?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
06 พฤษภาคม 2567, 18:59:07 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 45
46  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: ประวัติพระครูประทีปธรรมคุณ (พวง ญาณทีโป) เมื่อ: 24 ตุลาคม 2556, 19:46:46
คล้ายว่ามีสมาชิกท่านหนึ่งถามถึงประวัติหลวงปู่ท่าน
47  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / ประวัติพระครูประทีปธรรมคุณ (พวง ญาณทีโป) เมื่อ: 24 ตุลาคม 2556, 19:44:16
ประวัติพระครูประทีปธรรมคุณ  (พวง  ญาณทีโป)
อดีตเจ้าอาวาสวัดใต้บ้านยางขี้นก  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี
ชาติภูมิ   พระครูประทีปธรรมคุณ  นามเดิม  ชื่อ  พวง  นามสกุล   เครือศรี  เกิดเมื่อวันอังคารที่  20  มีนาคม  พ.ศ. 2455  ตรงกับปีฉลู  ขึ้นสามค่ำ  เดือนสาม  ที่บ้านยางขี้นก  อำเภอเขื่องใน  จังหวัดอุบลราชธานี  โยมบิดาชื่อ  นายเลน  โยมมารดาชื่อ  นางวัน   เครือศรี  มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด  5 คน  หลวงปู่เป็นคนที่ 5
เมื่อวัยหนุ่มได้สมรสกับนางเปลี่ยน  เครือศรี  มีบุตรร่วมกัน  1  คน  และบุตรป่วยเสียชีวิต  ต่อมานายพวง  เครือศรี  ได้แยกทางกับนางเปลี่ยนและได้เดินทางไปทำนาที่ภาคกลาง  และต่อมาได้กลับมาบ้านยางขี้นก  ได้สมรสกับ  นางเคน  เครือศรี  มีบุตรด้วยกัน 4  คน  ในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นหลวงปู่ใช้ชีวิตอย่างลำบาก  เนื่องจากฐานะทางครอบครัวยากจน  ทำให้ต้องต่อสู้ทำงานรับจ้างเพื่อหาเงินมาช่วยเหลือครอบครัว  มักจะเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อรับจ้างทำงานเป็นเวลานานๆ 
การศึกษา  เมื่ออายุได้  10 ปี  ได้ศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนวัดเหนือยางขี้นก  จนจบชั้นประถมศึกษาปีที่  4   ออกจากโรงเรียนมาช่วยบิดามารดาประกอบอาชีพทำนาระยะหนึ่ง  พออายุ  18 ปี  ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดใต้บ้านยางขี้นก  พออายุครบ  20  ปี  ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ  และได้ศึกษาพระธรรมวินัย  เมื่อถึงพรรษาที่ 2 ชาวบ้านยางขี้นกจึงตั้งสำนักเรียนบาลี  เรียนอยู่หนึ่งพรรษา  ยังไม่จบหลักสูตร  บิดาท่านได้ลาครอบครัวออกบวช  ท่านจึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยมารดา  และต่อมาได้เดินทางไปทำสวนยางที่ภาคใต้  ประมาณครึ่งปีกลับมาบ้านได้เงินมาสร้างครอบครัว  และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน  และทำหน้าที่อยู่  13 ปี เกษียณอายุการเป็นผู้ช่วย  ชาวบ้านจึงแต่งตั้งเป็นไวยาวัจกร  ประจำวัดใต้บ้านยางขี้นก  เมื่อวันที่  27 พฤษภาคม  2524  เวลา  06.00  น. ได้อุปสมบทอีกครั้ง  โดยมี
พระครูวิมลธรรมาภรณ์    เป็นพระอุปัชฌาย์
พระครูพินิจศีลคุณ      เป็นพระกรรมวาจาจารย์
พระครูสุจิตตานุวัตร   เป็นพระอนุสาวนาจารย์
สมณศักดิ์
พ.ศ.2529   ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดใต้บ้านยางขี้นก
พ.ศ.2537   ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรพัดยศเป็นพระครูชั้นโท  ในราชทินนาม ?พระครูประทีปธรรมคุณ?  จากนั้นหลวงปู่ก็ครองสมณะเพศมาโดยตลอด  จนกระทั่งถึงแก่
 
วาระสุดท้าย      หลวงปู่พระครูประทีปธรรมคุณ  มีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงมาโดยตลอด  ไม่ค่อยเจ็บไข้  แต่หลวงปู่มีโรคประจำตัวคือโรคปอด  จนกระทั่งปลายปี  2549 อาการอาพาธเริ่มหนักขึ้น  ได้เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเขื่องใน  ประกอบกับหลวงปู่มีอายุมากแล้ว  ฉันอาหารไม่ค่อยได้ทำให้ร่างกายอ่อนแอลง  จนถึงแก่มรณภาพ  เมื่อวันที่  26  มกราคม  2550  เวลา  05.00 น. สิริอายุได้  95 ปี
48  ห้องพระ / หลวงปู่มั่น ทัตโต / Re: สอบถามผู้รู้ ภาพถ่าย-ตะกรุด หลวงปู่มั่น ทัตโต เมื่อ: 21 ตุลาคม 2556, 20:36:23
ส่วนตัวคิดว่าไม่ทันหลวงปู่ครับ ศิษย์สร้างยุคหลัง น่าจะเป็นพระอาจารย์ศักดิ์สร้าง
 รอข้อมูลสายตรงครับ
49  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: เรื่องที่คนอุบลต้องรู้ น่าภาคภูมิใจครับ เมื่อ: 19 ตุลาคม 2556, 07:59:12
ภาพนี้ท่าน บ่หัวซา บันทึกภาพไว้นานแล้ว พอดีผมสำเนาไฟล์ไว้ให้ครับ
50  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: หลวงปู่แสง ญาณวโร เมื่อ: 05 ตุลาคม 2556, 11:47:32
เหรียญเจริญสุข ๗๗ ปี หลวงปู่แสง  ญาณวโร  พ.ศ.๒๕๔๔  สวยๆ  หลังจาร  ส เลี่ยมมาใหม่ๆสวยดี
51  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / ประวัติพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช เจริญ สุวัฑฒโน เมื่อ: 03 ตุลาคม 2556, 05:56:18
สมเด็จพระญาณสังวร พระฉายาว่า"สุวัฑฒโน" พระนามเดิมว่าเจริญ พระสกุล "คชวัตร" ประสูติที่บ้านเลขที่ 367ตำบลบ้านเหนืออำเภอเมืองจังหวัดกาญจนบุรี
เมื่อวันศุกร์ขึ้น 4 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 3 ตุลาคมพ.ศ.2456เวลาประมาณ10ทุ่มหรือประมาณ 4.00 น. เศษแห่งวันเสาร์ที่ 4 ตุลาตม พ.ศ.2456 ตามที่นับในปัจจุบัน โยมบิดาชื่อน้อย คชวัตร ถึงแก่กรรม พ.ศ.2465 โยมมารดาชื่อกิมน้อย คชวัตรถึงแก่กรรม พ.ศ.2508
บรรชน
............. บรรชนของสมเด็จมาจาก 4 ทิศ บิดามาจากสายกรุงเก่าทางหนึ่ง จากปักษ์ไต้ทางหนึ่ง ส่วนมารดามีเชื้อสายญวนทางหนึ่ง และจีนทางหนึ่ง บิดาคือนายน้อย คชวัตร เป็นบุตรนายเล็กและนางแดงอิ่ม เป็นหลานปู่พระยา หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี และนางจีนเป็นชาวกรุงเก่ามารับราชการในกรุงเทพ ได้ออกไปเป็นผู้ช่วยราชการอยู่เมืองไชยาคราวหนึ่ง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ รัชกาลที่ 3ได้เป็นผู้หนึ่งที่ไปคุมเชลยที่เมืองพระตะบอง ได้ภริยาชาว เมืองไชยา 2 คน ชื่อทับ กับชื่อนุ่น และได้ภริยาชาวเมืองพุ่มเรียง 1 คน ชื่อแต้มต่อมาเมื่อได้รับคำสั่งให้ไปราชการปราบแขกที่มาตีเมืองตรังเมือง สงขลาจึงไปได้ภรรยาซึ่งเป็นพระธิดาของพระปลัดเมืองตะกั่วทุ่ง ( สน )และได้พาภริยามาตั้งครอบครัวอยู่ที่กรุงเทพ ฯ เวลานั้นพี่ชายของหลวงพิพิธภักดีเป็นที่พระพิชัยสงคราม เจ้าเมืองศรีสวัสดิ์และพระยาประสิทธิสงคราม ( ขำ ) เจ้าเมืองกาญจนบุรีเป็นอาของหลวงพิพิธภักดีจึงพาภรรยาไปตั้งครอบครัวอยู่ที่ จังหวัดกาญจนบุรี และลาออกจากราชการไปประกอบอาชีพทำนา ตระกูลคชวัตร  นายเล็กกับนางแดงอิ่ม มีบุตร 3 คน
1.นายน้อย คชวัตร
2.นายวร คชวัตร
3.นายบุญรอด คชวัตร
นายน้อย กับนางกิมน้อย คชวัตร มีบุตร 3 คนดังนี้

1.สมเด็จพระญาณสังวรฯ( เจริญ คชวัตร )
2.นายจำเนียร คชวัตร
3.นายสมุทร คชวัตร

โยมบิดา และโยมมารดา
........... นายน้อย คชวัตรโยมบิดาประกอบอาชีพเป็นเสมียนตรา อำเภอเมืองกาญจนบุรีเมื่อ พ.ศ.2445จนเป็นผู้รั้งปลัดขวา เมื่อ พ.ศ.2451ต่อมาไปตรวจราชการเกิดอาการป่วยมากจึงต้องลาออกจากราชการเมื่อหายดี แล้วก็ได้กลับเข้ารับราชการใหม่
...........จนปี พ.ศ.2456 จึงได้บุตรชายคนโตคือ สมเด็จพระญาณสังวรฯและได้ย้ายตำแหน่งเป็นปลัดขวาอำเภอวังขนาย( ท่าม่วง )  เมื่อปี พ.ศ.2458ได้สมัครเป็นสมาชิกเสือป่าได้มีโอกาสซ้อมรบเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้า รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ   ซ้อมรบเสือป่าที่บ้านโป่งและนครปฐม เมื่อสมเด็จฯกรมพระยาวชิรญาณวโรรสเสด็จฯ เมืองกาญจนบุรีนายน้อยได้นำสมเด็จพระญาณสังวรฯ ขณะนั้นอายุเพียง 2 ขวบ  เข้าเฝ้าด้วยต่อมาได้ไปรับราชการที่จังหวัดสมุทรสงคราม เกิดเจ็บป่วยจึงเดินทางกลับเมืองกาญจนบุรีเพื่อพักรักษาตัวและถึงแก่กรรม เมื่อมีอายุได้เพียง 38 ปี สมเด็จพระญาณสังวรฯได้นางเฮงผู้เป็นป้าเลี้ยงดูมาตั้งแต่เล็กเมื่อโยมบิดา มารดาย้ายไปสมุทรสงครามก็ไม่ได้ตามไปด้วย อาศัยอยู่กับป้าที่เมืองกาญจนบุรี

การศึกษา
............ สมเด็จพระญาณสังวรฯได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาเมื่อมีอายุได้ 7 ขวบที่โรงเรียนประชาบาลวัดเทวสังฆารามซึ่งอยู่ใกล้บ้าน ทรงเรียนที่ศาลาวัดจนจบชั้นสูงสุด คือประถม 3 ถ้าจะเรียนต่อ ระดับมัธยมต้องย้ายโรงเรียนไปเรียนที่วัดไชยชุมพลชนะสงคราม( วัดไต้ ).ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดแต่ครูที่โรงเรียนวัดเทวสังฆารามชวนให้เรียน ต่อที่โรงเรียนเพราะเปิดชั้นระดับประถมปีที่ 4 ( เท่ากับชั้น ม.1 )จึงทรงเรียนที่โรงเรียนเดิม พ.ศ.2468ทรงสอบได้เป็นลูกเสือเอก ต้องฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่อเตรียมการเข้าซ้อมร่วมกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎฯ ที่จะเสด็จพระราชดำเนินมาซ้อมรบเสือป่าที่นครปฐมแต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎทรง สวรรคตก่อน
...........ขณะเรียนที่โรงเรียนเคยรับเสด็จฯเจ้านายหลายครั้ง เช่น สมเด็จพระปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธ์วรเดช
...........สมเด็จพระญาณสังวรฯ เรียนจนถึงชั้นประถม 5 ก็ทรงถึงทางตันเพราะเมื่อจบแล้วก็ไม่ทราบว่าจะไปเรียนต่อที่ไหน จึงออกจากโรงเรียน

บรรชาเป็นสามเณร
........... เมื่อ พ.ศ.2469มีน้าของท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดเทวสังฆารามโยมป้าจึงชักชวน ให้บวชเณรแก้บน จึงบรรชาเป็นสามเณรเมื่อมีอายุได้ 14 ปีมีพระครูอดุลสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาทวัดเหนือเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงจำพรรษาอยู่ที่วัดเพราะคุ้นเคยกับหลวงพ่อและพระเณรเพราะทรงเรียนหนังสือ อยู่ในวัดมาตั้งแต่เล็ก ทรงศึกษาธรรมสวดมนต์ จนเมื่อออกพรรษาหลวงพ่อชวนให้ไปเรียนภาษาบาลีที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม เพื่อต่อไปจะได้กลับไปช่วยสอนที่วัด ในปี พ.ศ.2470
ทรงศึกษาไวยากรณ์ที่ วัดเสน่หา โดยมีพระสังวรวินัย(อาจ) เจ้าอาวาสขณะนั้นและมีอาจารย์ถวายการสอนเป็นพระเปรียญมาจากวัดมกุฏกษัตริยา ราม ได้ทรงเรียนแปลธรรมบท ใน พ.ศ.2472 อีกพรรษาหนึ่งแล้วเสด็จกลับไปประทับที่วัดเทวสังฆาราม
............เมื่อเสด็จไปแสดงพระธรรมเทศนาในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูสังวรวินัยหลวงพ่อวัดเหนือ
ได้ นำสมเด็จฯ มาฝากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์โดยได้อยู่ในความดูแลของพระครูพุทธมนต์ปรีชา ได้รับประทานฉายาจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้าว่า " สุวัฑฒโน" ได้ทรงปฏิบัติตามระเบียบของวัด สวดมนต์
ศึกษาพระปริยัติธรรม ทรงสามารถสอบได้ดังนี้
- พ.ศ.2472 พระชนมายุ 17 ปี สอบได้นักธรรมตรี
- พ.ศ.2473 พระชนมายุ 18 ปี สอบได้นักธรรมโท และเปรียญ 3 ประโยค
- พ.ศ.2475 พระชนมายุ 20 ปี สอบได้นักธรรมเอก และเปรียญ 4 ประโยค
  เมื่อ พ.ศ.2474 เป็นสามเณรองค์เดียวที่ได้รับพระราชทานผ้าไตรจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ที่เสด็จพระราชดำเนินมาทอดกฐิน ณ วัดบวรนิเวศฯ
ทรงอุสมบทเป็นพระภิกษุ
.......... เมื่อมีพระชนมายุครบอุปสมบท จึงเสด็จฯ มาอุปสมบทที่วัดเทวสังฆาราม เมื่อวันที่ 12 มิถุนายนพ.ศ.2476 โดยมีพระครูอดุลยสมณกิจ ( ดี พุทธโชติ ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆารามเป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูวินฐสมาจารย์ ( เหรียญ ) เจ้าอาวาสวัดศรีอุปราราม ( วัดหนองบัว )เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดหรุง เจ้าอาวาสวัดทุ่งสมอ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
...........เมื่ออุปสมบทแล้ว จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆารามจนออกพรรษาจึงเสด็จกลับวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงอุปสมบทซ้ำเป็นพระธรรมยุต ณ พระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และเสด็จกลับมาอยู่วัดเหนืออีก 2 ปี ทรงสอบปริยัติธรรมได้ทุกปีดังนี้

- พ.ศ.2476 พระชนมายุ 21 ปี สอบได้เปรียญ 5 ประโยค
- พ.ศ.2477 พระชนมายุ 22 ปี สอบได้เปรียญ 6 ประโยค
- พ.ศ.2478 พระชนมายุ 23 ปี สอบได้เปรียญ 7 ประโยค
- พ.ศ.2481 พระชนมายุ 26 ปี สอบได้เปรียญ 8 ประโยค
- พ.ศ.2484 พระชนมายุ 29 ปี สอบได้เปรียญ 9 ประโยค

........... สมเด็จพระญาณสังวรฯ มีภารทางการงานและการศึกษาตั้งแต่ยังเป็นพระเปรียญตร ีเปรียญโท และเมื่อ มีวิทยฐานะเข้าเกณฑ์เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมและบาลีก็ได้รับการแต่ง ตั้งเป็นกรรมการตรวจธรรมและบาลีสนามหลวงเรื่อยมา คือตั้งแต่นักธรรมตรี โท เอก ประโยค ป.ธ.3 - ป.ธ.9
............นอกจากนั้นยังมีภารกิจในการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ เสด็จฯประเทศต่างๆ มากมายหลายประเทศ
การหนังสือสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เรียบเรียงหนังสือต่างๆไว้มาก ทั้งประเภทตำราทางการศึกษา ธรรมกถา ธรรมเทศนา และสารคดีอื่นๆ
............สมณศักดิ์
- พ.ศ. 2490 ทรงเป็นพระราชาคณะสามัญที่พระโสภณคณาจารย์
- พ.ศ. 2495 ทรงเป็นพระราชาคณะในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2498 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเทพในพระราชทินนามเดิม
- พ.ศ. 2499 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่พระธรรมวราภรณ์
- พ.ศ. 2504 ทรงเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่พระศาสนโสภณ
- พ.ศ. 2515 ทรงเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญษณสังวรฯ
- พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระญารสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก องค์ที่ 19
...........นับเป็นความภูมิใจของชาวกาญจนบุรีอย่างยิ่ง ที่สมเด็จพระญารสังวรฯ ได้รับพระราชทานดำรงตำแหน่งเป็น
สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 ของประเทศไทย ขอให้ทรงมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน............
52  มุมนักอ่าน ลานนักเขียน / ส่องสนามเมืองนักปราชญ์ โดย อ.แดน เมืองอุบล / Re: ส่องเหรียญตำนาน...ขึ้นหิ้งอันดับ 1 ทุกอำเภอ ในจังหวัดอุบล...(เปี่ยมคุณค่า VI) เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 21:11:10
ยังเหลืออีกหลายอำเภอ  จะรอติดตามครับ wan-e016
53  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่เพ็ชร ฐานธัมโม / Re: ประวัติโดยสังเขป หลวงปู่เพชร ฐานธัมโม เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 15:10:45
เหรียญรุ่นแรกรุ่นลายเซ็นต์ และรุ่นแรกนั่งเต็มองค์ นิมนต์มาใหม่ๆ
54  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: ประวัติพระครูโอภาสเขมกิจ (คำ เขมจิตโต) เมื่อ: 29 กันยายน 2556, 06:44:26
เหรียญสวยครับ
55  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / Re: พระครูขันติคุณาภรณ์ (บุญมา ขันติโก) เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 08:57:02
ปลัดขิกหลวงปู่บ้านทุ่งใหญ่
56  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านโทน กันตสีโล / Re: รบกวนอาจารย์และพี่ๆสายตรง แนะนำติชมว่าองค์ไหนดีไม่ดี เมื่อ: 25 กันยายน 2556, 06:13:08
มีข้อสังเกตด้านหลังเหรียญรุ่นนี้ บ้างมีกลากบ้างไม่มีกลาก ใครเคยสังเกตแยกแยะบ้างครับ
57  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / พระครูปุญญสารวิสุทธิ์ วัดศรีโพธิ์ชัย ตระการพืชผล เมื่อ: 14 กันยายน 2556, 11:56:21
ใครพอทราบประวัติหลวงปู่ท่านบ้างครับ
58  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านตู๋ ธัมมสาโร / เหรียญรุ่นสอง พระอาจารย์ตุ๋ ธัมมสาโร เมื่อ: 08 กันยายน 2556, 15:09:30
ใครพอทราบข้อมูลเหรียญรุ่นนี้บ้างครับ  
 - ปีสร้าง
 - ผู้สร้าง
 - วัตถุประสงค์
 - มีกี่แบบชนิด
 - จำนวนการสร้าง
59  ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน / ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่น / วัฒนธรรมการกินหมากของชาวอุษาคเนย์ เมื่อ: 03 กันยายน 2556, 08:24:36
วัฒนธรรมใน ?หมาก-พลู? ของชาวอุษาคเนย์
ตีพิมพ์ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551-2554

วัฒนธรรมใน ?หมาก-พลู? ของชาวอุษาคเนย์

แม้ปัจจุบันจะมีการถกเถียงกันทางการแพทย์ถึงการกินหมากเป็นผลให้เกิดมะเร็งในช่องปาก แต่ในยุคดั้งเดิมเป็นที่ทราบกันดีว่า ประชาชนในดินแดนสยามเคี้ยวหมากกันเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน จนก่อให้เกิดวัฒนธรรมต่างๆที่มีหมากพลูเข้าไปเกี่ยวข้อง

นอกจากในดินแดนที่เรียกว่า สยาม หรือ ประเทศไทย แล้ว การกินหมากยังเป็นวัฒนธรรมร่วมและพืชพื้นเมืองที่แพร่หลายมายาวนานในภูมิภาคเอเชีย ทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออก โดยเฉพาะที่ไต้หวัน จีนตอนใต้ เอเชียใต้ เช่น อินเดียใต้ ปากีสถาน ศรีลังกา รวมไปถึงหลายหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก

ในผลหมากมีสารแอลคาลอยด์ (Alkaloids) ได้แก่ Arecoline, Arecain and Guvacine เป็น ซึ่งเชื่อว่า ช่วยกระตุ้นให้ผู้เคี้ยวรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า เป็นยาบรรเทาความเครียด  และเป็นสารเสพติดอ่อนๆ

จากหลักฐานทางโบราณคดีที่พบในประเทศไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ หรือการพบรอยคราบสีแดง(ผลจากการทำปฏิกิริยาของหมาก พลู และปูน)ที่ติดกับฟันมนุษย์โบราณ พบที่สาธารณรัฐปาเลา ในมหาสมุทรแปซิฟิก ที่แสดงว่ามนุษย์ในแถบนี้ได้มีการนำหมากพลูมาใช้ตั้งแต่เมื่อ 4,000 ปีมาแล้วเป็นอย่างน้อย

ต้นกำเนิดของหมากพลูนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่น่าเชื่อว่าอาจมีแหล่งอยู่ในแถบเอเชียนี้เอง การกินหมากที่แพร่หลายในอินเดียใต้และจีนตอนใต้ ตั้งแต่ก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 ถูกนำเข้ามาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  โดยเฉพาะบริเวณชวาและสุมาตราดูจะเป็นแหล่งผลิตและตลาดรายใหญ่มาแต่โบราณ มีหลักฐานของจีนกล่าวว่า การกินหมากพลูแพร่เข้ามาทางตอนใต้ของจีน ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 12 เอกสารชิ้นหนึ่งในปลายสมัยราชวงศ์ถัง ได้กล่าวถึงการนำเข้าหมากมาจากพม่า

ในบันทึกต่างๆของชาวตะวันตกตั้งแต่ราว กลาง พ.ศ. 1800 เป็นต้นมา มักจะกล่าวถึง วัฒนธรรมการกินหมากเป็นปกติของชาวเอเชีย รวมถึงวิธีการและประเพณีบางอย่างที่พวกเขาได้พบเห็น

ศ. แอนโทนี รีด (Anthony Reid) ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า หมากพลูมีสถานะเหมือนกับกาแฟ ชา เหล้า และบุหรี่ในสมัยนั้น เมื่อไปเยี่ยมเยือนกันหรือแม้แต่หยุดพูดคุยกันตามถนน ชายหญิงจะแลกเปลี่ยนหมากพลูให้แก่กันเพื่อเคี้ยวขณะสนทนา

อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการกินหมาก จะค่อยๆพัฒนาการประดิษฐ์ให้ประณีตมากขึ้นตามแต่ละวัฒนธรรมนั้นๆ จนกลายมาเป็นเครื่องแสดงฐานะทางสังคม เช่น ชุดกินหมาก ที่เรียกว่า พานพระขันหมาก หรือ พานพระศรี เป็นหนึ่งในเครื่องราชูปโภคของกษัตริย์มาแล้วอย่างน้อยในสมัยอยุธยา โดยมีการพระราชทานหีบหมากเป็นเครื่องยศแก่ข้าราชการซึ่งทำด้วยวัสดุแตกต่างกันตามบรรดาศักดิ์ รวมถึงการมีผู้ติดตามคอยถือหีบหมากแก่ผู้มีฐานะ เจ้านาย และขุนนางต่างๆ

ศ. รีด ยัง อธิบายอีกว่า เนื่องด้วยการให้หมากพลูเป็นหัวใจของความสุภาพและการต้อนรับ ดังนั้นวิญญาณของบรรพบุรุษก็ต้องได้รับด้วยทุกครั้งที่มีงานพิธีสำคัญๆ การกินหมาก หรือการถวายผลหมากและใบพลู ทั้งด้วยกันหรือแยกกัน เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้พิธีต่างๆสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นการเกิด การตาย หรือการรักษาโรค

ตามความเห็นของ ดร.นอร์แมน มอสลีย์ เพนเซอร์ (Norman Mosley Penzer) หมากพลูยังมีความสำคัญเป็นพิเศษในการเกี้ยวพาราสีและการแต่งงาน เนื่องด้วยการกินหมากทำให้ลมหายใจหอมและจิตใจผ่อนคลาย จึงถือว่าเป็นสิ่งปรกติที่ต้องปฏิบัติก่อนการแสดงความรัก ที่สอดคล้องกับบันทึกของ โทเม ปิเรส (Tome Pires) ชาวโปรตุเกสที่เข้ามายังมะละกา และชวา-สุมาตรา ในปี พ.ศ. 2055 ? 2058

ศ. เกรกอรี แอล. ฟอร์ท (Gregory L. Forth) จากภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยอัลเบอต้า แคนาดา ให้ความเห็นว่า ส่วนผสมหลักสองอย่าง ได้แก่ หมาก และ พลู ซึ่งใช้คู่กันมีฤทธิ์เสริมกันและกัน ถูกมองว่า เป็นสัญลักษณ์ของการร่วมรักโดยที่ ?ความร้อน? ของหมากจะถูกถ่วงดุลด้วย ?ความเย็น? ของใบพลู วัฒนธรรมการกินหมากในอินโดนีเซียตะวันออก ช่วยให้เห็นสัญลักษณ์ทางเพศได้ชัดเจนมากขึ้น เนื่องด้วยฝักของต้นพลูพื้นเมืองซึ่งชาวชวาใช้แทนใบ มีความเป็นชายที่เข้าคู่กับความโค้งของหญิงในผลหมาก

?การป้ายปูน วางชิ้นหมาก และส่วนผสมอื่นๆ ในใบพลูที่ม้วนอย่างบรรจง เป็นงานเฉพาะตัวอย่างหนึ่งที่หญิงสาวสามารถทำให้ชายหนุ่มได้ ดังนั้นหมากพลูจึงเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของการแต่งงานหรือการหมั้นหมายในวัฒนธรรมหนึ่ง และเชื้อเชิญให้รักในอีกวัฒนธรรมหนึ่ง? ศ.รีด กล่าว

บ่อยครั้งเราจึงพบวัฒนธรรมต่างๆที่เกิดขึ้นจากธรรมเนียม พฤติกรรมการกินหมาก สอดแทรกอยู่ในวิถีชีวิต ประเพณี พิธีกรรม และศิลปกรรม ของชุมชนเหล่านั้น ที่หลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน
60  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ใหญ่สำเร็จลุน / Re: รูปถ่ายปริศนาครูบาอาจารย์ทางฝั่งลาวครับ เมื่อ: 02 กันยายน 2556, 19:35:57
บ้านคันแยง  อำเภอโพธิ์ไทร  เหรอครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 45
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!