?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
11 พฤศจิกายน 2567, 02:28:58 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2567, 05:22:05 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
พวกเราได้ชื่อว่ากัมมัฏฐาน ให้มาปฏิบัติในแนวนี้ ปฏิบัติในทำนองเดียวกันเรียกว่าพวกกัมมัฏฐาน มันมีอะไรเป็นเครื่องวัดกัมมัฏฐาน? ฉันมื้อเดียว ฉันในบาตร อยู่ป่าเป็นวัตรฯ นั่นเป็นเครื่องวัด เครื่องแสดงของภายนอก
กัมมัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งมั่นคง ถ้าไม่มั่นคงไม่มีที่ตั้ง การงานอะไรต่างๆสิ่งภายนอกที่เขาทำ ที่เขาตั้งใจจริงๆนั่นแหละมาจากอันนั้น แต่เราไม่ได้ทำการภายนอกเหมือนอย่างของฆราวาส เราทำกิจทางศาสนา ทางศีลก็ดี ทางสมาธิก็ดี ทางปัญญาก็ดี ทำให้หนักแน่นให้มั่งคง จึงเรียกว่ากัมมัฎฐาน เราสังเกตดูว่า ที่เราทำเวลานี้มีอะไรเป็นเครื่องวัด? เป็นกัมมัฏฐานแล้วหรือยัง? มีอะไรเป็นเครื่องบกพร่อง? ให้รู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ ถ้าไม่คิดไม่พิจารณาไม่ค้นคว้าก็ไม่รู้เรื่อง
การพิจารณา “กัมมัฏฐาน” นี้ใช้อะไรก็ได้ ขอให้ตั้งมั่นคงก็แล้วกัน จะเอาพุทโธหรืออานาปานสติ กายคตาสติ อันเดียวกันหมดนั่นแหละ หรืออย่างเขาว่ายุบหนอพองหนอ หรือสัมมาอรหัง ก็เพื่อตั้งให้มั่นทำให้มั่นคงให้หนักแน่น เมื่อจิตมั่นคงหนักแน่นได้แล้ว ก็เป็นกัมมัฏฐานทั้งหมด เมื่อจิตไม่หนักแน่นก็คลอนแคลน เห็นใครว่าอันไหนดีก็ตามไปเรื่อย คว้านั่นคว้านี่ก็เลยไม่ได้รับประทานสักอย่าง ผลที่สุดก็เหลวแหลกหมด กัมมัฎฐานแตก กัมมัฏฐานอยู่อันเดียว เมื่อเราพิจารณาสิ่งใด ให้ตั้งมั่นพิจารณาลงในสิ่งเดียวก่อน
สมถะ คือความสงบ ให้ทำความสงบจริงๆเสียก่อน มันจะรู้เรื่องหรอกว่าสมถะเป็นอย่างไร? วิปัสนาเป็นอย่างไร? แต่ความสงบเราก็ยังไม่ได้ จะไปโทษว่าความสงบไม่เกิดปัญญา ไม่ได้ จึงว่าความสงบนั้นทำให้มันมาก อบรมให้มันมาก เป็นแล้วก็ให้มันเป็นอยู่ตลอดเวลา ทั้งกลางคืนกลางวัน ถึงไม่ได้กลางวันก็ให้ได้กลางคืน ถึงไม่ได้วันหนึ่ง อย่างน้อยในวันหนึ่งให้ได้สักทีหนึ่งก็ยังดีอยู่ อันนี้ไม่เคยได้เลยตั้งแต่บวชมา บางองค์ก็ไม่เคยเป็นสมาธิสักที แล้วมันจะเป็นกัมมัฏฐานได้อย่างไร? กัมมัฏฐานทำความไม่มั่นคงก็ไม่ใช่ของตน ตั้งใจพิจารณาของของตน อย่าไปหาดูที่อื่น ครั้นพิจารณาลงในนี้แล้ว มันเห็นตัวของตนแล้วมันต้องมีความรู้ พิจารณาสิ่งเดียวมันต้องเกิดความรู้ขึ้นในที่นั้น
พิจารณาสิ่งเดียวพิจารณาอะไร? จะพิจารณากาย หรือพิจารณาความเกิด ความดับ เราพิจารณาในสิ่งเดียวมันต้องเกิดความรู้ สิ่งทั้งปวงหมดถ้าเอามากมันก็พร่าไปหมดเลย จับอะไรไม่ได้ ถ้าของอันเดียวแล้วมันต้องรู้ พิจารณาของอันเดียวมันต้องรู้ พิจารณาตัวธาตุนั่นเอง ตัวอสุภะ ตัวของปฏิกูล ก็ของอันเดียวกันไม่ถูกที่ใดก็ต้องถูกที่หนึ่งแน่นอนทีเดียว เห็นชัดขึ้นมาเลย เนื่องจากสมาธิไม่มีมันจึงไม่เห็น การพิจารณาเลยเบื่อๆไป มันไม่มีหลักไม่มีฐานอยู่แล้ว จึงว่าพวกกัมมัฏฐานนี่ต้องเป็นกัมมัฏฐานจริงๆจังๆ มันต้องพิจารณาให้ลงอันเดียว มันจะสงบมันจะเป็นสมถะหรือเป็นสมาธิก็ตามเถิด พิจารณาค้นคว้า พิจารณาเหตุผลเรื่องราวนั่น ที่อันเดียวนี่แหละ ความเกิดความดับ ความสิ้นความเสื่อมของสังขารร่างกาย มันก็ปรากฎขึ้นมา เกิดความสลดสังเวชในตัวของตน ที่ได้ของไม่ดี ที่ได้ของไม่เที่ยง ที่ได้ก้อนทุกข์
บางคนบอกว่า ไม่เห็นทุกข์ อยู่กับทุกข์ ทุกวันทุกคืน ไม่เห็นอย่างไร? ทำไมจึงไม่พิจารณา ยืน เดิน นั่ง นอน เปลี่ยนอิริยาบถ ก็ล้วนแต่เปลี่ยนเพื่อระงับทุกข์ การอยู่ การกิน การนอน ก็ล้วนแล้วแต่เปลี่ยนอิริยาบถเพื่อระงับทุกข์เท่านั้น การเจ็บการป่วยเล็กๆน้อยๆ เรียกว่า เวทนา มันมีอยู่ประจำ ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ เป็นหนาว ด้วยอาการต่างๆ ก็ล้วนแต่เรื่องทุกข์ทั้งนั้น ครั้นพิจารณาลงอันเดียวมันเห็น เห็นในตัวของเรานี่แหละ ไม่ต้องไปพิจารณาที่อื่น อย่างนั้นจึงเป็นกัมมัฏฐานแท้ นี่สักแต่ว่ากัมมัฏฐานเฉยๆ ตรงไหนเป็นกัมมัฏฐานก็ไม่ทราบ เมื่ออยากเป็นกัมมัฏฐานก็ให้พิจารณาลงอันเดียว อย่างที่พูดมานี้
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
การพิจารณากัมมัฏฐาน
วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

 2 
 เมื่อ: 10 พฤศจิกายน 2567, 05:20:51 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
สติ สมาธิ ปัญญา ทั้ง ๓ อย่างนี้มันแยกกันไม่ได้
ครั้นไม่มีสติก็ไม่มีสมาธิ ไม่มีสมาธิก็ไม่มีปัญญา
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
 สติ-สมาธิ-ปัญญา ตั้งมั่น จึงเห็นของจริง
วันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

 3 
 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2567, 06:17:48 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ถ้าหากว่ามีสติระวังตัวทุกเมื่อ กิริยามารยาทอาการใดๆ เรารู้จักด้วยใจของตนเอง รู้จักภายในของตนเอง เราพิจารณาเฉพาะตนเอง
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ความเคารพตน
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒

 4 
 เมื่อ: 09 พฤศจิกายน 2567, 06:15:44 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ครั้นหากว่ามีสติทุกเมื่อ มีจิตใจเป็นสมาธิภาวนาตั้งมั่น เห็นกิริยามารยาทของตนตลอดเวลา นั้นได้ชื่อว่า เรารักษาตนดี
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ความเคารพตน
วันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒

 5 
 เมื่อ: 08 พฤศจิกายน 2567, 06:21:28 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ถือ ธุดงควัตร นั้นแปลว่า ธรรมอันเป็นเหตุให้ไปหาความสงบ ไปหาความดี ไปหาความบริสุทธิ์ จึงเรียกว่าธุดงค์ ทูตะแปลว่าทูต ทูตนำไปนั่นเอง
ท่านพูดไว้มีหลายข้อ มี ๑๓ ข้อ การถือธุดงค์ที่เป็นผู้ถือธุดงค์จริงๆจังๆนั้น จะต้องมีความมั่นใจว่า การรักษาธุดงค์อันนี้ จิตใจผ่องใสสะอาดบริสุทธิ์ เป็นไปเพื่อความหมดจดจริงๆจังๆ ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก และไม่เป็นไปเพื่อความมักใหญ่และไม่เป็นไปเพื่อความอิจฉาพยาบาทและอวดดีแก่คนอื่นๆ หากทำเพื่อคนอื่นนิยมชมชอบอย่างนั้นไม่ใช่ อันนั้นเป็นกิเลส ผู้หวังความบริสุทธิ์จริงๆ ต้องตั้งใจทำเพื่อตนจริงๆ ไม้ได้ทำเพื่อผู้อื่น นั่นเรียกว่า “ธุดงค์แท้”
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ขนบธรรมเนียม ระเบียบ ของพระธุดงค์
วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

 6 
 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2567, 05:50:22 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
คุณ-ครูบา -ครูบาอาจารย์
---------------------------
ภิกษุพูดคำแทนชื่อ บางทีก็ยังไม่ทันถูก ตามภาษาบ้านเมืองแถวนี้เขานิยมเรียกว่า “ครูบา” คำว่า “ครูบา” นี้เป็นคำแทนชื่อ เป็นคำแสดงความเคารพ ชาวบ้านชาวเมืองเขาเรียกพระว่า “ครูบา” สำหรับพระเจ้าพระสงฆ์เรียกกัน ใช้เรียกผู้มีอายุพรรษากว่าจึงเรียก “ครูบา” ท่านที่มีพรรษาอ่อนกว่าแล้วไปเรียก “ครูบา” เป็นอาบัติ เหตุนั้นไม่ควรเรียก “ครูบา”
ครั้นมีความเคารพแท้เรียก “ครูบาอาจารย์” เป็นการเคารพแท้ เป็นคำแทนชื่อผู้ที่เป็นอาจารย์ คำเรียกผู้มีพรรษามากกว่าว่า “ครูบา” ก็ดีเหมือนกัน ดีกว่าเรียกว่า “คุณ” ถ้าหากเรียกผู้มี พรรษาน้อยกว่าว่า “คุณ” ก็สมควร ให้รู้จักเรียกกันตามความนิยมนับถือกันอย่างนั้น
ต่อไปนี้การศึกษาเล่าเรียนฝ่ายวิปัสสนาธุระก็ดี ฝ่ายคันถธุระก็ดี ให้ศึกษาเล่าเรียนกับพระผู้มีอายุพรรษามาก ที่พอจะปรึกษาหารือได้ ที่พอจะพูดคุยกันได้ก็คุยกันไป
ถ้าหากว่ามันขัดข้องกันจริงๆจังๆ จึงค่อยมาหาผม ผมพูดได้แต่เล็กๆน้อยๆ มันหมดเรื่องหมดทางแล้ว ตั้งแต่นี้ต่อไปผมพูดไม่ได้ พูดได้เท่าที่พูดแล้วนั่นแหละ เอาละ
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
การอบรมในโบสถ์ครั้งสุดท้าย
วันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๒

 7 
 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2567, 06:11:31 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
ที่สุดของ ทาน คือ ศรัทธา
ที่สุดของ ศีล คือ เจตนา
ที่สุดของ ฌาน คือ อัปนา
ที่สุดของ สมาธิ คือ อัปนา
ที่สุดของ ปัญญา คือ พระไตรลักษณ์
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
ที่สุดของพระพุทธศาสนา
วันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๘

 8 
 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2567, 06:07:51 
เริ่มโดย middle spirit - กระทู้ล่าสุด โดย middle spirit
เราบวชมาในศาสนาพระพุทธเจ้า ต้องรักษาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่เสมอ ทำอะไรต้องคิดถึงพระพุทธเจ้า คิดถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นประมาณ พระองค์ทรงเป็นศาสดา จึงทรงเป็นผู้สั่งสอนพวกเราโดยตรง
ที่จริงแท้นั้น เรามาบวชในศาสนานั้น อาหารทุกสิ่งทุกประการ ผ้าผ่อน เครื่องนุ่งเครื่องห่ม เสนาสนะ เครื่องใช้ไม้สอย หยูกยาสารพัดต่างๆ เกิดจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยแท้ ถ้าหากว่าไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เรื่องเหล่านี้ไม่มีใครมาทำบุญทำทานหรอก เราทำตามคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงค่อยมีคนเลื่อมใสศรัทธาทำบุญทำทาน แต่เราลืมตัว เราเลยลืมตัวไม่ระลึกถึงพระพุทธศาสนา ไม่ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า จึงเป็นเหตุให้เกิดกิเลสทับถมตัวเรามากขึ้นไปอีก ครั้นถ้าไม่เชื่อพระพุทธเจ้า มันก็ตายไปนะสิศาสนา มันเลยไม่เป็นของจริงในพระพุทธศาสนา
หลวงปู่เทสก์ เทสรํสี
อาหารมีทั้งคุณและโทษ
วันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

 9 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 18:14:15 
เริ่มโดย maxna - กระทู้ล่าสุด โดย maxna
เส้นทางการศึกษาแนวทางการปฏิบัติ
หลวงปู่ยักษ์ โคษะกะ เสาหลักสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
หลวงปู่คือพระนักพัฒนา ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในการพัฒนาด้านต่างๆ ที่สำคัญคือผู้อยู่เบื้องหลังการบูรณะพระธาตุพนม
ศิษย์สายธรรมอุตฺตโมบารมี จึงได้มีบุญพาวาสนาส่งให้ไปร่วมบูรณะพระธาตุพนมในแต่ละปี และเจดีย์ปราสาททั่วทั้งประเทศไทยหลวงปู่ท่านคือผู้ร่วมบูรณะแทบจะทุกจังหวัด

 10 
 เมื่อ: 03 พฤศจิกายน 2567, 18:06:56 
เริ่มโดย maxna - กระทู้ล่าสุด โดย maxna
เส้นทางการศึกษาแนวทางการปฏิบัติ
พระอาจารย์คณิน สุนฺทโร (พระอาจารย์หนุ่ม) เสาหลักสายธรรมอุตฺตโมบารมี(สายอุตฺตมะอุตฺตโม)
ท่านเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน พัฒนาตนเองอยู่ตลอด ท่านมีความเข้าใจทั้งการปฏิบัติตามแนวทางขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และท่านเป็นผู้มีความเข้าใจในวิชาอักขระเลขยันต์ ท่านจึงเป็นที่ปรึกษาให้กับคณะครูธรรม

หน้า: [1] 2 3 ... 10
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!