หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
10 พฤษภาคม 2567, 08:09:44 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ  (อ่าน 5313 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
konlathai
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 57
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 77

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 7 : Exp 9%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 08 สิงหาคม 2555, 11:38:26 »

                                          หลวงปู่เครื่อง  สุภัทโท

วัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ

"หลวงปู่เครื่อง  สุภัทโท"  เป็นพระ เกจิชื่อดังและพระนักพัฒนาที่ชาวอีสานใต้ต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธากันเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยความเป็น
พระเถระที่มีเมตตาธรรมขั้นสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัย เข้มขลังในวิทยาคมศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจแก่ผู้ประสบทุกข์ร้อนทั้งหลาย
     หลวงปู่เครื่อง  มีนามเดิมว่า เครื่อง ประถมบุตร เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคมพ.ศ. ๒๔๕๓ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีจอ ณ บ้านค้อกำแพง (ปัจจุบันคือ บ้านหนองแปน) หมู่ 3 ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
     โยมบิดา-โยมมารดาชื่อ นายสอน และนางยม ประถมบุตร ครอบครัวประกอบอาชีพทำนา ฐานะยากจน มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันทั้งหมด ๑๔ คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๔ แต่พี่น้องเสียชีวิตไปในวัยเยาว์ ๖ คน คงเหลืออยู่เพียง ๘ คน
ดังนี้
     ๑. หลวงตาสุ สุปญโญ
     ๒. นายเถ้า ประถมบุตร
     ๓. หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท
     ๔. นายนิล ประถมบุตร
     ๕. นายสา ประถมบุตร
     ๖. นางบุญจันทร์ ชูกำแพง
     ๗. นายบัวทอง ประถมบุตร (สันทัสถ์) ป.ธ.๕ ผู้ช่วยสรรพากรจังหวัด
     ๘. ไม่ปรากฏนาม
   
การศึกษาเบื้องต้น
     สมัยนั้นการศึกษาเล่าเรียนยังไม่เจริญ ในวัยเด็ก เมื่อท่านอายุได้ ๘ ปี ได้เล่าเรียนหนังสือไทย ประถม ก.กา อยู่กับลุงเกษ ประถมบุตร เป็นครูสอนอยู่กับบ้านตอนเย็นหรือกลางคืนว่าง ๆ เท่านั้น ทำให้การเรียนพออ่านออกเขียนได้     ครั้นต่อมาท่านอายุได้ ๑๕ ปี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๗ ได้เข้าโรงเรียนรัฐบาลที่วัดสระกำแพงใหญ่ มีพี่น้องเข้าโรงเรียนพร้อมกันทั้ง ๓ คน เพราะไม่มีใครช่วยพ่อแม่ทำงานเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ โยมพ่อของท่านตั้งกติกา ให้เปลี่ยนกันไปโรงเรียนคนละ ๗ วัน ทั้งนี้ทำให้หลวงปู่เครื่องเรียนหนังสือไม่ได้เต็มที่
เสียเวลาเรียน เรียนไม่ทันเพื่อน
     ครั้นเวลาผ่านไป ทางราชการและครูไม่ยอมให้เปลี่ยนกันเรียน แต่ก็ต้องเปลี่ยนกันเรียนอยู่นั่นเอง เพราะเหตุดังกล่าวแล้วนั้น เมื่อหลวงปู่โรงเรียนวันไหนจึงต้องถูกครูตีทุกวัน เพราะเป็นการผิดกฎโรงเรียน จำเป็นก็ต้องทนอยู่ในสภาพนั้น ในเวลานั้นหลวงปู่เครื่องท่านเล่าว่าไม่รู้จะเชื่อฟังใครดี  ผลที่สุด หลวงปู่ท่านก็ต้องหาอุบายแอบหนีญาติมาโรงเรียนคนเดียว ก็ทำให้ มีความรู้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งระยะนั้นท่านกำลังสนใจในการศึกษาเล่าเรียน หาความรู้เพิ่มเติมด้วยดี กอปรด้วยความขยันหมั่นเพียรยิ่งนัก ท่านเรียนได้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เท่านั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ เรียนได้ครึ่งปี ทางราชการ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายใหม่ ผู้มีอายุได้ ๑๘ ปี ให้เสียค่าเล่าเรียนประถมศึกษา
คนละ ๔ บาท เงิน ๔ บาทสมัยนั้นมีค่ามากนัก ด้วยความจำเป็น ท่านจึงต้องพ้นสภาพการเป็นนักเรียนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
     ต่อมาก็ได้อยู่ช่วยทำกิจการงานครอบครัวอย่างหนักเอาเบาสู้ ทำงานบ้านช่วยพ่อแม่ รับผิดชอบในหน้าทของผู้หญิงทุกอย่าง ตักน้ำตำข้าว เก็บผักหักฟืน หุงต้ม เก็บหม่อน ป้อนไหม ถอนกล้าไถนา ปักดำ ทุกแขนงจนเกิดความเบื่อหน่าย จะไปเที่ยวเล่นตามเพื่อนบ้านก็ไม่มีเวลา

การบรรพชาและอุปสมบท
     พอท่านอายุได้ ๑๘ ปี ได้กราบลาบุพการีเพื่อบรรพชาเป็นสามเณร แต่โยมบิดา โยมมารดาของท่านไม่อนุญาต ครั้นมีอายุครบ ๒๑ ปีบริบูรณ์ ได้กราบลาบุพการี และญาติพี่น้องเพื่ออุปสมบท ครั้งนี้โยมบิดาไม่ขัดใจ แต่โยมมารดายังยเป็น โรคปอดบวม อาการหนักอยู่มาก ซึ่งป่วยมาได้ ๓ ปีแล้วท่านจึงได้เข้าพิธีอุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดสำโรงน้อย หมู่ ๖ ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย
จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีพระครูเทวราชกวีวรญาณ เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอาจารย์ ใบฎีกาชม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์พรหมมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "สุภัทโท" มีความหมายว่า "ผู้ประพฤติงาม"  หลังเข้าพิธีอุปสมบทเพียง ๒ สัปดาห์ โยมมารดาซึ่งล้มป่วยหนักได้เสียชีวิตลงทำให้ท่านต้องช่วยเป็นธุระจัดการงานศพมารดาเป็นครั้งสุดท้าย ก่อนไปอยู่จำพรรษา วัดบ้านค้อ ต.กำแพง อ.อุทุมพรพิสัย ผ่านพ้นวันออกพรรษา บรรดาญาติพี่น้อง ได้มาเกลี้ยกล่อมให้ท่านลาสิกขาเพื่อมาเลี้ยงน้อง แต่ท่านเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตปุถุชน ตั้งใจอุทิศชีวิตให้บวรพระพุทธศาสนา แสวงหาทางหลุดพ้นทุกข์    ก่อนหน้านั้นท่านได้ไปปรึกษาหารือกับคุณปู่ของท่านคุณปู่ให้ข้อคิดว่า ถ้าท่าน จะสึกออกมาเลี้ยงน้องนั้นไม่ดี ช่วยเขาไม่ได้หรอก แสวงหาทางพ้นทุกข์ดีกว่า คงเป็นทางช่วยตัวเองได้ คุณปู่ท่านให้ข้อคิดดังนี้ ฟังแล้วมีเหตุมีผลดี ท่านจึงตัดสินใจปฏิบัติตาม

การศึกษามูลกัจจายน์และพระปริยัติธรรม
     ต่อมา ท่านตัดสินใจเดินทางไปวัดทุ่งไชย เพื่อจุดประสงค์ว่าจะไปศึกษาเล่าเรียนคำภีร์มูลกัจจายน์ ไปอยู่ได้ ๒ เดือน เข้าไปกราบนมัสการท่านอาจารย์ใหญ่ ท่านบอกว่า ในระยะนี้ไม่ได้สอน เลิกทำการสอนมานานแล้ว เพราะนักเรียนน้อย ไม่มีพระเณรสนใจเรียนมูลเดิม จึงนมัสการลากลับวัดเดิมอีก  ต่อมา คุณอาของหลวงปู่เครื่อง ก็นำพาเดินทางไปวัดท้องหล่มใหญ่ จังหวัดมหาสารคาม พอไปถึงเจ้าอาวาสก็ลาสิกขาไปเสียแล้วไม่ได้อยู่ เพราะหาพระเณรที่สนใจศึกษาไม่มี ท่านจึงได้เดินทางต่อไปที่วัดบ้านยางใหญ่ ตำบลเมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ ฝากตัวเป็นศิษย์กับ พระอุปัชฌาย์สาย เจ้าอาวาส เพื่อขอเรียนบาลีและคัมภีร์มูลกัจจายน์   พระอุปัชฌาย์สาย เอ็นดูลูกศิษย์คนนี้มาก ด้วยผลการเรียนเป็นที่น่าพอใจ ท่านเรียนได้ดี ทั้งในการแปลภาษาบาลีเป็นประโยคคล่องแคล่วและ ส่สัมพันธ์ด้วย เริ่มตั้งแต่การสนธิ เป็นต้นไป นาน ๆ เข้าพระอุปัชฌาย์สาย ปล่อยให้ท่านแปลด้วยตนเองเป็นประโยค ๆ ไป    ครั้นกาลต่อมา สหธรรมมิกที่เรียนด้วยกันปรึกษาหารือกันว่า การเรียนคัมภีร์มูลกัจจายน์สมัยนี้เขาไม่นิยมเสียแล้ว หลวงปู่บอกว่าตอนนี้กิเลสเป็นเจ้าเรือน
มากระซิบให้หลงงมงายไปเสียอีก ท่านจึงได้พิจารณาใคร่ครวญดูเหตุผลแล้ว จึงกราบนมัสการลาพระอุปัชฌาย์สาย ไปเรียนบาลีไวยากรณ์ หวังเอาพระเปรียญ กับเขาบ้าง
     เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๗ ท่านจึงได้ออกเดินทางไปอยู่วัดหลวงเมืองอุบล อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเข้าศึกษาบาลีไวยากรณ์ และนักธรรม
     พ.ศ.๒๔๗๙ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
     พ.ศ.๒๔๘๐ สอบได้นักธรรมชั้นโท

พอสอบได้เสร็จก็ป่วยเป็นโรคเหน็บชา ในตอนนั้นท่านได้นัดหมายกันกับเพื่อนพระองค์หนึ่ง คือท่านมหาบุญมา แสนทวีสุข เป็นเพื่อนรักกันมากที่สุด นัดหมายกันว่าจะย้ายไปเรียนหนังสืออยู่กรุงเทพฯ ท่านว่าเหมือนมีพญามารมา ตัดรอนท่าน คือเจ้ากรรมนายเวร กิเลสมาพันผูก คือ บรรดาญาติพี่น้องห้ามไม่ให้ไป โดยเหตุผลดังกล่าวจึงเป็นอุปสรรคมาขัดขวางไม่ให้ไปศึกษา ท่านว่าคงจะเนื่องด้วย ผลกรรมของท่านสร้างมาจึงเสียผลที่ท่านควรไป
     เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๑ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพงษ์พรต ต.หนองกว้าง อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ เป็นเวลา ๑๑ ปี ในระหว่างนั้น พ.ศ.๒๔๘๓ สอบได้นักธรรมชั้นเอกปี พ.ศ. ๒๔๙๔ เป็นต้นมาจนปัจจุบันนี้เจ้าอาวาสองค์ที่ ๗ พระอุปัชฌาย์เครื่อง สุภทโท เดิมเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านพงษ์พรต และได้เข้ามาจำพรรษาที่วัดนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส สืบแทนพระอุปัชฌาย์คำ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ท่านได้ก่อตั้งสำนักเรียนบาลี และนักธรรมขึ้นโดยร่วมมือกับพระมหาอินทร์ สีลวโส (พระครูวิกรม ธรรมโสภณ) เจ้าคณะอำเภอปรางค์กู่ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ฝ่ายปริยัติธรรม ส่วนท่านเจ้าอาวาสเป็นนักวิปัสสนาเน้นการปฏิบัติธรรม ท่านรูปนี้ได้พัฒนาวัด ให้เจริญก้าวหน้า สิ่งก่อสร้างภายในวัด จะเป็นกุฏิ วิหาร ศาลาการเปรียญ เมรุเผาศพ กำแพงวัด ซุ้มประตู และสิ่งอื่น ๆ สร้างขึ้นในสมัยเจ้าอาวาสองค์นี้ทั้งสิ้น เพราะของเก่าชำรุดทรุดโทรมไปตามกาลเวลาต้องรื้อถอนและสร้างใหม่ทั้งหมดเจ้าอาวาสรูปนี้จึงมีความสำคัญต่อชาวบ้านและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ประชาชนไม่ว่าใกล้หรือไกลมีความเคารพเลื่อมใส และศรัทธาในตัวท่านมาก
ทำให้การพัฒนาวัดเจริญรุ่งเรืองเป็นวัดชั้นแนวหน้าของอำเภออุทุมพรพิสัยในปัจจุบัน

      หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท ได้มรณภาพลงด้วยอาการอันสงบ ณ ตึกสงฆ์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) ชั้น 3 ห้อง 5 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี อ.เมือง จ.อุบลราชธานี เมื่อเวลา 02.15 น. ของวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ.2551 สิริอายุรวมได้ 98 ปี 13 วัน พรรษา 78 ท่ามกลางความเศร้าโศกเสียใจเป็นยิ่งนักของบรรดาคณะศิษยานุศิษย์ที่มาเฝ้าอาการป่วยอยู่จำนวนมาก หลังจากที่ท่านได้อาพาธด้วยโรคชรา มีอาการปอดอักเสบ น้ำท่วมปอด และต้องล้างไต จึงได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ต่อมาได้ย้ายหลวงปู่เครื่องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์อุบลราชธานี หลังวันวิสาขบูชา 1 วัน จากนั้นก็ได้อยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดโดยตลอด เนื่องจากหลวงปู่เครื่องอายุมากถึง 98 ปีแล้วและอาพาธหลายโรค จนกระทั่งได้มรณภาพในที่สุด รวมเวลาเข้ารักษาอาการอาพาธนานกว่า 2 เดือน


* เสมาหลวงปู่เครื่อง 2519.jpg (8.43 KB, 183x275 - ดู 1226 ครั้ง.)

* หลวงปู่เครื่อง.jpg (7.88 KB, 183x275 - ดู 1177 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!