ขออนุญาตประกอบส่วนบทความได้รู้เกี่ยวกับ สมณะศักดิ์ ของพระสงฆ์ นำกัน
เมื่อได้บวชเป็นพระ (ครูบา) แล้วจึงจะถูกเรียกว่าพระมหา ส่วนคำว่า จัว
ในภาษาลาวชาวเบ้านหมายถึง สามเณร หรือ เณร ทั่วไป
แต่คำว่าราซา หรือ ซา นั้นเป็นคำยกย่องพิเศษ หรือที่เรียกว่า เป็นสมณะศักดิ์พิเศษ
เพราะว่าตามธรรมดา สมณะศักดิ์ในล้านช้างในสมัยนี้
จะแต่งตั้งให้ได้แต่เมื่อได้บวชเป็นพระ (ครูบา) จึงถืก คือ
- ขั้นต้นของพระจะเป็น พระสมเด็จ (สมเด็จ)
- ขั้นต่อไปจะเป็น "พระซา" (พระราชาคณะ)
- ต่อมาเป็น "พระครู"
- พระครูหลักคำ
- พระลูกแก้ว
- พระยอดแก้ว
เบิ่งแล้วการขึ้นชั้นระหว่าง พระสงฆ์ไทยกับพระสงฆ์ลาวในสมัยนี้ จะเป็นการกลับกัน
- พระครู
- พระราชาคณะ
- สมเด็จ
แต่พระครูโพนสะเม็กได้รับสมณะศักดิ์ตั้งแต่เป็นสามเณรแล้ว ยังข้ามชั้นจากสมเด็จไปเป็นซา
*อ้างอิงตามหนังสือ ประวัติพระราชครูหลวง โพนสะเม็ก หน้าที่ 10-110
เขียนโดย คำเพา พอนแก้ว
เพิ่มเติม เกี่ยวกับลำดับขั้นสมณะศักดิ์ พระสงฆ์ของลาว
- พระสมเด็จ เป็นสมณะศักดิ์ขั้นหนึ่ง
- พระซา เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสอง
- พระครู เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสาม
(สมณะศักดิ์ขั้นการศึกษา)
- พระหลักคำ เป็นสมณะศักดิ์ขั้นสี่
- พระลูกแก้ว เป็นสมณะศักดิ์ขั้นห้า
- พระยอดแก้ว เป็นสมณะศักดิ์ขั้นหก
(เป็นสมณะศักดิ์ ขั้นการปกครองนับตั้งแต่เจ้าคณะเมืองขึ้นไปฮอดสังฆราซา)
- ผู้ที่เป็นพระบ่ทันได้บวช เป็นพระสงฆ์ธรรมดา หากสึกไป เรียกว่าทิด (มาจากบัณฑิต)
ส่วนสามเณรนั้นเรียกว่า จัว ใช้เรียกทั่วไปหากสึกไป
- สามเณรที่ยังไม่ได้รับสมณะศักดิ์ แต่จะได้รับวุฒิที่ได้ แต่ไม่ได้รับขั้น พระบวชใหม่เช่นกัน
ต้องบวช 3 ปีจนจบนักธรรมเอกแล้ว จึงจะได้ทิด แต่เดี๋ยวนี้ ประชาชาบ่รู้บวดหนึ่งพรรษา
สองพรรษา บ่ทันพ้นนิสัยมุตะกะ ประชาชนก็เอิ้นทิดแล้ว
แปลและเรียบเรียง จันดี สีเวินไซ (tar)
ข้อมูลตรงนี้ผิด ตำแหน่งที่ว่านี้ไม่เกียวกับสมณะศักดิ์เจ้าคณะปกครองคณะสงฆ์ลาวทั้งหมดนะ ตำแหน่งเจ้าคณะปกคลองสงฆ์ ตามนี้มีแแค่ 2 ตำแหน่ง พระลูกแก้ว(รองพระสังฆราช) กับ พระยอดแก้ว(พระสังฆราช) ซึ้งสองตำแหน่งนี้จะเป็นพิธิหลวง(จองหด หรือ หดสงฆ์) ผู้ที่อนุญาติหรือพระราชทานงานพิธีนี้จะต้องเป็นกษัตริย์เท่านั้น สองตำแหน่งนี้เท่านั้นจะเรียก จองหดหลวง หรือ หดสงฆ์หลวง เมือชาวบ้านเห็นทางการทำก็ได้นำไปทำต่อพระภิษุสงฆ์ตามทองถิ่นของตนเองบ้าง จนเกิดเป็นประเพณีนิยมทำตามกันมาโดยแพร่กระจายจากเวียงจันทร์ สู่ชุมชุนทองถิ่นที่มีวัฒนธรรมล้านช้างเป็นหลัก ทั้งภาคอิสานของไทยและประเทศลาว และในแต่ละชุมชนจะมีรายละเอียดปลีกย้อยแยกต่างกันไปบ้าง แต่ต้นเคล้ามาจากที่เดียวกัน คือ เวียงจันทร์
ตำแหน่งการจองหดสงฆ์ ของราช(ราษฎร)
1.ตำแหน่งแรก คือ สัมเร็จ มาจากคำว่า สำเร็จ จะหดสงฆ์แก่พระภิษุที่ศึกษาเล่าเรียนสำเร็จในสำนักครูบาอาจารย์แล้ว อาทิเช่น สัมเร็จจลุน คนไทยเรียกเพี้ยนเป็น สมเด็จลุน (อันนี้เป็นการเข้าใจผิดของคนไทยภาคกลางเราที่ไม่เขาใจวัฒนธรรมจองหดสงฆ์ของล้านช้าง และพัฒนาการไปเป็นนิยายโดยนักเขียนที่ไม่รู้จริงจน สมเด็จลุน กลายเป็นพระสังฆราชลาวไปแล้ว หาอ่านให้จากเวปพลังจิต นิทานนิยายนักเขียนเยอะเวปพลังจิต)
2.ตำแหน่งที่สอง คือ ซา คำนี้มาจากคำว่า วิชา(สำเนียงอิสาน วิซา) ชื้อตำแหน่งนี้เช่น ซาคำ ซา จะหดสงฆ์ให้แก่พระภิษุสงฆ์ที่ใด้รับการย่อมรับว่ามีวิชาความรู้ความสามารถและจะต้องหดสงฆ์ต่อจากตำแหน่ง สัมเร็จ อาทิเช่น พระซาคำแดง (แยกเป็น ซาคำ คือตำแหน่ง แปลว่า ผู้มีวิชาดุจทองคำหรือผู้มีว่าวิชาที่มีค่าที่สูงส่ง มาจากคำว่า วิซา+คำ คำ มากจากคำว่า ทองคำหรือสิ่งมีคุณค่าสิ่งสูงส่ง) บางพื้นที่ว่า ญาซา
3.ตำแหน่งที่สาม คือ ครู คือ ผู้สั่งสอนวิชาความรู้แก่ศิษย์ ก็จองหดสงฆ์ต่อจากขั้น ซา แด่พระภิษุที่มีความสามารถสั้งสอนศิษย์ได้ เรียกง่ายๆว่าเป็นพระระดับครูบาอาจารย์คน อาทิเช่น อัญญาครูดี วัดม่วงไข(พระอาจารย์ของหลวงปู่ฝั่น) ญาครูโสภาวดี วัดบ้านฟ้าเลื้อม ร้อยเอ็ด
4.ตำแหน่งที่สี่ คือ หลักคำ ตำแหน่งนี้ จะจองหดสงฆ์แก่พระภิษุที่มีความรู้ความสารถสู่ที่ใด้รับการย่อมรับจากสงฆ์ส่วนมากและมีความสารถในการเป็นผู้นำ พูดง่ายๆตำแหน่งนี้ คือ อาจารย์ใหญ่ พระที่ใด้ตำแหน่งหลักคำ โดยมากมักจะมีตำแหน่งท่างการปกคลองสงฆ์ด้วย
5.ตำแหน่งที่ห้า คือ พระลูกแก้ว (เป็นการจองหดสงฆ์ของพิธีหลวง)
6.ตำแหน่งที่หก คือ พระยอดแก้ว (เป็นการจองหดสงฆ์ของพิธีหลวง)
ส่วนตำแหน่งในฐานะเจ้าคณะปกครอง แยกออกไปอีกต่างหากไม่เกียวกับตำแหน่งการจองหดสงฆ์ของราช(ราษฎร) ส่วนตำแหน่ง "พระราชครูหลวงโพนสะเม็ก" ชื่อตำแหน่ง "พระราชครูหลวง" ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งพิเศษ มีศักดิ์เป็น พระยอดแก้ว(พระสังฆราช) + ตำแหน่งขุนนาง คือ ราชครู(ที่ปรึกษากษัตริย์) ตำแหน่งนี้ไม่เกียวกับการจองหดครั้งที่สาม แต่เป็นตำแหน่งของเจ้าคณะปกครองสงฆ์