การศึกษาพระเครื่องในขั้นพื้นฐาน

<< < (2/3) > >>

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
๖. ประเภทเหรียญยอดนิยม
   วัตถุมงคลประเภทเหรียญ เริ่มมีครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งถือเป็นการจำลองสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่ว่าจะเป็น สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูป พระคณาจารย์ตลอดจนผู้ที่ควรเคารพ นำมาแกะลวดลายทำแม่พิมพ์ เพื่อการปั๊ม หรือ หล่อลงในแผ่นโลหะให้ปรากฎรูปที่ต้องการ
             จากการศึกษาพบว่า พระเครื่องประเภทเหรียญนี้ จะให้ข้อมูลการศึกษาได้ละเอียดถี่ถ้วนที่สุด ดังข้อความที่จารึกไว้ปรากฏบนเหรียญ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระเครื่องที่ง่ายแก่การศึกษาเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น ๒ ชุด คือ ชุดเหรียญยอดนิยม และชุดเหรียญทั่วไป โดยในแต่ละชุดได้แยกเป็นเหรียญหล่อ กับเหรียญปั๊ม โดยจะนำเสนอเหรียญยอดนิยมมาให้ศึกษา ดังนี้
             ๖.๑ หมวดเหรียญหล่อยอดนิยม ได้แก่
                      ๑) เหรียญหลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กรุงเทพมหานคร
                      ๒) เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร
                      ๓) เหรียญหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม
                      ๔) เหรียญหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา จังหวัดนครปฐม
                      ๕) เหรียญหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม
                      ๖) เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๗) เหรียญหลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๘) เหรียญหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๙) เหรียญหลวงพ่อกล่อม วัดโพธาวาส จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                      ๑๐) เหรียญหลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๑๑) เหรียญหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสาคร
                      ๑๒) เหรียญวัดระฆังหลังฆ้อน กรุงเทพมหานคร
                      ๑๓) เหรียญหลวงปู่ขัน วัดนกกระจาบ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      ๑๔) เหรียญเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร
                      ๑๕) เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
                      ๑๖) เหรียญหยดน้ำ วัดไร่ขิง จังหวัดนครปฐม
                   ๑๗) เหรียญวัดราชบพิตร กรุงเทพมหานคร

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
๖.๒ หมวดเหรียญปั๊มยอดนิยม ได้แก่
                      ๑) เหรียญหลวงพ่อกลั่น วัดพระญาติ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      ๒) เหรียญหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง กรุงเทพฯ
                      ๓) เหรียญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
                      ๔) เหรียญหลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๕) เหรียญหลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม จังหวัดเพชรบุรี
                      ๖) เหรียญหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๗) เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                      ๘) เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กรุงเทพมหานคร
                      ๙) เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร
                      ๑๐) เหรียญหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์
                      ๑๑) เหรียญครูบาศรีวิชัย จังหวัดเชียงใหม่
                      ๑๒) เหรียญหลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม จังหวัดลพบุรี
                      ๑๓) เหรียญหลวงปู่ขาว วัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร
                      ๑๔) เหรียญหลวงพ่อเพชร วัดเกาะพงัน จังหวัดสุราฎร์ธานี
                      ๑๕) เหรียญหลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม จังหวัดปราจีนบุรี
                      ๑๖) เหรียญหลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา จังหวัดปราจีนบุรี
                      ๑๗) เหรียญหลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง จังหวัดเพชรบุรี
                      ๑๘) เหรียญหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จังหวัดนครปฐม
                      ๑๙) เหรียญหลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ จังหวัดเพชรบุรี
                      ๒๐) เหรียญหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จังหวัดนครสวรรค์
                      ๒๑) เหรียญอาจารย์เฮง ไพรวัลย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      ๒๒) เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต
                      ๒๓) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รุ่นแรก พ.ศ.๒๕๐๐
                      ๒๔) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปไข่ รุ่น ๒ พ.ศ.๒๕๐๒
                      ๒๕) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมาลงยา รุ่น ๓ พ.ศ.๒๕๐๔
                      ๒๖) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมา รุ่นเลื่อนสมณศักดิ์ พ.ศ.๒๕๐๘
                      ๒๗) เหรียญหลวงปู่ทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี รูปเสมา พุดซ้อน พ.ศ.๒๕๐๙
                      ๒๘) เหรียญพระพุทธโสธร จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๒๙) เหรียญวัดพระแก้ว กรุงเทพมหานคร
                      ๓๐) เหรียญพระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
                      ๓๑) เหรียญวัดไชโยวรมหาวิหาร จังหวัดอ่างทอง
                      ๓๒) เหรียญมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      ๓๓) เหรียญวัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
                      ๓๔) เหรียญพระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
                      ๓๕) เหรียญปวเรศ วัดบวรนิเวศ กรุงเทพมหานคร
                   ๓๖) เหรียญพุทธ ๒๕ ศตวรรษ กรุงเทพมหานคร

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
๗. ประเภทพระปิดตายอดนิยม
   พระปิดตา ถือเป็นพระเครื่องประเภทที่พบน้อยที่สุด เนื่องจากในสมัยโบราณพระส่วนมากจะเป็นพระที่ทำขึ้นจากมือครั้งละองค์ จึงนับเป็นพระที่หายาก หากแต่เป็นพระที่ศรัทธาของนักสะสมเป็นอย่างยิ่งประเภทหนึ่ง แบ่งตามวัสดุ ที่นำมาสร้างเป็น ๓ ชุด ดังนี้
             ๗.๑ ชุดพระปิดตาเนื้อผงยอดนิยม ได้แก่
                      ๑) พระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
                      ๒) พระปิดตาหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี
                      ๓) พระปิดตาหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน กรุงเทพมหานคร
                      ๔) พระปิดตาหลวงปู่จีน วัดท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๕) พระปิดตาหลวงปู่เจียม วัดกำแพง จังหวัดชลบุรี
                      ๖) พระปิดตาหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
                      ๗) พระปิดตาวัดพลับ กรุงเทพมหานคร
                      ๘) พระปิดตาหลวงปู่ภู่ วัดนอก ชลบุรี
                      ๙) พระปิดตาหลวงปู่ครีพ วัดสมถะ (อุทยานนที) จังหวัดชลบุรี
                      ๑๐) พระปิดตากรมหลวงชุมพร สร้างโดยหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท
                      ๑๑) พระปิดตาหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จังหวัดสมุทรปราการ
                      ๑๒) พระปิดตาหลวงพ่อพิม วัดหนองแหน จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๑๓) พระปิดตาหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว จังหวัดกาญจนบุรี
                      ๑๔) พระปิดตาหลวงพ่อครน วัดบางแซะ รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย
                      ๑๕) พระปิดตาวัดหนัง กรุงเทพมหานคร พิมพ์ข้าวตอกแตก และพิมพ์หัวบานเย็น
                      ๑๖) พระปิดตาวัดทอง กรุงเทพมหานคร
                      ๑๗) พระปิดตาหลวงพ่อกล่อม วัดบางกระพี้ จังหวัดอุตรดิตถ์
                      ๑๘) พระปิดตาอาจารย์เปิง วัดชินวนาราม จังหวัดปทุมธานี
                      ๑๙) พระปิดตาหลวงพ่อผุด วัดวังเวียน จังหวัดจันทบุรี
                      ๒๐) พระปิดตาพิมพ์ปั้น วัดเครือวัลย์ จังหวัดชลบุรี
             ๗.๒ ชุดพระปิดตาเนื้อโลหะยอดนิยม ได้แก่
                      ๑) พระปิดตาวัดหนัง กรุงเทพมหานคร
                      ๒) พระปิดตาวัดทอง กรุงเทพมหานคร
                      ๓) พระปิดตาแร่บางไผ่ จังหวัดนนทบุรี
                      ๔) พระปิดตาห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม
                      ๕) พระปิดตาท้ายย่าน จังหวัดชัยนาท
                      ๖) พระปิดตาบางเดื่อ จังหวัดนนทบุรี
                      ๗) พระปิดตาเนื้อทองผสมพบตามถ้ำโดยทั่วไปใน จังหวัดนครศรีธรรมราช
                      ๘) พระปิดตาวัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม
                      ๙) พระปิดตาเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร
                      ๑๐) พระปิดตาวัดโพธิ์เอน จังหวัดสระบุรี
             ๗.๓ ชุดพระปิดตาไม้แกะ ได้แก่
                      ๑) พระปิดตาสมเด็จพระสังฆราช (อยู่) วัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
                      ๒) พระปิดตาวัดโมฬี จังหวัดนนทบุรี
                    ๓) พระปิดตาหลวงพ่อรอด วัดโคนอน กรุงเทพมหานคร

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
 ๘. ประเภทพระเนื้อว่านยอดนิยม แบ่งเป็น ๒ ชุด คือ
             ๘.๑ พระชุดเนื้อว่านยุคเก่า ได้แก่
             ๑) พระเนื้อว่านจำปาสัก แขวงเมืองจำปาสัก ประเทศลาว
             ๒) พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดสุโขทัย พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดช้างล้อม กรุวัดเจดีย์สูง
             ๓) พระเนื้อว่านหน้าทอง จังหวัดกำแพงเพชร พบด้วยกันหลายกรุ อาทิเช่น กรุวัดพระบรมธาตุ กรุวัดพระนอน กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดอาวาสใหญ่ กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระสี่อิริยาบท
   
   ๘.๒ พระชุดเนื้อว่านที่พระเกจิอาจารย์เป็นผู้สร้าง ได้แก่
             ๑) พระเนื้อว่านหลวงปูทวด วัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ที่สร้างโดย พระครูวิสัยโสภณ หรือ ท่านอาจารย์ทิม อดีตเจ้าอาวาสวัดช้างให้ จังหวัดปัตตานี ทำการปลุกเสกเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ.๒๔๙๗ แบ่งเป็น ๓ พิมพ์ ซึ่งสามารถแยกออกเป็นหมวดใหญ่ๆได้ดังนี้
             ๑.๑ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๗ พิมพ์ใหญ่ แยกเป็น
                      -พระพิมพ์ใหญ่แจกกรรมการ
                      -พระพิมพ์ใหญ่หัวมีขีด
                      -พระพิมพ์ใหญ่ลึก
                      -พระพิมพ์ใหญ่ไหล่มีจุด
             ๑.๒ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๗ พิมพ์กลาง แยกเป็น
                      -พระพิมพ์กลางลึก
                      -พระพิมพ์กลางชะลูด
                      -พระพิมพ์กลางอกแฟบ
                      -พระพิมพ์กลางหน้ากลม
             ๑.๓ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๗ พิมพ์เล็กหรือพิมพ์พระรอด แยกเป็น
                      -พระพิมพ์พระรอดแจกกรรมการ
                      -พระพิมพ์พระรอดหน้าใหญ่
                      -พระพิมพ์พระรอดหน้ากลาง
                      -พระพิมพ์พระรอดหน้าเล็ก
                      -พระพิมพ์พระรอดต้อ
             ๑.๔ พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน รุ่นแรก พ.ศ.๒๔๙๗ พิมพ์ต้อ แยกเป็น
                      -พระพิมพ์ต้อใหญ่
                      -พระพิมพ์ต้อกลาง
                      -พระพิมพ์ต้อเล็ก
             ๒) พระเนื้อว่านคณาจารย์ทั่วไป ได้แก่
                      -พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดพะโค๊ะ จังหวัดสงขลา
                      -พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดเมือง จังหวัดยะลา
                      -พระเนื้อว่านรูปหลวงปู่ทวด วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี
          ๓) พระเนื้อว่าน หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
๙. เครื่องราง-ของขลังยอดนิยม
   วัตถุมงคลประเภทนี้ ถือว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีอายุความเป็นมาเก่าแก่ที่สุด และการสร้างเครื่องรางนั้นมีมาก่อนจะมีการสร้างพระเครื่องนับแต่โบราณกาลสิ่งที่น่าสนใจคือ อารยธรรมของการสร้างเครื่องราง-ของขลังนั้นมีแพร่หลายในทุกภูมิภาคของโลกไม่ว่าจะเป็นซีกโลกตะวันออก หรือ ตะวันตก แม้แต่ในประเทศที่ได้รับการยอมรับว่าทันสมัยที่สุดเป็นประเทศผู้นำในด้านต่างๆของโลก ล้วนแต่มีวัฒนธรรมการสร้างเครื่องรางตามความเชื่อมาแต่ครั้งบรรพกาล ดังนั้น สิ่งที่หลายท่านอาจจะมองว่าเป็นความงมงาย ขาดสาระที่สุดนั้น แท้จริงคือสิ่งที่ทั่วโลกรู้จักคุ้นเคยกันดี ในรูปแบบที่เรียกกันว่า ?เครื่องราง-ของขลัง?
             เครื่องราง-ของขลังนั้นมีมากมายหลายลักษณะ และสร้างจากวัสดุต่างๆมากมายที่สุดในบรรดาวัตถุมงคลทั้งหมดที่ปรากฏ สำหรับประเทศไทย เครื่องราง-ของขลังที่ได้รับความนิยมเป็นสากล แบ่งเป็น ๙ ประเภท ดังนี้
             ๙.๑ เครื่องรางประเภทตะกรุด ได้แก่
                      ๑) ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง จังหวัดนนทบุรี
                      ๒) ตะกรุดหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๓) ตะกรุดหลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง จังหวัดพิจิตร
                      ๔) ตะกรุดหลวงปู่ใจ วัดเสด็จ จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๕) ตะกรุด วัดโมลีโลกยาราม (วัดท้ายตลาด) กรุงเทพมหานคร
                      ๖) ตะกรุดหลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก จังหวัดนครปฐม
                      ๗) ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่แจ้ง วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
                      ๘) ตะกรุดหลวงปู่นาค วัดอรุณราชวราราม กรุงเทพมหานคร
             ๙.๒ เครื่องรางประเภทเบี้ยแก้ ได้แก่
                      ๑) เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง กรุงเทพมหานคร
                      ๒) เบี้ยแก้หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม
                      ๓) เบี้ยแก้หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง
                      ๔) เบี้ยแก้หลวงพ่อนุ่ม วัดนางใน จังหวัดอ่างทอง
                      ๕) เบี้ยแก้หลวงพ่อคำ วัดโพธิ์ปล้ำ จังหวัดอ่างทอง
                      ๖) เบี้ยแก้หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว จังหวัดนครปฐม
             ๙.๓ เครื่องรางประเภทเขี้ยวเสือ ได้แก่
                      ๑) เขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ
                      ๒) เขี้ยวเสือหลวงพ่อนก วัดสังกะสี จังหวัดสมุทรปราการ
                   ๓) เขี้ยวเสือหลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์

๔ เครื่องรางประเภทหนุมาน ได้แก่
                      ๑) หนุมานหลวงพ่อสุ่น (ทั้งไม้แกะ และงาแกะ) วัดศาลากุน จังหวัดนนทบุรี
                      ๒) รูปแกะลิงหลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๓) หนุมานหลวงพ่อเชย วัดบางกระสอบ จังหวัดสมุทรปราการ
             ๙.๕ เครื่องรางประเภทสิงห์ ได้แก่
                      ๑) สิงห์หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ จังหวัดนครสวรรค์
                      ๒) สิงห์หลวงพ่อเฮง วัดเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
                      ๓) สิงห์หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว จังหวัดนครสวรรค์
                      ๔) สิงห์หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก จังหวัดระยอง
                      ๕) สิงห์หลวงพ่อภักตร์ วัดโบสถ์ จังหวัดอ่างทอง
                      ๖) สิงห์หลวงพ่อรอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสงคราม
             ๙.๖ เครื่องรูปสัตว์อื่นๆ ได้แก่
                      ๑) เครื่องรางรูปแพะ หลงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง
                      ๒) วัวธนู หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม
             ๙.๗ เครื่องรางประเภทราหู ได้แก่
                      ๑) ราหูหลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง จังหวัดนครปฐม
                      ๒) ราหูครูบาวัง วัดบ้านเด่น จังหวัดตาก
                      ๓) ราหูครูบานันตา วัดทุ่งม่านใต้ จังหวัดลำปาง
             ๙.๘ เครื่องรางประเภทปลัดขิก ได้แก่
                      ๑) ปลัดขิกหลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๒) ปลัดขิกหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
                      ๓) ปลัดขิกอาจารย์ขลิก วัดสาวชะโงก จังหวัดฉะเชิงเทรา
                      ๔) ปลัดขิกหลวงพ่อโศก วัดธรรมศาน (วัดปากคลองบางครก) จังหวัดเพชรบุรี
             ๙.๙ เครื่องรางประเภทลูกอม-ชูชก ได้แก่
                      ๑) ลูกอมเมฆสิทธิ์ วัดอนงค์ กรุงเทพมหานคร
                      ๒) ลูกอมหลวงพ่อเนียม วัดน้อย จังหวัดสุพรรณบุรี
                      ๓) ชูชกหลวงปู่รอด วัดบางน้ำวน จังหวัดสมุทรสงคราม
                      ๔) ลูกอมหลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กรุงเทพมหานคร
                      ๕) ลูกอมหลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม จังหวัดสมุทรสงคราม
                   ๖) ลูกอมหลวงพ่อร้าย วัดเขายี่สาย จังหวัดสมุทรสงคราม

พระเครื่อง และเครื่องรางทั้ง ๙ ประเภทที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่ง หรือส่วนน้อยจากวัตถุมงคลทั้งหมดที่มีอยู่มากมาย หากแต่พระเครื่อง และเครื่องราง ที่นำมาให้ทราบเหล่านี้ล้วนเป็นที่ได้รับความนิยมสะสมอย่างแพร่หลาย เป็นที่รู้จักคุ้นเคยเป็นอย่างดีในหมู่ผู้สนใจ และเข้าใจกันว่าเป็นพระเครื่อง และเครื่องราง-ของขลังที่หายาก มีมูลค่าในการสะสมสูง เป็นสุดยอดปรารถนาของทุกคนที่สนใจ
   
   
   
   *อ้างอิงข้อมูลจาก : มรดกแผ่นดิน หลักสูตรการศึกษาพระเครื่องขั้นพื้นฐาน
   ท่านที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติมขอแนะนำให้ซื้อหนังสือ มรดกแผ่นดิน มาศึกษาเพิ่มเติม เพราะจะมีภาพประกอบซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่ต้องการศึกษา

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว