?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
07 พฤษภาคม 2567, 16:19:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 42 43 [44] 45
646  พระเครื่องและวัตถุมงคล / วิชาการ ถาม-ตอบ เกี่ยวกับพระเครื่องและวัตถุมงคล / Re: ประวัติการสร้างเหรียญ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 08:08:08
ยอดเยี่ยมมากครับ
647  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ประวัติหลวงปู่ทองมา ถาวโร เทพเจ้าแห่งวัดสว่างท่าสี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 08:04:51
ขอบคุณข้อมูลจากคุณ AMAN ครับ ถ้ามีเรื่องราวดีๆ นำมาบอกเล่ากันอีกนะครับ
648  หมวดทั่วไป / ข่าวสารของทางชมรมฯและพูดคุยเรื่องทั่วไปสัพเพเหระ / Re: ความคิดเห็นข้อเสนอเพื่อปรับปรุงเวบไซต์ เมื่อ: 22 ธันวาคม 2553, 07:56:51
อยากให้มีสมาชิกเพิ่มมากขึ้น เพื่อจะได้ศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ต่างๆ ทั้งที่มีการจดบันทึกไว้ และไม่ได้บันทึกไว้ หรือประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งหากไม่ได้รับการเผยแพร่ สืบทอด ก็จะถูกกาลเวลา และวัฒนธรรมสมัยใหม่เข้าแทนที่  และลบเลือนไป (เรื่องเก่าบ่เล่ามันลืม) Grin
649  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / Re: วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านกระเดียน) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 11:18:43
ดีใจที่ได้มีส่วนร่วมในการเผยแพร่ สืบสาน ศิลปะ วัฒนธรรมท้องถิ่นบ้านเราครับ
650  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / Re: วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านกระเดียน) เมื่อ: 21 ธันวาคม 2553, 11:09:50
หลวงปู่ญาท่านตู๋  ธัมมสาโร ก็เคยจำพรรษาที่วัดบ้านกระเดียน เพื่อศึกษาวิชากับญาท่านพัน อดีตเจ้าอาวาสครับ  (ภาพนี้เป็นธาตุบรรจุอัฐิญาท่านพันตั้งอยู่หลังพระอุโบสถครับ)
ส่วนประวัติญาท่านพันไม่มีการบันทึก สืบค้นได้ข้อมูลเพียงว่า มรณะภาพ ปี ๒๔๗๙  อายุได้ ๘๐ ปีโดยประมาณ ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ บรรพชากุลบุตร พุทธทายาท นับได้ว่าท่านเป็นพระนักพัฒนาที่มีผลงานโดดเด่นอีกรูปในสมัยนั้น
651  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / Re: วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านกระเดียน) เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:40:20
พระอุโบสถ
652  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / Re: วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านกระเดียน) เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:36:54
พระอุโบสถ

ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘  ขณะนั้นญาท่านพันเป็นเจ้าอาวาส เป็นอุโบสถก่อด้วยอิฐ ฉาบปูนเรียบทั้งสองด้าน หน้าบรรณวาดลวดลายเขียนสีเป็นรูปคล้ายมังกรพ่นน้ำ อีกด้านเขียนเป็นรูปนกหัสดีลิงค์    ในป่าหิมพานต์  สีสันสวยงามและแปลกตา  เนื่องจากเป็นศิลปะช่างญวน  ชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างขึ้น (โดยว่าจ้างช่างชาวญวนที่เข้ามาขายแรงงานในสมัยนั้นให้ดำเนินการก่อสร้าง) เพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบศาสนพิธี ปฏิบัติศาสนกิจของพระภิกษุสงฆ์   และเป็นที่อุปสมบทให้แก่กุลบุตร  โดยมีการก่อสร้างเสมารอบพระอุโบสถ  และมีกำแพงล้อมรอบ  โดยสร้างจากอิฐชนิดเดียวกัน ภายในเป็นที่ประดิษฐ์สถานพระประธานปางมารวิชัยก่ออิฐถือปูน ศิลปะไทยอีสาน และเป็นที่รวบรวมพระพุทธรูปบูชาปางต่างๆ ทั้งที่แกะจากไม้ และหล่อด้วย  โลหะ  บันไดทางขึ้นมีศิลปะปูนปั้นเป็นรูปคล้ายพญานาคผสมมังกร เหนือบานประตูทางเข้ามีภาพวาดพระพุทธรูปด้วยลายเส้น  พระอุโบสถแห่งนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ต่อมาได้รับการบูรณะซ่อมแซมในปี พ.ศ.๒๕๕๕

กุฏิลาย

เป็นกุฏิที่สร้างด้วยไม้  ทั้งหลัง  มีเสาจำนวน  ๑๒  ต้น  จำนวน  ๒  หลัง  หลังคาเดิมมุงด้วยแผ่นไม้ทั้งหมด  แต่เนื่องจากมีอายุการก่อสร้างเป็นเวลายาวนาน  ทำให้ไม้มุงหลังคาผุพัง  ชาวบ้านจึงร่วมกันเปลี่ยนเป็นสังกะสี  ด้านหน้าจั่วและฝาผนังกุฏิมีการติดประดับด้วยกระจก  เพื่อให้เกิดความสวยงาม  และใช้สีทาตกแต่งฝาผนังกุฏิ และมีการใช้ไม้แผ่นแกะสลักลวดลาย  เพื่อแสดงให้เห็นภูมิปัญญา  และฝีมือเชิงช่างพื้นบ้านอีสาน  (ญาท่านพันเป็นผู้นำในการก่อสร้าง)ปัจจุบันกุฏิลายชำรุดทรุดโทรมตามกาลเวลา  และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานจากกรมศิลปากรแล้ว  และต่อมาได้รับการบูรณะซ่อมแซมแล้วเสร็จในปี พ.ศ.๒๕๕๖

ธรรมมาสน์

ตั้งอยู่ภายในศาลาการเปรียญ  เป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะอีสานกับศิลปะญวน     สร้างด้วยไม้ฉลุเป็นลวดลาย  และทาสีด้วยสีจากธรรมชาติ  ซึ่งยังสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนจนถึงทุกวันนี้  และมีบันไดซึ่งทำจากไม้เนื้อแข็ง มีการตกแต่งลวดลายอย่างงดงาม จัดเป็นโบราณวัตถุที่หาดูได้ยากในปัจจุบัน  ธรรมมาสน์นี้เป็นงานฝีมือที่ต้องใช้ช่างที่มีความ   ชำนาญในหลายๆด้าน ทั้งการแกะฉลุลวดลาย  และการใช้สี การตกแต่งบันไดทางขึ้น    ธรรมาสน์ ปัจจุบันยังมีการใช้งานธรรมมาสน์นี้ในการแสดงธรรมในบุญมหาชาติของชาวบ้าน

653  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / พุทธสถานวัดบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / วัดราษฎร์ประดิษฐ์ (บ้านกระเดียน) ต.กระเดียน อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 16:30:09
ประวัติวัดราษฎร์ประดิษฐ์

            วัดราษฎร์ประดิษฐ์  บ้านกระเดียน  ตำบลกระเดียน  อำเภอตระการพืชผล  จังหวัดอุบลราชธานี  มีเนื้อที่ทั้งหมด  ๑๔ ไร่  ก่อสร้างเมื่อปีพุทธศักราช  ๒๓๗๐  เป็นวัดที่ชาวบ้านกระเดียนร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างด้วยแรงงานชาวบ้าน  โดยใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น  อิฐที่ใช้เป็นอิฐที่เผาจากดินดิบในหมู่บ้าน  มีโบราณสถานที่สำคัญเช่น  โบสถ์  ศาลาการเปรียญ  กุฏิลาย  มีโบราณวัตถุที่สำคัญเช่น  พระพุทธรูปประจำพระอุโบสถ  พระพุทธรูปแกะจากไม้  ธรรมมาสน์ไม้  หีบไม้เก็บตำราเป็นต้น  วัดราษฎร์ประดิษฐ์ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา  เมื่อปีพุทธศักราช  ๒๔๗๐  เขตวิสุงคามสีมา  กว้าง  ๑๑.๕๐  เมตร  ยาว  ๑๖.๕๐  เมตร เป็นวัดที่ชาวบ้านกระเดียนใช้ในการประกอบพิธีทางศาสนาเป็นเวลานานตั้งแต่บรรพบุรุษ  จนถึงปัจจุบัน  วัดราษฎร์ประดิษฐ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโบราญสถาน  เมื่อวันที่  ๑๗  ธันวาคม พุทธศักราช  ๒๕๔๔  จากกรมศิลปากร



 ลำดับรายชื่อเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ประดิษฐ์

๑.   หลวงปู่ผู๋
๒.   ญาท่านพัน
๓.   ญาท่านลี  อุตตโร  (พระครูพนาภินันท์)
๔.   หลวงพ่อเทียม
๕.   พระประสาน  อติสาโร
๖.   พระประยุทธ   ถาวโร
๗.   หลวงปู่แดง
๘.   พระอธิการตระกูลศักดิ์   กตสาโร
๙.   พระจรรยา   ปิยธัมโม   (รักษาการเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน)

ศาลาการเปรียญ

       ก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘  สร้างขึ้นก่อนพระอุโบสถ ก่อด้วยอิฐฉาบปูนทั้งสองด้าน  โดยใช้อิฐที่เผาขึ้นเองซึ่งชาวบ้านได้ใช้ดินจากหนองคันใส  บริเวณตะวันออกของหมู่บ้าน ภายในมีการก่อสร้างธรรมาสน์ไว้กลางศาลา เพื่อใช้ในการแสดงธรรมของพระภิกษุ ซึ่งศาลาการเปรียญเป็นสถานที่ที่ชาวบ้านใช้ปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางศาสนา บริเวณทางเข้ามีปฏิมากรรมปูนปั้นรูปสัตว์คล้ายกิเลนอยู่ทั้งสองข้าง ประตูทำด้วยไม้เนื้อแข็งขนาดใหญ่สองบาน ด้านหน้ามีการตกแต่งด้วยไม้ฉลุลาย  ตามแนวคิดและความเชื่อของชาวบ้านในสมัยนั้น  จากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ทราบว่าช่างที่ก่อสร้างศาลาการเปรียญนี้มีทั้งช่างพื้นบ้าน  และช่างชาวญวนอพยพที่เข้ามาขายแรงงานในสมัยนั้น
654  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: ของรักของข้า เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:54:19
ยอดเยี่ยมมากครับ Shocked
655  ห้องพระ / พระครูชิโนวาทสาทร / พระครูชิโนวาทสาทร (อุทัย ปภัสสโร) หลวงพ่อวัดไชย เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:50:12
ประวัติพระครูชิโนวาทสาทร (อุทัย  ปภัสสโร)  อดีตเจ้าอาวาสวัดไชยมงคล
ชาติภูมิ
  พระครูชิโนวาทสาทร  ฉายา  ปภัสสโร  มีนามเดิมว่า  อุทัย  มีแก้ว  เกิดเมื่อวันที่  8  กรกฎาคม  2460  ที่บ้านหนองคู  ตำบลหนองคู  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร  (เดิมขึ้นกับอุบลราชธานี)  มีโยมบิดาชื่อ  นายไพ  มีแก้ว  โยมมารดาชื่อนางเพ็ง  มีแก้ว
การศึกษาสายสามัญ
   การศึกษาของท่าน  จบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  ที่โรงเรียนบ้านหนองคู  ตำบลหนองคู  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร  ในปีพุทธศักราช 2472
ชีวิตเมื่อเป็นฆราวาส
  เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 แล้ว  โยมบิดามารดาของท่านก็พากันอพยพครอบครัวมาอยู่ที่บ้านหนองแสง  ตำบลสิงห์  อำเภอเมือง  จังหวัดยโสธร  ประกอบอาชีพทำไร่ไถนามาโดยตลอด  ท่านมีพี่น้องร่วมท้อง 9  คนด้วยกัน  โดยท่านเป็นบุตรคนโต  เพราะฉะนั้นหน้าที่การงานต่างๆจึงตกอยู่ที่ท่านทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นหักร้างถางพงเพื่อพลิกผืนดินทำมาหากิน  ทำเป็นผืนไร่  ผืนนา  เพื่อประกอบอาชีพในการเกษตร  ซึ่งเป็นอาชีพหลักของชาวบ้านในขณะนั้น  ด้วยอุปนิสัยของท่านเป็นคนขยันหมั่นเพียรเป็นหลักใหญ่  จึงทำให้ท่านมีผืนดินทำกินจำนวนนับร้อยไร่  ในขณะที่หนุ่มๆรุ่นเดียวกับท่านพากันเที่ยวเตร่หาความสำราญไปวันๆ  แต่ชีวิตของท่านกลับอยู่กับการทำไร่ทำนามาโดยตลอด  ไม่มีเวลาที่จะไปหาความสำราญดังเช่นหนุ่มรุ่นเดียวกัน  แม้แต่เรื่องผู้หญิงท่านก็ไม่เคยให้ความสนใจเลย  โดยอุปนิสัยของท่านแล้วเป็นผู้ที่มีจิตใจห้าวหาญไม่กลัวใคร  จึงทำให้ท่านรักการชกมวยเป็นชีวิตจิตใจ  ไม่ว่าไกลแค่ไหนท่านก็บากบั่นไปให้ได้   นั้นคือชีวิตฆราวาสจนเมื่ออายุ 23 ปี
การอุปสมบท
   เมื่อปีพุทธศักราช  2483  ทางหมู่บ้านหาผู้ที่จะอุปสมบทก่อนเข้าพรรษาไม่ได้  ตัวท่านเองเห็นว่าอายุก็มากแล้ว  จึงรับอาสาอุปสมบทพร้อมเพื่อนอีก 3 คน  โดยอุปสมบทตามประเพณีที่วัดบ้านหนองแสง  ซึ่งเดิมเป็นวัดทางมหานิกาย  ในขณะที่ท่านบวชนั้นท่านมีมานะในการศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉาน  สามารถสอบนักธรรมชั้นตรี  ชั้นโทได้ภายใน 2 ปีติดต่อกัน  โดยการเรียนรู้จากหนังสือแล้วก็ไปสอบ  ต่อมาปีพุทธศักราช  2485  ท่านได้ย้ายจากวัดบ้านหนองแสงไปศึกษาต่อที่วัดบ้านบุ่งหวาย  ตำบลสงเปลือย  อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร  ในปัจจุบัน  ซึ่งเป็นสำนักเรียนที่ขึ้นชื่อในสมัยนั้น  สาเหตุที่ท่านยังไม่ศึกษาลาเพศหลังจากที่ท่านอยู่ครบพรรษาแล้ว  เพราะโยมบิดาพูดกับท่านบ่อยๆว่า ?เรียนไปเถอะลูกอย่าออกมายุ่งกับทางโลกอีกเลย ผู้อยู่ทางนี้จะทำมาหากินไม่ต้องห่วงหรอก? ซึ่งตัวท่านเองพูดเสมอว่าโยมบิดาของท่านเป็นนักปราชญ์อย่างแท้จริง  ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช  2486  ท่านได้ญัติเป็นธรรมยุตินิกาย  พร้อมทั้งสอบได้นักธรรมชั้นเอกในปีเดียวกัน  ด้วยความที่เป็นผู้มีความสนใจไฝ่ในการศึกษาเล่าเรียนทำให้เป็นที่รักของครูบาอาจารย์  ต่อมาปีพุทธศักราช  2487  อาจารย์ของท่านได้นำมาฝากเพื่อศึกษาด้านเปรียญธรรมที่วัดสุทัศนาราม  ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดอุบลราชธานี  พร้อมกันนั้นท่านได้ศึกษาเปรียญธรรมที่สำนักเรียนวัดสุปัฏนารามวรวิหารไปด้วย  ท่านพักอยู่ที่วัดสุทัศนารามเป็นเวลา 3 ปี  ในปีพุทธศักราช 2490  ท่านได้ย้ายมาพักที่วัดไชยมงคล  ด้วยอุปนิสัยที่เป็นคนจริงทำอะไรก็ต้องทำให้สำเร็จ  จึงทำให้ท่านสอบได้เปรียญธรรมถึง  4  ประโยค  ในปีพุทธศักราช  2495  ถึงท่านจะได้เปรียญธรรมถึง  4  ประโยค  แต่ท่านก็ไม่ได้หยุดเพียงแค่นั้น  ท่านยังคงศึกษาเล่าเรียนต่อไป  พร้อมกับการทำหน้าที่เป็นครูสอนเปรียญธรรมแก่พระสงฆ์องค์เณรควบคู่กันไปด้วย  โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนได้รับการยกย่องจากครูบาอาจารย์โดยทั่วกัน  ต่อมาในปีพุทธศักราช  2499  ท่านพระอาจารย์กอง  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่ในขณะนั้นได้ย้ายกลับไปนครจำปาศักดิ์  ฝั่งประเทศลาวซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่าน  หน้าที่การทำนุบำรุงวัดไชยมงคลจึงตกอยู่กับท่าน  ตั้งแต่นั้นมา
การพัฒนาวัดไชยมงคล
  จากการกลับไปบ้านเกิดของเจ้าอาวาสองค์ก่อน  ซึ่งขณะนั้นวัดไชยมงคลเป็นวัดเล็กๆ  มีโบสถ์วิหารหลังเล็กๆ  เก่าๆ  พอประกอบศาสนกิจได้บ้าง  ยังเป็นวัดบ้านนอกมีแต่ป่าไผ่  ป่าบักต้อง  มีกุฏิหลังเก่าๆเล็กๆไม่กี่หลัง  ตอนที่ท่านเจ้าอาวาสองค์เดิมลากลับบ้านเหลือปัจจัยไว้ให้ท่านเป็นเงิน  200  บาท  ซึ่งรายได้เข้าวัดช่วงนั้นมีเพียงการขายหมากขายมะพร้าว เท่านั้น  แต่ด้วยท่านมีจิตใจแน่วแน่ในการทำนุบำรุงศาสนาสืบต่อไป  ท่านได้เริ่มเข้าป่าเลื่อยไม้  ซึ่งเป็นสิ่งเดียวที่สามารถทำได้  โดยท่านมีคู่หูในการบุกป่าฝ่าดงผจญภัยต่างๆ คือคุณตาน้อย  ณรงค์แสง  จนได้ไม้พอสมควรแล้วท่านก็เริ่มลงมือสร้างกุฏิทีละหลัง  จนกระทั่งมีครบสมบูรณ์ในปัจจุบัน  ในปีพุทธศักราช  2508  ท่านได้เริ่มก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันด้วยความมุ่งมั่นจนเสร็จอย่างรวดเร็ว  ต่อมาปีพุทธศักราช  2515  ท่านได้เริ่มลงมือก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก  แล้วมาเสร็จสิ้นพร้อมฉลองในปีพุทธศักราช  2521  สิ่งเหล่านี้คือผลงานชิ้นใหญ่ๆที่ท่านได้ก่อสร้างไว้  นอกจากนี้ยังมีเมรุเผาศพ  ศาลาพักศพ  ถนนคอนกรีตรอบวัด  วัดไชยมงคลเป็นวัดที่ก่อตั้งมาได้ร้อยกว่าปีเศษ  จึงมาถึงเวลาที่เจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส  มีเสนาสนะพร้อมทุกอย่างที่จะทำให้พระเณรอยู่อย่างสบาย  รองรับญาติโยมที่จะมาปฏิบัติธรรมได้อย่างสะดวก  ท่านเคยปรารภเสมอว่าท่านมีความสุขกับการได้สร้าง  ได้ทำทุกอย่างเพื่อพระศาสนา  ท่านไม่มีความเหน็ดเหนื่อยเลยกับการทำเพื่อพระศาสนา  แม้กาลที่ท่านชราภาพมากแล้วก็ตาม
ในวาระสุดท้าย  
 นอกจากที่ท่านเป็นพระนักพัฒนาแล้วยังเป็นที่พึ่งทางใจของญาติโยมอีกด้วย  ทั้งการรักษาผู้ถูกคุณไสย  การรักษาผู้ถูกภูตผีกระทำ  จนท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย  ถือเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังในระดับประเทศองค์หนึ่งทีเดียว  แต่ด้วยท่านมีอุปนิสัยสมถะ  ไม่พูดมาก  ไม่เคยขออะไรใคร  ไม่เคยออกซองเรี่ยไรชาวบ้านให้เดือดร้อน  ท่านจะเคร่งในพระธรรมวินัยมาก  จนบางครั้งคิดว่าท่านเป็นพระที่ดุ  แต่ความจริงแล้วอุปนิสัยของท่านเป็นอย่างนี้มานานแล้ว  ตรงไปตรงมา  ไม่อ้อมค้อม  ในชีวิตส่วนตัวของท่านไม่เคยเจ็บป่วยเลย  แต่อาจจะเป็นการทำงานตรากตรำในการพัฒนาวัดอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย  และช่วยปลดทุกข์ให้ญาติโยมที่มาหาท่านอย่างไม่ขาดสาย  ทำให้ท่านไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ  และอาการของโรคต่างๆก็ปรากฏ  เมื่อประมาณเดือนกันยายน  ปีพุทธศักราช  2537  ท่านเริ่มมีอาการหายใจติดขัด  คณะศิษย์จึงนำท่านส่งโรงพยาบาลประจำจังหวัดสรรพสิทธิประสงค์  ผลการตรวจปรากฏว่าท่านเป็นโรคหัวใจ  กล้ามเนื้อหัวใจไม่มีกำลัง  พร้อมกับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ  จึงได้ทำการรักษาจนอาการดีขึ้นเป็นบางครั้ง  แต่บางครั้งก็ทรุดลง  ช่วงเดือนธันวาคม  2537  คณะศิษย์และญาติโยมได้พาท่านไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลพญาไท 2  ที่กรุงเทพพระมหานคร  ประมาร  20  วันท่านก็กลับมาพักผ่อนที่วัดบ้านหนองแสง  บ้านเดิมของท่าน  แต่ไม่นานด้วยความเป็นห่วงวัดวาอารามท่านก็ย้ายมารักษาต่อที่วัดไชยมงคล  ช่วงนี้อาการของท่านดีขึ้นมากท่านก็รับแขกรับญาติโยมตามปกติ  ท่านไม่ค่อยฉันยาตามแพทย์สั่ง  จึงทำให้สุขภาพเริ่มทรุดลงอีก  เทียวเข้าโรงพยาบาลอยู่เป็นประจำ  จนกระทั่งวันที่  24  เมษายน  พุทธศักราช  2538  อาการของท่านทรุดลงมาก  คณะศิษย์จึงนำท่านเข้ารักษาที่โรงพยาบาลร่มเกล้า  จนวันที่  10  พฤษภาคม พุทธศักราช  2538  ท่านต้องการกลับมาพักที่วัด  จึงนำท่านกลับมาพักที่วัด โดยทางโรงพยาบาลร่มเกล้าได้จัดแพทย์พยาบาลมาดูแลท่านที่วัด  พอวันรุ่งขึ้น  ท่านเรือตรีดนัย  เกตุสิริ  โยมอุปถัมภ์วัดไชยมงคลมาพบสภาพหลวงปู่  จึงประสานงานไปทางนายแพทย์นภา   สิงห์คุณา  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ให้จัดคณะแพทย์มารับท่านไปรักษาตัวยังโรงพยาบาลอีกครั้ง  และทางคณะแพทย์ได้ทำการรักษาท่านอย่างเต็มความสามารถ  จนกระทั่งวันที่  15  พฤษภาคม  2538  เวลาประมาณ  23.30  น.  ท่านก็ถึงแก่มรณภาพด้วยอาการอันสงบ  ที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
 
656  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่มหาสีโน ญาณจารี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:44:13
ต่อครับ
657  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่มหาสีโน ญาณจารี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:42:58
ต่อครับ
658  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่มหาสีโน ญาณจารี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:41:39
ต่อครับ
659  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่มหาสีโน ญาณจารี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:40:00
ต่อครับ
660  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่มหาสีโน ญาณจารี เมื่อ: 20 ธันวาคม 2553, 11:39:02
ต่อครับ
หน้า: 1 ... 42 43 [44] 45
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!