?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
14 พฤษภาคม 2567, 11:47:12 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
  หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

  แสดงกระทู้
หน้า: 1 ... 65 66 [67] 68 69 ... 73
991  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์รวมจังหวัดอุบลราชธานี,ศรีสะเกษ,ยโสธร,อำนาจเจริญและมุกดาหาร / หลวงปู่ดี ฉันโน วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 15 มกราคม 2554, 12:27:59
พระอาจารย์ดี ฉนฺโน ศิษย์แห่งองค์หลวงปู่เสาร์


พระอาจารย์ดี ฉนฺโน เป็นบุตรคนที่ ๒ ในจำนวน ๙ คน ของหลวงอินทร์ และแม่จันทรา วงศ์เสนา เกิดที่บ้านกุดน้ำใส อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ปีมะโรง พ ศ. ๒๔๓๕

ประมาณ พ ศ.๒๔๕๒ ครอบครัวของบิดาได้ย้ายไปตั้งหลักแหล่งอยู่ที่บ้านกุดแห่ อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร จึงจัดเป็นตระกูลที่เก่าแก่หลักบ้านหลักเมืองตระกูลหนึ่ง

พระอาจารย์ดี เคยบรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุ ๑๖ ปี จนถึงอายุ ๑๘ ปี ได้ลาสิกขาออกมาช่วยงานทางบ้าน พออายุ ๒๐ ปี ได้แต่งงานกับนางมี กาฬสุข อยู่ด้วยกัน ๓ ปี ไม่มีบุตร ได้หย่าร้างกัน

หลังจากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกาย โดยมีพระธรรมบาล วัดบ้านกุดมะฮง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อ พ ศ. ๒๔๕๗ แล้วมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีบุญเรืองท่าแขก บ้านกุดแห่ จนได้เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ เป็นพระเถระนับพรรษาได้ ๒๔ พรรษา

วัดกุดแห่ ในสมัยพระอาจารย์ดี นั้นเป็นวัดที่ได้ชื่อว่าเจริญที่สุดในถิ่นนั้น มีศาลาโรงธรรมที่มีเสาใหญ่ที่สุด วัดโดยรอบได้ ๑ เมตร มีถึง ๓๖ ต้น

ท่านสร้างหอไตรที่มีลวดลายวิจิตรสวยงาม ทั้งประดิษฐ์ธรรมาสน์แบบไทยเดิม สร้างกุฏิใหญ่ ๒ หลัง เพราะท่านมีความชำนาญในทางช่างไม้ ช่างก่อสร้าง แกะสลัก เขียนภาพ ช่างเหล็ก ช่างปูน ช่างปั้นดินเผา ช่างเครื่องหนัง (เช่น ทำเข็มขัด อานม้า รองเท้า กระเป๋าหนัง เป็นต้น อีกทั้งมีความรู้ทางว่านยาแผนโบราณ เก่งทั้งทางคาถาอาคม เชี่ยวชาญในการปราบผีทุกชนิด จนชาวบ้านตั้งฉายาว่า ?อาจารย์ดี ผีย่าน? (ย่าน คือ กลัว) อีกทั้งเทศนาโวหารก็เฉียบคม ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังไปไกลมีลูกศิษย์ลูกหามาก

ในปี พ ศ ๒๔๖๙ มีเหตุการณ์สำคัญของพระอาจารย์ดี ที่ทำให้กองทัพธรรมสายของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น มีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความศรัทธาอย่างสูง

  
พระอาจารย์เกิ่ง
 
 พระอาจารย์สีลา
 
เหตุการณ์ที่ว่านี้เป็นเพราะพระเถระที่ชาวบ้านศรัทธามาก ๓ องค์ได้ขอญัตติเป็นพระฝ่ายธรรมยุต ติดตามปฏิบัติธรรมไปกับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้แก่ พระอาจารย์ดี ฉนฺโน พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร

ในปี พ ศ. ๒๔๖๙ หลวงปู่ใหญ่ และคณะพักจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านดงยาง อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี ศิษย์อาวุโสองค์อื่นๆ แยกพักจำพรรษาในที่ต่างๆ ส่วนพระอาจารย์มั่นออกเดินธุดงค์ไปที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร

 พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ทั้งสององค์ได้ยินกิตติศัพท์ทางธรรมของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ และหลวงปู่มั่น ก็มีความสนใจ พอทราบว่าหลวงปู่มั่น มาพักที่บ้านหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ สกลนคร พระอาจารย์เกิ่ง จึงได้ชวนพระอาจารย์สีลา พร้อมพระเณรถูกวัดไปฟังเทศน์และสนทนาไต่ถามปัญหาข้ออรรถธรรมที่สงสัยค้างคาใจต่างๆ พร้อมทั้งสังเกตข้อวัตรของหลวงปู่มั่นอย่างใกล้ชิด จนเกิดความอัศจรรย์ใจในข้ออรรถข้อธรรมและจริยาวัตรของท่าน ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใส

พระอาจารย์เกิ่ง ได้นิมนต์หลวงปู่มั่น ให้ไปโปรดญาติโยมและพักจำพรรษาที่บ้านสามผง ถิ่นที่พำนักของท่าน พร้อมทั้งขอถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ปฏิบัติธรรมใกล้ชิด จนเกิดผลประจักษ์ทางใจอย่างที่ไม่เคยได้สัมผัสรับรู้มาก่อน

พระอาจารย์เกิ่ง อธิมุตฺตโก ในเวลานั้นอายุพรรษาถึง ๑๙ พรรษาแล้ว เป็นพระเถราจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่เคารพนับถือของประชาชนแถบลุ่มแม่น้ำสงคราม ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิชัย บ้านสามผง ตำบลสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นเจ้าสำนักเรียนนักธรรมและบาลี และเป็นครูใหญ่ท่านแรกของโรงเรียนประถมศึกษาแห่งตำบลสามผง ที่ตั้งอยู่ในวัดนี้ด้วย

ส่วนพระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ท่านเป็นสหธรรมิกกับองค์แรก เป็นชาวสกลนคร อายุพรรษา ๑๗ พำนักอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย (คนละแห่งกับพระอาจารย์เกิ่ง) ตำบลวาใหญ่ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ในที่สุดพระอาจารย์เกิ่ง และ พระอาจารย์สีลา อิสฺสโร ได้ตัดสินใจสละตำแหน่งและลาภยศต่างๆ ทั้งหมด แล้วขอญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ในเดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๖๙  พร้อมกับลูกศิษย์พระเณรก็ขอญัตติตามหมดทั้งวัด จำนวนพระภิกษุสามเณรที่ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุตที่บ้านสามผงในครั้งนั้นมีประมาณ ๒๐ รูป รวมทั้งสามเณรสิม วงศ์เข็มมา (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร วัดถ้ำผาปล่อง อ เชียงดาว จ เชียงใหม่) ที่มาจากวัดศรีรัตนาราม บ้านบัว ต.สว่าง อ พรรณานิคม จ สกลนครด้วย

ส่วนพระอาจารย์ดี ในปีนั้นท่านได้ดั้นด้นบุกป่าดงออกเสาะหาของดีของขลังมาถึงบ้านสามผง ได้รู้กิตติศัพท์เกี่ยวกับหลวงปู่มั่น จึงเข้าไปกราบขอฟังธรรมและปฏิบัติธรรมด้วย จนประจักษ์ผลทางใจอย่างน่าอัศจรรย์ ในที่สุดก็ขอสละตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านกุดแห่ หรือ วัดศรีบุญเรือง ท่าแขก ที่โด่งดังในสมัยนั้น และได้ออกธุดงค์ติดตามคณะกองทัพธรรม ไป จนได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๐ ที่วัดสร่างโศก หรือวัดศรีธรรมาราม จังหวัดยโสธร ในปัจจุบัน และเป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่ใหญ่เสาร์จนถึงวาระสุดท้ายของหลวงปู่ใหญ่ท่าน

ในพรรษานั้นจึงเป็น การประกาศธรรมชนิดพลิกแผ่นดินที่บ้านสามผง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ทำให้ชื่อเสียงของหลวงปู่ใหญ่เสาร์ กนฺตสีโล และ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมทั้งกิตติศัพท์ของกองทัพธรรมพระกรรมฐาน ลือเลื่องกระเดื่องไกล เป็นที่อัศจรรย์ร่ำลือของผู้คนในแถบนั้น ถึงกับว่า หลวงปู่ทั้งสององค์ เป็นพระผู้วิเศษที่ทำให้พระดังถึงสามองค์ยินยอมถวายตัวเป็นศิษย์ได้

หลังจากนั้น พระอาจารย์ดี ก็ได้เป็นกำลังสำคัญช่วยเผยแผ่ธรรมปฏิบัติในกองทัพธรรมพระกรรมฐานตลอดภาคอิสาน รวมถึงฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงอีกด้วย

ออกพรรษาแล้ว พระอาจารย์มั่นก็ได้พาคณะเดินทางมาที่บ้านโนนแดง อำเภอท่าอุเทน (ปัจจุบันอยู่ในกิ่งอำเภอนาหว้า) จังหวัดนครพนม พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณรประมาณ ๗๐ รูป และ ได้มีการประชุมหารือกันในเรื่องที่จะไปเผยแพร่ธรรมและไปโปรดเทศนาญาติโยมที่เมืองอุบล และได้วางระเบียบการปฏิบัติเกี่ยวกับการอยู่ป่า เกี่ยวกับการตั้งสำนักปฏิบัติ เกี่ยวกับแนวทางแนะนำสั่งสอนปฏิบัติจิต เพื่อให้คณะศิษย์นำไปปฏิบัติให้เป็นระเบียบเดียวกัน จากนั้น ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ปรารภเรื่องจะนำโยมมารดาท่านซึ่งบวชเป็นชี ไปส่งมอบให้น้องสาวท่านที่จังหวัดอุบลช่วยดูแล เพราะท่านเห็นโยมแม่ท่านชรามาก อายุ ๗๘ ปีแล้ว เกินความสามารถท่านผู้เป็นพระจะปฏิบัติได้แล้ว พระอาจารย์สิงห์ อาจารย์มหาปิ่น ต่างก็รับรองเอาโยมแม่ท่านไปส่งด้วย เพราะโยมแม่ของพระอาจารย์แก่มากหมดกำลัง ต้องไปด้วยเกวียนจึงจะไปถึงเมืองอุบล ฯ ได้

หลังจากที่พระอาจารย์ดีได้เข้ารับฟังธรรมและได้อยู่ปฏิบัติธรรมกับพระอาจารย์มั่นอยู่ระยะหนึ่งแล้วก็ได้กลับไปอยู่ที่วัดกุดแห่ ที่เป็นบ้านเกิดดังเดิม และได้อบรมธรรมปฏิบัติให้กับชาวบ้านกุดแห่แต่ก็ได้เกิดปัญหาบางประการขึ้นคือ เมื่อท่านได้สอนธรรมข้อปฏิบัติให้ญาติโยมทั้งหลายไปแล้ว แต่ญาติโยมบางคนเมื่อปฏิบัติแล้วได้เกิดวิปัสสนูกิเลส มีอันเป็นไปต่าง ๆ บางพวกออกจากการภาวนาเดินไปถึงสี่แยก เกิดเข้าใจเอาว่าเป็นทางเดินของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้า พวกนี้จะพากันคุกเข่ากราบไหว้อยู่ที่นั่นเป็นเวลานานจึงได้ลุกเดินไปบ้าง พอไปถึงสี่แยกหน้าก็เข้าใจผิด และปฏิบัติเช่นนี้อีกเรื่อย ๆ บางคนลุกจากภาวนาได้ ก็ถอดผ้านุ่งผ้าห่มออกจนหมด เดินฝ่าญาติโยมที่นั่งภาวนาอยู่ด้วยกัน จนเกิดโกลาหลกันยกใหญ่ มีญาติโยมบางคนกราบไหว้พระอาจารย์ดี ให้ท่านช่วยไปแก้ไขให้ ท่านก็มิรู้จะแก้ได้อย่างไร เป็นเหตุให้กระวนกระวายใจมาเกือบปีแล้ว

เผอิญในช่วงนั้นเป็นช่วงที่พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ซึ่งได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่นไปส่งโยมมารดาท่านพระอาจารย์มั่นกลับเมืองอุบล ได้เดินทางมาเยี่ยมพระอาจารย์ดี ฉนฺโนที่บ้านกุดแห่ เมื่อไปถึงพระอาจารย์ดี ก็ได้ต้อนรับขับสู้พระอาจารย์ฝั้นอย่างแข็งขัน จากการถามทุกข์สุข พระอาจารย์ดีได้แสดงความวิตกกังวลต่อพระอาจารย์ฝั้นเรื่องที่ชาวบ้านเกิดปัญหาในการปฏิบัติธรรมที่กล่าวข้างต้น จึงขอความกรุณาให้พระอาจารย์ฝั้นช่วยแก้ไขให้ด้วย พระอาจารย์ฝั้นตรองหาทางแก้ไขอยู่ไม่นานนักก็รับปาก พระอาจารย์ดีจึงให้เณรเข้าไปป่าวร้องในหมู่บ้าน ให้บรรดาญาติโยมไปฟังธรรมโอวาทของพระอาจารย์ฝั้นที่วัดในตอนค่ำ

ถึงเวลานัด ญาติโยมทั้งหลายก็หลั่งไหลเข้าไปในวัด เริ่มแรก พระอาจารย์ฝั้นให้ญาติโยมเหล่านั้นยึดพระไตรสรณคมน์เป็นที่พึ่ง เมื่อบูชาคุณพระรัตนตรัยแล้ว ท่านได้เริ่มเทศนาให้รู้จักแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง เมื่อญาติโยมเข้าใจวิธีแก้แล้ว ท่านจึงนำเข้าที่ภาวนา เมื่อเห็นผู้ใดกำหนดจิตไม่ถูกต้อง ท่านก็เตือน ขณะเดียวกันท่านก็กำหนดจิตติดตามกำกับจิตของญาติโยมเหล่านั้นไปเรื่อย ๆ ญาติโยมที่เคยกำหนดจิตหลงทาง ต่างก็กลับมาเดินถูกทางไปทั้งหมด พอเลิกจากการภาวนา ต่างก็สาธุการ และแซ่ซ้องยินดีโดยทั่วกัน พากันกราบไหว้เคารพว่า ท่านอาจารย์ช่างเข้าใจวิธีแก้ได้เก่งมาก หากไม่ได้ท่าน พวกเขาอาจถึงกับเสียจริตไปก็ได้

พระอาจารย์ฝั้นได้นำพวกญาติโยมภาวนาติดต่อกันไปถึง ๔ ? ๕ คืน เมื่อเห็นว่าต่างก็เดินถูกทางกันแล้ว ท่านก็กลับมากราบเรียนพระอาจารย์มั่นที่บ้านหนองขอน ให้ทราบเรื่องราวที่ได้ปฏิบัติไป

ในครั้งนั้น เมื่อท่านพระอาจารย์ดีทราบข่าวว่า พระอาจารย์มั่นกำลังเดินทางสู่จังหวัดอุบลราชธานีเพื่อส่งโยมมารดาท่านกลับบ้านเกิด และอยู่โปรดชาวจังหวัดอุบลในแถบนั้น ก็ได้เดินทางตามพระอาจารย์มั่นมา และได้อยู่ที่จังหวัดอุบล จนกระทั่งออกพรรษาแล้วประมาณเดือน ๓ หรือเดือน ๔ ท่านพระอาจารย์มั่นก็ได้ออกเดินทางต่อไปยังกรุงเทพฯ กับเจ้าคุณพระปัญญาพิศาลเถระ จำพรรษาที่วัดสระปทุม และออกพรรษาแล้ว ก็ได้ติดตามพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) ไปจำพรรษายังจังหวัดเชียงใหม่ โดยก่อนจะไปกรุงเทพฯ ท่านพระอาจารย์มั่นก้ได้เรียกประชุมคณะศิษยานุศิษย์แล้วได้มอบหมายให้อำนาจ หลวงปู่สิงห์และท่านมหาปิ่น เป็นผู้บริหารปกครองแนะนำพร่ำสอนตามแนวทางที่ท่านได้แนะนำมาแล้วต่อไป

992  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่คำสิงห์ สุภัทโธ วัดสิงหารินทราราม หนองคาย เทพเจ้าแห่งบึงโขงหลง เมื่อ: 14 มกราคม 2554, 22:50:06
 ครับท่านหลวงปู่คือเพชรแท้ที่หาพระแบบท่านได้ยากยิ่งในปัจจุบัน รอคุณ meaw เล่าเรื่องหลวงปู่นะครับ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
993  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านทอง สุวัณโณ / Re: พระครูศาสนกิจจาทร หลวงปู่ญาท่านทอง วัดบ้านหัวเรือ บูรพาจารย์ศิษย์แห่งสำเร็จลุน เมื่อ: 14 มกราคม 2554, 21:52:39
  สวยงามและสมบูรณ์มากจริงๆครับอาจารย์ องค์นี้สวยสุดตั้งแต่เคยเห็นมาเลยครับและหายากกว่าเหรียญรุ่นแรกของหลวงปู่อีกนะครับ ยอดเยี่ยมครับ ท่านหามาได้อย่างไรครับเนี่ย  
994  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: เปิดเผยความลับที่นึ้เป็นที่แรก เรื่อง รูปหลวงปู่เสาร์ กันตสีรเถร เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 20:06:03
ขอบคุณน้องกันตสีโล ที่ให้ข้อมูลดีๆครับ แต่พี่ก็ยังงอยู่ดีครับ ถ้าทั้งสองภาพเป็นหลวงปู่คนละองค์ทำไมท่านจึงดูคล้ายกันนักครับ แถมรอยตีนกาเหมือนกันอีกต่างหาก งงครับท่าน Thanks ครับ
995  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 19:54:19
คุณน้องกันตสีโล ถ้าน้องไม่โพสต์ถามพี่ก็คงไม่ได้ลงประวัติให้หลวงปู่ซักทีครับ มาร่วมด้วยช่วยกันเผยแพร่จัดรวบรวมประวัติพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่เรานับถือครับ สมาชิกทุกท่านก็เปรียบเสมือนพี่น้องที่มีอุดมการณ์เดียวกันทั้งนั้นครับ ส่วนเรื่องห้องบูรพาจารย์สายหลวงปู่มั่น-เสาร์เคยคิดจะทำไว้แต่กลัวทับซ้อนกับห้องของอริยสงฆ์อีสานครับ ยังไงจะรับไว้ปรึกษากับทางทีมงานอีกทีนะครับ แต่ถึงแม้จะยังไม่แยกห้องก็โพสต์ได้นะครับโพสต์ในอริยสงฆ์ภาคอีสานเลยครับ
996  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: เด็กใหม่หัดโพส๏๛ (พระที่เก็บๆไว้ครับผม) เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 14:31:20
สวยจังครับ
997  ห้องพระ / พระคณาจารย์อริยสงฆ์ทั่วประเทศ / Re: เปิดเผยความลับที่นึ้เป็นที่แรก เรื่อง รูปหลวงปู่เสาร์ กันตสีรเถร เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 14:00:58
ขอบคุณพี่ก๋วยเจ๊งที่แสดงความคิดเห็นครับ แสดงว่าพี่ดูว่าไม่ใช่องค์หลวงปู่เสาร์เหรอครับ สมาชิกท่านใดรู้ช่วยไขปัญหาให้ทีครับ ว่ารูปด้านบนใช่องค์หลวงปู่เสาร์หรือเปล่าครับ ผมว่ารอยตีนกาท่านเหมือนกันมากดั่งพี่ therdsak_eng ว่านะครับ แสดงความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์ ไม่มีเจตนาอื่นนะครับ อนุโมทนาด้วยครับ /color]
998  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน / Re: หลวงปู่ญาท่าน(สำเร็จ)ตัน วัดสิงหาญ อ.ตระการพืชผล จ.อุบลราชธานี เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 11:36:08
ยอดเยี่ยมครับและขอบคุณมากครับที่คุณกันตสีโลนำมาลงให้ ผมตามหาและค้นคว้าประวัติของหลวงปู่ญาท่านตันมานาน ยังไม่คืบหน้าสักเท่าไหร่ครับ ก็มีเพียงเรื่องราวของท่านที่ว่าไว้ในหนังสือประวัติหลวงปู่โทนที่ คุณกันตสีโล นำมาลงให้นี่แหละครับ หลวงปู่ญาท่านตันท่านเป็นศิษย์รุ่นน้องของหลวงปู่ญาท่านกัมมัฏานแพงและหลวงปู่ญาท่านตู๋ครับ อายุของท่านนั้นจะมากกว่าหลวงปู่โทนอยู่หน่อยแต่ก็ถือว่าเป็นรุ่นเดียวกันหรือสหธรรมกันครับ ผู้ใดรู้เรื่องราวของท่านช่วยเผยแพร่เป็นวิทยาทานหน่อยครับ
999  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 11:01:11
ภาพงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูศรีสุตาภรณ์ ครับ วันที่ 5 มีนาคม 2520
 
1000  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 10:54:50
ธรรมพระไตรสรณคมน์ แบบของหลวงพ่อพระครูศรีสุตาภรณ์
1001  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 10:45:58
คิดถึงความหลังโดยท่าน ดร.ปรีชา พิณทอง(อดีตเจ้าคุณพระศรีธรรมโศภณ ปรีชา ป.9)
1002  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 13 มกราคม 2554, 10:19:59
ประวัติพระครูศรีสุตาภรณ์ คัดลอกจากหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ วันที่ 5 มีนาคม 2520
1003  ห้องพระ / พรครูศรีสุตาภรณ์ / Re: พระครูศรีสุตาภรณ์ พ่อท่านศรีแห่งเขื่องในครับผม เมื่อ: 12 มกราคม 2554, 23:05:37
ที่ท่านกันตสีโลกล่าวมาล้วนแล้วแต่เป็นศิษย์สายของหลวงปู่มั่น-เสาร์ที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดีเพราะท่านเหล่านั้นมีการจัดทำประวัติเพื่อเผยแพร่อย่างเป็นระบบ แต่ก็ยังมีพ่อแม่ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่น-เสาร์มากมากมายในจังหวัดอุบลนะครับที่ยังไม่มีการเผยแพร่ประวัติท่านอย่างเป็นระบบ ย้ำว่ายังมีอีกมากครับ อาทิหลวงปู่ทอง อโสโต หลวงปู่สาย และองค์อื่นๆอีกมากมายรวมทั้งหลวงปู่ศรีด้วยครับ เพียงแต่ว่ายังไม่มีผู้ใดเผยแพร่และจัดทำประวัติท่านอย่างจริงๆจังๆและเป็นระบบครับ และก็ไม่เพียงแต่ในอุบลนะจังหวัดอื่นๆก็มีศิษย์สายลป.มั่น-ลป.เสาร์ที่ยังไม่มีการรวบรวมประวัติท่านอย่างเป็นระบบอีกมากครับ ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเผยแพร่ประวัติของหลวงปู่ศรี หลวงปู่ศรีท่านเข้าถวายตัวเป็นศิษย์และศึกษาปฏิบัติทางฝ่ายวิปัสสาธุระกับหลวงปู่มั่น ในปี พ.ศ.2461 ครับถือว่าท่านอยู่ในกลุ่มศิษย์ยุคต้นหรือเปล่าละครับ ติดตามชมนะครับ
1004  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านทา นาควัณโณ / Re: หลวงปู่ทา นาควัณโณ วัดศรีสว่างนาราม โพธิไทร จ.อุบลราชธานี(ศิษย์หลวงปู่ญาท่านตู๋) เมื่อ: 12 มกราคม 2554, 21:35:14
วัตถุมงคล รุ่น กำบังภัย ของท่านครับ
1005  ชมรมสืบสานตำนานบูรพาจารย์สายสำเร็จลุน / หลวงปู่ญาถ่านทา นาควัณโณ / หลวงปู่ทา นาควัณโณ วัดศรีสว่างนาราม โพธิไทร จ.อุบลราชธานี(ศิษย์หลวงปู่ญาท่านตู๋) เมื่อ: 12 มกราคม 2554, 21:25:52
หลวงปู่ทา นาควัณโณ บูรพาจารย์ศิษย์สายสำเร็จลุน ศิษย์รุ่นสุดท้ายแห่งหลวงปู่ญาถ่านตู๋
หลวงปู่ทา นาควัณโณ เดิมชื่อ ทา เทพคุ้ม เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2475 ณ บ้านพะไล อ.โพธิ์ไทร จ.อุบลราชธานี บรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่อายุ 12 ปี พร้อมทั้งร่ำเรียนกับพระอาจารย์ตุ๋นานถึง 3 ปี จากนั้นจึงได้ติดตามพระอาจารตุ๋ธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2492 อีกทั้งพระอาจารย์ตุ๋ยังได้พาท่านไปฝากตัวเป็นลูกศิษย์กับหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่ เพื่อศึกษาวิชากรรมฐาน รวมถึงพระเกจิอื่นๆ อีกหลายรูปเพื่อศึกษาวิชาอาคม ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาท่ามุ่งแต่ปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัดตามแนวทางสายสำเร็จลุ
นและญาท่านตุ๋จนเป็นที่ยอมรับและให้ความเคารพของประชาชน รวมถึงเป็นที่พึ่งทางใจจนคนโพธิ์ไทรกล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่า ?หลวงปู่ทาคือที่พึ่งทางใจ เป็นเทพเจ้าของชาวโพธิ์ไทร? ท่านได้ใช้วิชาต่างๆ ที่ท่านร่ำเรียนมาปัดเป่าช่วยเหลือคลายทุกข์ให้กับชาวบ้านอย่างเต็มความสามารถเท่าที
่จะสงเคราะห์ได้ หากเรื่องใดที่ท่านสามารถช่วยเหลือได้ท่านก็จะช่วยเหลือทันที โดยไม่มีการรีรอและแบ่งชั้นวรรณะแต่หากเรื่องใดที่เกินความสามารถของท่าน ท่านก็จะให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดีกับผู้ที่เดือดร้อน เรียกได้ว่าไปหาท่านครั้งใดกลับออกมาย่อมมีแต่ความสบายใจคลายทุกข์ นับเป็นพระสงฆ์ที่ควรค่าแก่การกราบไหว้อย่างแท้จริงในปัจจุบัน
หน้า: 1 ... 65 66 [67] 68 69 ... 73
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!