tar
|
|
« เมื่อ: 09 ธันวาคม 2553, 22:11:07 » |
|
พระครูวิโรจน์รัตโนบล หลวงปู่รอด หรือ ญาท่านดีโลด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติ ท่านเจ้าประคุณพระครูวิโรจน์ฯ นามเดิมท่านชื่อ บุญรอด นามสกุล สมจิตต์ เกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ก่อนที่จะอุปสมบท ได้เรียนสำเร็จในด้านวิชาช่างจากสำนักราชบันเทา เมื่ออายุครบบวชได้อุปสมบทที่วัดมณีวัน และต่อมาก็ได้ย้ายมาอยู่ที่ วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี และได้เป็นเจ้าอาวาสวัดนี้ ท่านได้เคยศึกษาพระธรรมวินัย จากสำนักวัดมณีวันมาก่อน เมื่อท่านได้ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง จึงได้รับสมณศักดิ์ว่าที่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี
พระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เมื่อครั้งที่ท่านยังมีชีวิติอยู่ ท่านเป็นพราะภิกษุที่ทรงคุณธรรมมีเมตตาธรรมอยู่หลายประการ คือ ท่านมีขันติวิริยะอย่างกล้าแข็ง มีใจสุขุมเยือกเย็นโอบอ้อมอารี เมตตากรุณาต่อชนทุกชั้นไม่ว่ายากดีมีจน ท่านได้ให้ความ เมตตาเหมือนกันหมด ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ทั้งผู้ใกล้และผู้อยู่ไกลอย่างเสมอเหมือนมิมีจิตใจลำเอียง ท่านมักโอภาปราศรัย ด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม เมื่อผู้ใดได้มีโอกาสได้พบและรู้จักตัวท่านก็จะเกิดความรู้สึกเคารพรักและศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านไม่มีวัน จืดจางเลย จนประชาชนทั้งหลาย ได้ให้ฉายานามท่านใหม่ว่า "ท่านพระครูดีโลด" ทั้งนี้ ก็เพราะไม่ว่าใครจะทำอย่างใด พูดอย่างใดกับท่าน ท่านก็ว่าดีทั้งนั้น ไม่เคยขัดใจใครเลย และตัวหลวงปู่รอดนี้ ท่านมีคุณพิเศษอีกอย่างหนึ่ง ท่านเป็นช่างเขียน ภาพและลวดลายตลอดจนความรู้เกี่ยวกับช่างอิฐ ช่างปูนและชำนาญในด้านก่อสร้างเป็นอย่างดียิ่ง
จากประวัติความเป็นมาของหลวงปู่รอด หรือพระครูวิโรจน์รัตโนบลอันเกี่ยวเนื่องจากการที่ท่านได้ทำการบูรณะองค์พระธาตุพนม เมื่ออดีตกาลที่ผ่านมา ซึ่งจะได้กล่าวในโอกาสต่อไปนั้น ผู้เขียนได้ศึกษาและค้นคว้ามาจากตำนานพระธาตุพนม ซึ่งพระคุณเจ้า พระเทพรัตนโมลี (วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม) เป็นผู้เรียบเรียงมาเสนอให้ผู้อ่านได้มีโอกาสทราบถึงคุณธรรมอันเป็น ประโยชน์มหาศาลตลอดจนบุญบารมีของหลวงปู่รอด ผู้ซึ่งเป็นประธานในการบูรณะองค์พระธาตุพนมให้มีความสวยสดงดงาม เป็นสง่าราศรีและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญคู่บ้านคู่เมือง เป็นที่เคารพสักการะ ของพุทธศาสนิกชนมาตราบถึงทุกวันนี้ ด้วยความ วิริยะอุตสาหะอันแรงกล้าของหลวงปู่รอดนั่นเอง
ท่านพระครูวิโรจน์ฯ (หลวงปู่รอด) เดิมทีท่านจะขึ้นมาซ่อมพระธาตุพนม ท่านมีสมณศักดิ์ว่าที่พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช (เจ้าคณะอำเภอม่วงสามสิบ) ครั้นเมื่อซ่อมองค์พระธาตุพนมเสร็จเรียบร้อยแล้ว กลับลงไปจังหวัดอุบลฯ ท่านจึงได้เลื่อน สมณศักดิ์ใหม่เป็น พระครูวิโรจน์รัตโนบล เจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ต่อมาท่านชราภาพมากทางคณะสงฆ์จึงยกท่านให้เป็น กิติมศักดิ์ จนถึงวันที่ ๑ ธันวาตม ๒๔๘๔ ท่านจึงได้มรณะภาพที่วัดทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี รวมศิริอายุได้ ๘๘ ปี พรรษา ๖๗ ศิษยานุศิษย์และญาตโยมทั้งหลายได้จัดพิธีฌาปนกิจถวายหลวงปู่รอดเป็นการมโหฬารยิ่ง เมื่อเดือนเมษายน ๒๔๘๕ สมเด็จมหาวีรวงศ์ ได้เป็นผู้อุปถัมภ์นำศพท่านบรรจุไว้ในหีบไม้ลงรักปิดทองแบบโบราณ ตั้งบนหลังนกหัสดีลิงค์ภายใต้เมรุอัน วิจิตรตระการตาสมเกียรติคุณงามความดีของท่านพระครูดีโลดทุกประการ
อัฐิธาตุของท่านได้บรรจุไว้ ณ อนุสาวรีย์วัดทุ่งศรีเมือง ซึ่งคณะศิษย์และญาติโยมได้พร้อมใจกันสร้างขึ้น และส่วนหนึ่งนำบรรจุ ไว้ที่วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ประวัติความศักดิ์สิทธิ์ไสยเสทอาคมขลัง และประวัติการสร้างเหรียญรูปเหมือนหลวงปู่รอด ผู้เขียนได้รับฟังมาจากท่านผู้รู้เกี่ยวกับ พุทธาคม-เวทมนต์ของท่านหลวงปู่รอด หลวงปู่พระครูวิโรจน์ฯ ท่านได้ให้ความอนุเคราะห์ต่อผู้ที่ได้มากราบขอให้ท่านปัดเป่า เกี่ยวกับพวกที่ถูกคุณไสย ถูกกระทำผุเข้าเจ้าสิงต่างๆ ท่านสามารถไล่ปัดรังควาน และรักษาผู้เจ็บไข้ได้ทุกข์ต่างๆ เป็นที่เรียบร้อย ทุกราย แม้กระทั่งผู้ที่แขนขาหัก กระดูกแตก ท่านก็สามารถทำน้ำพุทธมนต์ทาที่เจ็บที่หักให้ติดกันหายสนิทได้ด้วยอำนาจบารมี ของหลวงปู่เอง
และเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ เกิดกรณีพิพาดระหว่างไทยกับฝรั่งเศษในอินโดจีน ชายแดนทั่วไปตึงเครียดด้วยภัยสงคราม หลวงวิจิตร วาทการได้มาตรวจนมัสการพระบรมธาตุ และได้กราบนมัสการขออนุญาตหลวงปู่รอด (พระครูวิโรจน์ฯ) สร้างเหรียญรูปเหมือน ไว้แจกแก่ข้าราชการ ทหาร ประชาชน ศิษยานุศิษย์ เพื่อคุ้มครองป้องกันภัยพิบัติในสงครามครั้งนั้น และได้มอบให้ พ.อ. กล้ากลางสมร เป็นผู้ดำเนอนการจัดสร้างถวาย ลักษณะเหรียญเป็นเหรียญรูปไข่ มีรูปเหมือนท่านเจ้าประคุณหลวงปู่รอดนั่ง เต็มองค์ มีอักขระสองแถวว่า อะเมอุ และ นะมะพะทะ ด้านหลังมีอักขระ ๔ แถว อ่านจากบนลงล่างได้ความว่า "อะระหัง" "อะระหัง" "หังระอะ" ยะระหา เหรียญนี้เนื้อสัมฤทธิ์มีทั้งกะไหล่เงินและกะไล่ทอง ส่วนจำนวนคงมีไม่มากนักผู้ที่มี ต่างหวงแหนเป็นอย่างยิ่ง ประสบการณ์ต่างๆเกี่ยวกับบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงปู่ และเหรียญรูปเหมือนของท่านนั้น มีผู้ประสบ และได้ผลหลายประการ ผู้เขียนไม่สามารถนำมาลงได้เพราะเนื้อที่มีจำกัดท่านผู้อ่านผู้รู้เกี่ยวกับรายละเอียดการสร้างเหรียญหลวงปู่รอด มากกว่านี้ กรุณาแจ้งรายละเอียดมายังผู้จัดทำด้วย จะเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
จากหนังสือ อภินิหารและพระเครื่อง ฉบับที่ 29 ปีที่ 3 ธันวาคม 2517
|
หนึ่งภูมิพงศ์
|
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธันวาคม 2553, 21:36:23 โดย ubonpra »
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
middle spirit
|
|
« ตอบ #1 เมื่อ: 27 กุมภาพันธ์ 2554, 10:02:37 » |
|
ภาพพิมพ๋แจกปี พ.ศ.๒๔๙๒ ครับ
|
|
|
|
gigko
|
|
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 เมษายน 2554, 12:21:30 » |
|
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #3 เมื่อ: 19 เมษายน 2554, 08:57:20 » |
|
ยอดเยี่ยมมากครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
ramin
|
|
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 ตุลาคม 2554, 20:27:23 » |
|
เมื่อได้ศึกษาประวัติ ? พระครูวิโรจน์รัตโนบล ? จึงได้ทราบว่าท่านเป็นพระสงฆ์ที่ทรงคุณธรรมและทรงวิทยาคุณที่น่าเคารพเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง คุณงามความดีของท่านเป็นที่ศรัทธาของชาวอุบลฯ ตราบทุกวันนี้
และในอีกยุคหนึ่งตอนเขียนประวัติหลวงปู่ดี ฉันโน ตอนพิธีศพของหลวงปู่ท่าน ข้าพเจ้าได้ทราบว่าเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง คือ ? พระวิโรจน์รัตโนบล ?
ทำให้แปลกใจ งงไปพักใหญ่ เป็นไปได้อย่างไร เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองมีราชทินนาม ? วิโรจน์รัตโนบล ? เหมือกัน ต่างกันที่ ? สมณศักดิ์ ? เท่านั้น จะต้องมีอะไรเป็นพิเศษอย่างแน่นอน
พระครูวิโรจน์รัตโนบล กับพระวิโรจน์รัตโนบล เจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองรูปที่ 2 กับรูปที่ 4 ทำไมจึงมีราชทินนามตรงกัน ทั้งสองท่านมี ? คุณสมบัติพิเศษ ? ประการใดบ้าง ศึกษาได้จากประวัติของท่านทั้งสองดังต่อไปนี้
ชาติภูมิ พระครูวิโรจน์รัตโนบล (บุดรอด นนฺตโร) เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2397 ตรงกับวันพุธขึ้น 5 ค่ำ เดือนยี่ ปีเถาะ พ.ศ. 2397 ที่บ้านดู่ หมู่ที่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี บิดาชื่อ บุดดี มารดาชื่อ กา นามสกุล สมจิตร
อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2421 ที่วัดป่าน้อย (วัดมณีวนาราม) เจ้าอธิการจันลาเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ คำ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ดี เป็นพระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ ท่านได้รับการศึกษาเบื้องต้น คือ การเรียนอักษรขอม อักษรไทยน้อย หนังสือไทย การคิดเลขจากท่านราชบรรเทา เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้เล่าเรียนท่องบทสาธนายสวดมนต์น้อย สวดมนต์กลาง ได้แก่ เจ็ดตำนาน สองตำนาน สวดมนต์ปลาย ได้แก่ ปาฏิโมกข์ สัททสังคสูตร เรื่องมูลกัลป์จายน์ และเรียนวิชาช่างศิลป์ (ช่างปั้น เขียน แกะสลัก) อีกด้วย
เกียรติประวัติ หลังจากท่านอุปสมบทระยะหนึ่ง ก็ย้ายไปอยู่ที่วัดทุ่งศรีเมือง ต่อมาเมื่อเจ้าอาวาสมารณภาพ ท่านจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง เกียรติประวัติของท่านพอสรุปได้ดังนี้
1. งานปกครอง พระครูวิโรจน์รัตโนบล ปกครองสงฆ์โดยใช่พระคุณเป็นหลักมีเมตตาธรรมสูงมากองค์หนึ่ง ชอบสงเคราะห์ผู้เดือดร้อนใครก็ตามที่เข้ามาปรึกษาปัญหาหรือขอพึ่งพระบารมี หลวงปู่จะตอบว่า ? ดี ? หลวงปู่ท่านจะอนุเคราะห์ ทุกอย่างที่ให้ได้ จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของคนทั่วไป และได้รับคำชมเชยว่า ? หลวงปู่ดีโลด ? หรือ ดีโรจน์ คือดีทุกอย่าง (ดีโลด หมายถึง ดีมาก)
2. สมณศักดิ์ พ.ศ. 2434 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะแขวงอุดร หรืออำเภออุตตรูปรนิคม (อำเภอม่วงสามสิบ) และได้รับพระราชทานเป็น พระครูอุดรพิทักษ์คณะเดช แต่ยังดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง
พ.ศ. 2446 ได้รับแต่งตั้งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2447 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น ? พระครูวิโรจน์รัตโนบล ? จนถึงอายุ 75 ปี ได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2470 รวมเวลาเป็นเจ้าคณะบริหารคณะสงฆ์รวม 37 ปี
3. การสาธารณูปการ เนื่องจากท่านเป็นช่างศิลปะท่านได้รับอาราธนาให้ดำเนินการปฏิสังขรณ์และสร้างถาวรวัตถุที่สำคัญดังนี้
- ปฏิสังขรณ์พระธาตุพนม (เมื่อ พ.ศ. 2444)
- ปฏิสังขรณ์วิหารพระเหลาเทพนิมิต
- เป็นกรรมการสร้างอุโบสถวัดสุปัฏนารามวรวิหาร (หลังปัจจุบัน)
- เป็นประธานหล่อพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี (พระสัพพัญญูเจ้า พระประธานวัดสุปัฎนารามวรวิหารพระประธานวัดท่าบ่อ พระประธานวัดบ้านหนองไหล)
4. เกียรติคุณทางวิทยาอาคม ในปี พ.ศ. 2483 เกิดกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสในอินโดจีน จนเกิดเป็น ? สงครามอินโดจน ? กองทหารได้บุกเข้ายึดนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว โดยตั้งฐานบัญชาการอยู่ที่อุบลราชธานี พ.ต.อ.พระกล้ากลางสมรภูมิ ข้าหลวงประจำจังหวัดอุบลฯ ขณะนั้นได้นิมนต์ท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบล เป็นผู้ประสาทพรแก่ทหารเพื่อความปลอดภัย และขุนบุรัสการบดีผู้แทนราษฎรสมัยนั้น ได้นำเอารูปถ่ายของท่านพระครูวิโรจน์รัตโนบลไปทำเป็นเหรียญแจกจ่ายแก่ทหาร ปรากฏว่าทหารรุ่นนั้น ปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ เหรียญรุ่นนั้นได้ปรากฏความขลังจึงเป็นที่ต้องการแพร่หลายในปัจจุบัน
เกียรติคุณด้านวิทยาคมที่โด่งดังก็คือ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่กล่าวได้ว่า สามารถกำราบพวกภูมิผีต่างๆ เช่น ผีปอบ โดยมีลูกศิษย์ท่านหลายคนกล่าวว่า เพียงได้ยินชื่อท่านเท่านั้น พวกผีทั้งหลายก็เผ่นหนีแล้ว จึงไม่แปลกใจเลยว่า หลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตโนบล จึงเป็นที่เคารพศรัทธาของสาธุชนโดยทั่วไป
พระครูวิโรจน์รัตโนบล ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2485 รวมอายุได้ 88 ปี 64 พรรษา โดยเป็นเจ้าคณะปกครองพระสงฆ์อยู่ 37 พรรษา คือ เป็นเจ้าคณะอำเภออยู่ 13 พรรษา เป็นเจ้าคณะจังหวัด 24 พรรษา
ชาติภูมิ พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) นามสกุล ตลอดพงษ์ เกิดวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458 วันเสาร์แรม 14 ค่ำ เดือน 11 ปีเถาะ หมู่ 6 บ้านเหล่าเสือโก้ก ต.เหล่าเสือโก้ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
บรรพชาอุปสมบถ บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2475 ที่วัดมงคลใน บ้านเหล่าเสือโก้ก ตำบลเหล่าเสือโก้ก อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยพระอุปัชฌาย์สี เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2478 ณ วัดมงคลใน อุบลราชธานี โดยพระอุปัชฌาย์สี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ อ้วน ตรีรัตน์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ แสง พิมพ์บุญมา เป็นพระอนุสาวนาจารย์
วิทยฐานะ สอบได้นักธรรมชั้นเอก และพระบาลีไวยากรณ์ พ.ศ. 2482 สอบได้เปรียญธรรม 4 ประโยค พ.ศ. 2487 สำนักเรียนวัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร สอบได้เปรียญธรรม 6 ประโยค ประโยคครูพิเศษมัธยม
สมณศักดิ์ พ.ศ. 2501 พระมหาพิมพ์ นารโท ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวิโรจน์รัตโนบล (ไม่เป็นพระครูสัญญาบัตรมาก่อน) เป็นรองเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี
พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี ปกครองสงฆ์ต่อจากพระธรรมเสนานี ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นที่ พระราชรัตโนบล
เกียรติประวัติ เนื่องจากพระราชรัตโนบล ท่านเป็นผู้คงแก่เรียน มีความรู้ดี ทั้งทางโลก และทางธรรม เกียรติประวัติของท่านจึงโดดเด่นไปในทางการเผยแพร่อบรมเทศนาสั่งสอนรวมถึงการสอนหนังสือ การจัดการศึกษาและการบริหารคณะสงฆ์ ซึ่งพอสรุปได้นี้
1. ด้านการสอนและการจัดการศึกษา เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหลายสำนักเรียน เป็นครูใหญ่สำนักเรียนพระปริยัติธรรมวัดมณีวนาราม เป็นรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี นอกจากนี้ท่านยังสนับสนุน ส่งเสริมให้วัดต่างๆ ในเขตจังหวัดอุบลราชธานี ให้เปิดทำการสอนพระปริยัติธรรม และโรงเรียนพุทธศาสนา วันอาทิตย์เพื่อให้การศึกษาแก่พระสงฆ์ สามเณร และเยาวชนของชาติอีกด้วย
2. ด้านการเผยแพร่ เมื่อ พ.ศ. 2496 พระเดชพระคุณหลวงพ่อยังได้รับแต่งตั้งให้เป็น เผยแพร่ธรรมจังหวัดอุบลราชธานีในขณะดำรงตำแหน่ง ได้ออกจาริกเผยแผ่ไปทั่วทุกตำบล ในจังหวัดอุบลราชธานี แม้ตำบลจะทุรกันดาร ต้องอาศัยเกวียนเป็นพาหนะ เป็นระยะทางไกล ก็มิได้ย่อท้อ โดยยึดธรรมะประจำใจว่า ? งานในหน้าที่เผยแผ่คือ งานเทศนาสั่งสอน เป็นธรรมทูตนำธรรมะให้เข้าถึงประชาชน หรือนำประชาชนให้เข้าถึงธรรมะ ? ท่านได้เผยแผ่เทศนาสั่งสอนพุทธศาสนิกชนมาโดยตลอด
3. ด้านการปกครอง ท่านเจ้าคณะพระราชรัตโนบล เป็นพระนักปกครอง โดยใช้พระคุณเป็นหลัก ท่านได้รับภาระในการปกครองคณะสงฆ์ดังนี้
พ.ศ. 2478-2493 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมงคลใน ต.เหล่าเสือโก้ก อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พ.ศ. 2494-2501 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
พ.ศ. 2502-ปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี
คุณสมบัติพิเศษ
พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระราชรัตโนบล เป็นพระมหาเถระที่มีเมตตาธรรมสูงมาก และเด็ดขาด เป็นผู้ที่เคารพความยุติธรรม ความถูกต้องเป็นที่สุด
ครั้งหนึ่งท่านเป็นผู้นำในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเพื่อความเป็นธรรมให้คืนสมณศักดิ์ แก่พระพิมลธรรม (อาส อาสโภ) เจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ กรุงเทพมหานคร จนเป็นผลสำเร็จ
ทำให้การเสนอแต่งตั้งและการแต่งตั้งครั้งนั้นถูกต้องมีความยุติธรรม คุณสมบัติพิเศษของพระราชรัตโนบลที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือ มีอุปนิสัยชอบสอนหนังสือ เป็นชีวิตจิตใจแม้อายุมากแล้วก็ยังสอนนักธรรมสอนบาลี อยู่เป็นประจำ
อีกประการหนึ่ง หลวงพ่อเจ้าคุณพระราชรัตโนบลเป็นพระมหาเถระที่ไม่ถือตัว เอื้อเฟื้อต่อศิษย์ทุกคนอย่างเสมอกัน ชอบช่วยเหลือ และให้โอกาสผู้ที่เดือดร้อนมาขอพึ่งบารมีหลวงพ่อ จะไม่ได้รับคำปฏิเสธจากหลวงพ่อเลยแม้แต่คนเดียว และไม่เลือกชั้นวรรณะด้วย จนได้รับคำชมเชยว่า หลวงปู่ดีโลดองค์ที่สอง
พระราชรัตโนบล ได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 รวมอายุได้ 89 ปี 2 เดือน 20 วัน 69 พรรษา ตั้งศพบำเพ็ญกุศลที่วิหารศรีเมือง วัดทุ่งศรีเมือง เป็นเวลา 100 วัน
เมื่อได้ศึกษาประวัติอริยสงฆ์ทั้ง 2 องค์แล้ว จะเห็นได้ว่ามีที่น่าสังเกตอยู่หลายประการ เช่น
1. เหตุใดจึงมีราชทินนาม ? วิโรจน์รัตโนบล ? เหมือนกัน
ได้สอบถามเรื่องนี้จากผู้อาวุโสหลายท่านทั้งบรรพชิต และฆราวาส พอที่จะประมวลได้ ว่าชาวอุบลฯ ยังคงศรัทธาในปฏิปทาของพระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) โดยมิเสื่อมคลาย
ในขณะเดียวกันก็สรรหาพระดีเยี่ยงนี้เพื่อเป็นการทดแทนเมื่อได้พบ ? พระมหาพิมพ์ นารโท ? ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมณีวนาราม ที่มีบุคลิกภาพ ? อุ่มสุ่ม ? ภาษาอีสานหมายถึง ผู้มีลักษณะน่าเชื่อถือศรัทธา หรือว่า ? ผู้มีบุญ ? เข้าข่าย ? พระดี ? เช่นเดียวกับ ? ญาท่านดีโลด ? สมควรนิมนต์เป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองที่ว่างอยู่
ทางฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก็เห็นดีด้วย จึงได้เสนอสมณศักดิ์ชั้นพระราชคณะ (เจ้าคุณ) ? พระวิโรจน์รัตโนบล ? ให้แก่ ? มหาพิมพ์ นารโท ? เป็นกรณีพิเศษ โดยไม่ต้องเสนอตั้งเป็น ? พระครู ? ตามขั้นตอนก่อนเป็น ? เจ้าคุณ ? (แสดงให้เห็นว่าปฏิปทาและความรู้ความสามารถของมหาพิมพ์ นารโท มีมากเป็นพิเศษ พอที่จะตั้งสมณศักดิ์ข้ามขั้นตอนได้)
วัดทุ่งศรีเมืองจึงได้มี ? เจ้าคุณ ? เป็นเจ้าอาวาสสำหรับ ? ราชทินนาม วิโรจน์รัตโนบล ? ก็เพื่อเป็นองค์แทน ? พระครูวิโรจน์รัตโนบล ? (ญาท่านดีโลด) ตามศรัทธาของฝ่ายบ้านและฝ่ายวัด นับว่าสมความปรารถนาของชาวอุบลฯ ทุกประการ
2. อริยสงฆ์ทั้งสององค์ มีสิ่งที่เหมือนกัน เป็นต้นว่า
- เคยอยู่วัดมณีวนารามก่อนเป็นเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองเช่นเดียวกัน
- ทรงวิทยาคุณและทรงคุณธรรมล้ำค่าเช่นเดียวกัน
- ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดอุบลราชธานี เช่นเดียวกัน
- อายุยืนใกล้เคียงกัน พระครูวิโรจน์ฯ 88 ปี 64 พรรษา พระราชรัตโนบล 89 ปี 69 พรรษา
- ถึงแก่มรณภาพ ขณะดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทุ่งศรีเมืองเช่นเดียวกัน
3. ตามประวัติ
พระครูวิโรจน์ฯ เกิด พ.ศ. 2397 พระราชรัตโนบล เกิด พ.ศ. 2458 ห่างกัน 61 ปี แต่มีส่วนเกี่ยวข้องกันสถานใด อ่านได้จากบันทึกนี้เป็น ? งานเขียนของพ่อสิน ศรีภา อุบาสกวัดทุ่งศรีเมือง ?
? เจ้าคุณราชรัตโนบล (พิมพ์ นารทเถระ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบันเขียนชีวประวัติของท่านเป็นที่ระลึกในงานวันเกิดเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2506 ว่า การเกิดของท่านนั้นได้ยินว่ายากมาก โยมมารดาต้องได้รับทุกข์ทรมาน ปวดท้องอยู่เป็นเวลาหลายวันก็ไม่ยอมคลอด
หมอตำแยแถวนั้นคงจะรุกรายโยมมารดาของข้าพเจ้ามาก และพร้อมกันนั้นก็คงจะทรมานข้าพเจ้าด้วยไม่น้อยเหมือนกัน
ตั้งแต่พยายามจะให้คลอดอยู่นั้นเป็นเวลาหลายวันจนสุดสามารถ จึงได้หวนคิดถึงหลวงปู่พระครูวิโรจน์รัตโนบล (ญาท่านดีโลด) วัดทุ่งศรีเมือง ครั้งนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าคณะเมืองอยู่สันนิษฐานว่าท่านคงเดินทางออกไปตรวจการคณะสงฆ์แถวนั้น จึงได้อาราธนาท่าน หรือไม่ก็มาอาราธนาท่านออกไปจากวัดทุ่งศรีเมืองเลย
ท่านได้มีเมตตาจิตไปกระท่อมน้อยๆ ซึ่งไม่เหมาะที่ท่านผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่จะพึงไป หากท่านไม่มีเมตตาจิตแล้ว ท่านจะมองไม่เห็นหรือมองข้ามก็ได้ แต่นี่ท่านได้ใส่ใจไปอนุเคราะห์ถือว่าเป็นโชคดีของโยมมารดา และข้าพเจ้ามาก
ท่านได้กรุณาทำน้ำมนต์ให้โยมมารดากิน พอโยมมารดาได้กินน้ำมนต์ของท่านสักครู่เท่านั้น ก็คลอดข้าพเจ้าออกมาอย่างสบาย ท่านได้กรุณามองหน้าข้าพเจ้าแต่แรกเกิดด้วยความเอาใจใส่ พร้อมกันนั้นก็คงจะมีเมตาจิตให้ข้าพเจ้ามาก จึงได้กรุณากำชับว่า ? ให้เลี้ยงไว้ให้ดี เด็กคนนี้เป็นคนมีบุญ โตขึ้นจะได้เป็นใหญ่ ?
สิ้นสุดการบันทึกเพียงแค่นี้ โดยที่ไม่มีใครคาดคิด ? เด็กมีบุญคนนี้ ? พอโตขึ้นก็เจริญรอยตาม ? ญาท่านดีโลด ? ผู้ทำน้ำมนต์ให้คลอดง่ายจนกลายเป็น ? ญาท่านดีโลดองค์ที่ 2 ?
ญาท่านดีโลด ล่วงลับแล้ว 2 องค์ ชาวอุบฯ ได้แต่รำพึงคิดคำนึงว่า ? อีกเมื่อใดจะได้มีญาท่านดีโลดองที่ 3 อีก ?
|
|
|
|
คนโก้
|
|
« ตอบ #5 เมื่อ: 12 ตุลาคม 2554, 07:07:23 » |
|
ขอบคุณครับ
|
.
|
|
บันทึกการเข้า
|
"ขุนผู้หาญคองเมืองจั่งเฮืองฮุ่ง ขุนขี้ย่านคองบ้านบ่ฮุ่งเฮือง"
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|