น
พระธรรมบาลพบกัน
พระธรรมบาล (ผุย) แห่งวัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม) ในฐานะเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานี เมื่อได้ทราบข่าวความย่อหย่อนในพระวินัย เรื่องฉันอาหารในเวลาวิกาลของพระธรรมบาล (ทุย) แล้วก็เกิดความไม่สบายใจเพราะท่านเป็นพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ซึ่งมีสมณศักดิ์ในขั้นธรรมบาลเช่นกัน และเป็นเจ้าสานักเรียนมูลกัจจายน์ที่มีชื่อเสียง มีลูกศิษย์มากมายหากไม่สืบหาข้อเท็จจริงก็อาจจะเกิดความเสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์ในเขตรับผิดชอบได้ จึงได้มีหมายเรียกให้พระธรรมบาล (ทุย) มาพบ เมื่อทั้งสองท่านได้พบกันก็ได้ทักทายกันเป็นภาษาบาลี เพราะมีความเชี่ยวชาญพอ ๆ กัน เมื่อได้ทราบข้อเท็จจริงจากพระธรรมบาล (ทุย) แล้ว ทุกอย่างก็เป็นอันยุติเรื่อง เพราะเจ้าคณะเมืองอุบลราชธานีคงมีความเชื่อมั่นในวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดและจริงจังของพระธรรมบาล (ทุย) คงไม่ปฏิบัติผิดเพี้ยนจากพระธรรมวินัยอย่างแน่นอน
สมณศักดิ์
สมัยพระปทุมราชวงศา (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลราชธานีคนที่ ๓ ในระหว่างปี พ.ศ. ๒๓๘๘ ? ๒๔๐๖ ได้แต่งตั้งพระเถระเป็นเจ้าคณะเมืองเจ้าคณะแขวงมีสมณศักดิ์เป็น พระธรรมบาล ๓ องค์คือ พระธรรมบาล (สุ้ย) พระธรรมบาล (ผุย) พระธรรมบาล (ทุย) พระสงฆ์ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นพระธรรมบาลจะต้องมีคุณสมบัติคือ ปกครองโดยธรรมเป็นผู้ใหญ่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีความฉลาด รอบรู้ สามารถ เด็ดขาด เรียนจบมูลกัจจายน์และตั้งสานักเรียนสอนมูลกัจจายน์ได้
พระธรรมบาล (ทุย) ถือว่าเป็นพระเถระผู้ใหญ่ที่มีคุณสมบัติครบทุกประการ จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระธรรมบาล ถึงแม้จะไม่ได้เป็นเจ้าคณะเมือง แต่ท่านก็สามารถจัดตั้งสานักเรียนมูลกัจจายน์ขึ้นในระดับแขวง (อาเภอ) หรือระดับตาบลในเขตอาเภอเขื่องในจนมีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้ในเขตเมืองอุบลราชธานี เพราะในเขตระดับเดียวกันไม่ปรากฏมีพระเถระที่ได้รับแต่งตั้งเป็นตาแหน่ง พระธรรมบาลเช่นท่านอีกเลย
พระธรรมบาล (ทุย) เอาภารธุระพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะด้านคันถธุระเป็นเวลาเท่าไรและมรณภาพที่ไหนเมื่อไรก็ไม่มีหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรที่พอสืบค้นได้ มีเพียงบรรดาญาติมิตรศิษยานุศิษย์รุ่นต่อรุ่น กล่าวขานทรงจาสืบต่อกันมาเป็นทอด ๆ อาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงนัก ผู้สืบค้นรวบรวมต้อง
อภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย อย่างไรก็ตามพระธรรมบาล (ทุย) ก็ถือได้ว่าเป็นเถระชาวอุบลราชธานีรุ่นแรกที่เห็นความสาคัญของการศึกษา โดยเฉพาะด้านคันถธุระ โดยมีวัดเป็นศูนย์รวมการศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนในยุคนั้น ให้ความเจริญก้าวหน้า เป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานจนถึงทุกวันนี้ ถือว่าท่านได้ทาคุณประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองไว้มากมาย สมควรได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น ?ปราชญ์? เมืองอุบลราชธานีโดยแท้
หนังสืออ้างอิง
กิ่งธรรม. โดยเสด็จพระราชกุศลหนังสือ ในการออกเมรุพระราชทานเพลิงศพพระธรรมเสนานี (กิ่ง มหปฺผลเถร) ณ เมรุวัดมณีวนารามในเมืองอุบลราชธานี ๑๕ ธันวาคม ๒๕๓๘.
แสง จันทร์งาม, ศาสตราจารย์และคณะ. พระไตรปิฎกสาหรับเยาวชน เล่ม ๒. กรุงเทพฯ สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จากัด, ๒๕๓๙.

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:38:53 »

พระธรรมบาลของเมืองอุบลนั้น ตามที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้นั้นมีด้วยกัน 3 ท่าน คือ
 1 พระธรรมบาลสุ้ย วัดป่าน้อย
 2 พระธรรมบาลผุย วัดป่าน้อย
 3 พระธรรมบาลทุย ที่เรียกกันว่า พระธรรมบาล วัดบ้านยางขี้นก

ในส่วนพระธรรมบาลที่มีความเกี่ยวข้องกับหลวงปู่สำเร็จลุน นั้น ในความคิดเห็นของกระผมมีเพียงพระธรรมบาลท่านเดียว คือ ท่าน พระธรรมบาลผุย แห่งวัดป่าน้อย เพราะท่านคือสหธรรมมิกของหลวงปู่สำเร็จลุน ครับ ท่านทั้งสองมักจะไปมาหาสู่และแลกเปลี่ยนวิชาความรู้กัน มีลูกศิษย์ลูกหาของท่านธรรมบาลผุยมากมายที่ได้รับวิชาสายสำเร็จลุนจากท่านธรรมบาลผุยไปครับ หนึ่งในลูกศิษย์ของท่านพระธรรมบาลผุย ที่มีการกล่าวขานกันมากถึงความศักดิ์สิทธิ์และอิทธิปาฏิหาริย์ของท่านคือ พระธรรมโสดา หรือ หลวงปู่โสม แห่งวัดเหล่าแดง อ.ดอนมดแดง จ.อุบล น่าเสียดายที่วัตถุมงคลของท่านที่ได้สร้างไว้ในสมัยท่านมีชีวิตอยู่มีเพียงตะกรุดและเครื่องรางเท่านั้น

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:58:10 »

ได้รับความรู้อีกแล้วครับพี่น้อง   

บันทึกการเข้า
คนโก้
Global Moderator
*****

พลังน้ำใจ : 687
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 678

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 21 : Exp 12%
HP: 0%



"ทางไปสวรรค์มันฮก ทางไปนรกมันแปน"

ego-2519@hotmail.com
ดูรายละเอียด
« ตอบ #4 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2554, 07:12:45 »

ขอบคุณมากครับ

บันทึกการเข้า

"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง  ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
ck2425
Newbie
*

พลังน้ำใจ : 9
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 34

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 4 : Exp 71%
HP: 0%



ดูรายละเอียด
« ตอบ #5 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2554, 09:35:54 »

 

บันทึกการเข้า
konlathai
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 57
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 7 : Exp 9%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2554, 14:08:06 »

ขอพระคุณมากครับ............

บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2554, 21:57:54 »

ขอย้ายกระทู้นี้ไปหมวดพระคณาจารย์จังหวัดอุบล นะครับ

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!