อัตตโนประวัติ/หลวงปู่เล่าว่า เดิมชื่อ
เทสก์ สกุล
เรี่ยวแรง เกิดเมื่อ
วันเสาร์ที่ ๒๖ เมษายน
๒๔๔๕ เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.
ปีขาล ณ บ้านนาสีดา ตำบลกลางใหญ่ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี บิดาชื่อ อุส่าห์ มารดาชื่อ ครั่ง อาชีพทำนา ทั้งสองเป็นกำพร้าพ่อด้วยกันซึ่งได้อพยพมาคนละถิ่น คือบิดาอพยพมา จากอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย มารดาอพยพมาจากเมืองฝาง ( บัดนี้เป็นตำบล ) ขึ้นอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วได้มาแต่งงานกัน ณ ที่บ้านนาสีดา ตั้งหลักฐานทำมาหากินจนกระทั่งบัดนี้ มีบุตรธิดา ร่วมกัน ๑๐ คน คือ
นายคำดี เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรม )
นางอาน ปราบพล ( ถึงแก่กรรม )
ด.ช. แกน เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรมแต่เยาว์ )
ด.ญ. ใคร เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรมแต่เยาว์ )
นางแนน เชียงทอง ( ถึงแก่กรรม )
นายเปลี่ยน เรี่ยวแรง ( ถึงแก่กรรม )
นางนวล กล้าแข็ง ( ถึงแก่กรรม )
พระเกต ขันติโก ( เรี่ยวแรง ) ( มรณภาพ )
พระราชนิโรธรังสี ( เทสก์ เทสรังสี )
นางธูป ดีมั่น ( ถึงแก่กรรม )
เมื่ออายุได้ ๙ ขวบได้เข้าวัดไปเรียน
หนังสือไทย แล
หนังสือพื้นเมือง (
หนังสือธรรมแลขอม ) กับเพื่อนๆ พระเณรเป็น อันมาก ที่
วัดบ้านนาสีดานี่เอง โดยพี่ชายคนหัวปีซึ่งยังบวชเป็นพระอยู่เป็นสอนและสอนตามแบบเรียน ประถม ก กา
มูลบท บรรพกิจเราเรียนอยู่สามปีแต่ไม่เก่ง เพราะเราชอบเล่นมากกว่าเรียน สมัยนั้นโรงเรียนประชาบาลยังขยายไปไม่ทั่วถึง พี่ชายเรา คนนี้แกบวช แล้วชอบเที่ยวหาประสบการณ์ต่างๆ และจำแม่นเสียด้วย เมื่อแกไปได้หนังสือไทยมาจึงนำมาสอนพวกเรามี พระเณรแลเด็กมาเรียนด้วยเป็นอันมาก จนบางคนมาเห็นเข้าถามว่าเป็นโรงเรียนหรือ พวกเรามิใช่เรียนแต่เฉพาะ
หนังสือไทยเท่านั้น
สวดมนต์ หนังสือธรรม ขอม พวกเราก็เรียนควบคู่กันไปด้วย เราเรียนอยู่สามปี จึงได้ออกจากวัดไปเพราะพี่ชายเราลาสิกขา เพื่อนๆ นักเรียนของเราโดย มากก็ออกจากวัดไปด้วย เพราะไม่มีใครสอนหนังสือต่อ
ถึงแม้เราจะออกจากวัดไปแล้วก็ตาม ชีวิตของเราคลุกคลีอยู่กับพระเณรในวัดโดยส่วนมาก เนื่องจากเมื่อพี่ชายของเราสึกออกไปแล้ว พระที่เป็นสมภารอยู่ที่วัดไม่มี มีพระอาคันตุกะมาอยู่เป็นครั้งคราว เราเองต้องเป็นสื่อกลางระหว่างพระกับชาวบ้าน รับใช้เป็นประจำเช้าไปประเคนสำรับ เย็นตักน้ำกรองน้ำ เก็บดอกไม้ถวายท่านบูชาพระ พระมามากน้อย อาหารพอไม่พอ เราต้องวิ่งบอกชาวบ้าน เราปฏิบัติอยู่อย่างนี้มาเป็นอาจิณวัตรตลอด ๖ ปี บิดามารดาของเราก็สนับสนุนเราอย่างเต็มที่ ที่เราปฏิบัติพระท่านยิ่งเพิ่มความรักใคร่ให้แก่เรามากขึ้น เมื่อถึงเวลาเห็นเราช้าอยู่ ท่านจะต้องเตือนเสมอ มิใช่แต่บิดามารดาของเราเท่านั้นที่เห็นเราปฏิบัติพระได้เป็นอย่างดี แม้ชาวบ้านก็ดูเหมือนรักแลเอ็นดูเราเป็นพิเศษ จะเห็นได้ใจเมื่อมีกิจอะไรเกี่ยวกับพระกับวัดแล้ว จะต้องตามเรียกหาเราเสมอ ตอนนี้เรารู้สึกสนใจเรื่องบาปบุญขึ้นมาก สงสัยแลขัดข้องอะไรมักไถ่ถามบิดาเสมอ บิดาก็มักจะสนใจเรามากขึ้น ตอนกลางคืนเวลาว่าง ท่านมักจะสอนให้รู้คติโลกคติธรรมเสมอ เรายังจำคำสอนของท่านไม่ลืม ท่านสอนว่า
เกิดเป็น ลูกคนชายอย่าได้ตายร่วมเร่ว ( เร่ว คือป่าช้า ) หมายความว่า
เกิดเป็นลูกผู้ชายต้องพยายามขวนขวายหาความรู้ วิชานอกบ้านเดิมของตน ถึงแม้จะตายก็อย่าได้มาตายบ้านเกิด คติของท่านนี้ถูกใจเรานัก เพราะเรามีนิสัยชอบอย่างนั้นอยู่แล้ว เมื่อเราถามท่านว่า ผู้บวชกับผู้ไม่บวชทำบุญ ใครจะได้บุญมากกว่ากัน ท่านตอบว่า
ผู้บวชทำบุญเท่านิ้วโป้มือ ได้บุญเท่าสองกำปั้น แล้วท่านกำมือชูให้ดูผู้ไม่บวชทำบุญเท่าสองกำปั้น ได้บุญเท่าหัวโป้มือ เราได้ฟังเท่านั้นก็เต็มใจ ทั้งๆ ที่ยังไม่ทราบคำอธิบายของท่าน เพราะนิสัยของเราชอบสมณเพศอยู่แล้ว เรายังจำได้อยู่ เมื่อเราเข้าไปอยู่วัดใหม่ๆ ไปที่วัดแห่งหนึ่งกับพี่ชาย เห็นสามเณรรูปหนึ่ง ผู้มีมารยาทดีเข้าแล้ว มันนึกให้เลื่อมใสเจือด้วยความรักมากในสามเณรรูปนั้นเป็นพิเศษ ไม่ว่าแกจะเดินเหินไปมาทำธุรกิจใดๆ อยู่ก็ตาม สายตาของเราจะต้องจับจ้องส่ายไปตามแกทุกขณะยิ่งเพ่งก็ยิ่งน่ารักเลื่อมใสขึ้นเป็นลำดับเวลากลับมาแล้วภาพอันนั้นก็ยังติดตาเราอยู่เลย ในใจนึกอยู่อย่างเดียวว่า
เมื่อไหร่หนอเราจึงจะได้บวชๆ อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา พบพระอาจารย์สิงห์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙
พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม กับ พระอาจารย์คำ ซึ่งเป็นลูกศิษย์ของ
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ ได้เดินรุกขมูลไปถึงบ้านนาสีดาเป็นองค์แรก ทั้ง ๆ ที่พระในวัดนั้นก็มีอยู่ แต่ท่านไปขอพักอยู่ด้วย คล้าย ๆ กับว่าท่านมุ่งจะไปโปรดเราพร้อมด้วยบิดาเราก็ได้ เมื่อท่านทั้งสองไปถึง เรากับบิดาของเราก็ได้ปฏิบัติท่านด้วยความเคารพและเลื่อมใสเป็นอย่างดียิ่ง เพราะเห็นปฏิปทาของท่านผิดแผกจากพระกัมมัฏฐานคณะอื่น ( เมื่อก่อนบิดาของเราเคยปฏิบัติอาจารย์สีทัด ) โดยเฉพาะท่านสอนเราในข้อวัตรต่าง ๆ เช่น สอนให้รู้จักของที่ควรประเคนและไม่ควรประเคน
ท่าน สอนภาวนา บริกรรมพุทโธ เป็นอารมณ์ จิตของเรารวมได้เป็นสมาธิ จนไม่อยากพูดกับคนเลย เราได้รับรสชาติแห่งความสงบในกัมมัฏฐานภาวนาเริ่มแรกจากโน่นมาไม่ลืมเลย เมื่อไปเรียนหนังสือเป็นสามเณรอยู่กับหมู่มาก ๆ เวลากลางคืนอากาศเย็น สงบดี เราทำกัมมัฏฐานของเราอยู่คนเดียวหามีใครรู้ไม่
ท่านมาพักอยู่ด้วยเราราว ๒ เดือนเศษ ทีแรกท่านตั้งใจจะอยู่จำพรรษา ณ ที่นั้น แต่เนื่องด้วยท่านมีเชื้อไข้ป่าอยู่แล้ว พอมาถึงที่นั้นเข้า ไข้ป่าของท่านยิ่งกำเริบขึ้น พอจวนเข้าพรรษาท่านจึงได้ออกไปจำพรรษา ณ ที่
วัดร้างบ้านนาบง ตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ เราก็ได้ตามท่านไปด้วยในพรรษานั้น ท่านเป็นไข้ตลอดพรรษา ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในเวลาว่างท่านยังได้เมตตาสอนหนังสือและอบรมเราบ้างเป็นครั้งคราว จวนออกพรรษาท่านจะมีความรู้สึกภายในของท่านขึ้นอย่างไรก็ไม่ทราบ ท่านบอกว่า ออกพรรษาแล้วจะต้องกลับบ้านเดิม แล้วท่านถามเราว่า เธอจะไปด้วยไหม ทางไกลและลำบากมากนะ เราตอบท่านทันทีว่า ผมไปด้วยนะครับ ยังอีกไม่กี่วันจะออกพรรษา เราขออนุญาตท่านกลับบ้านไปลาบิดามารดา ท่านทั้งสองมีความดีใจมากที่เราจะไปด้วยอาจารย์ รีบเตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้เราเพื่อขอขมาบิดามารดา ( ธรรมเนียมอันนี้ท่านสอนเราดีนัก เราหนีจากบ้านไปครั้งก่อน ท่านก็ให้เราทำเช่นนี้เหมือนกัน ) คืนวันนั้นเราขอขมาบิดามารดา แล้วไปขอขมาญาติผู้เฒ่าผู้แก่จนถึงทั่วหมด เมื่อเราไปหาใครทุกคนพากันร้องไห้เหมือนกับเราจะลาไปตายนั่นแหละ เราเองก็ใจอ่อนอดน้ำตาร่วงไม่ได้ รุ่งเช้ามารดาและป้าได้ตามมาส่งถึงอาจารย์ พากันนอนค้างคืนหนึ่ง วันนั้นเป็นวันปวารณาออกพรรษา รุ่งขึ้นฉันจังหันแล้วท่านอาจารย์พาเราออกเดินทางเลย ตอนนี้ป้าและชาวบ้านที่นั่นพากันมารุมร้องไห้อีก
พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ พระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ต่อมาเป็น พระญาณวิศิษย์ฏ์สมิทธิวีราจารย์ (วัดป่าสาละวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา หลวงพ่อสีทัต ออกจากบ้านครั้งที่สอง ตามพระอาจารย์สิงห์ไป อาจเป็นประวัติการณ์ของเด็กคนแรกในจำพวกเด็กวัยเดียวกันในแถบนี้ ที่จากบ้านไปสู่ถิ่นทางไกล ทั้งไร้ญาติขาดมิตรอันเป็นที่อบอุ่นอีกด้วย แล้วก็ดูจะเป็นเด็กคนแรกอีกด้วยที่ออกเดินรุกขมูลติดตามพระกัมมัฏฐานไปอย่างไม่มีความห่วงใยอาลัยทั้งสิ้น ออกเดินทางจากท่าบ่อลุยน้ำลุยโคลนบุกป่าฝ่าต้นข้าวตามทุ่งนาไปโดยลำดับ เวลาท่านจับไข้ก็ขึ้นนอนบนขนำนาหรือตามร่มไม้ที่ไม่มีน้ำชื้นแฉะ รุ่งเช้าท่านยังอุตส่าห์ออกไปบิณฑบาตมาเลี้ยงเราเลย เดินทางสามคืนจึงถึงอุดรแล้วพักอยู่วัดมัชฌิมาวาสสิบคืน จึงได้ออกเดินทางต่อไปทางจังหวัดขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร การเดินทางครั้งนี้เราสองคนกับอาจารย์ใช้เวลาเดือนเศษ จึงถึงบ้านหนองขอน ตำบลหัวตะพาน อำเภออำนาจเจริญ อันเป็นบ้านโยมแม่ของท่าน ท่านพักอบรมโยมแม่ของท่าน ณ ที่นั้นราวสามเดือน
บรรพชาเป็นสามเณรแล้วเรียนต่อ ณ ที่นั้น ท่านให้เราไป
บรรพชาที่พระอุปัชฌาย์ลุย บ้านเค็งใหญ่ เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี ตอนนี้เราอ่านหนังสือคล่องขึ้นบ้าง เราได้อ่านหนังสือ
ไตรโลกวิตถาร ตอนโลกเสื่อมจนเกิดสัตถันตรกัปป์ ทำให้สลดใจมาก น้ำตาไหลพรากอยู่เป็นเวลาหลายวัน เวลาฉันอาหารก็ไม่ค่อยจะรู้สึกรสชาติ ใจมันให้มัวมีแต่คิดถึงความเสื่อมวิบัติของมนุษย์สัตว์ทั้งหลาย คล้ายๆ จะมีภาพให้เห็นปรากฏในวันสองวันข้างหน้าอย่างนั้นแหละ แล้วท่านก็พาเราเข้าไปพักอยู่
วัดสุทัศนาราม ในเมืองอุบลซึ่งเคยเป็นที่พักอยู่เดิมของท่าน แล้วเราก็ได้เข้าเรียนหนังสือไทยต่อที่
โรงเรียนวัดศรีทอง ออกพรรษาแล้วท่านปล่อยให้เราอยู่ ณ ที่นั้นเอง ส่วนตัวท่านได้ออกเที่ยวรุกขมูลกลับมาทางจังหวัดสกลนครอีก เพราะในขณะนั้นคณะของท่านอาจารย์มั่นยังเที่ยวอยู่แถวนั้น คืนก่อนที่จะไปท่านได้ประชุมพระเณร บอกถึงการที่ท่านจะจากไป ขณะนั้นเรารู้สึกอาวรณ์ท่านมากถึงกับสะอื้นในที่ประชุมหมู่มาก ๆ นั้นเอง เรารู้ตัวละอายเพื่อนรีบหนีออกมาข้างนอก แล้วมาตั้งสติใหม่ มาระลึกได้ถึงเรื่องพระอานนท์ร้องไห้เมื่อครั้งพระพุทธองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร จิตจึงค่อยคลายความโศกลงบ้าง แล้วจึงได้เข้าไปในที่ประชุมใหม่ ท่านได้ให้โอวาทด้วยประการต่าง ๆ เรารู้ตัวดีว่าเราอายุมากแล้วเรียนจะไม่ทันเขา ขณะที่เรียนหนังสือไทยอยู่นั้น
เราได้แบ่งเวลาท่องสวดมนต์ ท่องหลักสูตรนักธรรม เรียนนักธรรมตรีไปด้วย แต่ก็ไม่ได้สอบ เพราะเจ้าคณะมณฑลท่านมีกำหนดว่า ผู้อายุยังไม่ถึง ๒๐ ปี ไม่ให้สอบนักธรรมตรี ปีที่ ๓ จึงได้สอบนักธรรมตรี และก็สอบได้ในปีนั้น แล้วเราท่องบาลีต่อพร้อมกันนี้ก็ท่องปาฏิโมกข์ไปด้วย
เพราะเราชอบปาฏิโมกข์มาก เราเรียนหนังสือไทยจบแค่ประถมบริบูรณ์
( เพราะโรงเรียนรัฐบาลมีแค่ประถม ๓ เท่านั้น ) เมื่อเราออกจากโรงเรียนภาษาไทยแล้ว เราก็ตั้งหน้าเรียนบาลี แต่ในปีการศึกษานั้นบังเอิญพระมหาปิ่น ปัญญาพโล น้องชายของท่านอาจารย์สิงห์ กลับมาจากกรุงเทพฯ มาเปิดสอนนักธรรมโทเป็นปฐมฤกษ์ในมณฑลหัวเมืองภาคอีสาน เราจึงได้สมัครเข้าเรียนด้วย แต่ทั้งบาลีและนักธรรมโทเราเรียนไม่จบ เพราะในศกนั้นอาจารย์สิงห์ท่านได้กลับไปจำพรรษา ณ ที่วัดสุทัศนารามอีก ออกพรรษาแล้วท่านได้พาเราพร้อมด้วยมหาปิ่นออกเที่ยวรุกขมูลก่อนสอบไ
วัดสุทัศนาราม สามเณรได้เป็นเศรษฐีของรัฐบาล นั่นคือ
สามเณรเทสก์ กล่าวคือสมัยนั้นรัฐบาลคิดจะสร้างให้มีเศรษฐีขึ้นในเมืองไทยปีละหนึ่งคน จึงได้ออกล็อตเตอรี่ปีละครั้ง ตั้งรางวัลที่หนึ่งให้เจ็ดแสนบาท พอแก่ฐานะของเศรษฐีเมืองไทยพอดี เพื่อจะได้ไม่อับอายขายหน้าแก่นานาประเทศเขาบ้าง บังเอิญคืนวันหนึ่งสามเณรเทสก์แกนอนไม่หลับ เพราะแกไปถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่หนึ่งเข้า แล้วแกก็ลงมือจัดแจงหาที่สร้างอาคารหลังใหญ่โตมโหฬารเป็นบ้านตึกสามชั้น ตกแต่งด้วยเครื่องเฟอร์นิเจอร์อย่างดีทันสมัย ณ ท่ามกลางย่านการค้า ให้ลูกน้องขนสรรพสินค้ามาใส่เต็มไปหมด ตัวแกมีความสุขกายสบายจิต ไม่คิดอะไรอีกแล้ว นอนเก้าอี้ยาวทำตาปริบๆ มองดูบรรดาสาวๆ สวยๆ ที่พากันเร่เข้ามาหาซื้อสินค้าต่าง ๆ ตามชอบใจ คนไหนชำเลืองตามาดูแกแล้วยิ้ม ๆ แกก็จะยิ้มตอบอย่างมีความสุข ในชีวิตของแกแต่เกิดมาได้ ๑๘ - ๑๙ ปีนี้แล้วไม่มีความสุขครั้งไหนจะยิ่งใหญ่ไปกว่าความสุขครั้งนี้เลย แกได้ตำแหน่งเศรษฐีตามความประสงค์ของรัฐบาลแล้วในพริบตาเดียว ทั้ง ๆ ที่อะไร ๆ ของแกก็ยังไม่มีเสียด้วย แต่อนิจจาเอ๋ยความเป็นเศรษฐีของแกมาพลันเสื่อมสูญไปจากจิตใจของแกอย่างน่า เสียดาย เพราะแกมาสำนึกรู้สึกตนเอาตอนดึกอันเป็นเวลาพักผ่อนหลับนอนเสียแล้วว่า เอ๊ะ นี่อะไรกันล็อตเตอรี่ก็ยังไม่ทันจะออก แล้วยังไม่ทันจะซื้อเสียอีกด้วย ทำจึงมาเป็นเศรษฐีกันเสียแล้วนี่ เรานี่ชักจะบ้าเสียแล้วกระมัง คืนวันนั้นแกเกิดความละอายแก่ใจตนเองอย่างพูดไม่ถูกเสียเลย นี่หากมีท่านผู้รู้มารู้เรื่องของเราเข้าจะว่าอย่างไรกันนี่ แล้วแกก็นอนหลับพักผ่อนไปจนสว่าง พอตื่นเช้ามาแกยังมีความรู้สึกละอายแก่ใจตนเองอยู่เลย โดยที่เรื่องนั้นแกก็มิได้เล่าให้ใครฟัง
เศรษฐีอย่างนี้ใครๆ ก็สามารถจะเป็นได้ มิใช่แต่สามเณรเทสก์คนเดียว แต่ที่ข้าพเจ้าเรียกแกว่าเป็นเศรษฐีนั้น เพียงแต่แกมโนภาพสมบัติอันเหลือหลายอย่างเดียว แต่รู้จักพอ ยังดีกว่าผู้ที่มีทั้งมโนภาพสมบัติและวัตถุสมบัติ แต่ไม่มีความพอแล้วเป็นทุกข์เดือดร้อน มันจะมีประโยชน์อันใดแก่เขาผู้นั้นเล่า ความมีหรือจนอยู่ที่มีความสุขนั้นต่างหาก หาใช่เพราะมีของมากเหลือหลายไม่ พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความพอใจของตนที่มีอยู่แล้วนั้นแลเป็นทรัพย์อันมีค่ามาก เราเลื่อมใสในธรรมวินัยคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงได้มาบวชแล้วปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ เห็นจริงตามที่พระพุทธเจ้าทรงชี้ลงไปที่ถุงทรัพย์ให้พระอานนท์ดูว่า นั่นอานนท์ ของมีพิษมิใช่จะเป็นพิษแต่แก่สมณะผู้เข้าไปเกี่ยวข้องเท่านั้นก็หาไม่ ถึงแม้คฤหัสถ์ก็ทำให้เกิดพิษได้เหมือนกันถ้านำมาใช้ไม่ถูกต้องตามหน้าที่ของ มัน แต่ก็เป็นการจำเป็นที่จะต้องมี เพราะภาวะความเป็นอยู่ผิดแผกแตกต่างจากสมณะ ยิ่งกว่านั้น หากผู้มีทรัพย์แล้วแต่ใช้ทรัพย์นั้นไม่เป็น ก็ไม่ผิดอะไรกับบุคคลผู้ถือดุ้นฟืนที่มีไฟติดข้างหนึ่ง ไฟจะต้องลามมาไหม้มือจนได้
เราบรรพชาได้ ๕ พรรษา จึงได้อุปสมบทเป็นพระ นับว่าได้เปรียบเขามากในด้านอยู่วัดนาน แก่วัด รู้จักเรื่องของวัดได้ดีกว่าพระที่บวชรุ่นเดียวกันแล้ว เราได้เปรียบด้านสวดมนต์และได้พระปาฏิโมกข์เป็นต้น
อุปสมบท ณ วัดสุทัศนาราม เมื่ออายุของเราย่างเข้า ๒๒ ปี เราได้
อุปสมบทที่พัทธสีมา ณ วัดสุทัศน์ นั่นเอง โดย พระ มหารัฐ รัฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม ๒๔๖๖ ตรงกับ ค่ำ เวลา ๑๑.๔๘ น. ปีนี้ท่านอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม พระอาจารย์ของเราได้พาคณะรวม ๖ องค์ คือ พระ ๔ องค์ สามเณร ๒ องค์ มาจำพรรษาที่วัดสุทัศน์ นับว่าเป็นปฐมฤกษ์ที่พระกัมมัฏฐานจำพรรษาในเมืองอุบลครั้งแรก เหตุที่ท่านจะกลับมาจำพรรษาที่อุบลก็เนื่องได้ข่าวว่า
พระมหาปิ่น (น้องชายท่าน) กลับจากกรุงเทพฯมาอยู่ ณ ที่นั่นท่านตั้งใจจะมาเอาน้องชายของท่านออกเที่ยวรุกขมูลด้วย เมื่อก่อนที่ท่านมหาปิ่นจะไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯท่านปฏิญาณกับท่าน อาจารย์มั่นไว้ว่า ผมไปเรียนหนังสือเสียก่อน แล้วจะออกไปปฏิบัติตามหลัง ท่านอาจารย์สิงห์พอได้ทราบข่าวว่าน้องชายมาแล้วก็ดีใจจึงได้มาจำพรรษา ณ วัดสุทัศนาราม ออกพรรษาหมดเขตกฐินแล้ว ท่านอาจารย์สิงห์ได้พาพวกเราเป็นคณะใหญ่ออกเดินธุดงค์ การออกเดินธุดงค์ครั้งนี้ผู้ที่ออกใหม่นอกจากพระมหาปิ่นกับเราแล้ว ยังมีพระคำพวย พระทอน และสามเณรอีก ๒ รูป รวมทั้งหมดแล้ว ๑๒ รูปด้วยกัน
( พระ มหาปิ่นปัญญาพโล ป.ธ.๕ นับว่าเป็นพระมหาองค์แรกในเมืองไทยที่ออกธุดงค์ในยุคนั้น ในหมู่พระเปรียญโดยมากเขาถือกันว่าการออกธุดงค์เป็นเรื่องขายขี้หน้า การออกธุดงค์ของเราครั้งนี้ถ้าไม่ได้ท่านอาจารย์สิงห์เป็นผู้นำแล้ว เราคงไม่ได้ออกธุดงค์ เมื่อเราหนีมาแล้วท่านพระอุปัชฌาย์ท่านต้องสวดปาฏิโมกข์เอง)
พระมหารัฐ รัฏฐปาโล พระมหาปิ่น ปัญญาพโล เราพึ่งรู้จักรสชาติของความอาลัยครั้งแรก เราได้ไปอยู่
วัดสุทัศน์ อุบล เป็นเวลา ๖ ปีเต็ม โดยที่ปราศจากญาติมิตรและคนสนิทมาก่อน เมื่ออยู่ต่อมาได้มีคนเอาลูกหลานมาฝากให้เป็นศิษย์อยู่ด้วย รวม ๔ คนด้วยกัน คือ เป็นสามเณร ๒ เป็นเด็ก ๒ เขาเหล่านั้นได้อยู่ด้วยเรามาแต่เมื่อครั้งเรายังเป็นเณรอยู่ จนกระทั่งเราได้อุปสมบทเป็นพระทั้งเราและเขาถือกันอย่างพ่อกับลูก พอตอนเราจะจากเขาไปเขาพากันร้องไห้อาลัยเรา เราก็แทบกลั้นน้ำตาไม่อยู่เหมือนกัน แต่เราเป็นอาจารย์เราจะร้องไห้ก็ละอายเขา จึงกัดฟันอดกลั้นไม่แสดงความอาลัยออกมา แต่ถึงกระนั้นมันก็ทำให้เสียงเครือไปเหมือนกัน ตอนนี้ไม่สู้กระไรนัก พอออกเดินทางไปแล้วนั่นซี มันทำให้เราซึมเซ่อไปเป็นเวลานานทีเดียว จะเดิน ยืน นั่ง นอน แม้แต่พูดและฉันอยู่ก็ตาม ใจมันละห้อยอาลัยคิดถึงเขาว่าเขาจะอยู่อย่างไร กินอะไร อดอิ่มอย่างไร แล้วใครจะมาสั่งสอนเขา หรือจะมีใครมากดขี่ข่มเหงเบียดเบียนเขาอย่างไร ความกลุ้มใจอย่างนี้ยังไม่เคยมีมาเลยในชีวิตของเราครั้งนี้เป็นครั้งแรก
เรา จึงได้ทบทวนคิดค้นไปมาว่า เขาเหล่านั้นก็มิใช่ลูกหลานว่านเครือของเรา เป็นแต่เขามาอยู่อาศัยเราเท่านั้น อนึ่งเราก็ได้อบรมเขาและคุ้มครองเขาเป็นอย่างดีที่สุดแล้ว เท่าที่เราสามารถจะทำได้ ทำไมจึงอาลัยอาวรณ์ถึงเขาหนักหนา มาตอนนี้มันให้ระลึกถึงผู้ที่มีบุตรมีภรรยาว่า โอ้โฮ หากเป็นบุตรที่เกิดโดยสายเลือดของเราแล้ว ความอาลัยมันจะหนักขนาดไหน เราเห็นโทษในความอาลัยในครั้งนี้ มันซาบซึ้งเข้าไปตรึงหัวใจของเราไม่มีวันหายเลย มนุษย์เรานี้ไม่มีผิดอะไรกับลูกลิง ซึ่งปราศจากแม่แล้วอยู่ตามลำพังตัวเดียวไม่ได้ มันทำให้เรากลัวความอาลัยจนแทบพูดไม่ถูกเอาเสียเลย ความอาลัยเป็นทุกข์ทั้งที่มีอยู่และพลัดพรากจากกันไป ทำอย่างไรคนเราจึงจะทำให้เป็นอิสระในตัวของตนเองได้เล่า
ออกจากอุบลเป็นคณะเที่ยวรุกขมูล คณะของเราพระ ๘ สามเณร ๔ รวมเป็น ๑๒ รูป โดยพระอาจารย์สิงห์เป็นหัวหน้า ได้เดินทางออกจากเมืองอุบลในระหว่างเดือน ๑๒ ได้พักแรมมาโดยลำดับ จนถึงบ้านหัวตะพาน หยุดพักที่นั่นนานพอควร แล้วย้ายไปพักที่บ้านหัวงัว เตรียมเครื่องบริขารพร้อมแล้ว จึงได้ออกเดินรุกขมูลต่อไป
การออกเดินรุกขมูลครั้งนี้ ถึงแม้จะไม่ได้วิเวกเท่าที่ควร เพราะเดินด้วยกันเป็นคณะใหญ่ แต่ก็ได้รับรสชาติของการออกเที่ยวรุกขมูลพอน่าดูเหมือนกัน กล่าวคือ คืนวันหนึ่งพอจัดที่พักแขวนกลดกางกลดตกมุ้งไหว้พระสวดมนต์เรียบร้อยแล้ว ฝนตกเทลงมาพร้อมด้วยลมพายุอย่างแรงนอนไม่ได้ นั่งอยู่น้ำยังท่วมก้นเลย พากันหอบเครื่องบริขารหนี้เข้าไปอาศัยวัดบ้านเขา แถมยังหลงทางเข้าบ้านไม่ถูก เดินวกไปเวียนมาใกล้ๆ ริมบ้านนั้นตั้งหลายชั่วโมง พอดีถึงวัด
ณ ที่นั้นมีโยมเข้าไปนอนอยู่ก่อน คือโยมที่เขาเดินทางมาด้วย ๖ คน เขามีธุระการค้าของเขา แต่เขาเห็นก้อนเมฆในตอนเย็น เขาบอกว่าพวกผมไม่นอนละ จะเข้าไปพักในบ้านพอพวกเราไปถึงเข้า เขาจึงช่วยจัดหาที่นอนตามมีตามได้หมอนเสื่ออะไรก็ไม่มีทั้งนั้น แล้วจึงรีบกลับไปรับอาจารย์กับพวกเพื่อนอีก ๗ - ๘ รูป พอถึงเก็บบริขารเรียบร้อยแล้วก็นอนเฉยๆ ไปอย่างนั้น เพราะกุฏิก็เปียกไปหมดทั่วทั้งห้อง เสื่อหมอนก็ไม่มีเพราะเป็นวัดร้าง แต่เมื่อความเหนื่อยเพลียมาถึงเข้าแล้วก็นอนหลับได้ชั่วครู่หนึ่งทั้ง ๆ ที่นอนเปียก ๆ อยู่นั่นเอง แถมรุ่งเช้าบิณฑบาตก็ไม่ได้อาหาร ได้กล้วยน้ำว่ากับข้าวสุก ฉันข้าวกับกล้วยคนละใบ แล้วก็ออกเดินทางต่อ ท่านอาจารย์พาพวกเราบุกป่าฝ่าดงมาทางร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ผ่านดงลิงมาออกอำเภอสหัสขันธ์ เข้าเขตกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี แต่ไม่ได้เข้าในเมือง เว้นไปพักอยู่บ้านเชียงพิณตะวันตกของอุดร เพื่อรอการมาจากกรุงเทพฯ ของเจ้าคณะมณฑล การที่ท่านให้พวกเรามารออยู่ที่อุดรครั้งนี้ ท่านมีจุดประสงค์อยากให้พระมหาปิ่นมาประจำอยู่ที่อุดร เพราะที่อุดรยังไม่มีคณะธรรมยุต แต่ที่ไหนได้ เมื่อเจ้าคณะมณฑลมาจากกรุงเทพฯ ครั้งนี้
พระยาราชนุกูล ( ทีหลังเป็นพระยามุขมนตรี) ได้นิมนต์
พระมหาจูมพันธุโล ( ภายหลังเป็นพระธรรมเจดีย์ ) มาพร้อมเพื่อจะให้มาอยู่ที่
วัดโพธิสมภรณ์ที่อุดร ฉะนั้นเมื่อเจ้าคณะมณฑลมาถึงแล้วพวกเราจึงไปกราบนมัสการท่าน ท่านจึงได้เปลี่ยนโปรแกรมใหม่ จะเอาพระมหาปิ่นไปไว้สกลนคร แล้วจะให้เราอยู่ด้วยพระมหาจูม เพราะทางนี้ก็ไม่มีใครและเธอก็คนทางเดียวกัน อนึ่งเธอก็ได้เรียนมาบ้างแล้วจงอยู่บริหารหมู่คน ช่วยดูแลกิจการคณะสงฆ์ด้วยกัน เราได้ถือโอกาสกราบเรียนท่านว่า กระผมขอออกปฏิบัติเพื่อฉลองพระเดชพระคุณ เพราะผู้ปฏิบัติมีน้อยหายาก ส่วนพระปริยัติและผู้บริหารมีมากพอจะหาได้ไม่ยากนัก ท่านก็อนุญาตแล้วแนะให้เราอยู่ช่วยพระมหาปิ่น
พระมหาจูม ( จูม พันธุโล/ พระธรรมเจดีย์) หลวงปู่เสาร์ ท่านพระอาจารย์มั่น