คมชัดลึก :?อักษรธรรมลาว? เป็นอักษรที่คนโบราณในภาคอีสานใช้จารึกเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับความศักดิ์สิทธิ์ หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนา จารึกสรรพวิชา ตลอดจนจารึกขนบธรรมเนียมประเพณีมาเป็นเวลายาวนาน เราสามารถพบการจารึกอักษรธรรมลาวแบบนี้ได้ตามคัมภีร์ใบลานเก่าๆ ที่เรียกว่า ?หนังสือผูก?
พระเกจิอาจารย์ในภาคอีสานรูปหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญอักษรธรรมลาว คือ ?พระครูวิบูลย์นวกิจ? หรือ ?หลวงปู่คำบุ คุตตจิตโต? เจ้าอาวาสวัดกุดชมภู ต.กุดชมพู อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เป็นพระสงฆ์ที่เล่าขานกันว่า "ทรงคุณพุทธาคมเข้มขลัง"
ในช่วงที่หลวงปู่คำบุท่านออกธุดงค์ ท่านได้ไปร่ำเรียนวิชามาจากพระเกจิอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ของ ?ญาท่านกรรมฐานแพง? แห่งวัดสะเพือ อ.พิบูลมังสาหาร วิชาที่ท่านชำนาญและเชี่ยวชาญเป็นอย่างมากคือ ?การจารอักขระ อักษรธรรมลาว? ทั้งนี้ท่านทำพิธีลงเหล็กจารบนแผ่นหลังของผู้ที่ศรัทธา โดยลูกศิษย์มีคติความเชื่อว่าเป็น ?เมตตามหานิยมและวิชาทางคงกระพันชาตรี?
การลงเหล็กจารบนแผ่นหลังของหลวงปู่คำบุ จะไม่เหมือนกับการสักยันต์ เพราะการสักยันต์คือการนำเข็มสักจุ่มหมึกสัก และสักลงบนพื้นที่ที่จะสักเป็นจุดๆ ต่อเนื่องกันไปจนเกิดเป็นตัวอักขระ แต่การลงเหล็กจารจะเป็นการนำเหล็กปลายแหลมเขียนลงไปในบริเวณที่ต้องการเขียน
ทุกวันนี้ หากหลวงปู่ไม่มีกิจนิมนต์นอกวัด จะมีบรรดาผู้ศรัทธาในความขลังแวะเวียนเข้าไปให้ท่านลงเหล็กจารบนหลังมากมาย ในบางวันก็ต้องว่ากันตั้งแต่หลังเพลไปจนถึงสามสี่ทุ่ม จนกว่าจะหมดคน หลายต่อหลายคนเป็นผู้ที่มาลงครั้งแรก และอีกหลายต่อหลายคนที่วนเวียนมาลงโดยตั้งใจว่าจะต้องครบ ๗ ครั้ง ตามตำรา ขณะเดียวกันลูกศิษย์ได้นิมนต์ท่านมาจารยันต์บนแผ่นหลัง ที่วัดศรีสุดารามวรวิหาร บางขุนนนท์ กรุงเทพฯ เป็นครั้งคราว
มีคติความเชื่อในหมู่ลูกศิษย์ว่า ?ใครก็ตามที่ลงจารอักขระธรรมได้ครบ ๗ ครั้ง จะส่งผลให้อักขระธรรมที่ลงไปนั้นฝังลึกไปจนถึงกระดูก และถ้าสามารถประพฤติปฏิบัติตามคำสั่งของครูบาอาจารย์อย่างเคร่งครัดแล้วล่ะก็ จะทำให้ผู้นั้นอยู่ยงคงกระพันต่อศัสตราวุธทั้งปวง ตลอดจนเป็นเมตตามหานิยมแก่ผู้ที่ได้พบเห็น?
นอกจากหลวงปู่คำบุท่านจะเก่งในเรื่องของการจารอักขระลงบนหลังของผู้ที่ศรัทธาแล้ว ตะกรุดที่ท่านสร้างขึ้นมาเช่น ตะกรุดปืนแตก ก็เด่นทางด้านมหาอำนาจ ตะกรุดรกแมว ก็เด่นทางด้านเมตตา แต่ทีเด็ดอีกอย่างหนึ่งของท่านคือ "ชานหมาก? ทั้งนี้ ท่านยังได้ใช้ชานหมากที่เคี้ยวขึ้นนี้ในการรักษาโรค เช่น โรคงูสวัส โรคตาแดง ฯลฯ
หลวงปู่มักสอนลูกศิษย์เสมอๆ ว่า ?ความละเอียดอ่อนของธรรมะอยู่ที่การปฏิบัติ เราต้องฝึกฝนและขัดเกลาตัวเองให้มากที่สุด ทุกวันนี้คนเราหย่อนยานในการปฏิบัติ คิดกันว่าศาสนาเสื่อม ศาสนาไม่เสื่อมหรอก ศาสนาขาวสะอาด เรื่องไม่ดีที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เพราะใจคนมันเสื่อมลง เสื่อมลงจากศีล เสื่อมลงจากธรรม?
ส่วนชาติภูมิของหลวงปู่คำบุนั้น ?คำบุ คำงาม? เป็นชื่อและสกุลเดิมของท่าน เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๕ ณ บ้านกุดชมภู ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ โยมบิดาชื่อ นายสา โยมมารดาชื่อ นางหอม นามสกุล คำงาม
หลวงปู่เป็นลูกชายคนสุดท้องของพี่น้องทั้งหมด ๖ คน ในสมัยท่านยังเป็นเด็กน้อย บิดามารดาของท่านได้ให้ท่านบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกุดชมภู เมื่อปี ๒๔๘๒ โดยมี ท่านพระครูญาณวิสุทธิคุณ (กอง) วัดตากโพธิ์ เป็นพระอุปัชฌาย์
เมื่อบวชแล้ว หลวงปู่คำบุได้มีโอกาสเดินทางไปกราบไหว้พระครูวิโรจน์รัตโนมล (หลวงปู่รอด นันตโร) อุปนิสัยของสามเณรคำบุ เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ จึงมีโอกาสได้พบกับพระอาจารย์รอด วัดบ้านม่วง ผู้เป็นศิษย์อุปัฏฐากหลวงปู่รอด นันตโร แห่งวัดทุ่งศรีเมือง ด้วยเหตุนี้ พระอาจารย์รอดจึงได้อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่รอดจวบจนท่านได้มรณภาพลง พระอาจารย์รอดก็กลับมาพำนักพักที่วัดบ้านม่วงตามเดิม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
http://board.palungjit.com