ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน

ประวัติศาสตร์ บุคคลสำคัญ วัฒนธรรม ประเพณี พุทธสถานและแหล่งท่องเที่ยวภาคอีสาน => ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ท้องถิ่น => ข้อความที่เริ่มโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 12 มิถุนายน 2556, 17:01:01



หัวข้อ: การปฎิรูปการปกครองลาวฝั่งขาวแม่น้ำโขง
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 12 มิถุนายน 2556, 17:01:01
(http://file.siam2web.com/somkhitsin/ksf/201097_24648.jpg)
พระเจ้าบรมวงศเธอ กรมหลวงสรรพประสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว ผู้ประกาศสารตรา เปลี่ยนคนลาวในพระราชอาณาเขตสยามเป็นไทยบังคับสยาม

สัญชาติลาวกลายเป็นไทยในบังคับสยาม
          ?.....ตามประวัติศาสตร์มันเป็นมาอย่างนั้น ต่อมาพวกฮอลันดามาเอาฟิลิปปินส์ เอาอินโดเนเชีย แล้วเข้ามาประเทศสยาม (คือกรุงศรีอยุธยา-ผู้เขียน) เป็นเพราะว่าชาวฮอลันดาเข้มแข็งกว่า จึงผลักดันพวกปอตุเกสหนีไป ฮอลันดาอยู่ในนั้นทำให้สยามเจริญกว่าเก่า เรื่องนี้มีหลายประเทศรับรู้ ราชสำนักฝรั่งเศสส่งราชทูตมา ญี่ปุ่นก็ส่งดาบซามูไร มาถวายพระเจ้าแผ่นดิน...

          ...หลังจากนั้น มาถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ นี่ อังกฤษได้อาฟกานิสถาน ตีปากีสถาน ได้อินเดีย ได้พม่า ตีได้พม่าแล้วแต่งให้พม่ามาตีสยาม (คือตีกรุงศรีอยุธยาเมื่อปี พ.ศ.๒๓๑๐-ผู้เขียน)

          กรุงศรีอยุธยาแตกแล้วพม่าอยากเอาสยามรวมกับพม่า อังกฤษไม่อยากให้รวม เพราะว่าปากีสถานรวมกับอินเดียก็ใหญ่แล้ว พม่ากับสยามรวมกันก็จะใหญ่อีก ทำให้ปกครองยาก อังกฤษจึงมาค้นหาผู้มีอิทธิพลอยู่ในสยามนี้ พบว่าพระยาตากค้าขายร่ำรวย และมีอิทธิพล อังกฤษจึงช่วยสร้างกองทัพให้พระยาตากตีพม่ากลับคืน ในเมื่อ (ขับไล่พม่าออกไปแล้ว) จะตีเข้าเขตแดนของพม่าก็ไม่ได้ (เพราะ) อังกฤษไม่ยอมให้ตี เพราะว่าอังกฤษเอาแล้ว...

          (จึง) มาตีทางใต้...ต่อชายแดนมาลายู ถึงตรงนั้นอังกฤษก็บอกให้หยุด เพราะอังกฤษเอามาลายูแล้ว... มาทางตะวันออกนี่ได้อ่าวไทย ได้ศรีสะเกษ สุรินทร์ ซึ่งเป็นของเขมร...?


หัวข้อ: Re: กว่าจะมาเป็นไทยอีสาน(Siamenization)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 12 มิถุนายน 2556, 17:03:53
(http://file.siam2web.com/somkhitsin/ksf/201099_33900.jpg)
 (http://file.siam2web.com/somkhitsin/ksf/201099_33992.jpg)
เมื่อครั้งนำคณะผู้แทนนักเขียนชาวไทย จำนวน ๑๒ คนจากสโมสรนักเขียนภาคอีสานเยือนนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว อย่างเป็นทางการตามคำเชิญของกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม และมีโอกาสเข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พูมี วงวิจิด ผู้ว่าการประธานประเทศ ที่สำนักงานแนวลาวฮักชาติ เมื่อกลางเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๔ (ภาพบนจากซ้าย) สุรสีห์ ผาธรรม, สมคิด สิงสง และ ฯพณฯ พูมี วงวิจิด ที่เห็นเพียงเสี้ยวใบหน้าทางขวามือคือขจรฤทธิ์ รักษา (ภาพล่างจากซ้าย) สุรสีห์ ผาธรรม, สมคิด สิงสง, ฯพณฯ พูมี วงวิจิด, โสมสี เดชากำพู และทองคำ อ่อนมะนีสอน

  ผมเคยได้ยินแต่เรื่องกองทัพพม่าบุกเข้ากรุงศรีอยุธยา ๒ ครั้ง ครั้งหลังคือ พ.ศ.๒๓๑๐ พม่าทำกับอยุธยาอย่างไร้มนุษยธรรม ด้วยการปล้นเรียบ ฆ่าเรียบ เผาเรียบ คนดีมีฝีมือก็ถูกกวาดต้อนไปเป็นจำนวนมาก

           ผมรับรู้เช่นนั้นมาตั้งแต่สมัยเป็นเด็กนักเรียน แล้วก็สำนึกเสมอว่าพม่าเป็นผู้ร้าย ใจอธรรมในหน้าประวัติศาสตร์ชาติไทย!

          เมื่อมาได้ยินคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด ทำให้ผมต้องขยับมุมมองของเรื่องนี้ ให้กว้างออกไป คือแทนที่จะมองว่าเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกรุงอังวะกับกรุงศรีอยุธยาเพียง ๒ เขตแคว้นแผ่นดินเท่านั้น ยังต้องเชื่อมโยงถึงสถานการณ์ทางสากลอีกด้วย

          ฟังน้ำเสียงคำบอกเล่าของท่านพูมี วงวิจิด คล้ายกำลังบอกว่าก่อนการเป็นประเทศไทยนั้น เราเคยตกเป็นอาณานิคมของต่างชาติมาก่อน.. นับแต่ปอตุเกส ฮอลันดา จนถึงยุคล่าอาณานิคมอังกฤษและฝรั่งเศส!

           เรื่องนี้ผมจะยังไม่ปักใจเชื่ออย่างหนึ่งอย่างใดลงไป เพียงแต่รับฟังไว้เป็นข้อมูล จากมุมมองของคนต่างประเทศ ยังต้องนำมาใคร่ครวญให้สมเหตุสมผลต่อไปอีก เพราะผมคิดว่าการสืบค้นประวัติศาสตร์จะต้องกระทำด้วยท่าทีของผู้ซึ่งบรรลุวุฒิภาวะ โดยเฉพาะในคนรุ่นใหม่ ไม่บังควรทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นการสร้างความขัดแย้งใหม่ๆ จากความขัดแย้งเก่าในประวัติศาสตร์ แต่ควรศึกษาประวัติศาสตร์ความขัดแย้งในอดีตเพื่อเก็บรับเป็นบทเรียน เพื่อจะได้กำหนดท่าทีต่ออนาคตได้อย่างเหมาะสม...

           ถ้อยคำข้างต้นทั้งหมดนั้น ผมถอดมาจากข้อเขียนของผมในคอลัมน์ ?จากทิศอีสาน? นสพ.ผู้จัดการรายวัน เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๖

           ไม่ว่าถ้อยคำที่ท่านผู้เฒ่าพูมี วงวิจิด เล่าให้พวกเราฟังจะเท็จหรือจริงอย่างไรหรือไม่ก็ตาม แต่สิ่งที่ผมได้จริงๆ ก็คือทรรศนะในการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์

           ผมมีเกล็ดที่น่าสนใจ อันทำให้เวลาที่ผมกรอกแบบพิมพ์ของทางราชการต้องระบุ ?สัญชาติไทย? เท่านั้น ทั้งๆ ที่พูดภาษาลาวมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย


?...แต่นี้สืบไป ให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนก ทุกหัวเมืองใหญ่น้อย ในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโครัว หรือหากว่ามีราษฎรมาติดต่อที่จะต้องใช้แบบพิมพ์ของทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่ โดยลงในช่องสัญชาตินั้นว่า ?ชาติไทยในบังคับสยาม? ทั้งหมด ห้ามไม่ให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไท ฯลฯ ดั่งที่ได้ปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด...?


เพียงคำสั่งของข้าหลวงต่างพระองค์ประจำหัวเมืองลาวเท่านั้น ชนชาติลาวที่อยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ได้กลายเป็นชนชาติไทย ตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๘๙๙ (พ.ศ.๒๔๔๒) เป็นต้นมา

           ถึงแม้ว่าพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพประสิทธิประสงค์ ผู้สำเร็จราชการมณฑลลาวกาวสืบต่อจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ จะได้ปรับปรุงการปกครองถึง ๒ ครั้ง ทรงนำเอาพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา อันเป็นพระราชพิธีที่ถือกันมาตั้งแต่ตั้งแต่ครั้งปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา มาถือปฏิบัติในหัวเมืองลาวกาว พระราชพิธีนี้มีความสำคัญต่อการปกครองมาก เพราะมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้านาย ข้าราชการ กรมการต่างๆ มีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์

        


หัวข้อ: Re: กว่าจะมาเป็นไทยอีสาน(Siamenization)
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 12 มิถุนายน 2556, 17:13:12
?พอถึงวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา คือวันที่ ๘ เมษายน ๒๔๓๗ พระอวฃงค์ทรงนำข้าราชการฝ่ายทหาร ฝ่ายพลเรือน กรมการเมืองอุบลราชธานี และเมืองขึ้นเมืองอุบลไปพร้อมกัน ณ วัดศรีสุวรรณาราม (ในเมืองอุบล)  ?นิมนต์พระมาประชุมสวดมนต์เลี้ยงพระ ตั้งน้ำ แล้วเอากระบี่ยศซึ่งพระราชทานชุบน้ำ อู้ภาษาเมือง กรมการผู้ใหญ่น้อยต้องนุ่งขาวห่มขาว ไปทำสัตย์สาบาน ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา? พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาได้ปฏิบัติเป็นพระราชประเพณีเป็นประจำทุกๆ ปี โดยเฉพาะหลังปราบขบถผีบุญ พ.ศ.๒๔๔๕ แล้ว กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้โปรดให้ราษฎรในเขตที่พวกขบถก่อการทำพิธีถือน้ำด้วย?

           การปรับปรุงการปกครองในขั้นที่ ๒ เกิดขึ้นหลังจากมีการจัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลในปี พ.ศ.๒๕๓๗ ซึ่งยังไม่มีพระราชบัญญัติปกครองท้องที่ จนถึงปี พ.ศ.๒๔๔๐ (ร.ศ.๑๑๖) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.๑๑๖ จึงมีการตั้งทำเนียบข้าราชการมณฑลลาวกาวเสียใหม่ เหมือนกับมณฑลอื่นๆ คือโปรดให้ยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมือง อุปฮาด ราชวงศ์ และราชบุตร แล้วตั้งเป็นตำแหน่งผู้ว่าราชการเมือง ปลัดเมือง ยกกระบัตร และผู้ช่วยราชการเมือง ตามลำดับ

           ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระราชดำริแก้ไขลักษณะการปกครองแบบเดิมซึ่งยังบกพร่องอยู่ เพราะ ?..ลักษณะการปกครองแบบเดิมนิยมให้เป็นประเทศอย่างราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต จึงถือว่าเมืองชายพระราชอาณาเขต ๓ มณฑลนั้น (คือมณฑลลาวเฉียง มณฑลลาวพวน และมณฑลลาวกาว) เป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติไทยว่าลาว แต่ลักษณะการปกครองอย่างนั้นพ้นเวลาอันสมควรแล้ว ถ้ายังคงไว้จะให้โทษแก่บ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริให้แก้ไขลักษณะการปกครอง เปลี่ยนเป็นอย่างพระราชอาณาเขต (Kingdom) ประเทศไทยรวมกัน..?

           ในปีเดียวกันนั้นทรงโปรดเกล้าฯ ประกาศให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองอุบลราชธานี เมืองศรีสะเกษ และหัวเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่ามณฑลลาวกาวนั้น ให้เรียกว่า มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ

           ถึงแม้ว่าจะผ่านการปรับเปลี่ยนการปกครองท้องที่หลายครั้งหลายหน แต่ในส่วนของประชาชนยังคงมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นลาว เป็นเขมร เป็นส่วย เป็นผู้ไท ฯลฯ อยู่ เพราะยังมีความผูกพันกับกรุงเทพฯ น้อยมาก และนี่คือที่มาของสารตราสั่งของข้าหลวงใหญ่มณฑลฯ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ อันทำให้คนลาวเป็นไทยบังคับสยามดังกล่าวข้างต้น


 
โดย สมคิด_สิงสง

 


หัวข้อ: Re: กว่าจะมาเป็นไทยอีสาน
เริ่มหัวข้อโดย: บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน ที่ 14 มิถุนายน 2556, 13:53:49
ปฏิรูปปกครองลาวฝั่งขวา ?ให้ใช้สัญชาติสยามเท่านั้น?
 ?ราชอาณาจักรล้านช้างแต่ดั้งเดิมที่กว้างใหญ่ไพศาล อุดมสมบูรณ์ เข้มแข็ง เป็น เอกภาพ แต่ได้แบ่งแยกออกเป็น 3 แผ่นดินหรือ 3 อาณาจักรเพราะคนลาวเอง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1707 (พ.ศ.2250) ครั้นต่อมาถึง ค.ศ.1779 (พ.ศ.2322) ก็ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยามพร้อมกันทั้ง 3 อาณาจักร และครั้นต่อมาถึงปี ค.ศ.1893 (พ.ศ.2436) ก็ได้ถูกแบ่งแยกออกเป็น 2 ฝ่าย โดยทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอันมีพื้นที่ประมาณ 143,000 ตารางกิโลเมตร และเต็มไปด้วยภูผาป่าไม้และหุบเหว ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส ฝ่ายฝั่งขวาของแม่น้ำโขง อันมีพื้นที่ประมาณ 200,000 กว่าตารางกิโลเมตร และ เป็นที่ราบสูงกว้างขวาง พลเมืองหนาแน่น ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของประเทศสยามตามเดิม แต่สยามเรียกว่า ?สัญชาติลาวในบังคับสยาม? อยู่ ครั้นต่อมาอีก 6 ปีคือถึงปี ค.ศ.1899 ลาวทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงจึงได้กลายเป็นสัญชาติสยาม...? 1 ถ้อย คำข้างต้นนี้ คล้ายเสียงโอดโอยต่อชะตากรรมในประวัติศาสตร์ของชนชาติลาว จนสะท้อนออกในงานศิลปวรรณคดีหลายเรื่อง รวมทั้งบทขับร้องฟ้อนรำที่จะต้องขึ้นต้นด้วยคำว่า ?โอย? หรือ ?โอ้ละนอ...? กลับมาดูด้านพระราชอาณาจักรสยาม! หลังจากเสียดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสแล้ว 1 ปีต่อมามีการ เปลี่ยนแปลงระเบียบการปกครองภายในประเทศเสียใหม่ โดยจัดแบ่งเป็น ?มณฑล? ทั้ง หมดทั่วประเทศสยามจัดเป็น 8 มณฑล ในจำนวนนั้นเป็นมณฑลหัวเมืองลาวทางฝั่งขวา แม่น้ำโขงที่อยู่กับราชอาณาจักรสยามรวม 3 มณฑลคือ 1. มณฑลลาวพวน ประกอบด้วย 12 หัวเมือง คือเมืองหนองคาย เมืองโพนพิสัย เมืองท่าอุเทน เมืองนครพนม เมืองมุกดาหาร เมืองสกลนคร เมืองหนองหาน เมือง กมุทาสัย (หนองบัวลำภู) เมืองขอนแก่น เมืองชนบท เมืองหล่มสัก และเมืองชัยบุรี (ปัจจุบันเป็นตำบลอยู่ในอำเภอท่าอุเทน) รวมทั้งเมืองขึ้นของเมืองเหล่านี้ 2. มณฑลลาวกาว ประกอบด้วย 13 หัวเมืองและเมืองขึ้นของเมืองเหล่านั้น หัว เมืองทั้ง 13 คือ เมืองนครจำปาสัก เมืองอุบลราชธานี เมืองเขมราฐ เมืองยโสธร เมืองสุวรรณภูมิ เมืองศรีสะเกษ เมืองสุรินทร์ เมืองสังขะ เมืองขุขันธ์ เมืองกมลาสัย เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง และเมืองมหาสารคาม 3. มณฑลลาวกลาง ประกอบด้วยเมืองนครราชสีมา เมืองพิมาย เมืองปักธงชัย เมืองจันทึก เมืองนางรอง เมืองบุรีรัมย์ เมืองประโคนชัย เมืองพุทไธสง เมืองรัตนบุรี เมืองชัยภูมิ เมืองภูเขียว เมืองเกษตรสมบูรณ์ และเมืองจตุรัส มณฑล ลาวพวน แต่ก่อนตั้งสำนักว่าราชการของข้าหลวงใหญ่อยู่เมืองหนองคาย ต่อมาย้ายมาตั้งอยู่บ้านหมากแข้ง คือเมืองอุดรธานีในปัจจุบัน ส่วนมณฑลลาวกาวตั้งสำนักอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี และมณฑลลาวกลางตั้งสำนักว่าราชการอยู่ที่เมืองนครราชสีมา การ ปกครองหัวเมืองลาวสมัยนั้นยังคงเป็นไปตามประเพณีการปกครองของลาวแต่โบราณ ข้าหลวงใหญ่ที่ส่งมาจากกรุงเทพฯ แรกๆ อาจไม่ได้แสดงอำนาจหน้าที่ด้าน การปกครองชัดเจนนัก เพียงแต่คอยกำกับดูแลและสอดส่องความเคลื่อนไหวให้อยู่ใน ความสงบเรียบร้อย แต่ต่อมามีการตัดสินโทษพวกโจรผู้ร้ายถึงขั้นสั่งให้ประหารชีวิต ทำให้อำนาจการปกครองของข้าหลวงใหญ่ค่อยๆ ชัดเจนขึ้น ขณะเดียวกันเจ้านายท้องถิ่น ก็เริ่มรู้สึกว่าถูกลดทอนอำนาจลงไป นอกจากนี้ยังมี การเก็บเงินส่วยจากชายฉกรรจ์อัตราคนละ 3 บาท 50 สตางค์ต่อปี ส่วนการศึกษาในสมัยนั้นก็ยังอาศัยวัดเป็นสำคัญ คือมีการบวชเรียนอักษรธรรมและ อักษรลาว (หรือที่เรียกว่าอักษรไทยน้อย) เนื่อง จากรัฐบาลสยามยังไม่มีโรงเรียนสอนอักษรไทย เว้นแต่ลูกหลานเจ้านายผู้ครองนคร จึงจะมีโอกาสฝากฝังลงไปเรียนหนังสือในกรุงเทพฯ กับเจ้านายส่วนกลาง ส่วนระเบียบราชการก็เป็นไปตามแบบแผนลาวโบราณ คือเมืองหนึ่งก็ให้มีเจ้าเมือง อุปราช ราชวงศ์ ราชบุตร ตามลำดับ ชื่อบรรดาศักดิ์ (นามยศ) ก็ยังใช้ตามเดิม เช่นซาเนตร ซานนท์ เมืองแสน เมืองจันทน์ เมืองปาก เมืองแพน หรือ ท้าวสุทธิสาร ท้าววรบุตร เป็นต้น พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาวพระองค์แรก ต่อมาถึงปี ค.ศ. 1897 (พ.ศ.2440) หลังเสียดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสแล้ว 3-4 ปี พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพประสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่มณฑลลาวกาว ซึ่งประทับอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี จึงได้ออกประกาศเปลี่ยนแปลงแบบแผนธรรมเนียมราชการเสียใหม่ เจ้าเมือง ให้เรียกว่า ผู้ว่าราชการเมือง อุปราช ให้เรียกว่าปลัดเมือง ราชวงศ์ ให้เรียกว่ายกกระบัตร ราชบุตร ให้ เรียกว่าผู้ช่วยราชการเมือง ส่วนบรรดาศักดิ์ก็เปลี่ยนแปลงไปตามธรรมเนียมแบบแผนของสยาม ตัวอย่างกรมการเมืองของเมืองอุบลราชธานีเมื่อปี พ.ศ.2440 มีทำเนียบข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่สำคัญ 4 ตำแหน่งคือ (1) ท้าวโพธิสาร (เสือ ณ อุบล) เป็นพระอุบลเดชประชารักษ์ ผู้ว่าราชการเมือง (2) ท้าวไชยกุมาร (กุคำ สุวรรณกูฏ) เป็นพระอุบลศักดิ์ประชาบาล ยกกระบัตรเมือง (3) ท้าวสิทธิสาร (บุญชู พรหมวงศานนท์) เป็นพระอุบลการประชานิตย์ ปลัดเมือง และ (4) ท้าวบุญเพ็ง บุตโรบล เป็นพระอุบลกิจประชากร ผู้ช่วยราชการเมือง ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร ศักดินาท่านละ 1,000 ไร่ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาว พ.ศ.2436 -2453 บันทึกซ้ำไว้ตรงนี้ เพื่อให้เรื่องราวต่อเนื่องกันตามยุคสมัยและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในบ้านเมือง กล่าวคือ : หลังจากราชอาณาจักรสยามเสียดินแดนลาวฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ให้แก่ฝรั่งเศสแล้ว เป็นเวลา 5-6 ปี คือในปี พ.ศ.2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระ ราชดำริว่า... ?...ลักษณะการปกครองแบบเดิมนิยมให้เป็นประเทศอย่างราชาธิราช (Empire) อันมีเมืองคนต่างชาติเป็นเมืองขึ้นอยู่ในพระราชอาณาเขต จึงถือว่าเมืองชายพระราชอาณาเขต 3 มณฑล นั้นเป็นเมืองลาว และเรียกชาวเมืองซึ่งอันที่จริงเป็นชนชาติไทยว่าลาว แต่ลักษณะการปกครองอย่างนั้นพ้นเวลาอันสมควรแล้ว ถ้าคงไว้จะให้โทษแก่บ้านเมือง จึงทรงพระราชดำริให้แก้ไขลักษณะการปกครอง เปลี่ยนเป็นอย่างพระราชอาณาเขต (Kingdom) ประเทศไทยรวมกัน...?2 วันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ.2442 จึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ประกาศให้เมืองนคร จำปาสัก เมืองอุบลราชธานี เมืองศรีสะเกษ และหัวเมืองอื่นๆ ซึ่งรวมเรียกว่ามณฑลลาว กาวนั้น ให้เรียกว่ามณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ3 ใน ส่วนของอาณาประชาราษฎรยังมีความรู้สึกว่าตนเป็นเองนั้นเป็นลาว เป็นเขมร เป็นส่วย เป็นผู้ไท ฯลฯ อยู่ เพราะมีความผูกพันกับกรุงเทพฯ น้อย พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์จึงโปรดให้มีสารตราสั่งเป็นทางการโดยทั่วไปว่า ?...แต่ นี้สืบไปให้เจ้าหน้าที่แต่ละแผนกทุกหัวเมืองใหญ่น้อยในมณฑลตะวัน ออกเฉียงเหนือ เมื่อจะมีการสำรวจสำมะโนครัว หรือหากมีราษฎรมาติดต่อที่จะใช้แบบ พิมพ์ทางราชการ ให้ปฏิบัติใหม่โดยกรอกในช่องสัญชาตินั้นว่า ?ชาติไทยในบังคับสยาม? ทั้งสิ้น ห้ามมิให้ลงหรือเขียนในช่องสัญชาติว่า ชาติลาว ชาติเขมร ส่วย ผู้ไท ฯลฯ ดังที่ เคยปฏิบัติมาแต่ก่อนเป็นอันขาด...?