บ้านสะพือ ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
25 เมษายน 2567, 02:20:08 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: [1]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: บ้านสะพือ  (อ่าน 15752 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
fame
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 86
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 66

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 6 : Exp 55%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 22:07:48 »

ประวัติโดยย่อ บ้านสะพือ

 บ้านสะพือ    เป็นบ้านที่เก่าแก่นานแต่โบราณ  และไม่สามารถจะทราบได้ว่าวันเดือนปีที่ตั้ง  ตลอดทั้งผู้มาตั้ง   ตลอดทั้งผู้มาตั้งบ้านนี้ด้วย  เหตุใดจึงมาตั้งอยู่ที่นี่  เหตุใดจึงมีนามว่าบ้านสะพือก็ไม่ทราบแน่เหมือนกัน  แต่ได้สันนิษฐานว่าทุ่งนาทางทิศตะวันตกของบ้านสะพือปัจจุบันนี้  แต่ก่อนเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่  ขณะนี้ตื้นเขินเป็นทุ่งนาไปแล้ว  เรียกว่า?ทุ่งน้ำครำ?  หนองน้ำนี้เรียกว่า  ?หนองสระผือ?  คือมีต้นตันผือ      (ต้นกก)  มากและอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด  ผู้มาตั้งก็เลยอาศัยสัญลักษณ์ของหนองน้ำนี้มาตั้งเป็นนามบ้าน  โดยตั้งชื่อว่า  ?สระผือ?  ต่อมาเลยกลายมาเป็น ?บ้านสะพือ?
 บ้านสะพือ  เป็นบ้านธรรมดาสามัญ  แต่มีเหตุการณ์เกี่ยวกับบ้านนี้เกิดขึ้น  ทำให้บ้านสะพือเป็นบ้านที่สำคัญและมีชื่อติดอยู่ในประวัติศาสตร์  บ้านสะพือนี้คงเป็นบ้านที่ใหญ่  มีประชาชนอยู่หนาแน่นและอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวมาแล้ว  ?นางเหมือนตา?  ธิดาพระตา  ซึ่งเป็นต้นตระกูลของเจ้าเมืองคนแรกได้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่นี่  แต่วันเดือนปีใดไม่ปรากฏชัด  แต่บ้านนี้คงมีความสำคัญไม่น้อย  ธิดาคนสำคัญของบ้านเมืองจึงได้มาอยู่  นับว่าเป็นความดีของบ้านสะพือได้อย่างหนึ่ง  นอกจากนั้นบ้านสะพือยังมีความดีและความสำคัญอยู่อีกมาก  คือ
                  เมื่อวันอาทิตย์ที่   ๔  ธันวาคม  ๒๔๐๖  (ตรงกับแรม  ๑๑  ค่ำ  เดือน  ๑๒  ปีกุน)  พระบรมราชวงศา (กุทอง  สุวรรณกูฏ)  เจ้าเมืองอุบลฯคนที่  ๓   ได้ขอตั้งบ้านสะพือเป็นเมืองตระการพืชผลพร้อมกับตั้ง ท้าวสุริยวงศ์  (อุ้ม  สุวรรณกูฏ)  บุตรพระบรมราชวงศา  (กุทอง  สุวรรณกูฏ)  เป็นพระอมรดลใจ  เป็นเจ้าเมืองท้าวพรมาบุตร  พระบรมราชวงศาน้องพระอมรดลใจ  เป็นอุปฮาดท้าวสีหาจักร  (ฉิม)  เป็นราชวงศ์ ท้าวกุลบุตร (ท้าว)  เป็นราชบุตรมาปกครองเมืองตระการพืชผลต่อไป  แต่ตั้งอยู่ได้ไม่นานประมาณ  ๒-๓ ปี  เท่านั้น  เพราะเห็นว่าบ้านนี้ไม่เหมาะที่จะตั้งเมือง  เนื่องจากกันดารน้ำ  การติดต่อกับเมืองอุบลฯลำบาก  จึงย้ายไปอยู่บ้านท่าม่วงที่ตั้งอยู่ริมเซบกเพื่อจะได้อาศัยทางน้ำไปมาหาสู่กับเมืองอุบลฯได้สะดวก  ทางจากบ้านสะพือไปทางทิศใต้  ๖  กม.
                 เมื่อ  พ.ศ. ๒๔๔๔  เกิดกบฎผีบ้าผีบุญขึ้นในมลฑลอีสานและได้เข้ามาตั้งอยู่ที่เมืองตระการฯ  ผีบ้าผีบุญ  ได้ยกกำลังจากเมืองเขมราฐมาตั้งที่โนนโพธิ์  ทางทิศตะวันตกของบ้านสะพือ  พวกผีบ้าผีบุญได้มาตั้งที่บ้าน    สะพือ    ไม่ใช่คนบ้านนี้เป็นผีบ้าผีบุญแต่พวกเขามาหาพรรคพวกแล้วจะตีเอาเมืองตระการฯ  ที่ตั้งอยู่บ้านท่าม่วง  เมื่อตีได้แล้วก็จะไปตีเอาเมืองอุบลฯ  ให้สมเด็จลุนบ้านเวินชัย  มาเป็นเจ้าเมืองแทน  แต่แผนการณ์ของผีบ้าผีบุญไม่สำเร็จ
                วันที่  ๔  เมษายน  ๒๔๔๔  พระเจ้าวรวงศ์เธอหลวงสรรพสิทธิประสงค์  ข้าหลวงผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์ได้บัญชาให้  ร้อยเอกหลวงวิชิตสรการ  (จิตร   มัธยมจันทร์)  อดีตนายทหารปืนใหญ่และ    ร้อยเอกอินทร์นำทหาร  ๒๔  คน  ราษฎร  ๒๐๐  คน  พร้อมด้วยอาวุธปืนได้ยกกำลังมาถึงบ้านสะพือที่  ?ดอนเผิ่ม?  วันที่  ๔  เดือน เมษายน  ๒๔๔๕  ได้เกิดปะทะกับผีบ้าผีบุญรบกันอยู่ประมาณ  ๔  ชั่วโมง  พวกผีบ้าผีบุญแตกหนี  องค์มั่น  ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งเดือนพนมมือเสกเป่าคาถาอาคมเห็นท่าสู้ไม่ได้เลยหลบหนีไปทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  คงได้แต่หมวกหนีบสักหลาด  ซึ่งเป็นเครื่องยศขณะนั้น  เดี๋ยวนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ  เหตุการณ์ได้สงบตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน
                พ.ศ. ๒๔๕๐  รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปกครองท้องที่ฉบับแรกได้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลจังหวัดอำเภอ  ตำบล  และหมู่บ้าน
                พ.ศ. ๒๔๕๒  ทางราชการได้ยุบเมืองตั้งเป็นอำเภอขึ้น  จึงได้ยุบเมืองตระการพืชผลไปขึ้นกับอำเภอพนา  ส่วนบ้านสะพือได้ตั้งเป็นตำบล  และมีสภาพเป็นตำบลมาจนกระทั้งทุกวันนี้
                พ.ศ. ๒๔๘๕  ทางราชการได้ตำแหน่งปลัดอำเภอประจำตำบลขึ้น  และได้ยุบตำบลสะพือไปขึ้นกับตำบลตระการ  ต่อมา  พ.ศ. ๒๔๘๙  ได้ยุบตำแหน่งปลัดอำเภอประจำตำบล  บ้านสะพือจึงได้กลับมาตั้งเป็นตำบลอีกตามเดิมในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน
                 พ.ศ. ๒๕๐๔  ได้สร้างสำนังงานผดุงครรภ์ประจำตำบลพร้อมกับเจ้าหน้าที่ประจำจนถึงปัจจุบัน
                 พ.ศ. ๒๕๐๕  โรงเรียนบ้านสะพือได้เปิดขยายการศึกษาภาคบังคับ  ป.ปลาย
                  พ.ศ.  ๒๕๑๗  ได้เปิดไฟฟ้าประจำหมู่บ้าน  (ไฟฟ้าพัฒนา)  เปิดใช้เวลา  ๑๘.๐๐?๒๒.๐๐ น.  โดยใช้เครื่องจักรกลโรงไฟฟ้าโดยมี  นายเดชชาติ  วงศ์โกมลเชษฐ์  รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลฯเป็นประธาน
                 พ.ศ.  ๒๕๑๙  ได้เปิดโรงเรียนระดับมัธยม  ระดับตำบลชื่อโรงเรียนสะพือวิทยาคาร  และในปีนี้ได้เปิดใช้ไฟฟ้าแรงสูงในหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน ประชาชนชาวบ้านสะพือประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่  ประชาชนในหมู่บ้านเป็นผู้มีนิสัยใจคอโอบอ้อมอารี  ทุกวันนี้หมู่บ้านนี้อยู่ดีกินดี  และอยู่เป็นสุขทุกถ้วนหน้า



thxby6390tar, เล็ก หัวตะเข้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ธันวาคม 2554, 22:21:05 โดย fame » บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #1 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 22:18:21 »

เยี่ยมครับ

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #2 เมื่อ: 21 ธันวาคม 2554, 22:29:34 »

เมืองอุบลราชธานีสมัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้าง
  มหาสิลา วีระวงศ์ วิเคราะห์ว่าผลจากการเคลื่อนย้ายศูนย์กลางอำนาจจากหลวงพระบางมายังเวียงจันทร์นั้น ส่งผลให้อาณาจักรล้านช้างสามารถควบคุมดินแดนบริเวณปากน้ำมู,และแม่น้ำโขงตอนล่างได้สะดวกขึ้นนอกจากนี้จะเห็นได้ว่าแทบทุกครั้งที่เกิดความขัดแย้งกันในราชสำนักเวียงจันทร์มักจะมีเชื้อพระวงศ์หรือข้าราชสำนักและบ่าวไพร่พาครอบครัวหลบหนีภัยทางการเมืองเข้าสู่ตอนใต้ของแม่น้ำโขงและดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยอยู่เสมอ เช่น ในสมัยสมเด็จพระหม่อมแก้ว(พ.ศ.๒๑๗๐) เกิดการแย่งชิงราชสมบัติในหมู่เจ้านายพี่น้อง ต่างคนต่างเอาบ่าวไพร่เข้าประหัตประหารกันทำให้ราษฎรทนอยู่ไม่ได้ ต้องอพยพหนีภัยข้ามแม่น้ำโขงลงไปตั้งถิ่นฐานทำมาหากินอยู่ฝั่งขวาเป็นอันมากและแผ่ขยายลงไปถึงดินแดนในแระเทศเขมร และหลังจากสมัยสมเด็จหม่อมแก้ว พระเจ้าสิรุยวงศาธรรมิกราชได้ขึ้นครองราชย์สมบัติโดยการใช้กำลังเข้าปราบปรามฐานอำนาจเดิม จนส่งผลให้เกิดการอพยพของเจ้าลาวเข้าสู่ดินแดนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เจ้าบุหรีไปอยู่เมืองนครพนม เจ้าสร้อยหนีไปอยู่สะพือหลวง (สันนิฐานว่าเป็นบริเวณบ้านสะพือ อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน) ...................................


บทความนี้คัดมาจาก เอกสารประกอบคำสอน ดร.สมศรี ชัยวณิชยา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

thxby6394ส่องสนามเมืองนักปราชญ์, เล็ก หัวตะเข้
บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #3 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554, 22:23:46 »

ถ้า บ้านสะพือ คือ สะพือหลวง ในสมัยอดีต บ้านสะพือนี้ก็ต้องเป็น จดศุนย์กลางของเมืองอุบล หรือเรียกว่าเมืองหลวง ครับ สมาชิกท่านใดมีข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ที่เรียกว่า สะพือหลวง ในสมัยอดีตบ้างครับ wan-e042

thxby6664ส่องสนามเมืองนักปราชญ์
บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
chanatip
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #4 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554, 22:31:07 »

คะสั่น  ม่องที่เฮาอยู่ก็บ้านนอกติสั่น  ..... โอ้ เด็กบ้านนอกตัวเฮา   

บันทึกการเข้า
fame
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 86
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 66

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 6 : Exp 55%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #5 เมื่อ: 26 ธันวาคม 2554, 22:54:43 »

อีกหนึ่งข้อมูล ที่บอก ชื่อเดิมบ้านสะพือ คือ บ้านสะพือหลวง
สถานที่ตั้ง
เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากอำเภอตระการพืชผล 15 กิโลเมตร
ประวัติ
เดิมเรียกชื่อ บ้านสะพือหลวง ก่อนตั้งเมืองอุบล ฯ มีชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานเป็นบางครั้งบางคราว เป็นชุมชนเก่าที่ชาวลาวรู้จักดี ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงเอียงลาดจากตะวันออกสู่ตะวันตก ประชาชนประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงโค กระบือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทำนาเกลือ
เมื่อพระประทุม ( คำผง ) สร้างเมืองอุบล ฯ นางเหมือนตา ธิดาเจ้าพระตายกไพร่พลไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่บ้านสะพือหลวง พ.ศ. 2406 พระพรหมราชวงศาขอตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ให้ท้าวสุริยวงศ์ ( อัม ) เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง แต่ภายหลังเห็นว่าเป็นที่กันดารน้ำ จึงย้ายเมืองตระการมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2443 เกิดข่าวลือในภาคอีสานว่าจะเกิดอาเพศใหญ่ และจะมีผู้มีบุญ ( ท้าวธรรมิกราช ) มาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ ผู้มีบุญจะมาจากทิศตะวันออก หินแร่จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือก หมู จะเป็นยักษ์กินคน
ต่อมาเกิดกบฏผีบุญขึ้นหลายแห่งในภาคอีสาน หัวหน้าใหญ่ชื่อองค์มั่น ตั้งมั่นอยู่ที่บ้านสะพือ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์ประทับที่เมืองอุบลราชธานีมีคำสั่งให้ ทางการไปปราบ ปราบได้สำเร็จและลงโทษให้ประหารชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ และออกตราประกาศห้าม มิให้ราษฎรนับถือผีสาง ทรงเจ้า เข้าผีอีกต่อไป

ความสำคัญต่อชุมชน
1. ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ ถือเป็นที่ตั้งมั่นของกบฏผีบุญอีสาน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นที่ตั้งเดิมของอำเภอตระการพืชผล ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ในที่ปัจจุบัน
๒. "สำเร็จลุน " พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านอภินิหารของอีสาน สืบทอดมาถึงหลวงปู่โทน สานุศิษย์ซึ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือว่ามีเวทมนต์ เป็นผู้สืบทอดไม้เท้าสำเร็จลุนอันศักดิ์สิทธิ์

เส้นทางเข้าสู่บ้านสะพือ
จากอำเภอตระการพืชผลเข้าไปในหมู่บ้านประมาณ 15 กิโลเมตร

http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=5647

thxby6669tar, บ่แม่นเซียนเป็นคนซื้อพระ, เล็ก หัวตะเข้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ธันวาคม 2554, 22:57:48 โดย fame » บันทึกการเข้า
fame
Full Member
***

พลังน้ำใจ : 86
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 66

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 6 : Exp 55%
HP: 0%



ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #6 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2554, 11:19:48 »

เพิ่มเติม จาก คำว่า บ้านสะพือหลวง นะครับ
 เพิ่งเปิดเจอในหนังสือมาครับ เดิม วัดสิงหาญ ชื่อ วัดหลวง จากหนังสือ งานพระราชทานเพลิงศพ หลวงปู่โทน กันตสีโล
 ซึ่งน่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกันอยู่

thxby6680บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน, เล็ก หัวตะเข้
บันทึกการเข้า
บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน
ยิ้มเย้ยยุทธจักร
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 1197
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1328

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 29 : Exp 61%
HP: 0.1%



จงเป็นดั่งผีบ้าแล้วท่านจะปราศจากความทุกข์

ubonbc@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #7 เมื่อ: 27 ธันวาคม 2554, 11:49:43 »

อีกหนึ่งข้อมูล ที่บอก ชื่อเดิมบ้านสะพือ คือ บ้านสะพือหลวง
สถานที่ตั้ง
เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ห่างจากอำเภอตระการพืชผล 15 กิโลเมตร
ประวัติ
เดิมเรียกชื่อ บ้านสะพือหลวง ก่อนตั้งเมืองอุบล ฯ มีชาวลาวอพยพมาตั้งถิ่นฐานเป็นบางครั้งบางคราว เป็นชุมชนเก่าที่ชาวลาวรู้จักดี ภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงเอียงลาดจากตะวันออกสู่ตะวันตก ประชาชนประกอบอาชีพทำนา เลี้ยงโค กระบือ ปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทำนาเกลือ
เมื่อพระประทุม ( คำผง ) สร้างเมืองอุบล ฯ นางเหมือนตา ธิดาเจ้าพระตายกไพร่พลไปตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนที่บ้านสะพือหลวง พ.ศ. 2406 พระพรหมราชวงศาขอตั้งบ้านสะพือ เป็นเมืองตระการพืชผล ให้ท้าวสุริยวงศ์ ( อัม ) เป็นพระอมรดลใจ เป็นเจ้าเมือง แต่ภายหลังเห็นว่าเป็นที่กันดารน้ำ จึงย้ายเมืองตระการมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน
ปี พ.ศ. 2443 เกิดข่าวลือในภาคอีสานว่าจะเกิดอาเพศใหญ่ และจะมีผู้มีบุญ ( ท้าวธรรมิกราช ) มาเกิดเพื่อปราบยุคเข็ญ ผู้มีบุญจะมาจากทิศตะวันออก หินแร่จะกลายเป็นเงินทอง ฟักเขียวฟักทองจะกลายเป็นช้างม้า ควายทุยเผือก หมู จะเป็นยักษ์กินคน
ต่อมาเกิดกบฏผีบุญขึ้นหลายแห่งในภาคอีสาน หัวหน้าใหญ่ชื่อองค์มั่น ตั้งมั่นอยู่ที่บ้านสะพือ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ข้าหลวงต่างพระองค์ประทับที่เมืองอุบลราชธานีมีคำสั่งให้ ทางการไปปราบ ปราบได้สำเร็จและลงโทษให้ประหารชีวิต ณ ที่เกิดเหตุ และออกตราประกาศห้าม มิให้ราษฎรนับถือผีสาง ทรงเจ้า เข้าผีอีกต่อไป

ความสำคัญต่อชุมชน
1. ความสำคัญด้านประวัติศาสตร์ ถือเป็นที่ตั้งมั่นของกบฏผีบุญอีสาน สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และเป็นที่ตั้งเดิมของอำเภอตระการพืชผล ก่อนที่จะย้ายไปอยู่ในที่ปัจจุบัน
๒. "สำเร็จลุน " พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงด้านอภินิหารของอีสาน สืบทอดมาถึงหลวงปู่โทน สานุศิษย์ซึ่งประชาชนให้ความเคารพนับถือว่ามีเวทมนต์ เป็นผู้สืบทอดไม้เท้าสำเร็จลุนอันศักดิ์สิทธิ์

เส้นทางเข้าสู่บ้านสะพือ
จากอำเภอตระการพืชผลเข้าไปในหมู่บ้านประมาณ 15 กิโลเมตร

http://kanchanapisek.or.th/oncc-cgi/text.cgi?no=5647

นี่เป็นข้อมูลยืนยันชัดเจนว่าสำเร็จลุนท่าน อยู่ที่บ้านสะพือของเรา ท่านบวชเรียนที่นี่ครับ

บันทึกการเข้า

ราคาพระคือการอุปทานหมู่ของมนุษย์ ศรัทธาต่างหากที่จะอยู่คู่กับเราตลอดไป
หน้า: [1]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!