หลวงปู่สำเร็จลุน กับ ?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรม ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:19:34 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่สำเร็จลุน กับ ?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรม  (อ่าน 9699 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 07 มีนาคม 2558, 10:44:58 »

ประวัติศาสตร์ลาวสมัยใหม่ มองผ่านการฟื้นฟูคัมภีร์ใบลานลาวในยุคอาณานิคม



          
             คัมภีร์ใบลานในสังคมลาวยุคก่อนสมัยใหม่ (ยุคก่อนอาณานิคมฝรั่งเศสเข้ามาปกครองลาว) มีความหมายและความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ในการเป็น ?วัฒนธรรมทางภาษา? หรือ ?วัฒนธรรมการเขียน? ของชุมชนพุทธศาสนาเถรวาท ซึ่งมีมานานกว่าสองพันปี ทำหน้าที่มีบทบาทความสำคัญในฐานะเป็นตัวบททางศาสนา ให้การอบรมบ่มสอนศีลธรรม ให้ความรู้ให้การศึกษาแก่ผู้ยึดถือ นอกจากนั้นคัมภีร์ใบลานยังมีความหมายและความสำคัญ สำหรับการบอกเล่าตำนานประวัติความเป็นมาของอาณาจักร ที่บันทึกความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาว (อาทิเช่น ?พื้นขุนบรมราชาธิราช? หรือตำนานขุนบรม) หรือพูดได้โดยง่ายว่ามีความสำคัญต่อสังคมและวิถีชีวิตคนลาวยุคก่อนสมัยใหม่ทั้งทางโลก-ทางธรรม รวมถึงยังอยู่ในสถานะที่มีคุณค่าและความศักดิ์สิทธิ์

 
   

?คัมภีร์ใบลาน? ตำราบันทึกเรื่องราวภูมิปัญญาทางโลกและทางธรรมในสังคมลาว

 

                แต่เมื่อในยุคสมัยต่อมาที่ฝรั่งเศสได้เข้ามายึดครองลาวในฐานะเจ้าอาณานิคมแล้ว คัมภีร์ใบลานนั้นได้รับผลกระทบจากการที่ฝรั่งเศสนำความรู้วิทยาการสมัยใหม่และวัฒนธรรมเข้ามาในสังคมลาว และได้รับมุมมองจากฝรั่งเศสว่า วิทยาการความรู้จากคัมภีร์ใบลานดั้งเดิมของลาวนั้นเป็นสิ่ง ?ล้าสมัย? ควรที่จะได้รับการปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยและเจริญก้าวหน้าขึ้น จึงทำให้คัมภีร์ใบลานถูกลดคุณค่า ความหมาย และความสำคัญลงไปจากเดิมในสังคมท้องถิ่นลาว พร้อมกันนั้นยังได้รับการปรับเปลี่ยนสถานะจาก ?คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์? ที่ปกติเก็บรักษาอยู่ในวัด ได้กลายเป็น ?หลักฐานวัตถุ หรือ เอกสารในการศึกษาค้นคว้า? (Museum Object) ซึ่งเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์และเก็บไว้ในหอสมุดเพื่อคอยบริการ

 

                โดยในช่วงยุคสมัยอาณานิคมที่ฝรั่งเศสเข้ามาปกครองลาวแล้ว นอกจากการที่ฝรั่งเศสใช้กำลังทหารเข้ายึดครองประเทศลาว ฝรั่งเศสยังได้มีความพยายามยึดครอง ?หัวใจของคนลาว? หรือการเป็น ?เจ้าอาณานิคมทางปัญญา? ของลาวอีกด้วย  กล่าวคือ  ฝรั่งเศสมีความต้องการที่จะยึด ?ความรู้? หรือ ?ภูมิปัญญา? ของลาว ในการนำไปศึกษา ทำความรู้ความเข้าใจในความคิดภูมิปัญญาของสังคมวัฒนธรรมลาวที่ได้รับการบันทึกอยู่ในคัมภีร์ใบลาน เพื่อที่จะสามารถปกครองอย่างมีความรู้เท่าทันหรืออยู่เหนือปัญญาของคนลาวได้ ดังนั้นการสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ฝรั่งเศสให้ความสนใจและการสนับสนุน หรือสามารถอธิบายในอีกแง่หนึ่งได้ว่า การสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานของฝรั่งเศสนั้น เป็น ?การเมืองเรื่องวัฒนธรรม? (Politics of Culture) ที่ได้รับการนำไปใช้เพื่อการเพิ่มอำนาจและความชอบธรรมให้แก้เจ้าอาณานิคมอย่างฝรั่งเศสเอง

 

                นอกจากการสำรวจและรวบรวมคัมภีร์ใบลานแล้ว ฝรั่งเศสยังให้ความสำคัญแก่คัมภีร์ใบลาน ในฐานะเป็น ?ส่วย? กล่าวคือ ในทศวรรษที่ 1910-1920 หลังจากที่ฝรั่งเศสทำการสำรวจคัมภีร์ใบลานในลาวระยะหนึ่ง จึงพบว่าทุกวัดที่ได้ทำการสำรวจนั้น มีคัมภีร์ใบลานจำนวนมาก ทำให้ในช่วงทศวรรษที่ 1930  ฝรั่งเศสจึงออกคำสั่งให้ทุกหมู่บ้านและทุกวัดทั่วประเทศลาวต้อง ?เสียส่วย? หรือ ส่งส่วย มาเป็นคัมภีร์ใบลาน วัดหรือหมู่บ้านละ 1 เรื่อง โดยบังคับให้ประชาชนส่งส่วยแบบมิอาจขัดขืนได้ จากนั้นฝรั่งเศสได้ขนคัมภีร์ใบลานไปเก็บไว้ที่ประเทศตนเองและเวียดนาม อันส่งไปไว้ที่ ?สำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพทิศ (?cole fran?aise d'Extr?me-Orient)หอสมุด ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร ด้วยวิธีการขนคัมภีร์ไปตามทางรถไฟแล้วขนลงเรือกำปั่นส่งไปยังประเทศตน ซึ่งในระหว่างการขน คัมภีร์ใบลานจำนวนหนึ่งได้จมลงน้ำสูญหายไป

 

                 ต่อมาในช่วงปลายทศวรรษที่ 1930 ฝรั่งเศสยังมีความต้องการเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานต่อไปอีก โดยเฉพาะในแขวงจำปาศักดิ์ที่ฝรั่งเศสมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการปกครอง และสามารถบังคับประชาชน เกณฑ์แรงงาน เก็บภาษีเก็บส่วยให้ได้มากเท่าที่มากได้ ซึ่งการกระทำของฝรั่งเศสในครั้งนี้ส่งผลให้เกิดตำนานความเชื่อในเรื่องราวอิทธิปาฏิหาริย์แก่ชาวลาวแขวงจำปาศักดิ์ที่มีต่อหลวงปู่ ?สมเด็จลุน? หรือ ?สำเร็จลุน? เจ้าอาวาสวัดบ้านคอน เมืองจำปาศักดิ์ ผู้เป็นพระมหาเถระทรงอิทธิฤทธิ์ในคาถาอาคม




             เมื่อฝรั่งเศสจะเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานที่แขวงจำปาศักดิ์อีก สมเด็จลุนนั้นไม่ยอม พร้อมยังบอกกล่าวกับชาวบ้านกับพระสงฆ์สามเณรทั่วแขวงจำปาศักดิ์อีกว่า ไม่ต้องเสียส่วยคัมภีร์ใบลานให้ฝรั่งเศสอีก แต่อย่างไรก็ตามข้าราชการฝรั่งเศสก็ยังบังคับจะเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานไปให้ได้ ที่สุดแล้วสมเด็จลุนก็ทนไม่ไหวจึงได้กระทำการต่อต้านเจ้าอาณานิคมฝรั่งเศส ด้วยการสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์โดยใช้คาถาอาคมที่ท่านได้ศึกษาจากคัมภีร์ใบลาน ซึ่งมีหลายเหตุการณ์มากที่สมเด็จลุนสำแดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ข้าราชการฝรั่งเศสได้เห็นทำให้ข้าราชการฝรั่งเศสไม่กล้าเก็บส่วยคัมภีร์ใบลานจากชาวบ้านอีก ตัวอย่างเช่น

             ?ข้าราชการฝรั่งเศสนิมนต์สมเด็จลุนไปประเทศกัมพูชา ด้วยการนิมนต์ลงเรือกำปั่นไป พอลงไปท่าเรือ ท่านกล่าวต่อข้าราชการฝรั่งเศสว่า ท่านไม่เคยลงเรือกำปั่นกลัวกำปั่นจมน้ำ ข้าราชการฝรั่งเศสจึงกล่าวต่อท่านว่า กำปั่นลำใหญ่ บรรทุกสินค้าได้หลายตัน คนอยู่ได้เป็นร้อย ไม่จมน้ำง่ายๆ พอกล่าวเสร็จ สมเด็จลุนก็ก้าวเหยียบไม้กระดานพาดขอบเรือลงไปหาเรือกำปั่น แต่เดินได้ก้าวเดียว ขอบเรือกำปั่นข้างที่ไม้กระดานพาดอยู่ได้เอียงจนเกือบจมน้ำ สมเด็จลุนจึงถอยก้าวกลับคืน ส่วนข้าราชการฝรั่งเศสที่ทั้งอยู่ในเรือกำปั่นและอยู่ที่ท่าเรือพากันงุนงงตกใจ เพราะไม่เคยเห็นปรากฏการณ์เช่นนี้มาก่อน?

 

            ซึ่งจะเห็นได้ว่า หากสมเด็จลุนไม่กระทำการต่อต้านหรือขัดขืน คัมภีร์ใบลานอีกจำนวนมากอาจจะถูกขนถ่ายออกจากประเทศลาวไปสู่ประเทศฝรั่งเศสในที่สุด

 

             สำหรับฝรั่งเศสแล้ว เบื้องหลังแห่งการสำรวจรวบรวม รวมทั้งการเก็บส่วยคัมภีร์ใบลาน นอกจากเพื่อความต้องการศึกษาเพื่อความรู้และความเข้าใจต่อสังคมวัฒนธรรมของลาว เพื่อทำให้ง่ายต่อการปกครองของฝรั่งเศสเองแล้ว ฝรั่งเศสนั้นยังมีนโยบายที่ต้องการครอบงำทางปัญญาและจิตใจของผู้คนประชาชนชาวลาวที่ทำให้มีความสะดวกต่อฝรั่งเศสมากขึ้นไปอีก คือ  ?การส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? และ ?สร้างสำนึกในความเป็นลาว?

 

          ?การส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? ให้แก่คนลาวของฝรั่งเศสนี้ มีเป้าหมายหลักอยู่สองประการ ประการแรกเพื่อต้องการทำให้ลาวมีศักยภาพมากพอในการจะรวมเข้าในสหพันธ์อินโดจีน ประการที่สองเพื่อการต่อต้านลัทธิ ?ไทยเป็นใหญ่? ของรัฐบาลไทย  โดยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม ที่มีจุดประสงค์จะรวมประเทศลาวและไทยให้เป็นปึกแผ่น ภายใต้การรวมคนเชื้อชาติ ?ไท?

 

            การที่ลัทธิ ?ไทยเป็นใหญ่? นี้ได้แผ่ขยายเข้ามายังอินโดจีนและลาว ถือว่าเป็นการท้าทายสถานะและอำนาจของฝรั่งเศสเป็นอย่างมาก จึงทำให้ฝรั่งเศสจำเป็นต้องนิยามความหมาย ?ความเป็นลาว? เพื่อสร้าง ?อัตลักษณ์ลาว? ให้แตกต่างจาก ?ไทย? หรือใช้ต่อสู้กับอิทธิพลของไทย โดยการฟื้นฟูพุทธศาสนาและการศึกษาพุทธศาสนาในประเทศลาว รวมไปถึงการนำความรู้ทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของลาวที่บรรจุอยู่ใน ?คัมภีร์ใบลาน? มาปริวรรตและจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปแบบสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ อันเป็นเครื่องมือในการส่งเสริม ?สร้างอัตลักษณ์ความเป็นลาว? ของฝรั่งเศส

 

           ฝรั่งเศสได้เริ่มฟื้นฟูพุทธศาสนาและการศึกษาทางพุทธศาสนาในประเทศลาวขึ้นในปีค.ศ.1929 ฝรั่งเศสมีความต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการศึกษาพุทธศาสนาของลาวออกจากแบกฉบับของสยาม ด้วยการออกข้อกำหนดเกี่ยวกับการอนุรักษ์โบราณสถาน โบราณวัตถุ วัดวาอาราม พระพุทธรูป พระธาตุเจดีย์ และได้ส่งพระสงฆ์ลาวไปศึกษาที่สถาบันพุทธศาสนาที่ฝรั่งเศสเป็นผู้สนับสนุนขึ้น ณ ประเทศกัมพูชา ต่อมาในปีค.ศ.1931 ฝรั่งเศสได้ทำการสนับสนุนจัดตั้งสถาบันการศึกษาทางพุทธศาสนาขึ้นที่เวียงจันทร์ อีกทั้งยังสร้างโรงเรียนบาลี โรงเรียนช่างศิลป์ และหอสมุดแห่งประเทศลาวขึ้น แล้วทำการรวบรวมคัมภีร์ใบลานมาไว้ที่หอสมุด พร้อมกันนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ?พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี? ขึ้น โดยมี ?เจ้ามหาอุปราชเพชรราช? เป็นนายก และมี ?มหาสิลา วีระวงส์? เป็นเลขานุการ เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลทั้ง โรงเรียนบาลี โรงเรียนช่างศิลป์ และหอสมุด

 

ภาพแรก :  ?เจ้ามหาอุปราชเพชรราช? ผู้ตรวจราชการแผ่นดินของประเทศลาวประจำอยู่ที่นครเวียงจันทน์ที่ข้าราชการฝรั่งเศส มีความเกรงใจและให้ความเคารพนับถือ

 


ภาพที่สอง : ?มหาสิลา วีระวงศ์? นักปราชญ์คนสำคัญของชาวลาว ผู้ริเริ่มการค้นคว้าประวัติศาสตร์ลาวโดยคนลาว

 

 

            ?พุทธบัณฑิตสภาจันทบุรี? ถือได้ว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มปัญญาชนลาวที่สนับสนุนส่งเสริมอนุรักษ์วัฒนธรรมดั้งเดิมของลาวเป็นพื้นฐาน และยังส่งเสริมพระพุทธศาสนามาโดยตลอดก่อนที่ฝรั่งเศสจะให้การสนับสนุนเสียอีก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงภาษาลาวสมัยใหม่ เพื่อฟื้นฟูพุทธศาสนา และเพื่อเผยเแพร่วรรณคดี-วรรณกรรม รวมทั้งวัฒนธรรมเดิมของลาวที่ได้รับการบันทึกไว้ในคัมภีร์ใบลานให้ประชาชนลาวทั่วไปได้อ่าน ได้ฟัง เพื่อรับรู้และช่วยกันรักษามรดกอันล้ำค่านี้เอาไว้ ให้ตกทอดถึงอนุชนหมู่คนรุ่นหลังต่อไป

 

              ด้วยความที่จุดประสงค์ของฝรั่งเศสที่มีความต้องการ ?ส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาว? ให้ออกจากแบบฉบับอิทธิพลของไทยนั้น สบเข้ากับวัตถุประสงค์ของกลุ่มปัญญาชนลาวพอดี จึงทำให้มีการเปิดประชุมปรึกษาหารือเพื่อปรับปรุง ภาษาลาวขึ้น รวมทั้งสร้างคู่มือการสอนภาษาลาว ไวยากรณ์ลาว และสร้างคู่มือการสอนภาษาบาลีด้วย โดยในขณะเดียวกันนั้น ได้มีการปริวรรตคัมภีร์ใบลานเป็นภาษาลาวสมัยใหม่ และนำไปตีพิมพ์ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์สมัยใหม่

 

               ในช่วงเวลาการส่งเสริมสร้างอัตลักษณ์ลาวโดยฝรั่งเศส สื่อสิ่งพิมพ์สมัยใหม่ได้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมาก และขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความรู้วัฒนธรรมดั้งเดิมที่บรรจุในคัมภีร์ใบลานที่ได้นำมาปริวรรต ตีพิมพ์ เผยแพร่ออกมามากขึ้น โดยในช่วงแรกเริ่ม (ทศวรรษที่ค.ศ.1930) คัมภีร์ใบลานที่นำมาปริวรรตจะมีเป็นนิทานชาดกต่างๆเพียงเท่านั้น เรื่องเหล่านี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่มีเนื้อหาต่อต้านฝรั่งเศส กลับกันฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุน เพราะการใช้ความรู้และเนื้อหาในคัมภีร์นิทานชาดกต่างๆนี้ จะทำให้ประชาชนลาวมีความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อเจ้านาย หรือมีความยินดีรับใช้ฝรั่งเศสเสมือนว่าตนไม่ถูกบังคับ

 

                แต่ต่อจากนั้นในช่วงทศวรรษที่ 1940 การปริวรรตคัมภีร์ใบลานออกมาเผยแพร่ลัฃะตีพิมพ์นั้น มีความหลากหลายในด้านเนื้อหายิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น นิทานชาดก ประเพณี พิธีกรรม คำสอน ตำนาน ประวัติศาสตร์ และอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น ?พื้นขุนบรมราชาธิราช? (ขุนบรม) ?ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง? (ขุนเจือง) ?ตำนานอุรังคธาตุ? เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนลาวได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของชาติตน ซึ่งก่อให้เกิดสำนึกความภาคภูมิใจและความรู้สึกชาตินิยมขึ้นในหมู่คนลาว

 

หนังสือเรื่อง ?ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง? ที่ได้รับการปริวรรตจากคัมภีร์ใบลานลาว โดย มหาสิลา วีระวงศ์ และได้รับการถอดความเป็นภาษาไทยในรูปแบบร้อยแก้ว โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ (www.sujitwongthes.com)


              การที่ฝรั่งเศสสนับสนุนการสร้างอัตลักษณ์ลาว ด้วยการนำคัมภีร์ใบลานมาปริวรรต ตีพิมพ์ และเผยแพร่ออกมา ให้ประชาชนลาวได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ หรือ พงศาวดารของชาติ ได้เป็นแรงจูงใจที่ทำให้เกิดความรักชาติอย่างแรงกล้า ที่ให้ชาวลาวนั้นลุกฮือขึ้นต่อต้านการตกอยู่ภายใต้อาณานิคม ซึ่งสุดท้ายได้กลายเป็นดาบสองคมที่ย้อนกลับมาทำร้ายฝรั่งเศสเอง หรืออาจเรียกได้ว่าการที่คนลาวสามารถผนึกน้ำใจและมีสำนึกในชาติเป็นหนึ่งเดียวได้นั้น เพราะว่ามี ?คัมภีร์ใบลาน? เป็นส่วนสำคัญ


             โดยในช่วงท้ายของการเสวนาบรรยาย ดร.บัวไข ได้ทำการสรุปทิ้งท้ายไว้อย่างกระชับว่า ?เพราะฉะนั้น ถ้าพูดถึงประวัติศาสตร์ลาวแล้วจะไม่พูดถึงคัมภีร์ใบลานไม่ได้ เพราะคัมภีร์ใบลานเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในหน้าประวัติศาสตร์ประเทศลาว ทั้งในแง่การเป็นสิ่งที่เก็บรักษาภูมิปัญญาความคิดของคนลาว และการเป็นสิ่งที่ใช้ต่อต้านหรือต่อสู้กับอำนาจของประเทศเจ้าอาณานิคม?


บทความที่เกี่ยวข้อง

 

?เจ้าเพชรราช ประมุขคณะลาวอิสระ? (http://www.oknation.net/blog/kongsongfang/2010/10/15/entry-1)

 

?เจ้าเพ็ดชะราช อุปราชเลือดนักสู้? (http://www.pakxe.com/home/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=880)

 

มหาสิลา วีระวงส์ ?ชีวิตผู่ข้า (อัตชีวประวัติของข้าพเจ้า) จาก นิตยสารศิลปวัฒนธรรม ฉบับวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2548

                    





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มีนาคม 2558, 15:20:25 โดย บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน » บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!