ประวัติชื่อถนนสายสำคัญของเมืองอุบล ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
16 เมษายน 2567, 12:32:52 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ประวัติชื่อถนนสายสำคัญของเมืองอุบล  (อ่าน 11750 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 11:21:55 »

วารสารข่าวหอการค้าจังหวัดอุบลราชธานี
เดือนพฤศจิกายน 2544
http://guideubon.com/news/view.php?t=34&s_id=18&d_id=18

               ก่อนที่จะกล่าวถึง ประวัติชื่อถนนสายสำคัญของเมืองอุบลฯ เพื่อให้เรื่องราวการตั้งชื่อถนนสายสำคัญ มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น จึงขอกล่าวทำความเข้าใจ เกี่ยวกับชื่อถนนสายยาวดั้งเดิม ที่เริ่มจากเมืองหลวงของประเทศไทย ไปยังพรมแดนประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย รวม 4 ประเทศคือ พม่า, ลาว เขมร และมาเลเซีย ดังนี้

1. ถนนสายสำคัญดั้งเดิมของไทย

               1.1 ถนนพหลโยธิน กรมทางหลวงขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 เริ่มต้นจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ผ่านหลายจังหวัด จนถึงเหนือสุดของประเทศไทย ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จรดพรมแดนประเทศพม่า ที่ท่าขี้เหล็ก สร้างเสร็จประมาณ พ.ศ. 2477 ประเทศไทยพึ่งเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเป็นประชาธิปไตย รัฐบาลในครั้งนั้น พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี จึงตั้งชื่อถนนสายนี้ว่า "ถนนประชาธิปัตย์" เพื่อเป็นการประกาศว่า เมืองไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย

               ต่อมา พ.ศ. 2489 มีการตั้งพรรคการเมือง พรรคฝ่ายค้านใช้ชื่อว่า "พรรคประชาธิปัตย์" นายควง อภัยวงค์ เป็นหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.เสนีย์ปราโมช นายเลียง ไชยกาล เป็นรองหัวหน้าพรรค ม.ร.ว.คึกฤทธื้ ปราโมช เป็นเลขาธิการพรรค รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงเปลี่ยนชื่อถนนสายนี้ เป็น "ถนนพหลโยธิน" ตามนามสกุลของ พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา (พจน์ พหลโยธิน) ผู้ริเริ่มสร้างถนนสายนี้

               1.2 ถนนมิตรภาพ กรมทางหลวงขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 เริ่มต้นตามทางหลวงหมายเลข 1 จากกรุงเทพถึงสระบุรี แล้วใช้เส้นทางเดิมไปยังจังหวัดนครราชสีมา ผ่านขอนแก่น อุดรธานี ถึงสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จรดพรมแดนประเทศลาวที่แม่น้ำโขง ใกล้นครเวียงจันทน์

               ถนนสายนี้เดิมไม่ทราบชื่อ ต่อเมื่อทหารอเมริกันสร้างถนนยุทธศาสตร์ จากสระบุรีถึงนครราชสีมา เพื่อให้เครื่องบินลงได้ ประมาณ พ.ศ. 2500 ตั้งชื่อว่า "ถนนมิตรภาพ" เพื่อเชื่อมสัมพันธภาพระหว่างไทย-อเมริกา ต่อมามีการสร้างถนนต่อจากนครราชสีมา ไปยังขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย จึงใช้ชื่อ "ถนนมิตรภาพ" ต่อเนื่องกันไป

               1.3 ถนนสุขุมวิท กรมทางหลวงขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 เริ่มจากกรุงเทพฯ ถึงภาคตะวันออก ที่อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด จรดพรมแดนเขมร ที่เกาะกง ถนนสายนี้ รัฐบาลตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ "พระพิศาลสุขุมวิท" (ประสบ สุขุม) อดีตอธิบดีกรมทาง เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2486 พระพิศาลสุขุมวิท เป็นบุตรคนที่ 3 ของเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยสมัยนั้น และเป็นบิดาของนายประสงค์ สุขุม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพานิชย์ และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

               1.4 ถนนเพชรเกษม กรมทางหลวงขึ้นทะเบียนเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 เริ่มจากกรุงเทพฯ ถึงภาคใต้ที่อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา จรดพรมแดนมาเลเซีย ที่ปาดังเบซาร์ ถนนสายนี้ รัฐบาลตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่ "หลวงเพชรเกษมโยธิน" อดีตอธิบดีกรมทางผู้สร้างถนนสายนี้

thxby7217ส่องสนามเมืองนักปราชญ์, uthai08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 มกราคม 2555, 11:25:39 โดย TaeUbon » บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 11:23:06 »

2. ทางหลวงในจังหวัดอุบลฯ

               จากประวัติชื่อถนน สายสำคัญดั้งเดิมของไทย จะเห็นได้ว่า มีการตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้สร้างถนนนั้นๆ เนื่องจากการสร้างถนนในสมัยก่อน ต้องใช้ความรู้ ความสามารถ ความอุตสาหะ วิริยะเป็นอย่างมาก เพราะสมัยนั้น ยังไม่มีเครื่องจักรกลหนัก หรือบริษัทรับเหมาสร้างทางเหมือนสมัยนี้ การสร้างถนนในเมืองอุบลฯ ก็เช่นเดียวกัน กรมทางหลวงได้ตั้งชื่อถนน, สะพาน ตาม ชื่อ, นามสกุล หรือราชทินนาม ของนายช่างโครงการถนนสายต่างๆ และสะพานดังนี้

               2.1 ถนนชยางกูร เริ่มจากถนนสรรพสิทธิ์ ตรงหลัก ก.ม.0 ผ่านจังหวัดอำนาจเจริญ ถึงจังหวัดมุกดาหาร สร้างในสมัยหม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ชยางกูร ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางอำนาจเจริญ ประมาณ พ.ศ. 2480-2487 หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ชยางกูร เป็นโอรสของพระองค์เจ้าไชยานุชิต ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพงศาดิศรมหิป ต้นราชสกุล"ชยางกูร" เชษฐาของหม่อมเจ้าวิเศษศักดิฯ คือหม่อมเจ้าวงศ์มหิปชยางกูร เอกอัครราชทูตไทยในทวีปยุโรปหลายประเทศ หม่อมเจ้าวิเศษศักดิ์ฯ มีชายาชื่อหม่อมศิลา

               2.2 ถนนแจ้งสนิท เริ่มจากถนนสรรพสิทธิ์ หน้าแขวงการทางอุบลฯ ผ่านจังหวัดยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ถึงอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น บรรจบกับทางหลวงหมายเลข 2 กรุงเทพ-หนองคาย เริ่มสร้างในสมัยนายวินิต แจ้งสนิท ดำรงตำแหน่งนายช่างแขวงการทางยโสธร ประมาณ พ.ศ. 2481-2488 นายช่างวินิต แจ้งสนิท เป็นคนภาคกลาง เป็นนายช่างรุ่นหลัง ม.จ.วิเศษศักดิฯ ประมาณ 10 ปี

               2.3 ถนนสถิตนิมานการ เริ่มจากหน้าบ้านพระยาศรีธรรมศกราช (ปิ๋ว บุนนาค) อดีตเทศาภิบาลมณฑลอุบลราชธานี (ปัจจุบันเป็นที่ทำการ ร.ส.พ.อุบลฯ) อำเภอวารินชำราบ ผ่านอำเภอพิบูลมังสาหารถึงพรมแดนไทย ลาวที่ช่องเม็ก ถนนสายนี้ นายช่างโครงการก่อสร้างคือ หลวงสถิตนิมานกาล นายช่างใหญ่กรมทางหลวง ประมาณปี พ.ศ. 2475-2479

               หลวงสถิตนิมานการ ชื่อเดิม นายชวน สุปิยพันธุ์ สำเร็จวิชาสถาปัตยกรรม จากประเทศเยอรมันนี เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบ พระอุโบสถวัดสูปัฏนารามวรวิหาร ลักษณะพระอุโบสถแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ 1. ส่วนหลังคา เป็นศิลปะแบบไทย 2. ส่วนกลาง เป็นศิลปะตะวันตกแบบเยอรมัน 3. ส่วนฐาน เป็นศิลปะแบบขอม เป็นที่สงสัยกันมานานแล้วว่า ศิลปะแบบเยอรมัน มาสัมพันธ์กับศิลปะไทยและศิลปะขอมได้อย่างไร เมื่อทราบประวัติสถาปนิกว่า สำเร็จจากประเทศเยอรมันนี จึงทราบความกระจ่าง พระอุโบสถวัดสุปัฏนารามฯ จึงเป็นสิ่งก่อสร้างที่มีศิลปะผสมกลมกลืนระหว่างตะวันออกกับตะวันตก (ซี่งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก) ได้อย่างลงตัวงดงามน่าอัศจรรย์ ก็เพราะความสามารถของหลวงสถิตนิมานการ ผู้สร้างได้ทั้งทางหลวงและพระอุโบสถที่งามวิจิตรตระการตา


               2.4 สะพานกาวิละ ถนนสถิตนิมานกาล ประมาณหลัก ก.ม.ที่ 33 ก่อนถึงอำเภอพิบูลฯ ประมาณ 10 ก.ม. ต้องผ่านลำโดมใหญ่ จึงต้องสร้างสะพานข้าม มีชื่อเป็นทางการว่า "สะพานกาวิละ" ชาวบ้านเรียกง่ายๆว่า "สะพานโดม" สะพานกาวิละนี้ เป็นสะพานแบบใหม่ สร้างด้วย คสล.ที่ไม่มีเสากลางเป็นแห่งแรกของอุบลฯ ซึ่งถือว่าแปลกมาก เคยเห็นแต่สะพานไม้เสาเกะกะมากมาย หลายคนสงสัยว่า ชื่อสะพานที่อุบลฯ ทำไมไปพ้องกับค่ายทหาร "กาวิละ" ริมแม่น้ำปิงที่เชียงใหม่ สอบประวติได้ความว่า สะพานกาวิละ ตั้งชื่อตามนายช่างผู้ออกแบบและก่อสร้างสะพานนี้คือ "เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่" ซึ่งต่อมาเป็นนายช่างภาค กรมทางหลวงที่ตั้งภาคอยู่ที่ขอนแก่น

               เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นบุตรของเจ้ากาวิละวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในอดีต พระอัฐิอยู่บนยอดดอยอินทนนท์ เจ้ากาวิละวงศ์ ณ เชียงใหม่ เป็นบิดาของเจ้ากอแก้วประกายกาวิล ณ เชียงใหม่ เจ้าป้าวงการโฮโซแห่งฟ้าบางกอก (ข้อมูลทั้งหมดที่เล่ามานี้ ได้รับทราบจากพี่วิวัฒน์ สุนิติสาร ผู้ทำงานกรมทางหลวงมาตลอดอายุราชการ เริ่มตั้งแต่จบจาก ร.ร.เบ็ญจะมะมหาราช รุ่นเดียวกับพี่ใจ เวชภูมิ อดีตนายสถานีรถไฟอุบลราชธานี พี่ประวิทย์ ศรีธัญรัตน์ อดีต ส.ส.อุบลฯ เลขานุการรมว.มหาดไทย ขณะนี้พี่วิวัฒน์ฯ อายุ 82 ปี ความจำดีมาก สุขภาพแข็งแรง ทันสมัยอยู่เสมอ ขอขอบพระคุณพี่วิวัฒน์ไว้ ณ โอกาสนี้ครับผม)

thxby7218ส่องสนามเมืองนักปราชญ์, uthai08
บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 14 มกราคม 2555, 11:25:08 »

3. การตั้งชื่อถนนในเขตเทศบาลฯ

               ชื่อถนนสายต่าง ๆ ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี มีความเป็นมาน่าสนใจมาก น่าชมเชยภูมิปัญญาของผู้ตั้งชื่อถนนเริ่มแรก ที่ได้แบ่งการตั้งชื่อถนน ตามการโคจรของดวงอาทิตย์ กล่าวคือ

               ถ้าเป็นถนนที่เริ่มจากทิศตะวันออกไปทางทิศตะวันตก ที่เรียกกันว่า "ตามตะวัน" หรือ "สุริย์ยาตร" จะใช้พระนามของข้าหลวงต่างพระองค์และโอรส เป็นชื่อของถนน ตัวอย่างเช่น

              ถนนสรรพสิทธิ์ ตั้งชื่อถนนตามพระนามของพลตรีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ สำเร็จราชการมณฑลลาวกาว

               ถนนพิชิตรังสรรค์ ตั้งชื่อถนนตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาวพระองค์แรก

              ถนนอุปลีสาน ตั้งชื่อถนนตามพระนามของหม่อมเจ้าอุปลีสานชุมพล โอรสในกรมหลวงสรรพสิทธิฯ กับหม่อมเจียงคำ

 
               ถ้าเป็นถนนเริ่มจากทิศใต้ (ถือตามท่าน้ำริมแม่น้ำมูลเป็นหลัก เพราะสมัยก่อนยังไม่มีถนนใช้ การสัญจรทางน้ำเป็นเส้นทางคมนาคม) ไปทางทิศเหนือ หรือที่เรียกว่า "ขวางตะวัน" จะใช้นามตำแหน่งเจ้านายซึ่งเป็นคนอุบลฯ (ซึ่งเรียกว่า "อาญาสี่" หรือ "อาชญาสี่") ตั้งชื่อถนนตัวอย่างเช่น

               ถนนอุปราช ตั้งชื่อตามตำแหน่ง อุปราช หรือปลัดเมือง ถนนราชบุตร ตั้งชื่อตามตำแหน่งราชบุตร หรือผู้ช่วยราชการเมือง ถนนราชวงศ์ ตั้งชื่อตามตำแหน่งราชวงศ์ หรือยกกระบัตรเมือง หมายเหตุ เป็นที่น่าสังเกตว่า ถนนอุปราช ราชบุตร ราชวงศ์ เริ่มจากท่าน้ำริมแม่น้ำมูลทั้ง 3 ท่า คือ ท่าอุปราช ท่าจวนฯ ท่าวัดกลาง เนื่องจากสมัยก่อนใช้การสัญจรทางน้ำแทนถนนดังกล่าวแล้ว แม้แต่จวนข้าหลวงฯ ยังตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูล มีเรือยนต์ที่แพจอดเรือไว้ตรวจการณ์แทนรถประจำตำแหน่ง

               ถนนอุบลเดช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลเดช ประชารักษ์" (เสือ ณ อุบล) ผู้ว่าราชการเมือง ถนนอุบลศักดิ์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลศักดิ์ ประชาบาล" (กุคำ สุวรรณกุฎ ) ยกกระบัตรเมือง ตำแหน่งเดิมคือ "ราชวงศ์" (ถนนสายนี้ เป็นเส้นทางไปสู่เรือนจำ (สนง.เทศบาลนครอุบลฯ ปัจจุบัน) มีชื่อเดิมว่า "ถนนมหันตโทษ" เมื่อเรือนจำย้ายไปอยู่ถนนพไลชัยแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "อุบลศักดิ์")

               ถนนอุบลกิจ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระอุบลกิจ ประชากร" (ท้าวบุญเพ็ง บุตโรบล) ผู้ช่วยราชการเมือง

               นอกจากนี้ ยังมีการตั้งชื่อถนน เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าเมือง หรือข้าหลวงประจำจังหวัด หลายสาย ตัวอย่างเช่น

               ถนนพรหมราช ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พร ะพรหมราชวงศา" (กุทอง) เจ้าเมืองอุบลฯ ลำดับที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2388-2409

               ถนนพรหมเทพ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "เจ้าพรหมเทวานุเคราะห์วงศ์" (เจ้าหน่อคำ) เจ้าเมืองอุบลฯ ลำดับ ที่ 5 ระหว่าง พ.ศ. 2409-2425

               ถนนศรีณรงค์ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "พระยาภักดีณรงค์" (สิน ไกรฤกษ์) เจ้าเมืองอุบลฯ ลำดับที่ 8

               การตั้งชื่อถนน เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ปกครองบ้านเมืองดังกล่าว เทศบาลเมืองวารินชำราบก็มี "ถนนปทุมเทพภักดี" เริ่มจากเขตทหารผ่าน "ถนนนิวาสวิถี" (ซึ่งตั้งตามชื่อ "หลวงนิวาสวัฒนกิจ" อดีตนายอำเภอวารินชำราบ) ผ่านตลาดสดเทศบาลฯ, ที่ทำการประปาฯ, ถนนสถิตนิมานกาล, สำนักงานเทศบาลฯ และทุ่งคำน้ำแซบ ไปบรรจบถนนสถานีด้านหน้าสถานีรถไฟอุบลราชธานี ถนนสายสำคัญนี้ ตั้งชื่อตามราชทินนาม "อำมาตยโท พระยาปทุมเทพภักดี" (ธน ณ สงขลา) ข้าหลวงประจำจังหวัดอุบลราชธานี ลำดับที่ 15 ต่อมาดำรงตำแหน่ง นายกเทศมนตรีคนแรกของเทศบาลตำบลธาตุ ระหว่าง 28 มีนาคม 2481 - 24 สิงหาคม 2483 (เทศบาลตำบลธาตุ เปลี่ยนชื่อเป็น "เทศบาลตำบลวารินชำราบ" เพื่อให้ตรงกับชื่ออำเภอ เมื่อ 25 สิงหาคม 2486) ปัจจุบันยกฐานะเป็น "เทศบาลเมืองวารินชำราบ"

               การตั้งชื่อถนนเพื่อเป็นเกียรติ แก่ผู้สร้างถนน และบุคคลสำคัญ นับเป็นกุศโลบายที่ดี เพราะถนนจะยืนยงคงอยู่ตลอดไป เพื่อรำลึกถึงผู้สร้างและ/หรือบุคคลสำคัญที่สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง สืบต่อไป

thxby7219ส่องสนามเมืองนักปราชญ์, uthai08
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!