ของแซ่บอีสานบ้านเฮา.... ?>
ชมรมอนุรักษ์พุทธศิลป์แห่งภาคอีสาน
The Buddhist Art Conservation Club Of Esan (North Eastern Part Of Thailand)
19 เมษายน 2567, 16:03:37 *
ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

เข้าสู่ระบบด้วยชื่อผู้ใช้ รหัสผ่าน และระยะเวลาในเซสชั่น
 
   หน้าแรก   ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก  

กติกาในการ เช่า-แลกเปลี่ยนพระเครื่อง | พระเครื่องเมืองอุบลราชธานี | แจ้งปัญหาการใช้งาน
แจ้งเรื่องการยืนยันตัวตนสำหรับผู้ที่จะให้เช่าพระเครื่องฯ | วิธีสมัครสมาชิกเว็บ

หน้า: 1 [2]   ลงล่าง
  พิมพ์  
ผู้เขียน หัวข้อ: ของแซ่บอีสานบ้านเฮา....  (อ่าน 36000 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #15 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:22:02 »

นึ่งปลา
 เมืองไทยเรานั้น เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ?ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว? แสดงถึง ความอุดมสมบูรณืของธรรมชาติและสะท้อนให้เห็นถึงการดำรงชีวิตอยู่ของคนไทยในชนบทได้เป็นอย่างดี ในที่นี้จะขอกล่าวถึงแต่ชาวภาคอัสานที่มีวัฒนธรรมการดำรงชีวิตผูกพันอยู่กับนาข้าว และหนองน้ำ ปลาหลายชนิดถูกนำมาประเป็นอาหาร ซึ่งต่อมาก็ได้เกิดตำรับเมนูอาหารต่างๆ
    ปลาช่อน เป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีท่อนหัวคลายงูมีเกล็ดคลายปลาชะโดแต่ตัวเล็กกว่า เนื้อปลาช่อนมีรสหวาน ก้างน้อย รสชาติอร่อย จึงเป็นปลาที่นิยมรับประทานกันมาปัจจุบันมีราคาแพง ชาวอีสานนิยมรับประทานกันมาก ปัจจุบัน มีราคาแพง ชาวอีสานนิยมนำมาทำเป็นอาหารในรูปแบบต่างๆ เช่น แจ่วปลาช่อน, ห่อหมกปลาช่อน, ต้มยำปลาช่อน, เป็นต้น แต่เมนุอาหารที่ชาวอีสานหรือคนภาคอื่นๆ นิยมรับประทานกันในบรรดาตำรับปลาอีกประเภทหนึ่งคือ ปลานึ่ง ว่ากันว่าในจำนวนปลานึ่งทั้งหลายนั้น ปลาช่อนนึ่งจัดเป็นอาหารตำรับหนึ่งที่มีรสชาติอร่อยเหลือหลายที่ชาวอีสานทุกคนต้องบอกว่าแซ่บอีหลี
 

ครื่องปรุง
ปลาช่อนหนัก
500 กรัม 1 ตัว

กะหล่ำดอก
1 ดอก (200 กรัม)

ผักกวางตุ้ง
3 ต้น (200 กรัม)

ถั่วฝักยาว
5 ฝัก (100 กรัม)

เกลือป่น
1 ช้อนชา (8 กรัม)

ข่าวเหนียวนึ่ง
2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)

ตะไคร้
1 ต้น (30 กรัม)

ใบแมงลัก
5 ใบ (5 กรัม)

ใบมะกรูด
? ถ้วย (15 กรัม)


เครื่องปรุงแจ่วมะเขือเทศ
มะเขือเทศสีดา
5 ผล (50 กรัม)
หอมแดง
5 หัว (30 กรัม)
พริกป่น
1 ช้อนชา (8 กรัม)
น้ำมะขามเปียก
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
น้ำปลาร้าต้มสุก
4 ช้อนโต๊ะ (60 กรัม)
เผามะเขือเทศ หอมแดง แล้วโขลกให้เข้ากัน ใส่พริกป่น น้ำมะขามเปียก น้ำปลาร้าต้มสุก ชิมรสตามชอบ
 
 
วิธีการปรุง
     1. ขอดเกล็ดปลา ผ่าหลังตั้งแต่หัวจรดหาง แผ่ออกแล่ก้างกลางเอาไส้ทิ้ง ล้างให้สะอาดแล้วเคล้ากับเกลือ ข้าวเหนียวนึ่ง
     2. ล้างผักทั้งหมดให้สะอาด หั่นผักกวางตุ้ง กะหล่ำดอก ถั่วฝักยาว เป็นชิ้นใหญ่ วางในจาน แล้ววางปลาลงบนผัก
     3. ทุบตะไคร้หั่นท่อน ฉีกใบมะกรูด วางบนตัวปลาใส่ลังถึงนึ่งจนปลาสุก โรยใบแมงลัก ปิดฝายกง
     4. รับประทานกับแจ่วมะเขือเทศ
 
สรรพคุณทางยา
     1. ปลาช่อน เนื้อสด รสหวาน ชอบกับธาตุทั้งปวง ทำให้เกิดเสมหะ บังเกดปิตตะระงับวาตะ
     2. กะหล่ำดอก รสจืดเย็น เป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
     3. ผักกวางตุ้ง รสจืดเย็น เป็นอาหารประเภทผักที่มีคุณค่าทางอาหารสูง
     4. ถั่วฝักยาว รสมันหวาน มีคุณค่าทางอาหารสูง กระตุ้นการทำงานของกระเพาะลำไส้ บำรุงธาตุดิน
     5. ตะไคร้ แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร และขับเหงื่อ
     6. ใบแมงลัก ใบสดรสหอมร้อน เป็นยาแก้หวัด แก้ปลอดลมอักเสบ แก้โรคท่องร่วง ขับลม
     7. มะกรูด รสปร่าหอม ช่วยดับกลิ่นคาว ขับลมในลำไส้ ขับระดู แก้จุกเสียด
     8. มะเขือเทศสีดา รสเปรี้ยว เป็นอาหารประเภทผักปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ที่มีคุณค่าทางอาหารสูงประกอบไปด้วยวิตามิน บำรุงผิว ช่วยระบาย
     9. หอมแดง รสเผ็ดร้อน แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้โรคในปาก บำรุงธาตุ แก้ไข้หวัด
     10. มะขาม รสเปรี้ยว ช่วยระบาย แก้ท้องอืด ลดความอ้วน บรรเทาอาการไอ ทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ละลายเสมหะ
สรรพคุณตามตำรายาโบราณ
     หางปลาช่อนแห้ง ชนิดที่ทำปลาเค็มตากแห้ง ตัดเอาหางมาสุม หรือปิ้งไฟจนเกรียมบดผสมยา มีรสเค็มคาวและเค็มเย็น แก้เม็ดยอดในปากเด็ก แก้ลิ้นเป็นฝ้าละออง ตัวร้อนนอนสะดุ้ง มือเท้าเย็น หลังร้อน แก้หอบทรางทับสำรอกได้จากตำราหมอยาไทย เภสัชกรรมแผนโบราณของหมอบุญเกิดมะระพฤกษ์ ได้กล่าวว่า
     ?ปลาช่อน? เนื้อชอบกับธาตุทั้งปวง ให้บังเกิดเสมหะบังเกิดปิตตะ ระงับวาตะ หาง แก้เม็ดฝีตานซาง และแก้พิษทั้งปวง?
 
ประโยชน์อาหาร
     ปลานึ่งเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูง และย่อยง่าย นับว่าเป็นประโยชน์ต่อร่างกายเป็นอย่างยิ่ง นอกจากได้โปรตีนจากปลาแล้ว เรายังได้เกลือแร่และวิตามินจากผักต่างๆ อีกด้วย

คุณค่าทางโภชนาการ
     ปลานึ่ง 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 947 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย
          - น้ำ 997.69 กรัม
          -โปรตีน 125 กรัม
          -ไขมัน 26.89 กรัม
          -คาร์โบไฮเดรต 52 กรัม
          -กาก 9.146 กรัม
          -ใยอาหาร 4.035 กรัม
          -แคลเซียม 453.3 มิลลิกรัม
          -ฟอสฟอรัส 1301.6 มิลลิกรัม
          -เหล็ก 58.447 มิลลิกรัม
          -เรตินอล 1.32 ไมโครกรัม
          -เบต้า-แคโรทีน 4271 ไมโครกรัม
          -วิตามินเอ 4404.3 1 IU
          -วิตามินบีหนึ่ง 83.29 มิลลิกรัม
          -วิตามินปีสอง 1.8 มิลลิกรัม
          -ไนอาซิน 12.2 มิลลิกรัม
          -วิตามินซี 214 มิลลิกรัม


* original_1aya5.jpg (79.54 KB, 450x300 - ดู 3014 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #16 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:23:43 »

แจ่วบอง
แจ่วหรือ น้ำพริก เป็นอาหารที่ชาวอีสานนิยมรับประทานกัน  เพราะทำได้ง่ายมีเครื่องปรุงไม่มากนัก  แค่มีพริกและปลาร้าในครัวก็สามารถทำแจ่วได้แล้ว  ด้วยความที่ทำได้ง่ายจึงจะพบว่าอาหารของชาวอีสานเกือบทุกมื้อจะต้องมีแจ่วเป็นอาหารหลักๆน่นอน  ชาวอีสานนิยมรับประทานแจ่วกับผักที่เก็บได้จากรั้วบ้าน  หรือกับพวกเนื้อย่าง  ปลาย่าง หรือนึ่ง  ปัจจุบันถึงแม้วิถีชีวิตของชาวอีสานจะเปลี่ยนไปแต่อาหารต่างโดยเฉาะแจ่วไม่ได้เสื่อมความนิยมลงไปเลย  เพราะเหตุนี้เราจึงหาทานแจ่วแบบอีสานได้ทั่วๆไป
 

ครื่องปรุง
รากผักชี
ตะไคร้เผาพอหอม
ปลาร้าสับละเอียด
น้ำมันพืช(ไม่ใช้ก็ได้-ใช้น้ำเปล่าแทนได้)
น้ำมะขามเปียก-ข้น
ข่าเผาซอย
พริกป่น
ปลาป่น
น้ำปลา
น้ำตาลทราย
ผักสดตามชอบ

วิธีทำ
   1.โขลกรากผักชี ตะไคร้ ข่าให้ละเอียดใส่กระเทียม หอม โขลกต่อให้ละเอียดใส่พริกป่นปลาร้า โขลกต่อให้เข้ากัน
   2. ตั้งกระทะไฟอ่อนใส่น้ำมันพร้อมใส่ส่วนผสมผัดใส่น้ำปลาร้าน้ำ  มะขามเปียกน้ำตาลผัดจนหอมจึงตักขึ้นรับประทานกับผักสดผักนึ่ง ถ้าไม่ชอบปลาร้าใส่น้ำปลาก็ได้
 
  เคล็ดลับ
    ควรใช้ปลาร้าที่เนื้อแน่นๆ

  คุณค่าทางอาหาร
    โปรตีนวิตามินเอ ซี โปรตีน 


* 9.JPG (13.75 KB, 272x242 - ดู 1812 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #17 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:27:32 »

ข้าวจี่ - นิยมรับประทานกันในฤดูหนาวเพราะชาวบ้านจะมานั่งจะมานั่งผิงไฟ
แล้วทำการจี่ข้าวกันไปผิงไฟกันไปเป็นการแก้หนาว
และอีกเหตุผลหนึ่งช่วงนี้เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยวข้าวเหนียวที่ได้จะมีกลิ่นหอมนุ่ม
เหมาะแท้ที่จะนำมาทำการจี่กิน ด้วยเหตุนี้ในช่วงฤดูหนาวจึงเหมาะที่จะจี่ข้าวกินกัน
เครื่องปรุง
ข้าวเหนียวนึ่งสุก ไข่ไก่หรือไข่เป็ดก็แล้วแต่ความชอบของใครของใคร น้ำปลา
วิธีทำ
-นำข้าวเหนียวนึ่งสุกมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ หรือรูปร่างตามที่ชอบ
-ทำการจี่ด้วยไฟอ่อนๆ ให้เหลืองพองาม
-ตีไข่ให้แตก ใส่น้ำปลา
-นำข้าวที่ปิ้งมาจุ่มลงในไข่ที่เตรียมไว้แล้วทำการจี่ต่อไปจนสุก
เคล็ดไม่ลับ
-สามารถประยุกต์วิธีทำและเครื่องปรุงตามความคิดได้
คุณค่าอาหาร
-วิตามิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต


* 1308148252.jpg (113.37 KB, 400x533 - ดู 1568 ครั้ง.)

* images.jpg (11.04 KB, 259x194 - ดู 1540 ครั้ง.)

* _MG_4867.jpg (349.51 KB, 1000x667 - ดู 2025 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #18 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:31:58 »

ก้อยไข่มดแดง

ส่วนผสม
ไข่มดแดง               300 กรัม
หัวหอมซอย            7 - 8 หัว
น้ำปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา     1 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว                1 ช้อนชา
พริกแห้งป่น            1.5 ช้อนโต๊ะ
ข้าวคั่วป่น                2 ช้อนโต๊ะ
ต้นหอมหั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
ใบสะระแหน่          5 - 6 ต้น (เด็ดเป็นใบ)

วิธีทำ
นำไข่มดแดงล้างให้สะอาดใส่กระชอน พักให้สะเด็ดน้ำ ใส่อ่างผสม
นำเครื่องปรุงทั้งหมดใส่คลุกเคล้าให้เข้ากัน
ใส่พริกแห้งป่น ข้าวคั่วป่น หัวหอมซอย ต้นหอมหั่นฝอยชิมรส ตักใส่จานโรยหน้าด้วย ใบสะระแหน่และพริกชี้ฟ้าสด

ผักเครื่องเคียง
ผักที่นิยมรับประทานเป็นเครื่องเคียงได้แก่ ผักกะโดน เม็ก ติ้ว หนอก (บัวบก) มะเขือถั่วฝักยาว แตงกวา และอื่น ๆ

หมายเหตุ
ส่วนผสมอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


* 11.JPG (20.23 KB, 329x242 - ดู 1797 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #19 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:40:43 »

กว่าจะมาเป็น...ข้าวเม่า
คัดลอกจาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=110378

ในอดีตคนอีสานมีประเพณีและพิธีกรรมที่เกี่ยวกับข้าวถึง 9 ครั้ง ได้แก่ เมื่อข้าวเป็นน้ำนม เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เมื่อเก็บเกี่ยว เมื่อจักตอกมัดข้าว เมื่อมัดฟ่อน เมื่อกองอยู่ในลาน เมื่อทำลอมข้าว เมื่อเก็บข้าวเข้าเล้า



เมื่อข้าวเป็นข้าวเม่า เป็นระยะเวลาที่  เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา ลมว่าวพัดมา ได้เวลา คั่วข้าวเม่า ซึ่งโดยมาก ก็ประมาณช่วง เดือนตุลา ถึง พฤศจิกา ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้า นั่นเอง

ข้าวเม่า นับเป็นของกินอีกอย่างหนึ่ง ที่เด็กๆ กินได้ ผู้ใหญ่กินดี    ข้าวเม่า คือข้าว ที่ถูกตำ หรือทุบ จนเม็ดข้าวแบน ซึ่ง ทำจากข้าวเหนียวที่ไม่อ่อนเกินไป   ไม่แก่เกินไป อยู่ในช่วงวัยแรกรุ่น ที่เลยระยะน้ำนมแล้ว ข้างในเปลือกข้าวเริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว ซึ่งเยื่อสีเขียวนี้ เมื่อข้าวแก่ จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด 



การเตรียมข้าวเม่าแบบดั้งเดิม
ขั้นแรกจะตรวจดูในนาว่า แปลงไหนข้าวพอดีทำข้าวเม่า ก็ลงไปดูทีละรวง และหักทีละรวง โดยหักตรงข้อต่อของรวงกับปล้อง จนได้ปริมาณเพียงพอ ซึ่งขั้นตอนนี้ ดั้งเดิม ที่ไม่นิยมใช้เคียว ก็เนื่องจาก ข้าวในกอเดียวกัน อาจจะแก่ไม่เท่ากัน หากใช้เคียวรวบเกี่ยวทั้งกอ ก็จะเสียรวงข้าวไปเปล่าๆ จึงนิยมเลือกหักทีละรวง  เมื่อได้ปริมาณเพียงพอแล้ว นำมาที่กระท่อม หรือใต้ร่มไม้ที่จะคั่วข้าวเม่า จากนั้น ก็แยกเมล็ดข้าวออกจากรวง โดยใช้ช้อนขูดเอาเฉพาะเมล็ดข้าวออก ทีละรวง ๆ อีกเหมือนกัน

   

การคั่วข้าวเม่า
ขั้นตอนนี้ คือการทำให้ข้าวสุก นั่นเอง ข้าวที่กำลังเป็นข้าวเม่า เนื่องจากภายในเมล็ดยังมีส่วนที่เป็นน้ำอยู่ จึงสามารถทำให้สุกโดยการคั่วได้ โดยเมล็ดข้าวไม่แตกเหมือนข้าวตอกแตก ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการคั่วข้าวเม่า ก็คือ หม้อดิน(หรืออาจจะใช้กระทะแทนก็ได้) ไม้พายสำหรับคน และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ เตาไฟ  ค้างหม้อดิน บนไฟอ่อนๆ  นำเมล็ดข้าวเม่า ซึ่งขูดเตรียมไว้แล้ว ใส่ลงในหม้อดิน พอประมาณ  ใช้ไม้พายคนไปมา เพื่อให้ข้าวสุกทั่วถึง คั่วพอสุก และเทพักไว้ในกระด้ง หรือตะกร้า แล้วคั่วหม้อต่อไป จนเสร็จนำกลับบ้าน เพื่อตำ



การตำข้าวเม่า
ขั้นตอนนี้ คือการนำเปลือกข้าวออกจากเนื้อเมล็ดนั่นเอง เมื่อนำเปลือกออกแล้ว ก็จะเหลือเนื้อในสีเขียว น่ารับประทาน ซึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็น ก็คือ ครก สาก ไม้คน กระด้ง
ครก นิยมใช้ครกมองหรือครกกระเดื่อง ซึ่งในหนึ่งหมู่บ้าน อาจจะมีครกกระเดื่องไม่กี่ตัว ดังนั้น แต่ละครัวเรือน ก็จะมารอคิวตำข้าวเม่า และช่วยๆ กันเหยียบครกกระเดื่อง นำข้าวเม่าที่คั่วแล้ว ใส่ลงในครก พอประมาณ ด้านหางครก มีคนเหยียบตำไปเรื่อยๆ ด้านหัวหรือตัวครก มีคนคอยใช้ไม้หรือมือคนพลิกข้าวอยู่เรื่อยๆ ตำไปพอประมาณ ก็ตักข้าวออกจากครก ใส่กระด้ง นำไปฝัดเอากากหรือเปลือกข้าวออก แล้วใส่ลงในครกอีกตำอีก และนำออกไปฝัดอีก ทำซ้ำ ๆ สองขั้นตอนนี้ จนเปลือกออกหมด เป็นอันเสร็จหนึ่งครก

ข้าวเม่าที่ตำเสร็จใหม่ๆ จะ หอมกรุ่น อ่อนนุ่ม เคี้ยวหนึบหนับ มันอร่อยดียิ่งนัก



ภูมิปัญญาชาวบ้านยังได้คิดค้นนำเครื่องจักรกล จากเครื่องยนต์สูบน้ำจากเครื่องยนต์รถไถ เดินตาม มาประกอบเข้ากับอุปกรณ์อีกชุดหนึ่งเพื่อ หมุนวงล้อให้สัมผัสกับปุ่มยกแขนครกกระเดื่อง ให้ขึ้น - ลงแทนแรงคน ครกกระเดื่องติดเครื่องจักรเป็นที่นิยมกันในกลุ่ม ผู้ประกอบอาชีพตำข้าวเม่าขาย ในช่วงฤดูข้าวออกรวงใหม่ที่เรียกว่า "ข้าวตั้งท้อง" หรือ "ข้าวกำลังเม่า" ผู้ที่ประกอบอาชีพตำข้าวเม่า ขาย จะนำข้าวที่ตั้งท้องเป็นเม่ามาใส่ กะทะคั่วให้สุกพอประมาณ แล้วใส่ครกตำ ให้เป็นเม็ดแบน เอาเปลือกออกแล้วนำไปขาย เป็นข้าวเม่าภายในช่วง เวลาที่ต้องจำหน่ายให้ผู้ บริโภคในวันหนึ่ง ๆ ให้หมด หากทิ้งข้ามวัน ข้าวเม่าจะไม่หอมไม่เหมาะแก่การบริโภค ครกกระเดื่อง ติดเครื่องจักร จึงเข้ามาแทนแรงงานคนได้ อย่างเหมาะสม


* images (1).jpg (10.22 KB, 256x192 - ดู 1523 ครั้ง.)

* images (2).jpg (14.19 KB, 270x187 - ดู 1485 ครั้ง.)

* images (3).jpg (13.1 KB, 251x201 - ดู 1496 ครั้ง.)

* images (4).jpg (13.88 KB, 267x188 - ดู 1534 ครั้ง.)

* kaomao01.jpg (39.3 KB, 400x300 - ดู 2160 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #20 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:43:12 »

การเปลี่ยนแปลงของ ?ข้าวเม่า?
http://www.oknation.net/blog/kidkids/2009/09/14/entry-1


ถ้าพูดถึงเรื่อง ?ข้าวเม่า?  แล้ว สำหรับคนอีสานคงไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แต่ถ้าพูดถึงขั้นตอนการทำข้าวเม่า แล้วน้อยคนนักที่จะได้เห็นจนครบกระบวนการ เพราะ ข้าวเม่าไม่ใช่อาหารที่ได้มาแบบง่ายๆ และรวดเร็ว  ซึ่งแต่ก่อนการจะทำข้าวเม่าแต่ละครั้งต้องลงทุนลงแรงกันเป็นวันสองวันกว่าจะได้กิน  ซึ่งเริ่มจาก การไปคัดเลือกเอาข้าวที่จะมาทำข้าวเม่า ข้าวที่จะมาทำข้าวเม่าได้ ต้องไม่อ่อน และไม่แก่ จนเกินไป (ชาวบ้านเรียกว่า ?ข้าวพอเม่า? เพราะถ้าอ่อนไปจะทำให้เป็นขี้แมว ถ้าแก่ไปก็จะทำให้แข็ง)   แล้วเอามาขูดด้วยช้อนทีละรวงสองรวง ช่วงหลังฉลาดขึ้นมาหน่อยเอามาปั่นด้วยล้อจักรยาน เสร็จแล้วเอามาคั่วด้วยโอ่งดินหรือกระทะใช้ความร้อนไฟระดับปานกลาง เพราะถ้าไฟร้อนข้าวจะสุกไม่ทั่วถึง ถ้าเย็นไปจะทำให้ข้าวไม่สุกง่าย  พอข้าวที่คั่วสุกอย่างทั่วถึงแล้วก็เทออกใส่กระด้งให้เย็นพอดีก่อน   ก่อนเอาไปตำต่อด้วยครกมอง หรือตำด้วยครกกระเดื่อง เพราะถ้าตำตอนข้าวยังร้อนอยู่จะทำให้ข้าวเป็น ?ขี้แมว?  ตำไปเรื่อยๆ จนเมล็ดแบน เปลือกหลุดออกหมด ก็เอาไปฝัดด้วยกระด้งเพื่อคัดเอาแกลบออก ถ้ายังไม่หมดก็เอามาตำอีกรอบ จะได้ข้าวเม่าที่หอม หวาน อ่อน นุ่ม ดูสีเขียวน่ารับประทานเป็นอย่างยิ่ง ข้าวเม่าถ้าเก็บไว้นานจะแข็งไม่น่ารับประทาน  ซึ่งการทำข้าวเม่าสมัยก่อนทำคนเดียวได้ยาก ต้องทำกับครอบครัว  เพื่อนบ้าน หรือ ชวนเด็กๆ ญาติ พี่ น้อง มาช่วยด้วย เพราะการทำข้าวเม่าต้องอาศัยคนอย่างน้อย สามคนขึ้นไป ถึงจะทำสำเร็จ
                 

แต่ทุกวันนี้ ไม่รู้ว่าเป็นเพราะความเจริญทางด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือความฉลาดของคน หรือความมักง่ายของคนกันแน่ แล้วแต่มุมการมองหรือแง่คิดของแต่ละคน ทำให้การทำข้าวเม่าไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว สามารถทำเพียงหนึ่งถึงสองชั่วโมงก็ได้กินกันแล้ว ด้วยเครื่องสีเมล็ด ตำด้วยครกกระเดื่องติดมอเตอร์ หรือบางที่ใช้วิธีสีเอาเหมือนข้าวสาร  เสร็จแล้วเอามาเป่าแกลบด้วยเครื่องฝัดข้าวเป็นตะแกงเหมือนโรงสี สามารถทำคนเดียวได้อย่างสบาย มีกินทั้งปี ไม่เหมือนสมัยก่อนที่จะได้กินก็ต่อเมื่อถึงเดือนกันยายน ? ตุลาคม เท่านั้น แต่รสชาติของข้าวเม่า อาจจะไม่มีไอกลิ่นของภูมิปัญญาพื้นบ้าน หรืออาจจะไม่เห็นความสามัคคี และความผูกพันระหว่างครอบครัวหรือญาติพี่น้องที่ต้องมาร่วมแรงร่วมใจกันทำอีกต่อไป
Huh?Huh?Huh?Huh?Huh???.
ขี้แมว  หมายถึง ข้าวเม่าที่ติดกันเป็นก้อน มีกากติดอยู่ด้วย เกิดจากข้าวที่เอามาทำอ่อนเกินไปยังไม่แข็งตัวเป็นเม็ดดี ทำให้เหนียวหนืดและติดกันเป็นก้อน โดยข้าวเม่าที่ติดกันเป็นก้อนนี้ ก็มีขนาดก้อนเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง แตกต่างกันไป
 .................................................


* eeeee.JPG (33.72 KB, 448x265 - ดู 1828 ครั้ง.)

* ppppp.JPG (34.4 KB, 299x448 - ดู 1458 ครั้ง.)

* ddddd.JPG (39.46 KB, 382x336 - ดู 1784 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #21 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:48:31 »

บ่ายมะขาม(มะขามกวน)

ส่วนผสม / อุปกรณ์
                เครื่องปรุง ประกอบด้วย เนื้อมะขามเปรี้ยวสุกสับละเอียด หัวกะทิ มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย แบะแซ น้ำ ตาลทราย นมข้นหวาน เกลือป่นเล็กน้อย

วิธีการทำ
                ผสมหัวกะทิ น้ำตาลทราย แบะแซ เคี่ยวพอกะทิแตกมันใส่มะขามสับ เกลือป่น มะพร้าวทึนทึกขูดฝอย นมข้นหวานกวนให้ส่วนผสมเหนียวและงวดลงขนาดพอปั้นได้ ยกลงรอให้เย็นปั้นเป็นแท่งห่อด้วยพลาสติกใส จะเก็บไว้ได้นาน เวลาทานก็ปั้นข้าวเหนียวแบนๆ นำมะขามกวนใส่แล้วทานได้เลย อร่อย!

คุณค่า / ประโยชน์
                มะขามกวนมีส่วนประกอบของน้ำตาล หัวกะทิ เนื้อมะพร้าวและนมข้นหวานซึ่งเป็นอาหารที่ให้สาร อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตให้พลังงาน มะขามเปรี้ยวมีสารที่ช่วยระบายท้อง มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอ่อน ๆ จึง ช่วยการทำงานของระบบขับถ่าย ปัจจุบันชาวบ้านจึงนำมะขามเปรี้ยวมาแปรรูปเป็นมะขามกวน ผลิตภัณฑ์ที่ ได้มีรสแปลกไปจากเดิม รสชาติอร่อย เป็นที่ชื่นชอบ ของผู้บริโภค ปัจจุบันมะขามกวนเป็นสินค้าของฝากพื้น เมืองที่ทำรายได้ให้กับผู้ผลิตไม่น้อยไปกว่ามะขามหวาน


* images (5).jpg (11.48 KB, 235x215 - ดู 1490 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #22 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:51:36 »

ข้าวต้มมัด
 

 


      ข้าวต้มมัดหรือข้าวต้มผัดของชาวอีสานเป็นขนมชนิดหนึ่งที่ทำด้วยข้าวเหนียวผัดกับกะทิ แล้วนำไปห่อด้วยใบตองหรือใบมะพร้าวอ่อน ใส่ไส้กล้วย นำไปนึ่งให้สุก ทางภาคใต้ใช้ข้าวเหนียวกับน้ำกะทิ ห่อด้วยใบพ้อ เรียกห่อต้ม ถ้าห่อด้วยใบมะพร้าว และมัดด้วยเชือกเรียกห่อมัด ขนมแบบเดียวกับข้าวต้มยังพบในประเทศอื่นอีก เช่นในฟิลิปปินส์เรียก อีบอส หรือซูมัน ที่แบ่งย่อยได้หลายชนิดเช่นเดียวกับข้าวต้มมัดของไทย

 
     ข้าวต้มมัดอีกชนิดหนึ่งเรียกข้าวต้มลูกโยนเป็นขนมที่ใช้ในเทศกาลออกพรรษา ห่อด้วยใบพ้อหรือยอดมะพร้าวเป็นรูปรี ข้างในเป็นข้าวเหนียวผสมถั่วดำไม่มีไส้ ผูกเข้าด้วยกันเป็นพวงแล้วนำไปต้ม ส่วนข้าวต้มมัดไต้ เป็นข้าวต้มที่ห่อแล้วมัดให้มีลักษณะเหมือนไต้ที่ใช้จุดไฟ ไส้เป็นถั่วทองโขลกกับรากผักชี กระเทียม พริกไทย ใส่หมู มันหมู ปรุงรสด้วยเกลือ น้ำ น้ำตาลทราย ห่อด้วยใบตองเป็นแท่ง มัดเป็นเปลาะ 4-5 เปลาะ แล้วนำไปต้ม บางท้องที่ใช้เป็นขนมไหว้เจ้าในเทศกาลตรุษจีนและสารทจีนด้วย

     ภาคอีสานเรียกข้าวต้มมัดว่าข้าวต้มกล้วย ใช้ข้าวเหนียวดิบมาห่อ ปรุงรสด้วยเกลือนิดหน่อย ใส่ถั่วลิสงต้มสุกเคล้าให้เข้ากันแล้วจึงห่อเป็นมัด ใส่ไส้กล้วย เอาไปต้มให้สุก ถ้าเป็นแบบผัด จะผัดข้าวเหนียวกับกะทิก่อนแล้วจึงห่อใส่ไส้กล้วย แล้วต้มให้สุก ถ้าต้องการหวานจะเอามาจิ้มน้ำตาล   ส่วนทางภาคเหนือนิยมนำข้าวต้มมัดที่สุกแล้วมาหั่นเป็นชิ้นๆ คลุกกับมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลทราย เรียก ข้าวต้มหัวหงอก


* khao-tom-mad-54.jpg (132.25 KB, 550x413 - ดู 1620 ครั้ง.)

* 1168248013.jpg (96.05 KB, 400x300 - ดู 3429 ครั้ง.)

* images (6).jpg (8.03 KB, 277x182 - ดู 1993 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
เต้ อุบล
พุทธศาสนิกชน ฅนรักษ์ธรรมะ
Administrator
*****

พลังน้ำใจ : 634
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 982

Level and Hp mod by the DtTvB :: version 1.02 :: Made for Zone-IT.com Level 25 : Exp 44%
HP: 0%



อย่าสุไลเสียถิ้ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเซื้อ ไปย่องผู้อื่นดี

sabayd8861@hotmail.com
ดูรายละเอียด อีเมล์
« ตอบ #23 เมื่อ: 31 ตุลาคม 2554, 21:56:43 »

ข้าวโป่งหรือข้าวหนมหูซ้าง

รสชาติ
รสชาติหอมหวาน

คุณค่าโภชนาการ

จะได้รับสารอาหารคาร์โบไฮเดรต ข้าวโป่ง

เครื่องปรุง / ส่วนผสม

๑. ข้าวเหนียวสุก (ข้าวใหม่)

๒. น้ำตาลทราย

๓. ไข่ไก่ต้มสุก

๔. น้ำมันหมู

๕. งาดำ

ขั้นตอน / วิธีทำ

๑. นำข้าวเหนียวสุกใส่ครกกระเดื่องตำให้ละเอียด  ผสมน้ำตาลทราย และงาดำ ตำต่อไปจนข้าวเหนียวสุกผสมกับน้ำตาลเป็นเนื้อเดียวกัน พักไว้

๒. นำไข่ไก่ต้มสุกเลือกเฉพาะไข่แดงผสมกับน้ำมันหมูเป็นเนื้อเดียวกัน นำไปทาบาง ๆ บนแผ่นพลาสติก นำแป้งจากข้อ ๑ ปั้นเป็นลูกกลม ๆ ประมาณไข่ไก่ วางลงบนแผ่นพลาสติกแล้วใช้ไม้รีดให้เป็นแผ่นบาง ๆ มน ๆ แล้วลอกออกจากแผ่นพลาสติก นำไปผึ่งแดดประมาณ ๑ วัน สามารถเก็บไว้รับประทานได้ ๓ สัปดาห์

๓. ย่างด้วยไฟอ่อน ๆ แป้งข้าวโป่งจะค่อย ๆ พองออก ลักษณะสีน้ำตาลอ่อนผสมสีขาว ให้รสชาติหอมหวาน

เทคนิคในการทำ (เคล็ดลับ)

- ไข่แดงจะทำให้ข้าวพองเวลาย่าง

- น้ำมันหมู จะทำให้เวลาปั้นแป้งไม่ติดมือ


* images (7).jpg (8.61 KB, 259x194 - ดู 1476 ครั้ง.)

* DSC02244.JPG (36.33 KB, 400x300 - ดู 1540 ครั้ง.)

* images (8).jpg (10.02 KB, 204x247 - ดู 1466 ครั้ง.)

* images (9).jpg (12.72 KB, 289x174 - ดู 1417 ครั้ง.)

* ข้าวโป่ง๒.jpg (66.52 KB, 700x503 - ดู 2346 ครั้ง.)

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]   ขึ้นบน
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.19 | SMF © 2006-2009, Simple Machines Valid XHTML 1.0! Valid CSS!