เหรียญ จบที่ขอบตัด บทความจากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก โดย บอยท่าพระจันทร์

(1/4) > >>

บ่หัวซาผีบ้าเดินดิน:
ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ


ขออนุญาตคัดลอกบทความมาเผยแพร่ จากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึกครับ ขอบคุณครับ


ชั่วโมงเซียน - เหรียญจบที่...ขอบ

คมชัดลึก : การศึกษาเรื่องราวของพระเครื่อง ประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์รุ่นเก่าๆ นั้น มีค่านิยมสูงมาก การทำปลอม จึงพัฒนาวิธีการทำให้ใกล้เคียงกับของแท้ยิ่งขึ้น โดยวิธีการที่ง่าย และเป็นที่นิยมที่สุด คือ การนำเหรียญแท้ไปถอดพิมพ์ ซึ่งจะทำให้ได้เหรียญปลอมที่มีจุดตำหนิทั้งด้านหน้าและด้านหลังใกล้เคียงกับของจริงมาก อย่างไรก็ตาม ความคมชัดของตัวหนังสือ เส้นแตก รูเจาะหูเหรียญ ตลอดจนด้านข้างของเหรียญ ก็ยังเป็นจุดสำคัญ ที่สามารถใช้ในการพิจารณาความแตกต่างระหว่างเหรียญแท้และเหรียญปลอมได้อย่างชัดเจนที่สุด

ในอดีตผู้สนใจศึกษาพระเครื่องประเภทเหรียญพระพุทธ และเหรียญพระคณาจารย์ หลายคนเลือกที่จะใช้วิธีการจดจำรายละเอียดที่สำคัญของตำหนิเหรียญทั้งหมด ซึ่งในพระเหรียญ ๑ เหรียญอาจจะมีจุดตำหนิให้จดจำมากถึง ๑๐ จุด นั่นหมายความว่า หากเราต้องเรียนรู้เหรียญ ๑๐๐ เหรียญ เราจะต้องจดจำตำหนิทั้งหมดถึง ๑,๐๐๐ จุด เลยทีเดียว

ดังนั้น แทนที่จะใช้วิธีการจดจำตำหนิทั้งหมด ผมกลับมีเทคนิคที่ใช้ในการศึกษาเหรียญแต่ละเหรียญ ด้วยวิธีการที่ง่ายกว่านั้น
นั่นก็คือ การศึกษาธรรมชาติของเหรียญ โดยอาศัยหลักพื้นฐาน ๔ ประการ ได้แก่

๑.ความคมชัดของตัวหนังสือ หรืออักขระยันต์ ๒.พื้นผิวของเหรียญที่เรียบตึง ไม่มีร่องรอยของการถอดพิมพ์ ไม่มีขี้กลาก ๓.การเจาะรูหูเหรียญ ต้องมีเนื้อปลิ้นเกินที่เป็นธรรมชาติ และ ๔.วิวัฒนาการของการตัดขอบเหรียญ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามเทคโนโลยีในแต่ละยุคสมัย

ทั้ง ๔ ประการนี้ ถือเป็นจุดที่ใช้ในการพิจารณาเหรียญว่าแท้หรือปลอม ได้ชัดเจนยิ่งกว่าการจดจำตำหนิ

ที่สำคัญ ยังสามารถนำไปใช้ในการพิจารณาได้ทุกเหรียญ ไม่ว่าจะเป็นเหรียญในยุคสมัยใดก็ตาม เพราะถึงแม้ว่ากรรมวิธีการทำปลอมในปัจจุบันจะสามารถทำได้ใกล้เคียงกับของจริงแค่ไหน แต่ธรรมชาติของการผลิตเหรียญแต่ละยุค ย่อมมีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การซื้อ-ขายเหรียญในปัจจุบัน ผู้ชำนาญการจะใช้วิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญเป็นบทสรุปว่า แท้หรือไม่

เพราะ...ขอบด้านข้างของเหรียญเป็นสิ่งเดียวที่ยังไม่สามารถปลอมแปลงได้เหมือน

เนื่องจากร่องรอยที่ด้านข้างของเหรียญนั้น คือ ร่องรอยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากขั้นตอนการผลิตในแต่ละยุคสมัย

อย่างไรก็ตาม การศึกษาเหรียญต่างๆ ตามข้อสังเกต ๔ ข้อข้างต้นนั้น จะต้องใช้เงินจำนวนมากเพื่อไปเช่าหาเหรียญมาศึกษา

อีกทั้งเหรียญที่เป็นที่นิยมของวงการ ล้วนแล้วแต่เป็นเหรียญที่มีราคาแพง ตั้งแต่หลักหมื่นไปจนถึงหลักล้านแทบทั้งสิ้น

ปัญหาจุดนี้ ผมจึงเสนอแนะแนวทางที่ประหยัดกว่า และน่าสนใจ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาแต่มีทุนน้อย นั่นก็คือ ให้ใช้วิธีไปเช่าเหรียญเก่าที่วงการไม่นิยม และมีราคาไม่แพงแทน เพื่อนำมาศึกษาธรรมชาติของเหรียญที่เกิดจากวิวัฒนาการในการปั๊ม และการตัดขอบเหรียญ

เพราะเหรียญที่ออกมาในยุคสมัยที่ใกล้เคียงกัน ย่อมจะมีขั้นตอนการผลิตที่คล้ายคลึงกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น

ทั้งนี้ เพื่อให้ง่ายต่อการศึกษา ทำความเข้าใจ ผมจึงจำแนกเหรียญต่างๆ ตามกรรมวิธีการปั๊มตัดข้างเหรียญ โดยแบ่งออกเป็นออก ๓ ยุคสำคัญ คือ

ยุคที่ ๑.ประมาณ พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ ยุคที่ ๒.ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๖-๒๔๙๙ และยุคที่ ๓.ประมาณ พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน

๑. ช่วงปี พ.ศ.๒๔๔๐-๒๔๘๕ เป็นช่วงที่นิยมสร้างเหรียญลักษณะรูปทรงกลม รูปไข่ รูปทรงอาร์ม และทรงเสมา ซึ่งรูปทรงเหรียญทั้ง ๔ ชนิดนี้ สามารถแยกตามกรรมวิธีการสร้างได้เป็น ๒ ชนิด คือ เหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย และเหรียญชนิดปั๊มข้างกระบอก

โดยเหรียญชนิดปั๊มข้างเลื่อย ก็คือ การนำแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้ตามลักษณะรูปทรงที่ต้องการ จากนั้นจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามออกมาเป็นเหรียญตามรูปทรงนั้นๆ

ส่วนการปั๊มข้างกระบอก ก็คือ การนำแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้ตามรูปทรงของเหรียญที่จะทำการปั๊ม เพื่อเข้ากระบอก และการปั๊มเหรียญนั้นๆ ดังนั้น ด้านข้างของเหรียญปั๊มชนิดนี้จึงมีความเรียบเนียน เนื่องจากการกดปั๊มโดยมีตัวกระบอกเป็นตัวบังคับ

อย่างไรก็ตาม บางเหรียญอาจมีเส้นทิวบางๆ ในขอบข้างเหรียญ ซึ่งเกิดจากการแต่งขอบให้สวยงามก็ได้

๒.เหรียญชนิดปั๊มข้างตัด (ปั๊มตัดยุคเก่า) เป็นยุคที่เริ่มพัฒนากรรมวิธีการจัดสร้างเหรียญ ด้วยการนำเครื่องจักรที่ทันสมัยมากขึ้น มาใช้แทนกรรมวิธีแบบเก่า ที่ใช้การเข้ากระบอก และต้องเลื่อยขอบออก เพื่อตกแต่งในขั้นตอนสุดท้าย ด้านข้างของเหรียญจะมีลักษณะมนๆ ไม่ค่อยมีริ้วรอยมากนัก

๓. หรียญปั๊มตัดยุค พ.ศ.๒๕๐๐-ปัจจุบัน ในยุคนี้ได้มีการพัฒนาตัวตัดข้างเหรียญที่ทันสมัย เพื่อความสะดวกในการตัดขอบเหรียญในจำนวนมากๆ ตัวตัดยุคนี้จึงค่อนข้างคมชัด

นับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แม้จะมีผู้จัดทำหนังสือชี้ตำหนิด้านหน้า-ด้านหลังของเหรียญออกมาแล้วมากมาย หลายต่อหลายเล่ม แต่การเจาะลึกถึงรายละเอียดวิธีการพิจารณาด้านข้างของเหรียญ ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ และเป็นบทสรุปความจริง-ปลอมของเหรียญแบบนี้นั้น แทบจะไม่เคยปรากฏในหนังสือเล่มใดเลย

ดังนั้น ในหนังสือ ?เหรียญยอดนิยมอมตะแดนสยาม เล่ม ๒? ผมจึงรวบรวมภาพด้านหน้า ด้านหลัง และขอบข้างเหรียญ ตลอดจนข้อมูลเชิงลึกเอาไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาพระเครื่องประเภทเหรียญโดยเฉพาะ

เต้ อุบล:
 007 007 007

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
พระเหรียญทุกชนิด พระแท้หรือปลอม ดูกันอย่างไร


พระจะแท้หรือปลอมขึ้นอยู่ที่องค์พระเป็นหลัก ไม่ใช่ว่าเดิมเป็นพระของใคร ได้จากที่ไหน เคยผ่านสงครามอะไรใครแขวนแล้วโดนยิงไม่เข้า ฟันไม่ออกมามั่ง นั่นไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้องในการสะสมพระเครื่องแบบอาศัยเหตุและผลเป็นข้อ สรุป แล้วแนวทางที่ถูกมันเป็นอย่างไร ?

แนวทางและพื้นฐาน

ที่ถูกต้องในการที่จะศึกษาและสะสมพระเครื่องครับ ถ้าท่านใช้เหตุและผลมากกว่าใช้หู หรือใช้ความน่าเชื่อถือต่อบุคคลที่ท่านจะเช่าพระเครื่องต่อจากเขา เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ มีหลักสำคัญอะไรบ้าง
1 รู้จัก ผู้สร้างรู้จักวัดที่สร้างรู้ประวัติการสร้าง ศึกษาเรื่องแบบและแม่ พิมพ์ของพระที่จะสะสม........ศึกษาเรื่องธรรมชาติ การแปรเปลี่ยนตามอายุของโลหะที่สร้างเหรียญ......ศึกษาเรื่องตำหนิ จุดตาย เส้นขนแมว เนื้อปลิ้น เนื้อเกิน การตัดขอบ........ข้อสุดท้าย....สำคัญนะครับต้องเคยเห็นของแท้ และเห็นบ่อยๆ ในเน็ตฯมีเยอะแยะตามศูนย์พระชื่อดังต่างๆ.....


แต่เอาเข้าจริงแล้วก็ไม่ค่อยมีใครใส่ใจกับการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของพระ เหรียญเลยจะจำแต่ตำหนิพิมพ์อย่างเดียว แปลกแต่จริง...


เมื่อได้พระมาก็จะส่องกันตะพึดตะพือ แล้วก็มาเปิดตำราดูตำหนิพระเครื่อง พระเหรียญกันอย่างเดียว การกระทำอย่างนี้จะเป็นเครื่องขวางกั้นภูมิปัญญาและความรู้ไม่ทำให้ดูพระ เป็นได้จริงๆสักที อย่างมากก็จะรู้ว่าพระรุ่นนี้ชื่ออะไร ใครสร้าง ออกที่ไหน เท่านั้นเองที่เหลือก็อาศัยวัดดวงหรือให้คนอื่นดูให้ถึงจะแน่ใจว่าใช่พระแท้ หรือเปล่า สุดท้ายดูกันสิบตาก็ว่าไม่เหมือนกันสักคน
2 การศึกษาพระเครื่องทุกชนิดควรศึกษาและจดจำเรื่องแบบพิมพ์มาก่อนเป็นอันดับ แรก ยิ่งรู้ถึงที่ไปที่มาว่ามีการทำแม่พิมพ์อย่างไร วิธีไหน เป็นสิ่งที่ควรเรียนรู้ให้มากเข้าไว้ นั่นจะทำให้เรามีความรู้ในการดูพระเครื่อง พระเหรียญยิ่งขึ้น สามารถ แยกออกระหว่างของแท้และของปลอมได้อย่างชำนาญยิ่งขึ้นแม่พิมพ์ของพระเครื่อง พระเหรียญพระทุกชนิดย่อมสร้างจากแม่พิมพ์ ไม่ว่าจะเป็นพระชนิดใดก็ตาม ทั้งเนื้อชิน ดิน ผง พระเหรียญ ยกเว้นแต่พระเครื่องที่ลอยองค์เท่านั้น
เวลาที่ท่านเอาพระเครื่องของท่านไปให้เซียนพระดูว่าแท้หรือไม่ประการใด ในตอนแรกเขาจะดูด้วยตาเปล่าก่อนหากดูดีแล้วจึงจะหยิบกล้องมาส่องดู หรือไม่ก็หยิบพลิกไปพลิกมาแล้วก็ส่งคีนให้พร้อมกับพูดว่า ?ผิดพิมพ์ครับ?
แม่พิมพ์ของพระเหรียญนั้นสามรถแบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ

ยุคที่ 1.ประมาณ 2440-2499 พระเก่า
ยุคที่2.ประมาณ 2500-ปัจจุบัน พระใหม่

ในยุคโบราณนั้นสามารถแยกวิธีการสร้างเป็น 2 ชนิด คือ เหรียญชนิดปั้มข้างเลื่อยและเหรียญข้างกระบอก วิธีการสร้างนั้นเขานำเอาแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังใส่เครื่องปั้ม แล้วกระแทกอย่างแรงบนแผ่นโลหะที่รีดจนบางแล้ว ถ้าเป็นชนิดข้างเลื่อยนั้นจะนำแผ่นโลหะที่ใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั้มให้ ได้ตามรูป แล้วจึงนำไปเลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบรูปทรงของเหรียญนั้นๆ การสร้างพระเหรียญในยุคประมาณ ปีพ.ศ.24....กว่าๆโลหะที่นำมาปั๊มส่วนมากมักจะเป็นโลหะประเภททองแดงเป็นหลัก ยกเว้นเป็นพิธีการสร้างของเจ้าขุนมูลนายทั้งหลาย ที่มียศถาบรรดาศักดิ์อาจจะมีเนื้อทองคำและเนื้อเงินเพิ่มเข้ามาด้วย
แม่พิมพ์ของพระเหรียญในสมัยก่อนนั้นจะนำเอารางรถไฟเก่าๆมาทำเพราะมีความคงทน แข็งแรงมาก แบบของเหรียญก็จะออกแบบเตรียมไว้ทั้งหน้า-หลัง โดยเขียนเอาไว้บนกระดาษสา แล้วค่อยเขียนแบบตามที่ปรากฏบนแผ่นกระดาษสาลงบนเหล็กรางรถไฟ แล้วจึงนำเหล็กนั้นมาเผาไฟให้แดงทั้งแท่ง รอจนเหล็กเริ่มเย็น ตอนนี้เองเนื้อเหล็กจะแข็งแต่ไม่ถึงกับแข็งมาก จึงนำเอาเครื่องมือมาแกะตามรูปที่เขียนเอาไว้บนเหล็กก่อนที่จะเผาไฟการแกะ ด้วยมือนั้นความลึกจะไม่ได้มากเหมือนกับการแกะด้วยเครื่อง จึงทำให้เกิดเป็นมิติแบบนูนต่ำออกมา ไม่นูนสูงเหมือนเหรียญรุ่นใหม่ บางครั้งอาจจะแกะพลาดบ้างเป็นริ้วรอยเส้นบางๆที่เราเรียกว่า ?เส้นขนแมว? นั่นเอง

เหรียญยุคโบราณ นั้นตอนที่ช่างแกะมักจะไม่ได้แกะหูเหรียญเอาไว้เลย(สงสัยจะลืมหรือตั้งใจก็ ไม่ทราบได้) จึงต้องนำมาเชื่อมติดเอาไว้ทีหลังโดยใช้ตะกั่วหรือเงินมาเชื่อมติดเอาไว้ ขึ้นอยู่กับโลหะที่นำมาสร้างพระนั้นเป็นหลัก ต่อมาค่อยมีการพัฒนาขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2484 ขึ้นมา ค่อยเริ่มมีการแกะให้มีหูในตัวอยู่ในแม่พิมพ์เลย ไม่ต้องมาเชื่อมติดทีหลัง เหรียญลักษณะนี้มักจะมีเนื้อปลิ้นมาทางด้านหลังบริเวณหูเหรียญ ในวงการเรียกว่า ?ตาไก่? เหรียญยุคนี้ต้องนำมาเข้าเครื่องตัด หรือนำมาเลื่อยฉลุอีกทีหนึ่ง เพราะเมื่อปั๊มออกมาแล้วจะไม่ออกมาเป็นเหรียญแบบสำเร็จเลย เมื่อปั๊มแล้วจะมีเนื้อเกินติดมาด้วยเรียกว่าปีกเหรียญ ต้องนำมาตัดอีกทีจึงจะออกมาเป็นเหรียญอย่างที่เห็น.......

หรียญโบราณตั้งแต่ พ.ศ. 2460-2469 มีจุดสังเกตเกี่ยวกับพื้นฐานของแม่พิมพ์ โดยไม่ได้แยกสำนัก แยกพระเกจิเลยดังนี้

ก. ศิลปะของเหรียญเป็นแบบนูนต่ำ เพราะว่าแกะด้วยมือสังเกตได้จากรูปพระเกจิ-อาจารย์จะไม่นูนสูงขึ้นมาจากพื้น ผนังของเหรียญนั้นมาก ลูกตา แก้ม หรือเค้าโครงหน้าจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆตัวอักษรตลอดไปถึงอักขระเลขยันต์ ต่างๆทั้งตัวเลขบอก พ.ศ.ก็ดีจะแกะเป็นเลขไทยที่มีศิลปะสวยสดงดงาม ไม่นูนสูงจากพื้นเหรียญมากนักแต่ทว่าจะมีความคมชัดอยู่ในที ไม่เบลอหรือเอียงโย้เย้เลย
ข. เส้นสายรายละเอียดที่นำมาจัดเป็นองค์ประกอบขึ้นรูปจะเป็นเส้นเรียวเล็กบางหากแต่ว่าคมชัดมาก
ค. หูหรือว่าห่วงเหรียญมักจะใช้วิธีเชื่อมติดกับเหรียญด้วยตะกั่วหรือเงินตามแต่โลหะที่นำมาสร้างพระนั้นๆ สามรถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
ง. ขอบเหรียญมักจะเรียบไม่ค่อยมีรอยเส้นฟันเลื่อย ขอบเหรียญจะบางและไม่มีความคม เพราะผ่านกาลเวลามานานปริ่มๆร้อยปีเข้าไปแล้ว หากใช้มือลูบดูแล้วมีความคมเหรืออยู่โอกาสที่จะเป็นของเลียนแบบมีสูงมากให้ ระวัง
จ. พื้นผนังทั้งด้านหน้าและด้านหลังมักจะตึง การสร้างเหรียญนั้นเกิดจากการกระแทกอย่างแรงของแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้าน หลังลงบนโลหะ เพราะเช่นนั้นตามหลักวิทยาศาสตร์และหลักแห่งความเป็นจริงแล้ว เมื่อถูกกระแทกอย่างแรงแล้วพื้นผิวเหรียญต้องเรียบตึง แต่ก็มีเหรียญอีกประเภทหนึ่งที่พื้นผิวเหรียญมีเม็ด?ขี้กลาก?อยู่ ซึ่งก็มี อยู่ได้ ขึ้นอยู่กับประวัติการสร้างของทางวัดอีกทีหนึ่ง หากว่าวัดนั้นเกิดสร้างเหรียญมาแล้วเกิดเหตุการณ์ว่าเหรียญเป็นที่ต้องการ ของประชาชนคนทั่วไปไม่พอกับความต้องการ แล้วปั๊มใหม่โดยใช้แม่พิมพ์ตัวเดิม อาจจะก่อให้เกิดร่องรอยขี้กลากขึ้นได้ แต่ถ้าพบว่าตามประวัติของทางวัดไม่เคยนำเอาแม่พิมพ์ตัวเก่ามาปั๊มใหม่เลยก็ แสดงว่าท่านได้เจอกับของเลียนแบบเข้าแล้ว เพราะก่อนการปั๊มเหรียญแบบโบราณ ก่อนที่จะปั๊มจะต้องนำแม่พิมพ์มาขัดทำความสะอาดก่อน โอกาสที่จะเกิดรอยขี้กลากที่พื้นผิวนั้นมักจะไม่มี ส่วนเหรียญโบราณในยุคกลางตั้งแต่ พ.ศ.2470 ขึ้นมาจะเริ่มมี เหรียญแบบมีห่วงในตัวขึ้นแล้ว ในบางพระเกจิบางหลวงพ่อยังใช้วิธีการสร้างแบบเดิมอยู่ก็มี จุดสังเกตโดยรวมของเหรียญยุคนี้ที่แตกต่างจากเหรียญยุคแรกมีดังนี้คือ
1.ถ้า เป็นเหรียญที่มีหูในตัวต้องมีเศษโลหะปลิ้นพับไปด้านหลัง จุดนี้เกิดจากแรงกระแทกของการปั้มเป็นส่วนของธรรมชาติต้องมีทุกเหรียญทุก คณาจารย์ที่สร้างในยุคนั้น
2.ขอบเหรียญมักจะมีรอยเลื่อยฉลุ ส่วนจุดอื่นเหมือนเหรียญโบราณยุคแรกทั้งหมด
หากว่า ท่านมีเหรียญยุคเก่าสักเหรียญหนึ่ง ลองนำเหรียญนั้นมาเทียบกับทฤษฏี ที่ได้กล่าวมาในเบื้องต้นดู ว่าเข้ากับหลักเกณฑ์ของเหรียญยุคโบราณหรือไม่ ทั้งหูเหรียญ ขอบเหรียญ ความสูงต่ำของเค้าโครงหน้าและตัวอักษร ว่าตรงกับที่ว่ามาหรือไม่ ถ้าเข้ากับหลักเกณฑ์แล้วก็มาว่ากันต่อที่โลหะของเหรียญต่อไป โลหะเก่านั้นจะไม่มีความแวววาว ความสดใส หากสัมผัสจับต้องแล้วจะเป็นมันๆขึ้นมา ถ้าทิ้งไว้สักครู่ก็กลับคืนสู่สภาพเดิมเพราะว่าเนื้อโลหะมีอายุสูง และวรรณะสีสันของเหรียญเก่านั้นมักจะมีสีซีดจางไม่ว่าจะเป็นทองคำ(มักจะออก แดงๆบางท่านว่าเป็นทองบางสะพาน) ทองแดง เงินและนาก

เหรียญ ทำเทียมเลียนแบบของเก่า ส่วนมากใช้วิธีถอดพิมพ์มาขนาดของเหรียญจะเล็กกว่าของแท้เพราะการหดตัวของแม่ พิมพ์ การถอดพิมพ์เหรียญนั้น จะใช้ซิลิโคนมาถอดเพราะซิลิโคนเป็นของเหลวจะซึมไปได้ทุกอณูของเหรียญแม้แต่ เส้นขนแมวหรือจุดลับต่างๆก็ถอดติด (ขึ้นอยู่กับคุณภาพของซิลิ โคนที่นำมาถอดพิมพ์ด้วย) รอจนซิลิโคนแข็งตัวแล้วก็ถอดออกแล้วพลิกด้านทำแบบเดิมกับด้านหลังอีกเมื่อ แข็งแล้วก็ถอดออกเอาปูนทนไฟมากรอกใส่ไปในยางแม่พิมพ์ที่ได้ เมื่อปูนแข็งตัวแล้วแกะเอาซิลิโคนออกแล้วจึงหลอมเอาโลหะที่จะทำแม่พิมพ์พระ นั้นให้ละลายเทใส่ในปูนทนไฟนั้น ทิ้งไว้จนเย็นจึงทุบเอาปูนออกก็จะได้แม่พิมพ์เหรียญที่ถอดพิมพ์มา ผ่านขั้นตอนขนาดนี้เหรียญจะไม่หดตัวยังไงไหว

เหรียญ ทำเทียมใน ลักษณะนี้ส่วนมากจะใช้วิธีเหวี่ยงโดยเอาโลหะเหวี่ยงเข้าไปในแม่พิมพ์เหล็ก กล้า แล้วจึงตกแต่งพื้นผิวเหรียญโดยใช้น้ำยาเคมี มีเรื่องที่ทำให้สังเกตอย่างหนึ่งคือ เส้นสายรายละเอียดต่างต่างของเหรียญที่ถอดได้จะไม่คม ไม่พลิ้ว เช่นว่า ดวงตาหลวงพ่อจะบี้แบนไม่คมเท่าที่ควร เค้าหน้าจะตื้นกว่าดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ ตัวหนังสืออักขระต่างๆจะล้มเอียงโย้เย้เพราะใช้แรงเหวี่ยงมากนั่นเอง ขอบเหรียญก็เช่นกัน หากเป็นการทำเทียมยุคแรกๆจะทำเป็นห่วงเชื่อมเช่นกัน แต่ตะกั่วที่นำมาเชื่อมจะสีสดดูใหม่อย่างเห็นได้ชัดไม่ซีดแห้งเหมือนของแท้ โดยส่วนมากมักจะทำอะไรอำพรางเช่นทำให้เป็นสนิม บิดห่วงให้หัก มีคราบน้ำหมากทับถมอยู่หรือไม่ก็เลี่ยมพลาสติกเลี่ยมทองเพื่ออำพรางร่องรอย ทำให้ดูยากเป็นต้นฯ หากเป็นเหรียญในยุค พ.ศ. 2470 ยิ่ง ทำเทียมยากขึ้นไปอีกเพราะหูเหรียญตรงจุดที่เป็นตาไก่ทำเลียนแบบยากพอ สมควร(ปัจจุบันเห็นทำตาไก่ได้แล้วแต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นเป็นรอยคล้ายๆรอย ตะไบอยู่ด้านในรูห่วง)แม้ว่าทำได้ก็ดูไม่เป็นธรรมชาติ ในด้านจุดตำหนินั้นเหรียญทำเทียมเลียนแบบเมื่อถอดออกมาจากของแท้แล้วก็ย่อม จะมีเหมือนกัน แต่ก่อนที่จะดูตำหนิให้ไล่ดูตามขั้นตอนต่างๆที่ได้แนะนำเอาไว้ก่อนหากว่าไม่ เข้าตามองค์ประกอบที่แนะนำเอาไว้เรื่องตำหนิไม่ต้องพูดถึง.....เพราะของ เลียนแบบก็มีตำหนิตรงจุดเดียวกันกับของแท้ทุกประการ แต่เป็นเพราะว่าของทำเทียมมีการหดตัวดังนั้นจึงจะดูไม่ค่อยเป็นธรรมชาติสัก หน่อยดูเพี้ยนๆผิดไปจากของจริง แต่ก็อย่างว่าเหรียญของเก่าจริงๆมักจะหาดูเป็นต้นแบบก็ยากเพราะมีราคาแพง เป็นส่วนใหญ่แถมบางท่านมักจะเข้าข้างตัวเองไม่ยอมดูในด้านพื้นฐานเลย มักจะข้ามไปดูที่ตำหนิกันเลยมันก็ต้องมีครบอยู่แล้วเพราะถอดมาจากของจริง ยกเว้นบางจุดเท่านั้นที่จะถอดไม่ค่อยติดตรงนี้เซียนใหญ่ทั้งหลายท่านจะยึด เป็นจุดตายและไม่ยอมสอนให้เพราะเป็นเครื่องมือหากินของเขา พอนักสะสมมือใหม่ไล่ดูตำหนิครบแล้วก็ทึกทักเอาว่าของข้าแท้อย่างเดียวโดยลืม ดูธรรมชาติความเก่าของเหรียญไปซะฉิบ เฮ้อ........

แม่ พิมพ์เหรียญยุคใหม่มักจะเอาภาพหลวงพ่อต่างๆที่จะมาทำเหรียญนั้น มาออกแบบบนกระดาษก่อนแล้วจึงเอาไปถ่ายฟิล์ม แล้วนำไปประกบกับเหล็กอ่อนค่อยใช้เครื่องหรือช่างแกะออกมา แล้วจึงนำเหล็กไปชุบกับน้ำยาทำให้เหล็กแข็งตัวก่อนค่อยนำไปใส่ที่เครื่อง ปั๊มซึ่งก็มีอยู่สามแบบ คือ 1...เหรียญ ปั๊มข้างเลื่อย โดยนำเอาแผ่นโลหะที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดของเหรียญมาปั๊มให้ได้รูปแล้วนำมา เลื่อยฉลุให้สวยงามตามแบบของเหรียญนั้นๆ
2...เหรียญปั๊ม ข้างกระบอก นำเอาแผ่นโลหะมาเลื่อยให้ได้รูปทรงของเหรียญที่จะปั๊มก่อนเพื่อเข้ากระบอก ด้านข้างของเหรียญชนิดนี้จะมีความเรียบเนียนเนื่องจากกดปั๊มโดยมีกระบอกเป็น ตัวบังคับ บางเหรียญจะมีการตกแต่งให้สวยงามทำให้เกิดเส้นทิวบางๆที่ขอบเหรียญบ้าง
3...เหรียญปั๊มตัด พ.ศ.2500-ปัจจุบัน เหรียญในยุคใหม่นี้ด้วยวิทยาการเครื่องจักรอันทันสมัย แรงอัดกระแทกดี ดังนั้นเวลาที่ป็มเหรียญออกมาจึงสวยคมชัดมากมีลักษณะเป็นภาพนูนสูง สังเกตที่ผนังเหรียญจะอยู่ต่ำกว่ารูปของพระเกจิอาจารย์มาก จุดสังเกตของเหรียญยุคใหม่ คือ ผิวเรียบตึง ไม่มีขี้กลาก หรือเป็นหลุมเป็นบ่อเลยแม้แต่น้อยที่ขอบจะมีความเรียบเนียนแต่ว่าคมและมีรอย ตัด แววตาของหลวงพ่อจะแลดูแข็งๆ
อย่างที่กล่าวมาแล้วใน เบื้องต้นว่าเหรียญเก่าแท้ๆหากจะทำเลียนแบบด้วยการทำ แม่พิมพ์ใหม่แล้วนำมาปั๊ม ปั๊มอย่างไรก็ไม่เหมือนเพราะว่าถ้าแกะบล็อกใหม่เส้นสายรายละเอียดเดิมๆที่ ช่างได้ทิ้งเอาไว้ (ที่เราเรียกว่า?ตำหนิ?) ไม่ มีทางทำให้เหมือนได้ เพราะเป็นการทิ้งใว้แบบไม่ตั้งใจ ไม่จงใจ แต่ก็เป็นประโยชน์กับพวกเรานักสะสมมือใหม่เป็นอย่างยิ่ง หากรู้จักสังเกตและจดจำ หากเอาเครื่องปั๊มยุคปัจจุบันไปปั๊มยิ่งจะทำให้เกิดความแตกต่าง อย่างมากเพราะกรรมวิธีการสร้างที่แตกต่างกันตามยุคสมัยที่ได้กล่าวเอาไว้ ตั้งแต่เบื้องต้น ดังนั้นก็จะทำได้เพียงวิธีเดียวคือ ต้องอาศัยวิธีถอดพิมพ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น
ดังนั้นพระ แท้ก็ต้องแท้อยู่วันยันค่ำ ของเลียนแบบก็เช่นเดียวกัน เพราะตามหลักแห่งความเป็นจริงแล้วหากว่าแยกแยะพระแท้กับของเลียนแบบไม่ได้ เลยนั้น พระเครื่องประเภทพระเหรียญก็คงจะต้องเลิกเล่นกันไปตั้งนานแล้ว แต่ทุกวันนี้ก็ยังเล่นหากันอยู่นั่นแสดงว่ายังสามารถที่จะแยกพระแท้กับพระทำ เลียนแบบกันได้ ขออย่าให้ความโลภครอบงำก็แล้วกัน พระอะไรที่ดูก้ำกึ่ง คาบเกี่ยว ดูน่าสงสัย มีพิรุจ แถมยังราคาถูกกว่าค่านิยมสากล ไม่ว่าจะด้วยสาเหตุใดก็ตามให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือปรึกษาผู้รู้ ผู้ชำนาญการจะเป็นการปลอดภัยที่สุด.....
ขอส่งท้ายและเน้น ย้ำถึงธรรมชาติของเหรียญเก่าโบราณอีกครั้งหนึ่ง พระเหรียญ วิธีสร้างก็คือการนำเอาโลหะมาปั๊มไม่ว่าจะเป็น เงิน ทองแดง นาก ทองคำ หรือโลหะผสมเช่น นวโลหะก็ดี ธรรมชาติของโลหะธาตุเหล่านี้ย่อมจะมีอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว ซึ่งสามารถแยกแยะได้ดังนี้

1?พื้นผิวเหรียญต้องแห้งผากไม่มีความมันเงาแวววาวใดใดเลย
2...สีสันวรรณะของเหรียญต้องดูซีดจาง ไม่สดใส
3...เมื่อถูกสัมผัสจับต้องแล้วสีสันอาจจะเปลี่ยน แต่เมื่อทิ้งเอาไว้ระยะเวลาหนึ่งก็จะกลับคืนเป็นดังเดิม
4...ไม่มีความคมหลงเหลืออยู่ไม่ว่าจะเป็นส่วนไหน
5...ขอบเหรียญมักจะบาง
6...เหรียญ ที่ผ่านการใช้มาแล้ว มักจะมีคราบสนิมเกาะอยู่จะเป็นสีอะไรก็ขึ้นอยู่กับว่าเหรียญเนื้ออะไรเช่น กันเมื่อล้างคราบสนิมออก หรือ หลุดออกเองก็ดีเมื่อเราส่องดูที่พื้นเหรียญมักจะมีรูพรุนคล้ายตามดเพราะถูก สนิมกัดกร่อนไปถึงเนื้อโลหะแต่ถ้ารักษาอย่างดีก็จะไม่มีหลุมดังกล่าวและจะทำ ให้เหรียญมีราคาค่านิยมที่แพงยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่าตัว(ที่เขาเรียกว่า เหรียญสวยระดับแชมป์นั่นแหละ ของแพง) ถ้าท่านมีเหรียญเก่าๆลองนำมาเทียบกับความเก่าตามธรรมชาติที่ได้เขียนเอาไว้ ตั้งแต่ต้นดู ว่าตรงกันหรือเปล่า แต่ต้องทำใจให้เป็นกลางด้วย ไม่เช่นนั้นอาจหลงเข้าข้างตัวเองได้

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
วิธีดูพระเครื่อง ชนิด เหรียญ

                    ขั้นตอนแรกให้ดูที่เหรียญด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมบิดผิดรูปหรือปล่าว  ถ้า เหรียญ  พระเครื่อง บวมหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์ต้นแบบ  ยกตัวอย่างเช่น  เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนรฯ

                   ถ้า พระเครื่อง ไม่บวมก็ให้ดู ตำหนิ เทียบกับ หนังสือพระเครื่อง ทั่ว ๆ ไปได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้า เหรียญพระเครื่อง ผิดพิมพ์ หรือไม่มีตำหนิ ก็คือ เก๊แน่นอน จากแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีคือ

1.แท้

2.เก๊คอมพิวเตอร์

การแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่

คนภูเขาร่มเงาธรรมมะ:
วิธีการดูพระเหรียญปั๊มโลหะ 

   ปัจจุบันนี้ พระเหรียญหลายๆคนบอกเล่นยากมาก เพราะทำเก๊ได้เหมือนของแท้เหลือเกิน โดยเฉพาะเก๊คอมพิวเตอร์ แต่ในความเป็นจริงเหรียญทุกชนิดจะดูง่ายขึ้น ถ้าเรามีหลักการในการดูดังนี้ 

   ๑. เมื่อพบพระเหรียญ ให้ดูด้วยตาเปล่าก่อนว่าเหรียญบวมหรือไม่ ถ้าบวมนูนตรงกลางหรือบิดผิดธรรมชาติ ก็คือ เก๊แน่นอน ยกเว้นเหรียญที่นูนจากแม่พิมพ์เอง เช่น เหรียญหลังเต่าเจ้าคุณนรฯ 

   ๒. เมื่อดูว่าเหรียญไม่บวมแล้วก็ให้ดูตำหนิเทียบกับหนังสือพระเครื่องทั่ว ๆ ไปตามที่เราได้เรียนรู้และจำได้ว่าถูกพิมพ์หรือไม่ ถ้าเหรียญผิดพิมพ์หรือไม่มีตำหนิตรงตามของแท้มาตรฐาน ก็คือ เก๊แน่นอน จากการแกะบล็อคใหม่นั่นเอง แต่ถ้าเหรียญถูกพิมพ์ก็จะมีอีก 2 กรณีให้พิจารณาต่อ คือ

   ๑. แท้

   ๒. เก๊คอมพิวเตอร์ 

   ๓. การที่เราจะแยกพระแท้กับพระเก๊คอมพิวเตอร์แยกได้ง่ายมาก และไม่ต้องดูตำหนิแล้ว ให้ดูเหรียญโดยทั่ว ๆ ไปก่อน ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง บล็อกเก๊คอมพิวเตอร์จะมีพื้นผิวเหรียญที่ไม่ตึงเรียบ และจะมีจุดเนื้อเกินแตกต่างจากเหรียญแท้เสมอ หลังจากนั้นค่อยพิจารณาดูองค์ประกอบทั่ว ๆ ไปของเหรียญ เช่น อายุของโลหะ รมดำหรือกะไหล่ ว่ามีความเก่าหรือไม่ ในส่วนนี้เราจำเป็นต้องคุ้นเคยกับเหรียญแท้ๆ มาก่อนก็จะทำให้แยกแยะได้ง่ายขึ้น 

   จุดพิจารณาในการดูเหรียญปั๊มโลหะ 

   ๑.  อายุของโลหะต้องมีความเก่าตามอายุการสร้างของเหรียญ เช่น เหรียญ พ.ศ. 2460 ทองแดงไม่เก่าก็คือ เก๊นั่นเอง 

   ๒.  กระไหล่หรือรมดำ ต้องเก่าตามอายุเหรียญนั้นๆ 

   ๓.  เหรียญสึก ควรสึกเฉพาะส่วนที่นูนของเหรียญเท่านั้น ส่วนลึกสุดของเหรียญต้องคมชัด และดูได้ว่าเป็นเหรียญปั๊มโลหะ 

   ๔.  การดูรอยตัดปั๊มขอบเหรียญ ถ้าไม่มีหรือเป็นรอยตะไบถือว่าไม่ใช่เหรียญปั๊ม ยกเว้นเหรียญปั้มบังคับปลอก(บังคับขอบเหรียญ) เช่นเหรียญ ลพ.เดิม ปี 2482 ขอบจะเรียบ หรือเหรียญที่ตะไบขอบเช่นเหรียญ ลพ.คง วัดบางกระพ้อม บล็อกขอบตะไบ  แต่เหรียญพิเศษแบบนี้จะมีไม่มาก แต่ถ้ามีรอยตัดปั๊มอาจเก๊คอมพิวเตอร์ก็ได้ 

   ๕.  เหรียญห่วงเชื่อม รอยเชื่อมเงินต้องมีความเก่า 

๖. ไม่ควรเช่าเหรียญที่เลี่ยมพลาสติกไว้เพราะดูลำบากอาจหลอกตาได้ ยกเว้น เหรียญดูง่ายจริงๆ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป