?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
03 พฤษภาคม 2567, 00:22:40 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
256  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / สวัสดีครับทุกท่าน เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 12:34:31
สวัสดีครับ ชาวชมรมทุกท่าน ที่แวะเข้ามาเยี่ยมชมเว็บแห่งนี้

รบกวนท่านที่เพิ่งเข้ามาใหม่ สมัครสมาชิกด้วยนะครับ

ตอนนี้กำลังย้ายข้อมูลจากเว็บเก่า มายังไม่สมบูรณ์ครับ


ผมรับหน้าที่ผู้ดูแลจัดการในส่วนของเว็บแห่งนี้ ถ้ามีปัญหาในการใช้งานก็ pm สอบถามกันได้นะครับ

ขอขอบคุณพี่ตง อุบลครับ Smiley
257  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / เจตนารมณ์ของการจัดตั้งเวบไซต์ เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 12:02:51
เจตนารมณ์ของการจัดตั้งเวบไซต์

เวบไซต์แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อ อนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน ทั้งประวัติศาสต์ วัฒนธรรม ประเพณี โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านพุทธศาสต์ เรื่องราวประวัติของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เราท่านเคารพนับถือ มาร่วมกันอนุรักษ์สิ่งที่เป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเราก่อนที่ทุกอย่างจะเลือนหายตามการเวลา กราบขอขมาพ่อแม่ครูบาอาจารย์ ขออนุญาตลงรูปรวมทั้งพระเครื่องของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ เจตนาเพื่อจะเผยแพร่เกียรติประวัติคุณงามความดีของท่าน มิได้หวังผลสิ่งตอบแทนใดๆ สมัครสมาชิกก่อนและโพสต์ได้ทันทีครับ
258  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านแสง อานันโท / หลวงปู่ญาถ่านแสง วัดสระบัว หนองผือ อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:38:55


ประวัติญาถ่านแสง

ญาท่านแสง อานันโท พระอรหันต์แห่งบ้านหนองผือผู้ย่อแผ่นดินได้ ญาท่านแสงท่านเกิดเมื่อ พ.ศ.2430 ที่บ้านหนองไหล จังหวัดอุบลราชธานี (บ้านเดียวกันกับท่าน สิริจันโท จันท์) ท่านบรรพชาเป็นสามเณรเรียนหนังสือมูลเดิม มูลกระจากในสำนักบ้านหนองไหล จนครบอายุอุปสมบท ซึ่งอุปสมบท ณ พัธสีมา วัดบ้านหนองไหลใน ในพ.ศ 2450 เมื่อเรียนมูลเดิม มูลกระจายย์สูตรจบ แล้วท่านได้ออกธุดงค์ ได้ยินชื่อเสียงเกิตรติศักดิ์สำเร็จลุน ญาท่านแสง ท่านได้เข้าฝากตัวเป็นศิษย์ท่านสำเร็จลุน ที่ภูเขาควาย ซึ่งขณะนั้น มีพระที่เข้าไปร่ำเรียนวิชาจากท่านสำเร็จลุนอยู่หลายรูป เช่น สำเร็จตัน ญาท่านตู๋ ญาท่านแพง ญาท่านโทน ญาท่านฤทธฺ์ ญาท่านพันธ์ ญาท่านผุย เป็นต้น วิชาที่ท่านได้ศึกษาจากสำเร็จลุน คือ วิชาย่อแผ่นดิน เข้าคำ เข้าเหล็กไหล วิชาทำตะกรุดต่างๆ วิชาจอดดูก รักษาคนเป็นบ้า และอีกหลายวิชารวมทั้งด้านช่าง ด้านก็สร้าง จากนั้นท่านได้กลับมาวัดบ้านเกิดคือวัดบ้านหนองไหล และได้ขึ้นเป็เจ้าอาวาสวัดบ้านหนองไหล พาชาวบ้านสร้างเสนาสนะ เช่น กุฏิ 3 ชั้น ในปี พ.ศ. 2480 สิ้นเงิน 864 บาท เสร็จภายในปีเดียวกันนั้น ชาวบ้านหนองไหลยังยกยองท่านเป็นพระช่าง พระหมอมนต์ ในโขงเขตนั้นล้วนเข้ามาหาท่าน ให้ท่านเมตตา ท่านยังได้ออกธุดงค์อยู่เรื่อยๆไปหาอาจารย์จนท่านสำเร็จลุนมรณะภาพ ท่านได้ร่วมออกธูดงค์ต่อกับคณะยาท่านตู๋ ญาท่านแพง ญาท่านตัน ญาท่านพัน ไปในสถานที่ต่าง เช่น พม่า ลาว ญาน เป็นต้น ต่อมาในราว พ.ศ.2486 ท่านได้พาพี่พาน้อง คนที่ศรัธาในตัวท่านย้ายบ้านใหม่ไปอยู่บ้านหนองผือ และสร้างวัดขึ้น ชื่อว่าวัดสระบัว โดยได้รับบริจาคจากคนในอำเภอเขมราฐด้วยศรัทธาในจริยวัตร และคุณในตัวท่านเพื่อให้ท่านช่วยเหลือ จำนวน20 ไร่ แต่ตัวท่านขอรับไว้เพียง 6 ไร่ โดยท่านอ้างว่า (บ่อทนปัดทนกวาดดอกที่มันหลายเกินไป เอาเพื่อปฏิบัติบ่อเอาหลายดอก) ท่านได้สร้าง กุฏิ ศาสาใหญ่ขึ้นหลังใหญ่ 2 ขึ้น ดวยความร่วมมือของชาวบ้าน มีเรื่องเล่าจากปากดผุ้เฒ่าผู้แก่ชาวบ้านว่า ตอนสร้างศาลาใหญ่นั้นเกิดมี ช่างคนหนึ่งขึค้นตีอกไก่ ศาลาไม่ทันระวังตกจากศาลา ลงมา ถึงกับขาหัก 2 ท่อน ด้วยเมตตาญาท่านแสงท่านได้ใช้วิชาจอดดูก ในการรังษาอยู่ ประมาณ 7 วัน ช่างคนนั้นก็สามารถกลับมาทำงานได้ต่อ ซึ่งเป็นประจักแก่สายตาคนบ้านหนองผือมาแล้ว ในช่วง ปี 2496 มี ท่านได้พาพี่น้อง บ้านหนองผือไปทำบุญสังฆทานที่บ้านเกิด ที่บ้านหนองไหล เมื่อถึงตอนกลับท่านได้ให้คนกลับก่อน ญาท่านแสงท่านมีธุระที่จะทำต่อก็เป็นเวลาบ่ายแก่แล้ว เดี๋ยวท่านจะนำกลับเอง ซึ่งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าท่านจะกับแบบไหน ทั้งรถราในขณะนั้นก็หายาก แต่ชาวบ้านที่ร่วมขบวนก็บ่อได้เอะใจ เมื่อชาวบ้านกลับมาถึงบ้านหนองผือจะเอาของไปเก็บที่วัด ก็พบญาท่านแสงใส่อังสะนั่งอยู่ในกุฏิ ชาวบ้านจึงได้เข้าไปถามว่าหลวงปู่มาได้จังได๋ ยาท่านแสงบ่อตอบ ได้แต่ยิ้มเฉยๆแล้วเดอนเข้ากุฏิไป นี้ก็เป็นที่ลำ่ำเรืองอีกเรื่องหนึ่งที่ว่า ญาท่านแสงย่อแผ่นดินได้ตามใจนึก กระทั่งยังเป็นเรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาให้ลูกให้หลานฟังเท่าทุกวันนี้ เกียวกับปราฏิหารย์ของญาท่านแสง บางครั้งเมื่อถึงวันดีมื้อดีท่านก็จะทำพิธีเข้าทองให้ จากทำบอกเล่าของคนเฒ่าคนแก่ ในบ้านหนองผือ ท่านจะทำการเป้าทอง เข้าทองเข้าตัว แต่ไม่ได้ตอก หรือเจาะเขา ทานจะมีทองเป็นเม็ดในมือ้มื่อเป่าเล่วท่านกจะลูบไปที่ท้องแขน ท่องนั้นก็จะหายเข้าในตัวได้เอง เมื่อจับดุจึ่งเห็นอยู่ในเนื้อใต้ท้องแขนแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่แปลก แตกต่างกลับการฝังโดยตอกเข้าแบบในปัจจุบัน ซึ่งคนที่ได้รับการเข้าทองคนสุดท้ายของบ้านหนองผือได้ตายไปแล้ว ซึ่งท่านอายุถึง 86 ปี ข้อหามของท่านในการเข้าคำ คือไฝ่ผู้ไปกับนำ้ ข้วมน้ำ ข้วมทะเล อันตราย เพราะว่าคนเขาคำตัวจะหนักลอยน้ำอยาก ปราฏิหารย์อภินิหารของญาท่านแสง มีอีกมากมาจนสุดที่จะนำมาบอกกล่าวได้ ท่านมีเหรียญอยู่รุ่นหนึ่งที่ท่านท่านได้เสก คือเหรียญปี 2486 ซึ่งเป็นเหรียญที่ลูกศิษย์จากจังหวัดนครสวรรค์สร้างถวายท่าน จำนวน 120 เหรียญ ซึ่งเป็นเหรียญรูปญาท่านแสงห่มดองนั่งสมาธิเต็มองค์คล้ายเหรียญหลวงพ่อเดิม ด้านบนเป็นอักขระตัวขอม หัวใจธาตุ ด้านล่างองค์ท่านเป็นอักขระขอม อ่านว่า พระแสง อานันโท ด้านหลังเหรียญจะเรียบ ซึ่งเป็นเหรียญที่หายากมาก ในพื้นที่ไม่มีให้เช่าต่างหวงแหน ทุกวันแทบจะไม่มีให้เห็นแล้วครับ ญาท่านแสง อานันโท ท่านได้ถึงแก่มรณะภาพอย่างสงบด้วยโรคชราในปี พ.ศ. 2508(อายุ 78 ปี 66 พรรษา) ด้วยท่านั่งสมาธิในกุฏิของตัวท่านเอง ยังความโศกเศร้าแก่ลูศิษย์ทั้งหลายที่เคารพในองค์ท่าน
ขอบคุณข้อมูลดีๆจากพี่ คนขวาน หรือพี่โอ๊ะผู้ใจดีครับ
259  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่สนธ์ วัดท่าดอกแก้ว อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:38:22
ประวัติหลวงปู่สนธ์ วัดท่าดอกแก้ว
พระครูสันธานพนมเขต (สนธ์ สุรชโย)

นามเดิม สนธ์ คงเหลา

เกิด 20 มิถุนายน 2422 ที่บ้านท่าดอกแก้ว ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม

เป็นบุตรของนายแสงและนางทุม คงเหลา มีพี่น้องร่วมอุทร 6 คน ท่านเป็นคนที่ 2

บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ 14 ปีที่วัดท่าดอกแก้ว โดยมีพระอาจารย์นนท์ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2436 บวชเณรแล้วได้ศึกษาอักษรธัม ไทยน้อย ลาว และขอม กับบทสวดมนต์สูตรต่าง ๆ อยู่ในสำนักพระอาจารย์นนท์

อุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่ออายุ 20 ปี ในวันที่ 5 มีนาคม 2442 โดยมีพระอาจารย์ภูมี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์นนท์เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สม เป็นพระอนุสาวนาจารย์

เมื่อบวชพระแล้วได้ฝากตัวเป็นศิษย์พระอาจารย์สีทัตต์ ศึกษาด้านวิปัสสนาธุระที่วัดป่าอรัญญคามวาสี (ปัจจุบันคือวัดพระธาตุท่าอุเทน) ศึกษาอยู่ 1 ปีก็กราบลาพระอาจารย์สีทัตต์ไปจำพรรษาที่วัดห้วยออน แขวงเมืองบ่อสะแทน ประเทศลาว โดยอยู่กับท่านอาจารย์โสดา ซึ่งเป็นลุงของพระสนธ์เป็นเวลา 3 ปี จึงย้ายกลับมาอยู่วัดท่าดอกแก้ว และได้ขึ้นเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าดอกแก้วหลังจากเจ้าอาวาสองค์เดิมมรณภาพไป โดยเริ่มครองวัดท่าดอกแก้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 เป็นต้นมาจนกระทั่งมรณภาพในวันที่ 14 ธันวาคม 2510 เวลา 15.30 น. ที่วัดท่าดอกแก้วโดยอาการสงบสิริรวมอายุได้ 88 ปี 74 พรรษา

มีคำสดุดีของลูกศิษย์ลูกหาได้เขียนไว้ถึงท่านว่า

?หลวงพ่อพระครูสันธานพนมเขต (พระอาจารย์สนธ์) เป็นผู้ชำนาญทั้งทางปริยัติและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นผู้ทรงคุณอันสูงในทางไสยศาสตร์ ในระหว่างที่ยังมีชีวิตได้บำเพ็ญสมณธรรมช่วยเหลือเกื้อกูลแก่บุคคลโดยไม่เลือกชั้นวร
รณะ ใครมานิมนต์ไปไหนไม่ขัดข้อง เป็นที่เคารพในหมู่ประชาชนทั้งสองฝั่งโขงไทยลาว?

?หลวงพ่อมีชื่อเสียงทางขับไล่ภูตผีปีศาจและคุณไสย และทุกๆวันจะมีผู้เดินทางมาขอพระเครื่อง และเครื่องรางของขลังนานาชนิดจากท่านไม่ขาด ในคราวกรณีพิพาทอินโดจีน ผ้ายันต์แคล้วคลาดของท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก ทหารตำรวจหลั่งไหลไปขอแน่นขนัดวัด ท่านก็แจกคาถาและผ้ายันต์ให้อย่างทั่วถึง

?ในบริเวณวัดท่าดอกแก้วจะมีผู้คนมานั่งเฝ้ารอพบท่านอยู่มากมายไม่ขาดสาย ทุกคนมาที่นี่เพื่อกราบท่าน และขอของดีกันทั่วหน้า?

ท่านเจ้าอาวาสวัดท่าดอกแก้ว หรือวัดโสดาประดิษฐ์ องค์ปัจจุบัน เดินย่องเข้าไปในห้องพักหนึ่งแล้วกลับออกมาพร้อมด้วยรูปถ่ายหลวงปู่สนธ์ ท่านบอกว่าเป็นรูปที่พิมพ์ขึ้นในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ และท่านได้ปลุกเสกอยู่ในพระอุโบสถตามลำพัง เสกแล้วก็แจกถือว่าเป็นของดีที่ท่านปลุกเสกไว้เป็นครั้งสุดท้ายในปีสุดท้ายก่อนมรณภา
พ นายชวน กิติศรีวรพันธ์ อดีต สส.นครพนม เป็นผู้พิมพ์ถวาย

พอมอบรูปให้ผมแล้วก็บอกว่า ?สงสารอุตส่าห์มาตั้งไกล และอย่าไปบอกใครนะว่ารูปยังมีเหลือเก็บที่อาตมา เพราะว่ามีน้อยมาก เดี๋ยวใครต่อใครมารุมขอหมด?

สาธุหลวงพ่อ ผมบอกใคร ๆ เดี๋ยวนี้แล้วซีครับโธ่

ถ้าหากพิจารณาประวัติย่อของหลวงปู่สนธ์แล้วจะพบความขลังของท่านปรากฏอยู่รำไรไม่ชัดเ
จนนัก คงจะต้องเล่าเรื่องท่านได้มาปลุกเสกพระที่วัดเทพศิรินทร์ให้ฟังก็เล่าตามปากของคุณอา
คมนั่นแหละครับ

ดูเหมือนจะเป็นสมัยที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) มรณภาพใหม่ ๆ จะเป็นคราวปลุกเสกพระอะไรก็ไม่ทราบแน่ชัด ตอนนั้นอยู่ในราว พ.ศ. สองสี่เก้ากว่า บางทีจะเป็นคราวปลุกเสกพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ของหลวงภูมินาถสนิทหรือเปล่าไม่รู้ แต่ว่าคราวที่หลวงปู่สนธ์ลงมากรุงเทพฯ นั้น ท่านมาอย่างพระบ้านนอก ไม่มีใครรู้จักนัก ครั้นพิธีปลุกเสกพระผ่านพ้นไปแล้ว วันกลับนครพนมได้เกิดปรากฏการณ์พิเศษคือ มีพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีปลุกเสกพระครั้งโน้นติดตามหลวงปู่สนธ์ไปวัดท่าดอกแก้วหลายสิบ
องค์ ถึงกับแน่นตู้รถไฟว่างั้นก็ได้

พระบ้านนอกรูปนี้มีอะไรดีหรือ

อีกคราวหนึ่ง คุณอาคมเล่าว่า พ่อของเขาได้นำพระเครื่องของหลวงปู่สนธ์ไปให้หลวงปู่เฮี้ยง (เจ้าคุณวรพรตปัญญาจารย์ วัดป่าอรัญญิกาวาส ชลบุรี) ดู ปรากฏว่าท่านดูไม่ออก กว่าจะดูรู้เรื่องว่าหลวงปู่สนธ์ทำพระอย่างไร ปลุกเสกพระวิธีไหน ก็เสียเวลาหลายวัน ต้องกำหนดจิตเข้าในองค์พระอยู่เป็นนานจึงรู้เรื่อง พอรู้แล้วก็ออกปากยกย่องหลวงปู่สนธ์เป็นอย่างยิ่ง เสร็จแล้วก็ฝากพระของท่านเองไปให้หลวงปู่สนธ์ดูบ้าง เมื่อพระไปถึงหลวงปู่สนธ์ ท่านก็บอกทันทีเลยว่าพระองค์นี้ดีอย่างนั้นอย่างนี้ ปลุกเสกด้วยวิธีนั้นวิธีนี้ คาถาบทนั้นบทนี้ หลวงปู่เฮี้ยงถึงกับร้องทำนองว่าเขารู้เราหมด แต่กว่าเราจะรู้เขาได้นั้นผิดกันเยอะ

คุณอาคมได้เล่าเรื่องพ่อของเขา คือคุณปถม อาจสาคร ได้ฟังว่า ตอนนั้นราว ๆ ปี 2493 พ่อของเขาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสหกรณ์อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม เพิ่งย้ายไปที่นั่นใหม่ ๆ ปกติแล้วพ่อของเขาเป็นผู้ใฝ่ใจทางนี้ ไปอยู่ไหนก็แสวงหาครูบาอาจารย์เก่ง ๆเสมอ เดิมก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่เฮี้ยง ได้วิชาความรู้ทางสร้างพระจากหลวงปู่เฮี้ยงเยอะแยะ จึงเป็นนักสร้างพระที่หาตัวจับยากคนหนึ่ง

เมื่อมาอยู่ท่าอุเทน ก็ได้ยินข่าวหลวงปู่สนธ์แล้ว แต่ว่าคงยังไม่ทันกระตือรือร้นจะไปกราบเท่าใดนัก พอดีมีพลทหารคนหนึ่ง ทำงานช่วยคุณปถมที่สหกรณ์นั้นเกิดไปมีเรื่องทะเลาะกัน ถูกยิงกระเด็นตกน้ำ กระสุนที่รัวใส่ 3 ชุด ทำเอาจุกแทบตาย แต่ว่าไม่เข้าหนังเข้าเนื้อ ปรากฏเพียงรอยแดงเป็นจ้ำทั่วทั้งตัว เสื้อผ้าที่สวมก็ขาดกระจุน พลทหารนายนี้มีตะกรุดอยู่กับตัวเพียงดอกเดียวเท่านั้น

ตะกรุดดอกเดียวที่ว่านี้คือตะกรุดเก้าแปเก้าหย้อ ทำด้วยตะกั่ว และเป็นตะกรุดของหลวงปู่สนธ์วัดท่าดอกแก้ว

ก็นี่แหละที่ทำให้คุณปถมได้ไปกราบหลวงปู่สนธ์โดยไม่ต้องลังเลอีกแล้ว

เมื่อได้พบหลวงปู่สนธ์ก็ปรากฏว่าถูกจริตนิสัยกันเป็นอย่างมาก และได้เห็นบาตรเก่าใบหนึ่งมีผ้ายันต์ปิดปากบาตรไว้จึงถามว่านั่นอะไร หลวงปู่สนธ์ตอบว่า ผงโสฬสมหาพรหมของหลวงปู่สีทัตต์ ท่านมอบไว้ให้และเก็บรักษามาอย่างนี้ตั้งนาน ไม่รู้จะทำอะไร

ในที่สุดก็มอบให้คุณปถมเอาไปสร้างพระ

ผงโสฬสมหาพรหมนี้หลวงปู่สีทัตต์ได้สร้างขึ้นสมัยอยู่ภูเขาควาย ประเทศลาว ใช้เวลาสร้างอยู่นานนับปี ท่านจะสร้างของท่านอย่างไรไม่ทราบ แต่ว่ามีตำราแสดงการสร้างผงโสฬสมหาพรหมไว้พอได้ศึกษาเป็นนัยแห่งความรู้ได้ดังนี้

ต้องลงด้วยอักขระธัม หรือตัวธรรม (คนละแบบกับตัวขอม ตัวธรรมเป็นอักขระที่ใช้จารคัมภีร์และคาถาของคณาจารย์แถบลุ่มน้ำโขง) ต้องผูกอักขรธรรมเป็นกลยันต์ 16 มุม แต่ละมุมแบ่งออกเป็น 16 ชั้น แต่ละชั้นลงอักขระ 16 ตัว ตัวละช่อง ลงครบแล้วถือเป็น 1 ครั้ง เวลาลงก็ลงด้วยดินสอพองแล้วลบเอาผงมาใช้ หลังจากลงครั้งแรกแล้วครั้งต่อไปไม่ต้องลงอีก เพียงเอาผงลูบกระดานก็จะปรากฏเป็นตัวยันต์ขึ้นมาแล้วบลเอาผงอีก คือหมายความว่าลงด้วยมือเขียนครั้งเดียว ต่อไปไม่ต้องเขียน

เข้าทำนองถ่ายซีร็อกว่างั้นก็ได้

ผู้ที่ทำผงนี้ได้สำเร็จจะบันดาลให้เทพเทวะทั้ง 16 ชั้นฟ้า ชั้นดิน 14 บาดาล 21 ชั้นพรหม ภควพรหม จนถึงสุทธาวาสขึ้นมาอำนวยพร ผงนี้จะอุดมด้วยวาสนา บารมี ลาภสักการะ ปรารถนา สิ่งใดก็ได้ดังหวัง

คุณปถม เวลารับมอบผงโสฬสมหาพรหมจากหลวงปู่สนธ์ถึงกับมือไม้สั่น นึกไม่ถึงว่าท่านจะให้ และเมื่อรับผงมาแล้วก็ได้สร้างพระถวายหลวงปู่สนธ์ 2 รุ่น รุ่นแรกนั้นไม่มีภาพตัวอย่างให้ดู เพราะว่าหาพระไม่ได้ และพระรุ่นแรกก็ไม่ทนทานเท่าที่ควร โดยมากเปื่อยยุ่ยพังไปเอง ส่วนรุ่น 2 นั้นทำได้แข็งแรงกว่า เพราะว่าใช้วิธีเผา พระจึงแกร่งและทนทานอยู่ได้จนทุกวันนี้

พระรุ่น 2 นี่แหละครับที่ตกน้ำแล้วลอยขึ้นวิ่งสู่ฝั่งในลำน้ำโขงแล้วไปโผล่ที่วัดท่าดอกแก้ว

หลังจากสร้างพระถวายหลวงปู่สนธ์เสร็จแล้ว คุณปถมนำผงไปคืนหลวงปู่สนธ์ แต่ว่าหลวงปู่ท่านกลับบอกว่าให้เก็บไว้สร้างพระต่อไปในอนาคต ผงที่เหลือทั้งหมดจึงกลับมาอยู่ในครอบครองของคุณปถมอีกครั้ง ระหว่างนี้คุรปถมได้นำผงโสฬสมหาพรหมไปขอบารมีจากครูบาอาจารย์หลายท่าน เช่น เจ้าคุณอริยคุณาสาร (ปุสโส เส็ง) 6 เดือน พระอาจารย์วัง ฐิติสาโร แห่งภูลังกา พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุตมสมพร พระอาจารย์สิม พุทธาจาโร (ขณะพำนักที่สกลนคร) พระอาจารย์หัว วัดบ้านคำครึ่ง และหลวงพ่อสมาธิ สุดท้ายก็คือหลวงปู่จันทร์ เขมิโย หรือพระเทพสิทธาจารย์ ว้ดศรีเทพฯ นครพนม

หลวงปู่จันทร์ก็เป็นศิษย์ของหลวงปู่สีทัตต์เหมือนกัน โดยเป็นศิษย์ตั้งแต่สมัยยังเป็นเณร เคยออกธุดงค์กับหลวงปู่สีทัตต์เหมือนกัน โดยเป็นศิษย์ตั้งแต่สมัยยังเป็นเณร เคยออกธุดงค์กับหลวงปู่สีทัตต์และได้เห็นอิทธิฤทธิ์ของหลวงปู่สีทัตต์มากพอสมควร เช่นครั้งหนึ่งนั่งอยู่ในร่มไม้มีฝูงนกเกาะอยู่ข้างบน ร้องเจี๊ยวจ๊าว หลวงปู่สีทัตต์ถามเณรจันทร์ว่ารู้ไหมนกมันคุยอะไรกัน เณรจันทร์ตอบว่าไม่รู้ หลวงปู่สีทัตต์ก็ว่า มันคุยกันจะบินไปหากินทางทิศตะวันออก พอพูดจบฝูงนกก็บินไปทางทิศตะวันออกทั้งหมดจริง ๆ

?ต่อไปถ้าเณรปฏิบัติถึงขั้นแล้ว เณรจะฟังภาษานกออกเอง? หลวงปู่สีทัตต์ว่า

หลวงปู่สีทัตต์กับสามเณรจันทร์ หรือหลวงปู่จันทร์นั้น เข้าใจว่าจะเป็นญาติกัน เพราะว่ามีนามสกุลเหมือนกันคือ "สุวรรณมาโจ? และเป็นคนท่าอุเทนด้วยกัน บางทีหลวงปู่สีทัตต์จะเป็นน้าเป็นลุงหลวงปู่จันทร์ก็ได้

ตอนที่ผงโสฬสมหาพรหมไปถึงมือหลวงปู่จันทร์นั้น คุณอาคมเล่าว่าหลวงปู่จันทร์เห็นแล้วก็จำได้ ถึงกับออกปากว่าไปเอาผงนี้มาจากไหนอย่างไร และหลังจากนั้นก็แบ่งผงนี้ไว้ประมาณ 1 ชั้นปิ่นโต ผงนี้ได้นำมาสร้างพระเครื่องรุ่น 2500 ของหลวงปู่จันทร์ คือพระสมเด็จและพระนางพญา ที่คนทั่วไปรู้จักกันดีแล้วนั่นเอง

ประวัติและเรื่องราวของหลวงปู่สีทัตต์ มีปรากฏอยู่ในหนังสือประวัติพระพุทธบาทบัวบก จังหวัดอุดรธานี ใครไปนมัสการพระพุทธบาทบัวบกก็สามารถซื้อมาอ่านได้ และถ้าเป็นแฟนศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริงแล้วก็จะต้องเคยอ่านประวัติหลวงปู่สีทัตต์จาก
ที่นี่มาแล้ว ดูเหมือนว่าจะเป็นคุณเวทย์ วิทยาคม เขียน หรือไม่ก็คุณสุวิทย์ เกิดพงษ์บุญโชติ ให้ย้อนกลับไปค้นเล่มเก่า ๆ มาอ่านก็จะได้ความพิสดารแห่งประวัติท่าน ผมจะงดไม่กล่าวถึง)

คุณอาคมได้เล่าไว้อย่างน่าทึ่งและเหลือเชื่อว่า ตอนที่พ่อของเขานำผงนี้ไปถวาย พระอาจารย์ฝั้นเห็นผงแล้วก็ถึงกับก้มกราบ พระอาจารย์วังก็กราบเหมือนกัน

ผงโสฬสมหาพรหมเมื่อมาอยู่ในครอบครองของคุณปถมแล้ว คุณปถมได้นำผงนี้ไปเก็บไว้ที่วัดเทพศิรินทร์ โดยเอาไว้ในพระอุโบสถ (ว่าตามคุณอาคมนะครับ) ผงนี้ก็มีอันอยู่ในพระอุโบสถวัดเทพฯ ตลอดมา เพราะว่าท่านเจ้าคุณนรฯ ปลุกเสกพระในพระอุโบสถนี้เสมอ

นับได้ว่าผงนี้ยิ่งนานยิ่งขลังเป็นทวี

ถ้าจะว่าไปแล้วผงนี้ใช่จะได้สร้างแต่พระถวายหลวงปู่สนธ์ 2 รุ่น (ระหว่างปี 2493-94) แล้ว ยังได้สร้างถวายพระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์สิมด้วย ทั้งของพระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์สิมเป็นพระพิมพ์เดียวกัน ต่างกันที่สีของเนื้อพระ คือของพระอาจารย์ฝั้นสีอิฐเผาออกแดงอมส้ม ส่วนของพระอาจารย์สิมสีดำ และของพระอาจารย์สิมองค์ใหญ่กว่าพระอาจารย์ฝั้นเล็กน้อย ด้านหลังพระจะมีลายผ้าปรากฏ แต่ของพระอาจารย์ฝั้นหลังเรียบไม่มีลายอะไร

ไล่กันจริง ๆ ก็น่าเป็นดังนี้ คือสร้างถวายหลวงปู่สนธ์ก่อน ต่อมาก็หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ สร้างเป็นพระสมเด็จ 3 พิมพ์ พระนางพญา 3 พิมพ์ใน พ.ศ. 2500 ต่อมาก็เป็นของพระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์สิมตามลำดับ สุดท้ายก็เป็นของหลวงปู่ทิม อิสริโก หรือพระครูภาวนาภิรัต วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง

หลวงปู่สีทัตต์ ดูเหมือนว่าวาระสุดท้ายของท่านยังเป็นความลับดำมืด ไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าท่านมรณภาพเมื่อไหร่ที่ไหน คาดว่าคงทิ้งสังขารอยู่บนภูเขาควายอันลึกลับซับซ้อนแห่งประเทศลาวนั่นเอง

ที่เล่ามาทั้งหมดนี้ เป็นไปอย่างพอมองเห็นภาพความขลังของผงโสฬสมหาพรหม หรืออาจเป็นผงอิทธิเจมหาลาภก็ตาม ว่ามีการเดินทางยาวไกล และสร้างชื่อเสียงไว้อย่างลึกลับแค่ไหน เพื่อหวังว่าผงนี้และเจ้าของผงคือหลวงปู่สีทัตต์จะไม่ถูกลืม

ใครมีศรัทธาก็คงต้องดิ้นรนขวนขวายหากันเอาเอง

ท่าดอกแก้ว ของหลวงปู่สนธ์นั้น ถ้าหากว่าใครมีพ่อแม่ปู่ย่าเป็นทหารในแถบจังหวัดนครพนมหรือใกล้เคียงให้รื้อค้นหิ้งพ
ระดู บางทีจะพบท่าดอกแก้วได้ เพราะว่าหลวงปู่สนธ์ท่านแจกท่าดอกแก้วไปในหมู่ทหารเป็นส่วนมากไม่ค่อยได้แจกแก่ประชา
ชนอาชีพอื่น
260  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านโทน กันตสีโล / หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา บ้านสะพือ และสำเร็จลุน จากคำบอกเล่าของหลวงปู่โทน เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:37:24
ประวัติหลวงปู่โทน วัดบูรพา บ้านสะพือ และสำเร็จลุน จากคำบอกเล่าของหลวงปู่โทน























261  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านอ่อง ฐิตธัมโม / หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบล เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:32:38
หลวงปู่อ่อง วัดสิงหาญ บ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบล



พระครูสถิตธรรมมงคล หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เจ้าอาวาสวัดสิงหาญ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์สายเจ้าปู่สมเด็จลุน และ หลวงปู่กัมมัฏฐานแพง ผู้เรืองเวทย์วิทยาปาฏิหาริย์ ท้าวลุน?เจ้าปู่สมเด็จลุน? บิดาชื่อ พ่อเซียงหล้า มารดาชื่อ แม่คำบู่ ?เจ้าปู่สมเด็จลุน? เกิดปีฉลู พ.ศ. 2396 ณ บ้านหนองคำไฮ ตำบลเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ขณะนั้นแขวงจำปาสัก อยู่ในการปกครองของประเทศไทย เจ้าปู่สมเด็จลุน มาบิณฑบาตที่ประเทศไทยเป็นประจำ โดยมาพักอยู่ที่วัดสิงหาญ ตั้งแต่ยังเป็นสามเณรลุน ซึ่งได้รับ สมุดก้อมศพพ่อท่านวัดบ้านนาหล่ง ต่อมาจากนั้นเจ้าปู่สมเด็จลุน ได้หายตัวไป กลับมาอีกครั้งเมื่ออายุครบอุปสมบท เจ้าปู่สมเด็จลุน มีอิทธิปาฏิหาริย์มากเหนือกว่าพระสงฆ์ใดๆในยุคนั้น เช่น ล่องหนหายตัวได้ เดินข้ามแม่น้ำโขงย่นระยะทางได้ แบ่งกายได้ เก็บหนังสือเข้าผูกโดยไม่ต้องดู เสกตัวเองเป็นนกเสกคนอื่นเป็นกุ้ง ฝ่าดงทากนับล้านตัวโดยไม่มีอันตราย แหวกลมแหวกฝนไม่เปียก สมเด็จลุนบิณฑบาตต่างประเทศและทั่วทุกแขวงของประเทศลาวเสมอๆ เจ้าปู่สมเด็จลุน มรณภาพอย่างสงบเมื่อวันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2466 ตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ปีกุน แห่ศพเจ้าปู่สมเด็จลุนจากวัดเวินไซไปยังที่ฌาปนกิจศพประมาณ 100 เมตร เป็นเวลา 7 วัน 7 คืน สถานที่ฌาปนกิจปัจจุบันมีต้นโพธิ์ใหญ่ 5 ต้น ซึ่งเกิดขึ้นมาหลังฌาปนกิจได้ 7 วันซึ่งเกิดขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์ ชาวบ้านเวินไซ จึงตั้งชื่อวัดอีกวัดหนึ่งว่า ?วัดโพธิ์เวินไซ? เจ้าปู่สมเด็จลุน เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงหาญ แต่ไม่มีผู้บันทึกว่าจาก พ.ศ.ไหน ถึง พ.ศ. ไหน แม้แต่ในพระเจดีย์ใหญ่ ก็จะมีเฉพาะที่บรรจุอัฐิธาตุเฉพาะบางองค์เท่านั้น เช่น ญาถ่านพู สมเด็จตัน ญาถ่านอุตมะ และพระกรรมฐานแพง เป็นต้น พระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์เอกเจ้าปู่สมเด็จลุน เกิดวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2427 ชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด (เป็นลูกพี่ ลูกน้องกับโยมพ่อ-โยมแม่ หลวงปู่อ่อง) ศรัทธาในศีลาจาวัตรเจ้าปู่สมเด็จลุน จึงได้ขออุปสมบทและศึกษาเวทย์วิทยาคมจากเจ้าปู่สมเด็จลุนจนแตกฉาน เห็นเหตุการณ์ที่เจ้าปู่แสดงธรรมตลอดระยะเวลาจนกระทั่งเจ้าปู่สมเด็จลุนมรณภาพ เมื่อชราลงพระกรรมฐานแพงจึงได้ย้อนกลับมาเป็นเจ้าอาวาสวัดสิงหาญ และมรณภาพเมื่อวันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2509 สิริอายุ 82 ปี พระครูสถิตธรรมมงคล (หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม) เป็นชาวบ้านสะพือโดยกำเนิด เป็นหลานพระกรรมฐานแพง จันทสาโร หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2471 โยมพ่อชื่อ พ่อคูณ โยมแม่ชื่อ แม่กอง ในสกุล อัจฉฤกษ์ มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน 9 คน เด็กชายอ่อง อัจฉฤกษ์ ไม่สนใจเรื่องโลกทั้งปวง ศรัทธาเลื่อมใสในศีลาจารวัตรพระกรรมฐานแพง เรียนรู้ธรรมะตั้งแต่ยังเล็ก ครั้นอายุได้ 6 ขวบก็ขออนุญาตโยมพ่อ โยมแม่ เข้าเป็นศิษย์วัด อายุ 12 ปี บวชเป็นสามเณร โดยท่านพระครูพิศาลสังฆกิจ (หลวงปู่โทน กันตสีโล) เป็นผู้บวชให้ ต่อมาอายุครบ 20 ปี พ.ศ. 2491 ก็อุปสมบทเป็นพระโดยมีท่านพระครูพิริยกิจปัญญา ?หลวงปู่ฤทธิ์ วัดสระกุศกร? เป็นพระอุปฒาย์ ได้นามว่า พระอ่อง ฐิตธัมโม หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม เริ่มออกธุดงค์ตั้งแต่เป็นสามเณร 3-4 ปีจะกลับมาครั้งหนึ่ง หลังจากพระกรรมฐานแพง มรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2509 เมื่อทำพิธีเกี่ยวกับเรื่องศพของพระกรรมฐานแพงเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่อ่อง ก็ออกจากวัดสิงหาญเพื่อธุดงค์ตลอดมา วัดสิงหาญ เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีหลักฐานที่สามารถประมาณได้ว่าเคยมีพระท่านใดเป็นเจ้าอาวาสบ้าง ก็อาศัยหลักฐานอัฐิที่มีรายชื่อจารึกอยู่รอบพระเจดีย์ ดังนี้ ญาถ่านพู เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2350 ? 2360 หลวงปู่อตมะ เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2365 ? 2395 เจ้าปู่สมเด็จตัน เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 2480 ? 2494 หลวงปู่แพง พระกรรมฐานแพง เป็นเจ้าอาวาส พ.ศ. 24.. ? 2509 มีหลายช่วงที่ขาดรายนามเจ้าอาวาส ในระหว่างนั้น มีพระครูพิศาลสังฆกิจ ?หลวงปู่โทน กันตสีโล? ก็เป็นเจ้าอาวาสอยู่หลายปี สำหรับท่านพระครูสถิตธรรมมงคล ?หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม? เป็นเจ้าอาวาส ปัจจุบัน พระครูสถิตธรรมมงคล ?หลวงปู่อ่อง ฐิตธัมโม? ไม่ได้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ใดๆ แต่เมื่อปี สองปีนี้ ในขณะทีหลวงปู่อ่อง นั่งรับแขกญาติโยมอยู่ที่วัดสิงหาญ แต่ร่างหนึ่งนั่งสวดอภิธรรมศพอยู่ที่วัดทุ่งศรี เป็น 1 ใน 4 วัด ของบ้านสะพือ อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เสกมวลสารวัตถุในถ้ำภูมะโรง ประเทศลาว เป็นแร่เหล็กไหลกายสิทธิ์ และขณะนั่งประกอบพิธีที่วัดแห่งหนึ่งใน อ.พิบูลมังสาหาร ทั่วร่างกายเป็นประกายหลากสีเปล่งปลั่งอย่างน่าอัศจรรย์ แม้จะเป็นหนึ่งเดียวในสา ยพระอาจารย์ ใหญ่ เจ้าปู่สมเด็จลุน ผู้มากด้วยอิทธิปาฏิหาริย์ แต่ไม่เคยแสดงฤทธิ์เดชให้ใครเห็น ยกเว้นสิ่งนั้นจะเกิดขึ้นเองในคราวจำเป็น หรือมีใครทดลอง เพราะได้รับคำแนะนำจากพระกรรมฐานแพง จันทสาโร ศิษย์ผู้ใกล้ชิดเจ้าปู่สมเด็จลุนที่จำได้ทุกตัวอักษร ว่า ?หากไม่มีเหตุจำเป็นอย่าแสดงแผงฤทธิ์เดชใดๆ 
262  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านคำบุ คุตฺตจิตฺโต / หลวงปู่คำบุ คุตฺตจิตโต วัดกุดชมภู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:29:53
ประวัติหลวงปู่คำบุ  คุตฺตจิคโต
  


กิตติคุณเกียรติประวัติและวัตรปฏิปทาแห่ง

หลวงปู่คำบุ  คุตฺตจิคโต

หลวงปู่ฤาษีแห่งพิบูลมังสาหาร  ผู้สร้างตะกรุดมหาอำนาจ  ( ตะกรุดปืนแตก ) และตระกรุดมหาเมตตา  

( ตะกรุดรกแมว ) อันลือลั่น  ท่านเป็นพ่อใหญ่ของชาวบ้านเป็นอาจารย์คนทั่วไปที่ได้พบ นามตามสมณศักดิ์

ของท่านคือ พระครูวิบูลย์นวกิจ  ชาวบ้านย่านบ้านกุดชมภูหรือพิบูลย์คงจะไม่คุ้นเคย นอกจากศิษย์ใกล้ชิด

คงเป็นเพราะว่าชื่อสมณศักดิ์จำยากกระมังไม่เหมือนนามว่า พ่อใหญ่หรือหลวงปู่คำบุ ละก็ชาวบ้านร้องอ๋อทุกคนให้ความเคารพเทิดทูลเสมอ ท่านเป็นพ่อใหญ่ของชาวบ้านเรียกกันจนติดปาก ว่า พ่อใหญ่คำบุ ครับ

ชาติกำเนิดของหลวงปู่ ท่านถือกำเนิดในตระกูลคำงาม ของพ่อสาและแม่หอม ท่านเกิดวันจันทร์ ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๓ปีจอ ตรงกับวันที่  ๑๕ กุมภาพันธ์  ๒๔๖๕ ซึ่งเป็นวันมาฆบูชา ณ บ้านกุดชมภู  

บรรพชาอุปสมบท  ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อปี ๒๔๘๒ โดยมี พระครูญาณวิสุทธิคุณ ( กอง ) วัดโพธิ์ตากเป็นพระอุปัชฌาย์ สมัยเป็นสามเณรได้เคยไปกราบไหว้หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง พระครูวิโรจน์  รัตนโนบลเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานีอยู่หลายครั้ง ซึ่งขณะนั้นหลวงปู่รอดอยู่ในวัยชราภาพได้ให้ความเมตตากับสามเณรคำบุเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้วท่านได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระอุปัฏาก พระครูวิโรจน์รัตนโนบลอยู่  ด้วยความเป็นคนบ้านเดียวกัน  จึงสนิทสนมกับสนามเณรคำบุเป็นอย่างมากพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วงท่านเป็นพระที่ร้อนวิชา มีวิชาอาคมแก่กล้ามาตั้งแต่หนุ่ม ชอบลองวิชาอาคมอยู่เสมอด้วยความเอ็นดูสามเณรคำบุ  จึงได้สอนวิชาอาคมให้ตั้งแต่นั้นมา  พระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง  รูปนี้ถ้าไปถามชาวบ้านแถบพิบูลย์มังสาหารจะกล่าวกันว่าวัตถุมงคลของท่านยอดเยี่ยม จริง ๆ  ทั้งตะกรุดและสีผึ้งเรียกว่าสุดยอดเลยที่เดียวต่อมาสามเณรคำบุได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ โดยมีพระครูสาธุธรรมจารี ( สาป วัดดอนจิกเป็นพระอุปัชฌาย์ ) โดยยังเรียนวิชาอาคมกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง อยู่เสมอมาอย่างเดิม พระอาจารย์รอดผู้เป็นศิษย์อุปัฐฏากพระครูวิโรจน์ วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งท่านก็เป็นที่กล่าวขานกันว่าเป็นหนึ่งในด้านวิทยาคมของไทยในยุคนั้นเป็นผู้สร้างเหรียญหลักเมืองอุบล จนเป็นตำนานมาแล้ว จึงนับได้ว่าหลวงปู่คำบุ เป็นศิษย์ในสายของหลวงปู่รอดวัดทุ่งศรีเมืองและศิษย์พระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง เป็นหลัก ส่วนอาจารย์อื่นๆนั้น ก็มีสายของสำเร็จลุ่นแห่งเมืองลาว  พระกัมมัฏฐานแพงและหลวงปู่ญาท่าสวนที่หลวงปู่ไปเรียนวิชาด้วย

 
263  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / อาจารย์กาหลง จันทวังโส วัดศรีประดู่ จ.อุบล เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:27:24
ประวัติอาจารย์กาหลง จันทวังโส วัดศรีประดู่ จ.อุบล ศิษย์รุ่นปัจจุบันผู้สืบทอดวิชาสายสำเร็จลุน

 

"พระอาจารย์กาหลง จันทวังโส" นามเดิม ธวัชชัย ชุมพร เกิดที่บ้านดอนใหญ่ ตำบลวาริน อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี เกิดเมื่อวันที่ 1 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2503 บิดาชื่อ นายพัน ชุมพร มารดาชื่อ นางไพ ชุมพร มีพี่น้องทั้งหมด 5 คน ชาย 4 คน หญิง 1 คน เริ่มเข้าเรียนชั้นประถมปีที่ 1-4 ที่โรงเรียนบ้านดอนใหญ่ สอนโดย นางพเยาว์ กมุทชาติ

เมื่อจบแล้วได้บวชเป็นสามเณรที่วัดบ้านนาเอือด ตำบลนาคำ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี และได้มาจำพรรษาอยู่วัดบ้านดอนใหญ่ ซึ่งเป็นบ้านเกิด อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่ วัดหนองหูช้าง อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี

ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีประดู่ ต.ในเมือง จ.อุบลราชธานี

"พระอาจารย์กาหลง จันทวังโส" บวชเป็นสามเณรที่บ้านนาเอือดและได้มาจำพรรษาที่บ้านดอนใหญ่ อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านเอง ท่านได้ฝากตัวเข้าเรียนวิชากับพระอาจารย์เก่ง ที่วัดบ้านดงแถบ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งพระอาจารย์เก่งนั้นได้เป็นศิษย์ของสำเร็จลุน สำเร็จตัน สำเร็จแก้ว

หลวงพ่อกาหลงได้เรียนวิชากับพระอาจารย์เก่งมากมายจนหมดตั้งแต่ตัวขอมตัวธรรม จนวิชาต่างๆ อาทิ วิชาอยู่ยงคงกระพันชาตรี วิชาทำตระกรุดหนังสือ 5 พยัคฆ์ วิชาเข็มทองคะนองฤทธิ์ วิชาตะกรุดพิสมร วิชากาตอมเห่ว วิชาทำตะกรุดนพคุณเก้า วิชาทำตะกรุดการเวก วิชาทำตะกรุดพญานาค (ซึ่งวิชานี้ทำได้ยากมากเพราะต้องดำน้ำและแล้วจารอักขรแล้วเสกคู่กันไปด้วย) และอีกหลายๆ อย่างมากมาย ตำราต่างๆ ของพระอาจารย์เก่งได้ตกทอดมาอยู่กับพระอาจารย์กาหลงทั้งหมด

 



ที่เห็นได้ในปัจจุบัน เพราะพระอาจารย์กาหลงได้เก็บรักษาไว้เป็นอย่างดี จากนั้นพระอาจารย์กาหลงได้เดินทางไปเรียนวิชากับอาจารย์คำพัน กิสสโร ได้ร่ำเรียนวิชาอยู่ยงคงกระพันและทำตะกรุดต่างๆ จากนั้นได้เรียนธรรมมหาโองการพระเจ้า 5 พระองค์ กับท่านอาจารย์สอน บ้านคำเปือย ศรีสะเกษ และได้ศึกษาวิชาปราบภูตผีปีศาจถอนคุณไสยวิชาผูกหุ่น แก้หุ่นจนหมดสิ้น แล้วได้เดินทางไปทางภาคเหนือเพื่อเสาะแสวงหาอาจารย์อีกต่อไป

จนได้พบกับอาจารย์สล่าลี่ (อุ๊ยลี่) บ้านทุ่งข้างพวงนาหวาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ได้เรียนวิชาสมานแผล จดกระดูก จากนั้นได้ไปเรียนวิชากับพ่ออุ๊ยหนานตั่น บ้านเมืองกื้ด ต.กื้ดช้าง อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ พ่ออุ๊ยหนานตั่น ได้สอนวิชาทำอิ้น และวิชามหาเสน่ห์ให้หมดสิ้น

เมื่อได้วิชาทางภาคเหนือแล้ว พระอาจารย์กาหลงหรือในตอนนั้นเป็นสามเณรกาหลง ได้เดินทางกลับมายังบ้านเกิดของตน จึงได้มาพบกับหลวงปู่เทิน วัดศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี และได้ศึกษาสรรพวิชาท่านจนหมดสิ้นอีก วิชาของหลวงปู่เทินนั้นจะเน้นในเรื่องความอยู่ยงคงกระพันชาตรี และแคล้วคลาดเป็นสำคัญ ทั้งวิชาลงยันต์ ลงอักขระต่างๆ

เมื่อได้วิชาจากหลวงปู่เทินจนหมดสิ้นแล้ว พระอาจารย์กาหลงจึงได้เดินทางไปที่บ้านโนนใหญ่ อ.ศรีเมืองใหม่ เพื่อขอฝากตัวเป็นศิษย์ พล.ท.ท้าวทิศตัน และศึกษาวิชาทำเสน่ห์สายีสานจนหมดสิ้นแล้วเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้ว จึงได้ลาผู้เป็นอาจารย์เพื่อไปหาวิชาใหม่เพิ่มเติมอีกเพราะช่วงนั้นพระอาจารย์หรือสา มเณรกาหลงในตอนนั้นเป็นคนชอบรู้ ชอบเห็น ชอบพิสูจน์ ถ้าอันไหนจริงจึงจะขอเรียน ถ้าไม่จริงแล้วไซร้จะเสียเวลาเรียน เพราะของที่เรียนมาต้องใช้ได้จริง ทำได้จริง เห็นผลจริงเท่านั้น

จากนั้นสามเณรกาหลงได้เดินทางเสาะแสวงหาครูบาอาจารย์เพื่อศึกษาจนได้มาพบ อาจารย์สงวน บุญมาก บ้านก้านเหลือง อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านอาจารย์สงวนได้แลเห็นถึงความวิริยอุตสาหะ ในการพากเพียรเพื่อเสาะแสวงหาตำราวิชาดี จึงได้มอบตำราใบลานวิชาของพระอาจารย์กรรมฐานแพง บ้านสะพือ ให้พระอาจารย์กาหลงเพื่อไปศึกษาจะได้เป็นที่พึ่งของคนอีกจำนวนมาก ซึ่งถ้าพูดถึงพระอาจารย์กรรมฐานแพงนั้นคนรุ่นเก่าๆ อย่าง รุ่น ทวด ตา ยาย เราถึงจะรู้จักเพราะท่านเป็นศิษย์ก้นกุฏิของสำเร็จลุน คนสมัยก่อนแถวบ้านสะพือ อ.ตระการพืชพลจะรู้ถึงอิทธิฤทธิ์และปาฏิหาริย์ของพระอาจารย์กัมมัฏฐานแพงดี  และที่สำคัญท่านเป็นอาจารย์ของ หลวงปู่โทน และหลวงปู่ญาท่านสวน จ.อุบลราชธานี นั่นเอง

เมื่อสามเณรกาหลงได้ศึกษาตำราใบลานวิชาของกรรมฐานแพงจนหมดสิ้นแล้ว จึงได้เดินทางมาอยู่ที่วัดป่าแสนอุดม บ้านท่าบ่อ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี และได้ศึกษาวิชากับ พ่อใหญ่แสง บ้านท่าบ่อ ปัจจุบัน พ่อใหญ่แสงอายุ 100 กว่าปีแล้ว พ่อใหญ่แสงนี้เป็นศิษย์ฆราวาสของพระครูวิโรจน์รัตโนบลและเป็นศิษย์ผู้เดียวของพระครู วิโรจน์ที่ยังมีชิวิตอยู่ และท่านก็เป็นผู้หนึ่งที่รู้เรื่องศิษย์สำเร็จลุนดีเพราะท่านได้รับการบอกเล่าจากอาจ ารย์ของท่านคือพระครูวิโรจน์นั่นเองครับ พระครูวิโรจน์บอกท่านว่าถ้าเอ็งอยากเก่งกว่านี้ให้ไปตามหาเณรคำและเณรแก้วเพราะอาจาร ย์ของท่านนั้นคือสำเร็จลุนได้มรณะภาพไปแล้ว   อาจารย์กาหลงได้วิชาจากพ่อใหญ่แสงมากมาย เช่น วิชาหนุมานเผือก วิชาหนุมานโทน วิชาหนุมานคลุกฝุ่น วิชาทำวัวธนู วิชาปล่อยวัวธนู จากนั้นท่านจึงได้ขอเรียนวิชา สุริยะประภา จันทร์ประภา (ซึ่งแกะด้วยกะลาตาเดียว) จากหลวงปู่โสม เจ้าอาวาสวัดป่าแสนอุดมในปัจจุบัน
 
264  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / ประวัติหลวงปู่ฮุ่ง อริยะสงฆ์แห่งมหาสารคาม เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:26:36
ประวัติหลวงปู่ฮุ่ง อริยะสงฆ์แห่งมหาสารคาม



หลวงปู่ฮุ่ง แห่งวัดทุ่งหนองแวงสองคอน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
ประวัติ วันเดือนปีเกิด ของหลวงปู่ฮุ่งท่านมิอาจจะหาข้อมูลได้
เพราะหลวงปู่ฮุ่งท่าน ไม่ชอบใครให้มารู้วันเดือนปีเกิดของท่าน
จึงไม่มีข้อมูลของท่านเลยในเรื่องนี้ ท่านคงจะถือตคิแบบโบราณ
ป้องกันศัตรูหรือผู้คิดร้ายมากระทำในเรื่องต่างๆ
เพราะโบราณถือกันว่าถ้าหากศัตรูล่วงรู้วันเดือนปีเกิด
ก็สามารถฆ่าตายได้แล้วประมาณ99%
คือผู้นั้นได้ตายไปแล้ว99%

หลวงปู่ฮุ่งท่านเป็นอริยะสงฆ์ที่ซ่อนเร้น อยู่ตามป่าตามเขาบ้านอกคอกนา
ท่านอยู่อย่างสมาถะ ไม่มีวัดใหญ่โต มีเพียงแค่กุฏิหลังเล็กๆเพียง1หลัง
หลวงปู่ฮุ่งท่านเป็นศิษย์ของหลวงปู่นามหรือ
(หรือหลวงปู่เสือนามบ้านตะโก)จ.มหาสารคาม

หลวงปู่เสือนามท่านเป็นศิษย์ร่วมสำนักเดียวกับ
พระครูศรีธรรมศาตร์มหาสาร(เสือเก่าอาจารย์วัดชุมจุมพล)
และหลวงปู่ทา แห่งเขาพลูสวนกวง(เสือทา)
ทั้งสามเสือท่านเป็นเกลอรักกัน และมีชื่อเสียงในสมัยเป็นโจร
โด่งดังมาก ทางราชการมิอาจจะปราบปรามได้
เพราะเนื่องจากทั้งสามเป็นผู้ที่มีวิชาดี
และที่สำคัญก็ทั้งสามสำเร็จวิชาหายตัวจากหลวงปู่ใหญ่แห่งเขาภูควาย
ทำให้ทางการมิอาจจะจับตัวได้เลย เจ้าท่านเมืองในนั้นต้องเจรจา
และขอให้บวช ซึ่งทั้งสามก็ยอมบวชแต่โดยดี
และก็สำเร็จจบกิจทั้งสามองค์ด้วย (ซึ่งหลวงปู่ฮุ่งท่านเล่าให้ฟัง)
และหลวงปู่ทั้งสามยังเป็นศิษย์รุ่นพี่ของหลวงปู่ชุน(เสือโคก)
และท่านยังเป็นศิษย์สายสำเร็จลุนอีกด้วย

หลวงปู่ฮุงท่านได้ธุดงค์ ทั้งในฝั่งไทยและลาวและเขมร
ท่านเรียนการปฏิบัติจากหลวงปู่นาม และครูบาอารย์ที่ลึกลับหลายๆองค์เช่น
หลวงปู่สำเร็จลุนเรื่องธาตุต่างๆ หลวงปู่องค์ดำ จบทั้งด้านวิชาธาตุและวิชาขั้นสูงในด้านโลกุตตระ

ถ้าท่านใดเคยไปกราบท่านสมัยที่หลวงปู่ฮุ่งท่านยังอยู่
จะรู้ว่าที่วัดของท่านผีดุมาก ผีที่วัดท่านหลอกกันกระทั่งตอนกลางวัน
หลวงปู่ท่านเคยเล่าว่า
ที่วัดทุ่งหนองแวงสองคอนเคยเป็นเมื่อเก่า และมีอาถรรพ์ฝังไว้
และมีผู้ที่มีวิชากระทำอาถรรพ์เอาไว้ทุกพื้นที่
เพื่อป้องกันวัดและเมือง
หลวงปู่ฮุ่งท่านบอกว่าแต่ถึงจะเก่งแค่ไหน ก็เก่งเกินกฏไตรลักษณ์ไม่ได้
สุดท้ายก็เหลือเป็นกองเศษอิฐแดงๆอยู่โน่น

สมัยหลวงปู่ฮุ่งท่านย้ายมาอยู่ใหม่ ท่านเลยจัดการแผ่เมตตาให้กับพวกผีเหล่า
ไปสู่สุคติภพภูมิที่ดี แต่ถ้าผีที่ดื้อ ก็โดนท่านสั่งสอนอบรม
จนต้องหันมายอมรับนับถือพระรัตนตรัย ท่านว่าบางทีเด็กดื้อ
ก็ต้องโดนไม่เรียวเหมือนกัน ตีเพื่อให้ได้ดี ไม่ได้ตีเพื่อเป็นทาสโมหะมัน
และท่านก็ยังจัดการถอนอาถรรพ์ต่างที่จะเป็นอันตรายต่อชาวบ้านด้วย
ท่านว่าคนโบราณ เขาเรืองวิชา เขาทำขลัง เพราะเขาทำจริง ทำได้จริง


หลวงปู่ฮุ่ง ท่านเป็นศิษย์รุ่นเดียวกับครูสมาน
ทั้งสองเป็นผู้เรืองวิชา แต่ครูสมานชอบทางด้านโลกียะ
แต่หลวงปู่ฮุ่งท่านจบพึ่งในกิจที่กระทำอย่างสมบูรณ์ของพระสงฆ์แล้ว

ต่อไปนี้ผมจะขอเล่าเรื่องของหลวงปู่ฮุ่งและครูสมาน ทดสอบวิชากันครับ
เมื่อครูสมานขึ้นไปกราบเยี่ยมหลวงปู่ฮุ่ง เมื่อประมาณปี2533
(อาจจะจำผิดขออภัยด้วยครับ)(และแปลเป็นภาษาภาคกลางอ่านได้ดังนี้ครับ)

เนื่องจากหลวงปู่ฮุ่งและครูสมานทั้งสองต่างเป็นสหายสนิทกัน
และเป็นศิษย์ร่วมเรียนวิชาเดียวกับหลวงปู่นามแห่งบ้านตะโก

เมื่อครูสมานมาถึง ก็ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบของกันและกัน
แล้วหลวงปู่ฮุ่งท่านก็จัดน้ำชาให้ แล้วบอกว่า ให้กินน้ำชารอก่อน
เดี๋ยวท่านมา ท่านจะไปสรงน้ำที่ในฝายน้ำหน่อย (ฝายข้างๆวัด)
แต่ครูสมานจะตามไปอาบน้ำบ้างก็ได้น๊ะ เพราะอากาศบ้านนอกมันร้อน
แต่ครูสมาน บอกว่า เดี๋ยวผมขอรออยู่ที่นี่ก็แล้วกันครับ

แล้วหลวงปู่ฮุ่งท่านก็หายไปพักใหญ่ หายไปนานมาก
จนครูสมานเริ่มอดทนรอไม่ไหว จึงเดินตามไปที่ฝายน้ำที่อยู่ข้างวัด
พร้อมชาวบ้าน2คนที่เป็นศิษย์ของหลวงปู่

พอทั้งสามคนเดินไปที่ฝายน้ำ ก็เห็นจรเข้ยักษ์ใหญ่ตัวใหญ่ลอยอยู่ในฝายน้ำ
ชาวบ้านที่ตามไป2คนก็ตื่นตกใจใหญ่ เอ่ะอ่ะ ว่าในฝายของพวกเรา
มันมีจระเข้ได้ยัง ซึ่งจระเข้ยักษ์ตัวใหญ่มาก ใหญ่ขนาดลอยเกือบเต็มฝายน้ำ ที่ริมตลิ่งฝายน้ำ
ก็มีรองเท้าของหลวงปู่ฮุ่ง วางทิ้งไว้อยู่
วางอยู่ข้างๆริมฝาย ชาวบ้านก็บอกครูสมานว่า
สงสัยจระเข้ตัวใหญ่ คงคาบหลวงปู่ไปกินแล้ว
พร้อมกับเอ่ะอ่ะโวยวายกันใหญ่ อีกคนก็จะไปตามชาวบ้านให้มาช่วยยิงจระเข้ เพราะคิดว่าจระเข้
คงกินหลวงปู่ฮุ่งเข้าไปแล้ว
แต่ยังสงสัยว่าจรเข้ยักษ์ตัวใหญ่ตัวนี้ มาได้อย่างไร
มาลอยอยู่ในฝายน้ำของชาวบ้าน
ยิ่งชาวบ้านเอ่ะอ่ะโวยวาย จระเข้ยักษ์ก็ยิ่งตีหางในน้ำใหญ่จนน้ำแตกกระจาย
และทำท่าเหมือนอาละวาดใหญ่

ครูสมานยืนนิ่ง และสำรวมจิตเพ่งกสินทางใน ก็รู้ว่า
ที่แท้จระเข้ยักษ์ใหญ่ที่อาละวาดอยู่ก็คือหลวงปู่ฮุ่งเกลอของท่านนั่นเอง

ซึ่งหลวงปู่ฮุ่งท่านคงนึกสนุกลองวิชาและลองใจเข้าให้แล้ว
ครูสมานจึงสั่งชาวบ้านที่ตามไปทั้งสองคน ให้อยู่ในความสงบ
และบอกชาวบ้านว่า จระเข้ตัวนี้ ฉันขอจัดการเอง
ขอให้เป็นธุระของฉันเองและสั่งชาวบ้านว่าไม่ต้องไปตามใครมา
เพราะจระเข้ตัวนี้ แม้จะมีปืนร้อยกระบอก
ก็ไม่สามารถยิงหรือทำจะอันตรายจระเข้ตัวนี้ได้เลย

ชาวบ้านก็เฝ้ามองดูครูสมานว่าจะทำอะไร ครูสมานก็ร่ายเวทย์ที่ตัว
แล้วก็ลงไปที่ริมตลิ่งฝายน้ำ จระเข้ยักษ์ใหญ่ก็พุ่งเข้ามาหาอย่างรวดเร็ว
ครูสมานก็กระโดดน้ำลงไปปล้ำสู้กับจระเข้ยักษ์ สักพักใหญ่
จนน้ำในฝายแตกกระตายและจนน้ำนิ่งและหายไปในน้ำ
ชาวบ้านที่เห็นก็ได้แต่ยืนลุ้นตาโต และตกใจมาก
และคิดว่าคงเสร็จ เป็นอาหารจระเข้ยักษ์ไปแล้วอีกรายแล้ว

พอสักพัก น้ำที่นิ่งในฝายก็เริ่มขยับ
ครูสมานจูงมือหลวงปู่ฮุ่งขึ้นมาจากน้ำ
ซึ่งหลวงปู่ฮุ่งท่านหัวเราะชอบใจใหญ่ บอกว่านานๆ
จะอาบน้ำให้สะอาดกะเค้าซักที ดันมีคนดันมากวนซะได้
กวนมากเลยใช้ขัดขี้ไคลให้ซะเลย แล้วท่านก็หัวเราะชอบใจใหญ่
ครูสมานก็เอ่ยปากชมหลวงปู่ฮุ่งว่า
ท่านฮุ่ง ภูมิธรรมท่านไปไกลมากกว่าผมแล้ว
ผมลงน้ำตัวเปียกไปหมด แต่ท่านอาบน้ำยังไง ตัวไม่เปียกอย่างผมเลย
หลวงปู่ฮุ่งท่านก็เลยหัวเราะชอบใจใหญ่ ท่านว่าศีลเป็นสบู่ใช้ขัดทั้งกายใจได้ดี
หมั่นทำเข้า เดี๋ยวก็ได้เองแหละ ไอ้ตัวไม่เปียกมันไม่ยากหรอก

อันนี้คือเรื่องหลวงปู่ฮุ่งคร่าวๆ วันนี้ขอเสนอตอนที่1ครับ
ข้างล่างคือลิ๊งค์ภาพหลวงปู่ฮุ่ง
ส่วนวัตถุมงคลของท่าน
เหรียญรุ่นที่1 และเหรียญรุ่นที่2ครับ
และท่านสร้างพระปิดตาและพระสมเด็จไว้ด้วย
และมีพระธาตุเสด็จเหมือนพระของหลวงปู่ดู่วัดสะแก
ไว้ค่อยถ่ายลงคราวหน้าครับ
 
265  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:20:45
ประวัติและปฏิปทา
หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ


 

วัดบ้านเอียด
ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม


อัตโนประวัติ

?หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ? วัดบ้านเอียด ต.เขวา อ.เมือง จ.มหาสารคาม ท่านเป็นพระเกจิยุคเก่ามีชื่อเสียงโด่งไปทั่วภาคอีสานเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา ร่วมสมัยกับ ?หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์? วัดใต้โกสุม ต.หัวขวาง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม และ ?หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ? วัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม

ส่วนการสืบค้นประวัติของหลวงปู่ป้อ จากปากคำของพระอาจารย์สุข พลลาภ อดีตพระที่เคยปนนิบัติหลวงปู่ป้อ ก็ได้ข้อมูลพอสังเขปเท่านั้น เนื่องเพราะอัตโนประวัติของท่านไม่มีการบันทึกไว้แต่อย่างใด

 
หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ


ทราบเพียงว่า หลวงปู่มีพี่สาว 2 คนคือ นางพันและนางจันทร์ โดยหลวงปู่ป้อเป็นบุตรคนสุดท้อง ส่วนโยมบิดา-โยมมารดา ไม่ทราบชื่อเพราะบรรดาญาติๆ ต่างเสียชีวิตไปนานแล้ว เหลือญาติที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันเป็นชั้นเหลน

หลวงปู่ป้อ เกิดประมาณเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2415 ต่อมาครอบครัวของท่านได้ย้ายบ้านเรือนออกไปอยู่บ้านโนนสะพัง เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ตั้งใหม่อยู่ไม่ไกลจากบ้านเอียดเท่าใดนัก ครอบครัวหลวงปู่มีอาชีพทำไร่ทำนาเหมือนชาวอีสานทั่วๆ ไป เมื่อสมัยยังเล็กๆ ท่านก็ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง


การบรรพชาและอุปสมบท

พออายุกว่าสิบปี โยมบิดา-โยมมารดาได้นำไปบรรพชาเป็นสามเณร และเมื่ออายุ 20 ปี ในปี พ.ศ.2435 จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดในหมู่บ้าน แต่ไม่ทราบว่าพระอุปัชฌาย์ของท่านเป็นผู้ใด


ออกธุดงควัตรและศึกษาด้านไสยเวท

หลังจากอุปสมบท ท่านได้จำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความขยันขันแข็งอยู่วัดบ้านเอียด มาโดยตลอด ท่านเป็นพระที่เคร่งพระธรรมวินัยมากที่สุดในยุคนั้น แต่ด้วยความที่หลวงปู่ชมชอบความสงบวิเวกช่วงหลังออกพรรษาแทบทุกปี หลวงปู่จะออกธุดงควัตรไปแสวงหาความหลุดพ้นตามป่าเขาลำเนาไพรตามป่าในภาคอีสาน

หลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ หลวงปู่ศรีธรรมศาสน์ และ หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ? ทั้งสามท่านออกธุดงค์ร่วมกันเพื่อตามหาสำเร็จลุนจนได้มอบตัวเป็นศิษย์และได้อยู่ศึกษ าวิทยาคมจากสำเร็จลุนผู้วิเศษแห่งนครจำปาศักดิ์ ในด้าน วิทยาคมต่างๆรวมทั้งอักขระโบราณ ทำให้หลวงปู่ทั้งสามมีความรู้สามารถเขียนอักษรลาว-ขอม และอักษรไทยอย่างแตกฉาน

หลังจากนั้น จึงมาศึกษาต่อที่สำนักพระอาจารย์โสภาวดี วัดฟ้าเหลื่อม อ.อาจสามารถ จ.ร้อยเอ็ด ซึ่งพระเกจิสายอีสานยุคนั้นมักจะไปเล่าเรียนที่วัดแห่งนี้แทบทั้งสิ้น ความเข้มขลังของท่านเป็นที่เลื่องลือมากในยุคนั้น ท่านเก่งทางเมตตามหานิยม คงกระพันชาตรีกันบ้านกันเมือง

หลวงปู่ป้อเป็นพระที่แม่นพระธรรมวินัย จึงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระวินัยธร และแม่นกฎหมาย อาจารย์พรหมา รักษาเกณฑ์ อดีตเคยเป็นครูสอนอยู่บ้านเอียด ปัจจุบันอายุเกือบ 80 ปี เล่าว่า เมื่อกว่า 60 ปีที่ผ่านมา มีนายตำรวจคนหนึ่งยศร้อยตำรวจโท ออกตรวจพื้นที่มาพบหลวงปู่ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน และพูดจาทำนองดูถูกว่าหลวงปู่เป็นพระแก่ จึงเกิดมีปากเสียงกัน นายตำรวจท่านนั้นจับท่านไปโรงพัก

หลวงปู่ก็ถามว่าจะเอากฎหมายมาตราไหนมาจับท่าน ตำรวจไม่สามารถจะแจ้งข้อหาอะไรได้จึงต้องปล่อยหลวงปู่ๆ จึงเทศน์สั่งสอนให้ตำรวจดูตราที่หน้าหมวกที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานมา มีข้อความว่าอย่างไร สุดท้ายนายตำรวจท่านนั้นเกิดสำนึกผิด จึงได้กราบขอขมาท่านซึ่งหลวงปู่ก็เมตตาให้อภัย

 
หลวงปู่มหานนท์ พรหฺมสีโล


พระนักพัฒนา

หลวงปู่ป้อยังเป็นพระนักพัฒนา ท่านได้พัฒนาวัดบ้านเอียดให้เจริญรุ่งเรือง สร้างถาวรวัตถุไว้มากมายไม่ว่าจะเป็นอุโบสถ ศาลาการเปรียญ นอกจากนั้น ท่านยังเป็นหัวแรงใหญ่ชักชวนชาวบ้านก่อสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในหมู่บ้าน จนเป็นผลสำเร็จปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน

ในยุคนั้นด้วยบารมีของท่านทำให้มีผู้แสวงบุญมากราบนมัสการ และฟังธรรมที่วัดอย่างล้นหลาม ด้วยกิตติศัพท์ที่เลืองลือในเรื่องความเข้มขลังด้านไสยเวท ด้านยาสมุนไพร จึงมีพระภิกษุและฆราวาสจากทุกสารทิศเดินทางมากราบกรานขอฝากตัวเป็นศิษย์กับหลวงปู่ป้ อจำนวนมาก เช่น หลวงปู่เสาร์ วัดศรีสุข, หลวงปู่มหานนท์ พรหฺมสีโล ฯลฯ

นอกจากนั้น วัดบ้านเอียดยังเป็นสำนักเรียนที่มีเชื่อเสียงโด่งดัง ทำให้มีพระภิกษุสามเณรจากทั้งใกล้และไกลมาศึกษาเล่าเรียนกับหลวงปู่จำนวนมาก ซึ่งท่านจะเคร่งครัดมากหากไม่ตั้งใจศึกษาท่านจะไม่ให้อยู่ที่วัดอย่างเด็ดขาด

 
รูปหล่อหลวงปู่ป้อ ธมฺมสิริ


การมรณภาพ

ล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัยด้วยความไม่เที่ยงของสังขาร หลวงปู่มีอาการอาพาธบ่อยครั้ง แต่ด้วยความที่ท่านปลงอนิจจังสังเวชเห็นว่าเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของสัตว์โลก ท่านจึงไม่ยอมฉันยาใดๆ ทั้งสิ้น สุดท้ายท่านได้มรณภาพทิ้งสังขารลง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2502 สิริอายุรวม 87 พรรษา 67 หลังเก็บสังขารท่านไว้จนถึงปี พ.ศ.2503 จึงมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ แม้หลวงปู่ป้อจะละสังขารไปนานกว่า 40 ปีแล้ว แต่คุณความดีของท่ายังปรากฏอยู่ในจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวอีสานตราบจนกระทั่งปัจจุบั น
266  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:15:43
ประวัติและปฏิปทา หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ บูรพาจารย์ศิษย์แห่งสำเร็จลุน

วัดบ้านเสือโก้ก  ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม



อัตโนประวัติ

?หลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ? หรือ ?พระครูสุนทรสาธุกิจ? แห่งวัดบ้านเสือโก้ก ต.เสือโก้ก อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม เป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่เรืองวิทยาคม มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วภาคอีสานรูปหนึ่ง เมื่อเกือบร้อยปีที่ผ่านมา

หลวงปู่ซุน มีนามเดิมว่า ซุน ประสงคุณ เกิดเมื่อปี พ.ศ.2429 ณ บ้านเปลือย ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด ครอบครัวประกอบอาชีพทำไร่ทำนาเหมือนกับชาวอีสานทั่วไป ต่อมาครอบครัวของหลวงปู่ได้อพยพย้ายที่ทำมาหากินอยู่ที่บ้านเสือโก้ก ในช่วงวัยเยาว์ ได้ช่วยงานครอบครัวด้วยความขยันขันแข็ง ยามว่างจากทำไร่ทำนาจะคอยต้อนวัวควายออกไปเลี้ยงกลางทุ่งนา


การบรรพชาและอุปสมบท

เมื่ออายุได้ 18 ปี ในวันหนึ่ง ขณะที่กำลังเลี้ยงวัวควายตามปกติ ปรากฏว่ากระดิ่งแขวนคอวัวควายหล่นหาย ท่านเกิดความกลัวว่าบิดาจะลงโทษ ประกอบกับเป็นคนใฝ่รู้และมีใจเอนเอียงเข้าหาพระธรรมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

ด.ช.ซุน จึงได้ขอร้องบิดาของเพื่อนคนหนึ่ง ให้นำไปบรรพชาเป็นสามเณรที่วัดบ้านเสือโก้ก เพื่อหนีความผิด ครั้น โยมบิดา-โยมมารดา ทราบว่าบุตรชายได้เข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์เป็นที่เรียบร้อย ท่านมิได้คัดค้านหรือตำหนิแต่อย่างใด อีกทั้งได้ร่วมอนุโมทนาบุญด้วย

กระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สามเณรซุน ประสงคุณ ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ โดยมีพระอธิการสา เป็นพระอุปัชฌาย์ ภายหลังอุปสมบทแล้ว ท่านได้มุ่งมั่นศึกษาพระธรรมวินัยด้วยความขยันขันแข็ง


การศึกษากัมมัฏฐานและวิทยาคม

ด้วยความเป็นพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย วัตรปฏิบัติสวดมนต์เช้าเย็นไม่เคยขาด หลังจากฉันภัตตาหารเพล ท่านจะนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานภายในกุฏิ

นอกจากนี้ หลังออกพรรษาทุกปี ท่านจะออกเดินธุดงควัตรไปตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อแสวงหาความหลุดพ้นตามป่าเขาลำเนาไพรในภาคอีสาน

รวมทั้งยังได้ไปศึกษาวิทยาคมจากสมเด็จลุน พระเกจิชื่อดังจากประเทศลาว ในด้านอักขระโบราณ ทำให้หลวงปู่ซุนมีความรู้สามารถเขียนอักษรลาว-ขอม และอักษรไทยอย่างแตกฉาน

ในเวลาต่อมา ชื่อเสียงของหลวงปู่ซุนโด่งดังเป็นที่รู้จักในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ในแต่ละวันจะมีญาติโยมจากทั่วสารทิศเดินทางมากราบนมัสการ รับฟังธรรมและประพรมน้ำพุทธมนต์ และปรารถนาวัตถุมงคลตะกรุดโทน และตะกรุดคู่ที่เข้มขลังจากหลวงปู่กันอย่างล้นหลาม

ยุคสมัยนั้น ราคาเช่าวัตถุมงคลตะกรุดหลวงปู่ซุน 1 ดอก เท่ากับทองคำหนักหนึ่งบาท


พระธรรมเทศนา

อย่างไรก็ดี ท่านมักจะพร่ำสอนญาติโยมอยู่ตลอดเวลาว่า ?อย่าได้ประมาท และอย่าเบียดเบียนกันแล้วชีวิตจะพานพบแต่สิ่งดีงาม?


งานด้านการศึกษา

หลวงปู่ซุนยังเป็นพระนักการศึกษา ตลอดเวลาที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเสือโก้ก ได้ให้ความสำคัญด้านการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ด้วยทราบดีว่าการบวชเรียนเป็นหนทางหนึ่งของคนยากคนจนชาวอีสาน

ท่านรับหน้าที่เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดบ้านเสือโก้ก พระภิกษุ-สามเณร ที่เรียนกับท่านต้องเรียนหนักมาก บางวันเรียนไปจนถึง 3 ทุ่ม ทำให้สำนักเรียนบ้านเสือโก้กยุคนั้น มีชื่อเสียงโด่งดัง แต่ละปีจะมีภิกษุสามเณรมาจำพรรษาศึกษาพระธรรมวินัย จำนวน 100 รูป


ลำดับงานปกครองและสมณศักดิ์

พ.ศ.2461 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลเสือโก้ก

พ.ศ.2477 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

พ.ศ.2497 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูสุนทรสาธุกิจ


สร้างวัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม

หลวงปู่ซุนอยู่จำพรรษาที่วัดเสือโก้ก จนถึงปี พ.ศ.2493 ท่านได้มาทำพิธีสรงน้ำที่ซากกู่เทวสถานสมัยขอม ภายในป่าโคกบ้านสนาม ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งวัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม ในปัจจุบัน ชาวบ้านลือว่าในป่าโคกแห่งนี้ ผีดุมาก ไม่มีใครกล้าบุกรกุเข้าไป

หลวงปู่ซุนมีความตั้งใจสร้างวัดขึ้นในบริเวณดังกล่าว จึงขอความร่วมมือจากชาวบ้านในการสร้างวัด ก่อนแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2500 วัดแห่งนี้มีชื่อว่า ?วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม? นับแต่นั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ซุนได้อยู่จำพรรษาที่วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม มาโดยตลอด


การมรณภาพ

บั้นปลายชีวิตของหลวงปู่ซุน สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง อาพาธบ่อยครั้งสุดท้าย ได้มรณภาพอย่างสงบด้วยโรคชรา เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ.2504 สิริอายุรวม 76 พรรษา 56

ในปัจจุบัน วัดกู่สุนทรารามบ้านสนาม มีโครงการก่อสร้างศาลา เพื่อใช้เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของหลวงปู่ซุน ติกขปัญโญ
267  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่พรหมา เขมจาโร วัดผานางคอย อ.ศรีเมืองใหม่ จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:10:12
ประวัติหลวงปู่พรหมา เขมจาโร




        ประวัติหลวงปู่พรหมมา เขมจาโร เป็นคนบ้านกุศกร ต.กุศกร อ.ตระการพืชผล เกิดเมื่อพ.ศ.2440 บวชเป็นสามเณรเมื่ออายุ12ปี จากนั้นได้ศึกษาพระธรรมวินัยและวิชากับสมเด็จลุน ที่เวินชัยนคร จำปาศักดิ์ นานถึง 6 พรรษา หลังจากที่สมเด็จลุนได้มรณภาพลง หลวงปู่พรหมมาก็ได้ร่วมเดินธุดงค์พร้อมกับหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลังจากนั้นคณะพระธุดงค์ก็แยกย้ายกันไปหาสถานที่อันสงบเงียบบำเพ็ญภาวนาหาวิเวกกันต่ อไป ส่วนหลวงปู่พรหมมาได้จำพรรษาที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนยอดภูเขาควายนานถึง 45 พรรษา ต่อมาได้ธุดงค์ข้ามมายังฝั่งไทย เมื่อปีพ.ศ.2533 หลวงปู่พรหมมาได้เห็นว่าถ้ำสวนหิน ภูกระเจียว ในวันเดือนหงายจะมีสัตว์ป่านานาชนิดวิ่งกันขวักไขว่ จึงได้พักบำเพ็ญเพียรแต่นั้นมา ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เคยเสด็จฯมานมัสการหลวงปู่พรหมมาถึง 2 ครั้ง โดยก่อนจะมรณภาพหลวงปู่ได้ดูแลชาวบ้านดงนาและใกล้เคียงเพื่อพัฒนาในบางส่วนให้เรียบร ้อยสวยงามโดยเน้นการรักษาป่าสงวนฯ
   นี่เป็นประวัติโดยสังเขปครับท่านใดมีประวัติของหลวงปู่พรหมาโดยละเอียดช่วยโพสต์ต่อด ้วยครับ
 
268  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านสวน ฉันทโร / หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:07:18
ประวัติหลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดม




หลวงปู่ญาท่านสวน ฉันทโร วัดนาอุดมศิษย์เอกพระอาจารย์กัมมัฏฐานแพง วัดสิงหาญ จ.อุบล ผู้ทรงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
วันที่ 14 มี.ค. 2549 วงการสงฆ์เมืองอุบลราชธานีได้สูญเสียพระเถระผู้ประพฤติปฏิบัติดีไปอีกหนึ่งรูปนั่นคื อ พระครูอาทรพัฒนคุณ หรือที่เรียกขานกันว่า ?ญาท่านสวน ฉนฺทโร? เจ้าอาวาสวัดนาอุดม อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี ท่านมรณภาพลงด้วยโรคชราเมื่อเวลาประมาณ 6 โมงเช้า สิริอายุได้ 95 ปี หลวงปู่เกลี้ยง วัดโนนแกดท่านกล่าวว่า ?ตอนนี้ท่านได้เป็นพระอรหันแล้วนะ? แม้แต่เส้นเกศาหรือชานหมาก เมื่อตอนท่านยังไม่ละสังขารก็ยังกลายเป็นพระธาตุ
ท่านเป็นศิษย์สายสำเร็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง 2 ปรมาจารย์ผู้มีพลังจิตอันลึกล้ำ มีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เป็นที่เลื่องลือแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือแถบลุ่มแม่น้ำโขงในอดีต
ท่านมีนามเดิมว่า ?สวน แสงเขียว? เกิดเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2453 ตรงกับวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปีจอ ที่บ้านนาทม ต.คำหว้า อ.ตาลสุม จ.อุบลราชธานี บิดาชื่อ ?คูณ? เป็นชาวบ้านสำโรง ส่วนมารดาชื่อ ?ผุย? เป็นชาวบ้านนาทม ประกอบอาชีพทำนา มีพี่น้องท้องเดียวกันรวม 8 คน
ชีวิตตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นผู้ที่มีจิตใจสุขุมเยือกเย็น มีใจโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนฝูง และมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามากกว่าคนรุ่นราวคราวเดียวกัน
เมื่ออายุครบ 20 ปีได้ขอบิดามารดาเข้าอุปสมบทที่วัดนาอุดม (บ้านนาทม) อ.ตาลสุม เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2473 โดยมีเจ้าอธิการพรหมมา วัดบ้านระเว ต.ทรายมูล (ปัจจุบัน ต.ระเว) อ.พิบูลมังสาหาร เป็นพระอุปัชฌาย์ พระดี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระบัว เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า ?ฉนฺทโร?
เมื่ออุปสมบทแล้วได้เรียนสวดมนต์และปาติโมกข์อยู่ในสำนักของเจ้าอธิการสวน เจ้าอาวาสวัดนาอุดมในขณะนั้น อยู่ประมาณ 3 ปีจึงย้ายไปศึกษาต่อเพิ่มเติมที่วัดบ้านนาหว้า อ.ตาลสุม เป็นเวลา 3 เดือน แล้วไปเรียนต่อที่วัดบ้านสำโรงใหญ่ ต.สำโรง ซึ่งเป็นบ้านเกิดของโยมบิดา ขณะนั้นมีอาจารย์หม่อน แสงเขียว เป็นเจ้าอาวาสเมื่อ พ.ศ.2478
ต่อมาปี พ.ศ.2480 อาจารย์หม่อนได้อาพาธด้วยโรคเหน็บชาและมรณภาพลง พระแก้ว ธมฺมฐิติ ได้รับการแต่งตั้งให้ปกครองวัดสืบแทนเพราะมีอาวุโสที่สุด ในช่วงนั้นหลวงปู่สวนได้ช่วยเหลือพระแก้วพัฒนาวัด สร้างศาลาการเปรียญขึ้น แต่ยังไม่สำเร็จพระแก้วได้ลาสิกขาเสียก่อน ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดสำโรงใหญ่แทน และได้สร้างศาลาจนเสร็จลุล่วง
ในปี พ.ศ.2517 ท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สัญญาบัตรพัดยศที่ พระครูอาทรพัฒนคุณ? ปี พ.ศ.2525 เลื่อนสมณศักดิ์จากเจ้าคณะตำบลชั้นตรี เป็นชั้นโท ในราชทินนามเดิม
ในด้านพระเวทวิทยาคมนั้นได้ร่ำเรียนมาจากสำเร็จลุน และญาท่านกรรมฐานแพง อดีตเกจิอาจารย์จอมขมังเวทย์แห่งลุ่มน้ำโขง โดยท่านได้มองการณ์ไกลไปข้างหน้าว่า พระเวทวิทยาคมที่ท่านศึกษาอยู่นี้จะเป็นประโยชน์มากแก่การทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาและจ ะได้ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติโยมและผู้เดือดร้อนในอนาคต ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ท่านมีความขยันหมั่นเพียรศึกษาทางด้านการเจริญสามธิเพิ่มพูนพลัง จิต ควบคู่กับการเรียนวิชาอาคมต่างๆ ส่งผลให้ท่านมีความจำแม่นยำเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว มีการทดสอบจากผู้เป็นอาจารย์จนเป็นที่พอใจ โดยเฉพาะญาท่านกรรมฐานแพง ได้มีเมตตาถ่ายทอดสุดยอดวิชาและเคล็ดลับต่างๆ ให้ท่านจนหมดสิ้น
ทั้งนี้ วิชาที่ท่านได้ศึกษากับ 2 ปรมาจารย์ดังคือ การสร้างเครื่องรางของขลังต่างๆ เช่น การลงตะกรุด เท่าที่รวบรวมได้มีดังนี้ ตะกรุด 5 กษัตริย์ มีผลทางมหาอุด แคล้วคลาด คงกระพัน,ตะกรุดสายรกพระพุทธเจ้า,ตะกรุดโทน,ตะกรุดกับระเบิด,ตะกรุดอุปคุต,ตะกรุดสาล ิกาตอมเหว่,ตะกรุดหนังกลองแตก เป็นสุดยอดของตะกรุดเมตตา,ตะกรุดไก่ขึ้นรถลงรา (มีผลทางด้านเมตตาค้าขายดีนักแล) ,ตะกรุดเข้าตา ทำจากเงินปากผีเผาวันอังคาร ใส่เข้าใต้เปลือกตาได้เพราะมีขนาดเล็กมาก,ตะกรุดคลอดลูกง่าย
นอกจากนี้ ยังมีวิชาการทำผ้ายันต์ เสื้อยันต์ การสร้างลูกปะคำโทน(ลูกอม) สร้างรูปนางกวัก,ปลัดขิก,ราหูอมจันทร์,สีผึ้งมหาเสน่ห์,วิชาการเรียกสูตร ลบผงอิทธิเจ ผงปถมัง และผงวิเศษอื่นๆ ,การทำน้ำพระพุทธมนต์ซึ่งมีเคล็ดลับพิสดารมากมาย,วิชาหมากินใจ (หมากินความคิด) เป็นสุดยอดแห่งวิชาเมตตาอีกวิชาหนึ่ง
และอีกหนึ่งวิชานั่นคือ ?การฝังเข็มดำ? ซึ่งเป็นวิชาสุดยอดทางด้านคงกระพัน ป้องกันศาสตราวุธต่างๆ ซึ่งน้อยคนนักที่จะมีวาสนาได้เรียนและเรียนได้สำเร็จ
ญาท่านสวนเป็นพระเถระผู้เปี่ยมล้นด้วยเมตตาบารมี บุคลิกลักษณะของท่านน่าเลื่อมใสศรัทธา ใบหน้าเอิบอิ่มยิ้มแย้ม ใครมีทุกข์มาหาจะไม่เคยปฏิเสธ และไม่เลือกชนชั้นวรรณะ อีกทั้งยึดมั่นเคารพในพระธรรมวินัยอย่างเคร่งครัด มีศีลาจารวัตรงดงาม ชอบบำเพ็ญกุศล ทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ให้ความเป็นธรรมแก่ศิษยานุศิษย์เพื่อเป็นแบบอย่างแก่ภิกษุสามเณรถือปรนิบัติตาม จึงทำให้มีลูกศิษย์จำนวนมาก และปรากฏผลงานการสร้างสรรค์ของท่านอยู่ในหลายสถานที่ สำหรับเรื่องพุทธคุณดีทั้งทางเมตตาค้าขาย และแคล้วคลาดปลอดภัย ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ลูกหาประสบกันมาอย่างน่าอัศจรรย์
 
269  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 08 ธันวาคม 2553, 11:04:44
ประวัติหลวงปู่คำคะนิง จุลมณี




นามเดิม :  คำคะนิง

เกิด :  ที่บ้านหนองบัว แขวงคำม่วน ประเทศลาว เมื่อวันพุธ เดือน ๔ ปีกุน พ.ศ ๒๔๓๗

โยมบิดา - มารดา :  ชื่อนายดิน ทะโนราช และนางนุ่น

(หลวงปู่คำคะนิง จุลมณี ก่อนจะบวชเป็นพระภิกษุ ท่านเคยเป็นฤาษีชีไพรมาก่อน ๑๕ ปี )

บรรพชา :

เมื่ออายุได้ ๑๘ ปี บวชได้ ๙ วัน เพื่อทดแทนคุณบิดามารดาที่ตายไป หลังจากนั้นพบครบก็ต้องลาสึก แม้ว่าอยากจะบวชต่อเพียงไรแต่เพราะมีหน้าที่ความจำเป็นต้องเลี้ยงดูครอบครัว (ท่านแต่งงานเมื่ออายุ ๑๘ ปี มีบุตร ๒ คน ) แต่ท่านก็ยังยึดมั่นในการปฏิบัติธรรมโดยการทำงานหาเงินให้เมียกับลูกตอนกลางวัน พอกลางคืนท่านก็ไปนอนที่วัด ถือศีลปฏิบัติธรรมบำเพ็ญเพียรภาวนาไม่กลับไปอยู่ที่บ้าน เพียงดูแลลูกและเมียไม่ให้อดอยาก ทำเช่นนี้จนภรรยาทนไม่ได้ที่เห็นสามีปฏิบัติตัวแบบนี้ จึงอนุญาตให้หลวงปู่บวชได้ตามใจปรารถนา เมื่อเป็นดังนั้นท่านจึงกลับไปวัดที่ตนเคยบวชเณรอีกครั้ง เพื่อพักอาศัยปฏิบัติธรรม อยู่ต่อมาได้ไม่นานท่านก็ได้เพื่อนสหมิกธรรมร่วมอีกสองคน จึงมีความดำริที่คิดจะออกแสวงหาครูบาอาจารย์

ก่อนจะบวชก็เคยออกสืบเสาะหาพระอาจารย์ด้านกรรมฐานเก่งๆ ได้มีสหาย ๒ คนร่วมเดินทางไปหาอาจารย์สีทัตถ์ เมืองท่าอุเทน แต่ก็ผิดหวัง เมื่ออาจารย์สีทัตถ์กล่าวปฏิเสธ แต่ก็แนะนำให้ไปหาอาจารย์เหม่ย ทั้งหมดรีบมุ่งไปหาอาจารย์เหม่ย เพื่อมอบตัวเป็นศิษย์ อาจารย์เหม่ยนิ่งฟังแล้ว กล่าวด้วยเสียงห้วนๆ

?ถ้าจะมาเป็นศิษย์เรา ทั้งสามคนนี้จะมีคนตายหนึ่งคน มีใครกลัวตายบ้าง? อาจารย์เหม่ยชี้ถามรายตัว เพื่อนอีกสองคน ยอมรับว่ากลัวตาย ครั้นมาถึงนายคำคะนิง เขาได้ตอบอาจารย์ออกไปว่า ?ไม่กลัวตาย?

อาจารย์เหม่ยเลยให้เพื่อนอีกสองคนที่กลัวตายกลับไป แล้วหันมาทางนายคำคะนิงแล้วพูดว่า ?การเรียนวิชากับอาจารย์นั้น มีทางตายจริงๆ เพราะมันทุกข์ทรมานอย่างที่สุด? ให้นำเสื้อผ้าที่มีสีสันทิ้งไป ใส่ชุดขาวแทน เป็น "ปะขาว" ในฐานะศิษย์

ในสำนักมีแต่ข้าวตากแห้งกับน้ำเพียงประทังชีวิตพออยู่รอดไปวันๆ เวลานอนก็เอามะพร้าวต่างหมอนนายคำคะนิงอยู่ได้ไม่นานก็เกิดเรื่องการตายขึ้น ของชายผู้หนึ่งที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ คนผู้นี้นั่งสมาธิจนตาย อาจารย์สั่งนายคำคะนิงให้แบกศพที่ตายเข้าป่า โดยมีอาจารย์เดินนำหน้า ข้ามเขาลูกหนึ่งไปสิบกว่ากิโลเมตรไปถึงต้นไม้ใหญ่สองคนโอบ แล้วสั่งให้เขามัดศพกับต้นไม้นั้น จากนั้นสั่งกำชับว่า ?เจ้าจงเดินเพ่งศพนี้ไปเรื่อยๆ ทั้งวันทั้งคืน อย่าได้หยุด ให้พิจารณาอสุภกรรมฐานอย่างถ่องแท้ พรุ่งนี้เช้าค่อยเจอกัน" นายคำคะนิงจึงได้เริ่มพิจารณาศพตามที่อาจารย์เหม่ยสั่งไว้ ถึงรุ่งเช้านายคำคะนิงจึงกลับไปสำนักตามที่อาจารย์กำหนด อาจารย์เหม่ยถามขึ้นเป็นประโยคแรกเมื่อเจอหน้า ?เป็นอย่างไงบ้าง??ศพนั้นก็เหมือนตัวศิษย์ครับอาจารย์ ไม่มีอะไรแตกต่างตรงไหนเลย? นายคำคะนิงบอก ?กลัวไหม? อาจารย์ถาม ?ไม่กลัวครับ เพราะเขาก็เหมือนเรา เราก็เหมือนเขา? อาจารย์ไม่ถามอะไรอีก สั่งให้ไปเอามีดเล่มหนึ่งทั้งศิษย์และอาจารย์ต่างเดินทางกลับไปหาศพ ณ ที่เดิมพอไปถึง ก็สั่งให้แก้มัดเอาศพออกมานอนราบกับพื้นดิน แล้วสั่งให้นายคำคะนิงผ่าท้องเอาศพออก จากนั้นอาจารย์ก็กล่าวว่า ให้หยิบอะไรออกมา ต้องอธิบายอวัยวะนั้นได้ และต้องบอกดังๆ เมื่อนายคำคะนิงชำแหละศพ ตัดหัวใจ ตับ ปอด ไต กระเพาะ และสิ่งต่างๆ ก็จะตะโกนบอกอาจารย์ด้วยเสียงอันดัง จนครบหมดถูกต้อง

?เอ๊า... คราวนี้ชำแหละเนื้อลอกออกให้เหลือแต่กระดูก? อาจารย์เหม่ยสั่งให้เขาทำต่อ และนั่งดูจนเสร็จเรียบร้อย จึงได้สั่งอีกเอากองเนื้อและเครื่องในไปเผาให้หมด เอากระดูกรวมไว้ต่างหาก แล้วเอาไปต้มล้างให้สะอาด เหลือแต่กระดูกล้วนๆ อย่าให้มีอะไรติดอยู่

นายคำคะนิงปฏิบัติตามที่อาจารย์สั่งทุกประการ เนื้อตัวของนายคำคะนิงเต็มไปด้วยรอยเปื้อนเลือด, น้ำเหลือง และมีกลิ่นศพติดตัวเหม็นคละคลุ้ง อาจารย์เหม่ยยังไม่เลิกรา สั่งต่อไปให้เขานับกระดูกและเรียงให้ถูก เขาลงมือปฏิบัติตามทันที

?กระดูกมีสองร้อย แปดสิบท่อนครับ อาจารย์?

อาจารย์เหม่ยอธิบายอีกว่า คนที่จะบรรลุธรรมด้วยความเพียรบำเพ็ญ ต้องมีกระดูกครบสามร้อยท่อนกระดูก คือ พระวินัย เนื้อหนังมังสาเป็นพระวินอก ส่วนระเบียบคือ หู ตา จมูก ปาก มือ เท้า หลังจากได้เรียนรู้วิชาจากอาจารย์เหม่ยหลายสิ่งหลายอย่าง อาจารย์ก็ไล่ให้ไปสืบเสาะหาความรู้เพิ่มเติมเอาเอง นายคำคะนิงจึงยึดเอาโยคี

เป็นรูปแบบภายนอก และถือศีลภาวนาอย่างพระภิกษุตั้งแต่บัดนั้นมา

พบหลวงพ่อปาน(พระครูวิหารกิจจานุการ)วัดบางนมโค

ท่านได้ออกจาริกธุดงค์ในปีหนึ่ง เดินธุดงค์คราวนี้หลวงพ่อปานได้นำศิษย์เอก ๔ รูป ไปด้วยมีหลวงพ่อฤาษีลิงดำ(พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง) หลวงพ่อฤาษีลิงขาว หลวงพ่อฤาษีลิงเล็ก และพระเขียน หลวงพ่อปานพาลูกศิษย์ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรเพื่อบำเพ็ญสมณธรรม มุ่งหน้าไปทางภาคเหนือ ข้ามเขตชายแดนลึกเข้าไป กระทั่งเข้าเขตเชียงตุง

วันหนึ่ง...คณะของหลวงพ่อปานได้ผ่านไปถึงถ้ำแห่งหนึ่ง และได้พบกับปะขาวคำคะนิง ขณะนั้นท่านปล่อยผมยาวรุงรังมาถึงเอว หนวดเครางอกยาวรุ่ยร่าย นุ่งห่มด้วยผ้าซึ่งดูไม่ออกว่าเป็นผ้าสีอะไร เพราะปุปะและกระดำกระด่าง หลวงพ่อปานจึงเปรยขึ้นว่า

"นี่พระหรือคน ? "

"ไอ้พระมันอยู่ที่ไหน ? เฮ้ย ! พระมันอยู่ที่ไหนวะ ? " พูดสวนด้วยน้ำเสียงขุ่นเหมือนไม่พอใจ

"อ้าว..ก็เห็นผมยาว ผ้าก็อีหรุปุปะ สีเหลืองก็ไม่มี แล้วใครจะรู้ว่าเป็นคนหรือพระล่ะ ?"

"พระมันอยู่ที่ผมหรือวะ ?"

"ไม่ใช่" หลวงพ่อปานตอบยิ้มๆ

"แล้วพระมันอยู่ที่ไหนเล่า?"

"พระน่ะอยู่ที่ใจใสสะอาด"

"ถ้าอย่างนั้นละก้อ เสือกมาถามทำไมว่าเป็นพระหรือคน"

"เห็นผมเผ้ารุงรังอย่างนั้นนี่ ใครจะไปรู้เล่า?"

"ก็ในเมื่อพระไม่ได้อยู่ที่ผม ไม่ได้อยู่ที่ผ้าแล้วเสือกมาถามทำไม ทำไมไม่ดูที่ใจคน ไอ้พระบ้านพระเมืองกินข้าวชาวบ้านแบบนี้อวดดี มันต้องเห็นดีกันละ"

พูดจบ ปะขาวคำคะนิงก็หยิบเอาหวายยาวประมาณหนึ่งวาโยนผลุงไปตรงหน้า หวายเส้นนั้นกลายสภาพเป็นงูตัวใหญ่ยาวหลายวาน่ากลัว ชูคอร่าก่อนจะเลื้อยปราดๆ เข้ามาหาหลวงพ่อปานพระลูกศิษย์เห็นอย่างนั้นต่างถอยไปอยู่เบื้องหลังหลงพ่อปาน

หลวงพ่อปานไม่ได้แสดงอาการแปลกใจหรือตื่นกลัวท่านก้มลงหยิบใบไม้แห้งขึ้นมาใบหนึ่งแล ้วโยนไปข้างหน้า ใบไม้นั้นก็กลายเป็นนกขนาดใหญ่คล้ายเหยี่ยวหรือนกอินทรี

นกซึ่งเกิดจากอิทธิฤทธิ์โผเข้าขยุ้มกรงเล็บจับลำตัวงูใหญ่เอาไว้แล้วกระพือปีกลิ่วขึ ้นไปเหนือทิวยอดไผ่ ต่อสู้กันเป็นสามารถงูฉกกัดและพยายามม้วนตัวขนดลำตัวรัด ขณะที่นกใหญ่จิกตีและจิกขยุ้มกรงเล็บไม่ยอมปล่อย แต่ไม่มีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแพ้ชนะ ตราบกระทั่งร่วงหล่นลงมาทั้งคู่พอกระทบพื้นดิน งูกลายเป็นช้างป่าตัวมหึมา งายาวงอนส่วนใบไม้แห้งแปรรูปเปลี่ยนเป็นเสือลายพาดกลอน แล้วสองสัตว์ร้ายก็โผนเข้าสู้กันใหม่ เสียงขู่คำรามของเสือเสียงโกญจนาทของพญาคชสารแผดผสานกึกก้องสะท้านป่า

นี่ไม่ใช่ภาพมายา แต่เกิดจากฤทธิ์อภิญญา! ครั้นสองตัวประจัญบานไม่รู้แพ้ชนะได้ครู่หนึ่งก็หายไป ปะขาวยาวหนวดยาวเครารุงรังได้บันดาลให้เกิดไฟลุกโชติช่วงประหนึ่งจะมีเจตนาจะให้ลามม าเผา แต่หลวงพ่อปานก็บันดาลพายุฝนสาดซัดลงมาดับไปเกิดฝุ่นตลบคลุ้งไปทั้งป่า

ลองฤทธิ์กันหลายครั้งหลายครา ปรากฏว่าไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แทนที่ทั้งสองฝ่ายจะโกรธเกรี้ยว กลับทรุดลงนั่งหัวเราะด้วยความขบขัน

คณะศิษย์ของหลวงพ่อปานพากันประหลาดใจ หลวงพ่อปานจึงอธิบายว่า "เขากับฉันเป็นเพื่อนกัน" พร้อมกันนั้นก็หันไปพูดกับปะขาวผมยาวหนวดเครารุงรังว่า ลูกศิษย์ของท่านนั้น "เอาจริง"

หมายถึงปรารถนาบรรลุสู่พระนิพพานกันจริงๆ ทุกรูป การที่ท่านและปะขาวผมยาวเล่นฤทธิ์ประลองกันก็เพื่อให้ศิษย์ทุกคนได้เห็น "ของจริง"

แล้วหลวงพ่อปานก็ให้คณะศิษย์ของท่านเข้าไปทำความเคารพ ซึ่งปะขาผมยาวก็ได้นอบน้อมถ่อมตนว่าท่านไม่ได้เก่งกาจเกินว่าหลวงพ่อปานเลยแม้แต่น้อ ย

หลวงพ่อปานและศิษย์ของท่านพักอยู่กับปะขาวผมยาวนานนับครึ่งเดือนเพื่อให้ทุกรูปได้รั บคำแนะนำสั่งสอนด้านอภิญญาเพิ่มเติม เมื่อพักอยู่ที่คูหาถ้ำพอสมควรแกเวลาแล้ว หลวงพ่อปานและคณะศิษย์ก็ออกธุดงค์ต่อไป ปะขาวผมยาวคนนั้นก็คือปะขาวคำคะนิง หรือหลวงปู่คำคะนิงนั้นเอง

หลังจากหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคและคณะศิษย์ของท่านจากไปแล้วปะขาวคำคะนิงก็ออกเดินทางต่อไป

โยคีคำคะนิง ดั้นด้นไปยังภูอีด่าง ซึ่งสมเด็จลุนพระอริยเจ้าแห่งราชอาณาจักรลาวจำพรรษาอยู่ พร้อมแจ้งวัตถุประสงค์ของตนให้ท่านทราบ สมเด็จให้ความปราณีมอบคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ให้โยคีคำคะนิงไปค้นคว้า ศึกษา ครั้นท่านโยคีคำคะนิงศึกษาธรรมจากพระคัมภีร์เรียบร้อยก็เอาเก็บไว้ที่เดิม มิได้นำมาเป็นสมบัติส่วนตัว โยคีคำคะนิงลงจากภูเขาได้พบชาวบ้าน และได้ทำการรักษาคนป่วยจนหายทุเลา ท่านเดินทางไปเรื่อย เจอใครก็รักษาโรคภัยให้หมด

อุปสมบท :-

เรื่องของโยคีตนนี้ ทราบถึงพระกรรณของพระเจ้าศรีสว่างวัฒนาเจ้ามหาชีวิตของประเทศลาวถึงกับสนพระทัย จึงได้โปรดให้โยคีคำคะนิงเข้าเฝ้าท่ามกลางพระญาติและเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วพระองค์ทรงตรัสถาม ?ท่านเก่งมีอิทธิฤทธิ์มากหรือไม่?

?ไม่? โยคีคำคะนิงตอบสั้นๆ

?ถ้าไม่เก่งแล้วทำไมคนจึงลือไปทั่วประเทศ? ตรัสถามอีก

?ใครเป็นคนพูด? โยคีคำคะนิงไม่ตอบแต่ถามกลับ

?ประชาชนทั้งประเทศ? พระองค์บอก

?นั่นคนอื่นพูด อาตมาไม่เคยพูด? โยคีคำคะนิงตอบออกไป

พระเจ้าศรีสว่างวัฒนาทรงแย้มพระสรวล ในการตอบตรงๆ ของโยคีคำคะนิง จึงตรัสถามว่า

?ขอปลงผมท่านที่ยาวถึงเอวออกได้ไหม?

คำคะนิงถึงกับอึ้งชั่วครู่ จึงได้กราบทูลไปว่า ?ถ้าปลงผม หนวดเคราก็ต้องอุปสมบทเป็นพระภิกษุ?

?ยินดีจะจัดอุปสมบทให้ท่านเป็นพระราชพิธี" เจ้ามหาชีวิตยื่นข้อเสนอให้ โยคีคำคะนิงจึงได้กล่าวตกลง และได้บวชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

ณ วัดหอเก่าแขวงนครจำปาศักดิ์ คือศาสนสถาานที่กำหนดให้เป็นวัดอุปสมบทของปะขาวคำคะนิง มีประกาศป่าวร้องให้ประชาชนทั่วไปได้รู้ถึงวันอุปสมบทปะขาวคำคะนิง โดยพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงมีพระบรมราชานุเคราะห์ให้จัดขึ้น

พอถึงวันอุปสมบท ประชาชนทุกชนชั้นทุกอาชีพ ตลอดจนข้าราชการทุกหมู่เหล่าต่างมาร่วมในงานพระราชพิธีแน่นขนัดเป็นประวัติการณ์ แต่ละคนเตรียมผ้าไหมแพรทองมาด้วยเพื่อจะมาปูรองรับเส้นเกศาของปะขาวคำคะนิง ตอนแรกจะมีการแจกเส้นเกศาให้แก่ประชาชนโดยทั่วถึงกันหม ครั้นถึงเวลปลงผมจริงๆ ประชาชนกลัวจะไม่ได้เส้นเกศาจึงแออัดยัดเยียดเข้ายื้อแย่งกันอลหม่าน เกินกำลังเจ้าหน้าที่รักษาการจะห้ามปรามสกัดกั้นได้ ในที่สุดเหตุการณ์ก็สงบลงเมื่อเส้นเกศาถูกแย่งเอาไปจนหมด

จากนั้นพระราชพิธีอุปสมบทก็ดำเนินต่อไปโดยมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายส งฆ์ เจ้ามหาชีวิตพระเจ้าศรีสว่างวัฒนา ทรงเป็นองค์ประธานฝ่ายฆราวาส มีพระเถระชั้นผู้ใหญ่เข้าร่วมพิธี ๒๘ รูป เมื่อพิธีการอปุสมบทเสร็จสิ้นปะขาคำคะนิงซึ่งครองเพศพรหมจรรย์ เป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนาแล้ว ได้รับฉายาว่า "สนฺจิตฺโตภิกขุ" หรือ "พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต"

หลังจากเป็นพระภิกษุ พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็กลับขึ้นไปจำพรรษาอยู่ที่ถ้ำบนภูอีด่างเช่นเดิม ดำรงวัตรปฏิบัติตามแนวทางของพระป่าอย่างเคร่งครัด และนับตั้งแต่เป็นพระภิกษุคำคะนิง สนฺจิตฺโต ประชาชนก็ยิ่งหลั่งไหลไต่ภูเขาขึ้นไปกราบนมัสการ และขอความช่วยเหลือจากท่านจนไม่มีเวลาปฏิบัติภาวนาบำเพ็ญธรรม

วันหนึ่ง..พระคำคะนิง สนฺจิตฺโต ก็หายไปจากภูอีด่าง และไม่กลับมาอีกเลย ประชาชนลาวรู้แต่ว่าท่านออกธุดงค์สาบสูญไปแล้ว ต่างพากันร่ำไห้โศกเศร้าอย่างน่าสงสาร

หลวงปู่ชอบจารึกธุดงค์ฝั่งลาวเพราะหมู่บ้านยังไม่เยอะเท่าฝั่งไทย ป่ายังมีความอุดมสมบูรณ์ และในช่วงปลายชีวิตท่านก็ตัดสินใจจำพรรษา วัดถ้ำคูหาสวรรค์ อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี เป็นที่สุดท้ายของท่าน

มรณภาพ :-
หลวงปู่ป่วยเป็นโรคปอดบวม และได้มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๘ เวลา ๑๑.๑๓ น. ณ โรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์ ท่านได้อยู่ในเพศฤาษีได้ ๑๕ ปี และอยู่ในร่มกาสาวพัสตร์ ๓๒ พรรษา

ธรรมเทศนา :-

อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม

"อด" คือความอดทนวิริยะในธรรมอันบริสุทธิ์ เช่นหนาวก็ไม่ให้พูดว่าหนาว ร้อนก็ไม่ให้พูดว่าร้อน เจ็บก็ไม่ให้พูดว่าเจ็บ เพราะมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาได้ทุกรูปทุกนาม ครบอาการ ๓๒ อย่างบริบูรณ์นั้นก็ด้วยธรรม ได้แต่งให้เกิด อันมีศีล ๕ เป็นพื้นฐาน ทุกคนที่เกิดมาเป็นมนุษย์ย่อมจะรู้?ละเห็นอยู่ทุกวันว่า มีคนเกิดแก่ เจ็บ ตาย เพราะเป็นกฎธรรมชาติ ไม่ว่ามนุษย์และสัตว์ เมื่อเกิดมีขันธ์ ๕ ย่อมมีดับ

ทุกสิ่งในโลกมักจะมีคู่ เช่น หญิงกับชาย ดีกับชั่ว ในทำนองนี้ พระพุทธเจ้าเอง ปรารถนาอย่างยิ่งคือคำว่าหนึ่งไม่มีสอง ก็หมายความว่า เมื่อมีเกิดย่อมมีตาย เมื่อไม่มีตาย ย่อมไม่มีเกิด อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ถึงการหลุดพ้นจากกิเลสหมดสิ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป ให้รู้จักตัวเจ้าของเองให้มากที่สุด อย่าไปสนใจในสิ่งที่ห่างจากตัว ให้อ่านตัวเองให้ออก เพราะธรรมที่ทุกคนอยากได้ อยากเห็นนั้นมันอยู่ในตัวของแต่ละบุคคล แต่ที่เรามองไม่เห็น อ่านมันไม่ออกก็เพราะกิเลสมันบังอยู่ อุปมาดังตัวเรานี้เหมือนแก้วน้ำที่ใสสะอาดบรรจุไปด้วยน้ำสกปรกอันมีกิเลสตัณหาความอย ากโลภโมโทสัน ความอยากร่ำอยากรวย ความไม่รู้จักพอนี้ สะสมอยู่ในจิตก็ย่อมจะมีแต่ความมืดมน ถ้าทุกคนพยายามหยิบและตักตวงเอาสิ่งทั้งหลายที่กล่าวมาออกจากจิตออกจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสวแห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างจากใจ ในไม่ช้าก็จะพบแต่ความสว่างไสว แห่งธรรมที่ปรารถนา เหมือนดังแก้วน้ำที่ล้างสะอาดไม่มีสิ่งใดบรรจุ นั่นคือ ตัวธรรมที่แท้จริง

ส่วน "อัด"คืออะไร ทุกคนที่เกิดมาในโลกย่อมจะรู้จะเห็นว่าอะไรเป็นเรื่องของทางโลก เช่น คนพูดกันหรือทะเลาะกัน คนฆ่ากัน รถชนกัน สิ่งเหล่านี้ เราไม่ต้องไปสนใจ ปิดหู ปิดปาก ปิดตา ไม่ให้ได้ยิน ไม่ให้เห็น ไม่ให้พูด ไม่ต้องรับรู้จากสิ่งที่จะทำให้เป็นตัวกั้นความดี ให้วางให้หมด ดูแต่ใจเจ้าของแต่ผู้เดียว รู้แต่ลมเข้าออกเท่านั้น จะทำอะไรก็ให้อยู่ในศีลธรรมให้ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลา เราต้องอัดไม่ให้เสียงเข้ามาในหู ไม่ให้รูปเข้ามาทางตา ไม่พูดสิ่งที่ต่ำไป สูงไป ให้พูดแต่สิ่งที่พอดี นี่คือธรรมตัวจริง

"อุด" คืออะไร หมายถึงเมื่อเราอด เราอัด ปิดกั้นความเลวร้าย ความชั่ว ความวุ่นวายทั้งหลายไม่ให้เข้ามาทางตา หู ปาก ของเราแล้วก็อุดความดีเอาไว้ในตัวของเราไม่ให้มันไหลออกไป กาย วาจา ใจของเราก็จะบริสุทธิ์ในธรรม ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ ตาอย่าได้ดูในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หูอย่าได้ฟังในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ปากอย่าได้พูดในสิ่งที่ไม่เป็นธรรม อุดความดีทั้งหลายเอาไว้ ให้เกิดความบริสุทธิ์ในธรรม ถ้าทุกคนพยายามตั้งอกตั้งใจปฏิบัติก็จะพบแต่ความสำเร็จปรารถนาไว้ทุกประการ

อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรม คือการปฏิบัติส่งเสริมคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รู้ซึ้งถึงธรรมของพระพุทธองค์ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นตัวธรรมะที่พาให้เห็นธรรมอันแม้จริง อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมคือการปฏิบัติที่ทำให้เราระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ปฏิบัติชอบ อยู่ชอบ กินชอบ นั่งชอบ นอนชอบ ไปชอบ มาชอบ วาจาชอบ อด อัด อุด เป็นขันติบารมีธรรม คือความอดทนให้เกิดปัญญามีที่เป็นปรมัตถ์ มัดหูมัดตา มัดจิต มัดใจ มัดมือ มัดตีนให้เป็นธรรม อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมนี้ดีเลิศทำให้หน่ายในโลกจักรวาล มีจิตเบิกบาน ถ้าเข้าใจดีปฏิบัติด้วยจิตที่ตั้งมั่น จะหันหน้าเข้าสู่สวรรค์นิพพาน ไม่หนึ่งเกิด สองตาย อด อัด อุด บริสุทธิ์ในธรรมไม่มีตาย ไม่มีเฒ่า ไม่มีเข้าพยาธิ  

 
หน้า: 1 ... 16 17 [18]
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!