สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) หรือ?พระพิมลธรรม? ในสมัยนั้น จึงได้ส่ง?ศิษย์เอก?ท่านหนึ่งของท่าน คือ? พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ? เปรียญธรรม 9 ประโยค (ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สูงขึ้นมาเรื่อยๆจนที่สุดได้เป็นที่?พระเทพสิทธิมุนี? พระวิปัสสนาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังกลางกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา ซึ่งมีจิตใจฝักใฝ่ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างยิ่ง ให้ไปเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่?สำนักวิปัสสนาสาสนยิตสา? ที่ฯพณฯ อูนุ อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าในสมัยนั้นได้สร้างขึ้นที่เมืองย่างกุ้ง โดยได้ฝากให้อยู่ในความดูแลของท่านพระอาจารย์โสภณมหาเถระ หรือ?ท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์? ซึ่งเป็นเจ้าสำนักใหญ่อยู่ในขณะนั้น ซึ่งพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ ก็ได้ตั้งใจเร่งความเพียรในการปฏิบัติธรรมอย่างดียิ่ง โดยท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์ ก็ได้มอบหมายให้
?พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ? ศิษย์เอกของท่านซึ่ง?บรรลุธรรม?มาแต่ก่อนเรียบร้อยแล้ว คอย?ดูแล?และ?สอบอารมณ์?ท่านพระมหาโชดก แทนท่านซึ่งมีภารกิจแห่งความเป็นเจ้าสำนักมากมาย ทำให้ไม่อาจจะมาคอยควบคุมและสอบอารมณ์พระกรรมฐานได้ทุกวัน ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ จึงได้เป็นเสมือนหนึ่งเป็น?พระพี่เลี้ยง?ในท่านเจ้าคุณ?พระเทพสิทธิมุนี? หรือ?พระมหาโชดก ญาณสิทฺธิ?ไปโดยปริยาย
จำเนียรกาลแห่งการปฏิบัติธรรมพระกรรมฐานในสำนักสาสยิตสาของพระมหาโชดก ญาณสิทฺธิผ่านไปเพียง 3 เดือน ท่านพระมหาโชดกก็ได้?สำเร็จวิปัสสนา?สมดังความมุ่งหมาย เป็นที่น่าอนุโมทนาสาธุการอย่างยิ่ง ท่านพระมหาโชดกจึงเตรียมเดินทางกลับมายังประเทศไทย ท่านเจ้าคุณพระพิมลธรรมจึงได้ทำเรื่องไปยัง?สภาการพระพุทธศาสนาแห่งพม่า?ขอให้ส่งพระวิปัสสนาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญมาสอนวิปัสสนากรรมฐานในประเทศไทยด้วย ซึ่งทางสภาการพระพุทธศาสนาก็ได้มอบหมายให้ท่านพระอาจารย์มหาสี สะยาดอร์เป็นผู้คัดเลือก ผลก็ปรากฏว่า ท่านได้เจาะจงเลือก?พระภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ?ให้รับภาระหน้าที่อันสำคัญนี้ โดยสั่งกำชับไว้ด้วยว่า ?จงอย่าขัดข้องหรือปฏิเสธเลย? ด้วยเหตุนี้ ท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ผู้ทรงภูมิรู้แห่งวิปัสสนาวิธีจากลุ่มแม่น้ำอิระวดี จึงมีอันได้เดินทางจากปิตุภาค มาตุภูมิเดิม มาเป็นพระอาจารย์บอกพระกรรมฐานอยู่ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2596 เป็นต้นมา
พระมหารัตนวิปัสสนาจารย์แห่งยุคกึ่งพุทธศาสนยุกาล
ก็เมื่อท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ ได้เดินทางมาบอกพระกรรมฐานที่ประเทศไทยเป็นการถาวร ท่านก็ได้ร่วมกับพระมหาโชดก ญาณสิทธิ ทำการเผยแพร่วิธีการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องร่องรอยตามพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏกและตามแนวแห่งปฐมอรหันต์ผู้มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสุวรรณภูมิเมื่อ 2 พันกว่าปีก่อน เพื่อสนองพระคุณพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างทุ่มเทและตั้งอกตั้งใจอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ซึ่งก็ได้มีพระภิกษุสามเณรตลอดจนบุคคลทุกระดับชั้น ทุกสาขาวิชาชีพ สนใจศรัทธามาขอเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นจำนวนมาก จนเป็นที่?ปรากฏผล?และ?บรรลุธรรม?จากการปฏิบัติแนวทางที่ถูกต้องนี้ตามควรแก่บุรพวาสนาแห่งตนมากมาย
ที่มีชื่อเสียงเกียรติคุณสูงส่งและโดดเด่นเป็นพิเศษ ก็มีอาทิเช่น
สมเด็จพระศรีนครินทรา บรมราชชนนี พระราชมารดาแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยุ่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๘ พระธรรมธีรราชมหามุนี (โชดก ญาณสิทฺธิ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่พระอุดมวิชาญาณเถร ได้เป็นพระอาจารย์ถวายวิปัสสนากรรมฐานแด่สมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ปัจจุบันคือ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี) ซึ่งได้เสด็จมาสมาทานพระกรรมฐาน ณ วัดมหาธาตุฯ เป็นเวลาถึง ๑ เดือน
หมายเหตุ , สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ซึ่งทรงมีอัธยาสัยใฝ่ธรรมมาแต่ดั้งเดิม ก็ได้เคยเสด็จมาทรงเจริญพระวิปัสสนากรรมฐาน กับท่านพระอาจารย์ภัททันตะ อาสภเถระ ธัมมาจริยะ และท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทฺธิ ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ กรุงเทพมหานคร ด้วยพระราชศรัทธาอย่างเปี่ยมล้น เมื่อปีพ.ศ. 2498
"จนเป็นที่รับรู้กันว่า สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้ทรง?บรรลุธรรม? ชั้นสูงแล้ว คุณแห่งพระวิปัสสนาที่ทรงสำเร็จ ก็ยิ่งส่งเสริมให้พระองค์ทรงเป็น?บริสุทธิเทพ?ยิ่งกว่า?เทพ?ใดๆ สมกับที่ทรงสถิตสถาพรอยู่เหนือเกล้าเหนือกระหม่อม เป็นทั้ง?ศักดิ์?และ?ศรี?แห่งบ้านแห่งเมืองไทยนี้ทั้งหมดแล้วอย่างแท้จริง"
2. พระธรรมสิงหบุราจารย์ (หลวงพ่อจรัล ) วัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี พระวิปัสสนาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดในยุคนี้ มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและพระพุทธศาสนามากมาย
3. พระราชอุทัยกวี(พุฒ) วัดมณีสถิตย์ อ. เมือง จ.อุทัยธานี
พระอริยคณาจารย์องค์สำคัญผู้มีชื่อเสียงเกียรติคุณและเป็นที่เคารพนับถือของชาวอุทัยธานีอย่างกว้างขวางในยุคร่วมสมัยนี้
4. พระสุธรรมญาณเถระ (ครูบาอินทจักรรักษา) วัดน้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
หมายเหตุ, ครูบาอินทจักรรักษานี้ เป็น?พระพี่ชาย?แท้ๆของหลวงพ่อพระพุทธบาทตากผ้า อีกทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระอาสภะ
5. พระสุพรหมญาณเถระ (ครูบาพรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า อ.ป่าซาง จ.ลำพูน
หมายเหตุ, พระอริยเจ้าองค์สำคัญที่สุดองค์หนึ่งแห่งภาคหนึ่ง ถึงขนาดที่?ครูบาเจ้าศรีวิไชย นักบุญแห่งล้านนาไทย?ยังต้อง?ขอดูตัว? ซึ่งทรง?อภิญญา?อันยิ่งใหญ่ และทรงอิทธิจิตอันแก่กล้าถึงขนาดสามารถ?เหยียบศิลาแลงทั้งแท่งให้เป็นรอย?เหมือนหนึ่งเหยียบลงในดินเลนที่อ่อนนุ่มได้เป็นมหัศจรรย์ (ยังปรากฏรอยเท้าในแผ่นหินเป็นหลักฐานอยู่ที่หลังวัดพระพุทธบาทตากผ้าจนถึงทุกวันนี้) ก็เคยมาเรียนพระกรรมฐานที่คณะ 5 วัดมหาธาตุ กับท่านหลวงพ่อภัททันตะ อาสภเถระฯ และท่านเจ้าคุณโชดก ญาณสิทฺธิ ในครั้งหนึ่งด้วย
6. พระครูวรวุฒิคุณ (หลวงปู่ครูบาอิน อินโท )วัดฟ้าหลั่ง กิ่งอ.ดอยหล่อ จ. เชียงใหม่ พระอริยเจ้าอาวุโสสายเหนือผู้บรรลุคุณธรรมสูงสุด และอิทธิฤทธิ์บุญฤทธิ์อย่างยอดยิ่ง ที่แม้แต่หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ. เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พระอริยเจ้าสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ก็ยังให้ความเคารพยกย่องเป็นพิเศษ ก็เคยลงมาฝึกกรรมฐานกับหลวงพ่อภัททันตะ อาสภเถระ ที่คณะ 5 วัดมหาธาตุ เช่นเดียวกัน
...