?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:55:14 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: [1]
1  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติหลวงปู่ทองมา ถาวโร เทพเจ้าแห่งวัดสว่างท่าสี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ: 10 สิงหาคม 2554, 22:16:28
เพิ่ม
2  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติหลวงปู่ทองมา ถาวโร เทพเจ้าแห่งวัดสว่างท่าสี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ: 10 สิงหาคม 2554, 22:14:19
ประวัติหลวงปู่ทองมา  ถาวโร
หลวงปู่ทองมา ถาวโร เกิดเมื่อวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๔๔๓ ปีชวด ที่บ้านท่าสี ตำบลท่าสี อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด หลวงปู่ทองมาผ่านการธุดงค์มาอย่างโชกโชน ถึง ๖ ประเทศคือ ไทย ลาว เขมร เวียดนาม พม่าและอินเดีย ท่านได้ผ่านอุปสรรคนานับประการโดยที่ท่านมีเพียง "ธรรมาวุธ" เพียงอย่างเดียว ทุกแห่งที่ท่านธุดงค์ผ่าน ท่านจะอบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ตั้งอยู่ในศีลธรรม ยึดมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระวิปัสสนาผู้เดินธุดงด์มาเเล้วถึง 6 ประเทศทรงไว้ซึ่งอภิญญาและเมตตาธรรมอย่างสูงส่งจนเป็นที่ประจักษ์ ขับไล่ผีร้ายปัดเป่าโรคภัยพลิกเเผ่นดินผีให้เป็นเเผ่นดินธรรม สยบวิญญาณร้ายให้ก้มกราบ กําราบเหล่าเทวดามิจฉาทิฏฐิ โปรดพญาช้างที่มุ่งทําร้ายถึงชีวิต ยอมสละกายให้เสือเเม่ลูกอ่อนที่หิวโชเคี้ยวกินเป็นอาหารเยื่องพระบรมศาสดาเดินตามทางที่พุทธบิดา ชี้บอกอย่างไม่มีผิดเพี้ยนมุ่งปฏิบัติวิปัสสนาอย่างยิ่งยวดกลางป่าเขาลําเนาไพรเป็นผู้ที่มีศรัทธาใน ปฏิปทาของสมเด็จพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) มุ่งจาริกตามเส้นทางที่ท่านได้เคยเดินธุดงด์ไปก่อนแล้วในเขตประเทศลาวได้รับการขัดเกลาและศึกษาสรรพวิชามาเเล้วอย่างดีจากพระมหาเถระผู้ทรงคุณวิเศษเเห่งเเขวงจําปาสักนั่นก็คือ สมเด็จลุน ผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง ก่อนที่จะฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ณ ภูเขาควายดินเเดนอาถรรพ์เเห่งเวียงจันทร์จนหลวงปู่มั่นเอ่ยปากชมว่า ปฏิบัติมาถูกทางเเล้วทั้งยังเป็นศิษย์ หลวงปู่เงินวันบางคลาน อีกด้วยทั้งหมดนี้เป็นเพียงประวัติโดยสังเขปตลอดระยะเวลาที่ถือครองสมณเพศยาวนานถึง 74 พรรษานับรวมสิริอายุได้ 91 ปี จนได้รับสมญานามจากชาวบ้านว่า พระโพธิสัตว์มาโปรด พระนักบุญ พลวงพ่อหมอยาเทวดา
   ปรารภเหตุจัดสร้างวัตถุมงคล
ตั้งแต่พ.ศ.๒๔๔๓-๒๕๕๔ นับได้   ๑๑๑ ปีชาตะกาลของหลวงปู่ทองมา  ถาวโรพระอมตะอริยะสงฆ์ผู้ทรงอภิญญาแห่งลุ่มแม่น้ำชี  ประจวบกับวโรกาสอันเป็นมหามงคลยิ่งของชาวไทยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุครบ๗รอบ ๘๔พรรษา อาตมภาพจึงได้ถือเอาโอกาสอันเป็นมหามงคลนี้จัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ทองมา  ถาวโร  รุ่นยอดเศรษฐี  ๑๑๑ปี ชาตะกาล  เพื่อเทิดทูนบูชาบารมีธรรมของหลวงปู่ที่ได้ทำคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมือง  โดยเฉพาะชาวจ.ร้อยเอ็ด  ทำให้มีผู้คนทั้งในและนอกประเทศรู้จักจ.ร้อยเอ็ดมากขึ้น  ทำให้จ.ร้อยเอ็ดมีชื่อเสียงโด่งดังเพราะเมตตาบารมีธรรมของหลวงปู่ได้แผ่เข้าสู่จิตใจของทุกคนที่ได้เข้ามาสัมผัส หลวงปู่มีศีลาจารวัตรงดงามจึงทำให้คณะสงฆ์ทั่วทั้งสังฆมณฑลร้อยเอ็ดก็งดงามตามไปด้วย
    ด้วยเหตุนี้อาตมภาพจึงได้ขออนุญาตพระอธิการสว่าง  โชติปญฺโญ  เจ้าอาวาส      วัดสว่างท่าสีรูปปัจจุบัน  จัดสร้างวัตถุมงคลของหลวงปู่ทองมา  ถาวโร  รุ่น ยอดเศรษฐี ๑๑๑ ปีชาตะกาล  ซึ่งมีสองอย่างด้วยกันคือ  เหรียญรูปไข่ และพระกริ่งศรีเทพที่เลื่องชื่อในปัจจุบันนี้  เพื่อหารายได้สร้างกุฏิพระมหาเถระ ที่วัดดอนทองวราราม  ต.โพนงาม  อ.กมลาไสย  จ.กาฬสินธุ์  ซึ่งเคยเป็นถิ่นที่หลวงปู่เคยไปปราบผีมาแล้วจนชาวบ้านในถิ่นนี้เครารพนับถือหลวงปู่มากกล่าวได้ว่าทุกบ้านมีรูปภาพหรือวัตถุมงคลของหลวงปู่ทุกหลังคาเรือนเลยที่เดี่ยว
วัตถุประสงค์
๑.   เพื่อเทิดทูนบูชาและประกาศเกียรติคุณของหลวงปู่ทองมา  ถาวโร  พระอริยสงฆ์แห่งจ.ร้อยเอ็ด  ให้ปรากฏแพร่หลายและเป็นที่รู้จักของอนุชนลูกหลานต่อไป
๒.   เพื่อรักษาสือทอดมรดกธรรมแห่งสุดยอดวัตถุมิ่งมงคลที่หลวงปู่ได้มอบไว้ให้เป็นอนุสสติเครื่องระลึงถึงคุณของพระรัตนตรัย  ซึ่งหลวงปู่เคยรับรองจากปากเลยว่า  ?เมื่อสร้างแล้วก็ต้องทำให้ดีจริงๆ มิใช่หลอกลวงเขา ?
๓.   เพื่อสร้างชื่อเสียงและเกียรติประวัติให้กับชาวจังหวัดร้อยเอ็ดที่มีพระอริยะสงฆ์อันเป็นสัญลักษณ์จังหวัดแห่งแผ่นดินธรรม
๔.   เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเช่าบูชาวัตถุมงคลเพื่อนำปัจจัยไปก่อสร้างกุฏิพระมหาเถระในวัดดอนทองวราราม  ต.โพนงาม อ.กมลาไสย  จ.กาฬสินธุ์

ในงานพิธีมหาพุทธาภิเษกครั้งนี้ได้รับพระกรุณาจาก  พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี
พระวรราชาทินัดดามาตุ ประทานไฟเพื่อจุดเทียนชัยในพิธีโดยมีท่านผู้ว่าราชการจังหวัด  ผู้บัญชาการตำรวจภูธร จ.ร้อยเอ็ดและข้าราชการ  คหบดี  เศรษฐี  พ่อค้า  ประชานชน  ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพเลื่อมใส่หลวงปู่เข้าร่วมพิธีในครั้งนี้จำนวนมาก  โดยสถานที่พุทธาภิเษกในครั้งนี้ได้จัดขึ้นที่ศาลาหลักเมือง กลางบึงพลาญชัย จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งตรงกับวันศุกร์  ที่ ๑๑ เดือน  ๑๑ (พ.ย.)  ปี  ๒๐๑๑  ที่จังหวัด ๑๐๑  ครบรอบ  ๑๑๑  ปีชาตะกาลของหลวงปู่ทองมา  ถาวโร  จึงถือว่าเป็นพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคลของหลวงปู่ฯ ครั้งประวัติศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและมีพระเถราจารย์เข้าร่วมพิธีมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา  ฉะนั้นทุกท่านจึงไม่ควรพลาดในพิธีครั้งประวัติศาสตร์นี้  เริ่มพิธี  ๑๘.๐๐น.
รายนามพระมหาเถราจารย์ร่วมพิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมิ่งมงคล
รุ่นยอดเศรษฐี  ๑๑๑ ปี ชาตะกาล  ของหลวงปู่ทองมา ถาวโร
ในวันศุกร์ที่ ๑๑ เดือนพฤศจิกายน  ๒๕๕๔ ( ๑๑/๑๑/๒๐๑๑ )
ณ ศาลหลักเมือง  กลางบึงพลาญชัย  จ.ร้อยเอ็ด
พระครูพิบูลนวกิจ  (หลวงปู่คำบุ  คุตฺตจิตฺโต)  วัดกุดชมพู  จ.อุบลราชธานี
ประธานจุดเทียนชัยประทานของ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ
รายนามพระมหาเถราจารย์นั่งปรกอธิษฐานจิตชั้นใน   ๙  รูป
๑.   พระธรรมฐิติญาณ  เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด  ธ.
๒.   พระราชศีลภิต  หลวงพ่อหนูอินทร์  รองเจ้าคณะจ.กาฬสินธุ์
๓.   พระครูพิบูลนวกิจ  หลวงปู่คำบุ  คุตฺตจิตฺโต  วัดกุดชมพู  จ.อุบลราชธานี
๔.   หลวงปู่บุญพิณ  กตปุญฺโญ  วัดผาเทพนิมิต  จ.สกลนคร
๕.   หลวงปู่บุญหนา  ธมฺมทินฺโน  วัดป่าโสตถิผล  จ.สกลนคร
๖.   พระครูวิมลสังวรคุณ  หลวงพ่อล้อม  สีลสํวโร  วัดป่าเมตตาธรรม  จ.ร้อยเอ็ด
๗.   พระครูสีลสาราภรณ์   หลวงพ่อสมสิทธิ์ รกฺขิตสีโล  วัดป่าสักดาราม จ.ร้อยเอ็ด
๘.   หลวงปู่เณรคำ  ฉตฺติโก  วัดป่าขันติธรรม   จ.ศรีษะเกษ
๙.   หลวงปู่เณร  คมฺภีโร  แห่งวัดเกษตรทุ่งเศรษฐี  จ.ร้อยเอ็ด
และมีพระเถราจารย์แห่งลุ่มแม่น้ำ โขง  มูล  ชี  ร่วมเจริญพระพุทธมนต์เต็มสูตรและนั่งงปรกอธิษฐานจิตชั้นนอกอีก  ๑๑๑  รูป
รายนามพระเถราจารย์ที่เมตตามอบแผ่นจารอักขระที่อธิษฐานจิตแล้ว
เพื่อมาหลอมทำพระกริ่งและปั๊มเหรียญ
๑.   พระธรรมสิงหบุราจารย์  (หลวงพ่อจรัล  ฐิตธมฺโม)  วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี
๒.   พระธรรมฐิติญาณ  วัดบึงพลาญชัย  จ.ร้อยเอ็ด
๓.   พระเทพวิทยาคม  (หลวงพ่อคูณ  ปริสุทฺโธ)  วัดบ้านไร  จ.นครราชสีมา
๔.   พระเทพวงศาจารย์ (หลวงพ่อคูณ  ติกฺขวีโร)  วัดหนองแวง  จ.ขอนแก่น
๕.   พระราชญาณวิสุทธิโสภณ (หลวงพ่อท่อน  ญาณธโร) วัดศรีอภัยวัน  จ.เลย
๖.   พระราชพิพัฒนาทร (หลวงพ่อถาวร  จิตฺตถาวโร ) วัดประทุมวนาราม  จ.กรุงเทพฯ
๗.   พระราชปรีชามุนี  (หลวงพ่อปราชญ์  อกฺกโชโต)  วัดกลาง  จ.กาฬสินธุ์
๘.   พระราชศีลโสภิต  (หลวงพ่อหนูอินทร์)  วัดป่าพุทธมงคล  จ.กาฬสินธุ์
๙.   พระพุทธิสารมุนี   วัดบูรพาภิราม  จ.ร้อยเอ็ด
๑๐.   พระมงคลสุทธิคุณ  (หลวงพ่อฟู)  วัดบางสมัคร  จ.ฉะเชิงเทรา
๑๑.   พระพิพิธพัฒนาทร  (หลวงพ่อสมชาย ) วัดปริวาสราชสงคราม  จ.กรุงเทพฯ
๑๒.   หลวงปู่คำบุ  คุตฺตจิตฺโต  วัดกุดชมพู  จ. อุบลราชธานี
๑๓.   หลวงปู่บุญพิณ  กตปุญฺโญ  วัดผาเทพนิมิต  จ.สกลนคร
๑๔.   หลวงปู่บุญหนา  ธมฺมทินฺโน  วัดป่าโสตถิผล  จ.สกลนคร
๑๕.   หลวงปู่แย้ม  วัดสามง่าม  จ.นครปฐม
๑๖.   หลวงปู่แผ้ว  ปวโร  วัดรางหมัน  จ.นครปฐม
๑๗.   พระปริยัติเมธาภรณ์  (หลวงพ่อสมสิทธิ์ )  วัดราชโอรสาราม  จ.กรุงเทพฯ
๑๘.   พระสุธีวราลังการ  (หลวงพ่อสมคิด )  วัดราชโอรสาราม  จ.กรุงเทพฯ
๑๙.   พระครูประโชติธรรมวิจิตร (หลวงพ่อเพิ่ม)  วัดป้อมแก้ว  จ.อยุธยา
๒๐.   พระสุวรรณศีลาธิคุณ  (หลวงพ่อพูน)  วัดบ้านแพน  จ.อยุทธยา
๒๑.   พระครูสุนทรธรรมวินิฐ (หลวงพ่อรวย  ปาสาทิโก)  วัดตะโก จ.อยุธยา
        ๒๒. พระครูสุวรรณศาสนคุณ (หลวงพ่อนาม)  วัดน้อยชมภู่  จ.สุพรรณ
๒๓. พระครูวิมลสมณวัตร (หลวงพ่อเพี้ยน)  วัดเกริ่นกฐิน  จ.ลพบุรี
๒๔.  พระครูวิมลสังวรคุณ  (หลวงพ่อล้อม  ศีลสํวโร)  วัดป่าเมตตาธรรม จ.ร้อยเอ็ด
๒๕.  พระครูสีลสาราภรณ์  (หลวงพ่อสมสิทธิ์  รกฺขิตสีโล)  วัดป่าสักดารา จ.ร้อยเอ็ด
๒๖.  หลวงปู่เณรคำ  ฉตฺติโก  วัดป่าขันติธรรม  จ.ศรีษะเกษ
๒๗.  หลวงปู่เณร  คมฺภีโร  วัดเกษตรทุ่งเศรษฐี  จ.ร้อยเอ็ด
๒๘.  ครูบาน้อย  วัดสีดอนมูล  จ.เชียงใหม่
๒๙.  ครูบาบุญชุ่ม  วัดถ้ำโพธิสัตว์บรรพต  จ.กาญจนบุรี
         ฯลฯ

คำอธิบายเหรีญ
   เหรียญมีลักษณะเป็นรูปไข่เหมือนเหรียญปี๑๘  เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๓.๕  ซ.ม.ต่างแต่เพิ่มยอดของเหรียญมี๓กลีบเพื่อบรรจุคาถาของหลวงปู่และขอบเหรียญมีจุดไข่ปลา ๑๑๑ จุดอันหมายถึงครบ๑๑๑ปีชาตะกาลของหลวงปู่ฯ    ส่วนด้านหลังเหรียญเป็นยันต์ปิดตามหาอุด ๕ ยอด ต้นตำหรับของหลวงปู่เหมือนปี ๑๘  ส่วนกลีบที่ยอดเหรียญด้านหลังเป็นเลข๑๑๑ และเปลี่ยนพ.ศ.๒๕๑๘เป็น๒๕๕๔ข้อความนอกนั้นเหมือนเดิมต่างแต่แบบอักษรเพราะคนแกะพิมพ์คนละคน ปี๑๘นายช่างเกษม  มงคลเจริญ  เป็นผู้แกะ  ส่วนเหรียญนี้ช่างคนใหม่เป็นผู้แกะ  มีบล็อกเดียวพิมพ์เดียวและจะมีการทำลายบล็อกในงานพุทธาภิเษกท่ามกลางผู้คนที่มาร่วมงานนับหมื่น
ชนิด   จำนวนสร้าง   ราคาจอง   ราคาหลังจอง
ชุดกรรมการ  ๙ องค์  ประกอบด้วย
พระกริ่งศรีเทพยอดเศรษฐี  ๔ องค์ เนื้อ  ทองคำ  เงิน  นาก  นวะ
เหรียญรูปไข่ยอดเศรษฐี  ๕องค์  เนื้อ  ทองคำ  เงินบริสุทธิ์  เงินลงยา  นาก  นวะ   
๙ ชุด   ๑๒๙,๙๙๙   ๑๔๙,๙๙๙
๒.   พระกริ่งศรีเทพยอดเศรษฐี
        เนื้อทองคำ ตามจำนวนสั่งจอง      
      เนื้อเงิน  ตามจำนวนสั่งจอง         
      เนื้อนวะ     
ตามจอง
ตามจอง
๙๙๙   
๖๕,๐๐๐
๒,๙๐๐
๙๙๙   


๑,๓๙๙
เหรียญรูปไข่ยอดเศรษฐี
เนื้อทองคำ  ตามจำนวนสั่งจอง
เนื้อเงินบริสุทธิ์
เนื้อเงินลงยาราชาวดี
เนื้อทองแดงกะไหล่ทองพ่นทรายเฉพาะองค์พระ
เนื้อทองแดงกะไหล่เงินพ่นทรายเฉพาะองค์พระ 
เนื้อทองแดงผิวไฟ   
ตามจอง
๕๙๙
๔๐๐
๑,๕๐๐
๑,๕๐๐
๗,๐๐๐   
๕๕,๐๐๐
๑,๙๐๐
๒,๕๐๐
๓๙๙
๓๙๙
๒๙๙   
-
๒,๕๐๐
๓,๐๐๐
๔๙๙
๔๙๙
๓๙๙

สามารถสั่งจองได้ที่เดียวเท่านั้น 
พระมหารัตนะ  รตนสิริ
วัดราชโอราสราม  เขตจอมทอง  กรุงเทพมหานคร  ๑๐๑๕๐
โทร  ๐๘๖-๐๔๐-๐๑๕๙  ตลอดเวลา
โอนปัจจัยทำบุญวัตถุมงคลได้ที่   ชื่อบัญชี   พระมหารัตนะ  รตนสิริ  ธนาคารไทยพานิชย์
            เลขที่บัญชี  058-241647-6
รับวัตถุมงคลได้ในวันที่  ๑๑  พ.ย.  ๕๔ตั่งแต่  ๒๐.๐๐ น.หลังพิธีพุทธาภิเษกเสร็จแล้ว
หมายเหตุ  พระทุกองค์ตอกโค้ตมือทั้งหมด  ถ้าสั่งจองที่อื่นทางเราไม่รับผิดชอบโดยประการทั้งปวง
ปิดรับจองวัตถุมงคลวันที่ ๑๐  ต.ค.  ๕๔















พระกริ่งเศรีเทพเนื้อทองคำ               พระกริ่งศรีเทพเนื้อนวะ












เหรียญรูปไข่เนื้อทองคำ               เหรียญรูปไข่เนื้อเงินลงยาราชาวดี










เหรียญรูปไข่เนื้อเงิน           เหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง       เหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงกะไหล่เงิน











เหรียญรูปไข่เนื้อทองแดงผิวไฟ
หน้า: [1]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!